หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
วัดร่มโพธิธรรม
บ้านหลัก 160 ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ. เลย 42190
www.rombodhidharma.com
ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
เกริ่นนำ
จากประสบการณ์ของการศึกษาและปฏิบัติทำมาเกือบ 10 ปี มีความเข้าใจบางอย่างที่เราควรให้ความสนใจและสำนึกถึงความจริงบางประการ
ไว้เตือนใจตนเอง อาทิเช่น
ภาษา : เป็นสมมติบัญญัติที่สำคัญมากในการใช้ถ่ายทอดสัจธรรมคำสอนขององค์พุทธอรหันต์ มหาโพธิสัตว์ คำเดียวกันหากถูกตีความ หรือแปล หรือ
เข้าใจไม่ถูกตรงต่อสัจธรรมซะแล้ว ก็พร้อมที่จะสร้างความเสียหายแก่พระศาสนาที่เรียกว่า สัทธรรมปฏิรูป โดยเนื้อหา
: ภาษาที่ควรหลีกเลี่ยงหรือใช้อย่างรอบคอบ ระมัดระวังคือ เมื่อใช้ภาษานั้นแล้วไปชี้นำหรือกระตุ้นให้ความยึด ความอยากได้กำเริบหรือก่อเกิดการดิ้นรน
การแสวงหา การรอคอยของผู้คนที่จิตใจยังหลับใหล ผู้ถ่ายทอดจึงต้องแยบคาย ละเอียดอ่อนในการใช้ภาษาให้มากๆ
ธรรมะที่ปรากฏอยู่ในตำรานับตั้งแต่พระไตรปิฎกลงมา รวมทั้งคำสอนของครูบาอาจารย์ วิธีการปฏิบัติและพิธีกรรมต่างๆได้ยืมภาษาโลกอันเป็น
ภาษาสมมติมาใช้ในการถ่ายทอดทั้งสิ้น พระพุทธองค์ได้ตรัสเตือน อันเป็นเนื้อหาเพื่อความรอบคอบต่อสิ่งเหล่านี้ไว้ใน “ กาลามสูตร”
อีกทั้ง เราอย่าได้เข้าใจว่า เราได้เข้าใจตรงต่อสิ่งที่ท่านผู้รู้ประสงค์ให้เราได้รู้ตาม เห็นตาม เข้าใจตาม โดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องของวิธีการปฏิบัติ เพราะเรา
มักจะตีความหรือทำความ เข้าใจไปตามภูมิหลัง ตามประสบการณ์(ที่อาจได้แค่ใกล้เคียง แต่ไม่ใช่) ตามสติปัญญาของใครของตน ซึ่งอาจผิดได้ คำๆเดียว
เช่นคำว่า สติ ความรู้สึกตัว ก็สามารถเข้าใจกันไปได้ไม่เหมือนกันเป็นต้น
แล้วเราจะใช้อะไรเป็นบรรทัดฐานของความน่าเชื่อถือล่ะ
จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าแล้ว เราควรใช้ สัจธรรม(ความเป็นจริง) เป็นฐานเทียบเคียงว่าเนื้อหา ภาษาของคำสอนต่างๆที่ปรากฏแม้ในพระไตรปิฎก
หากเราจะตีความหรือมีความเข้าใจแล้วไปขัดแย้ง ไม่ตรงต่อสัจธรรม ก็ให้เข้าใจว่า ความเข้าใจจากภาษานั้นไม่น่าจะถูกต้อง
คือตำรา หรือคำพูดของท่านผู้รู้นั้นถูกต้อง ดีแล้ว แต่เนื้อหาแท้ๆ( โดยอรรถะ)นั่นต่างหากที่เราดันไปเข้าใจผิดซะเอง
ดังนั้นจึงให้สำเหนียกเรื่องภาษานี้ให้ดี ๆ
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ
: พุทธภูมิ คือองค์มหาโพธิสัตว์ท่านได้ผ่านการให้ การทาน การสละ การจาคะมามากมายอย่างยิ่งยวด
จนอนุสัยหรือความเคยชินที่จะเอา จะยึด ทะยานอยากจืดจางไปมากๆๆๆหรือไม่มี พระองค์ท่านจึงสามารถตรัสรู้ชอบ(จบ)ได้โดยพระองค์เอง
: นอกนั้นเป็น สาวกภูมิ (ผู้ที่รู้ตาม เข้าใจตามและดับ-จบตามคือจบไม่ได้ด้วยลำพังตัวเอง)ซึ่งมิได้ประกอบบารมีของการให้ การทาน
การสละ การจาคะ มาอย่างองค์มหาโพธิสัตว์ อนุสัยสากล คือความเคยชินที่จะเอา จะยึด ทะยานอยากนี้ยังหนา เหนียวและแน่นมากกกก... หากเราเข้าใจ
ว่าการปฏิบัติในพระศาสนานี้จะจบกิจด้วยการมีเจตนาทำธรรมขึ้นแล้วละก็ สิ่งที่สร้าง ที่ประกอบขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเรียกว่าสติ ศีล สมาธิ ฌาน ญาณ
ปัญญานั้นจะถูกอนุสัยสากล(ความเคยชิน)ที่จะเอา(ตัณหาและอุปาทาน)เคลือบไปด้วยทันที คือทำไป(แอบ)ยึดไป ทำไป(แอบ)ติดไป เพียงแต่การเอา- ติด-ยึด
นั้นดูดีและแนบเนียนไปพร้อมกับสิ่งที่ตนเองและผู้อื่นเข้าใจว่า “ เจริญในธรรม ”
ดังนั้นให้เราสำเหนียกถึงความเป็นจริงนี้ ให้ดี ๆ
สาวกภูมิ คือผู้ที่ไม่สามารถตรัสรู้(จบ)ได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยการชี้แนะด้วยปัญญาขององค์พุทธอรหันต์ มหาโพธิสัตว์ให้ตรงต่อสัจธรรม (นำ
ปัญญาของท่านมาใช้เลย อย่าไปทำการวิจัยด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดปัญญาของตัวเองขึ้น) เมื่อเราได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ได้สนทนา ใคร่ครวญพิจารณาแล้วเห็น
จริงตามนั้นอย่างแจ่มชัด ศรัทธาต่อเนื้อหาของสัจธรรมอย่างจริงใจ แล้วก็วางใจตาม คลายตาม ดับตาม ไม่อะไรกับอะไรตาม ไม่จิ้งจ้องจดจ่อตามท่านไปเลย
เป็นต้น นั่นแหละคือทางตรง ทางรอด ทางปลอดภัยที่จะไม่ถูกอนุสัยสากลดังกล่าวนั้น ได้โอกาสเจริญเติบโต(สมุทัยแอบเจริญ )ไปพร้อมกับสิ่งที่เรียกว่า การ
ปฏิบัติธรรม มิใช่ให้ไปทำขึ้นใหม่ หรือไปทำเอาเอง (ยังกับว่าจะตรัสรู้ได้ซะเอง) มิฉะนั้นแล้วจะถูกตัณหา ทิฐิและมานะของเจ้าของ (แอบ)หลอกและหลอนให้
หลง(ของตัวเอง)ไปเรื่อยๆ
แถลงความ
ตามที่ข้าพระพุทธเจ้าได้มาสนใจศึกษาพุทธธรรมและปฏิบัติทำ มาประมาณ 10 ปีโดยการอ่าน การฟัง การสนทนาธรรมและปฏิบัติทำธรรม
ด้วยการเจริญสติภาวนา ดูกาย -ดูจิต ( ตามความเข้าใจของตัวเอง) ได้รับความเมตตาเกื้อกูลจากครูบาอาจารย์, ผู้รู้ และกัลยาณมิตรมากมาย
ตัวข้าพระพุทธเจ้าเองได้มีความรู้ ความเข้าใจก่อเกิดประโยชน์สุขต่อชีวิตของตนเองและผู้อื่นได้พอสมควร
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยหายไปจากใจ คือมีความรู้สึกลึกๆของการแสวงหาและการรอคอยอะไรบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เหมือนกับยังทำงานไม่
