Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ... | Profile of mrt006 | Show Posts | Messages
Messages |
Topics |
Attachments
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
Messages - mrt006
Pages: [1]
1
« on: 17 January 2013, 12:44:23 »
มงคล ๓๘ ประการ มงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ๓๘ ประการได้แก่
๑. การไม่คบคนพาล ๒. การคบบัญฑิต ๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร ๕. เคยทำบุญมาก่อน ๖. การตั้งตนชอบ ๗. ความเป็นพหูสูต ๘. การรอบรู้ในศิลปะ ๙. มีวินัยที่ดี ๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต ๑๑.การบำรุงบิดามารดา ๑๒.การสงเคราะห์บุตร ๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา ๑๔.ทำงานไม่ให้คั่งค้าง ๑๕.การให้ทาน ๑๖.การประพฤติธรรม ๑๗.การสงเคราะห์ญาติ ๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ ๑๙.ละเว้นจากบาป ๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๒๒.มีความเคารพ ๒๓.มีความถ่อมตน ๒๔.มีความสันโดษ ๒๕.มีความกตัญญู ๒๖.การฟังธรรมตามกาล ๒๗.มีความอดทน ๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย ๒๙.การได้เห็นสมณะ ๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล ๓๑.การบำเพ็ญตบะ ๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์ ๓๓.การเห็นอริยสัจ ๓๔.การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ๓๖.มีจิตไม่เศร้าโศก ๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส ๓๘.มีจิตเกษม
2
« on: 17 January 2013, 12:42:46 »
คำเตือนจากบริษัทน้ำมันเชลล์ -- ต้องอ่าน!. Shell Oil Report!... (MUST READ) *
กรุณาส่งข่าวสารรี้ให้ทุกคนในครอบครัวและเพื่อนของคุณโดยเฉพาะผู้ที่มีเด็กในรถกับพวกเขาในขณะเติมน้ำมัน.
หากมีเกิดขึ้น,พวกเขาอาจจะไม่สามารถที่จะช่วยเด็กออกมาทันเวลาต้องอ่าน, แม้ว่าคุณจะไม่มีรถ
คำเตือนจากบริษัทน้ำมันเชลล์ -- ต้องอ่าน!แจ้งเตือนความปลอดภัย! นี่ คือสาเหตุที่เราไม่อนุญาตให้พกโทรศัพท์มือถือใน · พื้นที่ปฏิบัติการ, · พื้นที่จัดการและจัดเก็บโพรพิลีนออกไซด์ · พื้นที่ถ่่ายโพรเพน,น้ำมันและดีเซล
บริษัท น้ำมันเชลล์เพิ่งออกคำเตือนเมื่อเร็วๆนี้หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น3ครั้ง ที่โทรศัพท์มือถือ (โทรศัพท์มือถือ)เกิดประกายไฟ ทำให้ไอน้ำมันลุกเป็นไฟระหว่างการดำเนินการเติมน้ำมัน
ในกรณีแรก โทรศัพท์ถูกวางไว้บนฝากระโปรงหลังของรถในระหว่างการเติมน้ำมัน พอดีมีคนโทรเข้ามาทำให้เครื่องโทรศัพท์ดัง และเกิดไฟลุกไหม้ตามมา ทำให้รถและปั๊มเติมน้ำมันเบนซินติดไฟไหม้ยับเยิน
ในกรณีที่สอง ในขณะที่เติมน้ำมันรถ เจ้าของรถรับสายโทรศัพท์ที่เข้ามา ทำให้ไอน้ำมันติดไฟลุกพรึ๊บขึ้นมา เผาไหม้ใบหน้าของเขาอย่างสาหัส!
และในกรณีที่สาม, มีคนถูกไฟไหม้ที่ต้นขาและขาหนีบ เนื่องจากขณะที่เขาเติมน้ำมันรถของเขา โทรศัพท์ซึ่งอยู่ในกระเป๋ากางเกงของเขาดังขึ้น และทำให้ไอน้ำมันติดไฟลุกพรึ๊บขึ้นมา
คุณควรจะรู้ว่าโทรศัพท์มือถือสามารถจุดติดเชื้อเพลิงหรือไอน้ำมันลุกไหม้ได้
โทรศัพท์มือถือที่สว่างขึ้นเมื่อเปิดหรือที่ดังขึ้นเมื่อมีสายเข้ามา จะปล่อยพลังงานเพียงพอที่จะให้เกิดประกายไฟสำหรับจุดไฟติด
โทรศัพท์มือถือไม่ควรใช้ในสถานีเติมน้ำมัน หรือในขณะเติมน้ำมันลงในเครื่องตัดหญ้า, เรือ ฯลฯ
ไม่ควรใช้หรือควรปิดโทรศัพท์มือถือ เมื่ออยุ่ใกล้วัสดุใดๆ ที่ปล่อยไอหรือฝุ่นที่สามารถลุกติดไฟหรือระเบิดขึ้นได้ (เช่นตัวทำละลาย, สารเคมี, แก๊ส, ฝุ่นจากธัญญะพืช, ฯลฯ .. ) สรุป มีสี่กฎเพื่อความปลอดภัยในระหว่างการเติมน้ำมัน :
1) ดับเครื่องยนต์ 2) ไม่สูบบุหรี่ 3) อย่าใช้โทรศัพท์มือถือของคุณ – ทิ้งมันไว้ภายในรถหรือปิดเครื่องเสีย 4) ถ้าออกมายืนนอกรถในระหว่างการเติมน้ำมัน อย่าเข้าไปในรถของคุณจนกว่าจะเติมน้ำมันเสร็จ
บ๊อบ Renkes แห่งสถาบันอุปกรณ์ปิโตรเลียมกำลังเตรียมทำแคมเปญให้คนตระหนัก ถึงการเกิดเพลิงไหม้ที่เป็นผลมาจาก'ไฟฟ้าสถิตย์' ที่ปั๊มน้ำมัน
บริษัท ของเขาได้วิจัย 150 กรณีของการเกิดเพลิงไหม้เหล่านี้
ผลลัพธ์ที่เขาได้ เป็นที่น่าแปลกใจมาก : 1) จาก 150 กรณี เกือบทั้งหมดเกิดกับพวกผู้หญิง 2) เกือบทุกกรณีเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของรถกลับเข้าไปในรถของพวกเขาในขณะที่หัวจ่ายน้ำมันยังคงจ่ายน้ำมันอยู่ . เมื่อหัวจ่ายน้ำมันหยุดจ่ายน้ำมัน พวกเขาก็ออกมาจากรถเพื่อไปดึงหัวจ่ายน้ำมันออก และไฟลุกติดขึ้น อันเป็นผลจากไฟฟ้าสถิตย์
3) ส่วนใหญ่ใส่รองเท้าที่ส้นรองเท้าทำด้วยยาง 4) ผู้ชายส่วนใหญ่ไม่กลับเข้าไปในรถของพวกเขาจนกว่าจะเติมน้ำมันเสร็จสมบูรณ์ นี่คือเหตุผลที่พวกเขาไม่ค่อยประสบไฟไหม้จากสาเหตุประเภทนี้
5) อย่าใช้โทรศัพท์มือถือขณะเติมน้ำมัน 6) ไอที่ระเหยออกมาจากน้ำมัน และหากมันไปสัมผัสไฟฟ้าสถิตย์ที่อยู่ใกล้ คือสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้
7) มี 29 ไฟไหม้ที่เกิดขึ้นเมื่อเจ้าของรถกลับเข้าไปในรถและหัวจ่ายน้ำมันถูกแตะต้อง(แล้วอะไรคือ”ถูกแตะต้อง”? ถูกขยับ?)ในระหว่างการเติมน้ำมัน. รถที่ไฟไหม้มีหลากหลายยี่ห้อและรุ่น บางกรณีส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางกับรถ กับสถานีและกับตัวลูกค้า เกิด17 เพลิงไหม้ · ก่อน · ระหว่างหรือ · ทันทีหลังจาก ฝาถังน้ำมันถูกถอดออกแต่ก่อนที่จะเติมน้ำมันเริ่ม ..
