Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
05 April 2025, 04:32:42

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,962 Posts in 13,109 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  Recent Posts

Recent Posts

Pages: 1 2 [3] 4 5 ... 10
21

เพลง เสน่หา

เพลงเสน่หา เป็นผลงานที่แต่งทั้งคำร้องและทำนองโดยครูมนัส ปิติสานต์ หรือ พ.อ.อ. มนัส ปิติสานต์ เดิมท่านชื่อ “มะลิ” แต่มาเปลี่ยนชื่อเป็น “มนัส”

ครูมนัสเรียนที่กองดุริยางค์ทหารอากาศ ในรุ่นที่ 1 และเป็นลูกศิษย์ของพระเจนดุริยางค์ ครูมนัสบอกว่า “ในการเขียนเพลงนั้น สวรรค์มอบมาให้จริง ๆ จะถ่ายทอดให้ใครก็ไม่ได้ หากผู้ใดหรือใครอยากจะเป็นนักแต่งเพลง ต้องมีพรสวรรค์ในการเสกสรร ปั้นคำ หาไม่แล้วก็จะเป็นเพลงที่ไร้เสน่ห์..”

การประพันธ์เพลงเป็นองค์ความรู้ที่ลุ่มลึก โดยครูมนัสได้ผสมผสานทั้งทางด้านดนตรีไทยและสากล เช่น เพลงเสน่หา การร้องมีการเอื้อนแบบเพลงไทยเดิมอย่างเหมาะสม มีความไพเราะกินใจ เป็นเพลงที่โดดเด่นมาก ส่วนคุณค่าในคำประพันธ์ พบว่าเพลงรักต่าง ๆ มาจากใจของครูมนัส ที่นำเอาเรื่องราวของชีวิตจริงแล้วกลั่นออกมาจากใจ เป็นความรักไม่สมหวัง รักปนเศร้า ที่มีความไพเราะกินใจทั้งทำนองและคำร้อง

เพลงเสน่หา แต่งในปี พ.ศ. 2507 ซึ่งขณะนั้นครูมนัสได้ไปทำงานเป็นครูสอนดนตรีที่สถานีโทรทัศน์ กรมประชาสัมพันธ์ มีบ้านพักริมบึงแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น ต่อมาปี พ.ศ. 2509 เพลงนี้ได้ขับร้องและบันทึกแผ่นเสียงโดยสุเทพ วงศ์กำแหง

ครูมนัสบอกว่า “คืนนั้นพระจันทร์ลอยเด่นเต็มดวงสวยมาก เป็นช่วงเดือนธันวาคม อากาศกำลังหนาว จึงเกิดอารมณ์อยากเขียนเพลง ในท่วงทำนองของคนที่ผิดหวังในเรื่องความรัก แต่ตอนนั้นยังไม่ได้ตั้งชื่อ เมื่อนำมาบันทึกแผ่นเสียงจึงใช้คำจากวรรคสุดท้ายของเพลงบรรทัดแรก คือคำว่า “เสน่หา” มาเป็นชื่อเพลง”

นอกจากนี้แล้วครูมนัส ปิติสานต์ ยังได้เล่าผ่านการสัมภาษณ์ของอาจารย์อานันท์ นาคคง ไว้ว่า "ไม่เคยคิดเลยว่าเพลงนี้จะกลายเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟัง เพราะเป็นการเขียนที่ใช้ภาษาง่าย ง่ายมาก ๆ เลย เป็นเรื่องของคำถาม เป็นเรื่องของการระบายของอารมณ์ความเจ็บปวด ที่เราถูกทิ้งไว้ แล้วก็ไปเจอคนที่มาใส่ใจ เราก็ไม่แน่ใจว่าชีวิตของศิลปินอย่างเราจะมีคนใส่ใจ เพราะความเป็นศิลปินเรารู้สึกต่ำต้อย และเมื่อเขามาสนใจ ให้ความสนิทสนม เป็นปัญหาที่ต้องถามตัวเอง ก็เลยเขียนเพลงนี้ขึ้นมา ถามว่าที่มาเนี่ย จริงใจหรือ แล้วนำความเจ็บปวดที่เจ็บตอนนั้นใส่เข้าไป

