Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
05 April 2025, 14:43:38

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,967 Posts in 13,114 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  Recent Posts

Recent Posts

Pages: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
51


ปรับปรุงภาพใหม่



52


ปรับปรุงภาพใหม่


53


ปรับปรุงภาพใหม่



54


ปรับปรุงภาพใหม่


58

ปรับปรุงภาพใหม่


59
ทางช้างเผือก โดย พงศธร กิจเวช (อัฐ)


ทางช้างเผือก โดย พงศธร กิจเวช (อัฐ)
นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช.



โดย พงศธร กิจเวช (อัฐ)
Facebook: คนดูดาว stargazer

“วิญญาณฉันรอที่ทางช้างเผือก”

เพลงประกอบละครโทรทัศน์เรื่อง คู่กรรม ปี พ.ศ. 2533

คำร้องและทำนองโดย สุทธิพงษ์ วัฒนจัง (ชมพู ฟรุตตี้)

 

          กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เทพเจ้าซูส (Zeus) ราชาแห่งเทพกรีก ได้แอบมเหสีเฮรา (Hera) ไปหาหญิงสาวที่เป็นมนุษย์ชื่อ แอล์กมีนี (Alcmene) จนมีลูกชายเป็นเด็กทารกชื่อ เฮราคลีส (Heracles)


ภาพ The Origin of the Milky Way โดย Tintoretto ประมาณปี พ.ศ. 2118-2123
ที่มาภาพ Wikipedia https://en.wikipedia.org/wiki/Milky_Way

          ซูสอยากให้เฮราคลีสเป็นอมตะด้วยการดื่มนมของมเหสีเฮรา แต่เฮราขี้หึงมาก ถ้าเฮรารู้ว่าเฮราคลีสเป็นลูกของกิ๊กซูส เฮราก็คงไม่ปล่อยเฮราคลีสไว้แน่ ดังนั้นซูสจึงวางแผน

          คืนหนึ่งขณะที่เฮรากำลังหลับ ซูสแอบอุ้มเฮราคลีสย่องเข้ามา แล้วให้เฮราคลีสดื่มนมเฮรา

          พอเฮรารู้สึกตัวตื่นขึ้นก็ตกใจที่จู่ ๆ มีเด็กทารกที่ไหนก็ไม่รู้มาดื่มนมของตน จึงผลักเฮราคลีสกระเด็นออกไป เฮราคลีสได้ดื่มนมของเฮราแล้วมีพลังเช่นเทพเจ้าจึงไม่เป็นอะไร แต่ระหว่างที่ผลักนั้นเฮราคลีสกำลังดูดนมอยู่จึงทำให้นมของเฮราหกราดไปบนท้องฟ้า เกิดเป็นทางน้ำนม (Milky Way) หรือคนไทยเรียกว่า “ทางช้างเผือก” เนื่องจากคนไทยเห็นเป็นทางบนสวรรค์ที่ช้างเผือกเดินอยู่ (ช้างเผือกเป็นสัตว์มงคล)



ภาพชายเลี้ยงวัวเหาะตามหญิงทอผ้า แต่มีแม่น้ำกว้างใหญ่บนท้องฟ้าขวางกั้นไว้
ที่มาภาพ หนังสือ สตรีจีนในนิทาน แปลโดย วันทิพย์ สำนักพิมพ์สายใจ หน้า 31

          ส่วนคนจีนเห็นทางช้างเผือกเป็นแม่น้ำบนสวรรค์ มีนิทานเรื่อง “หญิงทอผ้ากับชายเลี้ยงวัว” เล่าว่า ชายเลี้ยงวัวได้พบรักกับหญิงทอผ้าที่เป็นนางฟ้าจากสวรรค์ที่แอบหนีมาเที่ยวเล่นที่โลกมนุษย์ ทั้งสองได้แต่งงานและมีลูกด้วยกัน 2 คน

