Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
05 April 2025, 09:44:07

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,962 Posts in 13,109 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  Recent Posts

Recent Posts

Pages: 1 ... 7 8 [9] 10
81

วันหนึ่งตรงกับต้นปี ๒๕๐๕ ขณะพระองค์กำลังทรงพระบรรทม ท้าวอินทรสุริยาฯก็ถือดอกไม้ค่อยๆหมอบไปใกล้พระองค์ แล้วนำช่อดอกไม้ใส่ในอุ้งพระหัตถ์ทันที พระองค์สะดุ้งนิดหนึ่งแล้วตรัสออกมาคำเดียว "อื้อ"
ท้าวอินทรสุริยาฯจึงกราบบังคมทูลว่า..
"ทูลลา...."
ท่านลุกขึ้นนั่งมอง และไม่ตรัสอะไร
"ถ้าท่านไม่อนุญาตให้แหนนไป แหนนจะต้องไปโกนหัวละ"
ที่สุดพระองค์จึงตรัสว่า..
"นี่แหนนจะไปจริงๆหรือ?"
ทรงให้ศีลให้พรอยู่นาน ทรงขอคำสัญญาอีกว่า ถ้าจะไปอยู่ที่ใด ต้องการสิ่งใด หรือป่วยไข้ขึ้นมา จะต้องให้รีบกราบทูลบอกพระองค์ตลอดเวลา
"พระองค์ทรงเป็นห่วง ดิฉันซาบซึ้งตื้นตันไปหมด ถ้าวันไหนดิฉันยังตัดโลกไม่ขาดจะนึกถึงพระองค์ทุกครั้งไป เป็นบุญของคนไทยแล้ว ที่มีพระมหากษัตริย์เปี่ยมด้วยน้ำพระทัยสูงสุด ทรงมีน้ำพระทัยเมตตาต่อทุกคน"
เมื่อเสด็จเยี่ยมราษฎรจังหวัดต่างๆ จะทรงกลับมาเล่าว่า..
"แหนน..ที่ไปนี้ไม่มีอะไรไปมากกว่าเมื่อเห็นประชาชนแล้ว สงสารเหลือเกิน เขามาต้อนรับฉัน ฉันเห็นแล้วอดเมตตาสงสารเค้าไม่ได้"
.
.
.
ท้าวอินทรสุริยาฯ (เนื่อง จินตดุลย์) เป็นพระสหายนักเรียนพยาบาลรุ่นพี่ ๑ ปีกับสมเด็จพระราชชนนีที่โรงพยาบาลศิริราช เคยสัญญากับสมเด็จย่าก่อนที่พระพี่นางฯจะประสูติว่าจะทำหน้าที่เป็นพระพี่เลี้ยงให้ ล่วงไปถึงการประสูติของในหลวงรัชกาลที่ ๘ และในหลวงรัชกาลที่ ๙ ท้าวอินทรสุริยาฯอยู่ในราชสำนักถึง ๔๐ ปี รวมถึงเป็นพระพี่เลี้ยงของเจ้าฟ้าชายและเจ้าฟ้าหญิงทุกพระองค์แห่งราชวงศ์จักรี จนสิริอายุ ๗๕ ปีจึงได้กราบทูลลามาบวชเป็นแม่ชีบำเพ็ญกุศล
ที่มา : หนังสือ สี่เจ้าฟ้า ฉบับสมบูรณ์ โดย ลาวัณย์ โชตามระ พ.ศ. ๒๕๑๒

..



..













.

ท่านได้บวชแม่ชีก็ชอบทำการกุศลอุทิศตนบำรุงวัด โรงพยาบาลและชอบท่องไปตามวัดต่างๆต่อมาในหลวง( ร.9)ได้ทรงขอร้องให้กลับมาอยู่ตำหนักจิตรดาเนื่องจากอายุมากแล้ว จนสิ้นชีวิตรวมอายุ88ปี //รูปถ่าย พระพี่เลี้ยงแหนนกับสมเด็จย่า/ในหลวง/พระพี่นาง/ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์









.

ที่มา https://www.facebook.com/Nunoiduak/posts/ท้าวอินทรสุริยาฯ-พระพี่เลี้ยงของพระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรี-วันหนึ่งตรงกับ/1756738391026165/

.