‘สงสารใจฉันบ้าง วานอย่าสร้างรอยช้ำ ซ้ำเป็นรอยสอง รักแรกช้ำน้ำตานอง ถ้าเป็นสอง ฉันคงต้องขาดใจตาย’

... เป็นความรู้สึกส่วนตัว และนึกถึงว่าคงยังมีอีกหลายคนคล้ายเรา ก็เขียนว่า

‘ความรักเอยเจ้าลอยลมมาหรือไร มาดลจิตมาดลใจเสน่หา’

เลยถามว่า

‘รักนี้จริงจากใจหรือเปล่า หรือเย้าเราให้เฝ้าร่ำหา หรือแกล้งเพียงแต่แลตา ยั่วอุราให้หลงลำพอง’

เพลงเสน่หา เป็นหนึ่งในเพลงที่รักอมตะของไทยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2475 - 2530 ซึ่งถือเป็นยุคทองของเพลงไทยสากล โดยเพลงนี้เป็นเพลงรักที่มีแก่น หรือ Theme อยู่ในกลุ่มโศกนาฏกรรมแบบเมื่อมีรักย่อมมีทุกข์ คือเป็นบทเพลงที่มีแก่นของเรื่องแบบผู้ที่เพิ่งเคยพานพบกับความรัก เป็นความสุขที่ปะปนมาพร้อมกับความทุกข์เหมือนเงาตามตัว แม้ความรักจะทำให้เกิดทุกข์แต่ก็ยินดีที่จะรับไว้ และยากที่จะตัดขาดได้

สำหรับรูปแบบคำร้อง เป็นเพลงที่มีความงดงามทางด้านวรรณศิลป์ โดยมีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใหม่ แล้วต่อมาเมื่อเพลงได้รับความนิยมสูง คำคม หรือสำนวนในเพลงเหล่านั้นกลายเป็นสำนวนฮิต ที่ผู้คนพูดติดปากมาจนกระทั่งทุกวันนี้ เช่น “ความรักเอยเจ้าลอยลมมาหรือไร” จากเพลง “เสน่หา”

.


.....
ขอขอบคุณ
https://www.facebook.com/photo/?fbid=4913548298732084&set=a.838110082942613

.




22
เพลง เสน่หา - สุเทพ วงศ์กำแหง[/b


เพลง เสน่หา - สุเทพ วงศ์กำแหง

https://www.youtube.com/watch?v=Fdc3ojrXvHs

เพลง เสน่หา สุเทพ วงศ์กำแหง

https://youtu.be/Fdc3ojrXvHs?si=nQcpOVsS5L5sV7t_

..

เสน่หา

คำร้อง - ทำนอง : มนัส ปิติสานต์
ขับร้อง :  สุเทพ วงศ์กำแหง

ความรักเอย ..
เจ้าลอยลมมาหรือไร
มาดลจิต
มาดลใจเสน่หา

รักนี้จริงจากใจหรือเปล่า
หรือเย้าเราให้เฝ้าร่ำหา
หรือแกล้งเพียงแต่แลตา
ยั่วอุราให้หลงลำพอง

สงสารใจฉันบ้าง
วานอย่าสร้างรอยช้ำซ้ำเป็นรอยสอง
รักแรกช้ำน้ำตานอง
ถ้าเป็นสองฉันคงต้องขาดใจตาย

...