          หญิงทอผ้าเคยมีหน้าที่ทอผ้าแล้วนำไปประดับติดบนท้องฟ้าเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าและดวงอาทิตย์ตกตอนเย็น เมื่อเธอไม่อยู่บนสวรรค์ท้องฟ้าจึงขาดสีสัน

          เทพสวรรค์ออกตามหาหญิงทอผ้าจนพบแล้วพาเธอเหาะกลับสวรรค์ ชายเลี้ยงวัวได้นำหนังวัววิเศษมาห่มทำให้เหาะได้ พาลูกทั้งสองใส่ตะกร้าหาบ แล้วเหาะตามมา เทพสวรรค์ได้เสกให้เกิดแม่น้ำกว้างใหญ่บนท้องฟ้า ทำให้ชายเลี้ยงวัวไม่สามารถเหาะข้ามไปได้

          ต่อมาเทพสวรรค์เห็นแก่หญิงทอผ้าและชายเลี้ยงวัวที่มีความรักมั่นคงต่อกัน จึงใจอ่อน ยอมให้ทั้งสองได้พบกันปีละครั้ง ทุกวันที่ 7 เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ในวันนั้นเหล่านกจะมาต่อตัวเป็นสะพานให้คู่รักคู่นี้ได้เดินข้ามแม่น้ำมาพบกัน

          แม่น้ำบนท้องฟ้านั้นคือ ทางช้างเผือก หญิงทอผ้าคือ ดาวเวกา (Vega) ในกลุ่มดาวพิณ (Lyra) และชายเลี้ยงวัวคือ ดาวอัลแทร์ (Altair) ในกลุ่มดาวนกอินทรี (Aquila) ดาวทั้งสองจะอยู่ข้างทางช้างเผือก

          ปัจจุบันยังมีเทศกาลฉลองวันที่คู่รักทั้งสองมาพบกันเรียกว่า เทศกาลชิซี (Qixi 七夕) เมื่อญี่ปุ่นรับวัฒนธรรมจีนเรื่องนี้ก็จัดเทศกาลเช่นกันเรียกว่า เทศกาลทานาบาตะ (Tanabata たなばた)


ภาพลำแสงเลเซอร์ส่องไปที่ใจกลางทางช้างเผือก ถ่ายจากหอดูดาว Very Large Telescope (VLT) ประเทศชิลี โดย Yuri Beletsky
ที่มาภาพ NASA https://apod.nasa.gov/apod/ap190106.html

          ถ้าลากเส้นจากดาวเวกาไปดาวอัลแทร์ แล้วลากไปหาดาวเดเนบ (Deneb) ในกลุ่มดาวหงส์ (Cygnus) เกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียกว่า สามเหลี่ยมฤดูร้อน (Summer Triangle) เป็นสามเหลี่ยมที่จะเห็นในช่วงฤดูร้อนของฝรั่ง (ในซีกโลกเหนือเส้นศูนย์สูตร) ตอนต้นเดือนกรกฎาคมตั้งแต่หัวค่ำทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

          ชาวอินเดียเรียกทางช้างเผือกว่าเป็นแม่น้ำคงคาสวรรค์ ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง “กามนิต” ว่ากามนิตและวาสิฏฐีคู่รักเมื่อตายแล้วจะไปพบกันที่นั่น เช่นเดียวกับโกโบริและอังศุมาลินในเรื่อง “คู่กรรม” ของทมยันตี

          ในทางดาราศาสตร์ ทางช้างเผือกคือกาแล็กซี(galaxy) หรือดาราจักร ที่โลกเราเป็นสมาชิกอยู่ คำว่า galaxy มีรากศัพท์จากภาษากรีกว่า galaxias (γαλαξίας) แปลว่า นม มาจากนิทานเรื่องทางน้ำนมกับเฮราคลีส