นาย Renkes เน้นว่าอย่ากลับเข้ามาในรถของคุณในขณะที่น้ำมันกำลังไหล ถ้า คุณจำเป็นต้องเข้าไปในรถของคุณในขณะที่น้ำมันกำลังไหลอยู่, ก่อนที่คุณจะดึงหัวฉีดออก ต้องแน่ใจว่าในตอนคุณออกจากรถ คุณได้สัมผัสโลหะในขณะที่คุณปิดประตู วิธีนี้จะถ่ายประจุของไฟฟ้าสถิตย์ออกจากร่างกายของคุณก่อนที่คุณจะยกหัวจ่ายน้ำมันขึ้นมา
ดังที่ผมกล่าวถึงก่อนหน้านี้แล้วสถาบันปิโตรเลียมอุปกรณ์พร้อมกับหลาย ๆ บริษัทตอนนี้ กำลังพยายามอย่างมากที่จะทำให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายนี้
ฉันขอให้คุณกรุณาส่งนี้ข้อมูลแก่ทุกคนในครอบครัวและเพื่อนของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่้งผู้ที่มีเด็กในรถกับพวกเขา ในขณะที่เติมน้ำมันที่ปั๊ม หากมีอะไรเกิดขึ้นกับพวกเขา พวกเขาอาจจะไม่สามารถที่จะเอาเด็กออกมาได้ทันเวลา * Post by mrt006@smilefeeling.com
3
« on: 13 January 2013, 10:45:54 »
วิรัตน์ แสงทองคำ viratts.wordpress.com
ปตท. (1) ภาพกว้าง
เรื่องราว ปตท. น่าสนใจมากขึ้นๆ เป็นลำดับ ไม่เพียงสะท้อนความเป็นไปของธุรกิจไทยที่เติบโตอย่างมหัศจรรย์ ยังสะท้อนความเป็นไปของสังคมไทยในภาพใหญ่ หลายมิติ
เรื่องราว ปตท. มีมากกว่า 5 ตอน เป็นซีรี่ส์ชุดใหม่ของความพยายาม ศึกษา ปรากฏการณ์ จากข้อมูล ข่าวสารต่างๆ อย่างพรั่งพรู
เป็นบทสรุปจากข้อบกพร่องในข้อเขียนชุดใหญ่--โฉมหน้าธุรกิจไทยหลังปี 2540 โดยขาดเรื่องราวสำคัญ เป็นจิ๊กซอว์ชิ้นใหญ่ แม้ว่าผมเคยเขียนถึง ปตท. มาบ้าง ให้ภาพเพียงกว้างๆ
ในฐานะองค์กร กำลังจะก้าวสู่ปีที่ 35
ปี2521 (29 ธันวาคม ) จัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ในฐานะรัฐวิสาหกิจใหม่ภายใต้สถานการณ์อันยุ่งยากอย่างต่อเนื่อง สังคมไทยเผชิญวิกฤตการณ์น้ำมันถึงสองครั้งในช่วงไม่ถึง 10 ปี ด้วยการควบรวมกิจการรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ คือองค์การเชื้อเพลิง และองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย
ปตท. เกิดขึ้นในยุครัฐบาล พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ว่ากันว่าเกิดขึ้นค่อนข้างฉุกละหุก ภายใต้โครงสร้างถูกควบคุมโดยบริษัทน้ำมันต่างชาติ แต่ไม่สามารถนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้เพียงพอกับความต้องการ "เพื่อสร้างความสามารถและอำนาจในการจัดหาน้ำมันสำรองและจัดจำหน่าย เป็นช่วงเวลาเดียวกันภาคพื้นอาเซียนและทั่วโลก จะเห็นว่าเป็นช่วงเดียวกันกับที่มี "กิจการน้ำมันแห่งชาติ" เกิดขึ้นเพื่อต่อรองกับบริษัทต่างชาติ" บทสนทนาบางตอนจากผู้บริหาร ปตท. ในยุคก่อตั้งที่พอจำได้
ผู้บริหารคนสำคัญคนแรก ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ เข้ามาทำงานได้อย่างดี ในการรวมกิจการ-องค์การเชื้อเพลิง ซึ่งเดิมสังกัดกระทรวงกลาโหม กับองค์การก๊าซธรรมชาติฯ สังกัดกระทรวงการคลัง ซึ่งมีพันธสัญญากับบริษัทต่างชาติ อันเนื่องมาจากการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย
ปี 2527 ก่อตั้งบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ ดูเผินๆ เกี่ยวข้องกับ ปตท. ไม่มากนัก แต่แท้ที่จริงเป็นข้อต่อสำคัญมาก มีความเชื่อมโยงกันอย่างยาวนานตั้งแต่ ปตท. ก่อตั้งมาจนถึงยุคใหม่
การก่อตั้งบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ ถือเป็นจุดตั้งต้นสำคัญยุคใหม่ ด้วยความเชื่อของผู้มีอำนาจยุคนั้น ทั้งการสร้างโมเดลการสร้างระบบเศรษฐกิจ การสะสมความมั่งคั่งใหม่
"แผนแม่บทโครงการปิโตรเคมีของรัฐ ซึ่งก่อตั้งบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (National Petrochemical Corporation Ltd.หรือ NPC) เมือปี 2527 มีเป้าหมายสร้าง Petrochemical Complex ขั้นต้นของอุตสาหกรรม โดยนำก๊าซธรรมชาติที่เพิ่งถูกขุดขึ้นจากอ่าวไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตามความหวังอัน "โชติช่วงชัชวาล"
ทั้งนี้ อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์อันหนักแน่นมั่นคงยุครัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยมี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในขณะนั้น เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญผลักดันอย่างแข็งขัน โดยคัดเลือกผู้ร่วมทุนฝ่ายเอกชนที่บุกเบิกทางการค้าและการผลิตในอุตสาหกรรมนี้ขึ้นมา 4 ราย เข้าร่วมโครงการปิโตรเคมีแห่งชาติ โดย ปตท. ถือหุ้นจำนวนมากกว่ารายอื่นในฐานะผู้มีตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ในการดูแลและจัดการเรื่องพลังงานของรัฐ" (จากเรื่อง ปตท. ที่น่าทึ่ง มติชนสุดสัปดาห์ ตุลาคม 2553)
ไม่มีใครคาดคิดว่ายุทธศาสตร์เดิมจะพลิกผัน บทบาท ปตท. ยุคใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายในอีกสองทศวรรษ กลายเป็นเจ้าของเครือข่ายธุรกิจเคมีภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดแทนเครือซิเมนต์ไทย (เอสซีจี)
ในช่วงเวลาเดียวกัน ปตท. จัดตั้งบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (ปตท.สผ) เพื่อดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ถือว่ามีความสำคัญทั้งโมเดลกิจการ และการเข้าสู่วงจรตั้งต้นสำคัญของอุตสาหกรรม
จากจุดเริ่มต้นในฐานะ Holding company เข้าถือหุ้นในกิจการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันดำเนินการโดยบริษัทต่างชาติ จนพัฒนาตนเองกลายเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด (operator) ในเวลาต่อมา อีกด้านหนึ่ง ปตท. ถือหุ้น 100% ใน ปตท.สผ. ถือเป็นธุรกิจเต็มรูปแบบ เวลาต่อมาเป็นโมเดลที่น่าสนใจ เมื่อ ปตท.สผ. นำกิจการเข้าตลาดหุ้นในปี 2541 ถือเป็นบทเรียนความสำเร็จสำคัญในการระดมทุนจากตลาดทุน เป็นการชิมลางก่อน ปตท. จะเข้าสู่ตลาดหุ้นในเวลาต่อมา
ปี 2536 ปตท. ประกาศว่าสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดอันดับหนึ่งในธุรกิจค้าปลีกผลิตภัณฑ์น้ำมัน
เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เป็นความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในโมเดลการสร้างกิจการน้ำมันแห่งชาติ ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันภายใต้โครงสร้างมีทั้งอำนาจได้จากรัฐว่าด้วยจัดหาพลังงานเพื่อความมั่นคงแล้ว ยังมีเครือข่ายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สามารถเอาชนะกิจการน้ำมันต่างชาติที่ปักหลักในประเทศไทยมานาน บางรายมากกว่าร้อยปี ทศวรรษของบริษัทใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ปี2544 แปรสภาพรัฐวิสาหกิจ มาเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ 2542 โดยรับโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ความรับผิดชอบ พนักงาน ลูกจ้าง และส่วนธุรกิจทั้งหมด (1 ตุลาคม 2544)
"พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ปี 2542 ตราขึ้นในสมัยชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นจุดเริ่มต้นที่ยังมองไม่เห็นภาพชัดเจนของยุคใหม่ของ ปตท.
"เป็นเครื่องมือของรัฐเมื่อมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจจากรูปแบบเดิมที่เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐ ... โดยการกระจายหุ้นที่รัฐถือไว้ให้แก่ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนและการบริหารจัดการในกิจการที่รัฐวิสาหกิจเดิมดำเนินการอยู่ได้ต่อไปในอนาคต" บางตอนของหมายเหตุ ท้าย พ.ร.บ. นี้ว่าไว้"
ผมเคยสรุปเหตุการณ์สำคัญไว้แล้ว (อ้างแล้ว) เป็นที่รู้กันว่าปลายทางอยู่ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ
ในช่วงปลายปี 2544 ปตท. ได้เข้าซื้อขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วงแรกดำเนินไปอย่างเป็นจังหวะและมีความสำคัญ
"ในปี 2544 นอกจากจะได้รับการบันทึกเป็นปีแห่งประวัติศาสตร์ของการพัฒนาขององค์กรแล้ว ยังเป็นปีแห่งความสำเร็จระดับชาติ เมื่อ ปตท. สามารถระดมทุนจากตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศได้ตามเป้าหมาย กว่า 30,000 ล้านบาท และได้รับการประกาศให้ได้รับรางวัลการกระจายหุ้นยอดเยี่ยมแห่งปี หรือ The Best IPO of the Year โดยกี่สำรวจของนิตยสารไฟแนนซ์เอเชีย" สารจากประธานกรรมการ ปตท. (มนู เลียวไพโรจน์) จากรายงานประจำปี 2544
"หุ้น ปตท. เป็นหุ้นเด่นที่มีมูลค่าสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเป็นที่สนใจของนักลงทุน โดยมีมูลค่าประมาณ 517,445 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11 ของมูลค่าตลาด" สารจากประธานกรรมการ (เชิดพงษ์ สิริวิชช์) รายงานประจำปี 2546
"ในปี 2547 เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากวิกฤติครั้งใหญ่ที่ยืดเยื้อพอสมควร การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นในรอบสองทศวรรษ เช่นเดียวกับราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้น ปตท. ขยายตัวจากสินทรัพย์ระดับ 3 แสนล้านบาท ในปี 2545 เพิ่มเป็น 9 แสนล้านบาท ในปี 2547 จากกำไรประมาณ 24,000 ล้านบาท ในปี 2545 เพิ่มเป็นประมาณ 90,000 ล้านบาท ในปี 2548-2549 ขณะเดียวกันราคาหุ้นจากไม่ถึง 50 บาท ในวันเข้าตลาดหุ้นในปลายปี 2545 เพิ่มขึ้นทะลุ 400 บาท ในปี 2547 "(จากงานเขียนของผม-อ้างแล้ว)
สอดคล้องกับบทวิเคราะห์และรายงานของ ปตท. เอง