เสร็จและติดค้างอยู่ในใจ โดยไม่รู้ตัว
ต่อเมื่อได้ฟังธรรมจากองค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต จึงได้เกิดความแจ่มแจ้งในสัจธรรมคำสอนขององค์พุทธอรหันต์ จิตใจได้
รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระเบิกบาน ความรู้สึกของการรอคอย และการแสวงหานั้นได้จางหายไป(จึงรู้ว่ามี) งานทางใจก็ได้คลี่คลายปลดปลงลงด้วย
( มิได้หมายความว่าข้าพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์นะครับ )
งานชิ้นนี้ มิได้มีจุดประสงค์ในการดูหมิ่น ดูแคลนหรือจาบจ้วง โจมตีแนวปฏิบัติใดๆเพียงแต่ได้พยายามสะท้อนให้นักปฏิบัติให้ได้เห็น ให้ได้รับรู้ว่าแง่มุม
ใดของการปฏิบัติที่จะกลับกลายเป็นการเจริญสมุทัยไปซะเอง จะได้ไม่ถูกตัณหาอุปาทานหลอกให้หลงปฏิบัติกันไปเรื่อยๆ
โดยเนื้อหาที่เรียบเรียงนี้มาจากความเข้าใจของตนเองเพียงบางส่วน เพื่อประกอบการฟังธรรมจากองค์หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต เท่านั้น
สำหรับญาติโยมที่ต้องการศึกษาสัจธรรมจริงๆ แต่ก็ไม่ค่อยเข้าใจเนื้อหาหรือรหัสนัยจากคำพูด คำแสดงธรรมของพระองค์ท่าน ดังนั้นจึงมิใช่ตำราที่จะใช้อ้างอิงได้
และท่านก็ไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งหมด ได้ทำสารบัญเลือกอ่านได้ตามที่สนใจ และอย่าตั้งใจอ่านมาก อย่าอ่านดะรวบไปหมด จะมีผลเสียเพราะตัณหาในปัญญา
สำคัญที่สุดคือท่านผู้อ่านต้องได้ฟังธรรมจากองค์หลวงพ่อ(ต่อหน้า)ท่านโดยตรงจะดีที่สุด หากท่านได้เข้าใจเนื้อหาของสัจธรรมแล้ว วลีใดวลีหนึ่ง
ประโยคใดประโยคหนึ่งอาจเพียงพอต่อความพ้นทุกข์ได้แล้ว ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้ลองอ่านและตรองดู ดีๆเถิด
ด้วยที่สุดนี้แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมและถวายความเคารพต่อองค์คุณทั้งหลายทั้งปวง พร้อมทั้งกราบขอขมาและขออโหสิกรรม ต่อกรรมอันใด
ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้เคยประมาทพลาดพลั้ง ปรามาสล่วงเกินต่อองค์คุณทั้งหลายทั้งปวงไว้ มา ณ ที่นี้ด้วยเทอญ.
สารบัญเลือกอ่าน
คำขอขมา - ขออโหสิกรรม
ใครจะรู้บ้างไหมหนอ 1
ความตื่น 13
ความเพียร 16
ปฏิจจสมุปบาทแบบย่อ 22
ไม่พัก 28
ไม่เพียร 29
สัมมาทิฐิ 34
ปริวัฏฏ์ 3 อาการ 12 (ญาณในอริยสัจ 4) 53
กฎแห่งกรรม 59
สัมมาสังกัปโป 81
ทางสายกลาง 84
สัมมาวาจา – สัมมากัมมันตา – สัมมาอาชีโว 89
อาหาร 4 93
สัมมาวายาโม 95
สัมมาสติ 100
สัมมาสมาธิ 114
กาล 120
กรรมฐาน 130
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร 135
ปฏิจจสมุปบาท 151
คำกรวดน้ำอุทิศบุญบารมี
คำขอขมา ขออโหสิกรรม
คำขอขมา ขออโหสิกรรม
นะโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3จบ)
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ สิ่งใด ที่ข้าพเจ้า และจิตญาณทั้งหลาย ที่พ่วงพันมากับข้าพเจ้า พร้อมทั้งเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่ไม่ตรงต่อสัจธรรม
และกรรมอันใดที่ได้เคยประมาทพลาดพลั้ง ปรามาสล่วงเกิน ต่อองค์คุณเบื้องสูง ต่อองค์คุณพุทธะ มหาพุทธะ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระมหาโพธิสัตว์
พระอรหันต์ พระมหาอรหันต์ พระธรรมคำสอน พระอริยสงฆ์อริยเจ้าทั้งหลาย สมมติสงฆ์ทั้งหลาย อีกทั้งคุณของบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ทั้งหลาย
คุณของพรหมเทพทุกชั้นภูมิ สิ่งศักดิ์สิทธิ์และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย คุณของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย คุณศีลคุณทานทั้งหลาย คุณของจิตญาณทั้งหลายทั้งปวง
อีกทั้งกรรมอันใด อันเป็นการผิดศีลผิดธรรม และก่อให้เกิดการเบียดเบียนต่อสรรพสัตว์น้อยใหญ่ ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย
จนก่อเกิดเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย
อีกทั้งกรรมอันใด ที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยตนเองและให้ผู้อื่นต้องลุ่มหลงมัวเมา จิ้งจ้อง-ต้อง-ตั้ง-วกวนอยู่ในธาตุ4 ขันธ์5
อันเป็นกรรมซ้อนขันธ์ กรรมซ้อนธาตุ กรรมซ้อนธรรม
จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง จะเจตนาหรือมิได้เจตนาก็ตาม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในทุกภพทุกชาติ ทุกกัลป์ทุกกัป ทุกพุทธันดร
บัดนี้ ข้าพเจ้าและจิตญาณทั้งหลาย ที่พ่วงพันมากับข้าพเจ้า พร้อมทั้งเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ได้สำนึกแล้วด้วยใจ ถึงกรรมนั้นๆ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย จึงกราบขอขมา ขออโหสิกรรม
ขอองค์พุทธะ พระอรหันต์ และพระมหาโพธิสัตว์ จงเป็นประธาน ในการขอขมาและขออโหสิกรรมในครั้งนี้
ขอให้องค์คุณทั้งหลายทั้งปวง ได้โปรดงดโทษและอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย
เพื่อความไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา ในทุกข์โทษทั้งหลาย ให้มีการดำเนินชีวิตที่ตรงต่อการให้ การสละ เกื้อกูล สงเคราะห์ อนุเคราะห์
ตรงต่อสัจธรรม ตรงต่อพระนิพพานอยู่แล้ว
ณ โอกาสบัดนี้ด้วยเทอญ...
