Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
05 April 2025, 04:10:48

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,962 Posts in 13,109 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  Recent Posts

Recent Posts

Pages: 1 [2] 3 4 ... 10
11
คลองอนุศาสนนันท์ (คลองชัยนาท-ป่าสัก)


คลองอนุศาสนนันท์ หรือ คลองชัยนาท-ป่าสัก บ้างก็เรียก คลองหนึ่งซ้ายเก้าขวา เป็นคลองชลประทานที่ขุดขึ้นเพื่อผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังแม่น้ำป่าสัก บริเวณเหนือเขื่อนพระราม 6 ก่อสร้างขึ้นหลังจากที่เขื่อนเจ้าพระยาก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2500 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเจ้าพระยาใหญ่ ในปี พ.ศ. 2495 โดยก่อสร้างพร้อมกับคลองชัยนาท-อยุธยา แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2505 สามารถส่งน้ำได้ปริมาณสูงสุด 210 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

คลองอนุศาสนนันท์ แยกจาก แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณประตูระบายน้ำมโนรมย์ ตำบลวัดโคก อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ก่อนจะไหลลงถึงบริเวณคลองอู่ตะเภา ตำบลอู่ตะเภา อำเภอมโนรมย์ แล้วผ่านสะพานเบี่ยง ตำบลเสือโฮก อำเภอเมืองชัยนาท ก่อนเข้าสู่ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอบ้านหมี่ อำเภอโคกสำโรง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เข้าสู่ อำเภอหนองโดน อำเภอพระพุทธบาท อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี บรรจบกับแม่น้ำป่าสักที่ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความยาวทั้งสิ้น 134 กิโลเมตร

บางช่วงของคลองอนุศาสนนันท์จะมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196 ขนานทางด้านทิศตะวันตกของคลอง ตั้งแต่ถนนพหลโยธิน ตำบลดงพลับ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ถึงถนนพระโหราธิบดี เขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3048 ตั้งแต่ ตำบลท่าลาน อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ลงมาถึงถึงแยกสะพานชลประทานที่ 12 ตำบลบ้านครัว อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี

.

ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/คลองอนุศาสนนันท์




12







https://www.youtube.com/watch?v=tlCt8gDY3sM

หมวดศิลา สถานีบ้านหมี่
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)

https://youtu.be/tlCt8gDY3sM?si=e1xvTcNoZ3CG-dLV

.

..............







https://www.youtube.com/watch?v=QyFXL4R4ero

ทางรถไฟสายเก่า”หมวดศิลาบ้านหมี่”และรถข้างต่ำที่เคยใช้บรรทุกหินในยุครถจักรไอน้ำ
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)

https://youtu.be/QyFXL4R4ero?si=J9D-b8STD77HnUvl

.




13

เส้นทางรถไฟสายเก่า หนองเต่า-เขาทับควาย ที่สาบสูญ
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)
Oct 12, 2024



https://www.youtube.com/watch?v=i-hboBxlqGw

เส้นทางรถไฟสายเก่า หนองเต่า-เขาทับควาย ที่สาบสูญ
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)

https://youtu.be/i-hboBxlqGw?si=O_tCKARP8aMTd-fi




14



โครง Span ช่วง 2 ครับ เป็นหกเลี่ยมแบบยาว ซึ่งโครงรูปร่างแบบนี้มีทั้ง 3 สะพานที่ผาดผ่านคลองอนุศาสนนันท์
.



ระหว่างช่วงท้ายๆของ Span ที่ 2 มีนกชนิดนึงทำรังอยู่ด้วยครับ ไม่ทราบว่าเป็นนกอะไร เห็นแต่รังกับไข่ 1 ฟอง
.



อ้าว...พอมาดูตอม่อระหว่าง Span ที่ 2 กับ Span ที่ 3 ปรากฏว่าฝั่งของ Span ที่ 3 มีรอยชำรุดเกิดขึ้นครับ ถ้าปล่อยไว้โดยไม่ดูแลรักษา ผมว่าไอ้ Span ที่ 3 เนี้ยล่ะที่จะลงไปอาบน้ำในคลอง
.



ในส่วนของแนวคานที่ไว้ติดหมอนรองรางตรงนี้ต้องยื่นออกมาจากโครง span ด้วยครับ เพราะเนื่องจากบริเวณตอม่อที่รับโครงสร้างเป็นในแนวทแยงไม่ใช่แนวตรง
.