82
ท้าวอินทรสุริยาฯ พระพี่เลี้ยงของพระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรี


หนูน้อยบนยอดเขาอันหนาวเหน็บ
5 ธันวาคม 2017  ·



ท้าวอินทรสุริยาฯ พระพี่เลี้ยงของพระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรี
83

เรื่องเล่าของรอยใบลาน
8 มีนาคม 2016  ·

ท้าวอินทรสุริยา (คุณพระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตดุลย์) เป็นธิดาของนายกลีบ นางทองคำ จินตดุลย์ เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2428 เป็นเพื่อนนักเรียนพยาบาลศิริราชร่วมรุ่นกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ต่อมาได้รับการคัดเลือกให้เป็นพยาบาลพระพี่เลี้ยงของพระโอรสธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ ในรัชกาลที่ 8 โปรดเกล้าฯ ให้เป็น "คุณพระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตดุลย์" ในรัชกาลที่ 9 พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ท้าวอินทรสุริยา สรรพาหารพิจาริณี" ที่นักพฤฒิชราฉลองพระโอษฐ์ บังคับบัญชาวิเศษนอกในทั้งปวง ถือศักดินา 1,000 ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2517



.


.....
ที่มา https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1052566671474960&id=613991711999127&set=a.704678209597143

.




84
ท้าวอินทรสุริยา (เนื่อง จินตดุล) พระพี่เลี้ยง ร.8 และ ร. 9




ท้าวอินทรสุริยา (เนื่อง จินตดุล; 10 ธันวาคม พ.ศ. 2428 - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2517) เป็นพระพี่เลี้ยงผู้ถวายการอภิบาลพระราชโอรส-ธิดาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพระราชโอรส-ธิดาในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ประวัติ
ท้าวอินทรสุริยา มีนามเดิมว่า เนื่อง เป็นธิดาคนเดียวของกลีบ และทองคำ จินตดุล เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2428 ณ ตำบลบางขุนศรี อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี บิดารับราชการกรมมหรสพ มารดามีเชื้อสายราชินิกุลชูโต

เมื่อเนื่องอายุประมาณ 2 ขวบ มารดายกเธอให้เป็นธิดาบุญธรรมของคุณนายทับทิม บุณยาหาร ซึ่งเป็นญาติกัน เนื่องเป็นที่รักของคุณนายทับทิมและคนในบ้าน เพราะเธอสุภาพเรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย เมื่อเนื่องเริ่มโตพอศึกษา คุณนายทับทิมจึงหาครูมาสอนเธอที่บ้านให้พออ่านออกเขียนได้ จนอายุ 15 ปี เนื่องมีใจน้อมไปทางธรรม เนื่องจากมีโอกาสติดตามคุณนายทับทิมไปวัด ทำบุญรักษาศีลทุกวันมิได้ขาด ต่อมาเนื่องตัดสินใจโกนผมนุ่งห่มขาว บวชอยู่ ณ สำนักชีวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นเวลา 5 ปี ครั้นไม่มีคนช่วยดูแลบ้าน คุณนายทับทิมจึงขอร้องให้ลาเพศชีกลับมาช่วยดูแลบ้านตามเดิม

เนื่องลาเพศชีออกมาได้ 5-6 ปี ภารกิจที่บ้านว่างลง เธอจึงขออนุญาตคุณนายทับทิมเข้าศึกษาวิชาพยาบาล จนสำเร็จวิชาพยาบาลศิริราช รุ่นที่ 9 เนื่องเป็นพระสหายร่วมชั้นเรียนวิชาพยาบาลของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช ต่อมาเธอเป็นพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตามลำดับ และเคยเป็นพยาบาลอาสาในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

เมื่อปี พ.ศ. 2466 เมื่อหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา ได้ให้ประสูติหม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา มหิดล และติดตามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ เสด็จกลับสยาม ในปีนั้นเองสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ได้คัดเลือกพระพี่เลี้ยงนางนมให้มาถวายการดูแลพระโอรส-ธิดา ปรากฏว่านางพยาบาลเนื่อง จินตดุล ได้รับการคัดเลือก เพราะเป็นสหายคนสนิทของหม่อมสังวาลย์ เธอได้ติดตามไปเป็นพระพี่เลี้ยง และตามเสด็จไปประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2468 และตามเสด็จในการเสด็จนิวัติพระนครทุกครั้ง ต่อมาเธอได้ย้ายมาอาศัยในพระตำหนักใหม่ วังสระปทุม

