Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 22:38:09

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  Profile of chaiyuth  |  Show Posts  |  Messages

Show Posts

* Messages | Topics | Attachments

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Messages - chaiyuth

Pages: [1]
1
คำทำนาย ๑๐ ยุค ราชวงศ์จักรี 
   ๑.มหากาฬ ๒.พาลยักษ์ ๓.รักมิตร ๔.สนิทธรรม ๕.จำแขนขาด ๖.ราชโจร ๗.ชนร้องทุกข์ ๘.ยุคทมิฬ ๙.ถิ่นกาขาว ๑๐.ชาวศรีวิไล


คำทำนายที่เกี่ยวกับบ้านเมืองที่คนแต่ก่อนจำกันได้และพูดถึงอยู่เนืองๆ คือ

   "มหากาฬ พาลยักษ์ รักมิตร สนิทธรรม จำแขนขาด ราชโจร ชนร้องทุกข์ ยุคทมิฬ ถิ่นกาขาว ชาวศรีวิไล"

คำทำนายดังกล่าวมีเขียนต่างกัน ๒ แห่ง คือ "จำแขนขาด" ในที่บางแห่งเขียนเป็น "พาหาขาด" และ "ชาวศรีวิไล" บางแห่งเขียนเป็น "ชาวศิวิไลซ์"
อ้างว่ามาจาก civilize จึงทำให้เห็นว่าเป็นคำทำนายที่ผูกขึ้นใหม่ ในประวัติของวัดราชบุรณราชวรวิหารอ้างว่าพบคำทำนายนี้ จารึกด้วยอักษรขอมว่า
"พระพุทธศากราชล่วงแล้ว ๒๓๖๗ ข้าพเจ้าสมเดดพระศรีสมโพธิราชครูผู่มีปราดทนาจะให้ปวงสัตว์ได้รู้ปริศนาพยากรณ์ดังนี้ (คือคำทำนายข้างต้น)"

   'คำทำนาย' เขียนโดยอาจารย์ ส. พลายน้อย ในวารสาร ความรู้คือประทีป ฉบับที่ 1/45 หน้า 29
   " คำทำนาย ชะตาเมืองไทย ของสมเด็จโต"
   จากหนังสือจุลสาร " 1999 โลกพินาศ 2542 แผนอยู่รอด "
   รวบรวมโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย โตวิวิชญ์

   ในหนังสือ "ปัญญาไทย ๑" ที่เขียนบันทึกเกี่ยวกับประวัติ ผลงานอภินิหาร และ เกียรติคุณ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) พรหมรังษี
ของ มหาอำมาตย์ ตรีพระยาทิพโกษา ( สอน โลหะนันท์ ) ซึ่งเป็นฉบับที่ ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ รวบรวมในปี พ.ศ.2493
โดยไม่มีการแก้ไขข้อความเดิม ในหน้า ๒๗ มีการพยากรณ์ ถึงชะตาเมือง ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

   หลังจากที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) พรหมรังษี ได้มรณภาพลง เมื่อวันเสาร์แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งตรงกับ
วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ ตอนเที่ยงคืน เช้าวันรุ่งขึ้น นายอาญาราช ( อิ่ม ) ศิษย์ก้นกุฏิ ของเจ้าประคุณสมเด็จ เข้าไปเก็บกวาด ในกุฏิของท่าน
ขณะทำความสะอาดพื้นกุฏิ นายอาญาราชได้พบ เศษกระดาษชิ้นหนึ่งซุกอยู่ใต้เสื่อเป็นลายมือของเจ้าประคุณสมเด็จ เขียนสั้นๆ โดยสังเขป
เป็นคำทำนายชะตาเมือง มีความว่า
   “มหากาฬ พาลยักษ์ รักมิตร สินทธรรม จำแขนขาด ราษฎร์จน ชนร้องทุกข์ ยุคทมิฬ ถิ่นกาขาว ชาววิไล”
ห ม า ย เ ห ตุ คำทำนายของสมเด็จข้างต้นนี้หาอ่านได้จากหนังสือ " NOSTRADAMUS นอสตราดามุส"
ศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน พิมพ์ครั้งที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๐

ตอนที่ ๑
   เรื่องปริศนาพยากรณ์ ๑๐ รัชกาลนี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกใหม่ ไม่ใช่เป็นเรื่อง "มงคลตื่นข่าว" หรือกระต่ายตื่นตูมแต่อย่างไร
แต่เป็นเรื่องที่หลายท่านอาจจะเคยได้ยินได้ฟังมานาน จากพ่อแม่ ปู่ย่าตายายหรือคนรุ่นเก่าเล่าให้ฟัง
หรือบางท่านอาจจะเคยอ่านเจอในหนังสือต่าง ๆ มาบ้างแล้วก็เป็นได้ แต่ผมเชื่อนะครับว่ายังมีอีกหลายท่านที่ไม่เคยรู้ ไม่เคยอ่าน ไม่เคยได้ยินมาก่อน
หรือบางท่านอ่านแล้วไม่เข้าใจหรืออาจจะลืมไปแล้วก็ได ้ ดังนั้นผมจึงถือโอกาสนำมาเขียนบันทึกเอาไว้ในที่นี้
เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้สดับ และใช้ปัญญาพิจารณาถึง เรื่องราวเหตุผล ความเป็นมา ความเป็นไปได้ไม่ได้อย่างไร หากข้อความที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้
ผิดเพี้ยนจากข้อมูลที่ท่านเคยได้รับมา หรือ อาจจะมีสิ่งใดที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใด ในทางที่ไม่ควรแล้ว ก็ได้โปรดให้อภัยและถือเสียว่า
ทั้งหมดนี้เป็นทัศนะอันหนึ่งของผมในด้านโหราศาสตร์ และผมขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว หากจะมีกุศลผลบุญแห่งความดีอยู่บ้าง
ผมขออุทิศกุศลนั้น แด่พ่อแม่ผู้ให้กำเนิด ครูอาจารย์ ผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้และผู้มีอุปการคุณทุกท่าน ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว
ตลอดทั้งดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าประคุณสม เด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม กทม. ซึ่งหลายท่านเชื่อว่า
"ท่านเป็นผู้กล่าวคำปริศนาพยากรณ์ ๑๐ ข้อ " นี้ด้วยเทอญ.

