Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
01 November 2024, 09:20:13

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,368 Posts in 12,805 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  หมวดหมู่ทั่วไป  |  สาระน่ารู้  |  เรื่องที่ควรรู้เท่าทันระดับชาติ  |  การสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: การสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร  (Read 2332 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 13 December 2013, 08:14:24 »

เรื่อง การสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร

เขียนโดย อาจารย์ วันชัย พรหมภา

เรียบเรียงโดย นายไพบูลย์ สถาปนาวิสุทธิ์

 

            การเมืองบ้านเราในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเกิดการเคลื่อนไหวประชาธิปไตย อย่างกว้างขวาง ใหญ่โต ประชาชนทั่วไปมีการเรียกร้องประชาธิปไตยกันอย่างยืดเยื้อยาวนาน ชนิดที่ไม่เคยปรากฏมา ก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ความต้องการประชาธิปไตยของพี่น้องประชาชนที่เป็นอยู่นี้ เป็น เครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า ประเทศไทยมีการปกครองแบบเผด็จการ ที่ไม่อาจจะปิดบังอำพรางกันได้อีก ต่อไปแล้ว การต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนเป็นกระแสร้อนแรงไปทั่วทุกหย่อมหญ้า และพร้อมที่จะพังทลายทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นอุปสรรคขวางหน้า

            ในสถานการณ์ที่ประชาชนมีความต้องการประชาธิปไตยเช่นนี้ ได้มีกลุ่มการเมืองและคณะการ เมืองหลากหลาย ได้เข้ามามีบทบาทในการนำประชาชนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยตามทรรศนะที่ตน ต้องการ โดยไม่เอื้อเฟื้อต่อหลักการและหลักวิชา จึงทำให้การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชน ล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งขณะนี้นอกจากจะทำให้บ้านเมืองไม่มีทางออกแล้ว ยังกลับส่งผลร้ายให้ความ ขัดแย้งของคนในชาติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก ในท่ามกลางความต้องการประชาธิปไตยของ ประชาชนเช่นนี้ ได้สร้างความสับสนให้แก่พี่น้องประชาชนเป็นอย่างมากว่า ทรรศนะประชาธิปไตย แบบไหนคือความถูกต้อง ทรรศนะแบบไหนคือสิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำ กล่าวโดยสรุปก็คือ ประชาชนต้องการทราบว่า การสร้างประชาธิปไตยที่ถูกต้องทำอย่างไร หรือต้องมีความเข้าใจเป็น อย่างไรบ้าง ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องและนำไปสู่การแก้ปัญหาของชาติได้ ปัญหานี้จึงเป็นที่มาของ การจัดสัมมนาในวันนี้

            ปัญหาประชาธิปไตยนั้น เกี่ยวเนื่องด้วยหลักวิชาโดยสังกัดอยู่ใน วิชาการเมือง หรือ รัฐศาสตร์ (Political Science) ซึ่งมีหลักการและกฎเกณฑ์ที่จะต้องมีความเข้าใจและยึดถืออย่างเคร่งครัดมากมาย ซึ่งเราจะคิด จะพูด จะทำเอาตามชอบใจมิได้เลย

            การจะสร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จได้นั้น นอกจากจะต้องมีความเข้าใจใน ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) เป็นพื้นฐานแล้ว ยังจะต้องประกอบด้วยความเข้าใจปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เป็น เงื่อนไขสำคัญอีกหลายประการ อาทิเช่น

            1. เราต้องเข้าใจว่า ปัญหาพื้นฐานของชาติ คือ ระบอบเผด็จการ (Dictatorial Regime) กล่าวคือ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน ปี 2475 แล้ว ประเทศของเราก็ยังคงมีการปกครองแบบ เผด็จการตลอดมา เป็นเวลา 80 ปี ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆ ประชาชนธรรมดารู้และรู้สึกได้เป็นอย่างดี แต่นัก วิชาการและนักการเมืองในบ้านเรากลับไม่รู้ ซึ่งนอกจากไม่รู้แล้ว ยังหลอกให้ประชาชนรู้ผิดๆ อีกด้วย

            2. การสร้างประชาธิปไตย หรือการปฏิวัติประชาธิปไตยนั้น ประชาชนต้องทำด้วยตนเอง โดย การทำให้ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Sovereignty of the People หรือ Popular Sovereignty) มิใช่การเรียกร้องให้เอารัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมา และเอารัฐธรรมนูญปี 2550 คืนไป และก็มิใช่การ เปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการทำให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย หรือการโค่นรัฐบาล หรือโค่นอำมาตยาธิปไตย หรือยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน แต่อยู่ที่ประชาชนต้องร่วมกันโค่น ระบอบเผด็จการ

            3. เสนอเรื่อง การปฏิวัติ ใน สถานการณ์ปฏิวัติ ปัจจุบันเป็นสถานการณ์ปฏิวัติ เป็นสถานการณ์ ที่ต้องเปลี่ยน ระบอบเผด็จการ ให้เป็น ระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่แค่เปลี่ยนรัฐบาลเท่านั้น เป็น สถานการณ์ที่ยังไม่เหมาะสมสำหรับการเลือกตั้งทั่วไป เพราะเป็นสถานการณ์ที่ประชาชน ปฏิเสธการปกครอง ที่ไม่ใช่เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ดังนั้น การเลือกตั้งทั่วไป จึงไม่ใช่ทางออกของชาติในสถานการณ์เช่นนี้

            4. แยก การปฏิวัติ (Revolution) ออกจาก รัฐประหาร (Coup ďé tat) อย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ เพราะการปฏิวัติหมายถึงทำสิ่งที่ไม่ดีให้ดีขึ้น เป็นการพัฒนาและสร้างสรรค์ ในทางการเมือง หมายถึง การเปลี่ยนระบอบเผด็จการ เป็นระบอบประชาธิปไตย ส่วนรัฐประหาร หมายถึง การใช้กำลังอาวุธยึด อำนาจรัฐโดยผิดกฎหมาย จึงไม่ควรเอา 2 คำนี้มาปะปนกัน เพราะการเห็นรัฐประหารเป็นการปฏิวัติ นั้น เป็นอุปสรรคที่สำคัญของการสร้างประชาธิปไตย กลายเป็น อาชญากรรมทางวุฒิปัญญา

            5. การเรียกร้อง ลัทธิรัฐธรรมนูญ (Constitutionalism) หรือการเรียกร้องให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยของนักวิชาการโดยไม่เรียกร้อง ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) นั้น เป็นการพ่นพิษใส่ประชาชน ทั้งนี้เพราะเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างที่สุดของการสร้าง ประชาธิปไตยสำหรับประเทศไทย ในทางวิชาการเรียกขบวนการทางการเมือง เช่นนี้ว่า พวกปฏิปักษ์ ปฏิวัติ (Counter Revolutionary) หรือ พวกปฏิวัติซ้อน หมายถึง พวกปฏิวัติเพื่อทำลายการปฏิวัติ

