Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
01 November 2024, 09:31:39

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,368 Posts in 12,805 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  บุคคลต้นแบบ  |  ปราชญ์ชาวบ้าน  |  พ่อคำเดื่อง ภาษี  |  ปราชญ์ชาวบ้าน - พ่อคำเดื่อง ภาษี
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: ปราชญ์ชาวบ้าน - พ่อคำเดื่อง ภาษี  (Read 1601 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 30 December 2012, 09:34:38 »

ปราชญ์ชาวบ้าน - พ่อคำเดื่อง ภาษี


จากฟางเส้นเดียวสู่โรงเรียนชุมชนอีสาน เสนอแนวคิดการทำเกษตรประณีตหนึ่งไร่ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยปลูกพืชที่กินได้เป็นยาได้ ปลูกไม้ไว้สร้างบ้านเรือนในอนาคต ขุดบ่อเลี้ยงปลา ทำทุกอย่างในพื้นที่ 1 ไร่โดยไม่ใช้สารเคมี
พ่อคำเดื่อง ภาษี ปราชญ์ชาวบ้านผู้ผลักดันแนวคิดเกษตรประณีตอีกท่านหนึ่งสะท้อนทัศนะในการมอง โลกและเกษตรแนวทางที่ร่วมกันคิดค้นและผลักดันได้อย่างน่าสนใจ  "เดี๋ยวนี้การพัฒนาของโลกมันผิดนะ  เพราะถ้ามันเริ่มจากใหญ่ๆ  ใครจะตามได้  มันไม่มีทางเป็นไปได้  ฉะนั้นการแก้ปัญหามันต้องเริ่มจากเล็ก  ศักยภาพของโลกมันเท่าเดิมมันไม่โตขึ้นเหมือนต้นไม้  พอคนเยอะขึ้นโลกมันก็ถูกแบ่งซอยไป  ทรัพยากรธรรมชาตันก็น้อยลง  ยิ่งใช้ก็ยิ่งน้อยลง  ความต้องการของคนมันสวนทางกับธรรมชาติ  ความพอดีมันอยู่ตรงไหน  คนนี้ 10 ไร่ก็ไม่พอ 100 ไร่ก็ไม่พอ 1,000 ไร่ก็ไม่พอ  แล้ว 100 ปีจะเป็นอย่างไร  ผมก็บอกว่าเริ่มแรกๆ ก็เริ่มแค่งานเดียว  บางคนก็เริ่มแค่ไร่เดียว  ผมก็ทำมาตั้งนานกว่าจะปลดหนี้ได้ก็เริ่มจากน้อยๆ ทั้งนั้น  เราก็เลยมาคิดกันว่าจะเอาอะไรมาทดลองให้ชาวบ้านดู  มันคงจะต้องมาทำเล็กๆ ให้ดู  เหมือนกับที่เราทำแรกๆ  ทำแรกๆ ทำเล็กก็จริงแต่เราก็ปลูกหลายอย่าง  แล้วก็รวมความคิดของทุกคนมา  ดูจากที่เราปลูกผักเลี้ยงตัวเองเลี้ยงครอบครัวมา  ใช้พื้นที่เท่าไหร่ก็ตกลงว่าเอา 1 ไร่"  พ่อคำเดื่องเปรียบเปรยถึงการตีกรอบว่าให้ใช้แค่ 1 ไร่ว่าเหมือนกับเรามีเงินน้อย จำทำอะไรก็ต้องคิดก่อน จะพอไหม  เป็นการบีบให้เราต้องวางแผนให้ดี วางแผนในการจัดการดิน จัดการน้ำ จัดการเวลา ฯลฯ  ซึ่งความรู้ตรงนี้จะให้รู้จักการออมดิน ออมน้ำ การจัดการอากาศ จัดการแสง จัดการปัจจัยทั้งหมด  เมื่อความรู้และรูปแบบตรงนี้มันขยายไป  ถ้าในอนาคตที่ดินมันน้อยลงมันก็จะมีตัวอย่าง 2,000-4,000 ตัวอย่างให้คนได้ศึกษา
 