ก่อนที่จะได้สดับถึงหัวข้อปริศนาทั้ง ๑๐ ข้อ กระผม ใคร่ขอนำอัตตชีวประวัติโดยย่อของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
ซึ่งต่อไปนี้ผมจะเรียกพระนามท่านว่า "สมเด็จโต" และเกร็ดอภินิหารบางตอนที่เกี่ยวกับการพยากรณ์โดยใช้ อำนาจจิตมาให้ท่านได้อ่านกันพอสังเขป ดังนี้

สมเด็จโตท่านถือกำเนิดจากโยมมารดา ผู้มีนามว่า "งุด" ส่วนโยมบิดานั้นไม่เป็นที่ปรากฎ แต่ก็มีข้อสันนิษฐานที่น่าเชื่อถือได้ต่อมาในภายหลัง
ว่า โยมบิดาของท่านคือ "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งบรมราชจักรีวงศ์" ข้อสันนิษฐานนี้ไม่ใช่เดากันส่งเดชนะครับ
มีหลักฐานปรากฎ เป็นลายลักษณ์อักษร และเรื่องราวบันทึกเอาไว้ด้วย เช่น รัชกาลที่ ๒ สมัยดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า ฯ (ยังไม่ครองราชย์)
ได้พระราชทานเรือกราบกัญญา หลังคากระแซง ซึ่งเป็นเรือทรงในพระองค์เจ้าให้แก่สามเณรโต นอกจากนั้นในจดหมายเหตุบัญชีน้ำฝน
พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์ เล่ม ๓ หน้า ๔๔ ได้กล่าวถึงประวัติของสมเด็จ ฯ ตอนมรณภาพว่า
"สมเด็จพระพุฒาจารย์ถึงชีพิตักษัย" ซึ่งเป็นคำราชาศัพท์ที่ใช้กับฐานันดรชั้นพระองค์เจ้า และอีกประการหนึ่ง สมเด็จโตท่านมักจะทำอะไรแผลง ๆ
ไม่เว้นแม้แต่หน้าพระที่นั่งของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ ถ้าเป็นพระราชาคณะรูปอื่นล่ะก็ มีหวังถูกถอดพัดยศ ถูกจับสึกและลงอาญาไปแล้ว
แต่สมเด็จโต ฯ พระองค์ท่านกลับไม่ถือสาหาความ และยังเห็นดีเห็นงามในพฤติกรรมของท่าน ที่เป็นอุบายธรรมอันล้ำเลิศอีกด้วย

ในสมัยที่สมเด็จโตยังดำรงสังขารอยู่นั้น ท่านเป็นพระธรรมกถึกเอก (พระนักเทศน์) ที่มีลีลาวาทะจับใจ ประทับใจมาก เป็นที่ศรัทธาปสาทะของชนทุกเหล่า
ตั้งแต่กระยาจก สามัญชน เศรษฐี เสนาบดี จนถึงพระเจ้าแผ่นดิน ท่านถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำปีวอก
ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ เวลาประมาณ ๐๖.๕๔ น. ที่บ้านท่าอิฐ ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อถือกำเนิดได้ไม่นาน
เกิดภาวะฝนแล้งติดต่อกันหลายปี การทำนาไม่ได้ผล โยมมารดาของท่านจึงได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่กับยายที่บ้านไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ต่อมาท่านอายุประมาณ ๗ ขวบ มารดาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ ตำบลบางขุนพรหม กรุงเทพฯ และได้มอบให้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณอรัญญิก (ด้วง)
เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร เพื่อศึกษาอักขรสมัยเมื่ออายุครบ ๑๒ ปีบริบูรณ์ ตรงกับปีวอก พ.ศ. ๒๓๔๓ ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระบวรวิริยะเถร (อยู่)
เจ้าอาวาสวัดบางลำพูบน (วัดสังเวชวิศยารามในปัจจุบัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังได้ย้ายไปอยู่วัดระฆังโมสิตาราม เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมกับ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค เปรียญเอก)

สามเณรโต เป็นผู้มีความวิริยะอุตสาหะ ในการศึกษาเป็นอย่างดี มีวัตรปฏิบัติที่น่าเลื่อมใส จนปรากฎว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย"
เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงโปรดปรานมาก (พระองค์ทรงทราบว่าเป็นพระโอรสเกิดจากนางงุด
เพราะหลักฐานรัดประคดหนามขนุน ซึ่งเป็นเครื่องอิสริยศสำหรับแม่ทัพ ที่ได้ให้ไว้แก่โยมมารดาสามเณรโต เมื่อคราวไปราชการทัพ
และพบรักกับโยมมารดาของท่านที่บ้านเกิด) ได้ทรงรับเอาไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พระราชทานเรือกราบกัญญาหลังคากระแซงให้ท่านใช้สอย ตามอัธยาศัย

เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ตรงกับปีมะโรง พ.ศ.๒๓๕๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวง
ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ให้ฉายาว่า "พรหมรังสี"
และเรียก"พระมหาโต" แต่นั้นมา

ตอนที่ ๒
สามเณรโต เมื่อบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว พระสงฆ์ทั่วไปเรียกท่านว่า "มหาโต"ด้วยเหตุที่ท่านมีความรู้แตกฉานในพระปริยัติธรรม
ล่วงรู้อรรถกถาธรรมในพระไตรปิฏกอย่างแตกฉานตั้งแต่สมัยยังเป็นเณร แม้ท่านไม่เคยเข้าสอบเปรียญธรรม แต่ภูมิธรรมของท่านนั้น เป็นที่ยอมรับปรากฎเด่นชัด
ตั้งแต่ตอนที่ไปศึกษาที่วัดระฆัง กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) ก่อนที่จะย้ายไป ท่านอาจารย์วัดระฆัง ฝันไปว่า
"มีช้างเผือกเชือกหนึ่ง เข้ามากินหนังสือพระไตรปิฏกในตู้ของท่านจนหมด" ซึ่งพอตื่นขึ้น ก็เกิดความมั่นใจว่า จะได้ศิษย์ที่ฉลาดหลักแหลมคนหนึ่ง
และก็เป็นจริง วันรุ่งขึ้นสามเณรโตก็ถูกนำตัวมาฝาก ท่านจึงรับไว้ด้วยความยินดี

สามเณรโตเป็นช้างเผือกจริงขนาดไหน ก็ลองฟังสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุ ท่านตรัสถึงสามเณรโตดูก็ได้ ว่าก่อนจะเรียนหนังสือ
(สมัยนั้นเขาแปลหนังสือจากคัมภีร์ภาษามคธหรือบาลี    เป็นภาษาไทย) สามเณรได้ทูลสมเด็จพระสังฆราชว่า "วันนี้จะเรียนตั้งแต่บทนี้ถึงบทนี้นะขอรับ"
เสร็จแล้วเวลาเรียนก็เปิดหนังสือออกแปลจนตลอดตามที่กำหนดไว้ และทำอย่างนี้ทุกครั้ง จนสมเด็จพระสังฆราชผู้เป็นอาจารย์ว่า
"ขรัวโตเขามาแปลหนังสือให้ฉันฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันดอก"
(คำว่า "ขรัว" เป็นคำยกย่องพระผู้คงแก่เรียน มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด บวชเรียนมานาน)

สมเด็จโต ท่านไม่ได้เก่งแต่ทางด้านปริยัติธรรมเท่านั้น ทางด้านปฏิบัติ และปฏิเวธ ท่านก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าผู้ใด ท่านเป็นผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็ง อดทน มั่นคง
มีเมตตาจิต ตั้งใจจริง ไม่ถือโทษโกรธผู้ใดไม่ใฝ่ในลาภยศ สรรเสริญ ลาภสักการะ มักน้อย รักสันโดษ (ความพอใจ) เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๒ ท่านทรงหนีเข้าป่า
ออกธุดงค์ เจริญกรรมฐาน แสวงหาครูอาจารย์ที่เก่งทางด้านพุทธาคม เนื่องจากท่านไม่ยอมรับสมณศักดิ์ที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๓ ถวายให้

จวบจนถึงรัชกาลที่ ๔ ได้ประกาศให้หัวเมืองจับตัวพระมหาโตกลับมา เพื่อให้รับสมณศักดิ์ให้จงได้ อันที่จริงไม่มีผู้ใดจะจับท่านได้หรอกครับ
เพราะท่านมีวิชาแปลงหน้า แต่ท่านสงสารพระภิกษุรูปอื่นที่มีรูปพรรณ สัณฐาน คล้ายกันกับท่าน ต้องถูกจับไปคุมขัง สอบสวน ให้ได้รับความทุกขเวทนา
ท่านจึงยอมตนให้ทางบ้านเมืองจับแต่โดยดี เมื่อถูกส่งตัวไปถึงเฉพาะหน้าพระพักตร์ ล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๔ ตรัสว่า "เป็นยุคของฉันครองแผ่นดิน
ท่านต้องช่วยกันบำรุงพระศาสนา" ขรัวโตจึงยอมรับสมณศักดิ์ ในตำแหน่ง "พระธรรมกิติ" พอพระราชทานสมณศักดิ์แล้ว ทรงมีพระดำรัสว่า
"ในรัชกาลที่ ๓ หนี, ไม่รับสมณศักดิ์ คราวนี้รับ ทำไมไม่หนีอีกล่ะ"

สมเด็จโตถวายพระพรว่า "ก็รัชกาลที่ ๓ ไม่ได้เป็นเจ้าฟ้านี่ เป็นแต่เจ้าแผ่นดิน จึงหนีได้ (ทำนองว่าเป็นเจ้าแผ่นดิน จึงหนีขึ้นฟ้าได้) ส่วนมหาบพิตร
เป็นทั้งเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน จะหนีไปข้างไหนพ้น" (อธิบายความว่า รัชกาลที่ ๓ เป็นแค่พระองค์เจ้า เพราะประสูติจากเจ้าจอม ส่วนรัชกาลที่ ๔ นั้น
เป็นเจ้าฟ้าเพราะประสูติจากพระมเหสี) เป็นไงครับ ลีลาวาทะของสมเด็จท่าน ยังมีอีกมาก สนใจก็ลองหาหนังสือประวัติของท่านโดยละเอียดดู