            6. ใน ระบบทุนนิยม (Capitalism System) ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ถ้าตราบใดที่ชนชั้น กรรมกรซึ่งเป็น ชนชั้นล่าง ยังไม่มีการผลักดัน (Pressure Group) การสร้างประชาธิปไตย ตราบนั้น ก็เป็นอันเชื่อได้ว่า จะยังไม่มีระบอบประชาธิปไตยที่เป็นจริงเกิดขึ้นได้เลย ทั้งนี้ก็เพราะว่า ระบบ ทุนนิยม และระบอบประชาธิปไตยจะดำรงอยู่ได้ ก็แต่โดยความร่วมมือระหว่าง กรรมกร กับ นายทุน เท่านั้น ขาดข้างใดข้างหนึ่งก็จะไม่มีระบบทุนนิยม และถ้ากรรมกรไม่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ก็จะไม่มี ระบอบประชาธิปไตย

            7. การสร้างประชาธิปไตยจำเป็นต้องมีห้วงเวลาในการเปลี่ยนแปลงในทางวิชาการ เรียกว่า ระยะเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) หรือ ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ความล้มเหลว หรือ ความสำเร็จของ การสร้างประชาธิปไตยก็จะอยู่ที่ตรงจุดนี้ ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญของ รัฐบาลเฉพาะกาล (Provisional Government) หรือ รัฐบาลชั่วคราว (Interim Government) ไม่ใช่เป็นภารกิจของรัฐบาลรักษาการณ์ (Caretaker Government) ซึ่งไม่มีอำนาจ หรือรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมือง ดังเช่น ในกรณีพรรค ประชาธิปัตย์ กับพรรคร่วมรัฐบาลที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เพราะเป็น พรรคปฏิกิริยา (Reactionary) เป็น ขบวนการที่ล้าหลัง (Backward) ไม่ใช่ขบวนการปฏิวัติ (Revolutionary) หรือขบวนการก้าวหน้า (Progressive) จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดของการสร้างประชาธิปไตย

            8. เสนอการ ปฏิวัติสันติ (Peaceful Line) ทั้งนี้เป็นเพราะการปฏิวัติประชาธิปไตยสำหรับ ประเทศไทยนั้น มีกฏเกณฑ์ที่แน่นอนคือ จะสำเร็จได้ก็แต่ การปฏิวัติสันติ เท่านั้น มิอาจสำเร็จได้ด้วย การปฏิวัติแนวทางรุนแรง (Violent Line) และการเคลื่อนไหวมวลชน เช่นที่ผ่านมา ทั้งนี้เพราะว่าการ เคลื่อนไหวปฏิวัตินั้น สำหรับประเทศไทยนอกจากต้องใช้แนวทางสันติแล้ว การเคลื่อนไหวปฏิวัติยัง จะต้องประกอบด้วย

            1) การเคลื่อนไหวทางความคิด

            2) การเคลื่อนไหวทางหลักการ

            3) การเคลื่อนไหวทางการจัดตั้ง

            9. การสร้างประชาธิปไตย หัวใจที่สำคัญอยู่ที่ “แนวทาง” หรือ “มรรควิธี” (Method) มิใช่อยู่ที่ “เจตนาดี” หรือคำพังเพยของฝรั่งที่ว่า “Good Intention Paves the Way to Hell” และสาระสำคัญ ของแนวทางก็คือ อธิปไตยของปวงชน และ เสรีภาพของบุคคล เช่นเดียวกับสาระสำคัญของนโยบาย 66/23 ที่มีประสิทธิภาพในการยุติสงครามกลางเมืองลงได้ ก็คือ “การขยายเสรีภาพของบุคคล” และ “ขยายอธิปไตยของปวงชน” ให้ปรากฏเป็นจริง... แต่ในปัจจุบันอยู่ที่ต้องทำให้ เสรีภาพของบุคคล และ อธิปไตยของปวงชนให้เป็นจริงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มิใช่อยู่ที่การขยายให้เป็นจริง ซึ่งก็จะแก้ ปัญหาของชาติทั้งปวงได้เช่นเดียวกับนโยบาย 66/23

            10. การจะสร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จได้นั้น เราจะต้องมีความเข้าใจความหมายของ ประชาธิปไตย ใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะทั่วไป และ ลักษณะประยุกต์ ลักษณะทั่วไป คือ ปัญหา หลักการและหลักวิชาของลัทธิประชาธิปไตย แต่ความรู้ความเข้าใจแค่นี้ยังไม่พอ เรายังต้องมีความ เข้าใจประชาธิปไตยในลักษณะประยุกต์ อีกด้วย กล่าวคือ เราต้องสามารถประยุกต์หลักการและหลัก วิชาอันเป็นหลักสากล ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของสังคมไทยให้ได้อีกด้วย ถ้าเรายังแก้ปัญหานี้ ไม่ตก เราก็จะสร้างประชาธิปไตยให้เป็นจริงไม่ได้

            11. เราต้องเข้าใจว่าประชาธิปไตยนั้น มีหลายแบบคือ ประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งเป็น ประชาธิปไตยในแบบของประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นร้อยๆ ปี กับประชาธิปไตยในแบบของประเทศที่ กำลังพัฒนามีลักษณะต่างกัน เราจึงไม่อาจจะเอาประชาธิปไตยแบบตะวันตก มาใช้กับประเทศด้อย พัฒนา หรือ ประเทศที่กำลังพัฒนาได้เลย เพราะมันเข้ากันไม่ได้ เราจึงจำเป็นต้องคิดสร้าง ประชาธิปไตยให้เป็นแบบของเราขึ้นมาเอง ที่เรียกกันว่า ประชาธิปไตยแบบไทย เหตุที่การสร้าง ประชาธิปไตยในบ้านเราล้มเหลวมายาวนาน ก็เพราะว่าคณะราษฎรเอาประชาธิปไตยในแบบของ ประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งดุ้น มาครอบประเทศไทยเอาไว้ และนักร่างรัฐธรรมนูญคณะต่อๆ มา ก็ถนัด แต่จะลอกแบบประชาธิปไตยของประเทศอื่นๆ มาใช้ทั้งสิ้น โดยไม่เคยคิดสร้างแบบของเราขึ้นมาใช้ เองเลย จึงทำให้ประชาธิปไตยบ้านเราล้มเหลวมาจนทุกวันนี้