ที่มา แห่ง ..เสน่หา

เพลงนี้ครูมนัส ปิติสานต์ เล่าว่า แต่งในปี พ.ศ.2502 เมื่อครั้งที่ไปทำงานเป็นครูสอนดนตรีที่สถานีโทรทัศน์ กรมประชาสัมพันธ์ที่ขอนแก่น สมัยที่รักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช เป็นอธิบดี และมีบ้านพักอยู่ที่ริมบึงแก่นนคร

ครูมนัส ปิติศานต์ สอนดนตรีให้กับ นักแสดงละคร ทีวีช่อง 5 ขอนแก่น ที่นั่น

คืนนั้นพระจันทร์ลอยเด่นเต็มดวงสวยมาก เป็นช่วงเดือนธันวาคม อากาศกำลังหนาว จึงเกิดอารมณ์อยากเขียนเพลง ในท่วงทำนองของคนที่ผิดหวัง ในเรื่องของความรัก (ซึ่งในขณะนั้น ครูมนัส เพิ่งจะผิดหวังในเรื่องราวของความรัก กับคู่รักของท่าน ซึ่งรักกันมาก)

ครูมนัส ท่านแต่งขึ้นมาได้ เพียงประโยคหนึ่ง " ความรักเอยเจ้าลอยลมมาหรือไร " แต่งมาได้เพียงเท่านี้ เกิดความรู้สึกว่าตัน แต่ในอีกความรู้สึกบอกว่า ยังไม่จบ ต้องมีเนื้อเพลงมากกว่านี้ ครูจึงใส่ ฮัม.. ลงไปในเนื้อเพลง
และนึกถึงว่า ในขณะนั้น ครูต้องการอะไร และจะต้องมีใครสักคนที่เข้าใจครู

หลังจากนั้น ครูจึงเขียนเนื้อเพลง ประโยคต่อมาว่า " สงสารใจฉันบ้าง วานอย่าสร้างรอยช้ำซ้ำเป็นรอยสอง รักแรกช้ำน้ำตานอง ถ้าเป็นสองฉันคงต้องขาดใจตาย "  และเพลง เสน่หา จบในค่ำคืนนั้น แต่ยังไม่ได้ตั้งชื่อเพลง

เมื่อครูมนัส กลับมาถึงกรุงเทพ ครูจึงนำบทเพลง ..เสน่หา เพลงนี้ให้คุณสุเทพ วงศ์กำแหง ร้องบันทึกลงแผ่นเสียง ปี พ.ศ.2502

เมื่อนำมาบันทึกแผ่นเสียงออกเผยแพร่ จึงใช้คำว่าวรรคสุดท้ายของเพลงบรรทัดแรก คือคำว่า "เสน่หา" มาเป็นชื่อ และได้รับความนิยมไม่แพ้เพลงอื่นๆ ที่แต่งมาก่อนหน้านี้

ครูมนัส ปิติสานต์ เขียนเล่าเอาไว้ในที่มาแห่งอารมณ์เพลงในหนังสือมหกรรมดนตรี เพลงไทยยุคทองของ 12 ครูเพลง ว่า

"...เพลงนี้ลอยลมมาจริงๆ เหมือนอย่างเนื้อเพลงที่ว่า...ความรักเอยเจ้าลอยลมมาหรือไร...เป็นความรู้สึกนั้นจริงๆ ความรักลอยลมมากระทบใจ แล้วไหลออกมาเป็นบทเพลงนี้ เพียงไม่กี่บรรทัด แต่คำจำกัดความของความรักนั้นมันคือความรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ...ผมขอยืนยัน"

เรื่องราวของเพลงที่ครูมนัส ปิติศานต์ แต่งไว้แต่ละเพลงที่แต่งนั้น เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของครูมนัสทั้งสิ้น และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ครูรักมากที่สุด ซึ่งในเวลาต่อมาครูมนัส และผู้หญิงคนนั้น ได้เลิกรากันด้วยฐานะที่ต่างกัน

และทุกสิ่งกลายมาเป็นเพลงเพราะๆ ที่เราได้ฟังกันจนทุกวันนี้

.....
ขอขอบคุณ ที่มาแห่งเสน่หา
http://saisampan.net/index.php?topic=56840.0

.




23
เพลง เพื่อเธอที่รัก - สุเทพ วงศ์คำแหง


เพลง เพื่อเธอที่รัก - สุเทพ วงศ์คำแหง

https://www.youtube.com/watch?v=PdHxQs_OVSg

เพื่อเธอที่รัก : สุเทพ วงศ์คำแหง

https://youtu.be/PdHxQs_OVSg?si=hxHGfKMN8Z7jN7eg

.

