Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
01 November 2024, 09:31:02

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,368 Posts in 12,805 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ภาพประทับใจ  |  ภาพสวยงาม  |  โมนาลิซา (Mona Lisa)
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: โมนาลิซา (Mona Lisa)  (Read 1422 times)
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« on: 16 November 2020, 13:09:17 »

โมนาลิซา (Mona Lisa)


โมนาลิซา (Mona Lisa)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


Mona Lisa, by Leonardo da Vinci, from C2RMF retouched


รูปใบหน้าของมาดามลิซา

โมนาลิซา (อังกฤษ: Mona Lisa) หรือ ลาโจกอนดา (อิตาลี: La Gioconda) หรือ ลาโชกงด์ (ฝรั่งเศส: La Joconde) คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร เลโอนาร์โด ดา วินชีวาดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่าง ค.ศ. 1503–1507 เป็นภาพที่มีชื่อเสียงทั่วโลกภาพหนึ่ง เป็นที่รู้จักในฐานะภาพของสุภาพสตรีที่มีรอยยิ้มอันเป็นปริศนา ที่ไม่รู้ว่าเธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลฝรั่งเศส และเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Musée du Louvre) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ที่มาของชื่อ

จอร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) ศิลปินและนักชีวประวัติชาวอิตาลี ตั้งชื่อ "โมนาลิซา" ขึ้นหลังจากดา วินชีได้เสียชีวิตไป 31 ปี ในหนังสือที่เขาตีพิมพ์นั้นได้บอกไว้ว่าผู้ที่นั่งอยู่ในรูปนั้นคือ ลีซา เกอราร์ดีนี ภรรยาของขุนนางนักธุรกิจไหมผู้มั่งคั่ง ชาวเมืองฟลอเรนซ์นามว่า ฟรานเชสโก เดล โจกอนโด (Francesco del Giocondo)

คำว่า โมนา" (Mona) ในภาษาอิตาลีนั้นก็คือคำว่า มาดอนนา (madonna) คุณผู้หญิง (my lady) หรือ มาดาม (Madam) ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นความหมายของชื่อก็คือ "มาดามลิซา" แต่ในปัจจุบัน บางครั้งก็จะใช้คำว่า มอนนา ลิซา (Monna Lisa)

ประวัติ

ดา วินชี ใช้เวลาวาดภาพนี้ 4 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1503–1507

ในปี ค.ศ. 1516 ดา วินชีได้นำภาพจากอิตาลีไปที่ฝรั่งเศส ด้วยพระราชประสงค์ของพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 ที่ทรงปรารถนาที่จะให้ศิลปินทั้งหลายมารวมตัวทำงานกันที่ Clos Lucé ใกล้กับปราสาทในเมืองอัมบัวส์ และยังทรงให้ ดา วินชี วาดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์อีกด้วย หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงซื้อภาพโมนาลิซา ในราคา 4,000 เอกูว์ (écu)

ในปี ค.ศ. 1519 ดา วินชี ได้เสียชีวิตที่เมืองอัมบัวส์ ประเทศฝรั่งเศส รวมอายุได้ 67 ปี


รูปใบหน้าของมาดามลิซา

ตอนที่ ดา วินชี เสียชีวิตแล้วได้ยกสมบัติและภาพวาดทั้งหมดให้เป็นมรดกของผู้ติดตามของเขา ฟรานเซสโก เมลซิ (Francesco melci) และเมื่อฟรานเซสโก เมลซิ เสียชีวิตลงก็ไม่ได้ยกมรดกให้ใคร มรดกก็เริ่มกระจัดกระจาย และต่อมามีการนำภาพโมนาลิซาไปเก็บไว้ที่พระราชวังฟงแตนโบลและที่พระราชวังแวร์ซาย หลังจากสิ้นสุดการปฏิวัติฝรั่งเศส ก็นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ในห้องสรงของพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ในพระราชวังตุยเลอรี แล้วในที่สุดก็ได้กลับมาที่พิพิธภัณฑ์[ที่ไหน?] เหมือนเดิม


ห้องแสดงในพิพิธภัณฑ์

ในช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ระหว่างปี ค.ศ. 1870–1871 มีการนำภาพออกจากพิพิธภัณฑ์ ไปซ่อนไว้ในที่ลับในประเทศฝรั่งเศส

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1911 ภาพโมนาลิซาถูกโจรกรรมออกจากพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกว่าจะค้นพบเธอก็ได้ใช้เวลาไปถึง 2 ปี พบในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ปัจจุบัน ได้รับการดูแลรักษาอย่างดี ในตู้กระจกปรับอากาศกันกระสุน พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ อันเป็นเครื่องหมายสากลว่า โมนาลิซา จะไม่มีวันที่จะได้เคลื่อนย้ายไปแสดงที่ไหนอีกเป็นเด็ดขาด

ทฤษฎีสมทบ

กล่าวกันว่าภาพวาดนี้ ดา วินชี ตั้งใจจะวาดภาพของตนเองเมื่อเป็นหญิง และภาพวาดชิ้นนี้เมื่อส่องกับกระจกเงา จะพบว่ามุมการมองภาพรู้สึกเป็นธรรมชาติไม่แตกต่างจากการมองแบบปกติ เหมือนที่ ดา วินชี กล่าวไว้ว่า "ภาพเขียนที่จิตรกรจะคิดว่าสวยงามในทุก ๆ ด้านและทุก ๆ มุมมอง ต้องพิจารณาภาพภาพในกระจกเงา" และจากการฉายรังสีที่ภาพวาด ทำให้พบว่าภาพเขียนนี้ซ่อนเจตนาที่แท้จริงหลายอย่าง และยังเคยถูกเขียนทับอีกด้วย


Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #1 on: 16 November 2020, 13:13:30 »

pictures


Mona Lisa, by Leonardo da Vinci, from C2RMF retouched


รูปใบหน้าของมาดามลิซา



ห้องแสดงในพิพิธภัณฑ์


Self-portrait of Leonardo da Vinci.

.....

Detail of the background (right side)
Detail of right landscape


Detail of Lisa's hands, her right hand resting on her left. Leonardo chose this gesture rather than a wedding ring to depict Lisa as a
virtuous woman and faithful wife.
Detail of hands


The Prado Museum La Gioconda


The Isleworth Mona Lisa


The Mona Lisa (1503–1516) by Leonardo da Vinci, of which the Isleworth Mona Lisa is either a copy or earlier version.


Hands of the Louvre Mona Lisa (top) and the Isleworth Mona Lisa (bottom).


16th-century copy at the Hermitage by unknown artist






« Last Edit: 17 November 2020, 09:07:50 by p_san@ » Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #2 on: 16 November 2020, 13:19:04 »

Early versions and copies
Prado Museum La Gioconda
Main article: Mona Lisa (Prado's version)
A version of Mona Lisa known as Mujer de mano de Leonardo Abince ("Woman by Leonardo da Vinci's hand") held in Madrid's Museo del

Prado was for centuries considered to be a work by Leonardo. However, since its restoration in 2012, it is considered to have been executed by one of Leonardo's pupils in his studio at the same time as Mona Lisa was being painted. The Prado's conclusion that the painting is probably by Salaì (1480–1524) or by Melzi (1493–1572) has been called into question by others.

The restored painting is from a slightly different perspective than the original Mona Lisa, leading to the speculation that it is part of the world's first stereoscopic pair. However, a more recent report has demonstrated that this stereoscopic pair in fact gives no reliable stereoscopic depth.

Isleworth Mona Lisa
Main article: Isleworth Mona Lisa
A version of the Mona Lisa known as the Isleworth Mona Lisa was first bought by an English nobleman in 1778 and was rediscovered in 1913 by Hugh Blaker, an art connoisseur. The painting was presented to the media in 2012 by the Mona Lisa Foundation. It is a painting of the same subject as Leonardo da Vinci's Mona Lisa. The current scholarly consensus on attribution is unclear. Some experts, including Frank Zöllner, Martin Kemp and Luke Syson denied the attribution; professors such as Salvatore Lorusso, Andrea Natali, and John F Asmus supported it; others like Alessandro Vezzosi and Carlo Pedretti were uncertain.


Copy of Mona Lisa commonly attributed to Salaì


The Prado Museum La Gioconda


The Isleworth Mona Lisa


16th-century copy at the Hermitage by unknown artist


Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #3 on: 16 November 2020, 13:21:07 »



The Mona Lisa


รอยยิ้มปริศนาของ โมนาลิซ่า
(Monalisa Smile)


ใบหน้าของมาดามลิซ่า



Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #4 on: 16 November 2020, 13:24:47 »


https://www.catdumb.com/secret-woman-behind-mona-lisa-290/



นักวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ภาพวาด ‘โมนาลิซ่า’ มานานกว่า 10 ปี พบว่ามีภาพผู้หญิงอีกคนซ่อนอยู่!!