            12. เราต้องเข้าใจว่า ประชาธิปไตยนั้นมีทั้ง ด้านเนื้อแท้ และ ด้านรูปแบบภายนอก ด้านเนื้อแท้ คือหลักการ คือคำจำกัดความที่ท่าน อับราฮัม ลินคอร์น ได้ประกาศไว้คือ การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ซึ่งเป็น ด้านที่สำคัญที่สุด ด้านรูปแบบภายนอกคือการมีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง และมีการเคลื่อนไหวต่างๆ ตามแบบประชาธิปไตย เราต้องเข้าใจว่าด้านรูปแบบภายนอก จะมีความหมายต่อ ความเป็นประชาธิปไตย ได้ ก็ต่อเมื่อหลักการซึ่งเป็นด้านเนื้อแท้นั้น ปรากฏเป็น จริงแล้วเท่านั้น

            13. เราต้องเข้าใจว่า การเลือกตั้ง เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะบรรลุผลให้มี การปกครองของ ประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ปรากฏเป็นจริง แต่ในสภาพแวดล้อมอย่างหนึ่ง การ เลือกตั้งกลับกลายเป็นอุปสรรคต่อการเป็นประชาธิปไตย ดังนั้น เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของความ เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เราจึงจำเป็นต้องระงับการเลือกตั้งไว้ก่อน และเราจะต้องเข้าใจว่า การไม่ มีผู้แทนที่ราษฎรเลือกตั้งมานั้น ก็ไม่ได้หมายถึงว่า จะไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าหากฝ่ายปกครองมีวิธี การต่างๆ ที่จะรวบรวมเอาความคิดเห็นของประชาชนมาทำการปกครองได้มากเพียงใด ทำให้ ประชาชนได้รับผลประโยชน์อย่างทั่วถึง การปกครองนั้นก็จะเป็นประชาธิปไตยมากเพียงนั้น ผู้แทน ราษฎรซึ่งราษฎรเลือกตั้งมาโดยตรง แต่กลับไม่ทำหน้าที่ผู้แทนต่างหากเล่า ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

            14. การที่เราจะสร้างประชาธิปไตยได้ เราจำเป็นต้องมีความเข้าใจ ความหมายของคำว่า เผด็จการ และคำว่า อนาธิปไตย ด้วย การเมืองในบ้านเราดูภายนอกจะเห็นว่า การที่มีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง มีการเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง ดูเหมือนว่าเป็นประชาธิปไตย แต่ถ้าดูเนื้อใน ก็จะเห็นว่าแท้จริงแล้ว เป็นอนาธิปไตย หรือไม่ก็ เป็นเผด็จการ ทั้งอนาธิปไตยและเผด็จการ ก็ล้วน เป็นภัยต่อประชาชนทั้ง 2 อย่าง ทหารเป็นเผด็จการ เรามีความเข้าใจกันเป็นอย่างดี แต่พรรคการเมือง นำมาซึ่ง อนาธิปไตย ทุกครั้งที่เข้ามามีอำนาจเรากลับไม่เข้าใจกัน และยังกลับเห็นว่า อนาธิปไตยเป็น ประชาธิปไตยเสียอีกด้วย

            15. เราต้องเข้าใจความหมายของประชาธิปไตยโดยมี 2 นัยคือ โดยนัยอันแคบ และโดยนัยอันกว้าง โดยนัยอันแคบคือ ความหมายประชาธิปไตยใน ทางการเมือง โดยนัยอันกว้าง หมายถึง ระบบประชาธิปไตย (Democratic System) คือ หมายถึง ระบบสังคมทั้งระบบ ซึ่งประกอบ ด้วย การเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ใช่มองกันที่ต้องมี รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งเท่านั้น การทำให้เกิดประชาธิปไตยโดยนัยอันกว้างเท่านั้น ที่จะเป็น ประชาธิปไตยที่แท้จริง

            16. เราต้องเข้าใจว่า ประชาธิปไตยของไทยนั้น ต้องมี สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แห่งรัฐ เพราะองค์พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะ “อเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” โดยเฉพาะประเทศไทยมีการปกครองแบบ รัฐเดียว (Unitary State) ซึ่งต้องใช้การปกครองด้วยวิธี “รวมอำนาจการ ปกครอง” (Centralization of Administrative Power) จะใช้ การกระจายอำนาจการปกครองมิได้ และจะกำหนดให้ นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งมิได้ เพราะผิดหลักวิชารัฐศาสตร์อย่างร้ายแรง และการจะสร้างประชาธิปไตยให้สันติได้ก็แต่ พระราชอำนาจ ของพระมหากษัตริย์เท่านั้น

            17. เราต้องเข้าใจว่า การสร้างประชาธิปไตยของคณะราษฎรล้มเหลวนั้น ก็ด้วยเหตุสำคัญ 2 ประการ ทั้งในทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ในการวางแผนเศรษฐกิจนั้น เหตุที่ล้มเหลวก็เพราะว่า เอียงไปทางซ้ายสุด ไม่ใช่ ระบบเสรีนิยม เมื่อผิดพลาดแล้วคณะราษฎรก็ไม่ได้กำหนดแผนใหม่ขึ้นมา แทน กลับปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ในทางการเมืองล้มเหลวเพราะว่า นอกจากหลัก 6 ประการของคณะราษฎรขาดหลัก อธิปไตยของปวงชน แล้ว ยังไปนำเอารัฐธรรมนูญจากตะวันตก ซึ่งเป็นคนละกรอบ มาครอบประเทศไทยไว้อีกด้วย ซึ่งไม่สามารถเข้ากันได้กับ สภาวการณ์ทาง ประวัติศาสตร์และทางสังคมของประเทศไทย จึงทำให้โน้มเอียงไปไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าไม่เป็น เผด็จการ ก็เป็น อนาธิปไตย

            18. เราต้องเข้าใจว่า ประชาธิปไตยกับเสถียรภาพทางการเมืองเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันมิได้ ประเทศจะเป็นประชาธิปไตยได้ ต้องทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง และการจะทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองได้นั้น ต้องขจัดความเป็นเผด็จการและอนาธิปไตย และหลักการที่จะทำให้ เผด็จการกับอนาธิปไตยหมดไป ก็คือการทำให้หลัก อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน กับ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ มีความสมดุลกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่า ถ้ามีอำนาจอธิปไตยมากเกินไป ก็เป็นเผด็จการ และถ้ามีเสรีภาพมากเกินไปก็เป็น อนาธิปไตย