เพื่อเธอที่รัก
คำร้อง : อิสรา บรรจงสวัสดิ์
ทำนอง : มนัส ปิติสานต์
ขับร้อง : สุเทพ วงศ์คำแหง
..

ม่านประเพณี ที่กั้นขวากขวาง
ยังมีหนทาง เปิดทางให้สักหน
ทำนบหัวใจ ยากไร้ก็ไม่ทานทน
ถ้าเราสองคน จะมีเหตุผลก็ชมชิดได้

ห่างกันเพียงไหน ก็ไม่อาจพ้น
มือเราสองคน เอื้อมคว้ามาอิงแอบไว้
แต่เราสองคน สุดคิดเลือกทำตามใจ
พบกันสายไป จึงต้องห้ามใจทั้งๆ สุดรัก

(*) ศีลธรรม เหนือสิ่งอื่นใด
แย่งของรักใคร บาปใจนัก
ยอมช้ำอุรา ใช่ฉันจะสิ้นรัก
ฉันยอมอกหัก เพื่อเธอที่รักชื่นใจ

สู้ทนดับไฟ สวาทดวงนั้น
ก็ยังเหลือควัน คิดถึงคิดถึงไม่วาย
คิดถึงเหลือเกิน ป่านนี้เธอคงร้องไห้
เสียดาย เสียดาย ฉันไม่อาจช่วยซับหยาดน้ำตา
(ซ้ำ*)

.....

เพลงนี้ครูมนัส ปิติสานต์ เล่าว่า.. ความรักที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น ถูกผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงกีดกัน และรังเกียจ เพราะฝ่ายชาย เป็นแค่นักดนตรี นักแต่งเพลง ไม่สมศักดิ์ศรีเอาเสียเลย แม้สาวเจ้าจะรักครูอยู่มากก็ตาม ในท้ายที่สุด ก็ต้องไปแต่งงานกับผู้ชาย ที่ทางผู้ใหญ่เลือกไว้ให้
       
เมื่อนำเอาเนื้อเพลงที่ อิศรา บรรจงสวัสดิ์ แต่งไว้มาปรับแก้เนื้อหา และใส่ทำนองให้ เป็นเสมือนอนุสรณ์แห่งความรัก ที่จบสิ้นลงในครั้งกระโน้น จึงมีความไพเราะเป็นพิเศษ

.




24

https://www.youtube.com/watch?v=_VEYq0VfG_M

คืนคำรัก ธานินทร์ อินทรเทพ

https://youtu.be/_VEYq0VfG_M?si=YDyuK9R1dRrnyAWb

..


ประวัติความเป็นมาของ "เพลงคืนคำรัก" เพลงแรกที่ครูมนัสแต่ง

ครูมนัส ปิติสานต์ เคยเล่าว่า.. เส้นทางการเป็นนักแต่งเพลงของตนนั้น มีความผิดหวังเป็นเครื่องนำทาง

สมัยยังหนุ่ม ครูมนัส ปิติสานต์เป็นนักไวโอลินฝีมือดี เป็นที่ประทับใจแก่สาวจุฬาฯคนหนึ่ง สาวคนนั้นเดินมาบอกครูสง่า อารัมภีร นักเปียนโนในวงว่า อยากรู้จักกับนักไวโอลิน
           
ตอนแรกครูมนัสปฏิเสธที่จะสานสัมพันธ์ด้วยความเจียมจน แต่สาวคนนั้นบอกว่าเธอก็เป็นคนจนๆเหมือนกัน ทั้งคู่จึงตกลงคบกัน ไปไหนมาไหนด้วยกัน
           
วันหนึ่งมีคนมาบอกครูมนัสว่า ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองคนหนึ่งต้องการพบตัว ครูมนัสดีใจคิดว่าจะได้งานแสดงดนตรี แต่คำแรกที่ผู้ใหญ่ท่านนั้นเอ่ยคือ "เธอต้องเลิกกับลูกสาวฉัน"