"การใช้น้ำมันในขยายตัวสูงสุดตั้งแต่ปี 2521 ที่ระดับ 82.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เช่นเดียวกับราคาน้ำมันดิบ (ดูไบ) ที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในรอบ 20 กว่าปี จาก 26.8 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 33.7 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 หรือ 6.9 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล กล่าวกันว่าปี 2547 เป็นปีที่เกิดวิกฤติการณ์น้ำมันครั้งที่ 3" สถานการณ์ปิโตรเลียม รายงานระจำปี 2547
"เศรษฐกิจโลกในปี 2548 ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับกำลังการผลิตดึงราคาน้ำมันโลกให้สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์... ปี 2548 เป็นปี ปตท. ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานอย่างดียิ่ง อันเป็นผลจากการที่ ปตท. เข้าไปลงทุน ปรับโครงสร้างหนี้ และปรับโครงสร้างบริหาร ทั้งใน ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. ตลอดช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา" สารจากคณะกรรมการ (ลงนามโดย เชิดพงษ์ สิริวิชช์ ประธานกรรมการ และ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการและเลขานุการ) รายงานประจำปี 2548
ปตท. มีรายได้ทะลุหลักล้านล้านบาทเป็นกิจการแรกของไทย เป็นการเติบโตประมาณ 10 เท่าเพียงทศวรรษเดียว ไม่เพียงเป็นความมหัศจรรย์ (ดูข้อมูลตามตาราง) หากถือว่าเป็นจังหวะก้าวกระโดดสำคัญ ในการขยายตัวด้วยโมเมนตัมแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ปตท. สามารถระดมทุนผ่านตลาดทุนอีกมาก นอกจากเข้าตลาดหุนครั้งแรกกว่า 30,000 ล้านบาทแล้ว ยังออกตราสารทางการเงิน (หุ้นกู้) จนถึงปัจจุบัน ปตท. ระดมทุนไปแล้ว เป็นเงินบาทมากกว่า 200,000 ล้านบาท เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอีกเกือบหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐ และเงินเยนของญี่ปุ่นอีก 36,000 ล้านเยน
"โอกาสทางธุรกิจว่าด้วยยุคทองของกิจการด้านพลังงานเปิดกว้างขึ้น จากผลประกอบการที่ดี ได้กระตุ้นและเปลี่ยนแปลงเจตนารมณ์เดิมจากกิจการพลังงานที่ดูแลความมั่นคงในประเทศ ไปสู่ความทะเยอทะยานเป็นกิจการพลังงานระดับโลก"
ผมเคยสรุปเอาไว้เมื่อเกือบ 3 ปีที่แล้ว ดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้น แต่ความเป็นไปในปัจจุบันขยายจินตนาการไปมากกว่านั้นมาก
ข้อมูลทางการเงินปตท.(2542-2554)
(ล้านบาท)
2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548
สินทรัพย์ 199,156 229.854 391,216 298,988 324,331 487,226 651,223
รายได้ 234,921 375,527 386,415 396,551 489,713 644,693 926,269
กำไร -6,260 12,280 21,565 24,352 37,580 62,666 85,521
2549 2550 2551 2552 2553 2554
สินทรัพย์ 753,192 891,524 885,193 1,103,590 1,229,109 1,402,412
รายได้ 1,213,985 1,508,129 2,000,815 1,586,174 1,898,682 2,428,164
กำไร 95, 582 97,800 51,705 59,548 101,504 125,225
ปตท. (2) วิกฤติกับโอกาส
ไม่ว่าจะเดินทางมาไกลเพียงใด แต่ร่องรอยมักย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นเสมอ ขณะเดียวกันภาพปัจจุบันย่อมมีความหมาย โดดเด่น และแตกต่าง เมื่อเปรียบเทียบกับภาพอดีต
ประวัติศาสตร์ ปตท. มีจุดเริ่มต้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสังคมไทย ท่ามกลางภาวะเผชิญความท้าทาย ความผันแปร
มีทั้งความล่มสลายและโอกาสใหม่
โอกาส
โอกาสใหม่ มักมาจากวิกฤติการณ์เสมอ ผมมักอ้างอิงช่วงประวัติศาสตร์สำคัญ คือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง--สงครามเวียดนาม วิกฤติการณ์น้ำมันของโลกเกิดขึ้นครั้งแรกในราวปี 2516 ต่อเนื่องวิกฤติการณ์น้ำมันครั้งที่สองในราวปี 2521-2522 ความผันแปรประดังทั้งด้านสังคมไทย ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ ธุรกิจและอุตสาหกรรม
ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ตุลาคมในปี 2516 และ 2519 การลดค่าเงินบาทติดๆ กัน (รวมทั้งมีการเพิ่มค่าด้วย) ตั้งแต่ช่วงปี 2514 ถึง 2517 โอกาสใหม่ชั่ววูบมาจากการเปิดสถาบันการเงินชั้นรอง (2515-2519) โดยมีเรื่องราวของ พร สิทธิอำนวย (2518-2524) เป็นตัวชูโรง ของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ควรกล่าวถึงควบคู่ไปในช่วงการก่อตั้ง ปตท. คือความเคลื่อนไหวสวนกระแสวิกฤติของเครือข่ายสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยเฉพาะเครือซิเมนต์ไทย ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์สะท้อนความเป็นไปของอุตสาหกรรมไทยในช่วงเกือบศตวรรษ และที่สำคัญมีความเชื่องโยงกับ ปตท. อย่างไม่น่าเชื่อ
ความเคลื่อนไหวของสำนักงานทรัพย์สินฯ เองในยุค พูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ เป็นผู้อำนวยการมีความคึกคักเป็นพิเศษ เข้าไปถือหุ้นในกิจการใหม่ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมจากญี่ปุ่น และอุตสาหกรรมเกิดใหม่ของไทย
ถือเป็นช่วงก้าวกระโดดของปูนซิเมนต์ไทยหรือเครือซิเมนต์ไทยอย่างแท้จริง เริ่มต้นด้วยการเงินกู้ก้อนใหญ่จาก IFC หน่วยงานของธนาคารโลก (2514) เพื่อการลงทุนขยายกิจการครั้งใหญ่ รวมทั้งการขยายธุรกิจออกจากปูนซีเมนต์ด้วย
ในช่วงปี 2521 เมื่อ ปตท. ก่อตั้งขึ้น เครือซิเมนต์ไทยหรือเอสซีจีได้เริ่มบทบาทสำคัญ คือการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ ด้วยการซื้อหรือครอบงำกิจการ (Acquisition) ไม่ว่ากรณีสยามคราพท์-- จุดเริ่มต้นอุตสาหกรรมกระดาษ โรยัลซีรามิค--จุดเริ่มต้นธุรกิจวัสดุก่อสร้างครบวงจร รวมทั้งร่วมทุนกับ Kubota (2521) เป็นจุดเริ่มความสัมพันธ์ที่ตามมาเป็นขบวนกับธุรกิจญี่ปุ่น และกรณี Firestone (2525) จุดเริ่มต้นเข้าแทนที่ธุรกิจตะวันตกซึ่งกำลังถอนการลงทุนจากไทยหลังจากสหรัฐพ่ายแพ้สงครามเวียดนาม
กรณี ปตท. เป็นต้นแบบและบทเรียนใหม่ของความพยายามเข้ามามีบทบาทแทนต่างชาติ ควรจะมีความหมายกว้างกว่านั้น
กิจการไทย
แม้ว่าธนาคารสยามกัมมาจลหรือไทยพาณิชย์ก่อตั้งมาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่อยู่ภาวะจำกัดตัวเองมากๆ ธนาคารไทยเกิดขึ้นอย่างจริงจังหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากระบบธนาคารอาณานิคมล่าถอยไป
รัฐไทยถือว่าเป็นโอกาสสำคัญ แทบจะเรียกว่าปิดประตูสำหรับธนาคารต่างชาติไปเลยจากนั้น ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมสำคัญบางประเภท มีความเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันไป
ปูนซิเมนต์ไทย แม้ว่าจะก่อตั้งโดยราชสำนักไทยในยุคอาณานิคมเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงอาศัยผู้บริหารต่างชาติมาคลอด 60 ปีแรก
เรื่องสำคัญมีอยู่ว่า ก่อนจะปรับตัวครั้งใหญ่ในช่วงสงครามเวียดนาม ด้วยโอกาสใหม่อย่างกว้างขวางตามที่กล่าวมาตอนต้น ก่อนหน้านั้นปูนซิเมนต์ไทยได้ผ่านเหตุการณ์สำคัญ เปลี่ยนผ่านจากยุคผู้บริหารต่างชาติมาเป็นคนไทยอย่างสมบูรณ์ (2515)
ส่วนกิจการพลังงานโดยเฉพาะน้ำมัน แม้เป็นกิจการมีความสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงของสังคมเป็นพิเศษ ใช้เวลานานมากทีเดียว กว่าจะเปลี่ยนมือจากต่างชาติมาอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐไทย
ว่าไปแล้วเป็นกระแสลมพัดแรงระดับภูมิภาค เกิดก่อนหน้ากรณี ปตท. ไม่นานนัก เช่น Pertamina แห่งอินโดนีเชียก่อตั้งขึ้นในปี 2511 และ Petroans แห่งมาเลเซีย ในปี 2517
ผู้รู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ในตอนต้นๆ ของ ปตท. เข้าใจกันดีว่า Pertamina มีส่วนช่วย ปตท. ในยุคก่อตั้งด้วย
ธุรกิจต่างชาติ
ผู้ค้าน้ำมันต่างชาติเข้ามาเมืองไทยตั้งแต่ยุคอาณานิคม ฐานะชิ้นส่วนสำคัญของระบบการค้าทรงอิทธิพลของโลก โดยยังเหลือบทบาทอยู่ไม่น้อยอยู่ถึงปัจจุบัน
"เชลล์เริ่มเข้ามามีบทบาทในราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่เมื่อครั้งเรือเอส เอส มิวเร็กซ์ ซึ่งเป็นเรือที่สร้างขึ้น เพื่อบรรทุกน้ำมันโดยเฉพาะ บรรทุกมันก๊าด เข้ามาจอดเทียบท่า ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2435" ข้อมูลของเชลล์แห่งประเทศไทยเองระบุ (http://www.shell.co.th/)
ขณะที่คู่แข่งอีกรายก็ให้ข้อมูลประวัติศาสตร์เช่นเดียวกัน (http://www.esso.co.th) "เอสโซ่" เป็นหนึ่งในบริษัทที่ดำเนินกิจการกลั่นและค้าน้ำมันครบวงจรชั้นนำของไทย มีประวัติอันยาวนานเป็นที่น่าภาคภูมิใจ โดยบริษัทในกลุ่มของเรา คือ บริษัทสแตนดาร์ดออยล์แห่งนิวยอร์กได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2437 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5"
ส่วนรายที่ 3-- Caltex เข้ามาเมืองไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในราวปี 2479
บทความชุดนี้ไม่ได้ตั้งศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงนั้นอย่างละเอียด เพียงพยายามเชื่อมโยง ความเข้าใจช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสถานการณ์ โดยประเมินอย่างคร่าวๆ ว่า เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีลักษณะสากล อาศัยเครือข่ายและเทคโนโลยีระดับโลก จึงจำเป็นต้องพึ่งพาต่างชาติ แม้ว่าธุรกิจผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ของสังคมไทยมาอย่างผกผัน จากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถึงสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อจากนั้น แต่ยังคงอิทธิพลอย่างยาวนาน