เหตุ – ผล
: การขอขมาและอโหสิกรรมเป็นอริยะประเพณี เป็นพิธีกรรมที่องค์พุทธะและพระมหาโพธิสัตว์ใช้ในคราที่พระองค์ลงมาโปรดสัตว์โลก เพราะสรรพ
สัตว์ทั้งหลายได้เวียนว่ายตายเกิดมานับภพชาติไม่ถ้วน ด้วยความหลงจึงเกิดการกระทบกระทั่ง เกิดการปรามาสล่วงเกิน เบียดเบียน เสียดสี ทิ่มแทงกัน(กรรม)
ด้วยกาย วาจา ใจจึงเป็นสิ่งที่เคยมีมาอย่างแน่นอน และด้วยเหตุดังกล่าวนั้นจึงส่งผลให้เกิดกรรมวิบาก(ผลแห่งกรรม) พ่วง-ผูกและพัวพันกันอยู่ในรูป
แบบต่างๆในสังสารวัฏ สังสารวนนี้ ให้ต้องทุกข์ยาก ลำบากกันต่อไปมิรู้จบสิ้น การขอขมาและอโหสิกรรมจึงเป็นโอกาสที่สัตว์โลกจะได้คลี่คลายกรรมวิบาก
นานัปการของตนเอง โดยเฉพาะกรรมวิบากที่มีผลในการขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคในการเข้าใจเนื้อหาแห่งสัจธรรม
โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติธรรม หากเคยได้ปรามาสต่อองค์คุณเบื้องสูงมาแล้วละก็ วิบากกรรมจากเหตุดังกล่าวมีผลให้เกิดความมืดบอด หมอง มัว พร่า อึมครึม
ลังเล สงสัย ไม่แจ่มชัดในพระสัจธรรม อันเป็นเหตุให้เกิดความเนิ่นช้าของปัญญาจักษุ หรืออาจก่อเป็นเหตุใหม่ในการปรามาสล่วงเกินองค์คุณต่างๆหนักขึ้นไปอีก
: การขอขมา ขออโหสิกรรม จะมีผลต่อเมื่อทำจากจิตสำนึกถึงโทษภัยที่ได้ปรามาสล่วงเกิน เบียดเบียนองค์คุณทั้งหลายทั้งปวงมา โดยเฉพาะจะมี
ผลมากหากได้ทำการขอขมา ขออโหสิกรรมต่อหน้าคู่กรณี(ถ้ายังมีชีวิตอยู่) แล้วได้เปล่งวาจา “อโหสิ”ซึ่งกันและกันต่อหน้าพระอรหันต์หรือองค์มหาโพธิสัตว์
อันเปรียบเหมือนเป็นองค์ประธานในพิธีการครั้งนี้ อีกทั้งจะได้เป็นการปลดล๊อค คลี่คลายกรรมวิบาก จากหนักก็จะได้เป็นเบา จากเบาก็จะหมดสิ้นกันไปได้
นอกจากนั้น ยังจะเกิดจิตสำนึกในการสำรวมระวังสังวร ในการเห็น การได้ยิน การคิดนึก การกระทำที่จะไม่เป็นการไปปรามาสล่วงเกินหรือเบียด
เบียนองค์คุณทั้งหลายทั้งปวงอีกต่อไป
: และขอให้เข้าใจว่า การขอขมาและขออโหสิกรรม มิใช่การอ้อนวอนร้องขอ แต่เกิดจากจิตสำนึกอย่างจริงใจและบริสุทธิ์ใจ และอย่าให้มีการ(แอบ-ซ่อน)
หวังผลตอบแทนใดๆทั้งสิ้น
ใครจะรู้บ้างไหมหนอ
ว่า...เนื้อหาที่แท้ของปรากฏการณ์นี้คืออะไร และอย่างไร
********************
หลงรู้
ตัณหา ใน ปัญญา
อวิชชา ใน วิชชา
กิเลส(ธรรมะ) ใน ธรรมะ(กิเลส)
ธรรม โดย ธรรม
กรรม ซ้อน ธรรม
กรรมบัง การปฏิบัติทำ ปิดบังพระนิพพาน
ปล่อย (วาง) ซ้อน ปล่อย (วาง)
กรรม ซ้อน วิบาก
ตรัสรู้ หมายถึง จิตใจที่
ไม่แสวงหารู้และความรู้ ไม่อิน(in)รู้ ไม่เอารู้ ไม่หลงรู้ ไม่วุ่นวายแส่ส่ายกับการรู้หรือไม่รู้ ไม่อะไรกับอะไรในการรู้ ตรงต่อเนื้อหาของสัจจะที่ว่า อนัตตา เพราะว่าทุกสรรพสิ่งปราศจากความหมาย ไร้ความเป็น… เหนื่อยเปล่าที่จะมั่วไปวุ่นวายกับการให้ความหมายที่ไม่ใช่ความจริง (นอกจากเพื่อใช้ในสมมติโลกเท่านั้น) ท่านจึงว่า ตัดซะรู้ ตัดซะ ...รู้
อย่ามัว หลงเกาะ หลงแกะ
เพราะทุกสรรพสิ่ง ไม่ใช่สิ่งยึดติดอยู่แล้ว หลุดกันเองอยู่แล้ว ปล่อยกันเองอยู่แล้ว วางกันเองอยู่แล้ว นี้คือ เนื้อหาของสัจธรรมที่เรี ยกว่า อนิจจัง ทุกขัง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของทุกสภาวะอยู่เองแล้วโดยบริบูรณ์ ไม่ต้องการเหตุ-ปัจจัยใดๆทั้งสิ้น มิใช่ไม่เที่ยงเพราะ...และมิใช่ไม่เที่ยงเพื่อ...นี้จึงเรียกว่า สิ่งนอกเหตุ (คือมิใช่หลุดเพราะ...หรือด้วยเหตุอันใด ) และเหนือผล( คือ มิใช่หลุดเพื่อ... หรือ ด้วยวัตถุประสงค์ใด ๆ ทั้งสิ้น) การไปหลง (ทำ) อะไร ๆ เช่น ทำบุญก็เพื่อความสุข ทำๆๆๆอะไรๆๆเพื่อให้พ้นทุกข์ เพื่อให้ถึงพระนิพพานหรือเพื่อให้มีสติ สมาธิ ฌาน ญาณ ปัญญา (เพื่อ)เอาไว้เกาะ(สิ่งดีๆ) หรือ
แม้แต่การเริ่มต้นด้วยการอิง – อาศัย(ยืมใช้) เพื่อหวังจะเอาไปแกะอะไร ๆ โดยเฉพาะสิ่งที่ยึดว่าไม่ดี(กิเลส)ให้หลุด, ให้หมด, ให้ไม่มี, ให้ไม่เกิด จึงนับได้ว่าเป็นความหลงโดยแท้
โคตรเง้าของทิฐิ(อวิชชา) ก็คือ ตัวดู ตัวรู้
ด้วยความไม่รู้(เรื่อง) ก็เลยหาเรื่อง(รู้) ด้วยการอุปโลกน์ตัวดู ตัวรู้ขึ้นมา แล้วก็ได้เรื่อง(ที่ไม่เป็นเรื่อง)ทุกข์ๆ(ขันธ์5)ทั้งนั้น ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นเรื่อง(ขันธ์)ที่ยึดหรือเอาไม่ได้จริงทั้งนั้น คือเป็นเรื่อง(สิ่ง)ที่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งหมด ไม่ว่าจะเรื่องธรรมะ หรือ เรื่องกิเลส เพราะโดยสัจจะแล้วมัน ไร้ หรือ ปราศจากเรื่อง ในแต่ละธาตุ แต่ละขันธ์เองอยู่แล้ว