<a href="http://www.youtube.com/v/Wh_5iOXo5-8&amp;hl" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/Wh_5iOXo5-8&amp;hl</a>

<a href="http://www.youtube.com/v/jHfr2qow5xQ&amp;hl" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/jHfr2qow5xQ&amp;hl</a>
 

                พ่อคำเดื่องพูดถึงการทำเกษตรประณีตว่าไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว  เพราะความคิดแต่ละคนไม่เหมือนกัน  แต่ขอให้คิดออกจากกรอบเดิมๆ  มีความหลากหลาย  ประยุกต์ได้หลายรูปแบบ  แต่ต้องเป็นไปอย่างเกื้อกูลและสมดุล  พยายามใช้ที่ดินให้เต็มประสิทธิภาพ  ความต้องการของเจ้าของจะเป็นตัวกำหนด  รวมทั้งต้องปรับความคิดให้พึ่งพาตนเองให้มากที่สุด  พึ่งพาธรรมชาติ  สำหรับแปลงเกษตร 1 ไร่ของพ่อคำเดื่อง  ใช้งานเพียง 2 งานครึ่ง  ยังคงทดลองเรียนรู้อยู่  โดยทำเป็นลักษณะหลุมๆ ไปเป็นแถว  มีการปลูกพืชหลายอย่างในหลุม  จะปลูกเหลื่อมเวลากัน  ในพื้นหลุมปลูกพืชที่ไม่ต้องการแสงมาก ชอบที่ทึบอย่างพวกกุยช่าย ข่า ผักบุ้ง พริก   ในหลุมผักแต่ละแถวจะปลูกตะเคียนทอง มะฮอกกานี ไม้สัก ไม้ยางนา ไม้ประดู่ สลับกันไป  ไม้พวกนี้เป็นไม้ยืนต้นกว่าจะโตใช้เวลา 10-20 ปีบ้าง 30-40 ปีบ้าง พอโตก็ตัดได้  มีกล้วย มะละกอ 2-3 ปีก็ตาย  ไม้ยืนต้นกว่าจะโตเราสามารถปลูกผักต่างๆ หมุนเวียนในหลุมได้  ด้านข้างสามารถปลูกมะละกอ  ปลูกไม้อื่นแทรก เช่น ไม้เพกา ไม้แดง น้อยหน่า หรือล้อมด้วยไม้ประดับก็ได้  หากทึบมากก็แต่งกิ่งให้มีแสงได้  รดน้ำทีเดียวได้ประโยชน์ 2 ทาง  พวกผักสามารถช่วยอุ้มน้ำสร้างความชื้นได้ ประหยัดน้ำ ประหยัดแรงงาน  พื้นที่ด้านข้างว่างจะทำเป็นโรงเห็ด บ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่  เราสามารถออกแบบให้ 1 ปีมีงานทำทุกวันก็ยังได้  เครือข่ายบางคนเริ่มจากขุดบ่อ 2 บ่อเพื่อเลี้ยงปลากับกบแยกกัน  ต่อมาก็ยกพื้นสูงเพื่อเลี้ยงหมู  ต่อไปก็เลี้ยงไก่บนที่เลี้ยงหมู  บนจั่วก็เอาเห็ดขึ้นไปเพาะ  คิดให้หลุดจากกรอบเดิมๆ  ใช้ความคิดสร้างสรรค์เข้ามาในวิถีเกษตรด้วย  พอคนสามารถออกจากกรอบก็สามารถต่อยอดคิดออกมาได้อีกหลายแบบ  พ่อคำเดื่อง บอกว่าที่เล่ามามันเป็นแค่หนึ่งในล้าน  เราสามารถคิดออกมาได้อีกมาก  พอรูปแบบมันเริ่มหลากหลายก็จะเกิดกระแส  และคนก็สามารถยึดเป็นแบบอย่างได้