            19. การที่นักวิชาการและนักการเมืองตั้งสูตรว่า ทหารเป็นเผด็จการ และ พลเรือนเป็น ประชาธิปไตยนั้น ไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและหลักวิชา เพราะโดยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แล้ว ยอดนักเผด็จการของโลกล้วนแต่เป็นพลเรือนทั้งสิ้น ไม่ว่า ฮิตเลอร์ มุสโสสินี หรือ โงดินห์เดียม ฯลฯ และตามหลักวิชาแล้ว คำว่าระบอบอะไร หมายถึง อำนาจเป็นของใคร เช่นระบอบประชาธิปไตย หมายถึง อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และระบอบเผด็จการหมายถึง อำนาจอธิปไตยเป็นของ ชนส่วนน้อย ซึ่งชนส่วนน้อยนั้น อาจจะเป็น พรรคทหาร หรือเป็นพรรคของพลเรือนก็ได้ทั้งสิ้น

            20. เราต้องเข้าใจว่า การสร้างประชาธิปไตยเป็นคนละเรื่องกับการสร้างรัฐธรรมนูญ และก็ยัง ไม่เคยมีที่ไหนในโลก ที่เอารัฐธรรมนูญมาสร้างประชาธิปไตยสำเร็จได้เลย มีแต่ต้องสร้าง ประชาธิปไตยก่อนแล้ว จึงสร้างรัฐธรรมนูญขึ้นมารักษาความเป็นประชาธิปไตย แต่บ้านเรากลับดัน ทุลังจะสร้างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยให้ได้ แสดงให้เห็นถึงความวิปริตพุทธิ

            21. ในกรณีที่เริ่มต้นสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย หรือที่เรียกว่า การสร้าง ประชาธิปไตยนั้น เป็นการปฏิวัติ หรือการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ดังนั้น หากมีความจำเป็นต้องใช้กำลัง ไม่ว่ารูปแบบไหน ก็เป็นที่ยอมรับกันโดยหลักนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ว่าเป็นความถูกต้องชอบธรรม

            22. ในสถานการณ์ปฏิวัติ เราจะต้องทำความรู้จักกับ ขบวนการเมือง (Political Movement) ที่สำคัญในประเทศไทยด้วย คือ

            1) ขบวนการปฏิวัติประชาธิปไตย

            2) ขบวนการเผด็จการ

            3) ขบวนการปฏิวัติสังคมนิยม

            4) ขบวนการรัฐธรรมนูญ

            ขบวนการเผด็จการมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างประชาธิปไตย มีนายทุนที่ก้าวหน้าร่วมมือกับ ขบวนการกรรมกร เป็นกำลังพื้นฐาน

            ขบวนการเผด็จการมีความมุ่งหมายเพื่อรักษาระบอบเผด็จการ มีพรรคการเมืองเป็นผู้แทน ของชนส่วนน้อย ซึ่งเป็นพรรคของชนชั้นสูง และพรรคของชนชั้นกลาง โดยปฏิเสธการร่วมมือ กับชนชั้นล่าง

            ขบวนการปฏิวัติสังคมนิยม เป็นขบวนการปฏิวัติที่แข่งกับขบวนการประชาธิปไตย โดยมี ความมุ่งหมายไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์ มีชนชั้นกรรมาชีพเป็นกำลังสำคัญ เพื่อทำลายชนชั้นและชนชั้น กลาง

            ขบวนการรัฐธรรมนูญ มีความมุ่งหมายเพื่อรักษาระบอบเผด็จการโดยไม่รู้ตัว เป็นขบวนของ นักวิชาการ และเป็นขบวนการที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างประชาธิปไตยอย่างที่สุด เป็นปฏิปักษ์ต่อ กระบวนการประชาธิปไตยร้ายแรงยิ่งกว่าขบวนการเผด็จการ ถ้าขบวนการนี้หยุดการเคลื่อนไหว รัฐธรรมนูญเมื่อใด ประเทศไทยก็จะเป็นประชาธิปไตยเมื่อนั้น

            23. ในสถานการณ์ขณะนี้ เป็นสถานการณ์ปฏิวัติ คือ ประชาชนขัดแย้งกับระบอบเผด็จการ จึงเกิดการเคลื่อนไหวของประชาชน กดดันระบอบเผด็จการอย่างรุนแรง แต่บรรดานักการเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นฝ่ายเผด็จการ ไม่ต้องการเปลี่ยนอำนาจอธิปไตยให้เป็นของประชาชน จึงแบ่งขบวนการ เผด็จการออกเป็น 2 ขั้ว แล้วระดมสรรพกำลังเข้าต่อสู้กันเอง เพื่อต้องการเบี่ยงเบนกระแส ปฏิวัติของ ประชาชน หมายความว่าการเคลื่อนไหวมวลชนไม่ว่าจะใส่เสื้อสีอะไรก็ตาม จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ก็ตาม เป็น ปฏิวัติ (Revolution) เสมอ แต่มีการนำเป็น ปฏิกิริยา (Reaction) ดังนั้น ถ้ากระแสปฏิวัติ ของประชาชนมีความรุนแรงมากเท่าใด ก็จะยิ่งส่งผลให้ฝ่ายเผด็จการต่อสู้กันเองอย่างรุนแรงมากขึ้น เท่านั้น ไม่ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ชนะก็จะหลอกพาประชาชนไปสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยไม่สร้าง ประชาธิปไตย ประชาชนจะต้องผ่านบทเรียนเหล่านี้ก่อนทั้งสิ้น ไม่ว่าในประเทศไหน ก่อนที่จะได้ ประชาธิปไตยที่แท้จริง

            24. เราต้องเข้าใจว่า ไม่ว่าในส่งหรือปรากฏการณ์ใดๆ “เนื้อหา” (Content) กับ “รูปแบบ” (Form) ย่อมเป็นเอกภาพกัน แยกออกจากกันมิได้ ถ้าเนื้อหากับรูปแบบ แยกออกจากกัน ก็จะไม่มี สิ่งนั้นปรากฏการณ์นั้นๆ

            เช่นเดียวกันถ้า หลักการปกครอง (Principle of Government) กับรูปการปกครอง (Forms of Government) แยกออกจากกัน ก็จะไม่มี การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democratic Government) กล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้าระบอบประชาธิปไตยกับระบบรัฐสภาแยกออกจากกัน หรือขาดข้างใดข้างหนึ่ง ก็จะไม่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย

            ภายใต้สภาวการณ์ อนาธิปไตย (Anarchism) ของประเทศไทย โดยมีรัฐบาลอภิสิทธิ์ เป็นผู้ ปกครองอยู่ในขณะนี้ นอกจาก หลักการปกครองไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว รูปการปกครอง ก็ยังไม่ใช่ ระบบรัฐสภาอีกด้วย จึงส่งให้วิกฤติของชาติในครั้งนี้ มีความรุนแรงอย่างที่สุด และหาทาง ออกไม่ได้ ถ้าทุกพรรคการเมืองเห็นแก่ชาติบ้านเมืองตามที่พูดจริง จะต้องวางมือทางการเมืองชั่วคราว และเปิดทางให้รัฐบาลเฉพาะกาลเข้ามาแก้ปัญหาของชาติแทน ประเทศชาติก็จะมีทางออก