ความไม่รู้เรื่อง (อวิชชา)คือ ไม่รู้ว่าโดยสัจธรรมแล้ว ทุกสรรพสิ่ง- ทุกสภาวะ มันไม่ยึดติดตัวมันเองอยู่แล้ว ปล่อยกันเองอยู่แล้ว, วางกันเองอยู่แล้ว หลุดกันเองอยู่แล้ว(อนิจจัง) มันจึงไม่อาจเป็นอะไร ๆ ได้จริง ๆ(อนัตตา) ความเป็นจริงดังกล่าวนี้ไม่เนื่องด้วยเหตุ-ปัจจัย นอกเหนือกาลเวลา ดังนั้นทุกสรรพสิ่งจึงไม่มีอะไรต้องการ หรือไม่ต้องการอะไร ไม่มีอะไรเอาอะไร ไม่มีธาตุใดขันธ์ใดย้อนมากำหนดตัวมันเอง มันวางแม้ตัวมันเองอยู่แล้ว มันจึงมิได้พยายามจะเป็นตัวมัน หรือพยายามจะเป็นอะไร ๆ มันจึงเป็นสิ่งที่นอกเหนือเจตนากรรมหรือปฏิบัติการใดๆทั้งสิ้น ไม่มีธาตุใดขันธ์ใดก้าวก่ายข้ามธาตุ- ขันธ์ด้วยตัวของมันเอง ถ้าจะเป็นเช่นนั้นได้ก็เพราะด้วยโมหะ ตัณหา อุปาทานพาไป(ทำขึ้น = เจตนากรรม) ไม่มีอะไรต้องการที่พึ่ง, ไม่มีอะไรจะอิงอาศัยอะไรได้จริง....หลอก
นอกจากนั้นทุกธาตุ- ขันธ์ ไม่มีความหมายในตัวมันเอง มันปราศจากความหมายแห่งความเป็นอะไรที่แท้จริง(อนัตตา) ที่เป็นก็เป็นเพียงชั่วคราว- ชั่วครู่ หรือเป็นแค่… ทั้งหมดนี้คือธรรมชาติเดิมๆของทุกสรรพสิ่ง ความเป็นไปแบบนี้เรียกว่าเป็นไปแบบ ธรรมโดยธรรม (ปราศจากหรือไร้ซึ่งเจตนากรรม ไม่ใช่จากสิ่งที่ว่า “เพื่อ”) การรู้-ตามความเป็นจริงดังกล่าวนี้เรียกว่า สัมมาทิฐิ
ความไม่รู้เรื่อง(อวิชชา)เรียกว่า โมหะทิฐิ แสดงออกมาในรูปของการหลงทำตัวรู้ ตัวดูขึ้น เรื่องที่เกิดตามมาจากการทำรู้(ตามรู้ ตามดู สังเกต...)ก็คือความเข้าใจที่เรียกกันว่า “ทิฐิ”(ความเห็น) แต่โดยทั่วไปจะเข้าใจกันว่ามันคือปัญญา(วิชชา) แต่ที่แท้มันก็คือลูกหลานเหลนของอวิชชาทั้งนั้น(เป็นปัญญาในเชิงทิฐิ ผู้ที่เจริญรู้-เจริญเห็นจึงต้อง-คาหรือมีทิฐิอิงอาศัย
ในจิตในใจไปเรื่อยๆ ไม่อาจจะตรงต่อว่างได้อย่างแท้จริง) แล้วมันจะกลับไปทำลาย(โคตร-อวิชชา) ตัวมันเองได้อย่างไร?
ที่แนบเนียนมากคืออวิชชาจะหลอกให้แสวงหาปัญญานานาประการก่อเกิด กรรมซ้อนธรรม (ก็ยิ่งกำขันธ์) กลายเป็น กรรมบัง ไม่อาจพ้นทุกข์(จากอุปาทานในขันธ์)ได้จริง เพราะเลยหรือเกินพระนิพพาน ท่านจึงกล่าวว่าการปฏิบัติ(ทำ-กรรม)ปิดบังพระนิพพาน
อย่าได้ทำการ “ ปล่อยวาง ” เด็ดขาด
เพราะนั่นคือ ขบวนการของการ ติด ไปเรียบร้อยแล้ว เนื้อหาที่แท้ของการปล่อยวาง คือ ไม่สนใจ แต่การ ไม่สนใจ นั้นต้องประกอบด้วยการที่ รู้ความจริง = ปัญญา(ตัด) = สัมมาทิฐิ = อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของทุกสรรพสิ่ง หากไม่เช่นนั้นแล้ว การปล่อยวาง การไม่สนใจ ก็อาจถูกบงการ หรือครอบงำด้วย ความหลง อาจกลายเป็นการปฏิเสธสภาวะหรือยึดติดทิฐิที่ว่า ปล่อยวาง หรือ ทิฐิที่ว่า ไม่สนใจ กลายเป็นว่า “ ยึดติดกับความไม่ยึดติด ”
การปล่อยวางโดยเนื้อหาหมายถึงความเข้าใจที่ตรงต่อความเป็นจริงที่ว่า “มันปล่อยวางกันเองอยู่แล้ว” มิใช่ เราหรือฉันไปทำการปล่อยวางมัน เราอาจจะทำการปล่อยวางมันสำเร็จ แต่ที่ยังเหลืออยู่คือเราเป็นผู้เสวยผลสำเร็จหรือไม่สำเร็จอยู่ นั่นจะเรียกว่าปล่อยวางที่แท้จริงหรือ? จึงเป็นเพียงปล่อยวางเทียม(เนื่องด้วยเจตนา)ซ้อนการปล่อยวางแท้(ไม่เนื่องด้วยเจตนา) การปล่อยวาง จึงมิใช่ทั้งการยอมรับหรือการปฏิเสธ แต่เป็นด้วยเพราะเข้าใจ ความเป็นจริง ของปรากฏการณ์แล้วไม่เข้าไปยุ่ง หรือไม่ทำ...อะไรให้วุ่นวาย...ไปซะเอง
อวิชชา
อวิชชา แปลว่า ความไม่รู้เรื่อง เราจะทำให้อวิชชาหมดไป ด้วยการมีวิชชาเยอะๆ ให้มากที่สุด อย่างนั้นหรือ นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง เพราะอะไรจึงกล่าวอย่างนั้น ก็เพราะว่า อวิชชานั่นเองเป็นผู้สั่งให้หา ความรู้ ความเข้าใจ (วิชชา) มาเสวย ดังนั้น สิ่งที่ได้มาจากความเพียร(อยากรู้)ที่ชื่อว่า ปัญญา วิชชานั้น จะกลับไปทำลาย อวิชชา ได้อย่างไรกันเล่า อวิชชา มันหลอกให้ดิ้นรน(ให้ค่ากับการรู้-คอยรู้-คอยดู) รู้ตัวบ้างไหม
เปรียบเหมือนกับ ยักษ์ มันบอกว่าผู้ที่จะฆ่ามันได้ ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าจะฆ่ายักษ์ให้ตาย ก็ให้หามนุษย์ตามเกณฑ์นั้นมา แล้วมนุษย์ก็พยายามฝึก พยายามทำให้ได้ตามเกณฑ์นั้นคาดว่าจะฆ่ายักษ์ให้ตายได้จริงๆ แต่กลับกลายไปเป็นอาหารของยักษ์ซะเอง ยักษ์ก็อ้วนพลี สบายใจเฉิบ นี้เรียกว่า “อวิชชา ใน วิชชา”