                พืชแต่ละอย่างมีความแตกต่างกันในเรื่องปัจจัยความต้องการ  หากจะจัดสรรให้อยู่ในพื้นที่เดียวกันต้องจัดอย่างไม่ให้เกิดการเบียดเบียน กัน  ต้องเข้าใจพืชนั้นๆ  ความต้องการน้ำ  ความต้องการแสง  ความต้องการดิน ฯลฯ  เพื่อจัดวางตำแหน่งได้อย่างเหมาะสม  ซึ่งในส่วนนี้เราสามารถเรียนรู้ศึกษาได้จากธรรมชาติ  ในเรื่องแนวคิดในการใช้เกษตรประณีต 1 ไร่เพื่อปลดหนี้พ่อคำเดื่องอธิบายว่า "คนส่วนมากมักจะคิดว่าเอาเงินไปใช้หนี้  แต่ตัวระบบ 1 ไร่นี่เราอยากให้พึ่งพาตนเองในเรื่องอาหาร  ถ้าเราทำเองผักมันก็จะปลอดภัย  สุขภาพเราก็ดี  ไม่ใช่พอเราหาเงินๆ พอป่วยทีเดียว  เงินก็หายหมด  ถ้าเราไม่ต้องเอาเงินไปซื้ออาหารก็มีเงินไปใช้หนี้มันก็อันเดียวกัน  มันอ้อมมาอีกทาง  ปลูกกิน  เหลือก็ขาย  ถ้าไม่ได้จ่าย  เราก็ไม่ต้องซื้อ  ถ้ายังต้องซื้อมันก็ยังเป็นวงจรที่ไม่มีที่สิ้นสุด  ส่วนพวกไม้ใช้สอยที่เราปลูกอีก 20-30 ปีข้างหน้าถ้าต้นละ 10,000 เราก็ได้มาก  ใน 1 ไร่ก็จะได้มาก  พวกผักที่ปลูกใน 1 ไร่  มันก็ต้องเหลือ  ปลูก 1 ไร่  ไม่มีอะไรไม่เหลือหรอก  ตัวอย่าง 1 ไร่ มี 1,600 ตารางเมตร  ใน 1 ตารางเมตร มี 9 ตารางฟุต  เราลองปลูกผักบุ้งสัก 1,600 ตารางฟุต  เราก็จะมีผักบุ้ง 1,600 แปลงแล้ว  สะระแหน่ก็ 1,600 แปลง  หอมก็ 1,600 แปลง  ลองดูซิใน 1 ไร่  แล้วลองปลูกไม้รอบอย่าง เช่น ชะอม ถ้ารอบ 30 ซ.ม./ต้น  มันก็จะได้ 530 ต้น  แค่รอบๆ 500 กว่าต้น  มันก็ไม่ใช่น้อยๆ 3-4 วันก็ตัดได้ 500 กว่าต้นก็คิดดู  คือมันไม่ได้มีที่ดินเยอะ  เราก็เลยคิดแบบนี้มันก็เห็นว่ามีที่ไป"
                ในอนาคตโลกจะมีความผันผวนเกิดวิกฤตขึ้น  คำว่าเงินทองของมายาข้าวปลาสิของจริงก็จะเด่นชัดมากขึ้น  ระบบอุตสาหกรรมจะล่มสลาย  เมื่อถึงเวลานั้นคนที่อยู่รอดได้จะไม่ใช่คนที่รับจ้างทำงานแลกเงิน  แต่จะเป็นคนที่สามารถผลิตอาหารได้  มีปัจจัยที่สำคัญอย่างที่ดิน  พ่อคำเดื่องบอกว่าในอนาคตจะมีคนจนมากขึ้น  โดยเฉพาะคนจนเมือง  พอทรัพยากรธรรมชาติหมดระบบอุตสาหกรรมก็อยู่ไม่ได้  เมื่อถึงเวลานั้นคนก็จะกลับคืนสู่ท้องถิ่น  ซึ่งออกมาจะซื้อที่ดิน 10-100 ไร่ คงเป็นไปได้ยาก  แต่ที่ดิน 1 ไร่คงไม่ยากสำหรับคนทั่วไป  การจัดการต่างๆ จะเล็กลงมาหมด  มันจะง่ายในการจัดการ  หรือสำหรับคนในเมืองก็สามารถนำแนวคิดไปทำได้  เพราะมันเป็นหลักการการจัดในพื้นที่จำกัด  หากผู้ใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ พ่อคำเดื่อง ภาษี 40 หมู่ 8 ต.หัวฝาย อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์  โทรศัพท์ 081-8765906
(สามารถดูภาพแปลนพื้นที่เกษตรประณีตของพ่อคำเดื่องได้ใน http://www.mapculture.org/coppermine/thumbnails.php?album=111)
 