"ธุรกิจการนำเข้าน้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อีกนานาชนิดดำเนินไปได้ด้วยดี จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัท เอเซียติก ปิโตรเลียม (สยาม) มีอันต้องปิดกิจการชั่วคราว จนเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง รัฐบาลไทยได้ติดต่อขอให้เชลล์กลับเข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยอีกครั้ง" ข้อมูลของเชลล์ (อ้างแล้ว) เท่าที่จำได้เคยอ่านเอกสารเก่าการก่อตั้งโรงงานปูนซีเมนต์ของไทยในช่วงสงครามโลกครั้งหนึ่ง ต้องนำเข้าน้ำมันโดยใช้บริการของบริษัท เอเซียติก ปิโตรเลียม (สยาม)
ในช่วงสงครามเวียดนาม โดยเฉพาะ Shell และ Esso นอกจากจะเป็นผู้ค้าปลีกน้ำมัน ยังมีบทบาทครอบคลุมมากขึ้น Shell เข้าถือหุ้นในกิจการโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ในปี 2511 และเริ่มต้นสำรวจหาปิโตรเลียม ปี 2522
และอีก 2 ปีต่อมาได้ค้นพบแหล่งน้ำมันในเชิงพาณิชย์ แห่งแรกของประเทศไทย ที่อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ขณะที่ Esso เริ่มธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันในปี 2514
ขณะนั้นประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมัน 3 แห่ง นอกจาก Esso ก็มีไทยออลย์ (ก่อตั้งปี 2504) เป็นของเอกชน ชาวจีนโพ้นทะเล-เชาวน์ เชาว์ขวัญยืน และโรงกลั่นบางจากของทหาร ซึ่งปล่อยให้ไทยซัมมิตของเจซีฮวงนักธุรกิจไต้หวันเช้าดำเนินการ
ในเวลานั้นสังคมไทยใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปส่วนใหญ่จากบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาครัฐว่าด้วยการผลิตไฟฟ้า
แม้ว่ากองทัพไทยจะเป็นเจ้าของโรงกลั่นน้ำมันมาช้านาน และมีสถานีบริการอยู่บ้างแต่ถือว่าไม่ประสบความความสำเร็จ
"สภาพของไทยจริงๆ เป็นการจัดหาน้ำมันจากในประเทศโดยซื้อจากโรงกลั่นมีเอสโซ่ บางจาก ไทยออยล์ พอขาดแคลนน้ำมันก็มีเรื่องที่จะต้องนำเข้ามา ...แต่เราไม่มีทักษะในเรื่องการจัดหาและในเรื่องของเครือข่ายในการหาน้ำมัน" สถานการณ์วิกฤตการณ์น้ำมันช่วง ปตท. ก่อตั้ง จากบทสัมภาษณ์ของ วิเศษ จูภิบาล (สัมภาษณ์ "โครงการศึกษาวิจัยและจัดทำประวัติการพัฒนาพลังงานของประเทศไทย" วิเศษ จูภิบาล ผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2544-กระทรวงพลังงาน)
วิเศษ จูภิบาล เป็นผู้บริหาร ปตท. คนสำคัญ เข้ามาทำงานตั้งแต่ยุคก่อตั้ง ต่อมาเป็นผู้นำในช่วงการเปลี่ยนผ่านสำคัญจากรัฐวิสาหกิจ (ในฐานะผู้ว่าการ) เป็นบริษัทจำกัด (ผู้จัดการใหญ่) เพื่อระดมทุนครั้งใหญ่โดยเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ (ปี 2542-2546)
"พอมีปัญหา บริษัทต่างชาติ เช่น คาลเท็กซ์ เชลล์ ก็ไม่ส่งน้ำมันมา คือทุกอย่างไม่เจตนาที่จะไม่มาแต่ปริมาณจะต้องจัดสรรไปในพื้นที่ที่เขาคิดว่าได้ราคาดี...ช่วงนั้นที่วิกฤตหนักก็คือน้ำมันเตา ส่วนน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลเป็นเรื่องปกติ เพราะช่วงนั้นบ้านเรา การใช้ยังไม่ค่อยมาก แต่ไฟฟ้าใช้น้ำมันเตามากที่สุด" วิเศษ จูภิบาล ให้ภาพที่ชัดเจนขึ้นอีก
ถือเป็นจังหวะเวลาสำคัญของการเข้ามามีบทบาทของรัฐอย่างที่ควรจะเป็น
ประสบการณ์จากต่างชาติ
การเกิดขึ้นอย่างฉุกละหุกของ ปตท. ย่อมต้องการทีมงานที่มีประสบการณ์และความสามารถ ว่าไปแล้วถือเป็นช่วงเวลาสังคมไทยมีบุคลากรอยู่บ้าง
บทเรียนทำนองเดียวกัน อาจมองกลับไปที่เอสซีจี แม้ว่ามีผู้บริหารเป็นชาวต่างชาติ-ชาวเดนมาร์ก อยู่นานทีเดียว (2456-2515) แต่ดูเหมือนว่าระบบบริหารนั้นไม่ได้เตรียมบุคลากรไว้เพียงพอ เพื่อตอบสนองกับโอกาสใหม่จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในช่วงต้นของยุคคนไทย เอสซีจีจำเป็นต้องมีทีมงานที่มีประสบการณ์กว้างขวางกว่าเดิม
นั่นคือการเข้ามาของ จรัส ชูโต จาก Esso พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา จาก Shell ในฐานะวิศวกรผู้มีประสบการณ์ในการบริหารเครือข่ายจัดจำหน่าย อมเรศ ศิลาอ่อน ผู้มีประสบการณ์การตลาดจาก Shell และ ชุมพล ณ ลำเลียง ด้านการเงิน จากบริษัทเงินทุนทิสโก้ (กิจการร่วมทุนระหว่าง Banker trust กับธนาคารกสิกรไทย)
ผู้มีประสบการณ์จากกิจการต่างชาติในประเทศไทย เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญ ให้เอสซีจีเติบโตก้าวกระโดดในช่วงทศวรรษต่อมา ปรากฏการณ์เริ่มต้นเกิดขึ้นก่อน ปตท. ประมาณหนึ่งทศวรรษ
เช่นเดียวกับทีมงานรุ่นบุกเบิกของ ปตท. มีองค์ประกอบสำคัญจากผู้มีประสบการณ์ในบริษัทน้ำมันต่างชาติ นอกจากมองเห็นปรากฏการณ์ที่เอสซีจี เป็นสิ่งอ้างอิงแล้ว ยังถือว่าที่ ปตท. เป็นจุดเชื่อมต่อโดยตรงกับประสบการณ์เดิมของทีมงานบุกเบิก
โดยเฉพาะ เลื่อน กฤษณกรี โสภณ สุภาพงษ์ เข้ามาตั้งแต่เริ่มต้น ประเสริฐ บุญสมพันธ์ ตามมาในปี 2525 ในฐานะผู้บริหารรุ่นบุกเบิกโดยอาศัยประสบการณ์จากธุรกิจต่างชาติ-- Esso โดยมี ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ เป็นผู้ว่าการ ปตท. คนแรก และมี ศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ ผู้เชี่ยวชาญการเงิน รวมอยู่ด้วย
ถือเป็นส่วนผสมที่ลงตัวมากๆ (ตอนหน้าจะเล่าเรื่องอย่างละเอียด-ว่าด้วยทีมบุกเบิก)
ปตท. (3) ทีมบุกเบิก
แม้ว่า ปตท. เกิดขึ้นจากการรวมองค์กรเก่าของรัฐ แต่ภายใต้ความเชื่อมโยง ด้วยการบริหารของทีมงานใหม่ จึงกลายเป็นองค์กรบุคลิกใหม่ มีความเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น
แม้ว่าเมื่อมองย้อนกลับไปเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ปตท. มีบทบาทค่อนข้างจำกัด แต่ถือว่าได้สร้างรากฐานสำคัญขององค์กรเพื่อดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือการสร้างทีมงาน
ในเวลาต่อมาทีมงานในยุคบุกเบิก ล้วนมีบทบาทอย่างสำคัญ ไม่เพียงเป็นผู้ว่าการยุคต่อมาๆ ของ ปตท. เท่านั้น ยังออกไปสู่ภายนอก มีบทบาททั้งในแวดวงพลังงาน ไปจนถึงวงการอื่นๆ อย่างน่าสนใจ
บุคคลที่ควรยกขึ้นมาเป็น กรณีศึกษา (ซึ่งไม่อาจกล่าวถึงบุคคลสำคัญอื่นๆ ได้อย่างครอบคลุม) ควรเป็นภาพสะท้อนความเป็นไปของ ปตท.
ทองฉัตร หงส์ลดารมภ์
ดร.ทองฉัตร หงส์ลดารมภ์ นับเป็นผู้บริหารคนแรกๆ ของยุคเปลี่ยนผ่านจากระบบราชการเข้มข้นสู่องค์กรจัดการที่ทันสมัยในคราบของรัฐ
จากประสบการณ์ในฐานะนักวิชาการ มีการศึกษาด้านวิศวกรรมโยธา มีประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศมาบ้าง หลังจากจบการศึกษาในระดับสูง ที่สำคัญเขามีประสบการณ์การสร้างหน่วยงานใหม่ของรัฐ เป็นองค์กรที่ต้องการประสิทธิภาพในการจัดการมากกว่าระบบราชการ
ในฐานะผู้ว่าการคนแรก--การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ก่อตั้งปี 2515) ซึ่งมีความหมายทั้งภารกิจในการสร้างระบบคมนาคมใหม่ (ทางยกระดับในในเขตเมืองหลวง) เพื่อตอบสนองการเจริญเติบโตของกรุงเทพฯ ซึ่งไม่สามารถดำเนินตามปกติของระบบราชการ ขณะเดียวเป็นองค์กรของรัฐแบบใหม่เน้นการจัดการแบบเอกชน ว่าไปแล้วเป็นแนวคิดเช่นเดียวกัน กับการเกิดขึ้นของ ปตท.
"ตอนนั้นผมทำงานเป็นผู้ว่าการการทางพิเศษ ทำงานใกล้ชิดท่านนายกฯ เกรียงศักดิ์เรื่องทางด่วน ท่านให้ผมมาทำงานที่ ปตท. ซึ่งผมบอกว่าผมเป็นวิศวกรอาวุโสโดยการฝึกอบรมไม่ได้เรียนมาทางปิโตรเลียม ท่านก็บอกว่าไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่การจัดการมากกว่า" (อ้างจาก สัมภาษณ์ "โครงการศึกษาวิจัยและจัดทำประวัติการพัฒนาพลังงานของประเทศไทย" ดร.ทองฉัตร หงส์ลดารมภ์ อดีตผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 7 ธันวาคม 2543)
ในช่วง 8 ปีของการบุกเบิก ปตท. ทองฉัตร มีความภูมิใจในการวางรากฐานสำคัญ
หนึ่ง-การเปลี่ยนภาพพจน์ของ ปตท. ให้เป็นที่ยอมรับจากตลาดผู้บริโภค ถือเป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน
สอง-มีบทบาทในฐานะแกนกลางของนโยบายและกระบวนการทางอุตสาหกรรมใหม่ เกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติ เริ่มตั้งแต่ จัดหา พัฒนา ลงทุนไปจนถึงการวางรากฐานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และสาม-การพัฒนาตลาดก๊าซหุงต้ม ด้วยพยายามขยายตลาดออกสู่ต่างจังหวัด
หากไม่นับการมาของ อาณัติ อาภาภิรม ในฐานะผู้ว่าการ ปตท. คนที่สองแล้ว ผู้ว่าการคนถัดๆ มา อีก 3 ทศวรรษ ล้วนอยู่ในยุคบุกเบิกทั้งสิ้น
อาณัติ อาภาภิรม เข้ามาในฐานะตัวแทนของรัฐบาล เปรม ติณสูลานนท์ ในช่วงพยายามกำกับบทบาท ปตท. ให้มีอยู่อย่างจำกัดในโครงสร้างความมั่งคั่งใหม่ จากระบบเศรษฐกิจใหม่ในยุค "โชติช่วงชัชวาล" ถือเป็นช่วงที่น่าสนใจ
(จะกล่าวถึงเป็นการเฉพาะในตอนต่อๆ ไป)
เลื่อน กฤษณกรี
เลื่อน กฤษณกรี เป็นผู้ว่าการ ปตท. คนที่สาม ซึ่งสร้างความต่อเนื่องต่อจากยุคทองฉัตร และทำให้ ปตท. ก้าวไปสู่บทบาทที่สำคัญ และกว้างขวาง โดยเฉพาะให้กลายเป็นคู่แข่งที่น่าเกรงขาม ของธุรกิจน้ำมันต่างประเทศ
ในฐานะเป็นเพื่อนกับทองฉัตร จบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นเดียวกัน เลื่อน กฤษณกรี มีบทบาทสำคัญยุคบุกเบิกธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน เป็นบทบาทที่ต่อเนื่องและท้าทายจากประสบการณ์เคยเป็นผู้จัดการฝ่ายขยายปลีกของเอสโซ่ สแตนดาร์ดมาก่อนจะเข้ามา ปตท.