            25. เราต้องเข้าใจว่า ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เศรษฐกิจได้เปลี่ยนเป็นระบบเสรีนิยม (Liberalism System) โดยมีระบอบประชาธิปไตย (Democratic Regime) เกิดขึ้นและตั้งอยู่บน รากฐานของระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม เมื่อมีการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม มันก็จะผลักดัน ให้เกิดการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง และเป็นไปเอง ถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง การปกครองให้เป็นประชาธิปไตย ก็จะส่งผลให้ความขัดแย้งระหว่าง “ประชาชน” กับ “ระบอบ เผด็จการ” พัฒนาขึ้นเป็นความรุนแรง และถ้ามีอุปสรรคขัดขวาง การเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็น ประชาธิปไตยเมื่อใด มันก็จะระเบิดขึ้นเป็น สงครามกลางเมือง (Civil War) มวลชนลุกขึ้นสู้ (Mass Uprising) นำความหายนะมาสู่ชีวิตและทรัพย์สินของประเทศชาติและประชาชน

            26. เราจะต้องเข้าใจว่า แนวทางสร้างประชาธิปไตยที่ถูกต้องของประเทศไทยนั้น คือ แนวทาง ของพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่ รัชกาลที่ 5, 6, 7 เป็นต้นมา เป็นวิวัฒนาการของการเคลื่อนไหว ประชาธิปไตยในประเทศไทย ร้อยกว่าปีจนถึงปัจจุบัน โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสถาปนาการปกครอง แบบประชาธิปไตยตามแบบยุโรป และญี่ปุ่น เพราะอยู่ในรุ่นเดียวกัน กล่าวคือ ญี่ปุ่นสถาปนาการ ปกครองแบบประชาธิปไตยสำเร็จ เมื่อ พ.ศ. 2432 ภายหลังความสำเร็จสมบูรณ์ของมหาปฏิวัติฝรั่งเศส เพียง 15 ปี คือปี พ.ศ. 2414 โดยที่ประเทศไทยก็เริ่มเคลื่อนไหวประชาธิปไตยมาพร้อมๆ กับญี่ปุ่น ใน รัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิ มัตซูฮิโต โดยพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินการ ปฏิวัติประชาธิปไตย ซึ่งในขณะนั้น เรียกทับศัพท์ว่า “เรโวลูชั่น” ด้วยวิธี “การปฏิรูปการปกครอง” ซึ่งเรียกทับศัพท์ว่า “คอเวินเมนต์ รีฟอร์ม” เพื่อบรรลุความมุ่งหมายเช่นดียวกับญี่ปุ่น แต่ต่อมาแนวทาง ดังกล่าวต้องล้มเหลว ก็เพราะการยึดอำนาจของคณะราษฎรในสมัยรัชกาลที่ 7 และได้ล้มเหลวมาจนถึง ทุกวันนี้ ฉะนั้น การสร้างประชาธิปไตย จึงต้องกลับไปสู่การนำโดยพระมหากษัตริย์ดังเดิม ก็จะทำให้ การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปด้วยความราบรื่นและเป็นผลดี

            27. การจะทำให้บ้านเมืองเกิดความปรองดองกันนั้น ก่อนอื่นเราจะต้องมีความเข้าใจรูปธรรม ของความขัดแย้งทางสังคม ว่าเป็นอย่างไร หรือคู่ขัดแย้งคืออะไร เมื่อมีความเข้าใจแล้วก็จะทำให้แก้ ปัญหานั้นได้ มีผู้อธิบายหลักการพิจารณาปัญหานี้ไว้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าถูกต้องก็คือ “มาร์กซ์” และ “เองเกลส์” ซึ่งเป็นผู้สร้าง ปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษ (Dialectical Materialism) ขึ้นแล้ว ก็ได้นำเอาวัตถุนิยมวิภาษไปประยุกต์กับพัฒนาการของสังคม และสรุปขึ้นเป็น วัตถุนิยม ประวัติศาสตร์ (Historical Materialism) โดยถือว่าพัฒนาการของสังคมนั้น ย่อมมีความขัดแย้ง ไม่เป็นเอกภาพ ซึ่งต้องเป็นไปตาม กฎของวัตถุนิยมวิภาษ เช่นเดียวกับ โลกธรรมชาติทั้งปวง

            โดยเห็นว่าความขัดแย้งภายในสังคม ซึ่งนอกจากจะเป็นความขัดแย้งแล้ว ยังเป็นพลังผลักดัน พัฒนาการของสังคมด้วยก็คือ ความขัดแย้งระหว่าง “กำลังผลิต” (Productive Force) กับ “ความ สัมพันธ์การผลิต” (Reaction Production) ในสังคมชนชั้นมันจะแสดงออกเป็นความขัดแย้งทาง ชนชั้น โดยรูปธรรมของความขัดแย้งที่แท้จริงก็คือ “กรรมกร” กับ “นายทุน” นั่นเอง ดังนั้น ความ ปรองดองแห่งชาติในสังคมนิยม จะเป็นไปได้ก็คือ คู่ขัดแย้งตัวจริงของสังคมทุนนิยมต้องสามัคคีกัน และการจะสามัคคีกันได้นั้น อยู่ที่ต้องสร้างประชาธิปไตยร่วมกัน ถ้าตราบใดที่ขบวนการกรรมกร ยังไม่เข้าร่วมผลักดันการสร้างประชาธิปไตย ตราบนั้นก็จะยังไม่มีความปรองดองแห่งชาติเกิดขึ้นได้

            28. การจะสร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จได้ เราต้องเข้าใจด้วยว่า ระบอบเผด็จการ (Dictatorial Regime) เนื้อแท้ตัวจริงเป็นอย่างไร การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democratic Government) ซึ่งจะเรียกว่า ระบอบประชาธิปไตย (Democratic Regime) ก็ได้ แต่การปกครองแบบประชาธิปไตย กับ ระบอบประชาธิปไตยนั้น แม้ว่าจะมีความสัมพันธ์อย่างแยกกันไม่ออก ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เพราะ ระบอบ คือ มรรควิธีของการปกครอง กล่าวอย่างรูปธรรมหมายถึง อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร ซึ่งมีเพียง 2 อย่าง คือ “ปวงชน” และ “ชนส่วนน้อย” ถ้าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนก็เป็น “ระบอบประชาธิปไตย” ถ้าอำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยก็เป็น “ระบอบเผด็จการ” ฉะนั้น ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นหลักการปกครองที่สำคัญที่สุดของ การปกครองแบบประชาธิปไตย ถ้าปราศจากระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าจะมีหลักการอื่นหรือเงื่อนไขอื่น เช่น มีเสรีภาพ มีระบบ รัฐสภา มีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้งเป็นต้น ก็ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย

            ระบอบเผด็จการ ตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตย เป็นปัญหาหลักการคือหลักเผด็จการ ไม่ใช่ปัญหาบุคคล ความหมายตามหลักวิชาการคือ อำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อย โดยชนส่วน น้อยนั้น อาจเป็นชนชั้นสูงก็ได้ ชนชั้นกลางก็ได้ หรือชนชั้นกรรมาชีพก็ได้ รวมทั้งเป็นทหารก็ได้ หรืออาจจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ก็ได้ ที่มีผลประโยชน์แตกต่างกัน โดยแต่ละกลุ่มผลประโยชน์ นั้น จะตั้งพรรคการเมืองของตนขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของตน ซึ่งไม่ใช่เป็นผู้แทนของ ประชาชน นักการเมืองบ้านเราจึงล้วนเป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยทั้งสิ้น แต่เมื่อเป็นผู้แทนของชนส่วน น้อยแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่า พรรคการเมืองเหล่านั้นเป็นเผด็จการ พรรคการเมืองเหล่านี้จะเป็น เผด็จการได้ก็ต่อเมื่อ มีอำนาจอธิปไตยด้วย ดังนั้น ระบอบเผด็จการจึงมีองค์ประกอบดังนี้

            1) เป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยที่ร่ำรวย

            2) เป็นกลุ่มการเมืองหรือคณะหรือพรรคการเมืองผู้กุมอำนาจรัฐ หรือเป็นผู้ถืออำนาจอธิปไตย ของชาติและของประชาชน

            ดังนั้น เผด็จการที่แท้จริง จึงอยู่ที่ตัวคณะผู้ปกครองหรือรัฐบาล มิใช่อยู่ที่รัฐธรรมนูญเลย แล้ว เราจะไปแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร

            29. การสร้างประชาธิปไตย ก็คือ การปฏิวัติประชาธิปไตย กล่าวตามความหมายที่เป็นศัพท์ ทางวิชาการก็คือ การทำให้ดีขึ้น แต่ถ้าจะกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็หมายถึง การยกเลิกสิ่งไม่ดี แล้วทำการ สร้างสรรค์สิ่งที่ดีขึ้นแทน ทั้งนี้ก็เพราะว่า การสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่ดีไม่สามารถเป็นไปได้ โดยไม่ยกเลิก สิ่งไม่ดี เช่นเดียวกับการปฏิบัติธรรมนั้น ต้องมีทั้ง “ปหานะ” และ “ภาวนา” ปหานะ คือ ละอกุศลกรรม ภาวนา คือ เจริญกุศลกรรม ดังนั้น การเจริญกุศลกรรมโดยไม่ละอกุศลกรรมนั้น จึงย่อมเป็นไปไม่ได้ หรือการทำดี โดยไม่ละชั่วจึงเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับการทำนา ต้องกำจัดวัชพืชก่อน

            ฉะนั้น การสร้างประชาธิปไตย ก็ต้อง ยกเลิกระบอบเผด็จการ และ การปกครองเผด็จการ โดยสิ้นเชิง ซึ่งประกอบด้วยมาตรการสำคัญ ดังนี้คือ

            (1) ทำให้รัฐบาลของการปกครองแบบเผด็จการสิ้นสุด

            (2) ทำให้รัฐสภาของการปกครองแบบเผด็จการสิ้นสุด

            (3) ยกเลิกรัฐธรรมนูญของการปกครองแบบเผด็จการ

            (4) สลายพรรคการเมืองเผด็จการ ซึ่งแท้จริงแล้วก็คือ บริษัทค้าการเมืองอันเป็นเครื่องมือ ทำธุรกิจของบรรดาเจ้าพ่อทั้งหลาย

            (5) สลายกลุ่มผลักดันมาเฟีย และองค์กรอิสระที่เป็นกลไกปกป้องคุ้มครองระบอบเผด็จการ เพราะเป็นกลไกพรรค ไม่ใช่กลไกรัฐ

            (6) ให้จัดตั้ง “สภาปฏิวัติแห่งชาติ” ซึ่งประกอบด้วยองค์การระดับชาติ และองค์การระดับ จังหวัด มีผู้แทนในแต่ละอำเภอทั่วประเทศ รวมกับผู้แทนอาชีพต่างๆ อย่างเป็นสัดส่วน

            (7) ผู้แทนสาชาอาชีพต่างๆ ได้เปิดประชุมแต่ละสาขาอาชีพ สะท้อนปัญหาและเสนอวิธีการ แก้ปัญหาของอาชีพนั้นๆ

            (8) กำหนดนโยบายประชาธิปไตย ประกอบด้วยนโยบายหลัก และนโยบายเร่งด่วนเฉพาะหน้า ซึ่งสาระสำคัญ ของนโยบายเร่งด่วนเฉพาะหน้า ควรเป็นดังนี้

            1) ยกเลิกการกดขี่ข่มเหงประชาชน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกกรณีทันที

            2) ยกเลิกหนี้สินของประชาชนที่มีฐานะยากจน และเฉลี่ยรายได้แห่งชาติให้เกิดความเป็นธรรม

            3) ตรึงและพยุงราคาสินค้า โดยใช้รัฐวิสาหกิจที่ได้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพแล้วเป็นสำคัญ

            4) ประกันราคาผลิตผลเกษตรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผลประโยชน์ตกแก่ชาวนา ชาวไร่ อย่างทั่วถึง และปฏิรูปที่ดินให้ชาวนามีกรรมสิทธิ์ในที่ทำกินและประชาชนมีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง

            5) ให้ข้าราชการเข้าร่วมกิจกรรมของสหภาพแรงงาน และพรรคการเมืองได้อย่างเสรี ซึ่งจะยัง ผลให้ข้าราชการมีจิตสำนึก เป็นข้าราชการของประชาชนอย่างแท้จริง

            6) ให้ผู้แทนรัฐวิสาหกิจ โดยทางองค์กรของผู้ใช้แรงงานที่แท้จริงเข้าร่วมกับฝ่ายบริหาร เพื่อ พิจารณากำหนดนโยบาย และมาตรการในการปรับปรุงรัฐวิสาหกิจ

            7) ออกกฎหมายประกันสังคมให้เป็นธรรม และกฎหมายที่เกี่ยวกับการหางาน และส่งคนงาน ไปต่างประเทศ