          กาแล็กซีคือระบบดาวที่อยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ประมาณว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกมีดาวฤกษ์ (คือดาวที่เหมือนดวงอาทิตย์) อยู่ประมาณ 1-4 แสนล้านดวง มีลักษณะเป็นก้นหอยมีคาน (barred spiral galaxy) เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 แสนปีแสง (1 ปีแสงเท่ากับ 9.46 ล้านล้านกิโลเมตร) คาดว่าตรงกลางทางช้างเผือกเป็นหลุมดำขนาดใหญ่ โชคดีที่โลกของเราไกลห่างจากจุดศูนย์กลางทางช้างเผือกประมาณ 28,000 ปีแสง โลกและดวงอาทิตย์ต้องใช้เวลาประมาณ 230 ล้านปีถึงจะโคจรรอบกาแล็กซีทางช้างเผือก


ภาพวาดทางช้างเผือก มองจากด้านบน ดวงอาทิตย์จะอยู่ค่อยมาทางด้านล่าง
ที่มาภาพ NASA https://solarsystem.nasa.gov/resources/285/the-milky-way-galaxy/?category=solar-system_beyond

          คาดว่าในจักรวาลมีกาแล็กซีทั้งหมดประมาณ 2 แสนล้าน ถึงมากกว่า 2 ล้านล้านกาแล็กซีในจักรวาลหรือเอกภพ

          เราสามารถมองเห็นทางช้างเผือกด้วยตาเปล่า ตอนผมเป็นเด็กเมื่อประมาณ 50 ปีก่อน สามารถมองเห็นทางช้างเผือกในกรุงเทพฯ แต่ปัจจุบันไม่สามารถเห็นในกรุงเทพฯ แล้ว เนื่องจากกรุงเทพฯ มีมลพิษแสง (light pollution) ที่เกิดจากแสงไฟฟ้าในเมืองมากขึ้น จึงต้องออกเดินทางไปดูในพื้นที่ที่มืดสนิทไกลจากเมือง 

          ดาวทุกดวงที่เรามองเห็นบนท้องฟ้านั้นล้วนอยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก แต่ทางช้างเผือกที่เราเห็นเป็นแถบคล้ายเมฆนั้นเกิดจากมุมมองจากโลกที่มองเห็นด้านข้างของทางช้างเผือก เปรียบทางช้างเผือกเหมือนจานกินข้าว ถ้าเรามองด้านบนจะเห็นจานกลม แต่ถ้ามองจานด้านข้างจะเห็นเป็นเส้น

          ตรงบริเวณใจกลางทางช้างเผือก (Galactic Center) ในกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) ใกล้กลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius) และกลุ่มดาวคนแบกงู (Ophiuchus) เป็นบริเวณที่จะเห็นทางช้างเผือกมีดาวหนาแน่นที่สุดหรือสวยงามที่สุด จึงนิยมถ่ายภาพทางช้างเผือกให้เห็นบริเวณใจกลาง

          ทางช้างเผือกอยู่บนท้องฟ้าตลอดเวลา แต่บริเวณใจกลางจะเห็นเวลากลางคืนประมาณปลายเดือนมกราคมตอนเช้ามืดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงกลางเดือนพฤศจิกายนตอนหัวค่ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้



.


.....
ที่มาของข้อมูล
https://www.nstda.or.th/sci2pub/milky-way/

.




60
เปิดภารกิจฉางเอ๋อ-7 และฉางเอ๋อ-8 กับแผนสำรวจดวงจันทร์ของจีนในอีก 10 ปีข้างหน้า


เปิดภารกิจฉางเอ๋อ-7 และฉางเอ๋อ-8 กับแผนสำรวจดวงจันทร์ของจีนในอีก 10 ปีข้างหน้า



สำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA)ประกาศว่า จีนจะเปิดตัวภารกิจฉางเอ๋อ-7 ในปี 2026 และภารกิจฉางเอ๋อ-8 ในปี 2028 โดยภารกิจฉางเอ๋อ-7 จะเป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมบริเวณขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ ขณะที่ภารกิจฉางเอ๋อ-8 เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการสำรวจทรัพยากรบนดวงจันทร์ เพื่อเป็นการวางรากฐานไปสู่การจัดตั้งสถานีวิจัยบนดวงจันทร์ (International Lunar Reserach Station : ILRS) ในปี 2035