กลายเป็นเรื่องที่จุดประเด็นให้อึ้งกันอีกครั้ง หลังจากที่นักวทิยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ปัสกาล โกตต์ ได้รับอนุญาตจากพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ให้สามารถเข้าไปวิเคราะห์ผลงานศิลปะชิ้นเอกของโลกตั้งแต่ปีค.ศ. 2004 นั่นก็คือภาพวาด ‘โมนาลิซ่า’ ของ ลีโอนาร์โด ดาวินชี



โดยตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เขาได้ทำการวิเคราะห์ภาพดังกล่าวด้วยเทคโนโลยี Layer Amplification Method ที่คิดค้นขึ้นมาเอง เป็นเทคนิคการฉายแสงความเข้มข้นสูงเข้าไปในภาพหลายๆ เพื่อวัดค่าสะท้อนแสง โดยจะนำข้อมูลที่มาสร้างภาพที่อยู่ระหว่างชั้นต่างๆ ของภาพวาด



แต่แล้วก็ต้องประหลาดใจเมื่อพบว่ามีภาพวาดทับซ้อนอยู่ใต้ภาพโมนาลิซ่ามากถึง 3 ภาพเลยล่ะ โดยภาพแรกเป็นภาพของผู้หญิงมีลักษณะมองออกไปด้านข้างไม่ได้มองตรงมาอย่างที่เห็น และมีรอยยิ้มปรากฏบนใบหน้าอีกด้วย



ส่วนภาพที่สองคือ ภาพร่างของบุคคลที่มีลักษณะศีรษะ จมูก และมือที่ใหญ่กว่าโมนาลิซ่า แต่มีริมฝีปากเล็กกว่า ส่วนภาพที่สามนั้นเป็นลักษณะคล้ายกับพระแม่มารีสวมเครื่องประดับศีรษะที่ประดับด้วยไข่มุก



ทางด้าน ปัสกาล โกตต์ ก็เชื่อว่าภาพที่ปรากฏนั้นคาดว่าจะเป็น ‘ลิซ่า เกอราร์ดินี’ ภรรยาของพ่อค้าผ้าไหมชาวเมืองฟลอเรนซ์ในอดีต ส่วน ‘โมนาลิซ่า’ นั้น เป็นเพียงแค่ผู้หญิงอีกคน



แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าคิดว่าภาพซ้อนนั้นอาจจะเกิดขึ้นมาจากการที่ ลีโอนาร์โด ดาวินชี ทำการร่างภาพหรือเป็นเพียงแค่ภาพที่ผิดพลาดแล้วทำการวาดทับลงไป ซึ่งก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ถึงสาเหตุที่แท้จริงได้

ที่มา : bbc


Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #5 on: 16 November 2020, 13:35:49 »


https://www.unlockmen.com/mona-lisas-fake-smile/

FAKE SMILE: เมื่อนักประสาทวิทยาวิจารณ์ว่า "รอยยิ้มโมนาลิซาหลอกลวง"











https://www.cnet.com/news/mona-lisas-smile-could-be-a-lie-neuroscientists-say/
Mona Lisa's smile could be a lie, neuroscientists say


Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #6 on: 16 November 2020, 13:52:05 »


https://www.silpa-mag.com/art/article_38862
ศิลปวัฒนธรรม
SILPA-MAG.COM
วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

ศิลปะ
เจาะรหัสลับในภาพ “ดาวินชี” ทฤษฎีสัญลักษณ์เบื้องหลัง “โมนาลิซา-กระยาหารมื้อสุดท้าย”



ทฤษฎีสมคบคิดในโลกนี้พอจะกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องซุบซิบที่บอกเล่าต่อกันมาและถูกตั้งข้อสังเกตกันอย่างมีสีสัน มุมมองแบบนี้ไม่ได้ปรากฏขึ้นเฉพาะเรื่องทางการเมือง แม้แต่ในวงการศิลปะก็มีทฤษฎีสมคบคิดที่น่าสนใจทีเดียว และศิลปินที่เชื่อมโยงกับเรื่องทฤษฎีสมคบคิดมากที่สุดย่อมต้องเป็นเลโอนาร์โด ดาวินชี

ศิลปินเอกแห่งฟลอเรนซ์ถูกเชื่อมโยงกับเรื่องราวลึกลับหลายประการ ปฏิเสธได้ยากว่าส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะนิยายหรือสื่อบันเทิงในโลกสมัยใหม่ที่ช่วยโหมกระแสและข้อสังเกตเกี่ยวกับรหัสลับหรือสัญลักษณ์บางอย่างในผลงานของดาวินชี อย่างละเอียดตั้งแต่เรื่องบุคคลในภาพ ฉากหลัง วิเคราะห์องค์ประกอบการจัดวางทั้งหลายแทบจะไปทุกแง่มุม

วงการศิลปะทั่วโลกถือกันว่า ภาพวาด “โมนาลิซา” คือผลงานชิ้นเอกอีกหนึ่งชิ้นของดาวินชี ภาพวาดในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) อายุหลัก 500 ปี แต่แค่ช่วงเวลาที่เขาวาดนั้นก็ไม่มีข้อมูลหลักฐานที่แน่ชัดพอจะเจาะจงได้ว่า เขาเริ่มวาดขึ้นเมื่อใด แต่เชื่อกันว่า น่าจะเป็นช่วงศตวรรษที่ 16 อาจเป็นระหว่าง 1503-04 ในช่วงที่เขามาใช้ชีวิตในมิลาน หรืออาจมาเริ่มวาดต่อหลัง 1508 กระทั่งวาดสำเร็จในปี 1519

แม้กระทั่งบุคคลในภาพก็ยังไม่อาจชี้ชัดอย่างสมบูรณ์ได้ว่า เป็นภาพของใคร ข้อมูลที่คนส่วนใหญ่ยึดถือว่ามีน้ำหนักคือ เป็นภาพเหมือนของลิซา แดล โจคอนโด ภรรยาของพ่อค้าชาวฟลอเรนซ์ แต่บางรายก็สันนิษฐานไปจนถึงอาจเป็นมารดาของผู้วาดก็เป็นได้ หรือจะเป็นการวาดภาพเหมือนของผู้เขียนเอง

เมื่อปี 2010 ยังมีนักวิชาการด้านพยาธิวิทยาให้ความเห็นว่า ลิซา แดล โจคอนโด น่าจะมีปัญหาสุขภาพในตัวเลขคลอเลสเตอรอล โดยวิเคราะห์จากลักษณะสีบนผิวของบุคคลในภาพที่ออกเหลืองๆ แต่มาร์ติน เคมป์ (Martin Kemp) ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด วิเคราะห์แล้ววินิจฉัยว่า สิ่งตกค้างจากความพยายามบูรณะภาพนี้ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “ซีดจาง” (bleached) มากกว่า

ด้วยหลักฐานที่ไม่ชัดเจน ข้อมูลทั้งหลายเกี่ยวกับภาพนี้จึงมีสถานะไม่สามารถหาข้อสรุปอย่างแน่ชัดสมบูรณ์ ข้อสันนิษฐาน ปริศนา เรื่องลึกลับ ก็ชวนให้จินตนาการไปต่างๆ นานา

หน่วยงานต่างๆ พยายามศึกษาผลงานของดาวินชี อย่างละเอียดเพื่อคลี่คลายข้อสงสัย มีทั้งด้วยหลักฐานและเหตุผลภายใต้กระบวนการแบบวิทยาศาสตร์ หรือด้วยวิธีตามความคิดเห็นส่วนบุคคลซึ่งมีตั้งแต่วิเคราะห์ด้วยการมองภาพแบบกลับหัว หรือมองด้วยตาข้างเดียว

เมื่อปี 2010 กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่าคณะกรรมการเพื่อประชาสัมพันธ์มรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์จากอิตาลีแถลงผลการศึกษาภาพโมนาลิซ่า ที่พบ “อักษร” และ “ตัวเลข” ซ่อนอยู่ในดวงตาของหญิงสาวภายในภาพ ที่ชวนดึงดูดอย่างรุนแรง ซิลวิโอ วินเซติ ประธานคณะกรรมการแถลงว่า สัญลักษณ์ที่ว่าไม่สามารถมองด้วยตาเปล่า แต่ต้องมองผ่านอุปกรณ์ขยายจึงสามารถเห็นได้


ภาพวาด “โมนาลิซา” โดยเลโอนาร์โด ดาวินชี

สิ่งที่ “ปรากฏ” บนตาข้างขวาของหญิงสาวในภาพแสดงให้เห็นอักษร “LV” ซึ่งอาจเป็นตัวย่อของนาม เลโอนาร์โด ดาวินชี ขณะที่ในตาด้านซ้ายก็พบสัญลักษณ์บางอย่างเช่นกัน แต่ไม่สามารตีความได้

“มันเป็นเรื่องยากมากที่จะสกัดใจความออกมาแต่ในเบื้องต้น มันดูเหมือนเป็นอักษร CE หรือไม่ก็อาจเป็น B คุณต้องพึงรำลึกไว้เสมอว่านี่เป็นภาพวาดอายุหลัก 500 ปี มันจึงเห็นไม่ค่อยชัดเหมือนกับที่เพิ่งวาดเสร็จใหม่ๆ” ซิลวิโอ กล่าว

นอกเหนือจากสัญลักษณ์ที่พบในตาของหญิงสาวในภาพ ผู้ศึกษาภาพยังแถลงว่า สะพานโค้งที่เป็นฉากหลังก็พบเลข 72 หรือไม่ก็อาจเป็นอักษร L ตามด้วยเลข 2

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากสื่อต่างประเทศที่เปิดเผยเสียงจากฝ่ายพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ กรุงปารีส ระบุว่า พิพิธภัณฑ์ตรวจสอบภาพนี้ด้วยกรรมวิธีทางแล็บ ทุกอย่างที่สามารถทำได้ แต่ก็ไม่พบอักษรที่ถูกกล่าวอ้าง (MILT ESTEROW, 2019)

แม้แต่รายละเอียดในฉากหลังของภาพก็ยังถูกวิเคราะห์ว่าเป็นสถานที่ใด มีตั้งแต่ทะเลสาบด้านซ้ายของภาพคือ Lake Chiana, สะพานในภาพอยู่ในหมู่บ้าน Bobbio ทางตอนใต้ของ Piacenza ไปจนถึง Montefeltro ทางตอนเหนือของอิตาลี

ภาพโมนาลิซานี้กลับมาเป็นหัวข้อถกเถียงที่คนทั่วไปสนใจหลังจาก “The Da Vinci Code” ภาพยนตร์ฮอลลีวูดที่สร้างจากนิยายชื่อดังของแดน บราวน์ (Dan Brown) ได้รับความนิยมอย่างมาก ตัวละครนำในเรื่องแกะรอย “รหัสลับ” ในภาพโมนาลิซา และภาพวาดชื่อดังอีกชิ้นอย่าง “กระยาหารมื้อสุดท้าย”

(The Last Supper)