หันกลับไปมองทางฝั่งที่มาจากตัวสถานีหนองเต่า
.



เอาล่ะครับมาดูกันต่อ แนวนี้มองไปยังปลายรางที่เขาทับควายครับ
.



การเดินบนสะพานอันนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษครับ เนื่องจากหมอนรองรางที่เป็นไม้ได้ถูกรื้ออกไปแล้ว ทำให้มีช่องว่างเพิ่มขึ้น ถ้าเดินไม่ดีจะเซตกจากสะพานลงไปในคลองได้ครับ
.



มองไปยังปลายสายของคลองครับอยู่แถวๆบ้านผมเนี้ยล่ะ ถ้ามีเรือซะลำคงล่องกลับบ้านโดยเรือแล้วครับ
.



ส่วนอีกฝั่งนึกปลายสายซึ่งต่อเชื่อมมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาทครับ
.

คลองอนุศาสนนันท์ (คลองชลประทาน "เจ้าพระยา-ป่าสัก") แยกจาก แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ไหลผ่าน อ.เมืองชัยนาท, ก่อนเข้าสู่ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์, อ.บ้านหมี่ อ.โคกสำโรง อ.เมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี, เข้าสู่ อ.หนองโดน อ.พระพุทธบาท อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี บรรจบกับแม่น้ำป่าสัก ที่ ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา มีความยาวทั้งสิ้น 134 กิโลเมตร
.



เดินมาถึงคอสะพานอีกฝั่งนึงของสะพานดำนี้แล้วครับ
.



คอสะพานฝั่งนี้มีส่วนที่เป็นคอนกรีตด้วยครับ ซึ่งน่าเอาไว้นำดินมาใส่เพิ่มเป็นคันทางมุ่งออกจากตัวสะพานนี้ และกันการทรุดตัวของแนวคันทางตรงคอสะพานด้วยครับ
.



สะพานก็ไม่ยาวเท่าไหร่ครับ เดินเดี๊ยวเดียวก็มาถึงอีกฝั่งแล้ว คราวนี้ลองมองข้ามไปยังฝั่งที่ผมเดินมาจากสถานีหนองเต่าครับ
.





มาดูที่คอสะพานกันครับ จะเห็นได้ว่าคันทางที่ทำขึ้นมาถึงสะพานอันนี้ได้ถูกทลายลงมาหายไปแล้วเรียบร้อยครับ
.



มองไปตรงพุ่มไม้ข้างหน้าครับ จะเป็นแนวคันทางไปยังเขาทับควาย ซึ่งแนวคันทางได้ถูกทลายเป็นคันนา ทุ่งนา แทนไปแล้วครับ
.



รูปนี้จะเห็นได้ชัดเจนมากกว่าครับ
.



ส่วนตัวเลขตรงนี้น่าจะหมายถึงจำนวนกิโลเมตรจากตัวสะพานนี้ไปยังปลายรางที่เขาทับควายหรือเปล่าหว่า
.

Mongwin
1st Class Pass (Air)

สะพาน ตอม่อสะพาน เป็นของที่รื้อยาก ทำลายยาก คงทน ก็เลยเป็นข้อดีนะครับ กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไปเจอเอกสารนี้ในราชกิจจานุเบกษา ขอนำมาลงไว้เป็นบันทึกช่วยจำนะครับ





.



และแล้วการสำรวจของผมก็เสร็จสิ้นครับสำหรับสถานีรถไฟหนองเต่าและสะพานปริศนา รูปนี้ถ่ายในทางฝั่งตรงข้ามกับถนนสายลพบุรี - บ้านหมี่ครับ
.



ใกล้ๆกับสะพานก็จะมีถนนลูกรังขนานไปกับคลองสายนี้ครับ ผมเลือกใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางกลับ เนืองจากอาการร้อนมาก จนเวียนหัวแล้วครับ ขืนขึ้นสะพานเดินข้ามไปอีกรอบผมได้ตกน้ำแน่ๆ
.




15



...

Ep.1

เส้นทางรถไฟสายเก่า บ้านหมอ-โรงปูนซีเมนต์ท่าหลวง
.

https://www.youtube.com/watch?v=Zw8fO9mUeSQ

เส้นทางรถไฟสายเก่า บ้านหมอ-โรงปูนซีเมนต์ท่าหลวง
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)

https://youtu.be/Zw8fO9mUeSQ?si=EJf8XDnZTSdvEnEa

..