เมื่อทราบสถานะจริงของแฟนสาวที่คบกันมาเป็นปี ครูมนัสตัดสินใจเลิกอย่างเด็ดขาด แม้เธอจะบอกให้รออีกสักปีจนเธอบรรลุนิติภาวะ เพราะหญิงสาวรักครูมนัสอย่างจริงใจ แต่ครูมนัสรู้ดีว่าเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ที่จะสมหวัง มองไม่เห็นหนทางข้างหน้า เลยตัดสินใจบอกเลิกกัน ก่อนที่จะถลำหนักไปมากกว่านี้

จากนั้น ครูมนัสจึงกลายเป็นคนสำมะเรเทเมาไปพักใหญ่ จนครูแจ๋ว สง่า อารัมภีร ต้องเรียกไปเตือนสติและให้ข้อคิดว่า ชีวิตเราไม่มีใครมาทำลายหรอก มีแต่เราที่ทำลายตัวเอง แล้วแนะให้ครูมนัสลองแต่งเพลง โดยนำเอาความหลังที่มีต่อกัน มาลองแต่งเป็นเพลงดู
           
เพลงแรกที่ครูมนัสแต่งคือเพลง "คืนคำรัก" ที่นำมาเล่าให้ฟังในวันนี้ครับ.

..

..นี่หรือรักจริง ที่หญิงเขาให้กับชาย...

ครูเพลงรุ่นก่อน ล้วนมีความผิดหวังเป็นแรงบันดาลใจให้แต่งเพลง ระบายความในใจ กอร์ปกับมีความสามารถเป็นเอกด้านการประพันธ์ ทำให้ท่านเหล่านี้แต่งคำร้อง ทำนองมาได้อย่างสุดซึ้ง เช่นเดียวกับครูมนัส ฯ ท่านทั้งต่อว่าให้หญิงที่เคยเป็นคนรัก และแม้แต่สมน้ำหน้าให้ตัวเอง สาปส่งน้ำใจลวงของสาวเจ้า ได้อย่างเจ็บปวด

และคุณธานินทร์ อินทรเทพ ผู็ขับร้องได้ถ่ายทอดออกมาเป็นเพลงที่หวานปนเศร้า ยิ่งนัก ได้อารมณ์เพลงเป็นอย่างยิ่ง

เพลง"คืนคำรัก" เป็นเพลงไพเราะ ภาษางดงาม เนื้อหากินใจ แต่ร้องตามยากครับ มีบางช่วงลงต่ำจนร้องตามไม่ไหวเลยครับ

...




25
เพลง คืนคำรัก - ธานินทร์ อินทรเทพ


https://www.youtube.com/watch?v=cSy2RVinkXw

คืนคำรัก

https://youtu.be/cSy2RVinkXw?si=joajY47JtSpqkiFI

.

เพลง คืนคำรัก
ขับร้องโดย : ธานินทร์ อินทรเทพ
คำร้อง/ทำนอง : มนัส ปิติสานต์

เมื่อเราพบกัน    รักกันนั้นเป็นคราวแรก
หัวใจแทบแตก    เจียนแหลกเพราะความระทม
น้ำตารินตก       ท่วมอกที่ช้ำระบม 
มันชอกมันช้ำขื่นขม มันเจ็บมันตรมลึกในฤทัย 

ปักใจภิรมย์      หวังชมรักเราแสนชื่น 
หัวใจเต็มตื้น     ฉันสร้างวิมานวิไล
ฉันฝันเต็มอิ่ม   ดื่มชิมสวรรค์ในใจ
ดื่มด่ำความรักได้ไว้   ย้อมใจว่ารักเราจริง

แต่แล้วโอ้เรา   โง่เขลาเขามีคู่แอบอิง
วิมานสวาท    ทิ้งรอยค้างใจประวิง
นี่หรือรักจริง   ที่หญิงเขาให้กับชาย

เมื่อมาพบกัน  ขอความรักฉันคืนมา
ขอคืนคำว่า    รักชั่วฟ้าดินมลาย
ขอมอบคำใหม่  จากไกลจนชั่ววันตาย
ยอมอยู่อย่างช้ำใจสลาย   แต่ไกลจากน้ำใจลวง

.