ในความจริงแล้ว บรรยากาศเกี่ยวกับปริศนาลึกลับจากภาพวาดของดาวินชี ก็มีเค้าลางในโลกความเป็นจริงอยู่บ้าง ซิลวิโอ เล่าว่า หนึ่งในคณะกรรมการนามว่า ลุยจิ บอร์เจีย (Luigi Borgia) เคยค้นพบหนังสือในร้านของเก่าแห่งหนึ่ง หนังสือที่คาดว่ามีอายุราว 50 ปีบรรยายว่า สายตาของสตรีในภาพ “โมนาลิซา” เต็มไปด้วยสัญลักษณ์จนทำให้พวกเขาสนใจศึกษาเกี่ยวกับปริศนาในภาพขึ้นมา เรื่องเล่านี้เรียกได้ว่า เหมือนมาจากเนื้อเรื่องในหนังสือนิยายสืบสวนสอบสวนเลยก็ว่าได้
วินเซติ ยังเป็นอีกหนึ่งรายที่เรียกร้องให้ทางการฝรั่งเศสขุดค้นร่างของดาวินชีที่เชื่อว่าอาจอยู่ในหุบเขาลัวร์ ละแวกที่พักแห่งสุดท้ายของดาวินชีในฝรั่งเศส เพื่อตรวจสอบว่า ยังเหลือกะโหลกของดาวินชี อยู่หรือไม่ ซึ่งหากพวกเขาโชคดี ซากกะโหลกของศิลปินเอกของโลกจะสามารถนำมาสร้างโครงสร้างจำลองใบหน้าของดาวินชี ซึ่งจะช่วยพิสูจน์ว่า บุคคลในภาพ “ดาวินชี” คือภาพเหมือนของดาวินชีเองตามที่หลายกลุ่มสันนิษฐานหรือไม่

อีกหนึ่งข้อมูลที่นักวิชาการส่วนหนึ่งเชื่อกันก็คือ ดาวินชี เป็นผู้ขึ้นชื่อเรื่องไม่สามารถสร้างงานให้สำเร็จสมบูรณ์ได้บ่อยครั้ง (จนกลายเป็นปมที่คนอื่นใช้โจมตีเขา อ่านเพิ่มเติม : ดาวินชี VS มิเคลันเจโล การปะทะฝีมือทางศิลปะที่ถูกลืม ค้นสัมพันธ์คู่อริศิลปินเอกของโลก) มักพกพาผลงาน “โมนาลิซา” ติดตัวไว้ตลอดในช่วงบั้นปลายของชีวิต เขานำภาพวาดใส่เคสเอาไว้และพกไปไหนมาไหนด้วย

ภาพวาดโมนาลิซา ไม่เพียงเต็มไปด้วยปริศนา ผลงานชิ้นนี้ยังผ่านเส้นทางโลดโผนมาตลอด เคยถูกฉกไปเมื่อปี 1911 โดยลูกจ้างชาวอิตาลีที่เชื่อว่าผลงานชิ้นนี้ควรกลับสู่บ้านเกิดของมันในอิตาลี หลังจากได้ภาพคืนมาแล้ว ในปี 1956 ภาพโมนาลิซา ยังถูกบุคคลไม่ประสงค์ดีหวังเข้ามาทำลาย หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีกระจกป้องกันภัยมากำบังตลอดเวลา และช่วยให้ภาพนี้เหลือรอดมาจนถึงปัจจุบัน รอดจากสตรีรัสเซียผู้เกรี้ยวกราด เขวี้ยงถ้วยชาไปที่ภาพเนื่อง
จากถูกปฏิเสธให้สัญชาติฝรั่งเศสเมื่อปี 2009 สิ่งของกระทบกับกระจกแทนที่จะสร้างความเสียหายถึงภาพวาดที่เป็นมรดกของมนุษยชาติเลยก็ว่าได้

ไม่เพียงแค่ภาพโมนาลิซา อีกหนึ่งผลงานที่โด่งดังของดาวินชี อย่าง “กระยาหารมื้อสุดท้าย” ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานที่รายล้อมด้วยข้อสังเกตเกี่ยวกับความลับที่ซุกซ่อนอยู่ภายใน เชื่อกันว่า ดาวินชี อาจเริ่มเขียนภาพนี้ขึ้นเมื่อ 1495 ร่องรอยการเตรียมพร้อมสำหรับวาดภาพปรากฏในภาพศึกษาองค์ประกอบระยะ
แรกๆ ที่เขียนขึ้นด้วยปากกาและหมึก ซึ่งชาร์ลส นิโคลล์ นักเขียนและผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะเชื่อว่า ล้วนมีรากเหง้าของสัญลักษณ์ในภาพ “กระยาหารมื้อสุดท้าย”

ในภาพวาดบนกระดาษสเกตช์ประกอบระยะแรกที่วินด์เซอร์จะมองเห็นจูดาส นั่งในท่าทางปลีกตัวจากโต๊ะใกล้กับคนดู มองเห็นจากด้านหลัง และเห็นนักบุญจอห์นหลับข้างพระคริสต์ เชื่อว่าเป็นการพาดพิงถึง “การเอนซบอุระพระเยซู” เมื่อพระองค์ประกาศเรื่องคนทรยศ แต่ภาพทั้งสองคนนี้จะถูกตัดทิ้งในภาพ

เขียนสุดท้าย หรือเรื่องใบหน้าของจูดาส ผู้ร้ายประจำเรื่อง ซึ่งการซ่อมภาพทำให้เห็นใบหน้าที่วาดอย่างละเอียดและลบเลียนไปก่อนหน้านี้ซึ่งมันแตกต่างจากการแต่งแต้มในภายหลัง วาซารี ผู้เขียนชีวประวัติของดาวินชี เล่มโด่งดังเล่าว่า รองเจ้าอาวาสดราซี มักมาเร่งดาวินชี (ที่มีชื่อเรื่องทำงานช้าและทำงานไม่เสร็จอยู่
บ่อยๆ) พร้อมทูลดยุคเรื่องความช้าของศิลปิน เลโอนาร์โด ทูลตอบว่า เขายังหาใบหน้าที่ชั่วร้ายของจูดาส ไม่ได้ แต่ถ้าหาไม่ได้ก็ “คงใช้หัวรองเจ้าอาวาสที่ไม่รู้จักกาลเทศะและใจร้อน” เป็นแบบ ดยุคทรงพระสรวลใหญ่กับคำตอบของดาวินชี

เรื่องเล่านี้ของวาซารี อาจมีเค้าความจริงอยู่บ้างเล็กน้อยหากอ้างอิงตามพยานรู้เห็นด้วย จัมบัสติสตา จิรัลดี ชินติโอ เจ้าของ Discorsi ที่พิมพ์ใน 1554 จิรัลดี ได้ข้อมูลมาจากคริสโตโฟโร พ่อของเขาอีกทอด คริสโตโฟโร เป็นนักการทูตที่รู้จักเลโอนาร์โด ในมิลาน และในบันทึกก็บอกเล่าเนื้อหาแบบเดียวกับเรื่องที่วาซารี เล่ามา



มีผู้พยายามค้นหา “รหัส” ที่ซ่อนอยู่ภายใต้ภาพนี้หลายราย ตั้งแต่นักดนตรีอิตาเลียนที่อ้างว่า พบโน้ตเพลงซ่อนอยู่ใต้ชิ้นงานนี้ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ Smithsonian Channel พยายามชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างภาพ “กระยาหารมื้อสุดท้าย” ฉบับของดาวินชี กับผลงานอื่น ซึ่งมีอยู่จุดเดียวที่แตกต่างกัน
คือ รัศมีรอบศีรษะของบุคคลในภาพทั้งสาวกและพระคริสต์

ผลงานภาพ “กระยาหารมื้อสุดท้าย” ในศตวรรษที่ 15 ก่อนหน้าฉบับของดาวินชี พระคริสต์และสาวกล้วนมีวงรัศมีของศีรษะ เป็นการนำเสนอสาวกในสถานะนักบุญ แต่ฉบับของดาวินชี แม้แต่พระคริสต์ก็ไม่มีวงรัศมี Mario Taddei ผู้ศึกษาผลงานของดาวินชี เป็นเวลา 15 ปีมองว่า เหตุผลที่ดาวินชีเลือกทำ
แบบนี้เป็นการบอกเล่าสัญญาณอย่างหนึ่ง

“ผมเชื่อว่าดาวินชี ไม่เคยใส่รัศมีก็เพราะเขาคิดว่าบุคคลในภาพเป็นบุคคลทั่วไป และนั่นคือความลับที่แท้จริงของเลโอนาร์โด” Mario Taddei กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับสื่ออเมริกัน

นี่ย่อมเป็นเพียงการวิเคราะห์จากข้อสังเกตส่วนตัวของบุคคลหนึ่งเท่านั้น ผู้อ่านบางรายอาจไม่พอใจในข้อสันนิษฐานนี้เช่นเดียวกับที่รู้สึกกับเนื้อเรื่องในนิยายของแดน บราวน์ และที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อสังเกต หรืออาจเรียกได้ว่า “ทฤษฎี” รหัสลับที่อาจแฝงในผลงานของดาวินชี…แต่จนกว่าจะพบหลักฐานอื่นที่พอจะบ่งชี้เบื้องหลังเกี่ยวกับรายละเอียดของภาพวาดของดาวินชี อย่างชัดเจน คงเป็นเรื่องยากที่จะหาข้อสรุปแบบสมบูรณ์แบบ


« Last Edit: 16 November 2020, 14:01:20 by p_san@ » Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #7 on: 16 November 2020, 14:07:08 »


http://www.codetukyang.com/tiplearn/old/pages/monalisa.htm

===> ปริศนาภาพวาดโมนา ลิซ่า (Mona Lisa) <===



       กว่า 500 ปีมากแล้วกับคำถามที่ว่า โมนา ลิซ่า (Mona Lisa) นั่นเป็นใคร ซึ่งยังเป็นปริศนา และยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนและแน่นอน ว่าบุคคลในภาพเขียนของ ลีโอนาร์โด ดา วินซี่ (Leonardo da vin Ci 1452-1519) คือใครกันแน่ ภาพนี้วาดขึ้นราวๆ ค.ศ. 1503-1506 โดยแฝงรอยยิ้มที่ลึกลับ น่าเคลือบแคลง ไปด้วยปริศนามากมายลงบนใบหน้าของ โมนา ลิซ่า ให้ผู้คนได้นึกคิด จินตนาการกันไปต่างๆ นานา ยาวนานถึง 5 ศตวรรษ จวบจนกระทั่งปัจจุบัน คำถามที่ผู้คนสงสัย และได้ค้นคว้าหาคำตอบกันอย่างมากมาย ก็คือ โมนา ลิซ่า คือใคร?