Ep.2



https://www.youtube.com/watch?v=cPpNQgXM6Ns

เส้นทางรถไฟสายเก่า บ้านหมอ-บ่อดินขาว(ที่หายสาบสูญ)

นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)

https://youtu.be/cPpNQgXM6Ns?si=CuSJG49yFLipwdzj


.....



https://www.youtube.com/watch?v=cPpNQgXM6Ns
เส้นทางรถไฟสายเก่า บ้านหมอ-บ่อดินขาว(ที่หายสาบสูญ)
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)

https://youtu.be/cPpNQgXM6Ns?si=rcIHYPjr3IFDo7Oa

.




16



นี่ครับ จะเดินข้ามต้องเดินบนโครงเหล็กนี่ครับ พอดีกับเท้าเลยครับ ต้องก้าวเท้าดีๆหน่อยครับ ไม่งั้นหล่นแน่ๆ
.



โครงเหล็กที่ว่ามีรูไว้ใส่อุปกรณ์ยึดเหนี่ยวโครงสร้างกับหมอนรองรางด้วยครับ
.



โครงสร้างของตัวสะพานทั้งหมดจะใช้กรรมวิธีหมุดย้ำครับ ดูได้เลยครับ สะพานเก่าๆเดิมๆจะใช้กรรมวิธีหมุดย้ำกันทั้งหมดครับ
.



ช่วงรอยต่อระหว่าง Span 1 กับ Span 2 ครับ โดยโครงสะพานจะยึดติดกับตอม่อสะพาน โดยวางตัวโครงสะพานลงไปแล้วใช้น๊อตยึดติดกับตอม่อ
.



ดูจากรูปเหมือนว่าคอสะพานฝั่งนี้กว้างกว่าในสะพานหรือเปล่าครับเจฟ แปลกตาดีจริง ๆ ถ้าในปัจจุบันมีรถวิ่งผ่านก็คงจะดี เพราะสภาพจะได้ไม่โทรมขนาดนี้
.



ยังเหลือระยะทางอีกไกลครับกว่าจะไปถึงอีกฝั่ง คนไม่กลัวก็เดินตามมาเลยครับ
.



สังเกตดูดีๆครับ โครงสะพานแต่ละช่วงจะไม่ได้ขนานเป็นเส้นตรง 180 องศานะครับ จะขนานเป็นเส้นทแยงแทนครับ
.

black_express
1st Class Pass (Air)
ดูจากรูปเหมือนว่าคอสะพานฝั่งนี้กว้างกว่าในสะพานหรือเปล่าครับเจฟ แปลกตาดีจริง ๆ ถ้าในปัจจุบันมีรถวิ่งผ่านก็คงจะดี เพราะสภาพจะได้ไม่โทรมขนาดนี้
.(ภาพไม่มี).

ยังมีสะพานแบบนี้อีกแห่งหนึ่งครับ คุณเต้ย ใช้ไม้ปูพื้นสะพานให้รถยนต์วิ่งข้ามด้วย คือสะพานรถไฟ (เดิม ) ข้ามคลองอนุศาสนนันท์ จากสถานีบ้านหมอ ไปยังบ่อดินขาวของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ท่าหลวง
.....

umic2000
2nd Class Pass

..
[KTTA-50-L wrote:



สะพานนี้มีทั้งหมด 4 ช่วง (4 Span) ซึ่ง Span อันแรกจะเป็นโครงเหล็กแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า
.

(รูปที่ 2)


ส่วนอีก 3 Span ที่เหลือจะเป็นโครงเหล็กแบบหกเหลี่ยมยาว]

..