การเป็นพระพี่เลี้ยงของมาหลายสิบปี พระพี่เลี้ยงเนื่องจึงมีความรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศพอสมควร นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่คอยติดตามข่าวสารบ้านเมืองเสมอ จึงเป็นคนที่ทราบการเคลื่อนไหวของชาวโลกตลอดเวลา ทั้งยังอยู่ในเหตุการณ์การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง และในเวลาต่อมา เธอได้เป็นพยานคนสำคัญในคดีนี้

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงออกนามเรียกพระพี่เลี้ยงเนื่องว่า แหนน เพราะออกเสียงง่ายกว่าคำว่า เนื่อง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ก็ทรงออกนามเรียกท่านเช่นนั้นตามพระเชษฐภคินี

คุณท้าวอินทรสุริยายังได้ถวายการอภิบาลพระราชโอรสธิดาทุกพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยมีคุณวิไล อมาตยกุล ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ ท่านผู้หญิงพรสม กุณฑลจินดา และคุณทวี มณีนุตร เป็นผู้ช่วยถวายการอภิบาล

บรรดาศักดิ์
วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้นางสาวเนื่อง จินตดุล เป็น ท้าวอินทรสุริยา สรรพาหารพิจาริณี ที่นักพฤฒิชราฉลองพระโอษฐ์ บังคับบัญชาบรรดาวิเสทนอกในทั้งปวง ถือศักดินา 1,000

บั้นปลายชีวิต
ต้นปี พ.ศ. 2505 ท้าวอินทรสุริยาได้กราบบังคมทูลลาถือเพศแม่ชีอีกครั้ง ณ วัดโกมุทรัตนาราม จังหวัดชลบุรี โดยมีหลวงพ่อสาลี เป็นผู้ประกอบพิธี เมื่อบวชแล้วก็ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดธาตุทอง ท่านได้อุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์ให้กับการบำรุงวัด สถานพยาบาล โรงเรียน และสถาบันแม่ชี และท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่ชอบมาก คือ วัดวชิราลงกรณวราราม ตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ท้าวอินทรสุริยามีโอกาสได้รู้จักกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร และอาจารย์สายพระป่าในประเทศไทยหลายรูป ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงขอร้องให้ท้าวอินทรสุริยาเข้ามาพำนักในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระราชทานห้องพักในพระตำหนักจิตรลดารโหฐานให้

ท้าวอินทรสุริยาถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2517 เวลา 19.10 น. ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สิริรวมอายุได้ 88 ปี 11 เดือน ท้าวอินทรสุริยาเกิดในเดือนธันวาคม ถึงแก่อนิจกรรมในเดือนตุลาคม ตอนมีอายุ 88 ปี 11 เดือน เหมือนกับพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้ที่ท้าวอินทรสุริยา ถวายการอภิบาลและถวายงานอย่างใกล้ชิดมาตลอด

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน น้ำหลวงอาบศพ โกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจา 6 คันตั้งประกอบเกียรติยศ ปี่ไฉน 1 กลองชนะ 10 ประโคมเวลารับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และให้ตั้งโกศศพบำเพ็ญกุศลไว้ ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จฯในการพระราชทานเพลิงศพท้าวอินทรสุริยา ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส โดยทรงพระดำเนินขึ้นบนเมรุ ทรงวางดอกไม้จันทน์พระราชทานเพลิงศพด้วยพระองค์เอง

.


.....
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ท้าวอินทรสุริยา_(เนื่อง_จินตดุล)

.




87
เบลล่า ราณี แคมเปน - นางมโหธรเทวี นางสงกรานต์ 2567


“เบลล่า ราณี” มาพร้อมเครื่องแต่งกายผ้าจีบสีม่วง ผ้ายกไหมทองพร้อมเครื่องประดับ หาชมได้ยากและมีเพียงชิ้นเดียวในประเทศไทย
ในงาน “ไอคอนสยามมหัศจรรย์เจ้าพระยามหาสงกรานต์” #ICONSIAMSongkran, 13-15 April 2024






















.





88
จิตรกรรมฝาผนัง ภาพ "ไฝเจ้าเสน่ห์กลางแก้ม"เมืองหละปูน


จิตรกรรมฝาผนัง ภาพวาดมรดกเก่าเเก่  “ไฝเจ้าเสน่ห์กลางแก้ม”เมืองหละปูน
ณ วัดหนองเงือก ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

เป็นศิลปกรรมฝีมือช่างสกุลล้านนา ที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบพม่า
โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายของบุคคลในภาพ
 
และที่เป็นเสน่ห์ไปกว่านั้น ก็จะเห็นเป็นการแต้มไฝบนแก้มของตัวละคร
ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอัตลักษณ์ความงดงามที่หาชมได้ยากจากงานจิตรกรรม

.