            8) ปรับปรุงแก้ไข สาธารณูปโภคให้รับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง

            9) ปลดปล่อยนักโทษและยกเลิกคดีการเมือง

            10) ปราบปรามอาชญากรรมและคอรัปชั่น และรักษาความปลอดภัยของประชาชนอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยให้พรรคการเมืองและองค์กรมวลชนร่าวมดำเนินการ

            11) ปรับปรุงระบบราชการให้เป็นประชาธิปไตย โดยใช้มาตรการประสาน กลไกรัฐ กับ กลไกพรรคเป็นเครื่องมือสำคัญ

            12) ให้มีสมาชิกวุฒิสภามาจากสาขาอาชีพอย่างยุติธรรม

            13) ให้มีพรรคการเมืองพัฒนาตามธรรมชาติ มิใช่โดยกฎหมายบังคับ

            14) ให้มีสภาการเลือกตั้งแห่งชาติ ประกอบด้วยส่วนราชการ พรรคการเมือง และองค์การ มวลชน ทำหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้ง เพื่อให้เป็นไปตามหลักเลือกตั้งเสรี และผู้มีสิทธิหนึ่งคน เลือก ผู้แทนคนเดียว

            15) ยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายทั้งปวง ที่ทำลายหรือบั่นทอนเสรีภาพของบุคคล

            16) ตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้สอดคล้องกับโครงสร้าง และหลักการ ประชาธิปไตย ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์แล้วนั้น เมื่อรัฐสภาลงมติเห็นชอบแล้ว ให้ ประชาชนแสดงประชามติก่อนบังคับใช้

            นี่คือตัวอย่าง ของการสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง และเป็นทางออกของชาติได้




ผู้ตั้งกระทู้ james (central-dot-attorney-at-gmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก :: วันที่ลงประกาศ 2012-02-12 10:27:45 IP : 110.171.106.46

http://www.thaindc.org/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&No=1447610

« Last Edit: 13 December 2013, 08:18:11 by Smile Siam » Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« Reply #1 on: 13 December 2013, 15:13:41 »

ประชาธิปไตยทางตรง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ด • พ • ก
ประชาธิปไตยทางตรงหรือประชาธิปไตยบริสุทธิ์[1] เป็นรูปแบบการปกครองซึ่งประชาชนออกเสียงในการริเริ่มนโยบายต่าง ๆ โดยตรง ซึ่งขัดกับประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนตรงที่ประชาชนออกเสียงเลือกผู้แทนไปทำหน้าที่ออกเสียงการริเริ่มนโยบายออกทอดหนึ่ง[2] ประชาธิปไตยทางตรงอาจนำมาซึ่งการผ่านการตัดสินใจบริหาร, เสนอกฎหมาย, เลือกตั้งหรือถอดถอนเจ้าหน้าที่และดำเนินการไต่สวน ประชาธิปไตยทางตรงหลัก ๆ สองรูปแบบมีประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

หลายประเทศซึ่งปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนอนุญาตรูปแบบการปฏิบัติทางการเมืองสามรูปแบบซึ่งให้ประชาธิปไตยทางตรงอย่างจำกัด ได้แก่ การลงประชามติ, การริเริ่มออกกฎหมาย และการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง การลงประชามติอาจรวมความสามารถที่จะจัดการออกเสียงมีผลผูกมัดว่ากฎหมายฉบับหนึ่ง ๆ ควรถูกปฏิเสธหรือไม่ ด้วยวิธีการนี้จึงเป็นการให้สิทธิแก่ประชากรซึ่งจัดการออกเสียงเลือกตั้งวีโตกฎหมายซึ่งผู้ได้รับเลือกตั้งลงมติยอมรับ ประเทศหนึ่งที่ใช้ระบบนี้คือ สวิตเซอร์แลนด์ การริเริ่มออกกฎหมาย ซึ่งตามปกติแล้วสมาชิกสาธารณะทั่วไปเป็นผู้เสนอ ผลักดันการพจารณากฎหมาย (โดยปกติในการลงประชามติตามมา) โดยปราศจากการปรึกษากับผู้แทนที่ได้รับเลือกตั้ง หรือแม้จะขัดกับการคัดค้านที่แสดงออกของพวกเขา การถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้งให้อำนาจแก่สาธารณะในการถอดถอนเจ้าหน้าที่จากตำแหน่งก่อนสิ้นสุดวาระ แม้กรณีนี้จะหายากมากในประชาธิปไตยสมัยใหม่[3] ผู้เขียนซึ่งสนับสนุนอนาธิปไตยได้แย้งว่า ประชาธิปไตยทางตรงไม่ยอมรับองค์กรกลางที่เข้มแข็ง เพราะอำนาจการตัดสินใจสามารถอยู่ได้ระดับเดียวเท่านั้น คือ อยู่กับประชาชนหรือกับองค์กรกลาง[4]


อ้างอิง

A. Democracy in World Book Encyclopedia, World Book Inc., 2006. B. Pure democracy entry in Merriam-Webster Dictionary. C. Pure democracy entry in American Heritage Dictionary"
Budge, Ian (2001). "Direct democracy". In Clarke, Paul A.B. & Foweraker, Joe. Encyclopedia of Political Thought. Taylor & Francis. ISBN 9780415193962.
Fiskin 2011, Chapters 2 & 3.
Ross 2011, Chapter 3

บรรณานุกรม

James s Fiskin (2011). When the People Speak. Oxford University Press. ISBN 9780199604432.
Carne Ross (2011). The Leaderless Revolution: How Ordinary People Can Take Power and Change Politics in the 21st Century. Simon & Schuster. ISBN 1847375340.


ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (อังกฤษ: participatory democracy) หมายถึง การมีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครอง ตลอดจนการกำหนดวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ทั้งนี้ไม่ว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ หน้าที่ ตามระบอบการเมืองการปกครองที่ไม่ไปก้าวก่ายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นหรือสังคมส่วนรวม การมีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอาจจะจำแนกเป็น 3 ระดับ คือ[ต้องการอ้างอิง]

การมีส่วนร่วมในระดับเบื้องต้น เช่น ร่วมแสดงความคิดเห็นในทางการเมือง, ร่วมพูดคุยอภิปรายเรื่องราวทางการเมืองและสถานการณ์ปัจจุบัน, ร่วมลงชื่อเพื่อเสนอเรื่องราวหรือประชาพิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในทางการเมือง, รวมกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อแสดงความคิดเห็นในทางการเมือง, เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
การมีส่วนร่วมในระดับกลาง เช่น ร่วมเดินขบวนเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม, ร่วมปราศัยในการชุมนุมเรียกร้องเรื่องราว, ร่วมลงชื่อเพื่อเสนอให้ฝ่ายที่มีอำนาจตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง, ร่วมอดข้าวประท้วงหรือร่วมกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเรียกร้อง
การมีส่วนร่วมในระดับสูง เช่น ร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา, ร่วมก่อตั้งพรรคการเมือง, ร่วมก่อตั้งรัฐบาล
ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิธีการกระจายอำนาจและทรัพยากรต่าง ๆ ที่ไม่เท่าเทียมกันอันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและวิธีการที่ประชาเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่อตน