26
อาลัย “ชรินทร์ นันทนาคร” จาก “ทาสเทวี” ถึง “หยาดเพชร” [2]


ชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย

สปัน เธียรประสิทธิ์ รักแรกของ ชรินทร์ นันทนาคร ที่มาของเพลง ‘ทาสเทวี’ 

แต่ตัวท่านเอง สปัน เธียรประสิทธิ์ กล่าวไว้ว่า

" ฉันไม่ใช่ดอกฟ้า.....ฉันเป็นเพียงดอกหญ้าที่เคยถูกเหยียบขยี้จนจมดิน "

ชื่อของ สปัน เธียรประสิทธิ์ ในช่วงยุคพ.ศ. 2500 ต้น ๆ น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักเธอ สาวไฮโซ มีดีกรีนักเรียนนอกอังกฤษ หลานพระยา นับว่าเป็นหญิงสาวที่มีโปรไฟล์ไม่ธรรมดาเลย 
“สปัน เธียรประสิทธิ์” เป็นบุตรสาวของนายแพทย์เปล่ง เธียรประสิทธิ์ ซึ่งเป็นน้องชายของ คุณหญิงล้อม โอสถานุเคราะห์ ภริยา เจ้าสัวสวัสดิ์ โอสถานุเคราะห์ ที่มีบุตรชายคนหนึ่งคือ ร.ต.อ.สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ และแต่งงานกับ “ปองทิพย์ เธียรประสิทธิ์” พี่สาวของสปัน

คุณสปัน เธียรประสิทธิ์ ได้ถูก ครูชรินทร์ฯ เปรียบเปรยไว้ว่าเป็น...ดอกฟ้า..จนเป็นที่มาของเพลง ‘ทาสเทวี’  คุณสปันฯ ได้ครองรัก กับ ครูชรินทร์ฯ ได้เพียง 3 ปี มีบุตรสาวด้วยกัน 2 คน นั่นคือคุณ ปัญญ์ชลี (สมรสกับ เศรณี เพ็ญชาติ เป็นมารดาของ แหวนแหวน ปวริศา เพ็ญชาติ) และ ปัญชนิตย์ เธียรประสิทธิ์ (สมรสกับชาวต่างชาติ เป็นมารดาของ หวาย กามิกาเซ่ ปัญญริสา เธียรประสิทธิ์)

หนังสือ "ชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย" ของ สปัน เธียรประสิทธิ์ จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสครบ 7 รอบ หรืออายุ 84 ปี เรียบเรียงโดย FB Vuttikorn Phavichitr

" เธอเป็นดอกฟ้า รู้ไหมว่าเราเป็นดั่งทาสเทวี แม้นไม่ปราณี ทาสนี้คงระทมอยู่เรื่อยไป "

เธอเป็นดอกฟ้า จากเพลง " ทาสเทวี " มักจะดังขึ้น เมื่อฉันปรากฏตัวในร้านอาหาร หรือ สถานที่ฟังเพลงต่างๆ แล้วทุกคนก็จะหันมามองฉันและซุบซิบ ฉันรู้สึกขำในใจเพราะในความเป็นจริงแล้ว ฉันเป็นเพียงดอกหญ้าที่ถูกเหยียบขยี้จนแทบจะจมดิน หมดโอกาสที่จะลืมตาอ้าปากได้

ทุกคนคิดว่าฉันเกิดในกองเงินกองทอง เพราะมีพ่อที่มาจากสกุลที่รวยมาก แต่ฉันไม่ได้เป็นอย่างที่ทุกคนคิด

ฉันเป็นเพียงดอกฟ้าแค่ช่วงชีวิตหนึ่งเท่านั้น หญิงสาวสวยอยู่ในชุดราคาแพง ประดับด้วยเครื่องเพชรล้ำค่า เรียนจบจากประเทศอังกฤษ ถูกเชิญไปในงานสังคมสูงๆในหมู่คนรวย เป็นที่จับตามองของผู้ชายหลายคนแต่ก็เป็นแค่ช่วงเดียวของชีวิต ถ้าทุกคนรู้ถึงอดีตของฉันจริงๆ จะตกใจนึกไม่ถึงว่าชีวิตของคนๆหนึ่งจะเหลือเชื่อ มีวิกฤตในชีวิตมากมายยิ่งกว่านิยายน้ำเน่า  ลำบากที่สุด จนที่สุด รวยที่สุด

.