.




89
แสตมป์ไทย ที่เกี่ยวเนื่องใน รัชกาลที่ 10


ประวัติศาสตร์บนตราไปรษณียากร
ย้อนรอยดูแสตมป์ตลอดเกือบ 50 ปีที่เกี่ยวเนื่องใน ร.10 และแสตมป์ดวงใหม่ล่าสุดกับเทคนิคการพิมพ์ใหม่ที่ไปรษณีย์ไทยไม่เคยใช้มาก่อน

เรื่อง อลิษา ลิ้มไพบูลย์

..
Home /Art & Culture/Scoop
4 พฤษภาคม 2019

ตราไปรษณียากร หรือ ‘แสตมป์’ เป็นหนึ่งในเครื่องบันทึกภาพประวัติศาสตร์

ไปรษณียบัตรในสมัยก่อนทำหน้าที่คล้ายจดหมายเหตุ เพราะมีระบุทั้งวัน เวลา สถานที่ เหตุการณ์ นอกจากตัวอักษรที่เขียนอยู่แล้ว ก็มีรูปที่อยู่บนแสตมป์นั่นเอง หรือของสิ่งใดที่หาดูได้ยาก เช่นโบราณวัตถุ หรือสัตว์สูญพันธุ์ ก็มักจะถูกบันทึกไว้เป็นลวดลายบนแสตมป์

สำหรับประวัติศาสตร์ไทยก็เช่นกัน หากลองค้นดูจะพบว่าที่ผ่านมามีแสตมป์ที่เกี่ยวเนื่องในรัชกาลที่ 10 มามากถึง 11 ชุดแล้ว โดยแต่ละชุดทำหน้าที่บันทึกความทรงจำตามพระราชวโรกาสสำคัญต่างๆ ตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์

เมื่อเหตุการณ์ประวัติศาสตร์กำลังจะมาถึง นั่นคือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ไปรษณีย์ไทยย่อมพลาดไม่ได้ ต้องออกแสตมป์ที่ระลึกสำหรับบันทึกเหตุการณ์นี้ด้วย The Cloud จึงขอร่วมเฉลิมฉลองผ่านการชวนคุณย้อนกลับไปดูแสตมป์ชุดต่างๆ ของไปรษณีย์ไทย ก่อนจะพาไปรู้จักแสตมป์ดวงใหม่สำหรับพระราชพิธีครั้งนี้ด้วย

ขอเชิญรับชม

.

01
ชุดที่ระลึกทรงบรรลุนิติภาวะ
28 กรกฎาคม 2515
พิมพ์ด้วยเทคนิค Photogravure ไกลถึงสำนักพิมพ์ของรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น



.

02
ชุดที่ระลึกวันสถาปนามกุฎราชกุมาร
28 ธันวาคม 2515
ลักษณะ เทคนิค และที่พิมพ์ เหมือนชุดที่ 1 ทุกประการ เพียงแต่เปลี่ยนสีพื้นหลังเท่านั้น



.

03
ชุดที่ระลึกเนื่องในวโรกาสคล้ายวันสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
28 ธันวาคม 2542
พระบรมรูปที่ปรากฏนำมาจากพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธยพระองค์ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2515



.

04
ชุดที่ระลึกฉลองวันพระราชสมภพครบ 4 รอบ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
28 กรกฎาคม 2543
พระบรมรูปในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร ด้านข้างมีภาพพระราชกรณียกิจเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงหว่านข้าวที่จังหวัดสุพรรณบุรี



.

05
ชุดที่ระลึก 50 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
28 กรกฎาคม 2545



.

06
ชุดที่ระลึก 60 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
28 กรกฎาคม 2555



.

07
ชุด 64 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
28 ก.ค. 2559
นำเสนอพระฉายาลักษณ์ในกิจกรรม Bike for Mom ‘ปั่นเพื่อแม่’ วันที่ 16 สิงหาคม 2558 และ Bike for Dad ‘ปั่นเพื่อพ่อ’ วันที่ 11 ธันวาคม 2558 เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พร้อม 2 ภาพวาดฝีพระหัตถ์ ซึ่งได้รับพระราชทานภาพต้นแบบมาจัดพิมพ์แสตมป์



.