ด้วยความไม่รู้(อวิชชา)มันจะผลักดันให้เกิดการดิ้นรน,แสวงหา,สร้าง,ทำ, เอาปัญญา กลายเป็นตัณหาในปัญญา หรือ กิเลส ในธรรมะนั่นเอง และที่สำคัญ เมื่อโมหะได้สติเป็นกำลัง ได้สมาธิเป็นกำลัง ได้ฌาน ได้ญาณ ได้ปัญญาเป็นกำลัง มันก็จะอลังการมาก ละเอียดและแนบเนียน ดูดีเสียจริง ๆ จึงไม่ต้องแปลกใจที่ผู้ปฏิบัติทำ อดที่จะหลงใหล (แอบยึดหรือติดอยู่โดยไม่รู้ตัวว่าติดอยู่) เสียมิได้ ถ้าไม่เอะใจ หรือเฉลียวใจ หรือได้ยิน ได้ฟัง สัจธรรมจากองค์พุทธะ มหาโพธิสัตว์แล้วละก็ รอดจากความหลง(รู้)นั้นได้ยากส์...มาก
อวิชชา จะยุติหรือจบ....ได้อย่างไร
อวิชชา จะยุติ หรือ จบไม่ได้ ด้วยการกระทำ(กรรม)ให้ยิ่งๆขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็น มโนกรรม(พัฒนาจิต) วจีกรรม กายกรรม ให้ดีเลิศที่สุด แล้วจะสำเร็จ.... มิใช่เช่นนั้น
ใจ ต้องตรงต่อเนื้อหาของ สัจธรรม ความเป็นจริง ที่ว่าทุกอย่างไม่มี
ความหมายในตัวเอง ทุกอย่างไม่ใช่อะไร ทุกอย่างไม่ใช่สิ่งยึดติดตัวมันเองอยู่แล้ว ท่านจึงเตือนไว้ว่า “ทุกอย่างคือไม่” “ไม่ คือทุกอย่าง” เพื่อเตือนใจ(ให้คลายอุปาทาน) แล้วใจจะเลิกก่อ เลิกสร้างกรรมทางใจ(กิริยาจิต) ก็คือเลิกความดิ้นรนทางใจ....สงบ..เย็น..ไปเอง
ให้รู้ว่าจริง ๆ แล้ว ใจ เป็นสิ่งที่ว่างอยู่แล้ว ไม่ใช่เจตนากรรมไม่ต้องการที่อยู่หรือที่ยึดเกาะ ไม่มีขอบเขต ไร้ขอบเขต โปร่ง โล่ง โพล่ง เบา (ไม่มีน้ำหนัก)
การปรากฏขึ้นของสิ่งใดก็แล้วแต่ ให้รู้ว่านั่นไม่ใช่ ใจแต่มันคือ สิ่งปรุงแต่ง โดยเฉพาะ ตัณหา อุปาทาน เป็นสิ่งปรุงแต่งที่จะอยู่ในรูปแบบของความพยายามหาที่ อยู่ ที่ ยึด ที่ เกาะ อันเป็นเหตุนำทุกข์ทุกรูปแบบมาให้ใจ ที่เรียกว่า หนักใจ (ใจมีน้ำหนัก)
บทสรุปที่เด็ดขาดในการป้องกัน – รักษา,เยียวยา – แก้ไข อวิชชา ความหลง ก็คือ ปรากฏการณ์อะไรก็แล้วแต่ที่เกิดกับกายหรือใจ “ไม่ใช่”ทั้งหมด นั่นแหละเพราะเมื่อไรที่เราว่า “ ใช่ ” เมื่อนั้น หรือที่นั่น หรือสภาวะนั้น จะกลายเป็นเป้าให้ อุปาทานได้ เกาะ ยึด ทันที โดยเฉพาะการบรรลุสภาวะที่ว่าดีๆ ทั้งหลาย (ธรรมะ)นั่นแหละ เป็นเป้าที่อุปาทานจะได้ที่ยึดไว้และ(แอบ)ติดอยู่อย่างแนบเนียนมาก...
อวิชชา แปลว่า ไม่รู้เรื่อง ก็เลยหา ทำ รักษา ระวัง เอา อะไร ๆ ไม่เอาอะไร ๆ หลงสร้างขั้น สร้างตอนขึ้นมา อันล้วนเป็นสมุทัยโดยเนื้อหา แล้วก็ตีกลับมาเป็นความวุ่นวายกดดันอะไรๆไปซะเอง แทนที่จะเป็นการละสมุทัย กลับเป็นการเจริญสมุทัยไปซะแทน
เมื่อได้สดับสัจจะอย่างแจ่มแจ้งและดำเนินชีวิตตรง สอดคล้องต่อความเป็นจริงนั้น สมุทัยก็เป็นอันถูกละ(คือไม่เจริญสมุทัย), ความพ้นทุกข์(นิโรธ-ซึ่งก็มีอย่างสมบูรณ์แล้วด้วย)ก็แจ่มแจ้งไปเอง
ตำรากล่าวไว้ว่า “อวิชชา ปัจจยา สังขารา” แปลว่า “อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร”
สังขารนั้น พิจารณาได้ 2 นัย
นัย 1 สังขารโดยความเป็น สิ่งปรุงแต่ง ขันธ์เดิม ที่มีมาพร้อมกับการเกิดนับได้ว่าเป็นผลจาก ของเก่า หรือ ของเดิม หรือ ขันธวิบาก ซึ่งก็คือขันธ์ 5 ประกอบด้วยรูป- เวทนา – สัญญา – สังขาร – วิญญาณ (เป็นผล จากความหลงยึด- หลงอยากในขันธ์ เทียบได้กับกองทุกข์ในทุกขสัจ ) รวมทั้ง ผล หรือ วิบาก จากความคุ้นชินเดิมในแง่ของการเข้าไปกระทำ(กิริยา- กรรม) ที่เรียกว่า กรรมอนุสัย , ความเคยชิน ที่จะทำอะไรๆตั้งแต่มโนกรรม วจีกรรม กายกรรมคือเป็นการทำจนชำนาญ- ชิน- คุ้นเคยที่จะไหล ไม่ว่าจะทำทางไหน จะเป็นกุศล- อกุศล- กลางๆก็ตาม ความเคยชินที่จะทำอะไรๆนี้เรียกว่าเป็นผลจากการที่เคยหลงทำซ้ำ ๆ มาเรื่อยๆ ก็เลยดูเหมือนเป็นนิสัย เป็นบุคลิก บางคนก็ไปหลงผิดเข้าใจว่านี้แหละคือสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา- ของเรา
นัย 2 สังขารโดยความเป็น สิ่งปรุงแต่ง คือ สร้างขึ้น ทำขึ้น ซึ่งต้องประกอบด้วย เจตนา ที่เรียกว่า กรรม หรือเรียกรวมว่า เจตนากรรม(สังขารคือกรรมภพ นับเป็นความเกิดทางใจเรียบร้อยแล้ว) อันที่ปรากฏเป็นปัจจุบันขณะ ยังมีชื่ออื่นอีกเช่น ความจงใจ ความตั้งใจ สังขารโดยนัย 2 นี้เองคือสมุทยสัจ คือยิ่งสร้างมากๆ ยิ่งทำให้มาก ก็คือยิ่งปรุงแต่ง(สังขาร)มาก ผลผลิต ที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เป็น เลือดเนื้อเชื้อไข ของ ความไม่รู้ หรือ อวิชชา ทั้งสิ้น เป็นไปด้วยอำนาจของ โมหะ ความหลง ความยึด ความอยาก (อุปาทาน ตัณหา)