สังเกตอะไรไหมครับท่านสมาชิกทั้งหลาย ว่าสะพานแบบแผงขึ้นที่ข้ามคลองอนุศาสนนันท์หรือคลองชลประทานชัยนาท - ป่าสัก จะมีรูปทรงของสะพานคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะโครงสร้างและรูปทรงสะพานแบบในรูปที่ 2 ซึ่งมีสะพานรูปทรงเดียวกันตามสถานที่ดังต่อไปนี้

1. สะพานทางรถไฟสายเหนือข้ามคลองอนุศาสนนันท์ ณ บ.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ( ขออนุญาตยืมรูปพี่เต้ยหน่อยนะครับ )


2. ทางรถไฟขนแร่เหล็ก สถานีหนองเต่า - เขาทับควาย บ.หนองเต่า อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี

3. ทางรถไฟไปบ่อดินขาวที่ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี (รอบนี้ผมพิมพ์ว่าบ้านหมอ บ่ใช่บ้านหม้อแบบคราวก่อนแล้วเด้อ ท่านพี่เจฟที่เคารพ)
https://www.facebook.com/groups/259276574570765/posts/1963904304107975/

.

และมีข้อสังเกตอีกอย่างนึงว่า คลองอนุศาสนนันท์ช่วงตั้งแต่ อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ถึงช่วงอ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี จะมีความกว้างมากกว่าคลองในช่วงอื่นๆ ส่วนความลึกผมไม่แน่ใจนะครับว่าแต่ละช่วงขุดลึกเท่ากันหรือไม่ แต่ช่วงแถว อ.ตาคลี ผมเคยลองลงไปกลางๆ คลองช่วงเดือนเมษายน ผลปรากฏว่าจมมิดหัวเท้าแทบไม่แตะพื้นเลย แถมกระแสน้ำข้างล่างเชี่ยวมาก อันนี้เป็นข้อสังเกตของผมเกี่ยวสะพานและคลองสายนี้นะครับ

.




17

ข้อมูลและภาพจาก...
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2032&postdays=0&postorder=asc&start=90
"ที่นี่สถานีหนองเต่าและสะพานปริศนา". รถไฟไทยดอตคอม.
.

ข้อมูลและภาพโดย
KTTA-50-L
1st Class Pass (Air)
..

ซากสะพานร้าง ข้ามคลองอนุศาสนนันท์ (คลองชลประทาน) ส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายหนองเต่า–เขาทับควาย (ที่รื้อถอนไปแล้ว เหลือแต่ซากสะพาน)



เป็นสะพานโครงเหล็ก(สะพานดำ) แต่ปัจจุบันขึ้นสนิม จากสะพานดำกลายเป็นสะพานแดงสีสนิมไปแล้ว
.

ถ้าไปเดินบนสะพานนี้ ไม่มีไม้หมอนรอง มีแต่คานสะพานล้วนๆ แถมมีผุเป็นบางช่วงอีก เดินเหยียบทีดังก๊อบแก๊บๆไปตลอด แล้วพอเดินข้ามไปถึงอีกฝั่ง ก็หาก็ทางลงไม่ได้อีก



สะพานที่ว่านี้เป็นสะพานรถไฟซึ่งตามโครงการแล้ว เป็นทางรถไฟที่จะสร้างแยกออกจากย่านสถานีหนองเต่าไปยังเขาทับควายในเขตอำเภอโคกสำโรง เพื่อเข้าไปเอาแร่เหล็กครับ สะพานนี้ก็ได้ถูกสร้างขึ้น แต่เมื่อไปสำรวจมาแล้วพบว่าไม่คุ้มกับการสร้างทางรถไฟเข้าไปเอา โครงการนี้เลยต้องถูกระงับไปเป็นการถาวร ทำให้สะพานแห่งนี้กลายเป็นอนุสรณ์ของโครงการนี้ไปครับ ก็เหมือนกับตอม่อโฮปเวลล์ล่ะครับ ส่วนทางเดินกับถนนที่ผมเดินมาจากย่านสถานีหนองเต่ามาที่สะพานนั้น มันคือแนวคันทางของเส้นทางแยกหนองเต่า - เขาทับควายนี่เองครับ

(ตรงคอสะพานแห่งนี้ แนวคันทางที่อยู่ใกล้คลองอนุศาสนนันท์ได้ถูกชาวนาใช้รถแทรกเตอร์ทะลายลงไปเป็นที่นาหมดแล้ว คงเหลือแต่แนวคันทางในที่ดอน ยังพอมีเหลืออยู่จนกระทั่งถึงเขาทับควาย)

..



สะพานนี้มีทั้งหมด 4 ช่วง (4 Span) ซึ่ง Span อันแรกจะเป็นโครงเหล็กแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า



ส่วนอีก 3 Span ที่เหลือจะเป็นโครงเหล็กแบบหกเหลี่ยมยาว

..