08
ชุด 65 พรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
28 กรกฎาคม 2560
พระฉายาลักษณ์พระราชทานในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ บนพื้นภาพสีเหลืองซึ่งเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ พร้อมข้อความบรรยาย เพิ่มเทคนิคปั๊มฟอยล์ทองบริเวณคำบรรยาย ชื่อชุด ชนิดราคา และคำว่าประเทศไทย



.

09
ชุด 66 พรรษาฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
28 กรกฎาคม 2561



.

10
แสตมป์พระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
28 กรกฎาคม 2561

ออกมาพร้อมชุดที่ 11 แต่ชุดนี้เป็นแสตมป์ทั่วไป ไม่ใช่แสตมป์ที่ระลึก มี 12 ชนิดราคา ไล่ตั้งแต่ 1 บาทไปถึง 100 บาทต่อดวง โดยราคาหลักหน่วยจะพิมพ์สีเดียว แต่หลัก 10 ขึ้นไปพิมพ์สองสี ใช้เทคนิคปั๊มดุนนูนกรอบภาพวงรีและลวดลายไทย และชนิดราคา 50 บาท กับ 100 บาท มีความพิเศษคือ ปั๊มฟอยล์แดงและฟอยล์ทองตามลำดับ ถือเป็น ‘แสตมป์พระฉายาลักษณ์’ ชุดแรกแห่งรัชกาลปัจจุบัน



.

11
แสตมป์ที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

แสตมป์ชุดล่าสุดนี้ ออกเผยแพร่ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 โดยเชิญพระฉายาลักษณ์พระราชทานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารบกเต็มยศ ประกอบอักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. และภาพพระบรมมหาราชวัง แสตมป์กำหนดเป็นชนิดราคา 10 บาท จัดพิมพ์จำนวน 3 ล้านดวง



.

หากสังเกตเทียบกันดูจะพบว่ารูปแบบคล้ายคลึงกับเมื่อครั้งจัดสร้างแสตมป์ที่ระลึกบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อปี 2493

ความพิเศษของแสตมป์ชุดนี้ คือการจัดพิมพ์บนกระดาษฟอยล์เงินกระจก ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษที่จะทำให้ภาพตราไปรษณียากร มีความสดใส เปล่งประกายสวยงาม แวววาว สมพระเกียรติเนื่องในการพระราชพิธีอันสำคัญยิ่งนี้ นับว่าเป็นครั้งแรกของวงการตราไปรษณียากรไทยเลยที่ใช้เทคนิคนี้

ความพิเศษไม่ได้มาง่ายๆ บริษัทไปรษณีย์ไทยต้องส่งกระดาษที่ใช้พิมพ์ไปเคลือบฟอยล์เงินกระจกที่ประเทศอังกฤษก่อน แล้วเคลือบทับด้วยฟิล์มใสอีกชั้นหนึ่งที่ประเทศฝรั่งเศส เพื่อทำให้เกิดความเงาสะท้อนแสงเหมือนกระจก

นอกจากนั้น ยังพิมพ์ด้วยสี 5 สี คือฟ้า เหลือง แดง ดำ และขาว ทำให้ภาพมีสีสด โดยเฉพาะคำว่า ‘บรมราชาภิเษก ๒๕๖๒ CORONATION 2019’ และคำว่า ‘บาท BAHT’ ที่พิมพ์สีขาวให้โดดเด่น รวมถึงพิมพ์สีทองปั๊มดุนนูนที่อักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. คำว่า ‘ประเทศไทย THAILAND’ และตัวเลข 10 ปั๊มดุนนูนบริเวณพระฉายาลักษณ์ และพิมพ์ลายเส้นสีทองบริเวณพระปรางค์เจดีย์

หากใครสนใจแสตมป์ชุดนี้ จะมีวางจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม เป็นต้นไป ที่ไปรษณีย์ทั่วประเทศเลย


.....
ขอขอบคุณ เรื่องและภาพจาก
https://readthecloud.co/rama-x-stamps/
The Cloud

ภาพ : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
รัชกาลที่ 10 แสตมป์
Writer
Avatar
อลิษา ลิ้มไพบูลย์
นักอยากเขียนผู้เรียนปรัชญาเพื่อเยียวยาอาการคิดมาก เวลาว่างใช้ไปกับการร้องคอรัสเล่นๆ แบบจริงจัง และดูหนังอย่างจริงจังไปเล่นๆ

.