         ตามคำบอกเล่าของ "จิออร์โอ วาซารี" (Giorgio Vasari 1511-1574) จิตรกร สถาปนิก และ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับศิลปะในสมัยนั้น เขากล่าวไว้ว่า โมนา ลิซ่า ก็คือภรรยาของ ฟรานเชสโก เดล จิโอกอนโด ซึ่งเป็นพ่อค้าไหมที่มั่งคั่งแห่ง เมืองฟลอเรนซ์ ขณะที่ ดาวินซี่ เขียนภาพนี้ซึ่งได้ใช้เวลานานถึง 4 ปี เขาได้ไปว่าจ้าง นักร้อง นักดนตรี และตัวตลกมาให้ความบันเทิงแก่หญิงงามผู้เป็นแบบของ ภาพเขียน เพื่อให้เธอมีรอยยิ้มที่ปราศจากความเศร้าหมอง อย่างไรก็ตามจากคำ บรรยายของ วาซารี ก็เป็นเพียงข้อมูลจากผู้ที่ไม่เคยเห็นภาพเขียนนี้ของ ลีโอนาร์โด แต่อย่างใด

         จากหลักฐานอีกแหล่งหนึ่งจาก "อันโตนิโอ เดอ เบอาทิส" ผู้บันทึกปากคำของ ลีโอนาร์โดใน ค.ศ. 1517 ว่าผู้เป็นแบบในภาพคือสตรีชาว ฟลอเรนซ์ และ จูลีอาโน เดอ เมดิซี่ เป็นผู้ว่าจ้างให้เขียนภาพนี้ จากการที่ ไม่มีหลักฐานปรากฎที่แน่ชัดว่า ใครเป็นแบบให้กับ ลีโอนาร์โดวาดภาพนี้ จึงทำให้มีการตั้งข้อสันนิษฐานกันไป ต่างๆ นานา ไม่ว่าจะ -เป็น บุคคลใน ภาพอาจเป็น คอนสตันซ่า คาวารอส หรืออาจจะเป็น อิสซาเบลลา เดสเต ผู้อื้อฉาว หรืออาจเป็นภรรยาลับของ จูลีอาโน เดอ เมดิซี่ ทั้งนี้ ก็เพราะได้ปรากฎว่า มีโมนา ลิซ่า (เปลือย) หลายภาพในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็น ที่โด่งดังมากกับภาพเปลือยของสาวผู้นี้

         นอกจากนี้จากการที่ลีโอนาร์โดเองมีชื่อที่ถูกกล่าวขานกันว่าเขาเป็นพวก รักร่วมเพศ จึงเกิดการสันนิษฐานว่า โมนา ลิซ่า ไม่ใช่ผู้หญิงแต่เป็นภาพเหมือนจำแลง เพศของเด็กหนุ่มรูปงามคนใดคนหนึ่ง ซึ่งศิลปินมักเลี้ยงไว้ติดสอยห้อยตามในสตูดิโอ บ้างก็มีการนำภาพเหมือนของ ลีโอนาร์โดมามาเปรียบเทียบกับภาพของ โมนา ลิซ่า แล้วก็สรุปเอาดื้อๆว่าภาพเขียนอันลือชื่อนี้แท้ที่จริงคือ ภาพของ ลีโอนาร์โด ดาวิน ซี่ เองที่แปลงกาย แต่งตัวเป็นสตรีเพศ ยิ่งไปกว่านั้นผู้ที่สนับสนุนทฤษีนี้ยังกล่าวเสริม ต่อไปว่า ลายปักขดเชือกที่รอบคอเสื้อของ โมนา ลิซ่า คือลายเซ็นลับของ ดาวินซี่เอง เพราะในภาษาอิตาเลี่ยนคำว่า "ขดเชือก" จะตรงกับคำว่า "วินชีเร่" (Vincire)

         แม้ว่าบุคคลในภาพ โมนา ลิซ่า ยังเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ครอบครองภาพนี้ยังพอมีข้อมูลอยู่บ้าง นั่นก็คือ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ลีโอนาร์โด ไม่ยอมพรากจากภาพเขียนนี้ และเขาได้นำติดตัวพร้อมกับทรัพย์สินสินมีค่าอื่นๆที่เขารัก หวงแหน ออกจากกรุงโรมเมื่อครั้งเดินทางมาที่ฝรั่งเศสเพื่อเป็นศิลปินแห่งราชสำนักของพระเจ้าฟรานซิสที่ 1 (ค.ศ. 1479-1547) ใน ค.ศ. 1517 ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ครอบครองภาพ โมนา ลิซ่า คนแรกก็คือกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งโปรดให้นำภาพไปประดับที่ห้องสรงในพระราชวัง ฟองแตนโบล แต่เมื่อจักรพรรดินโปเลียนขึ้นครองราชย์ ภาพโมนา ลิซ่า จึงถูกย้ายมาพำนักในห้องพระบรรทม และมีชื่อเรียกอย่าง สนิทสนมว่า "มาดาม ลิซ่า"

         มุมมอง ทัศนะคติ และ ความคิดเห็นความรู้สึก ต่างๆ ที่มีต่อ Mona Lisa นั้นมีมากมายเหลือเกิน "จูลส์ มิเชอเลต์" ได้พรรณนาไว้ใน หนังสือประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสว่า "ภาพเขียนนี้ดึงดูดข้าพเจ้า พรํ่าเรียกข้าพเจ้า รุกรานข้าพเจ้า ซึมซาบเข้าไปในตัวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าตรงลิ่วเข้าไปหาโดยไม่รู้สึกตัว ประดุจนกบินดิ่งเข้าไปในปากงูพิษ" นี่คือทัศนคติต่อ Mona Lisa ในศตวรรษที่ 16 ที่มองความงามในแบบอุดมคติ แต่มุมมองจากนักวิจารณ์ในศตวรรษที่ 19 กลับมองไปอีกด้านหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มโรแมนติคส์ที่มองว่า โมนา ลิซ่า เป็นสตรีมรณะ (Femme fatale) หรืออีกนัยหนึ่งคือสตรีผู้ยื่นความตายแก่บุรุษ

         สำหรับ เธโอฟิล โกติเอร์ (Theophile Gautier) โมนา ลิซ่า มิได้เป็นสาวน้อยที่มี รอยยิ้มแสนหวานงามปานกลีบกุหลาบ ตามที่วาซารีเคยพรรณนาไว้ แต่จะเป็นสาววัย สามสิบที่ร่องรอยแห่งเลือดฝาด และความสดใสแห่งชีวิตเริ่มที่จะอันตรธานหายไป สีของอาภรณ์ และผ้าคลุมผมของเธอ ซึ่งหมองคลํ้าเพราะกาลเวลา ทำให้เธอดูเหมือนหญิง หม้ายที่แฝงไว้ด้วยความทุกข์โศก

         อันที่จริงแล้ว ลักษณะรอยยิ้มของ โมนา ลิซ่า ที่มีการตีความไปต่างๆนานานั้น สามารถ พบเห็นได้ในภาพเขียนอื่นๆของ ดาวินซี่ เองเช่น รอยยิ้มที่แฝงความอ่อนโยนและการุณย์ ของเซนต์แอนน์ หรือพระแม่มารี หรือแม้กระทั่งรูปปั้นในยุคโบราณของกรีก ในศตรวรรษที่ 19 มีผู้เห็นว่าภายใต้รอยยิ้มยากที่จะหยั่งลึกของ โมนา ลิซ่า นี้กลับแฝงไว้ด้วย ปริศนาอมตะ แห่งอิสตรี ส่วนนักจิตวิเคราะห์อย่าง ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund freud) ก็ตีความหมายว่า "ลีโอนาร์โดหลงไหลรอยยิ้มของ โมนา ลิซ่า" เพราะมันคือสิ่งที่หลับไหล ภายในจิตใจ และความทรงจำในอดีตของเขาที่ผ่านมานานแล้ว รอยยิ้มนี้ถอดแบบพิมพ์ มาจากคาเตรีนาผู้ที่เป็นมารดา สำหรับนักสุนทรียศาสตร์อย่าง วอลเทอร์ เพเทอร์ (Walter Pater) พรรณนาไว้ว่า "เธอมีอายุแกกว่าหินผาที่ห้อมล้อมเธอ ประดุจหนึ่งปีศาจดูดเลือด เธอได้ตายมาแล้วหลายคราและหยั่งรู้ความลึกลับแห่งหลุมศพ"

         พอมาถึงต้นศตรวรรษที่ 20 ผู้คนรุ่นใหม่ๆ เกือบที่จะไม่ได้แสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และทัศนคติต่อโมนา ลิซ่า เสียแล้ว เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1911 ในเวลา เช้าตรู่ข่าวการโจรกรรมภาพ Mona Lisa ออกจากพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ปรากฎต่อมวลชน ซึ่งกว่าจะค้นพบเธอ และจับกลุมผู้โจรกรรมได้ก็ต้องใช้เวลาถึง 2 ปี ปรากฎว่าคนที่โจร- กรรมโมนา ลิซ่าไป ก็คือคนที่ทำความสะอาดในพิพิธภัณฑ์นั่นเอง สถานที่ค้นพบ โมนา ลิซ่า นั้นก็คือเมือง ฟลอเรนซ์บ้านเกิดของเธอนั่นเอง ในปัจจุบันนี้โมนาลิซ่าได้รับการ ทะนุถนอมเป็นอย่างดี ในตู้กระจกปรับอากาศและกันกระสุน ซึ่งไม่มีใครที่จะสามารถลักพาตัวเธอได้อีกต่อไป มีสิ่งที่น่าสังเกตุก็คือ ตั้งแต่การหายลึกลับของ โมนา ลิซ่าเป็นระยะเวลายาวนานในคราวนั้น มีผู้ที่ไปดูโมนา ลิซ่าบางคนบอกว่า รอยยิ้มของเธอนั้นเปลี่ยนไป โดยที่ตั้งข้อสงสัยว่า เธออาจไม่ใช่ โมนา ลิซ่า ตัวจริง

         เมื่อปี ค.ศ. 1974 โมนาลิซ่าถูกนำไปแสดงที่กรุง มอสโก และโตเกียว โดยเฉพาะที่ โตเกียวมีผู้คนมาเข้าแถวชมเพื่อยลโฉมเธอถึง 2 ล้านคนในช่วงเวลาแค่ 3 เดือน


Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #8 on: 16 November 2020, 14:09:38 »


https://petmaya.com/9-details-in-famous-paintings
รหัสลับของดาวินชี



สมาชิกของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติอิตาลี พบตัวอักษร LV อยู่ในดวงตาข้างขวาของภาพโมนาลิซ่า และนั่นอาจระบุได้ว่ามันคืออักษรย่อของ ลีโอนาร์โด ดา วินชี นอกจากนั้นยังมีตัวเลข 72 ที่ปรากฏในสะพานด้านหลัง ซึ่งถูกเชื่อว่ามันเป็นสะพานในมือง Bobbio ของอิตาลีที่ถูกทำลายในปี 1472





Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #9 on: 16 November 2020, 14:13:26 »


https://petmaya.com/8-secrets-of-mona-lisa

8 ความลับของ โมนา ลิซา ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

ภาพ Mona Lisa (โมนา ลิซา) ของศิลปิน เลโอนาร์โด ดา วินชี นับได้ว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของโลกก็ว่าได้ ความนิยมและหลงใหลในภาพเพิ่มมากขึ้นจากนิยายของ Dan Brown ในชื่อ The Da Vinci Code ที่เป็นเรื่องราวของความลับที่ซ่อนอยู่หลังภาพชื่อดังนี้ ทั้งที่มาของหญิงสาวในภาพและปริศนาที่ซ่อนอยู่ และนี้คือ 8 ความลับที่ซ่อนอยู่ในภาพ Mona Lisa

8. การตั้งครรภ์



ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดของตัวตน Mona Lisa นั้นคือเธอเป็นภรรยาของสุภาพบุรุษชาวฟลอเรนซ์ โดยมีชื่อว่า Lisa del Giocondo ในภาพที่มือนั้นไขว้กันที่หน้าท้อง เล็กน้อย ทำให้สังเกตได้ว่าเธออาจะกำลังตั้งครรภ์ และตามประวัติศาสตร์ del Giocondo ได้ตั้งครรภ์ลูกคนที่สองจริงๆ เมื่อภาพนี้ทำสำเร็จ นี้ไม่ใช่หนึ่งในความลับที่สุดโต่งที่พบ อย่างไรก็ตามกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาได้ใช้งานเลเซอร์ และอินฟราเรด สแกนเพื่อสร้างภาพ 3 มิติของภาพวาดนี้ขึ้นมา ซึ่งได้ปรากฎหลักฐานของรูปแบบของผ้าบนไหล่ของ Mona Lisa ว่าเป็นรูปแบบที่ใช้ในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่กำลังจะคลอดในยุคสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

7. หลักฐานที่บ่งชี้ว่าเธอไม่ใช่โสเภณี



หลักฐานบางอย่างบ่งบอกว่าจากการสแกนอินฟราเรดมากมาย จนมาลงตัวที่เรื่องของผมดก ในอิตาลีศตวรรษที่16 นั้น บุคคลที่มีสั้น-ไม่มีคิ้ว,ขนตาหรือหนวดก็คือโสเภณีนั้นเอง ในยุคกลางนั้นผู้หญิงมักทำงานในอาชีพที่เก่าแก่อย่างการเก็บแก้วเบียร์ซึ่งการมีผมสั้นจะทำให้ดึงดูดความสนใจของชายได้มากกว่า อีกหลักฐานที่สนับสนุนเรื่องนี้นั้นก็คือทรงผมของเธอที่นิยมในหญิงที่ยังไม่แต่งงานและโสเภณีในเวลานั้น แต่การสแกนบ่งบอกว่าเธอไมได้แค่ปล่อยผมลงเท่านั้น แต่เหมือนยังมีการทำมวยผมด้วยการปักปิ่นด้วยอีกซึ่งดูไม่เหมือนกับโสเภณีเท่าไหร่นัก

6. คอเลสเตอรอลสูง



นักวิทยาศาสตร์คนนึงได้บอกสาเหตุของรายยิ้มที่ดูสวยงามของ Mona Lisa ว่าน่าจะเป็นเพราะระดับคอเลสเตอรอลที่สูงอย่างน่าเป็นห่วง ย้อนไปในยุคนั้น การที่รูปร่วงอวบหมายถึงการมีสุขภาพดีและมีความแข็งแรง Dr.Vito Franco ได้ระบุว่าใบหน้าของ Mona Lisa นั้นบ่งบอกอย่างชัดเจนว่ามีอาการคอเลสเตอรอลสูงที่เกิดจากการมีกรดไขมันใต้ผิวหนัง โดยสาเหตุน่าจะมาจากการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรืออาจจะกำลังทานอะไรอยู่จนแก้มป่องระหว่างที่นั่งเป็นแบบหลายชั่วโมงก็เป็นได้

5.คิ้วและขนตา


 
เป็นข้อถกเถียงบ่อยครั้งเรื่องสถานะของ Mona Lisa ว่าอาจจะเป็นสาวหากินมากกว่าหญิงสูงศักดิ์ การที่แบบในรูปนั้นไม่มีทั้งคิ้วและขนตาก็ลบล้างข้อคิดในเรื่องนี้ไป แต่วิศวกรชาวฝรั่งเศสได้วิเคราะห์ไว้ว่าในภาพนี้อาจจะมีคิ้วและขนตาอยู่ในแบบฉบับดั้งเดิมก็เป็นได้ โดยเขาได้ค้นพบการลงสีหนึ่งครั้งของเส้นผมด้านบนตาซ้าย โดยส่วนของคิ้วอาจจางหายไประหว่างการทำความสะอาดภาพโดยไม่ตั้งใจ

4. อัตราส่วนทองคำ



อัตราส่วนทองคำเป็นสิ่งที่ใช้งานในวงการคณิตศาสตร์และศิลปะ ซึ่งปรากฎในภาพ Mona Lisa ด้วยซึ่ง ดา วินชีชอบใช้งานอย่างมากในภาพส่วนใหญ่ของเขา ซึ่งมันสร้างความถึงพอใจแก่สายตัวด้วยการสร้างรูปทรงที่สวยงามและสมดุล ซึ่งนั้นเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้คนถึงไหลงใหลในภาพนี้มากนัก ใบหน้าของ Mona Lisa นั้นลงตัวได้อย่างสมบูรณ์กับอัตราส่วนทองคำเหมือนเช่นส่วนอื่นๆ ในภาพ ดังนั้นเหตุผลที่ผู้คนมากมายจ้องมองภาพวาดนี้แบบไม่วางตาก็คือ คณิตศาสตร์นั้นเอง

3. ยิ้ม (หรือไม่)



เป็นที่ถกเถียงกันเป็นเวลายาวนานในเรื่องของการที่ Mona Lisa กำลังยิ้มหรือไม่กันแน่ หลายคนเชื่อว่า ดา วินชีน่าจะพูดเรื่องขำขันระหว่างการวาดรูป เพราะเธอนั้นอาจเป็นนางแบบที่แย่ก็เป็นได้ ศาสดาจารย์จากฮาวาร์ดท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่าการยิ้มมุมปากนั้นเป็นความถี่ต่ำซึ่งมองเห็นได้ในระยะไกลซึ่งมันจะโดดเด่นมากขึ้นเมื่อคุณมองเธอที่ดวงตามากกว่าที่ปาก การวิเคราะห์ในปี 2005 ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนได้เผยว่ารูปรอยยิ้มของเธอนั้น 83% มีความสุข 9% เบื่อหน่าย 6% กลัว 2%โกรธ น้อยกว่า 1% เฉยเมย และ 0%ตื่นตกใจ

2. รหัสที่ซ่อนอยู่


 
การค้นพบที่เยี่ยมยอดนี้ทำได้ง่ายๆผ่านแว่นขยาย Silvano Vincetiประธานคณะตรวจสอบบอกว่าที่ตาขวานั้นมีอักษร LV ซึ่งอาจจะหมายถึงชื่อย่อของ Leonardo da Vinci เองในขณะที่สัญลักษณ์ด้านขวาปรากฎคำที่อ่านได้ยากกว่านั้นคือตัวอักษร CE หรืออาจเป็นอักษร B ไม่เฉพาะแค่ที่ดววงดวงตาเท่านั้นบริเวณอื่นๆของภาพก็พบว่ามีสัญลักษณ์อื่นๆอีกนั้นคือบริเวณส่วนโค้งของสะพานที่ปรากฎเป็นตัว Lและเลข 2 เรายังไม่รู้ว่ามันหมายถึงอะไร และมันเป็นปริศนาที่ซ่อนเป็นอย่างดีมาเป็นเวลาห้าร้อยปีแล้ว

1. หัวม้าที่ซ่อนอยู่



ไม่เพียงแค่รอยยิ้มของภาพเท่านั้นที่เป็นดั่งภาพมายา แต่ทั่วทั้งภาพ Mona Lisa นั้นมีปริศนาซ่อนอยู่มากมายทางด้านหลังของสาวในภาพ หนึ่งในนั้นคือหัวม้าที่ซ่อนอยู่เมื่อกลับภาพไปด้านข้างซึ่งคุณไม่อาจทำได้เมื่อเข้าไปชมที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ เราจะพบกับสัตว์ต่างๆมากมายซ่อนอยู่ภาพอีกด้วยถ้ามองดูอย่างตั้งใจเช่นหน้าของสิงโตเมื่อมองจากด้านข้าง หัวของลิงและควายที่พื้นหลัง สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้ภาพของ Mona Lisa ดูลึกลับและทำให้ผู้คนบ้าคลั่งไปกับทฤษฎีต่างๆมากขึ้นไปอีกจนทำให้ผู้ชมที่เข้าไปขมภาพนี้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์แน่นขนัดทุกวัน

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจเพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ

ที่มา : whatculture


Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #10 on: 16 November 2020, 14:18:08 »


http://www.takhob.com/โมนาลิซ่ากับรอยยิ้มปริศนากับภาพวาดที่ดังที่สุดในโลก/

11 พฤษภาคม , 2018 โดย นายตะขบ
โมนาลิซ่ากับรอยยิ้มปริศนากับภาพวาดที่ดังที่สุดในโลก



นายตะขบจะขอมาเล่าว่าทำไมโมนา ลิซ่าถึงเป็นภาพวาดที่ดังที่สุดในโลก บางคนบอกว่าเป็นเพราะรอยยิ้มปริศนา บางคนบอกเป็นเพนาะสายตาของเธอที่ไม่ว่าจะอยู่ในมุมไหนของห้องก็เหมือนถูกมองตามที!!