มาดูที่ตอม่อครับ ก็ยังเหมือนกับสะพานทั่วๆไปครับ เป็นตอม่อแบบคอนกรีตที่หล่อขึ้นมา
.



กลับมาดูใต้สะพานครับ เมื่อหงายหน้าขึ้นไปก็จะเห็นว่าตรงกลางตัวสะพานจะมีโครงไว้วางหมอนรองรางด้วยครับ
.



มาดูกันที่บริเวณคอสะพานครับ ดูแล้วมีเศษหินโรยทางอยู่ด้วยครับ
.



เอาล่ะครับ จะเดินบนสะพานดีหรือเปล่าครับ สะพานมีแต่โครงเปล่าๆ ไม่มีหมอนรองรางเลยครับ
.



สรุปว่าผมจะข้ามสะพานนี้ครับ ขนาดสะพาน 3 หอ สะพาน 2 หอ ที่สูงๆผมยังข้ามได้หน้าตาเฉย นี่แค่สะพานร้างที่ไม่สูงมาก อีกอย่างผมเป็นลูกแม่น้ำป่าสัก ตกน้ำไปก็ยังว่ายขึ้นฝั่งได้ จะกลัวทำไมเนอะ ก่อนข้ามก็เหลือบไปเห็นตัวหนังสือที่โครงเหล็ก Span อันแรกครับ เขียนไว้ว่า "กม. 151+368.00 ยาว 77 ม." ก็สรุปได้ว่าสะพานนี้ตั้งอยู่ที่ กม.151 กับอีก 368 เมตร (หลักกม.ที่สถานีหนองเต่า กม.150+080 งั้นแสดงว่าสะพานนี้อยู่ห่างจากสถานีหนองเต่า 1 กิโลเมตร 288 เมตร) ส่วน 77 ม. นั้น เข้าใจว่าสะพานร้างอันนี้มีความยาวทั้งหมด 77 เมตรครับ

..




18

ทางรถไฟสายหนองเต่า–เขาทับควาย เป็นทางรถไฟสายหนึ่งในจังหวัดลพบุรี ที่แยกออกมาจากเส้นทางรถไฟสายเหนือ (ชุมทางบ้านภาชี–เชียงใหม่) สร้างสำหรับขนส่งแร่เหล็กจากเขาทับควาย เบื้องต้นได้มีการเวนคืนที่ดินที่จะสร้างทางรถไฟแยกจากสถานีรถไฟหนองเต่ามุ่งไปยังที่ตั้งของเขาทับควาย ผ่านตำบลหนองเต่า ตำบลพุคา อำเภอบ้านหมี่ และตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2491 แต่ทว่าหลังการสำรวจก็พบว่าแร่เหล็กมีน้อย ไม่คุ้มทุนที่จะนำรถไฟเข้าไป เส้นทางรถไฟสายนี้จึงถูกระงับ หลังจากนั้นรางที่สร้างเสร็จจึงถูกนำออกไป และคันทางก็ถูกไถกลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมาแต่นั้น ปัจจุบันเหลือเพียงซากสะพานข้ามคลองอนุศาสนนันท์



ซากสะพานข้ามคลองอนุศาสนนันท์
Khao Thap Khwai Railway, Lop Buri in 2017
.

(ข้อมูลและภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ทางรถไฟสายหนองเต่า–เขาทับควาย)

.

หมายเหตุ

คลองอนุศาสนนันท์ (คลองชลประทาน "เจ้าพระยา-ป่าสัก") แยกจาก แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ไหลผ่าน อ.เมืองชัยนาท, ก่อนเข้าสู่ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์, อ.บ้านหมี่ อ.โคกสำโรง อ.เมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี, เข้าสู่ อ.หนองโดน อ.พระพุทธบาท อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี บรรจบกับแม่น้ำป่าสัก ที่ ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา มีความยาวทั้งสิ้น 134 กิโลเมตร

.



19
ทางรถไฟสายเก่า หนองเต่า-เขาทับควาย


เส้นทางรถไฟสายเก่า หนองเต่า-เขาทับควาย ที่สาบสูญ

"ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องรังวัดแบ่งแยกเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางรถไฟสายหนองเต่า เขาทับควาย จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (27 ง): 1658. 12 กรกฎาคม 2491 (กดลิงค์ เข้าไปดูประกาศฯ)
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2491/D/027/1658.PDF

.