90
แสตมป์ไทย ที่เกี่ยวเนื่องใน รัชกาลที่ 10


https://readthecloud.co/rama-x-stamps/
The Cloud
The Magazine on Cloud about
Local • Creative Culture • Better Living

ประวัติศาสตร์บนตราไปรษณียากร
ย้อนรอยดูแสตมป์ตลอดเกือบ 50 ปีที่เกี่ยวเนื่องใน ร.10 และแสตมป์ดวงใหม่ล่าสุดกับเทคนิคการพิมพ์ใหม่ที่ไปรษณีย์ไทยไม่เคยใช้มาก่อน

เรื่อง อลิษา ลิ้มไพบูลย์

..
Home /Art & Culture/Scoop
4 พฤษภาคม 2019

ตราไปรษณียากร หรือ ‘แสตมป์’ เป็นหนึ่งในเครื่องบันทึกภาพประวัติศาสตร์

ไปรษณียบัตรในสมัยก่อนทำหน้าที่คล้ายจดหมายเหตุ เพราะมีระบุทั้งวัน เวลา สถานที่ เหตุการณ์ นอกจากตัวอักษรที่เขียนอยู่แล้ว ก็มีรูปที่อยู่บนแสตมป์นั่นเอง หรือของสิ่งใดที่หาดูได้ยาก เช่นโบราณวัตถุ หรือสัตว์สูญพันธุ์ ก็มักจะถูกบันทึกไว้เป็นลวดลายบนแสตมป์

สำหรับประวัติศาสตร์ไทยก็เช่นกัน หากลองค้นดูจะพบว่าที่ผ่านมามีแสตมป์ที่เกี่ยวเนื่องในรัชกาลที่ 10 มามากถึง 11 ชุดแล้ว โดยแต่ละชุดทำหน้าที่บันทึกความทรงจำตามพระราชวโรกาสสำคัญต่างๆ ตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์

เมื่อเหตุการณ์ประวัติศาสตร์กำลังจะมาถึง นั่นคือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ไปรษณีย์ไทยย่อมพลาดไม่ได้ ต้องออกแสตมป์ที่ระลึกสำหรับบันทึกเหตุการณ์นี้ด้วย The Cloud จึงขอร่วมเฉลิมฉลองผ่านการชวนคุณย้อนกลับไปดูแสตมป์ชุดต่างๆ ของไปรษณีย์ไทย ก่อนจะพาไปรู้จักแสตมป์ดวงใหม่สำหรับพระราชพิธีครั้งนี้ด้วย

ขอเชิญรับชม

.

01
ชุดที่ระลึกทรงบรรลุนิติภาวะ
28 กรกฎาคม 2515
พิมพ์ด้วยเทคนิค Photogravure ไกลถึงสำนักพิมพ์ของรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น



.

02
ชุดที่ระลึกวันสถาปนามกุฎราชกุมาร
28 ธันวาคม 2515
ลักษณะ เทคนิค และที่พิมพ์ เหมือนชุดที่ 1 ทุกประการ เพียงแต่เปลี่ยนสีพื้นหลังเท่านั้น



.

03
ชุดที่ระลึกเนื่องในวโรกาสคล้ายวันสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
28 ธันวาคม 2542
พระบรมรูปที่ปรากฏนำมาจากพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธยพระองค์ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2515



.

04
ชุดที่ระลึกฉลองวันพระราชสมภพครบ 4 รอบ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
28 กรกฎาคม 2543
พระบรมรูปในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร ด้านข้างมีภาพพระราชกรณียกิจเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงหว่านข้าวที่จังหวัดสุพรรณบุรี



.

05
ชุดที่ระลึก 50 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
28 กรกฎาคม 2545



.

06
ชุดที่ระลึก 60 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
28 กรกฎาคม 2555



.

07
ชุด 64 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
28 ก.ค. 2559
นำเสนอพระฉายาลักษณ์ในกิจกรรม Bike for Mom ‘ปั่นเพื่อแม่’ วันที่ 16 สิงหาคม 2558 และ Bike for Dad ‘ปั่นเพื่อพ่อ’ วันที่ 11 ธันวาคม 2558 เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พร้อม 2 ภาพวาดฝีพระหัตถ์ ซึ่งได้รับพระราชทานภาพต้นแบบมาจัดพิมพ์แสตมป์



.