ถือได้ว่ายุคของเขา (2533-2538) เป็นยุคที่ ปตท. ก้าวขึ้นสู่ผู้นำธุรกิจค้าปลีกน้ำมันอย่างแท้จริง (ในปี 2536)
โสภณ สุภาพงษ์
ส่วนภารกิจที่สำคัญในยุคต้น ว่าด้วยการจัดหาพลังงาน ผู้มีบทบาทสำคัญแม้ไม่ใช่ผู้ว่าการ ปตท. คนถัดๆ มา แต่ก็เป็นผู้มีบทบาทในแวดวงพลังงานคนหนึ่ง--โสภณ สุภาพงษ์
เขามีประสบการณ์ในเอสโซ่มา 11 ปี ก่อนมาเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการด้านจัดหาน้ำมัน ของ ปตท. ซึ่งถือเป็นภาระกิจเฉพาะหน้าที่สำคัญในยุคเริ่มต้น จนมาถึงยุคของความผันแปรของกิจการการกลั่นน้ำมันในประเทศ
"จากนั้นในปี 2528 เขาซึ่งถือเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุด ก็เข้าในบริหารกิจการที่รับโอนมาจากต่างประเทศ และเริ่มศักราชที่เป็นโรงกลั่นน้ำมันแห่งชาติแห่งแรกขึ้นมา ในช่วงปลายของรัฐบาลเปรม" (จากเรื่อง โสภณ สุภาพงษ์ หนังสือ "อำนาจธุรกิจใหม่ยุคไอเอ็มเอฟ" ปี 2541 ของ วิรัตน์ แสงทองคำ)
โสภณ สุภาพงษ์ ถือเป็นผู้สร้างบริษัทบางจากปิโตรเลียม ในฐานะผู้บริหารคนแรก สามารถนำพากิจการน้ำมันครบวงจรของไทยอีกรายหนึ่ง เข้าสู่ตลาดอย่างดีพอสมควรโดยใช้เวลาเพียงทศวรรษเดียว
แม้ว่าในปลายยุคของเขามีปัญหามากมายแต่กิจการก็ยังอยู่ถึงวันนี้
ศิรินทร์ นิมมานเหมินท์
ศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ ก่อนมาอยู่ ปตท. เขาเป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารเอเชีย ด้วยมองว่าขอบเขตของงานที่เขาควรรับผิดชอบใน ปตท. กว้างขวาง ขณะที่ระบบต่างๆ ยังต้องสร้างกันอีกมาก เป็นเรื่องท้าทายสำหรับคนหนุ่มวัย 30 ต้น ๆ
"ด้านการเงินได้มือดีๆ มา ก็คือ คุณสุวรรณ วลัยเสถียร ตอนนั้นเพิ่งมาจากธนาคารโลก รุ่นหลังก็มี คุณศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ ทางสภาพัฒน์แนะนำมา แต่ไม่ได้มาจากสภาพัฒน์ คนที่แนะนำ มาให้คือ คุณพิสิฎฐ์ ภัคเกษม" ทองฉัตร หงส์ลดารมภ์ ให้สัมภาษณ์ไว้ถึงงานด้านการเงินที่ควรกล่าวถึงเป็นพิเศษ (อ้างจากเอกสารของ "โครงการศึกษาวิจัยและจัดทำประวัติการพัฒนาพลังงานของประเทศไทย" อ้างแล้วข้างต้น)
ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร เป็นนักกฎหมายผู้มีบทบาท และเกี่ยวข้องกับเรื่องอื้อฉาวกรณี ทักษิณ ชินวัตร เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในยุครัฐบาลทักษิณด้วย จนหลายคนลืมไปแล้วว่า ก่อนเริ่มอาชีพที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอย่างจริงจัง เขาเคยทำงาน ปตท. ในฐานะคนมีโปรไฟล์การศึกษายอดเยี่ยม จบกฎหมายเกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากจุฬาฯ และต่อด้วยจาก Harvard และ Gorge Washington เคยทำงานที่ธนาคารโลก (2519) ก่อนมาเป็นรองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร ปตท. คนแรก (2522-2524)
ไม่ทราบแน่ชัดถึงบทบาทช่วงสั้นๆ ของ สุวรรณ วลัยเสถียร แต่การมาของ ศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ ถือเป็นไฮไลต์ นอกเหนือบทบาทโดยตรงว่าด้วยการจัดการในเรื่องน้ำมันและก๊าชธรรมชาติ
ศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ แม้เรื่องราวของเขามักอยู่ใต้ร่มเงาอันโดดเด่นของพี่ชาย (ธารินทร์ นิมมานเหมินท์) แต่ความเป็นจริง เรื่องราวของเขามีสีสันไม่น้อย
"อิทธิพลความคิดส่งผ่านในรุ่นต่อๆ มา ธารินทร์ และศิรินทร์ บุตรชายทั้งสองของไกรสีห์ จึงได้รับการส่งเสริมในเรื่องการศึกษาอย่างดียิ่ง เริ่มจากโรงเรียนมงฟอร์ตฯ ที่เชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นโรงเรียนต่างจังหวัดที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง ภายใต้การอุปถัมภ์ของคริสตจักร ที่เติบโตมากับบุคลิกของเมืองเชียงใหม่ที่มีลักษณะสากลมากกว่าหัวเมืองอื่นๆ ตั้งแต่สนธิสัญญาเบาริ่ง
ธารินทร์ และศิรินทร์ได้รับการแนะนำจากครูสอนศาสนาได้เรียนระดับมัธยมเพื่อวางรากฐานภาษาอังกฤษที่ Woodstock School โรงเรียนประจำชั้นยอดที่อินเดีย จากนั้นก็ข้ามไปเรียนที่สหรัฐที่โรงเรียนประจำที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งในสหรัฐ The Choate (ปัจจุบันชื่อ Choate Rosemary Hall) ในช่วงก่อนปี 2510 ฐานการศึกษาระดับพื้นฐานที่ดี ธารินทร์ จึงผ่านศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐ โดยจบปริญญาตรีจาก Harvard University และ MBA, Stanford University ส่วนศิรินทร์ จบปริญญาตรีจาก Chicago University ก่อนมาเรียน MBA, Stanford University ต่อมาพวกเขาคือเป็นคนไทยไม่กี่คนที่เริ่มต้นทำงานในต่างประเทศ โดยธารินทร์เคยทำงานธนาคารสหรัฐในฟิลิปปินส์ ส่วนศิรินทร์ เคยทำงานบริษัทค้าหุ้นในญี่ปุ่น ก่อนจะเติบโตในรวดเร็วในหน้าที่การงานในประเทศไทย" โปรไฟล์ของศิรินทร์มักเทียบเคียงกับธารินทร์ (จากหนังสือ "หาโรงเรียนให้ลูก" 2548 โดย วิรัตน์ แสงทองคำ)
"เมื่อครั้งที่ผมเข้ามาทำงานที่ ปตท. ในระยะแรก ผมพบกับปัญหาเรื่องการเงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมหนักใจที่สุดในตอนนั้น คือ เราได้รับมอบหมายให้หาเงินมาซื้อน้ำมัน 65,000 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นจำนวนเงินในตอนนั้นเฉลี่ยประมาณ 2.2 ล้านเหรียญต่อวัน เงินจำนวนนี้เป็นเงินที่เราต้องหามาให้ได้ภายใน 1 เดือน เพื่อนำมาซื้อน้ำมันที่ท่านรัฐมนตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ติดต่อซื้อกับ ชีก ยามานี เอาไว้แล้ว ซึ่งถ้าหากเราหาให้ไม่ได้ เมื่อถึงเวลาเอาน้ำมันมาแล้ว ไม่มีเงินให้เขารัฐบาลก็เสียหน้า ตอนนั้น ปตท. เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นใหม่ๆ เงินก็ไม่มีอยู่ในกระเป๋าเลย เมื่อผมบอกเรื่องนี้กับรองผู้ว่าศิรินทร์ ท่านรองลมแทบใส่ แต่ผมเองก็ยังเชื่อว่า ผมกับรองศิรินทร์ต้องหาเงินจำนวนนี้มาได้ ตอนนั้นก็ไปกู้ญี่ปุ่นมาจำนวนหนึ่ง ผมยังจำได้ว่า ผมได้บอกกับรองศิรินทร์ว่า คุณมีน้ำมันอยู่ในกระเป๋าถึง 65,000 บาร์เรล แล้วน้ำมันก็เหมือนทองคำในตอนนั้น ไม่ต้องกลัวว่าจะกู้เงินไม่ได้ แล้วในที่สุดเรื่องมันก็จบลงอย่างง่ายๆ ไม่ได้อะไรน่าหนักใจ เราก็หาเงินกู้ได้ไม่ยาก" ทองฉัตรกล่าวถึงบทบาทของศิรินทร์ ไว้อย่างตื้นเต้น (จากบางตอนเรื่อง ดร.ทองฉัตร หงส์ลดารมภ์ ผมสร้าง ปตท. จากไม่มีอะไรเลย นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2530-ผมเป็นบรรณาธิการในช่วงนั้น)
ขณะเดียวกันอดีตผู้ว่าการ ปตท. อีกคน (วิเศษ จูภิบาล) กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ "คุณศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นผู้ช่วยว่าการทางด้านการเงิน บังเอิญเขาเคยมีความสัมพันธ์กับทางธนาคารมาก่อน ก็กู้เงินมาจากญี่ปุ่น"
หลังจากอยู่ที่ ปตท. มาประมาณ 10 ปี ศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ ก็ก้าวเข้าสู่วงการธนาคาร--กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทยในช่วงเปลี่ยนผ่านสำคัญ (2535-2542)
เรื่องราวของผู้ว่าการ ปตท. คนต่อๆ มา ผู้มาจากทีมงานสำคัญในยุคบุกเบิก ไม่ว่า พละ สุขเวช วิเศษ จูภิบาล และ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ จะกล่าวถึงอีกมาก ในตอนๆ ต่อไป
ผู้บริหาร ปตท.