แผนการจัดตั้งสถานีวิจัยบนดวงจันทร์เป็นความร่วมมืระหว่างจีนและรัสเซีย แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่

ในระยะแรก เป็นการตั้งสถานีวิจัยบริเวณขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ ที่มีแผนศึกษาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในรัศมี 100 กิโลเมตร เช่น การสำรวจดวงจันทร์ด้วยยานสำรวจแบบไร้คนขับ การลงจอดบนดวงจันทร์ของยานสำรวจแบบมีมนุษย์ควบคุม และความร่วมมือระหว่างประเทศอื่นๆ

ในระยะที่ 2 มุ่งเน้นไปที่การขยายขีดความสามารถของสถานีวิจัยบนดวงจันทร์ โดยมีแผนจะสร้างโครงข่ายของสถานีวิจัยบนดวงจันทร์ในจุดอื่นๆ ภายในปี 2050 โดยมีสถานีวิจัยที่ขั้วโลกใต้เป็นศูนย์กลาง เชื่อมโครงข่ายการสำรวจบริเวณเส้นศูนย์สูตรและด้านไกลของดวงจันทร์ โดยสถานีฯ ได้รับการออกแบบให้สามารถวิจัยแบบมัลติฟังก์ชั่นอย่างต่อเนื่องทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 

นอกจากนี้ ในภารกิจฉางเอ๋อ-8 ยังจะมีการศึกษาเรื่องความเป็นไปได้ในการใช้งานการสื่อสารแบบไร้สายบนดวงจันทร์ และการปลูกผักบดวงจันทร์ด้วย

สำหรับโครงการการจัดตั้งสถานีวิจัยบนดวงจันทร์ ขณะนี้มีองค์กรระหว่างประเทศที่เข้าร่วมโครงการนี้กว่า 40 แห่ง จากกว่า 10 ประเทศทั่วโลก เช่น เวเนซุเอลา เบลารุส ปากีสถาน อาเซอร์ไบจาน แอฟริกาใต้ อียิปต์ นิการากัว ไทย เซอร์เบีย คาซัคสถาน และเซเนกัล นอกจากนี้ ยังมีองค์กรด้านการศึกษาอวกาศของสหรัฐอเมริกา ยุโรป เข้าร่วมด้วย เช่น สมาคมหอดูดาวและดวงจันทร์นานาชาติในรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา บริษัท Nano-SPACE for Cooperation สวิตเซอร์แลนด์ และ Thales Group ฝรั่งเศส

การสำรวจดวงจันทร์ในภาจกิจฉางเอ๋อ-7 และภารกิจฉางเอ๋อ-8 เป็นภารกิจสำรวจดวงจันทร์ต่อเนื่องจากภารกิจฉางเอ๋อ-6 ที่ส่งยานสำรวจดวงจันทร์ ลงจอดบนดวงจันทร์ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน และเก็บตัวอย่างดินจากด้านไกลของดวงจันทร์จำนวน 1,935.3 กรัม กลับมาศึกษาโดยถือเป็นครั้งแรกในโลก ที่มีการเก็บตัวอย่างดินจากด้านไกลของดวงจันทร์กลับมายังโลกได้สำเร็จ

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวถึงความสำเร็จในภารกิจสำรวจอวกาศของจีนว่า มาจากความพยายามในการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านอวกาศอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 75 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน อุตสาหกรรมอวกาศของจีนได้รับการพัฒนาจนแข็งแกร่งและเติบโตแบบก้าวกระโดด

การสำรวจดวงจันทร์ในภารกิจฉางเอ๋อ-7 และฉางเอ๋อ-8 ต่อจากนี้ จึงเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศของจีน และต่อยอดองค์ความรู้การสำรวจอวกาศของมนุษย์

บทความ : ประวีณมัย บ่ายคล้อย

ภาพ : CGTN

.


.....
ที่มาของบทความ
https://www.tcjapress.com/2024/09/29/changer-7/

.




Pages: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.065 seconds with 17 queries.