ดังนั้นผลผลิต ที่เนื่องจาก การทำ หรือปรุงขึ้นมาภายหลัง โดยเฉพาะหากเนื่องมาจากความ จงใจ (นี้หมายถึง เรื่องของจิตใจ ที่ขอยืมภาพมาใช้ว่า ปฏิบัติธรรม ไม่เกี่ยวกับเรื่องสมมติภายนอก) ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเรียกว่า ธรรมะ เช่น สติ สมาธิ ฌาน ญาณ ปัญญา ก็ล้วนแล้วแต่มีตัณหา–อุปาทาน (สมุทยสัจ) เคลือบ - คลุมสอดไส้ตลอดสาย นั่นเอง คือตัวปฏิบัติที่ใช้ความจงใจ- เจตนามาก-น้อย ขนาดไหนก็ตาม ก็หมายถึง การเจริญสมุทัยหรือเหตุแห่งทุกข์ควบไปด้วย แทนที่จะละสมุทัยดังที่องค์พุทธะมหาโพธิสัตว์ ได้ชี้ทางไว้
สิ่งปรุงแต่งที่เรียกว่า การปฏิบัติทำนี้ร้ายกาจที่สุด เพราะมีตัณหา – อุปาทานที่แฝงซ่อนมากับสิ่งที่เรียกว่า ปฏิบัติ เช่น การกำหนด การตามรู้ – ตามดู – เฝ้ารู้ – เฝ้าดู สังเกต ประเมิน ทบทวน หรือแม้แต่การพิจารณาก็ตาม ล้วนเป็นการหลงให้ค่าให้ความหมาย ซึ่งเป็นเนื้อหาของตัณหา อุปาทานทั้งสิ้น เป็น ตัณหาในธรรมะ อุปาทานในธรรมะ อันนี้ไม่จบ ดังนั้น เพื่อไม่ให้ หลง เป็นเหยื่อ ที่จะสืบสาน ภพ–ชาติไม่รู้จบสิ้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(อริยมรรค) จึงให้ตรงต่อ ไม่...อยู่แล้ว ให้ดีๆ นี้คือ ทางสายเอก ซึ่งเป็นความจบของสภาวะเองอยู่แล้ว มิใช่สิ่งที่ต้องดำเนินหรือการเจริญ (งม)ทางไปเรื่อยๆแล้วคิดว่า เข้าใจว่า เชื่อว่า คาด(เดา)ว่า จะถึงความจบ...หาเป็นเช่นนั้นไม่
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(อริยมรรค)
มรรคเพื่อเป็นทางออกจากทุกข์(ระวังภาษานะ) คือ ไม่ทำ หรือ ยุติทำ บัญญัติที่ว่าปฏิบัติ ไม่ได้หมายถึง การสร้าง หรือ ปรุง แต่ง ทำ เพราะอะไรจึงว่า มรรคที่แท้ คือ ไม่ทำ เพราะโดยการปรากฏขึ้นของสิ่งที่เรียกว่า กิเลส ตัณหา อุปาทาน = สมุทัย (ผลของความเคยชิน – อนุสัยเก่าๆ = วิบาก) นั้น เขาจะหลอกหรือยั่วยวน เชิญชวนให้เรา ทำ = กรรม(ต่อ)คือไม่ตัด ไม่จบ ซึ่งตรงจุดนี้ก็คือ การหลงมีเจตนา หรือเป็นความหลง-เกิด-ความจงใจ
ณ จุดที่ผู้คนเป็นอยู่นี้ จะมีความหลงในการทำเกือบตลอดเวลา โดยเฉพาะความจงใจทางใจ คือ มโนกรรม เนื่องเพราะความไม่รู้สัจธรรม มีความอยาก ความยึด ก่อให้เกิดเจตนากรรม เรื่อย ๆ ไป เป็นการสืบต่อภพชาติ(สันตติ) โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น การจะพ้นจาก
สังสารจักรนี้ได้ คือ การยุติเจตนากรรม ที่เรียกว่า ไม่ทำ (ยุติทำ) ซึ่งการยุติทำนี้ จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ จิตใจนั้นต้องเข้าใจและซาบซึ้งต่อความเป็นจริงของทุก ๆสภาวะที่กำลังปรากฏอยู่
เมื่อ“ยุติทำ” ก็เท่ากับยุติการส่งผลของตัณหา–อุปาทาน ทำให้ตัณหา–อุปาทานฝ่อ – หมดอิทธิพลหรือจืดไปเรื่อยๆ อันนี้แหละที่ท่านกล่าวว่า “ ขันติคือความอดกลั้น(ตบะ) เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง” ขันติในที่นี้หมายถึงปัญญา คือเข้าใจหรือสัมมาทิฐินั่นเอง
เมื่อมีการกระทำเกิดขึ้น ก็เริ่มที่ มโนกรรม สืบเนื่องเป็น วจีกรรม หรือ กายกรรมแล้วก็ต้องมี ผลของกรรม ที่เรียกว่า วิบาก ตามมาให้ต้องเสวยอีก และแน่นอนว่า วิบาก นั้นคือ ขันธ์ อันหมายถึงกองทุกข์ คำว่าวิบากโดยเนื้อหาจริงๆก็คือ ลำบาก จะหยาบ - ละเอียดก็เป็นเพียงดีกรีของความลำบากคือกัน ลำบากมาก – ทุกข์มาก หมายถึง สุขน้อย วิบากน้อย ลำบากน้อย- ทุกข์น้อย หมายถึง สุขมาก แต่ขึ้นชื่อว่าผลของกรรม หรือวิบากจะรูปแบบไหน ก็เป็นแค่ลีลา หรือลวดลาย ของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เท่านั้น มิใช่สิ่งที่เรียกว่าอมตะ คือ ทุกข์ก็มีอายุรกรรม, สุขก็มีอายุรกรรม กลางๆเฉยๆก็มีอายุรกรรม ล้วนเป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จึงไม่สมควรเลยที่จะไปเพลิดเพลิน จมปลักหรือดิ้นรน ไขว่คว้าเพื่อให้มี ให้เป็น ให้ได้อะไรๆ ทั้งหลายทั้งปวง หรือ ปฏิเสธ ปฏิฆะ ต่อต้าน ผลักใสอะไรๆให้เหนื่อยฟรี!
ตรองดูดีๆเถิดนะ...
ว่าง
ว่าง หมายถึง ความไม่มีอะไร(ที่แท้) การ มี อะไร จึงเป็นเพียงสิ่งอุปโลกน์ขึ้นเท่านั้น ความว่าง – ความไม่ทุกข์ – วิมุติความหลุดพ้น, ความไม่ยึดติด ,ความดับลงของตัณหา – นิโรธ – นิพพาน – ศานติ - ไกวัล – วิโมกข์ ล้วนมีเนื้อหาเดียวกัน
ไม่ใช่อะไร ถ้าใช่ นั่นก็ไม่ใช่ว่าง เรียบร้อยแล้ว แต่จะกลายเป็นเป้าให้อุปาทานได้ที่ยึดเกาะทันที
อย่าไปทำ หรือไปสร้าง ว่าง ขึ้นมา เพราะการทำหรือสร้าง นั่นก็หมด “ว่าง” ไปเสียแล้ว เลย “ว่าง” ไปเสียแล้ว( เข้าใจคำว่า “ เสียแล้ว” หรือเปล่าล่ะ!)