ผู้ว่าการ
ทองฉัตร หงส์ลดารมภ์
2522-2530
อาณัติ อาภาภิรม
2530-2533
เลื่อน กฤษณกรี
2533 รักษาการผู้ว่าการ
2534-2538
พละ สุขเวช
3538-2542
-------------------------------
วิเศษ จูภิบาล
2542-2544 ผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
2544-2546 กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
------------------------------
กรรมการผู้จัดการใหญ่
ประเสริฐ บุญสัมพันธ์
2546-2554
ไพรินทร์ ชูโชติช่วงถาวร 2554-
วิรัตน์ แสงทองคำ viratts.wordpress.com ปตท. (4) ผู้นำค้าปลีกน้ำมัน
จากจุดเริ่มต้นของ ปตท. ด้วยภารกิจสำคัญอันเร่งด่วน แต่ถือว่าถูกวางบทบาทอย่างจำกัดไปในตัวด้วย แรงขับเคลื่อนใหม่ภายใต้สถานการณ์คลี่คลาย จึงไปสู่ยุทธศาสตร์หลักว่าด้วยการ "เอาชนะ" ต่างชาติ เป็นเป้าหมายที่สำคัญและจับต้องได้มากที่สุด---การเข้ายึดครองธุรกิจสถานีบริการ
"หลังจากแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนหมดไป เราก็มองไปข้างหน้าซึ่งในที่สุด ปตท. ก็ต้องแข่งกับพวกบริษัทน้ำมันเชลล์ เอสโซ่ คาลเท็กซ์ ฯลฯ" ทองฉัตร หงส์ลดารมภ์ ผู้ว่าการ ปตท. คนแรก (2522-2530) อ้างจากบทสัมภาษณ์ "โครงการศึกษาวิจัยและจัดทำประวัติการพัฒนาพลังงานของประเทศไทย" กระทรวงพลังงาน 2543
"มองภาพว่าภารกิจของ ปตท. ก็มีเรื่องน้ำมันอย่างเดียวจริงๆ เราเลยมองว่าการขยายตลาดเรื่องบริการ" วิเศษ จูภิบาล ผู้ว่าการ ปตท. คนที่ 5 (2542-2546) ผู้มาเริ่มงานตั้งแต่ยุคก่อตั้ง ปตท. (อ้างจากบทสัมภาษณ์ "โครงการศึกษาวิจัยและจัดทำประวัติการพัฒนาพลังงานของประเทศไทย" กระทรวงพลังงาน 2544)
ความจริงเมื่อสถานการณ์เร่งด่วนคลีคลาย ปตท. เริ่มเป็นองค์กรที่มีระบบมากขึ้น มีความคล่องตัวขึ้น ทั้งผลประกอบการ และความสามารถในการแสวงหาแหล่งเงิน จึงเริ่มบทบาทใหม่บ้าง
ปี 2528 ปตท. จัดตั้งบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม และร่วมจัดตั้งบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ
ทั้งสองโครงการ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการสำคัญอีกมากในอีก 2-3 ทศวรรษ แต่ไม่ใช่เวลาช่วงนั้น
ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. ถือเป็นภารกิจมองการณ์ไกล ในเวลานั้น ปตท. ไม่มีคน ไม่มีเทคโนโลยี อีกทั้งกิจการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในประเทศ โดยบริษัทต่างชาติเพิ่งเริ่มต้นไม่นาน ไม่เหมือนธุรกิจค้าปลีกน้ำมันซึ่งเริ่มต้นมานานมาก มีการพัฒนาบุคลากรคนไทย หลายคนได้มาอยู่ ปตท.
ยุทธศาสตร์ในช่วงนั้นของ ปตท.สผ. คือเข้าไปร่วมลงทุนกับกิจการต่างประเทศ เป็นช่วงของการเรียนรู้เพื่อก้าวไปสู่บทบาทอย่างครบวงจรในเวลาต่อมา ซึ่งแตกต่างจากรณีปิโตรเคมีแห่งชาติ
การร่วมทุนในบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ ปตท. มีบทบาทเพียงในฐานะผู้ถือหุ้น ซึ่งมีผลประโยชน์ต่อเนื่องในฐานะผู้ซื้อสินค้าสำเร็จรูปในบางขั้นตอน โดยกำหนดไว้แต่แรกว่าไม่มีบทบาทในอุตสาหกรรมต่อเนื่องแต่อย่างใด
ความชัดเจนของแนวทางมีมากขึ้น เมื่อเปลี่ยนยุคจาก ทองฉัตร หงส์ลดารมภ์ มาเป็นผู้ว่าการคนนอกคนเดียวในประวัติศาสตร์ ปตท.-- อาณัติ อาภาภิรม ผมมองเรื่องนี้เป็นยุทธศาสตร์ใหญ่ที่สำคัญมากของสังคมธุรกิจไทย เป็นยุทธศาสตร์ที่มีความพยายามกำกับแนวทางอย่างเข้มงวด
(จะนำเสนอรายละเอียดในตอนต่อไป)
ผู้นำค้าปลีก
แม้จุดเริ่มต้นไม่สู้ดีนัก แต่ใช้เวลาเพียงประมาณทศวรรษเดียว ก็บรรลุเป้าหมายได้ "เรื่องคุณภาพสถานีบริการน้ำมัน สู้ไม่ได้ อีกอย่างหนึ่งคือ กระแสความเป็นสินค้าของฝรั่ง ตอนนั้นมีความรู้สึกว่าสู้ไม่ได้แน่นอน" วิเศษ จูภิบาล ยอมรับ (อ้างแล้วข้างต้น)
ทีมผู้บริหารตั้งแต่ยุคทองฉัตร มองธุรกิจสถานีบริการเป็นยุทธศาสตร์สำคัญมาก โดยดำเนินตามแผนการที่น่าสนใจ ควรกล่าวถึง 3 ขั้นตอน
หนึ่ง-สร้างแบรนด์ใหม่ ย้อนกลับไปถือว่า เป็นเรื่องคลาสสิคทางการตลาดมากเรื่องหนึ่ง ในความพยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์จาก "สามทหาร"-สถานีบริการขององค์การเชื้อเพลิงภายใต้การดูแลของทหาร ซึ่งเป็นแบรนด์เก่า ล้าสมัย และสะท้อนภาพของความพ่ายแพ้ทางการตลาด สู่สัญลักษณ์ ปตท. ใหม่ ซึ่งยังใช้ในปัจจุบัน
ที่สำคัญเริ่มต้นโฆษณาครั้งใหญ่ครั้งแรก เชื่อมโยงกับความเป็นไทย ว่าไปแล้วในยุคนั้นกระแสความเป็นไทยเกิดขึ้นมาอย่างชัดเจนในช่วงหนึ่ง หลังเหตุการณ์ครั้งสำคัญในเดือนตุลาคม 2519 -หลังสงครามเวียดนาม (2524) ด้วยความเคลื่อนไหวของนักศึกษา ปัญญาชน และต่อเนื่องมาอีกระยะหนึ่ง (เชื่อว่า อ้างอิงได้บ้างกับเพลง เมดอินไทยแลนด์ ของ แอ๊ด คาราบาว ซึ่งออกจำหน่ายครั้งแรกในปี 2527)
สอง-หัวเมืองล้อมเมือง "เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง เราเลยไม่ได้ลงทุนอะไรในกรุงเทพฯ มากนัก สังเกตได้ว่าสถานี ปตท. ในกรุงเทพฯ จะไม่มี พอเริ่มกลับตัวลงทุนอีกทีไม่ทันแล้ว ที่ดินราคาแพงแล้ว ไปมีที่ต่างจังหวัดมาก (ต่อมา) ความได้เปรียบในการขาย ทำให้ตัวแทนจำหน่ายสถานีบริการน้ำมันมีหน้ามีตา ต่างจังหวัดเมื่อก่อนส่วนใหญ่ ส.ส. จะเป็นคนทำบ้าง เป็นผู้มีอิทธิพล ...ปตท. ก็ได้ส่วนแบ่งตลาดในต่างจังหวัดมากขึ้น" วิเศษ จูภิบาล กล่าวถึงแผนการสร้างเครือข่ายสถานีบริการ ปตท. ยุคแรก
ความได้เปรียบจากการเริ่มต้นจากต่างจังหวัดนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า มาจากความได้เปรียบของระบบโลจิสติกส์ของกิจการน้ำมันแห่งชาติ ปตท. ได้สร้างคลังน้ำมันในต่างจังหวัดไว้มากกว่าคู่แข่งอย่าง Shell, Esso และ Caltex เพื่อตอบสนองนโยบายความมั่นคงของรัฐและมุ่งกระจายน้ำมันให้ทั่วถึง
สาม-คุณภาพผลิตภัณฑ์ ถือเป็นความภาคภูมิใจของผู้บริหาร ปตท. เป็นพิเศษ ผมเองยอมรับได้ระดับหนึ่ง ปตท. ในฐานะผู้นำในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาดอยู่เสมอ ถือว่าเป็นความเคลื่อนไหวสำคัญทางการตลาด ที่ว่าด้วย ความสามารถในการแข่งขันกิจการต่างประเทศ ความสามารถในเรื่องนี้แยกไม่ออกจากบทบาท ปตท. ในฐานะผู้นำในการลงทุนโรงกลั่นน้ำมัน จึงมีความได้เปรียบในการบริหาร ทั้งต้นทุนและการผลิตน้ำมันสูตรต่างๆ
(โปรดพิจารณาจากลำดับเหตุการณ์)
สถานีบริการแบบใหม่
จากความเป็นผู้นำในธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน (โดยเฉพาะสถานีบริการ) ปตท. สร้างจินตนาการต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ถือเป็นวัฒนธรรมหนึ่งขององค์กร-ผู้ว่าการให้ความสำคัญสถานีบริการจากยุคบุกเบิก ถึงปัจจุบัน ว่าไปแล้วสถานีบริการโมเดลใหม่-- มองออกไปสู่ธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่น้ำมัน อาจต้องยอมรับว่า ได้รับอิทธิพลมาจากผู้เล่นต่างชาติรายใหม่
"ConocoPhillips กิจการพลังงานครบวงจรถือเป็นกิจการของเอกชนที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก มีฐานอยู่ที่ Houston สหรัฐอเมริกา ให้ความสำคัญธุรกิจค้าปลีกพอสมควร มีเครือข่ายหลาย Brand อาทิ Conoco, Phillips 66 และ Union 76 ConocoPhillips เข้ามาดำเนินธุรกิจสถานีบริการในเมืองไทยตั้งแต่ปี 2536 ด้วยการเปิดสถานีบริการน้ำมัน Jet โดยมีร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store)--Jiffy ถือเป็นโมเดลสถานีบริการน้ำมันทันสมัย กลายเป็นผู้กำหนดทิศทางใหม่ของสถานีบริการน้ำมันในประเทศไทย ตามมาด้วยการปรับโฉมกันเป็นการทั่วไปครั้งใหญ่" ผมเคยกล่าวไว้ใน (ปตท. ในวงล้อม มติชนสุดสัปดาห์ 22 ตุลาคม 2553)
ในฐานะผู้นำตลาดค้าปลีก ปตท. มองเห็นกระแส และเริ่มแสวงหาบทเรียนจากโมเดลใหม่ ด้วยการร่วมทุนกับบริษัทเอเอ็มพีเอ็ม (ประเทศไทย) และทิพยประกันภัย ตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นเพื่อดูแลร้านค้าสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมันของ ปตท. ภายใต้ชื่อเอเอ็มพีเอ็ม โดย ปตท. ถือหุ้น 25% แต่ "เท่าที่ผ่านมาทำไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ร้าน am pm ไม่ดีเลย เพราะว่าเล็กเกินไป" วิเศษ จูภิบาล สรุปไว้ ดูเหมือนเหตุการณ์นั้นอยู่ในยุคของเขา
จากความล้มเหลวครั้งนั้น ปตท. สรุปบทเรียนด้วยการเริ่มต้นตั้งหน่วยงานใหม่--Station service development และตามมาด้วยความร่วมมือกับ 7-Eleven