แปลนพื้นที่เกษตรประณีต 1 ไร่ของพ่อคำเดื่อง
                ในพื้นที่ 1 ไร่ของพ่อคำเดื่องจะไม่มีพื้นที่นา  จะมีส่วนของแปลงผัก ไม้ผล และไม้ยืนต้น  รวมทั้งมีพื้นที่สำหรับโรงเรือนเพาะชำ  โดยจะไม่ได้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ 1 ไร่  มีการปลูกไม้ยืนต้น เช่น ต้นกล้วย มะละกอ เป็นต้น  มีการปลูกไม้ใช้สอย เช่น ต้นยางนา ต้นไผ่ ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้ตะเคียน เป็นต้น
 
ปริมาณและชนิดของผลผลิตจากที่ดิน 1 ไร่ของพ่อคำเดื่อง
ไม่มีการเลี้ยงสัตว์ในสวน
ไม่มีการทำนาในสวน
ผักมี 29 ชนิด  คิดเป็นน้ำหนัก 368.6 กิโลกรัม
ผลไม้มี 5 ชนิด  คิดเป็นน้ำหนัก 543.3 กิโลกรัม
เห็ดมี 1 ชนิด  คิดเป็นน้ำหนัก 5.3 กิโลกรัม
รวมพืชทั้งหมด 35 ชนิด  คิดเป็นน้ำหนัก 938.2 กิโลกรัม
ผลผลิตที่ไม่ได้ชั่งหรือกินได้มี กล้าไม้ 2 ชนิด จำนวน 8 กล้า  และมีไม้ไผ่ 13 ลำ
 
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการทำเกษตรประณีต 1 ไร่ของพ่อคำเดื่อง
ค่าแรงงานจำนวน 748 ชั่วโมง  คิดเป็นค่าใช้จ่าย 13,464 บาท
ค่าปุ๋ยจำนวน 1,514 กิโลกรัม  คิดเป็นค่าใช้จ่าย 0 บาท
ค่าไฟฟ้าสูบน้ำจำนวน 209 ชั่วโมง  คิดเป็นค่าใช้จ่าย 627 บาท
ค่าพันธุ์พืชจำนวน 1,288 ต้น  คิดเป็นค่าใช้จ่าย 448 บาท
ค่าเมล็ดพันธุ์จำนวน 13,073 กรัม  คิดเป็นค่าใช้จ่าย 75 บาท
ค่าพันธุ์สัตว์จำนวน 0 ตัว  คิดเป็นค่าใช้จ่าย 0 บาท
 
จำนวนปีที่ทำเกษตรผสมผสาน  ความพอเพียงของปริมาณน้ำ ชนิดและจำนวนของต้นไม้ยืนต้นที่มีอยู่ปลูกใหม่ตายไป  และคงเหลือในแปลเกษตรประณีต 1 ไร่
ที่ดินเกษตรประณีต 1 ไร่ของพ่อคำเดื่องเคยทำเกษตรผสมผสานมาแล้ว 2 ปี
ใช้น้ำจากลำห้วยกุดน้ำใส  มีน้ำพอเพียงกับความต้องการตลอดปี
ต้นไม้ยืนต้นที่มีอยู่เดิมมี 22 ชนิด  จำนวน 353 ต้น
จำนวนที่ปลูกเพิ่ม 10 ชนิด  จำนวน 270 ต้น
จำนวนที่ตายไปหรือตัดทิ้งมี 6 ชนิด  จำนวน 65 ต้น
จำนวนคงเหลือ 27 ชนิด  จำนวน 558 ต้น
หมายเหตุ: เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ถึง 31 ธันวาคม 2548  จากแปลงเกษตรประณีต 1 ไร่เดิม  ปัจจุบันเป็นแปลงใหม่
 