ว่าง ไม่มีเนื้อหาของการ คอยอยู่ ไม่ว่าจะคอยอยู่กับสิ่งใด กายหรือจิต – ทุกสภาวะแม้แต่จะ คอยอยู่กับว่าง เองก็ตาม เพราะเมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็ไม่ว่างอีกต่อไป
อย่ารักษา ว่าง เพราะการรักษาก็หมด ว่าง ไปแล้ว มีแต่เนื้อหาของโมหะ (มีอัตตาจอมปลอม)ตัณหา – อุปาทานแทนที่อีกต่างหาก
เจตนากรรม – การกระทำ – เงื่อนไข – ข้อแม้ – จะ – จ้อง – ต้อง – ตั้ง – เพ่ง – ทรง – ดำรง – ประคอง – ระแวง – ระวัง – รักษา – รอ – คอย – ค้นหา – แสวงหา – ควานหา -ห่วง – หวง – เฝ้า – จม – งม – สาระวน – หมกมุ่น – ฝักใฝ่ – ปรารถนา – ฉันทะ – เพียร – พยายาม – มุ่ง – มั่น – จดจ่อ – กำหนด ล้วนแต่เป็นเนื้อหาของความวุ่นวายหรือลวดลายจากตัณหา – อุปาทาน – อวิชชา ทั้งสิ้น มิใช่เนื้อหาของความนิรทุกข์ – ว่างอยู่แล้ว
ว่าง มี อยู่แล้ว เป็นความสมบูรณ์พร้อม ทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นเพียงภาพ (ภาวะ) สะท้อนของ ว่าง เท่านั้น อย่าหลงงมเงากันอยู่เลย
ว่าง เป็น สัจจะ ของทุกธาตุ – ขันธ์ คือ ความไม่ยึดติด ปราศจากความเป็นอะไร...ที่จริงแท้ เป็นก็เพียงแต่ชั่วคราวจึงเรียก ว่า ว่างอยู่แล้ว กล่าวได้เลยว่า ความว่างรองรับสังสารวัฏ
อย่าหาว่าง ,อย่าทำว่าง อย่ายึดว่าง อย่าติดว่าง อย่าอยู่กับว่าง
อย่าแช่กับว่าง อย่าเอาว่าง ถ้าเป็นเช่นนั้น มันก็พ้น , เลย หรือ เกิน “ว่าง” เรียบร้อยแล้ว
ความว่าง ปราศจากเหตุ – ปัจจัย ไม่เนื่องด้วย... อย่าไป วุ่นวาย
สร้างความว่าง รักษาความว่าง เอาความว่าง เสาะหา ความว่าง
“ว่าง” สมบูรณ์ด้วยตัวว่างเองอยู่แล้ว อย่าได้วุ่นวายไปกับ
การ “ปรับ” , “ปรุง” , “ตัด” , “แต่ง” , “ต่อ” , “เติม” , “เสริม” ,
“เพิ่ม”, “ซ่อม” , “แซม” , “แถม” , “ทวง” , “ท้วง” , “หวง” ,
“ห่วง” , “โหย” , “หา” , “คว้า” , “ไขว่”... นั่นแหละ หมดเนื้อหา
ของ “ว่าง” ไปแล้ว
ว่างมีเนื้อหาที่ตรงกัน คือ ไม่...อยู่แล้ว หรือความไม่ยึดติดอยู่
แล้ว , ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ก็ตรงต่อดับอยู่เองแล้ว วางเอง ว่างเอง
ว่างไม่อาจจัดได้ว่าเป็นอะไร ไม่เนื่องด้วยวิถี วิธีการ หรือการปฏิบัติใดๆ
กิเลส คุณรู้จัก มัน ดีหรือยัง
คนทั่วไป รู้จัก กิเลส แต่ ชื่อ ส่วนเนื้อหาของ กิเลส จริง ๆ กลับไม่เข้าใจ
รับรู้จน “ฝังใจ” ว่ากิเลสไม่ดี , ตอกย้ำแบบ “ไม่เข้าใจ” จนกระทั่ง “เกลียดชัง” อคติ , ปฏิฆะต่อกิเลส, ผู้ที่ยังหลงอยู่นั้นต้องการหนี ต้องการละ ต้องการกำจัด สิ่งที่เรียกว่ากิเลส ทั้งที่ไม่รู้จักหน้าตามันจริงๆเสียด้วยซ้ำ
เราต้องเข้าใจว่า กิเลส ก็มีธรรมะ มีสัจจะของสภาวะเหมือน ๆ กัน คือ ดับกันเอง, หลุดกันเอง ,ไม่ยึดติดตัวมันเอง วางตัวมันเองอยู่แล้ว , ไม่ใช่อะไรจริง ๆ อยู่แล้ว นี้เรียกว่า มีธรรมะในกิเลส หรือ โดยสัจจะแล้วพระแท้ –มารแท้ ก็ไม่มี ท่านจึงกล่าวไว้ว่า พระกับมาร คืออันเดียวกัน มีแต่โมหะทิฐิ ที่ตอกย้ำ – ชี้นำ ให้เกิดคติ – อคติ ชอบไม่ชอบ เอา-ไม่เอาอะไรๆ
เมื่อ “ยึด” “กิเลส” ว่า ไม่ดี
พวกหนึ่งก็จะรู้สึก - สะใจที่ได้เป็นคนชั่ว , มั่วกับกิเลส
- ตอกย้ำความต้อยต่ำว่าตัวเองมีกิเลสตัณหามาก แถมปัญญาน้อย
พวกหนึ่งก็จะรู้สึก - look down พวกมีกิเลส
- “ยึด” “ธรรมะ” รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่า ,
สูงส่งกว่า
เอาเข้าจริง ๆ ก็ “ติด” คือกัน มีกิเลสก็ติด - ไหลตามกิเลสเรียก ปฏิบัติกิเลส ทำกรรมต่างๆ ไปตามอำนาจของกิเลส เมื่อเข้าใจว่าตนเองมีกิเลสเยอะยังไม่มีธรรมะ ก็เลยดิ้นรนแสวงหาธรรมะ , สร้าง – ปรุง – แต่ง –ธรรมะขึ้น ไม่รู้ว่าอาการเช่นนั้นเป็นการ เอากิเลสไปปฏิบัติ(ทำ)ธรรม ต่อเมื่อมีธรรมะ(ตามที่คิด)ก็ยึดติดธรรมะเรียกว่า กิเลสในธรรม
เนื้อหา “ติด” ก็เท่ากับ “ยึด” ไหนเลยจะพ้นจากอำนาจ
“ตัณหา – อุปาทาน” , “อวิชชา”
กิเลส ไม่มีอยู่จริง ชื่อนี้ถูกสมมติขึ้น เพื่อใช้ เรียก “สิ่งใด” ก็แล้วแต่ที่ “ขัดแย้ง” ต่อความเป็นจริงหรือสัจธรรม มันเป็นแค่ความหลงผิดเข้าใจผิดเท่านั้น
ผล ของการไป “ขัดแย้ง” ต่อ “ความเป็นจริง” ก็คือ “ทุกข์” , “ท่าน” จึงเรียกเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ว่า “กิเลส” โดยสัจจะ ทุกสภาวะแปรเปลี่ยนตลอด แต่ด้วยความไม่รู้ จึงหลงอยาก หลงยึด หลงพยายามจะให้คงที่ ทุกสภาวะไม่ใช่อะไรที่จริงแท้ แต่หลงอยาก หลงยึด หลงพยายามจะให้เป็นจริงเป็นจัง ก็เลย “ทุกข์ฟรี”