เรื่องราวความรักดุจนิยายของ "ชรินทร์ นันทนาคร" และ "สปัน เธียรประสิทธิ์" นั้น จะขอแชร์มาจาก หนังสือ "ชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย" ของ สปัน เธียรประสิทธิ์ จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสครบ 7 รอบ หรืออายุ 84 ปี เรียบเรียงโดย FB Vuttikorn Phavichitr (โปรดติดตามต่อไป)

.










.


27
อาลัย “ชรินทร์ นันทนาคร” จาก “ทาสเทวี” ถึง “หยาดเพชร” [1]


ข่าวดังที่ช็อควงการบันเทิงในช่วงนี้ก็คือ การจากไปของศิลปินแห่งชาติ ชรินทร์ นันทนาคร (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567) ชื่อเล่น ฉึ่ง หรือ มัย เป็นนักร้อง นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวไทย ได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2541 (ชื่อเดิมคือ บุญมัย งามเมือง เปลี่ยนเป็น "ชรินทร์" และนามสกุลพระราชทาน "นันทนาคร")

ชรินทร์ นันทนาคร ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเพลงลูกกรุงที่ส่งเสียงกล่อมกรุง และกล่อมประเทศไทยมาไม่ตํ่ากว่า 70 ปี ได้จากไปอย่างสงบด้วยโรคชราในวัย 91 ปี หลังจากเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจอยู่ระยะหนึ่ง ได้ละทิ้งอดีตและตำนานเพลงแห่งความรักที่ลือลั่นสนั่นกรุงไว้ 2 เพลง คือ “ทาสเทวี” และ “หยาดเพชร”

วันนี้ ขอเล่าถึงตำนานเพลง “หยาดเพชร” และเพชรา ก่อน เพราะเพลง "ทาสเทวี" มีประวัติความเป็นมาเรื่องราวที่น่าสนใจมากจากคุณ(ยาย) สปัน เธียรประสิทธิ์ (ภรรยาคนแรก) ซึ่งยังมีชวิตอยู่ในปัจจุบัน และได้เขียนหนังสือ "ชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย" เอาไว้ให้ได้ศึกษากัน อ่านสนุกมากและได้ความรู้เรื่องเก่าสมัยนั้นอีกด้วย

.

"หยาดเพชร" เป็นเพลงที่ ‘ชรินทร์ นันทนาคร’ ร้องขอความรักจาก ‘เพชรา เชาวราษฎร์’

เปรียบเธอเพชรงามน้ำหนึ่ง   หวานปานน้ำผึ้งเดือนห้า
หยาดเพชร เกล็ดแก้วแววฟ้า   ร่วงมาจากฟ้าหรือไร

ถึงแม้เวลาจะผ่านไปเกือบ 60 ปี เพลง "หยาดเพชร" ก็ยังคงความเป็นอมตะด้วยดนตรีแห่งความเสน่หาออดอ้อน และเนื้อร้องที่เปี่ยมล้นไปด้วยความรักอันหวานซึ้งของนักร้องเพลงไทยสากล ผู้มีลูกเอื้อนเป็นเอกลักษณ์อย่าง ‘ชรินทร์ นันทนาคร’ ที่ตั้งใจร้องจีบนางเอกนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง ‘เพชรา เชาวราษฎร์’ ในภาพยนตร์เรื่อง ‘เงิน เงิน เงิน’ (2508)

โดยครู ‘ชาลี อินทรวิจิตร’ ผู้ประพันธ์เนื้อร้องเพลงนี้ (ครู ‘สมาน กาญจนะผลิน’ ประพันธ์ทำนอง) ได้เล่าว่า