(เกษตรกรรมธรรมชาติ  ปีที่ 10 ฉบับที่ 3/2550 หน้า 42-47)
แสดงความคิดเห็น
1. สงวนสิทธิ์สำหรับสมาชิกของเว็บ เท่านั้น
2. ขอความกรุณาใช้คำพูดสุภาพ เคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น
กรุณาสมัครสมาชิก | เข้าสู่ระบบ
ข้อมูลทั่วไป
 
พ่ออิ่ม ครอบครัวแบ่งปัน
ที่อยู่ : แบ่งปัน
 bangpanorg@gmail.com
 http://www.bangpan.org
 0 ความคิดเห็น
 หมวด: เกษตรกรรมยั่งยืน
หมวดเรื่องดีดี
เศรษฐกิจพอเพียง
เกษตรกรรมยั่งยืน
บริหารจัดการเป็นธรรม
เรียนรู้ตลอดชีวิต
สังคมอุดมธรรม
วัฒนธรรม ภูมิปัญญา
สุขภาพ
สิ่งแวดล้อมเกื้อกูล
เทคโนโลยี
ท่องเทียว กีฬา
อุตสาหกรรม
เรื่องดีดีที่เกี่ยวข้อง
ปราชญ์ - คำป่วน สุธงษา(สวนน้ำผึ้ง)

ครูภูมิปัญญาไทยด้านเกษตรกรรม ผู้ที่ได้ลงมือนำร่องทำไม้ดอกไม้ประดับ ต่อสู้อุปสรรคนานัปการเพื่อให้ลูกหลานมีรายได้ และผลักดันให้ภูเรือเป็นแหล่งไม้ดอกที่สำคัญของประเทศ ด้วยการสร้างนวัตกรรมทั้งทางเทคนิคและทางปัญญา
ปราชญ์ - พ่อเชียง ไทยดี

ลุงเชียง ไทยดี ปราชญ์ที่รู้จริงเพราะทำจริง
ปราชญ์ - พ่อทัศน์ กระยอม

จากประสบการณ์เป็นบทเรียน พ่อทัศน์ กระยอม จึงเปลี่ยนความคิดตนเอง โดยยึดหลักธรรมะ หลักอิทธิบาท4 และหลักอัตตาหิ อัตตโน นาโถ เลิกเชื่อคนอื่น หันมาเชื่อภูมิปัญญาชาวบ้าน ลงมือทำการเกษตรแบบผสมผสาน ขุดสระน้ำ ปลูกกล้วยเป็นหลัก ปลูกไม้ผล และเลี้ยงสัตว์ รู้จักออมไม่ประมาทว่าเงินน้อย ไม่คอยแต่วาสนา ให้ถือหลัก 5 พระองค์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระมหากษัตริย์ และ พยายาม
ปราชญ์ - พ่อผาย สร้อยสระกลาง

พ่อผาย สร้อยสระกลาง เกษตรกรดีเด่น สาขาปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง
ปราชญ์ - พ่อประคอง มนต์กระโทก

ทุกข์คนอีสานอยู่ที่ท้อง แต่เชื่อเถิดไม่ว่าเขาจะไปหากินอยู่ที่ไหน วิญญาณเขาอยู่อีสาน แล้วสักวันหนึ่งเขาจะกลับมา ถ้าหากเขายังไม่สูญเสียแผ่นดินที่เคยฝังรก
มีต่อ »
ข้อคิด คำคม
การเสียสละ..แบ่งปัน...เป็นทั้งความ..สมาน..คือ...ความสามัคคีปรองดองระหว่างกันและกัน
และเป็นกุศโลบายในการสร้างความ..เสมอ..คือ..ให้คนทุกคนมองเห็นกัวอกของคนอื่น..
เมื่อมนุษย์รู้จักแบ่งปันแก่กันและกัน..
อันมีพื้นฐานมาจากการมีอัชฌาศัยกว้างขวางเอื้ออารีเช่นนี้
ศานติภาพท่ามกลางความแตกต่างก็จะเกิดมีได้อย่างไม่ยากเย็นนัก...


Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.041 seconds with 19 queries.