Mona Lisa หรือในภาษาอิตาลี Monna Lisa ต้องมีตัว n สองตัวเพราะจะแปลได้ว่า คุณหญิงลิซ่า เป็นภาพวาดของ Leonardo da Vinci แต่ชื่อที่เจ้าของผลงานตั้งไว้จริงๆคือ La Gioconda แปลว่า เธอคนที่มีความสุข เป็นการเล่นคำเพราะมันไปพ้องกับ Giocondo ที่เป็นนามสกุลหลังแต่งงานของลิซ่า

ภาพนี้สามีของลิซ่าเป็นคนสั่งซื้อให้ลีโอนาโดวาด เป็นการฉลองลูกคนที่สองของครอบครัว และอาจเป็นต้นเหตุของรอยยิ้ม แต่รูปนี้คนสั่งซื้อไม่เคยได้รับงานที่สั่งไปเลย เพราะเลโอนาโดไม่ให้ แต่กลับพารูปนี้เดินทางไปกับเขาทุกที่
(ขนาดไม่ได้ใหญ่อย่างที่หลายคนคิด)

ลีโอนาโด พารูปวาดโมนาลิซ่าไปโชว์ตามที่ต่างๆ เพื่อโชว์ความสามารถของตัวเอง รูปนี้ดังในวงการศิลปะเพราะลีโอนาโดใช้คิดค้นเทคนิคที่เรียกว่า sfumato หรือแปลว่าการวาด’ชั้นบรรยากาศ’ และใช้เทคนิคนี้กับพื้นหลัง(ที่เป็นภูเขา) ทำให้ภาพดูลึกลับและน่าค้นหา



Sfumato จะเห็นได้ว่า อะไรที่ยิ่งไกลออกไปยิ่งเห็นเป็นสีฟ้า ภายหลัง นักวิทยาศาสตร์ก็ออกมายืนยันว่าเป็นเรื่องจริง (อากาศระหว่างสายตากับวัตถุที่มีมากทำให้ดูเป็นสีฟ้าๆ)

คือจะเห็นได้ว่า สีของรูปนี้ไม่มีความสวยเลย ทำไมมันดูเหลืองๆไปหมด ที่จริงดั้งเดิมมันสวยกว่านี้มาก แต่โดนน้ำยาเคลือบล้างกัดจดหมด สีที่แท้จริงของโมนาลิซ่าสามารถเดาได้จาก ภาพโมนาลิซ่าที่เป็นเวอร์ชั่นของศิลปินท่านอื่นๆในยุคเดียวกัน(ลูกศิษย์ลีโอนาโด)
รูปทางซ้ายวาดโดยคุณ Prado


 
 
รูปนี้ดังในหมู่คนสนใจศิลปะมานานมากๆแล้ว ตั้งแต่เรเนซองค์แต่มาบูมในหมู่คนทั่วไปไม่นานนี้เอง เพราะรูปนี้ถูกขโมย! มีความลือเรื่องการถูกขโมยหลากหลายรูปแบบมาก แต่ที่ดังที่สุดคือช่วงสงครามโลก ที่ลือว่าทหารอิตาลีขโมยภาพแล้วม้วนใส่ในกระเป๋า แต่ไม่มีความเป็นไปได้เลย เพราะรูปนี้วาดบนไม้

แต่เรื่องที่เคยถูกขโมยจริงๆเกิดจากคนที่ทำงานในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์เอง เป็นคนงานที่ถอดรูปออกไปเก็บในห้องเก็บของและตั้งใจขายให้กับพิพิธภัณฑ์ของอิตาลี (ไม่สำเร็จ โดนจับได้ก่อน) เพราะชาวอิตาลีมีความเชื่อว่ารูปนี้ควรอยู่ที่บ้านเกิดของลีโอนาโด ไม่ใช่ที่ฝรั่งเศส!

ความเป็นจริงลีโอนาโดเป็นคนให้รูปนี้กับทางลูฟว์เอง เพราะเขามาทำงานที่ฝรั่งเศสให้กับฟรองซ์ซัวที่หนึ่ง พระราชาฝรั่งเศสที่ให้ความสำคัญกับศิลปะมาก ผู้ก่อตั้งโรงเรียนศิลปะชื่อดัง และเป็นเจ้าของลูฟว์ในตอนนั้นด้วย
ปล.ลีโอนาโดตายที่ฝรั่งเศส คาดว่ายกให้ก่อนตายนั้นแหละ

ส่วนที่บอกว่าเหมือนถูกมองไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของห้องไม่ได้มีเฉพาะโมนาลิซ่าที่ทำให้คุณรู้สึกอย่างนั้น รูป portrait ในยุคเดียวกันก็จะทำให้คนดูรู้สึกเหมือนกัน เป็นวิธีการวาดองศาของตาและใบหน้าที่ฮิตในยุคเรเนซองค์



ที่โมนาลิซ่ามีกระจกกั้นไม่เหมือนรูปอืนๆในห้องเดียวกัน (ทั้งๆที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน) เพราะเคยมีคนเคยโยนหินเคลือบกรดใส่ ทุกวันนี้รอยยังอยู่บนรูปภาพอยู่เลย
ปล.กระจกที่กั้นกันกระสุนได้ด้วย

ทุกวันนี้มีเทคโนโลยีมากพอที่จะกำจัดคราบออกและให้ภาพสวยขึ้น แต่โมนาลิซ่ามีมูลค่ามหาศาลจึงไม่มีบริษัทไหนยอมรับความเสี่ยง บวกกับเวลาที่ลูฟว์ไม่สามารถเสียไปกับการยกโมนาลิซาออกมาทำความสะอาดได้ เพราะลูฟว์จะไม่มีโมนาลิซาแขวนโชว์ไม่ได้ จำนวนนักท่องเที่ยวคงหายไปมากกว่าครึ่ง

เพิ่มเติม Leonardo da Vinci นับเป็นอัฉริยะ เขาไม่ได้เป็นแค่ศิลปิน ยังเป็นสถาปนิก นักประดิษฐ์คิดค้น สนใจหลากหลายแขนง วิทย์ คณิต ดนตรีหลายคนยกเครดิต เฮลิคอปเตอร์,รถถัง,ร่มพาราชู้ต ฯลฯ ให้ลีโอนาโด แต่การที่เขาเลือกที่จะพาโมนาลิซ่าเดินทางไปทุกทีกับเขาจนตาย เลยทำให้ภาพนี้มันพิเศษ

แปะผลงานอื่นๆให้
-Lady with an Ermine
-La belle ferronnière
-Head of a woman
-St. John the Baptist








**เกล็ดเล็กน้อย!! ที่หลายคนไม่เคยรู้ da vinci ไม่ใช่นามสกุลของ Leonardo เพราะเค้าเกิดที่เมือง vinci แคว้น Toscana คำว่า da แปลเหมือน of ของภาษาอังกฤษ อ่านจากบทความในภาษาอิตาเลียน เค้าบอกว่าในความเป็นจริงแล้วนามสกุลของคนอิตาเลียนถูกใช้หลัง Leonardo ตายไปแล้ว 40ปี

Vinci เป็นเมืองเล็กๆในเขตฟลอเรนซ์ค่ะ ก่อนหน้าการใช้นามสกุลจะใช้การต่อท้ายด้วยชื่อของพ่อค่ะ อย่างLeonardo เป็นลูกของ ser Piero di Antonio ดังนั้นแท้ที่จริงแล้วควรเป็น Leonardo di ser Piero ในบทความยังกล่าวว่า หากลีโอมีลูกก็จะใช้ di Leonardo ต่อท้าย ไม่ใช่ Da Vinci

ขอขอบคุณจากใจ นายตะขบ!!


Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #11 on: 16 November 2020, 14:22:59 »


https://www.tnews.co.th/variety/511581/ไขปริศนา-ภาพวาด-โมนาลิซ่า



ไขปริศนา ภาพวาด โมนาลิซ่า

กว่า 500 ปีมาแล้วกับคำถามที่ว่า โมนา ลิซ่า (Mona Lisa) นั่นเป็นใคร ซึ่งยังเป็นปริศนา และยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนและแน่นอน ว่าบุคคลในภาพเขียนของ ลีโอนาร์ โด ดา วินซี่ คือใครกันแน่ ภาพนี้วาดขึ้นราวๆ ค.ศ. 1503-1506 โดยแฝงรอยยิ้มที่ลึกลับ น่าเคลือบแคลง ไปด้วยปริศนามากมายลงบนใบหน้าของ โมนา ลิซ่า ให้ผู้คนได้นึกคิด จินตนาการกันไปต่างๆ นานา ยาวนานถึง 5 ศตวรรษ จวบจนกระทั่งปัจจุบัน คำถามที่ผู้คนสงสัย และได้ค้นคว้าหาคำตอบกันอย่างมากมาย ก็คือ โมนา ลิซ่า คือใคร?