โดยที่กล่าวถึงข้างต้น ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม จึงหมายถึง การที่อำนาจในการตัดสินใจไม่ควรเป็นของกลุ่มคนจำนวนน้อย แต่อำนาจควรไดรับการจัดสรรในระหว่างประชาชน เพื่อทุก ๆ คนได้มีโอกาสที่จะมีอิทธิพล และจัดเป็นกระจายอำนาจและเปิดต่อการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของประชาชนในกระบวนการทางการเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

จากคำนิยามดังกล่าวข้างต้นอาจสรุปหลักการหรือองค์ประกอบสำคัญของคำว่าประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมได้ ดังนี้[ต้องการอ้างอิง]

การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมืองและการบริหาร
เน้นการกระจายอำนายในการตัดสินใจและการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ในระหว่างประชาชนให้เท่าเทียมกัน
อำนาจในการตัดสินใจและการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ นั้น จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
เพิ่มการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
มีความยืดหยุ่นได้ กล่าวคือ มีโครงสร้างการทำงานที่สามารถตรวจสอบได้ มีความโปร่งใสและคำนึงถึงความต้องการทรัพยากรของผู้มีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมของประชาชนมีทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
แคทท์ (Catt 1999, 39-56) ได้เสนอไว้ว่า องค์ประกอบและเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของความเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม คือ

ทุกคนสามารถยกประเด็นปัญหาใดปัญหาหนึ่งขึ้นมา เพื่อกำหนดเป็นวาระของการประชุม สามารถเสนอทางเลือกและมีส่วนร่วมในการเลือกหรือการตัดสินใจสุดท้ายได้
เป็นการประชุมที่ทุกคนสามารุพูดคุยกันได้อย่างทั่วถึง (face-to-face meeting)
มีการปรึกษาหารือ หรืออภิปรายประเด็นปัญหาที่หยิบยกมาพิจารณากันอย่างกว้างขวาง ทุกคนต้องการมีส่วนร่วมในการอภิปราย และสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่
มีแนวโน้มที่พยายามจะให้เกิดความเห็นพ้อง (consensus) ร่วมกันในประเด็นปัญหาที่พิจารณา
การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการซึ่งประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะและเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งมีการนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและการตัดสินใจของรัฐ การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการสื่อสารในระบบเปิด กล่าวคือ เป็นการสื่อสารสองทาง ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งประกอบไปด้วยการแบ่งสรรข้อมูลร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเสียและเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในสังคม ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเพิ่มคุณภาพของการตัดสินใจการลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลา เป็นการสร้างฉันทามติ และทำให้ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ อีกทั้งช่วยหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าใน “กรณีที่ร้ายแรงที่สุด” ช่วยให้เกิดความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมและช่วยให้ทราบความห่วงกังวลของประชาชนและค่านิยมของสาธารณชน รวมทั้งเป็นการพัฒนาความเชี่ยวชาญและความคิดสร้างสรรค์ของของสาธารณชน

การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสำคัญในการสร้างประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนและส่งเสริมธรรมาภิบาล ตลอดจนการบริหารงานหากมีการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้นเพียงใดก็จะให้มีการตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารและให้ผู้บริหารที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการป้องกันนักการเมืองจากการกำหนดนโยบายที่ไม่เหมาะสมกับสังคมนั้น ๆ นอกจากนี้การมีส่วนร่วมของประชาชนยังเป็นการสร้างความมั่นใจว่าเสียงของประชาชนจะมีคนรับฟัง อีกทั้งความต้องการหรือความปรารถนาประชาชนก็จะได้รับการตอบสนอง

กล่าวโดยสรุป ระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงทัศนะและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ที่จะมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน นอกจากจะช่วยให้การตัดสินใจของผู้เสนอโครงการหรือรัฐบาลมีความรอบคอบ และสอดรับกับปัญหาและความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นการควบคุมการบริหารงานของรัฐบาลให้มีความโปร่งใส (Transparency) ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชน (Responsiveness) และมีความรับผิดชอบหรือสามารถตอบคำถามของประชาชนได้ (Accountability) อีกด้วย ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นอีกด้วย



อ้างอิง

Helena Catt(dr.),Democracy in Practice(ISBN 0-415-16840-6), (London and New York: Routledge,1/1999), 35-56.

ดูเพิ่ม

การเมืองภาคประชาชน



ส่วนหนึ่งของชุดการเมือง
ระบอบการปกครอง
พื้นฐาน
โครงสร้างอำนาจ
สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ การใช้อำนาจครอบงำ จักรวรรดิ รัฐเดี่ยว
โครงสร้างอำนาจ
ประชาธิปไตย
ทางตรง แบบมีผู้แทน โดยคณะบุคคลบางกลุ่ม
ราชาธิปไตย
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ
คณาธิปไตย
อภิชนาธิปไตย คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง เศรษฐยาธิปไตย
อำนาจนิยม
อัตตาธิปไตย ระบบใช้อำนาจเด็ดขาด ระบอบเผด็จการ ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ
อื่น ๆ
อนาธิปไตย สาธารณรัฐ เทวาธิปไตย

« Last Edit: 13 December 2013, 15:28:04 by Smile Siam » Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« Reply #2 on: 13 December 2013, 15:15:58 »

การเมืองภาคประชาชน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเมืองภาคประชาชน คือ การเคลื่อนไหวของประชาชนเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะโดยตรง โดยไม่ผ่านทางตัวแทนของพรรคการเมือง หรือหน่วยงานราชการ การเมืองภาคประชาชนเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งย้ำแนวคิดที่ว่า "การเมืองไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง" การเมืองภาคประชาชนเป็นคำจำกัดความโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์[ต้องการอ้างอิง] แบ่งพิจารณาได้ 3 แนวทางปฏิบัติ ดังนี้

การริเริ่มกฎหมาย
การลงประชามติ
การถอดถอน


อ้างอิง

การเลือกตั้ง กับ การเมืองภาคประชาชน ที่ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
« Last Edit: 13 December 2013, 17:38:53 by Smile Siam » Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.083 seconds with 22 queries.