“ผมบอกเขาว่า ร้องให้ดีนะ ร้องแล้วคงรู้ว่าผมหมายถึงใคร... จนในที่สุด ชรินทร์ก็สมหวังในชีวิตรัก”

ชรินทร์และเพชราได้ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันมากว่า 46 ปี นับตั้งแต่เข้าพิธีวิวาห์ในปี 2518 และถึงแม้เพชราจะต้องเข้าสู่ช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดในชีวิต เนื่องจากดวงตาของเธอไม่อาจมองเห็นอะไรได้อีก ชรินทร์ก็ได้พิสูจน์ให้เพชราเห็นถึงรักแท้อันบริสุทธิ์ งดงาม และมั่นคงของเขาด้วยการดูแลเธออยู่ไม่ห่าง

เรียกได้ว่า นอกจากเพชราจะเป็นอัญมณีอันล้ำค่าที่สุดของชรินทร์ อีกนัยหนึ่ง เขาก็คือ ‘หยาดเพชร’ ที่ส่องประกายอยู่ในชีวิตของเพชรา ไม่ต่างจากเนื้อร้องท่อนสุดท้ายที่ครูชาลีประพันธ์ไว้ว่า

..หยาดเพชรหยาดละอองผ่องใส   แม้อยู่ในความมืดมน..

.









.







.




28

ทรงปิดทองหลังพระ
.
ทุกคนคิดปิดทองพระปฏิมา
เบื้องพักตราแนบไว้ให้กระจ่าง
ครั้งพระองค์ทรงปิดเบื้องปฤษฎางค์
เลิศด้วยสร้างอุทาหรณ์ไว้สอนใจ
.
สงบ สวนสิริ (สันตสิริ) ประพันธ์
.



.




29

https://www.youtube.com/watch?v=fJCVhX91FSg&t=189s

ข้างขึ้นเดือนหงาย - คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน

https://youtu.be/fJCVhX91FSg?si=XSSbuRijkGvpeDjl

ข้างขึ้นเดือนหงาย

ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน

คำร้อง ครูแก้ว อัจฉริยะกุล


ข้างขึ้นเดือนหงาย เราขี่ควายชมจันทร์

เพลิดเพลินใจฉัน โคมสวรรค์พราวพราย

ไขว่ห้างนั่งเฉย เอ้อระเหยลอยชาย

เป่าขลุ่ยเพลงหนังบนหลังควาย ชื่นพระพายโชยมา

แม้ว่าต้องการเพื่อนคุย ฉันมีเจ้าทุยสนทนา

พูดจาตอบถามตามประสา ลัดเลี้ยวคันนาตามชอบใจ

สุขใจจริงหนอ เราไม่ง้อใครใคร

เจอะนางคนรักก็รับไป เป่าขลุ่ยสอดคล้องเราร้องไป

ขี่ควายชมฟ้า เพลินตาเพลินใจ จันทร์แจ่มใสเต็มดวง

อยู่นาเดือนหงาย เราขี่ควายพาควง

แต่หนุ่มชาวเมืองหลวง พาคู่ควงเปลืองครัน

อยู่กรุงอยู่นา ไอ้มันก็ฟ้าเดียวกัน

ขี่ควายขี่เก๋งก็เหมือนกัน มันก็พระจันทร์ดวงเดียว

เขาว่ารถยนต์สบาย แต่ฉันว่าแพ้ควายแท้เทียว

อยู่กรุงไปไหนให้หวาดเสียว ปรู๊ดปร๊าดโครมเดียวเราก็ตาย

ต้นข้าวอ่อนพลิ้ว ชูยอดริ้วเรียงราย

ค่อยชมแช่มช้อยค่อยเยื้องกราย

ขี่ควายแช่มช้าประสาควาย

อยู่นาสุขแสน เมืองแมนกลายกลาย เดือนก็หงายพอกัน








Pages: 1 2 [3] 4 5 ... 10
SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.067 seconds with 19 queries.