สมเด็จโต ท่านเป็นพระเถราจารย์ที่เก่งทุกด้าน จัดเป็นอัจฉริยะบุคคลแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ว่าได้ หลายท่านเชื่อว่าท่านสำเร็จ
"ภูมิธรรมชั้นสูงขั้นพระอริยบุคคล" ได้อภิญญาสมาบัติ มีวิชาแปดประการ เช่น แสดงฤทธิ์ล่องหน หายตัว, ย่นระยะทาง, รู้วาระจิต, รู้อดีต, รู้อนาคต,
รู้ภาษาสัตว์, ห้ามลมห้ามฝน ฯลฯ แต่ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างเกี่ยวกับคำพยากรณ์ของท่านในวาระต่าง ๆ ที่ท่านยังมีพระชนม์ชีพอยู่
และวิธีการพยากรณ์ของท่านก็ไม่ได้ใช้แบบผูกดวง หรือดูโหงวเฮ้ง แต่ท่านใช้จิตศาสตร์ หรือ "นั่งทางใน" ดู จะขอยกตัวอย่างสัก ๒ เรื่อง พอสังเขป ดังนี้

เมื่อครั้งที่ รัชกาลที่ ๔ จะเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์นั้น พระองค์ได้ทรงคำนวณพระชาตาของพระองค์เอง
(ทรงเป็นนักดาราศาสตร์และนักโหราศาสตร์ที่มีพระปรีชามาก) ว่าพระชาตาจะถึงฆาต สิ้นอายุขัยในปีนั้นด้วย วันหนึ่งจึงมีพระดำรัสถามสมเด็จโต ณ ที่ รโหฐานว่า
พระองค์จะเสด็จกลับมาสวรรคตที่กรุงเทพ ฯ ทันหรือไม่ สมเด็จท่านทูลว่า จะเสด็จกลับทัน จึงเสด็จออกจากกรุงเทพ ฯ ประทับแรมอยู่ที่หว้ากอ ๙ วัน
แล้วจึงกลับกรุงเทพ ฯ และเริ่มมีพระอาการประชวรไข้ป่า (มาลาเรีย) จับไข้อยู่ ๓๗ วัน จึงสวรรคต

อีกเรื่องหนึ่งในรัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชทานผ้าพระกฐินที่วัดระฆัง สมเด็จโตท่านแต่งตัวแปลกประหลาด
กล่าวคือท่านห่มจีวรเหมือนปกติแต่เอาผ้าพันเท้าทั้งสองข้างเหมือนกับสวมถุงเท้า พระพุทธเจ้าหลวงท่านทรงถามถึงสาเหตุที่ทำอย่างนั้น
ท่านถวายพระพระพยากรณ์ว่า "ปีหน้า จะต้องเป็นอย่างนี้" พระองค์ท่านได้สดับก็แย้มพระโอษฐ์ ไม่ได้ตรัสว่ากระไร ในปีนั้นได้เสด็จไปประพาสเมืองสิงคโปร์
เมืองบะตาเวีย และเมืองสะมารัง รวม ๓๗ วัน

เมื่อเสด็จกลับมาแล้ว ก็เริ่มทรงจัดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมในราชสำนักหลายอย่าง เช่น โปรด ฯ ให้ผู้เข้าเฝ้าแต่งตัวสวมถุงเท้า รองเท้า
ใส่เสื้อเปิดคอแบบฝรั่ง เวลาเสด็จประพาสก็โปรดให้แต่งตัวใส่ถุงเท้า รองเท้าเสื้อเปิดคอ และยืนเฝ้าเหมือนกับ ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ เอาผ้าพันเท้านั้น
ก็เป็นนิมิตหมายว่าปีต่อมา ข้าราชการจะต้องสวมถุงเท้าเข้าเฝ้า..ก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ

ได้เล่าประวัติของสมเด็จท่านมาพอสมควร ในตอนหน้าก็จะได้ว่ากันต่อถึงคำปริศนาพยากรณ์สมเด็จ ซึ่งมีด้วยกัน ๑๐ ข้อ ซึ่งหมายถึง ๑๐ ยุค หรือ ๑๐ รัชกาล
ให้ท่านได้พิจารณากัน



2
กรุงรัตนโกสินท์อินท์อโยธยา

บทความจากเว็ป สยามโบราณดอทเน็ต       
เขียนโดย นิธิณัช สังสิทธิ     
อาทิตย์, 21 ตุลาคม 2007 

คราวนี้เรามารู้จักกับกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเรารู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงประวัติความเป็นมาอย่างละเอียด ดังที่จะได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้ครับ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาราชธานีใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
เสร็จการฉลองพระนครแล้วจึงพระราชทานนามพระนครใหม่ เปลี่ยนแปลงจากครั้งกรุงศรีอยุธยาว่า “กรุงรัตนโกสินท์อินท์อโยธยา”

ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแก้นามพระนครเป็น

“กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา”

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา
โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ ชื่อกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีนามเต็มว่า

“กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

อันแปลได้ความว่า

กรุงเทพมหานคร
- พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร            อมรรัตนโกสินทร์
- เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต            มหินทรายุธยา
- เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้            มหาดิลกภพ
- มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง            นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์
- เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการน่ารื่นรมย์ยิ่ง   อุดมราชนิเวศมหาสถาน
- มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย            อมรพิมานอวตารสถิต
- เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา      สักกทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์
- ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้

มูลเหตุที่ราชธานีใหม่จะได้นามว่ากรุงรัตนโกสินทร์นั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในเรื่องพระราชกรัณยานุสรณ์ว่า “การถือน้ำในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น
ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสมาก จึงได้ทรงสถาปนาพระอารามในพระบรมมหาราชวังแล้วพระราชทานนามว่า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เชิญพระพุทธปฏิมากรมาประดิษฐานไว้บนบุษบกทองคำในพระอุโบสถ แล้วจึงพระราชทานนามพระนครใหม่ให้ต้องกับการ
ซึ่งมีพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตพระองค์นี้เป็นศิริสำหรับพระนคร นามซึ่งว่า รัตนโกสินทร์ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านรับสั่งว่า

เพราะท่านประสงค์ความว่า เป็นที่เก็บรักษาไว้ขององค์พระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้มาก จึงยกไว้เป็นหลักพระนคร พระราชทานนามพระนคร
ก็ให้ต้องกับพระนามพระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้ด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อถึงการพระราชพิธีถือน้ำ พระพิพัฒน์สัจจาอันใหญ่นี้

จึงได้โปรดให้ข้าราชการมากระทำสัตย์สาบานแล้วรับน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเฉพาะพระพักตร์พระมหามณีรัตนปฏิมากรในการย้ายพระนคร
มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยานี้ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด ต้นสกุล บุณยรัตพันธุ์) กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กองคุมช่างและไพร่วัด
ที่กะสร้างพระนครและพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานใหม่ ให้มีลักษณะคล้ายกรุงศรีอยุธยา

การพระราชพิธียกเสาหลักเมืองมีขึ้น ณ วันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔
ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ ฤกษ์เวลาย่ำ รุ่งแล้ว ๕๔ นาที

จากนั้นจึงเริ่มการสร้างพระราชวังหลวง เมื่อ ณ วันจันทร์เดือน ๖ แรม ๑๐ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก  จุลศักราช ๑๑๔๔
ตรงกับวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๓๒๕ ในชั้นแรกนี้สร้างด้วยเครื่องไม้ทั้งสิ้น รายล้อมด้วยปราการระเนียด

เพื่อใช้เป็นที่ประทับชั่วคราว เมื่อสร้างพระราชวังหลวงแล้วเสร็จทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเษกโดยสังเขปขึ้น
เพื่อให้เป็นสวัสดิมงคลแก่บ้านเมืองและพระองค์เอง ณ วันจันทร์ เดือน ๘ บูรพาษาฒ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔
ตรงกับวันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ ทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระปฐมกษัตริย์ในพระบรมราชวงศ์จักรี
เสด็จพระราชดำเนินเฉลิมพระราชมณเฑียรในพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการก่อสร้างพระนครต่อให้บริบูรณ์

สำหรับพระนครฝั่งตะวันออก ซึ่งมีภูมิสถานเป็นแหลมโค้ง มีลำน้ำโอบอยู่สามด้าน ด้านในซึ่งติดกับผืนแผ่นดินใหญ่ ได้ขุดเป็นคูเมืองไว้แต่ครั้งกรุงธนบุรี
จึงมีสัณฐานคล้ายเกาะนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อซากป้อมบางกอกเดิมกับกำแพงเมืองครั้งกรุงธนบุรี เพื่อขยายกำแพงและคูพระนครใหม่ให้กว้างออกไป
คูพระนครใหม่นี้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขนานไปกับแนวคูเมืองเดิมเริ่มจากริมแม่น้ำตอนบางลำภู วกไปออกแม่น้ำข้างใต้
บริเวณเหนือวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาธิวาสในปัจจุบัน) ยาว ๘๕ เส้น ๑๓ วา กว้าง ๑๐ วา ลึก ๕ ศอก พระราชทานนามว่า

“คลองรอบกรุง” (คือคลองบางลำภูถึงคลองโอ่งอ่างในปัจจุบัน) ด้านแม่น้ำตั้งแต่ปากคลองรอบกรุงข้างใต้ไปจนปากคลองข้างเหนือ ยาว ๙๑ เส้น ๑๖ วา
รวมทางน้ำรอบพระนคร ๑๗๗ เส้น ๙ วา (ประมาณ ๗.๒กิโลเมตร) จากนั้นให้ขุดคลองหลอดจากคลองคูเมืองเดิม ๒ คลองออกไปบรรจบกับคลองรอบกรุง
ที่ขุดใหม่โดยสายแรกขุดจากวัดบุรณศิริมาตยารามไปออกวัดมหรรณพารามและวัดเทพธิดาราม และอีกสายหนึ่งขุดจากวัดราชบพิธไปออกที่สะพานถ่าน