 
ตามคำบอกเล่าของ "จิออร์โอ วาซารี" จิตรกร สถาปนิก และ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับศิลปะในสมัยนั้น เขากล่าวไว้ว่า โมนา ลิซ่า ก็คือภรรยาของ ฟรานเชสโก เดล จิโอกอนโด ซึ่งเป็นพ่อค้าไหมที่มั่งคั่งแห่ง เมืองฟลอเรนซ์ ขณะที่ ดาวินซี่ เขียนภาพนี้ซึ่งได้ใช้เวลานานถึง 4 ปี เขาได้ไปว่าจ้าง นักร้อง นักดนตรี และตัวตลกมาให้ความบันเทิงแก่หญิงงามผู้เป็นแบบของ ภาพเขียน เพื่อให้เธอมีรอยยิ้มที่ปราศจากความเศร้าหมอง อย่างไรก็ตามจากคำ บรรยายของ วาซารี ก็เป็นเพียงข้อมูลจากผู้ที่ไม่เคยเห็นภาพเขียนนี้ของ ลีโอนาร์โด แต่อย่างใด

จากหลักฐานอีกแหล่งหนึ่งจาก "อันโตนิโอ เดอ เบอาทิส" ผู้บันทึกปากคำของ ลีโอนาร์โด ใน ค.ศ. 1517 ว่าผู้เป็นแบบในภาพคือสตรีชาว ฟลอเรนซ์ และ จูลีอาโน เดอ เมดิซี่ เป็นผู้ว่าจ้างให้เขียนภาพนี้ จากการที่ ไม่มีหลักฐานปรากฎที่แน่ชัดว่า ใครเป็นแบบให้กับ ลีโอนาร์โดวาดภาพนี้ จึงทำให้มีการตั้งข้อสันนิษฐานกันไป ต่างๆ นานา ไม่ว่าจะเป็น บุคคลใน ภาพอาจเป็น คอนสตันซ่า คาวารอส หรืออาจจะเป็น อิสซาเบลลา เดสเต ผู้อื้อฉาว หรืออาจเป็นภรรยาลับของ จูลีอาโน เดอ เมดิซี่ ทั้งนี้ ก็เพราะได้ปรากฎว่า มีโมนา ลิซ่า (เปลือย) หลายภาพในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็น ที่โด่งดังมากกับภาพเปลือยของสาวผู้นี้



นอกจากนี้จากการที่ลีโอนาร์โดเองมีชื่อที่ถูกกล่าวขานกันว่าเขาเป็นพวก รักร่วมเพศ จึงเกิดการสันนิษฐานว่า โมนา ลิซ่า ไม่ใช่ผู้หญิงแต่เป็นภาพเหมือนจำแลง เพศของเด็กหนุ่มรูปงามคนใดคนหนึ่ง ซึ่งศิลปินมักเลี้ยงไว้ติดสอยห้อยตามในสตูดิโอ บ้างก็มีการนำภาพเหมือนของ ลีโอนาร์โดมามาเปรียบเทียบกับภาพของ โมนา ลิซ่า แล้วก็สรุปเอาดื้อๆว่าภาพเขียนอันลือชื่อนี้แท้ที่จริงคือ ภาพของ ลีโอนาร์โด ดาวิน ซี่ เองที่แปลงกาย แต่งตัวเป็นสตรีเพศ ยิ่งไปกว่านั้นผู้ที่สนับสนุนทฤษีนี้ยังกล่าวเสริม ต่อไปว่า ลายปักขดเชือกที่รอบคอเสื้อของ โมนา ลิซ่า คือลายเซ็นลับของ ดาวินซี่เอง เพราะในภาษาอิตาเลี่ยนคำว่า "ขดเชือก" จะตรงกับคำว่า "วินชีเร่"



แม้ว่าบุคคลในภาพ โมนา ลิซ่า ยังเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ครอบครองภาพนี้ยังพอมีข้อมูลอยู่บ้าง นั่นก็คือ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ลีโอนาร์โด ไม่ยอมพรากจากภาพเขียนนี้ และเขาได้นำติดตัวพร้อมกับทรัพย์สินสินมีค่าอื่นๆที่เขารัก หวงแหน ออกจากกรุงโรมเมื่อครั้งเดินทางมาที่ฝรั่งเศสเพื่อเป็นศิลปินแห่งราชสำนักของพระเจ้าฟรานซิสที่ 1 (ค.ศ. 1479-1547) ใน ค.ศ. 1517 ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ครอบครองภาพ โมนา ลิซ่า คนแรกก็คือกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งโปรดให้นำภาพไปประดับที่ห้องสรงในพระราชวัง ฟองแตนโบล แต่เมื่อจักรพรรดินโปเลียนขึ้นครองราชย์ ภาพโมนา ลิซ่า จึงถูกย้ายมาพำนักในห้องพระบรรทม และมีชื่อเรียกอย่าง สนิทสนมว่า "มาดาม ลิซ่า"



มุมมอง ทัศนะคติ และ ความคิดเห็นความรู้สึก ต่างๆ ที่มีต่อ Mona Lisa นั้นมีมากมายเหลือเกิน "จูลส์ มิเชอเลต์" ได้พรรณนาไว้ใน หนังสือประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสว่า "ภาพเขียนนี้ดึงดูดข้าพเจ้า พรํ่าเรียกข้าพเจ้า รุกรานข้าพเจ้า ซึมซาบเข้าไปในตัวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าตรงลิ่วเข้าไปหาโดยไม่รู้สึกตัว ประดุจนกบินดิ่งเข้าไปในปากงูพิษ" นี่คือทัศนคติต่อ Mona Lisa ในศตวรรษที่ 16 ที่มองความงามในแบบอุดมคติ แต่มุมมองจากนักวิจารณ์ในศตวรรษที่ 19 กลับมองไปอีกด้านหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มโรแมนติคส์ที่มองว่า โมนา ลิซ่า เป็นสตรีมรณะ (Femme fatale) หรืออีกนัยหนึ่งคือสตรีผู้ยื่นความตายแก่บุรุษ

สำหรับ เธโอฟิล โกติเอร์ (Theophile Gautier) โมนา ลิซ่า มิได้เป็นสาวน้อยที่มี รอยยิ้มแสนหวานงามปานกลีบกุหลาบ ตามที่วาซารีเคยพรรณนาไว้แต่จะเป็นสาววัย สามสิบที่ร่องรอยแห่งเลือดฝาด และความสดใสแห่งชีวิตเริ่มที่จะอันตรธานหายไป สีของอาภรณ์ และผ้าคลุมผมของเธอ ซึ่งหมองคลํ้าเพราะกาลเวลา ทำให้เธอดูเหมือนหญิง หม้ายที่แฝงไว้ด้วยความทุกข์โศก



อันที่จริงแล้ว ลักษณะรอยยิ้มของ โมนา ลิซ่า ที่มีการตีความไปต่างๆนานานั้น สามารถ พบเห็นได้ในภาพเขียนอื่นๆของ ดาวินซี่ เองเช่น รอยยิ้มที่แฝงความอ่อนโยนและการุณย์ ของเซนต์แอนน์ หรือพระแม่มารี หรือแม้กระทั่งรูปปั้นในยุคโบราณของกรีก ในศตรวรรษที่ 19 มีผู้เห็นว่าภายใต้รอยยิ้มยากที่จะหยั่งลึกของ โมนา ลิซ่า นี้กลับแฝงไว้ด้วย ปริศนาอมตะ แห่งอิสตรี ส่วนนักจิตวิเคราะห์อย่าง ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund freud) ก็ตีความหมายว่า "ลีโอนาร์โดหลงไหลรอยยิ้มของ โมนา ลิซ่า" เพราะมันคือสิ่งที่หลับไหล ภายในจิตใจ และความทรงจำในอดีตของเขาที่ผ่านมานานแล้ว รอยยิ้มนี้ถอดแบบพิมพ์ มาจากคาเตรีนาผู้ที่เป็นมารดา สำหรับนักสุนทรียศาสตร์อย่าง วอลเทอร์ เพเทอร์ (Walter Pater) พรรณนาไว้ว่า "เธอมีอายุแกกว่าหินผาที่ห้อมล้อมเธอ ประดุจหนึ่งปีศาจดูดเลือด เธอได้ตายมาแล้วหลายคราและหยั่งรู้ความลึกลับแห่งหลุมศพ"



พอมาถึงต้นศตรวรรษที่ 20 ผู้คนรุ่นใหม่ๆ เกือบที่จะไม่ได้แสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และทัศนคติต่อโมนา ลิซ่า เสียแล้ว เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1911 ในเวลา เช้าตรู่ข่าวการโจรกรรมภาพ Mona Lisa ออกจากพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ปรากฎต่อมวลชน ซึ่งกว่าจะค้นพบเธอ และจับกลุมผู้โจรกรรมได้ก็ต้องใช้เวลาถึง 2 ปี ปรากฎว่าคนที่โจร- กรรมโมนา ลิซ่าไป ก็คือคนที่ทำความสะอาดในพิพิธภัณฑ์นั่นเอง สถานที่ค้นพบ โมนา ลิซ่า นั้นก็คือเมือง ฟลอเรนซ์บ้านเกิดของเธอนั่นเอง ในปัจจุบันนี้โมนาลิซ่าได้รับการ ทะนุถนอมเป็นอย่างดี ในตู้กระจกปรับอากาศและกันกระสุน ซึ่งไม่มีใครที่จะสามารถลักพาตัวเธอได้อีกต่อไป มีสิ่งที่น่าสังเกตุก็คือ ตั้งแต่การหายลึกลับของ โมนา ลิซ่าเป็นระยะเวลายาวนานในคราวนั้น มีผู้ที่ไปดูโมนา ลิซ่าบางคนบอกว่า รอยยิ้มของเธอนั้นเปลี่ยนไป โดยที่ตั้งข้อสงสัยว่า เธออาจไม่ใช่ โมนา ลิซ่า ตัวจริง

เมื่อปี ค.ศ. 1974 โมนาลิซ่าถูกนำไปแสดงที่กรุง มอสโก และโตเกียว โดยเฉพาะที่ โตเกียวมีผู้คนมาเข้าแถวชมเพื่อยลโฉมเธอถึง 2 ล้านคนในช่วงเวลาแค่ 3 เดือน




 
Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #12 on: 16 November 2020, 14:25:32 »


https://www.majorcineplex.com/news/monalisa-real-paint



ไขปริศนา 'โมนาลิซ่า' ภาพวาดดาวินชี
มี2สาวอ้างเป็นทายาทตัวจริง

หากยังจำกันได้เกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่อง The Davinci Code ที่มีการนำผลงานศิลปะที่เป็นปริศนาของเลโอนาร์โด ดา วินชี มาร้อยเรียงเป็นผลงานหนังสืบสวนที่นำแสดงโดย ทอม แฮงค์ ซึ่งหนึ่งในผลงานศิลปะที่ถูกนำมาใส่ไว้ในหนังคือ โมนาลิซ่า รอยยิ้มปริศนาในภาพวาดที่คนทั้งโลกสงสัยว่า เธอคือใคร??