"กระบวนการพัฒนาสถานีบริการของ ปตท. เป็นการรวมพลังจากพันธมิตรทางธุรกิจ แนวคิดเชื่อมโยงธุรกิจค้าปลีก มิใช่เรื่องใหม่ ปตท. ร่วมมือกับ 7-Eleven (เครือข่ายค้าปลีกที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ของกลุ่มซีพี) มาระยะหนึ่งแล้ว ในบรรดาสถานีบริการประมาณ 1,100 แห่ง (ไม่รวมเครือข่าย Jiffy) มีร้านค้า 7-Eleven อยู่มากกว่า 820 แห่ง สำหรับ 7-Eleven แล้วถือว่าเป็นเครือข่ายจำนวนพอสมควรที่ดำเนินการด้วยตนเอง (ไม่ใช่เครือข่ายของผู้รับแฟรนไชส์) จากเครือข่ายทั้งหมดประมาณ 5,500 แห่ง ถือว่าในเครือข่าย 7-Eleven ในสถานีบริการของ ปตท. มีความสำคัญพอสมควร โดยเริ่มต้นมาเมื่อปี 2546 จัดตั้ง บริษัท รีเทล บิสสิเนส อัลไลอัล จำกัด บริหารร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่สถานีบริการ ปตท. ในฐานะ Franchisee และรับจ้างบริหารสถานีบริการ ปตท. โดย ปตท. ถือหุ้น 49% ซีพีและทิพยประกันภัย ถือหุ้น 31% และ 20% ตามลำดับ" (จากข้อเขียนของผม-อ้างแล้ว) จำนวนสถานีบริการอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เนื่องจากเป็นข้อเขียนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
เหตุการณ์ที่สำคัญต่อจากนั้น คงหนีไม่พ้นกรณีเข้าซื้อกิจการเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันในประเทศไทยของ ConocoPhillips
ปตท. ในฐานะผู้นำในธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน ได้ขยายจินตนาการออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง รวมทั้งความพยายามสร้างเครือข่ายในระดับภูมิภาค
เหตุการณ์สำคัญ
2523
ปตท. ออกแบบตราสัญลักษณ์ของหน่วยงาน หรือแบรนด์ใหม่ โดยขึ้นทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าหลัก ต่อกระทรวงพาณิชย์ ในปี 2524
2533
จำหน่ายน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำรายแรก
2534
นำน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วมาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นรายแรก
2536
ก้าวสู่การเป็นผู้นำสูงสุดของตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และวางตลาดน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วที่มีค่าออกเทนสูง
2538
ยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซินมีสารตะกั่วอย่างเป็นทางการ และวางตลาดน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วสูตรใหม่
2540
ปตท. ร่วมทุนกับบริษัทเอเอ็มพีเอ็ม (ประเทศไทย) และทิพยประกันภัย ตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นเพื่อดูแลร้านค้าสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมันของ ปตท. ภายใต้ชื่อเอเอ็มพีเอ็ม โดย ปตท. ถือหุ้น 25%
2545
ปรับโฉมร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการครั้งสำคัญ โดยร่วมมือกับ 7-Eleven
2547
เปิดสถานีบริการน้ำมันรูปแบบใหม่ตามแนวคิด Pump in the park และให้บริการทางการเงินแบบ drive-thru banking แห่งแรก บนถนนวิภาวดีรังสิต
2550
ก่อตั้งบริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก (PTTRM) ภายหลัง ปตท. เข้าซื้อกิจการสถานีบริการน้ำมันเจ็ท และร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ในประเทศไทย ของ ConocoPhillips
2551
เปิดร้านอาหาร Jiffy Kitchen ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท.-จิฟฟี่แห่งแรก ที่สาขา กรุงเทพฯ-รามอินทรา 2
2552
ปรับโฉมสถานีบริการน้ำมัน ปตท. และร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่โฉมใหม่ ในรูปแบบ Platinum Gas Station นำร่อง 4 สาขา โดยยกระดับการให้บริการหลากหลาย และภาพลักษณ์ของสถานีบริการให้มีความทันสมัยมากขึ้น
2553
เปิดตัวร้านกาแฟ Cafe" Amazon และร้านสะดวกซื้อ jiffy (โดยได้กล่าวถึงในรายงานคณะกรรมการ รายงานประจำปี 2553 ด้วย) วิรัตน์ แสงทองคำ viratts.wordpress.com ปตท. (5) ฐานความมั่งคั่งใหม่
โครงการปิโตรเคมีแห่งชาติ เมื่อ 2-3 ทศวรรษที่แล้ว เป็นเรื่องใหญ่ เป็นภาพสะท้อนรากฐานและอิทธิพลกลุ่มธุรกิจสำคัญของไทย ปตท. เฝ้ามองปรากฏการณ์อันครึกโครมด้วยระยะห่าง โดยไม่คาดคิดว่าในเวลาต่อมา สถานการณ์จะพลิกผัน
"หลังจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้พบและพัฒนาเเหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เมื่อปี 2523 ได้ตั้งโรงงานเเยกก๊าซเพื่อผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวและเป็นโอกาสให้ไทยเริ่มอุตสาหกรรมปลายทาง (Downstream) และนำไปใช้ในโรงงานโอเลฟินส์ได้ ต่อมาในปี 2529 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้ตั้งบริษัทปิโตรเคมีเเห่งชาติ จำกัด (NPC) ซึ่งเป็นโรงงานโอเลฟินส์เเห่งเเรกของประเทศไทย ทั้งนี้ เครือซิเมนต์ไทยได้รับเชิญให้เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นตั้งต้น และนับเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ธุรกิจด้านปิโตรเคมี ซึ่งกลายมาเป็นธุรกิจหลักเเขนงหนึ่งของเครือซิเมนต์ไทยในปัจจุบัน" อ้างจากหนังสือ The Siam Cement 1998 จัดทำเพื่อเสนอแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งสำคัญต่อนักลงทุนต่างประเทศ ได้สรุปความเป็นมาอย่างได้ใจความ
ข้อมูลอ้างอิงถึง ปตท. ข้างต้นมีที่มาน่าสนใจ จุดเริ่มต้นจากสัมปทานสำรวจหาปิโตรเลียมในทะเล กับบริษัทต่างชาติ (Chevron หรือ Unocal ในตอนนั้น) ตั้งแต่ปี 2511 อีก 5 ปีต่อมาได้ค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย "ประสบความสำเร็จค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติปริมาณเชิงพาณิชย์แหล่งแรกของประเทศ ในแปลงหมายเลข 12 ซึ่งภายหลังตั้งชื่อว่าแหล่ง "เอราวัณ" (อ้างจาก www.chevronthailand.com/)
กระทรวงอุตสาหกรรมได้ก่อตั้งองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย (อ.ก.ธ.) ขึ้น (9 มีนาคม 2520) แต่ระหว่างการประกวดราคาเพื่อก่อสร้างวางท่อส่งก๊าซ แผนการใหญ่กว่านั้นจึงเกิดขึ้น (ธันวาคม 2521) ด้วยการจัดตั้งหน่วยงานใหม่--ปตท. อ.ก.ธ.จึงถูกยุบ และโอนกิจการไปเป็นส่วนหนึ่งของ ปตท. สิ่งที่ ปตท. ดำเนินการในทันที--ทำสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติฉบับแรกกับ Unocal
แต่ดูเหมือนไม่ใช่เวลาแสดงความยินดี หรือฉลองความสำเร็จแต่อย่างใด เพราะกำลังอยู่ในช่วงเผชิญปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจดังที่กล่าวในตอนต้นๆ ของบทความชุดนี้ เป็นช่วงที่ ปตท. ต้องดำเนินภารกิจสำคัญเร่งด่วน กว่าจะนำก๊าซธรรมชาติ จากอ่าวไทยขึ้นฝั่งเพื่อป้อนโรงงานแยกของ ปตท. ที่จังหวัดระยอง ก็ล่วงเลยมาถึงปี 2524 เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ เข้าสู่ช่วงความมั่นคงทางการเมืองช่วงยาวช่วงหนึ่งของการเมืองไทย
เชื่อกันว่าจะเป็นช่วงเวลาสามารถดำเนินยุทธศาสตร์สำคัญๆ ได้
นั้นคือยุครัฐบาล เปรม ติณสูลานนท์ (3 มีนาคม 2523-4 สิงหาคม 2531)
แม้ช่วงแรกๆ ต้องเข้ามาแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องมา แต่ไม่ช้าสถานการณ์ได้เข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น แผนการใหญ่จึงเริ่มต้นอย่างมียุทธศาสตร์
ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ถูกวางตัวเข้ามาดูแลยุทธศาสตร์ใหญ่ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการอุตสาหกรรม (11 มีนาคม 2524-19 กันยายน 2528) รัฐมนตรีว่าการอุตสาหกรรม (19 กันยายน 2528-11 สิงหาคม 2529) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ (11 สิงหาคม 2529-27 กรกฎาคม 2530)
พิมพ์เขียวใหญ่ของชาติว่าด้วยโครงการปิโตรเคมีแห่งชาติ (Petrochemical Complex) ถูกร่างขึ้น ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ ในขณะเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และเป็นประธานคณะอนุกรรมการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และเข้าสู่ระยะหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญในฐานะรัฐมนตรีว่าการอุตสาหกรรม
ปัจจุบัน ดร.จิรายุ คือผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (2530-ปัจจุบัน) และประธานกรรมการบริษัทปูนซิเมนต์ไทยในช่วงสำคัญ (2541-2542 และ 2550- ปัจจุบัน)