3
จากหนังสือเคล็ดลับโหราศาสตร์ ของท่านโหราจารย์แฉล้ม เลี่ยมเพ็ชรรัตน์ จัดพิมพ์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด เกษมบรรณกิจ ปริเฉทที่ ๑ สารโศลกชื่อ นิทานยุคทมิฬ ว่า
“กิระ ดังได้สดับมาแต่อดีตกาล คือตามบันทึกของตำราเจ้าฟ้ามหามาลา สมเด็จกรมพระยาบำราบปรปักษ์ (พระราชโอรสอันดับที่ ๖๕ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี) ต้นสกุล มาลากุล ตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้สำเร็จราชกาลในราชสำนักในรัชกาลที่ ๕ และว่าพระคลังทั้งปวง ต่อมาได้เป็นผู้สำเร็จราชการกรมหมาดไทย
ข้าพเจ้า (โหรแฉล้ม) ได้จากขุนบวรวรรณกิจ ๆ ให้ดูแต่ครั้งหอพระสมุดยังอยู่ท่าช้างวังหน้าโน้น แลได้รับทราบทางมุขบาฐจากครูอาจารย์บ้าง รวมเป็นข้อความว่า เมื่อ ๑๖๕ ปีแล้ว ตรงกับวันเสาร์ที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๔* ซึ่งวันนี้เองข้าพเจ้าเชื่อเอาว่าเป็นวันปราบดาภิเษก แลวันระลึกจักรีต่อไปดังนี้
ดวงปราบดาภิเษกเมื่อคราว ๑๖๕ ปีมาแล้ว ในหนังสือเคล็ดลับโหราศาสตร์ ของท่านโหราจารย์แฉล้ม เลี่ยมเพ็ชรรัตน์ (*ตรวจสอบแล้วดาวจันทร์ในดวงลงผิดราศี เป็นวันเสาร์ แรม ๙ ค่ำเดือน ๕ ปีขาล ตรีศก จุลศักราช ๑๑๔๓ ตรงกับวันเสาร์ ที่ ๖ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕** เวลา ๑๑:๐๔ น. ขึ้นไปแต่ไม่เกินเวลา ๑๓:๐๒ น.)
** นับวันที่ ๑ ม.ค. เป็นวันขึ้นปีพุทธศักราชใหม่
จึงดำเนินความตามนัยยะมุขบาฐว่า ขณะเมื่อกองทัพถึง บางออก คราวนั้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเมื่อเสด็จถึงวัดสะแก (ทรงสรงน้ำมุรธาภิเษก) ได้ทรงสรงเกษเกล้า แล้วนามวัดมีต่อมาเปลี่ยนนามเรียกว่า วัดสระเกษ (ภูเขาทอง) แล้วได้เสด็จโดยพยุหผ่านหนองบัว (ทุ่งพระเมรุ) ไปโดยพวกเท้านางข้างในได้นำเรือพระที่นั่งมารับเสด็จ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังบางกอกน้อย (ธนบุรี) ทรงปราบดาภิเษกในเวลาเที่ยงวัน ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชเสด็จสวรรคตในวันนั้น และต่อๆ มา เมื่อสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จถึง ก็ได้มีการจับกุมประหารชีวิตขุนนางอีกประมาณ ๘๒ ครัวเรือน ต่อมาก็ได้มีย้ายกรุงธนบุรีข้ามฟากมาตั้งเป็นกรุงเทพฯ พระมหานครใหญ่ ซึ่งหลังจากการพระราชพิธีปราบดาภิเษกไม่กี่มากน้อย ตั้งหลักปักเขตพระบรมมหาราชวังข้างขอบสระหนองบัว ซึ่งเรียกว่าทุ่งพระเมรุ ในวันอาทิตย์เวลาเช้าเดือน ๖ ก็วางหลักเมือง ซึ่งโบราณาจารย์ได้ผูกเป็นดวงชาตาเรียกกันว่า ดวงเมือง ดังนี้
ดวงชาตาเมืองกรุงเทพพระมหานคร วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๔๔ ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เวลาย่ำรุ่ง ๙ บาท
ในพระราชพิธีใหญ่ๆ เช่นนี้ จะต้องปลูกโรงพระราชพิธีพร้อมเครื่องสังเวยบูชาตามพิธีและขุดหลุมได้ตามขนาด เอาผ้าขาวอันบริสุทธิ์ปูรองก้นหลุมไว้ ตรงกับเบื้องบนดาดเพดานผ้าแดงมีฉัตร ธงทิวเทียว อาสน์พระสงฆ์เจริญพระปริตรและเจิมเสาหินไว้พร้อม พระมหาราชครูอ่านพระกระแสบรมราชโองการตั้งพระมหานครแล้ว การฝังหลักเมืองได้มหาศุภฤกษ์ โหรก็ลั่นฆ้องดึงด้ายสายสิญจน์จน์มงคล เลื่อนเสาหินลงหลุม      คือ เสาหลักเมือง
   ขณะเดียวกันนี้ มีเหตุมหัศจรรย์ คือได้เห็นงูเล็ก ๔ ตัวนอนอยู่ที่ผ้าขาวรองก้นหลุมก่อนแล้ว จะแก้ไขเอาขึ้นมาก็ไม่ทันท่วงทีเพราะกำลังได้ฤกษ์ ก็ต้องปล่อยเสาร์หินทับลงไปฝังพร้อมกัน ซึ่งมีงูรวม ๔ งูในนั้นด้วย ที่ว่าประหลาดคือ
   ๑. หลุมต้องขุดไว้ก่อนแต่วานนี้ ส่วนผ้าขาวคงปูรองเวลาเช้านั้นเอง งูลงไปได้อย่างไร มาแต่ไหนถึง ๔ ตัว
   ๒. พระราชพิธีนี้เป็นการใหญ่ ยิ่งโบราณยิ่งถือมาก ต้องมีผู้คนมาก ก่อนนั้นไม่มีคนใดเห็นงูเสียเลย
   ๓. คนโบราณ เมื่อไม่มีผู้รู้ว่างูมาแต่ไหน หาเหตุผลไม่ได้ ก็คือเทพนิมิต หรือประหลาดมิเป็นการธรรมดา และเป็นเหตุให้โหรพยากรณ์ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นส่วนพระองค์นัยยะว่า พระราชวงศ์จะเจริญไปได้ ๑๕๐ ปีจะเสื่อมสูญ เว้นแต่จะได้สร้างวัดลงไว้ในทิศใกล้ชิด ตามทิศพยากรณ์ถวายแล้ว จึงจะถาวรบรรเทาโทษมากเป็นน้อยได้ เพราะเนื่องด้วยงูทั้ง ๔ นี้เป็นมูลเหตุ