ล่าสุดเว็บไซต์ข่าวต่างประเทศได้รายงานว่า ได้มีสองสาวชาวอิตาลี อ้างตัวว่าเป็นลูกหลานของโมนาลิซ่า

นาตาเลีย และ ไอริน่า สโตรซี่ สองสาวที่อ้างตัวว่าเธอคือทายาทที่แท้จริงของโมนาลิซ่า ซึ่งสาวในภาพวาดตัวจริงคือ ลิซ่า เดล จิโอคอนโด ภรรยาของนักธุรกิจนามว่า ฟรานเซสโซ เดล จิโอคอนโด  ต้นตระกูลของครอบครัวสโตรซี่ ซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูงที่มีอำนาจมากที่สุดในฟลอเรนซ์
 
"ท่านเป็นยายของเรา และ เรามีสายเลือดของท่านไหลเวียนอยู่ในตัวเรา "



แรบ ฮัทฟิลด์ ศาสตราจารย์ประวัติศาสตร์ศิลปะที่มหาวิทยาลัย ซีราคิวส์  ในเมืองฟลอเรนซ์ ได้ออกมาให้ความเห็นว่า ภาพหญิงสาวโมนาลิซ่า คือ  ลิซ่า เดล จิโอคอนโด  จริงๆ และสองสาวที่อ้างตัวว่าเป็นทายาทของโมนาลิซ่า สามารถมั่นใจได้ว่าเป็นตัวจริง ทั้งนี้ภาพวาดของ ดาวินชี อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1503 ปัจจุบันถูกเก็บไว้ อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ในกรุงปารีส


 
Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #13 on: 16 November 2020, 14:29:16 »


https://www.takieng.com/stories/11277

ไขปริศนารอยยิ้มลึกลับของโมนาลิซาคือเสน่ห์เย้ายวนใจของสภาวะที่ไม่สมบูรณ์



เป็นเวลากว่า 500 ปีแล้วที่เลโอนาร์โด ดาวินชีได้เขียนภาพที่โด่งดังที่สุดในโลก “โมนาลิซา” ปัจจุบันเธอถูกแขวนอยู่หลังกระจกกันกระสุนในห้องส่วนตัวในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ รอคอยผู้มาเยี่ยมชมปีละหลายล้านคน หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ภาพนี้เป็นที่ชื่นชอบและถูกพูดถึงมากที่สุดคือรอยยิ้มลึกลับของเธอที่ผู้คนสงสัยว่ามันเกี่ยวกับเรื่องอะไร แม้จะมีทฤษฎีในเรื่องนี้มากมายแต่ไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน แต่ตอนนี้มีนายแพทย์คนหนึ่งบอกว่าเขาไขปริศนานี้ได้แล้ว

เมื่อปีที่แล้วนายแพทย์ Mandeep R. Mehra ผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจที่เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในผู้คนที่ไปเบียดออกันแน่นเพื่อแย่งชมภาพโมนาลิซาให้ใกล้ที่สุด เขาได้พิจารณารายละเอียดของเธอที่ดูแปลกๆ เธอมีผิวสีเหลือง ผมบาง และรอยยิ้มที่ดูไม่สมดุล
“ผมมีโอกาสไปอยู่ที่นั่นหนึ่งชั่วโมง และใช้เวลาครึ่งหนึ่งจ้องมองที่ภาพนี้ ผมไม่ใช่ศิลปิน ผมไม่รู้ว่าจะชื่นชมศิลปะอย่างไร แต่ผมรู้วิธีการวินิจฉัยทางการแพทย์เป็นอย่างดี” Mehra กล่าว



Mehra สรุปว่า Gherardini Lisa ผู้เป็นนางแบบในภาพนี้กำลังได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ซึ่งเป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาไม่เพียงพอ อาการของโรค เช่น มือบวม ผมบาง และมีก้อนที่คอ ทั้งหมดปรากฏอยู่ในภาพ
 
Mehra อธิบายว่าถ้าได้จ้องมองภาพโมนาลิซาแบบใกล้ชิด คุณจะเริ่มเห็นรายละเอียดที่ผิดปกติหลายอย่าง เช่น ด้านในมุมตาข้างซ้ายของเธอมีตุ่มเล็กๆอยู่ระหว่างท่อน้ำตากับสันจมูก ผมของเธอบางผิดปกติ เธอไม่มีขนคิ้วเลย มือขวาที่วางทับบนมือซ้ายมองเห็นนิ้วชี้บวมอย่างชัดเจน เธอยังมีผิวสีเหลือง ทั้งหมดเป็นอาการของโรคคอพอก



“หลังจากสังเกตเห็นสิ่งเหล่านี้ มันเห็นได้ชัดว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับเธอ” Mehra กล่าว “ก้อนที่คออาจเป็นต่อมไทรอยด์ที่โตผิดปกติซึ่งเป็นอาการของการเริ่มเป็นโรคคอพอก รอยยิ้มแปลกๆนั้นอาจเป็นผลจากการไร้สมรรถภาพที่เกิดจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ”

ปริศนารอยยิ้มลึกลับของโมนาลิซาจึงถูกไขด้วยการวินิจฉัยของแพทย์ว่าเป็นโรคไฮโปไทรอยด์นี่เอง Mehra ยังบอกว่าด้วยข้อจำกัดในการรักษาโรคนี้เมื่อช่วงเวลานั้นอาจทำให้ Gherardini Lisa เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อยมาก

เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยของเขา Mehra ได้ตรวจสอบข้อมูลของชาวเมืองฟลอเรนซ์ในศตวรรษที่ 16 เพื่อหาหลักฐานการเป็นโรคไฮโปไทรอยด์ที่อาจเป็นโรคทั่วไปของผู้คนในเมือง หรืออาจเป็นปัญหาทั่วไปของชาวอิตาลีในยุคเรอเนสซองส์ และพบว่าโรคคอพอกปรากฏอยู่ทั่วไปในภาพเขียนและงานประติมากรรม

เขาพบว่าอาหารที่กินกันในสมัยนั้นที่ส่วนใหญ่เป็นผักขาดไอโอดีนซึ่งจำเป็นต่อต่อมไทรอยด์อย่างมาก ผักส่วนใหญ่ที่ชาวเมืองฟลอเรนซ์ในยุคเรอเนสซองส์กินกัน อย่างเช่น กระหล่ำดอก กะหล่ำปลี และผักเคลล้วนเป็นอาหารที่ทำให้เกิดโรคคอพอกได้ง่าย

ดาวินชีไม่ได้เป็นเพียงแค่หนึ่งในจิตรกรที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดเท่านั้น แต่เขายังเป็นนักกายวิภาคอีกด้วย รายละเอียดพวกนี้มิอาจหลุดรอดสายตาเขาไปได้ ก้อนที่ตาและคอ ผมที่บางผิดปกติ และตาขาวที่เหลืองซีดไม่ได้เป็นเรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน

“ผมรู้ดีว่าผมกำลังดูผลงานชิ้นเอกของศิลปินคนพิเศษผู้ให้รายละเอียดประกอบเล็กๆทุกอย่างได้อย่างมหัศจรรย์เหลือเชื่อ” Mehra

 
ข้อมูลและภาพจาก techexplorist, inverse


 
Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #14 on: 16 November 2020, 14:31:13 »


http://whiteboardbkk.com/ทำไม-mona-lisa-ถึงเป็นภาพวาดที่ค.html



ทำไม Mona Lisa ถึงเป็นภาพวาดที่คนรู้จักมากที่สุดในโลก ?
ทำไม Mona Lisa ถึงเป็นภาพวาดที่คนรู้จักมากที่สุดในโลก ? เป็นเพราะรอยยิ้มของเธอ หรือเป็นเพราะไม่มีใครรู้ว่าจริงๆแล้วเธอเป็นใคร….

สาเหตุที่ Mona Lisa ดังเป็นพลุแตกนั้นก็เพราะว่าเธอเคยหนีตามผู้ชายไป…หรือถ้าจะพูดให้ถูกคือ ภาพวาด Mona Lisa เคยถูกขโมยไปจากพิพิธภัณฑ์ ลูฟร์ เมื่อ 100 ปีก่อน โดยช่างทำกรอบกระจกรูปของพิพิธภัณฑ์คนหนึ่งชื่อ Peruggia

นายคนนี้แอบอยู่ในตู้ รอจนดึก ถึงค่อยเดินออกมายกภาพ Mona Lisa ออกจากผนังแล้วซุกไว้ในเสื้อคลุม โดยที่ไม่มียามเห็น (สมัยนั้นพิพิธภัณฑ์ ลูฟร์มียามเฝ้าห้องเพียง 200 กว่าห้องจาก 400 กว่าห้อง) แต่ก็ต้องเหงื่อตกเมื่อพบว่าออกจากตึกไม่ได้เพระประตูล๊อคอยู่ แต่พระเจ้าจอร์จ ช่างประปาที่อยู่ในตึกใช้กุญแจเปิดให้ออกไปได้


leonardo-mona-lisa

ข่าวภาพ Mona Lisa ถูกขโมยดังเป็นพลุแตกโดยฝีมือของสื่อต่างๆ สมัยนั้น ทำให้รอยยิ้มปริศนาของ Mona Lisa นั้นโด่งดังไปทั่วโลก

ตำรวจฝรั่งเศสพลิกแผ่นดินเพื่อหา Mona Lisa แต่ก็กว่าน้ำเหลวโดยตลอดจนกระทั่ง 2 ปีผ่านไป ในเดือนธันวาคมปี 1913 นาย Peruggia ก็ติดต่อพิพิธภัณฑ์ในอิตาลีเพื่อมอบภาพของ Mona Lisa ซึ่งวาดโดยชาวอิตาลีคืนให้กับชาวอิตาลี Peruggia คาดว่าคนชาติเดียวกันจะพากันสรรเสริญการกระทำของเขา (คิดได้ไงเนี่ย) สุดท้ายไม่มีใครสนใจ ทำให้ต้องไปนั่งจ๋อยในคุกเป็นเวลา 7 เดือน

และนี่คือเหตุผลว่าทำไม Mona Lisa ถึงเป็นภาพที่โด่งดังไปทั่วโลก…เพราะเธอเคยถูกผู้ชายฉุดไปนั่นเอง

แหล่งข้อมูล: http://edition.cnn.com/2013/11/18/world/europe/mona-lisa-the-theft/index.html?hpt=hp_c5


 
Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.113 seconds with 19 queries.