เดือนมิถุนายนปี 2526 คณะอนุกรรมการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เสนอรายงานถึงความพร้อมของประเทศไทย ในการดำเนินโครงการ และผลตอบแทนที่คุ้มค่าพร้อมเสนอรูปแบบการลงทุน ภายใต้โครงสร้างร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชนในการลงทุนผลิตภัณฑ์ขั้นต้น (Up Stream) และให้เอกชนลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (Dawn Stream)
คณะอนุกรรมการชุดเดียวกันนั้นได้คัดเลือกผู้ร่วมทุนฝ่ายเอกชนขึ้นมา 4 ราย เพื่อรวมถือหุ้นในบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ ถูกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2526 อย่างเป็นรูปเป็นร่างด้วยการลงนามร่วมทุนฝ่ายรัฐและเอกชน โดยมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่น่าสนใจ
ปตท.ถือหุ้นใหญ่ที่สุด 49% เอกชน 4 รายถือหุ้นรวมกัน 49%
ที่สำคัญสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้น 2% แม้ถือหุ้นจำนวนน้อยแต่ถือว่าอยู่ในฐานะทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญในกรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับเอกชน
บทสนทนาว่าด้วยบทบาทของสำนักงานทรัพย์สินฯ ถูกยกขึ้นมาอ้างอิงเสมอในช่วงนั้น ว่าด้วยโครงสร้างการถือหุ้นกิจการที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของประเทศ
ที่น่าสนใจต่อจากนั้น บรรดาผู้ร่วมทุนฝ่ายเอกชนล้วนเป็นธุรกิจทรงอิทธิพล โดย 3 รายแรกคลุกคลีเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมา ในฐานะผู้บุกเบิก บริษัทไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ (ทีพีซี ) ของตระกูลเอื้อชูเกียรติ ผู้ผลิตพีวีซีรายแรกของไทย
กลุ่มศรีกรุงวัฒนา ในฐานะผู้นำเข้าเม็ดพลาสติกโดยมีธนาคารกรุงเทพสนับสนุน และกลุ่มทีพีไอ ผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรมผลิตเม็ดพลาสติก
มีเพียงรายเดียวเท่านั้นที่เกิดใหม่ ในระยะเดียวกับบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ คือกิจการในเครือซิเมนต์ไทยหรือเอสซีจี
ที่น่าสนใจมากกว่านั้นอีก เอสซีจีในฐานะผู้ไม่มีประสบการณ์หรือเกี่ยวข้องกับปิโตรเคมี--อุตสาหกรรมใหม่ของไทยมาก่อน ได้ถือหุ้นในบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติด้วยสัดส่วนมากกว่าเอกชนรายอื่นๆ
สําหรับ ปตท. ภายใต้โครงสร้างใหม่ แม้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด แต่มีความชัดเจนอยู่ประการหนึ่งที่สำคัญมาก คือความเกี่ยวข้องกับ Petrochemical Complex ของ ปตท. ตามยุทธศาสตร์-ในฐานะผู้ดูแลกำกับการผลิตวัตถุดิบพื้นฐานของสำคัญ (Up Stream) เพื่อป้อนให้กับเอกชนที่จะดำเนินอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่อไป
ว่าไปแล้ว ปตท. ในฐานะกิจการพลังงานแห่งชาติ ควรมีบทบาทอย่างที่ควรเป็นไป
ปตท. ในเวลานั้น มีกิจการด้านก๊าซธรรมชาติอย่างครอบคลุมอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่เป็นคู่สัญญาสัมปทานก๊าซธรรมชาติทุกฉบับของไทย (ทั้งมีบริษัท ปตท.สผ. เป็นกิจการร่วมทุนในธุรกิจสำรวจ ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติด้วย) ดูแลระบบขนส่งทางท่อในทั้งทะเลและบนบก โรงแยกก๊าซธรรมชาติ การค้าปลีกก๊าซหุงต้ม จนมาถึงอุตสาหกรรมตั้งต้นของ Petrochemical Complex
ทองฉัตร หงส์ลดารมภ์ ผู้ว่าการ ปตท. คนแรก (2522-2530) กล่าวถึงความสำเร็จที่เขาภาคภูมิใจมากเป็นพิเศษประการหนึ่ง นั่นคือบทบาทในฐานะแกนสำคัญของโครงการปิโตรเคมีแห่งชาติ ถือว่าเขาควรภาคภูมิใจเช่นนั้น
ปตท. คงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในกิจการอุตสาหกรรมตั้งต้นของปิโตรเคมีต่อไป เมื่อ Petrochemical Complex พัฒนาอย่างมั่นคงและดูมีอนาคตมากขึ้น เป็นการลงทุนในช่วงที่ ปตท. มีฐานะทางการเงินที่ดี
และมองว่าเป็นการลงทุนที่ได้ควรรับผลตอบแทนในระยะยาวทีดี
---25 ธันวาคม 2532 ก่อตั้งบริษัทอะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) ดำเนินโครงการผลิตสารอะโรเมติกส์ (Aromatics) แห่งแรกของประเทศไทย ตามนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีระยะที่ 2 โดย ปตท. แม้ไม่ใช่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่โดยตรงแต่ก็มีสัดส่วนพอสมควร 25% โดยไทยออยล์ (ปตท. เข้ามาถือหุ้นในไทยออยล์ตั้งแต่ปี 2523 มีสัดส่วน 49% โดยมีสำนักงานทรัพย์สินฯ ถือหุ้น 2% ด้วย) ถือหุ้นใหญ่ที่สุด 40% และ Exxon Chemical Eastern Inc 35%
--5 มกราคม 2533 ก่อตั้งบริษัท ไทยโอเลฟินส์ ผู้ผลิตโอเลฟินส์แห่งที่สอง (ต่อจากบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ) โดยมี ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 40% บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ 11% (โดย ปตท. ถือหุ้นในบริษัทนี้ 49%) และกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สำคัญ ได้แก่ บริษัทบางกอกโพลีเอทิลีน (กิจการในเครือศรีกรุงวัฒนาและธนาคารกรุงเทพ) 11.7% บริษัทในเครือซิเมนต์ไทย 3.82% (ปีต่อมาได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้นเป็น 8.59%) บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย (ทีพีไอ) 6.86%
บริษัท วินิไทย (กิจการร่วมทุนระหว่าง Solvay Vinyls Holding AG แห่งเบลเยียม กับซีพี) 5.29%
สําหรับสังคมธุรกิจไทยมอง Petrochemical Complex เป็นเรื่องยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจ ในมิติและความหมายที่กว้างขวางขึ้น
ภาพนั้น มองจากความเคลื่อนไหวอันคึกคักของบริษัทร่วมทุนในกิจการตั้งต้น ทั้งในบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) และบริษัทไทยโอเลฟินส์ (ที่กล่าวขึ้นข้างบน) กิจการทั้งหลายเข้าสู่สนามการแข่งขันเพื่อเขาร่วมอุตสาหกรรมต่อเนื่องจำนวนมาก เป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ (International bidding) เป็นเหตุการณ์ใหญ่มากของสังคมธุรกิจในช่วงปลายรัฐบาลเปรม (ปี 2529-2531) ผลที่ออกให้ภาพที่น่าสนใจ
หากไม่นับรวมผู้บุกเบิกธุรกิจนี้มาก่อนอย่างทีพีไอ และทีพีซีแล้ว ได้ปรากฏโฉมหน้าของกลุ่มธุรกิจอิทธิพลดั้งเดิมของสังคมไทยร่วมวงด้วย
ธนาคารกรุงเทพ ภายใต้การนำของ ชาตรี โสภณพนิช มองอุตสาหกรรมใหม่เช่นเดียวกับคนอื่นๆ-นั่นคือโอกาสของการสะสมความมั่งคั่งใหม่เป็นคลื่นธุรกิจลูกใหม่
จึงไม่น่าแปลกใจที่เขาวางบทบาทบุตรชายคนโต ไว้ที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี--ชาติศิริ โสภณพนิช ก่อนมาเป็นผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ เขามีบทบาทสำคัญดูแลและสร้างทีมใหม่ของธุรกิจปิโตรเคมี ผลพวงหนึ่งในนั้นคือ ผู้จัดการใหญ่ ปตท. คนปัจจุบัน
เช่นเดียวกับซีพี เข้าร่วมวงด้วยในฐานะผู้ร่วมทุนกับต่างชาติ--Solvay AG แห่งเบลเยียม ในช่วงเริ่มต้นการเรียนรู้ธุรกิจใหม่ บุตรชายคนสำคัญเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย--ศุภชัย เจียรวนนท์ ก่อนจะมาดูแลกิจการสื่อสารอันยิ่งใหญ่ของซีพีในปัจจุบัน เขาเคยถูกส่งตัวไปฝึกงานกับ Solvay ในสหรัฐและเข้าร่วมงานในกิจการร่วมทุนในเมืองไทยก่อนด้วย
แต่ความชัดเจนทั้งมวล ควรเพ่งมองไปที่เอสซีจี
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีบทสรุปที่ชัดเจนมากสำหรับเครือซิเมนต์ไทยหรือเอสซีจี
ธุรกิจเคมีภัณฑ์ซึ่งมีโครงสร้างธุรกิจเฉพาะหลายรูปแบบ ทั้งเอสซีจีมีสัดส่วนถือหุ้น 100% และบริษัทร่วมทุนกับผู้นำในอุตสาหกรรมระดับโลก อาทิ Mitsui Chemicals Mitsubishi Rayon แห่งประเทศญี่ปุ่น Dow Chemical แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
ธุรกิจเคมีภัณฑ์ของเอสซีจีได้กลายเป็นธุรกิจที่มียอดขาย มากกว่าครึ่งของทั้งเครือ หลังจากก่อตั้งขึ้นมาเพียงไม่ถึง 2 ทศวรรษ
ตรรกะอย่างหยาบๆ อาจเป็นว่า หากเอสซีจีไม่เข้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี (หรือธุรกิจเคมีภัณฑ์ อย่างที่เรียกในปัจจุบัน) การดำรงอยู่ของกิจการอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทย คงอยู่สภาวะสั่นคลอนไปอย่างไม่น่าเชื่อ
Pages: [1]
|