   เรื่องนี้เป็นเรื่องของโหร ปรากฏในพระบันทึกเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ข้าพเจ้า (โหรแฉล้ม) ไปขอดูจากขุนบวรวรรณกิจ เมื่อครั้งหอพิพิธภัณฑ์อยู่ท่าช้างวังหน้า และต่อมาไปขอคัดได้ความว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ สั่งเก็บพิเศษเสียแล้ว แต่กรมหมื่นพงษาฯ ได้ทรงเล่าตรงกับที่ข้าพเจ้าได้ทราบมา แต่ว่าต้นฉบับจะอยู่ที่ใดยังไม่เห็นอีก และขอเล่าต่อไปว่า
   ต่อมาวันจันทร์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ จ.ศ. ๑๑๔๖ ซึ่งเป็นวันสมโภชพระยาช้างเผือก ๒ ช้าง ก็เกิดแผ่นดินไหว โอกาสนี้จึงอาราธนาพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต ขึ้นสู่ประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงเป็นอันสมบูรณ์ตามพระราชสัตยาธิษฐาน ในการสร้างวัดตามทิศและเป็นอันหวังได้ว่าครบ ๑๕๐ ปีแล้ว พระราชวงศ์จักรีจะมีเหตุอันใดก็ตาม จะบรรเทาโทษลงไม่ถึงกับสูญทีเดียว แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีบางท่านอ้างว่า เหตุเพราะไฟไหม้เมื่อ จ.ศ. ๑๑๕๑ (หลังจากพระแก้วมรกตประทับวัด ๕–๖ ปี) เกิดเพลิงไหม้พระมณเทียรธรรม แล้วสร้างพระมณฑปขึ้นแทน แล้วจึงมีคำพยากรณ์ ๑๕๐ ปีจะมีเหตุ แต่ข้าพเจ้า (โหรแฉล้ม) ไม่เห็นด้วย แต่ก็นำเอามากล่าวไว้ป้องกันเสียงค้าน”
   ข้อมูลจากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ เรียบเรียงโดย เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ว่า “เริ่มต้นแต่ปีขาลจัตวาศก จ.ศ. ๑๑๔๔ เมื่อสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว พระองค์เป็นปฐมในพระบรมราชวงศ์ปัตยุบันนี้ ได้ทรงรับอัญเชิญของเสนามาตย์ราษฎรทั้งหลาย เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครอบครองสยามประเทศ และทรงปราบปรามความจลาจลในกรุงธนบุรีเรียบร้อยแล้ว จึ่งทรงพระราชดำริว่าว่าเมืองธนบุรีนี้ฝั่งฟากตะวันออกเป็นที่ชัยภูมิดีกว่าที่ฟากตะวันตก .... ทรงพระราชดำริดังนี้ จึ่งดำรัสสั่งให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่สร้างพระนครใหม่ข้างฝั่งตะวันออก ได้ตั้งพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ฤกษ์เวลาย่ำรุ่งแล้ว ๕๔ นาที .... จึ่งได้ฐาปนาสร้างพระราชนิเวศน์มนเทียรสถาน ล้อมด้วยปราการระเนียดไม้ไว้ก่อน พอเป็นที่ประทับอยู่ควรแก่เวลา
   ครั้น ณ วันจันทร์ เดือนแปด บุรพาษาฒ ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีขาล จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๔๔ ให้ตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเษกโดยสังเขป นิมนต์พระราชาคณะสวดพระปริตรพุทธมนต์ครบ ๓ วันแล้ว รุ่งขึ้น ณ วันพฤหัสบดี เดือนแปด บุรพาษาฒ ขึ้นสี่ค่ำ เวลารุ่งแล้ว ๔ บาท ได้มหาฤกษ์ พระบาทสมเด็จบรมนารถบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จทรงเรือพระที่นั่งบัลลังก์ศรีสักหลาด ประดับด้วยเรือจำนำท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง แห่โดยขบวนพยุหยาตราหน้าหลังพรั่งพร้อม เสด็จข้ามป่าริมคงคามา ณ ฝั่งตะวันออก เสด็จขึ้นฉนวนหน้าพระราชวังใหม่ ทรงพระราชยานตำรวจแห่หน้าหลังเสด็จขึ้นยังพระราชมนเทียรสถาน ทำการพระราชพิธีปราบดาภิเษก ....”
   ลุจุลศักราช ๑๑๔๗ ปีมะเส็ง สัปตศก การสร้างพระนคร และ พระมหาปราสาทราชนิเวศน์สำเร็จดังพระราชประสงค์ จึงทรงพระราชดำริว่า เมื่อปีขาลจัตวาศก ได้ทำการพระราชพิธีปราบดาภิเษกแต่โดยสังเขป ยังไม่พร้อมมูลเต็มตามตำรา และบัดนี้ก็ได้ทรงสร้างพระนครและพระราชมนเทียรสถานขึ้นใหม่ ควรจะทำการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้เต็มตามแบบแผนโบราณราชประเพณีจะได้เป็นพระเกียริติยศและเป็นศรีสวัสดิมงคลแก่บ้านเมือง เป็นที่เจริญสุขแก่ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ทั่วไปในพระราชอาณาเขต จึงโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมพระราชวงศานุวงศ์ และ  เสนาพฤฒามาตย์ กระวีชาติราชบัณฑิตยาจารย์ ชีพ่อพราหมณ์ปรึกษาพร้อมกันเห็นสมควรแล้ว จึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ....