08
ชุด 65 พรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
28 กรกฎาคม 2560
พระฉายาลักษณ์พระราชทานในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ บนพื้นภาพสีเหลืองซึ่งเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ พร้อมข้อความบรรยาย เพิ่มเทคนิคปั๊มฟอยล์ทองบริเวณคำบรรยาย ชื่อชุด ชนิดราคา และคำว่าประเทศไทย



.

09
ชุด 66 พรรษาฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
28 กรกฎาคม 2561



.

10
แสตมป์พระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
28 กรกฎาคม 2561

ออกมาพร้อมชุดที่ 11 แต่ชุดนี้เป็นแสตมป์ทั่วไป ไม่ใช่แสตมป์ที่ระลึก มี 12 ชนิดราคา ไล่ตั้งแต่ 1 บาทไปถึง 100 บาทต่อดวง โดยราคาหลักหน่วยจะพิมพ์สีเดียว แต่หลัก 10 ขึ้นไปพิมพ์สองสี ใช้เทคนิคปั๊มดุนนูนกรอบภาพวงรีและลวดลายไทย และชนิดราคา 50 บาท กับ 100 บาท มีความพิเศษคือ ปั๊มฟอยล์แดงและฟอยล์ทองตามลำดับ ถือเป็น ‘แสตมป์พระฉายาลักษณ์’ ชุดแรกแห่งรัชกาลปัจจุบัน



.

11
แสตมป์ที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

แสตมป์ชุดล่าสุดนี้ ออกเผยแพร่ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 โดยเชิญพระฉายาลักษณ์พระราชทานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารบกเต็มยศ ประกอบอักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. และภาพพระบรมมหาราชวัง แสตมป์กำหนดเป็นชนิดราคา 10 บาท จัดพิมพ์จำนวน 3 ล้านดวง



.

หากสังเกตเทียบกันดูจะพบว่ารูปแบบคล้ายคลึงกับเมื่อครั้งจัดสร้างแสตมป์ที่ระลึกบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อปี 2493

ความพิเศษของแสตมป์ชุดนี้ คือการจัดพิมพ์บนกระดาษฟอยล์เงินกระจก ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษที่จะทำให้ภาพตราไปรษณียากร มีความสดใส เปล่งประกายสวยงาม แวววาว สมพระเกียรติเนื่องในการพระราชพิธีอันสำคัญยิ่งนี้ นับว่าเป็นครั้งแรกของวงการตราไปรษณียากรไทยเลยที่ใช้เทคนิคนี้

ความพิเศษไม่ได้มาง่ายๆ บริษัทไปรษณีย์ไทยต้องส่งกระดาษที่ใช้พิมพ์ไปเคลือบฟอยล์เงินกระจกที่ประเทศอังกฤษก่อน แล้วเคลือบทับด้วยฟิล์มใสอีกชั้นหนึ่งที่ประเทศฝรั่งเศส เพื่อทำให้เกิดความเงาสะท้อนแสงเหมือนกระจก

นอกจากนั้น ยังพิมพ์ด้วยสี 5 สี คือฟ้า เหลือง แดง ดำ และขาว ทำให้ภาพมีสีสด โดยเฉพาะคำว่า ‘บรมราชาภิเษก ๒๕๖๒ CORONATION 2019’ และคำว่า ‘บาท BAHT’ ที่พิมพ์สีขาวให้โดดเด่น รวมถึงพิมพ์สีทองปั๊มดุนนูนที่อักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. คำว่า ‘ประเทศไทย THAILAND’ และตัวเลข 10 ปั๊มดุนนูนบริเวณพระฉายาลักษณ์ และพิมพ์ลายเส้นสีทองบริเวณพระปรางค์เจดีย์

หากใครสนใจแสตมป์ชุดนี้ จะมีวางจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม เป็นต้นไป ที่ไปรษณีย์ทั่วประเทศเลย

.

ภาพ : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
รัชกาลที่ 10 แสตมป์
Writer
Avatar
อลิษา ลิ้มไพบูลย์
นักอยากเขียนผู้เรียนปรัชญาเพื่อเยียวยาอาการคิดมาก เวลาว่างใช้ไปกับการร้องคอรัสเล่นๆ แบบจริงจัง และดูหนังอย่างจริงจังไปเล่นๆ

.




Pages: 1 ... 7 8 [9] 10
SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.073 seconds with 12 queries.