สะพาน ตอม่อสะพาน เป็นของที่รื้อยาก ทำลายยาก คงทน ก็เลยเป็นข้อดีนะครับ กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไปเจอเอกสารนี้ในราชกิจจานุเบกษา ขอนำมาลงไว้เป็นบันทึกช่วยจำนะครับ





.




20
เพลง กำแพงประเพณี - อาณัติ พุทธมาศ


เพลง กำแพงประเพณี - อาณัติ พุทธมาศ

https://www.youtube.com/watch?v=rOrIQBErAIM

เพลง กำแพงประเพณี - อาณัติ พุทธมาศ

https://youtu.be/rOrIQBErAIM?si=TuAdO-l4cXJF1RF9

..

เพลง : กำแพงประเพณี
ศิลปิน : อาณัติ พุทธมาศ
คำร้อง/ทำนอง : อาณัติ พุทธมาศ

มันเป็นความเศร้าอย่างมหันต์
ที่เธอและฉัน ต้องมารักกันชาตินี้
เพราะความรักเราสองต้องมามี
ม่านประเพณีเป็นกำแพงขวางกั้นอุรา

เราจึงจำพรากจากกันไป
ทั้งที่จิตใจ สองเรารักกันเท่าฟ้า
หนทางรักเราสองนองน้ำตา
บุญวาสนาเราไม่มีเกณฑ์ชีวิตคู่

โอ้กำแพงเอย กำแพงประเพณี
แม้จะกั้นรักในดวงฤดี
สองเราไม่ได้ก็จริงอยู่
แต่ประเพณีแห่งชีวิตรักเราทั้งคู่
มันต่างกันสุดกู่
ปิดประตูรักเรามืดมน

มันเป็นความเจ็บปวดรวดร้าว
ที่เนาว์แนบใน หัวใจสองเราท่วมท้น
หนทางรักเราสองต้องมืดมน
เพราะไม่อาจโอน
ประเพณีหลอมรวมกันได้

*มันเป็นความเจ็บปวดรวดร้าว
ที่เนาว์แนบใน หัวใจสองเราท่วมท้น
หนทางรักเราสองต้องมืดมน
เพราะไม่อาจโอน
ประเพณีหลอมรวมกันได้

..

เพลง "กำแพงประเพณี"  ขับร้องโดย อาณัติ พุทธมาศ  คำร้อง-ทำนอง อาณัติ พุทธมาศ  บันทึกเสียงครั้งแรกราว ปี พ.ศ.2522
           
คุณอาณัติ พุทธมาศ นักร้องเสียงแหบเสน่ห์ นอกจากร้องเพลงได้ไพเราะถึงอารมณ์แล้ว ยังมีความสามารถสูงด้านการแต่งเพลงด้วย เพลงส่วนใหญ่ที่คุณอาณัติร้องบันทึกเสียง เป็นผลงานของการแต่งของคุณอาณัติเอง ดังเช่นเพลงนี้ "กำแพงประเพณี"
           
คุณอาณัติได้แรงบันดาลใจแต่งเพลง"กำแพงประเพณี" จากประสบการณ์ชีวิตของตัวเอง คุณอาณัติรักอยู่กับสาวคนหนึ่ง แต่ไม่อาจสมหวังในรักได้ เพราะมีกำแพงประเพณีที่สูงใหญ่กั้นขวางทางรัก กำแพงประเพณีที่ว่าคือความแตกต่างทางด้านศาสนา คุณอาณัตินับถือศาสนาอิสลาม จึงถูกกีดกันจากญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงที่เคร่งในศาสนาของตน บทเพลงนี้จึงสะท้อนความรู้สึกของคุณอาณัติออกมาให้แฟนเพลงได้รับรู้
           
"มันเป็นความเจ็บปวดรวดร้าว ที่เนาแนบใน หัวใจสองเราท่วมท้น หนทางรักเราสองต้องมืดมน เพราะไม่อาจโอน ประเพณีหลอมรวมกันได้"

.

.....
ขอขอบคุณ https://www.facebook.com/wanwang45             
เพจ "พร่างเพชรในเกร็ดเพลง"

.




Pages: 1 [2] 3 4 ... 10
SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.105 seconds with 12 queries.