ครั้นถึงวันพระฤกษ์ เวลาบ่าย ๓ โมงเศษ เมื่อพระสงฆ์ ๔๓ รูป ประชุมพร้อมในพระที่นั่ง อมรินทราภิเษก .... พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทรงนมัสการพระศรีรัตนตรัยด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการสมเด็จพระอริยวงษณาน จุดเทียนไชย ทรงรับพระไตรสรณาคมน์และเบญจศีลเสร็จ เสด็จขึ้นในพระมหามณเทียรที่ห้องพระบรรทมทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการแล้วทรงพระมหามงคล ซึ่งสอดด้วยด้ายสายสิญจน์จน์สูตร ทรงสดับพระราชาคณะสงฆ์สมถะ ๕ รูปสวดพระพุทธมนต์จบ ... รุ่งขึ้นเวลาเช้าเสด็จออกทรงปฏิบัติพระสงฆ์ ทรงพระราชอุทิศเป็นสังฆทานวัตร พระสงฆ์รับทำภัตตากิจ เสร็จแล้วถวายอดิเรกถวายพระพรลา ครบ ๓ วารเป็นกำหนด”
ในพระราชพงศาวดารมิได้ระบุวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่ต้องทำก่อนวันจันทร์ เดือน ๘๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ คือก่อนวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ และต้องหลังจากวันเถลิงศก คือ วันอังคาร เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน และในปีจุลศักราช ๑๑๔๗ วันเสาร์ เป็นวันธงชัย, วันพุธ เป็นวันอธิดี และวันศุกร์ เป็นวันอุบาทว์และโลกาวินาส
ปกติงานพระราชพิธีไม่ควรมีขึ้นในเดือน ๗ หรือ เดือน ๘ ดังนั้นพระราชพิธีคงมีขึ้นในเดือน ๖ ระหว่างวันที่ ๑๓ เมษายน ถึง วันที่ ๘ พฤษภาคม ขณะที่ดาวอาทิตย์ยังเป็นมหาอุจจ์ในราศีเมษถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม และควรเป็นวันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๘ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๑ พฤษภาคม เวลา ๑๕:๒๒ น. ดาวจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๒๒ ศรวณะนักษัตร ภูมิปาโลฤกษ์ เป็นเพชรฤกษ์ อัมฤตโชค ชัยโชค ยามอธิบดี เป็นฤกษ์ออก ดิถีเรียงหมอน
ในตอนท้ายของพระราชพงศาวดารได้สรุปไว้ว่า “เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จเป็นแม่ทัพออกไปปราบปรามจลาจลในเมืองเขมร ทำการยังไม่ทันตลอด พอได้ทรงทราบข่าวว่าเกิดการจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี ด้วยเจ้ากรุงธนบุรีเสียพระสติกระทำการกดขี่สมณะและข้าราชการอาณาประชาราษฎรให้ได้เดือดร้อนร้ายแรง ราชการผันแปรป่วนปั่นไปทั้งพระนคร ก็เสด็จยกกองทัพกลับจากเมืองเขมร มาถึงกรุงธนบุรี เมื่อ ณ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ปี มุขมนตรีและประชาราษฏรเป็นอันมาก พร้อมกันกราบทูลอัญเชิญพระองค์ให้เสด็จดำรงสิริราชสมบัติ ทำการพระราชพิธีปราบดาภิเษก เมื่อ ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๘ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ปีนั้น”
จากข้อความที่กล่าวมาในข้างต้นนั้น เป็นการบรรยายถึงการสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นในภายหลังต่อเนื่องมาจากรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ทรงกอบกู้บ้านเมืองหลังจากไทยเราเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า เนื่องจากความอ่อนแอของสถาบันมหากษัตริย์และความแตกแยกของชนชั้นปกครองในขณะนั้น จึงเป็นเหตุให้ไทยเราต้องสูญเสียเอกราชเป็นครั้งที่ ๒ ดังนั้นบทความต่อไปนี้จะเขียนในเชิงวิชาโหราศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับสถานการณ์ของบ้านเมืองในแต่ละยุคสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีทรงปกครองประเทศสยาม เริ่มแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จนมาถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการบริหารประเทศ ที่ล้มลุกคลุกคลานต่อเนื่องมายาวนาน เพราะความขัดแย้งและการแสวงหาอำนาจที่ยังมาซึ่งผลประโยชน์ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ จนถึงปัจจุบันนี้ 


Pages: [1]
SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.055 seconds with 21 queries.