พระพุทธองค์ •“แสดงเหตุ” ของการเกิดทุกข์ไว้ คือ “ตัณหา” “อยาก”
“ไม่อยาก” เรียกว่าทุกขสมุทยสัจ นี้แหละ “กิเลส” ตัวจริง
• แสดงญาณทัสสนะไว้ว่า
1. รู้ว่านี้คือ เหตุของการ “เกิด” ทุกข์ คือ ดังนี้
2. รู้ว่ากิจต่อเหตุของการ “เกิด” ทุกข์ คือ “ละ”
3. รู้ว่ากิจต่อเหตุของการ “เกิด” ทุกข์ คือ “ละ” ได้ “ละ” แล้ว
• ความเข้าใจอันดับแรกในเรื่องสมุทยสัจ ก็คือต้องรู้จัก “หน้าตา” “เนื้อหา” หรือ “อาการแสดงออกของ” กิเลส(ตัณหา อุปาทาน)ว่าเป็นอย่างไร มีเล่ห์เหลี่ยมที่แนบเนียนแพรวพราวเพียงใด , โดยเฉพาะที่จะแฝงมาอยู่ในรูปของการปฏิบัติธรรมได้อย่างไร มิฉะนั้นก็จะได้แต่รูปแบบปฏิบัติ-ทำ แต่เนื้อหากลับกลายเป็นการเจริญเหตุของทุกข์ไปเสียแทน
• ส่วนการ “ละ” นั้นไม่ใช่การ “กระทำ” มิใช่กิริยากรรมแต่เนื้อหาที่แท้ คือ “ไม่สนใจ” “ไม่ยุ่งด้วย” “ไม่เกี่ยว-ไม่ข้องด้วย” เรียกว่า “ไม่(แตะ)ต้อง”กับสภาวะนั้น ๆ เพราะมีความเข้าใจที่ตรงต่อความเป็นจริงรองรับ ที่เรียกว่า สัมมาทิฐิ
“หน้าตา”, “เนื้อหา”, “อาการแสดง” ของ “ตัณหา – อุปาทาน” = “กิเลส” = ทุกขสมุทัยสัจ คืออย่างไรเล่า เราต้องแยบคาย , สำเหนียก , สำนึก ,เอะใจ,เฉลียวใจเรื่องนี้ให้ดี ๆ
คนทั่วไปเมื่อสนใจธรรมะ ก็มุ่งแต่จะ “ยึด” “in” “เอา” “หา” “ทำ” “สร้าง”
“สะสม”“รักษา”ซึ่งศีล, สติ, สมาธิ, ปัญญา, ฌาน, ญาณ เพราะ “เข้าใจว่า”
ถ้ามีสติ , ศีล , สมาธิ , ปัญญา , ฌาน , ญาณ(อย่างที่หลงเข้าใจ) เมื่อมีแล้วจะช่วย “กำจัด” “กิเลส” ได้แต่ “ตามความเป็นจริง” แล้ว “ไม่มีอะไร” จะไป “ทำอะไรๆ” ได้จริงเลยซักอย่างเพราะทุกอย่าง หลุดกันเองอยู่แล้ว กิเลสก็หลุด ,ธรรมะก็หลุด เหมือน ๆ กัน มีสัจจะอันเดียวกัน สิ่งเหล่านั้นมีไว้ก็เพียงแค่ “กันหลง”อนุสัย-ความคุ้นชินที่จะวนเวียนมาหลอกหลอน(ให้เอา-ไม่เอา,ให้หนี-ให้สู้,ให้มีคติ-อคติ...) ไม่ใช่แบกไว้ทรงไว้หรือไปเจริญมัน
“ ความเข้าใจผิด ๆ ” ก็นำไปสู่ “การกระทำ” = “กรรม” คือ เจตนาไปทำรู้ ทำดู ทำเห็น อาการที่ไปทำขึ้นอาทิเช่น อาการคอย-คอยรู้, อาการเฝ้า-เฝ้ารู้, อาการตาม-ตามรู้, เจตนาสร้างวิธีการ - เครื่องมือที่จะไปทำการละ , ทำการปล่อยวาง, กำจัดสิ่งซึ่งไม่มีอยู่จริง สิ่งที่ดับด้วยตัวเอง –วางเอง - ว่างอยู่เองแล้ว ท่านจึงเรียกว่า โมหะกรรม กรรมกิเลส เพราะมีผลคือเกิดความทุกข์ยาก ลำบากไปซะเอง ดังแผนภาพ
คอยรู้ , คอยดู
ตามรู้ , ตามดู , เหลือบดู ,
แลดู , เหล่ดู
กำหนด , จะ , จ้อง , ต้อง ,
ตั้ง ,แก้ไข, ปรับ , ปรุง , ตกแต่ง ,
ต่อ , เติม , ซ่อม , แซม ,
แถม , ทวง , ท้วง , หวง ,
ห่วง , โหย , หา ,ไขว่, คว้า ,
โหวงเหวง,
เคว้งคว้าง
สอดส่อง , สอดส่าย ,
ทรงอาการรู้ , ดำรงอาการดู
เมื่อสนใจ(ใจถูกสนตะพาย)
ทั้งเริ่มจากเกิดเองแล้วไหลตามไปหรือ
เจตนาสนใจตั้งแต่แรก
• ความหมายก็จะเริ่มปรากฏ
ขบวนการในการเกิด
ทั้งหมดเริ่มที่ “สนใจ”
* ความเห็น ความหมายต่าง ๆ
เกิดตามมา เพราะการหลงสนใจ
หลงใส่ใจเนื่องจาก ไม่รู้(อวิชชา)
ความเป็นจริง(สัจจะ)ของสรรพสิ่ง
ให้เราเข้าใจ “ความเป็นจริง” ว่าทุกธาตุ, ทุกขันธ์
ไม่มีความหมายโดยตัวของมันเอง, มันไม่ใช่สิ่งที่พยายามจะเป็นอะไร แม้แต่จะเป็นตัวมันเอง
ไม่มีเจตนาที่จะย้อนกลับมาดูตัวเอง หรือมากำหนดตัวมันเอง ไม่ต้องพูดถึงการมีเจตนาหรือความจงใจที่จะไปดู หรือไปกำหนด ธาตุอื่น, ขันธ์อื่น
มันไม่ต้องการอะไร ไม่เอาอะไร แม้แต่ สติ สมาธิ ปัญญา เพราะมันมีความดับของมันอยู่เองแล้วโดยบริบูรณ์ ไม่ขาด-ไม่เกินแม้แต่น้อยนิด มีแต่ความหลงเท่านั้นที่ว่า-ไม่พอ
การกระทำที่ไม่ตรงหรือสอดคล้องต่อสัจจะ ล้วนแต่เป็นผลจากโมหะ-ตัณหาอุปาทานทั้งสิ้น จึงไม่อาจพ้นทุกข์ได้จริง เพราะตัวกระทำมันเป็นทุกข์ในตัวมันเองอยู่แล้ว นับเป็นความเกิด( ชาติปิทุกขา )ไปเรียบร้อยแล้วที่เรียกว่า “กรรมภพ”และยังมีผลไปกดดันธาตุขันธ์อื่นๆให้ปั่นป่วนเรรวน วุ่นวายตามไปด้วย และที่สำคัญคือเจตนากรรมนั้นจะปิดบัง บิดเบือนความเป็นจริงที่เรียกว่า ธรรมโดยธรรม ให้กลายเป็น กรรมซ้อนธรรม
“ความเข้าใจผิด ๆ” เรียกว่า “มิจฉาทิฐิ”คือความเข้าใจที่ไม่ตรงต่อรหัสนัยของความเป็นจริงของสภาวะอันเป็นความเป็นจริงแท้-ถึงที่สุด หรือ รู้บางส่วน รู้คลุมเครือ นำไปสู่ “การกระทำ”อื่นๆ เรียกว่ามิจฉา...ทั้งหลาย อันเป็นความดิ้นรนทางใจไม่รู้จบ อีกทั้งกลับเป็นการสืบสานโมหะ อวิชชาไปเรื่อยๆ
• แบบโลก ๆ ก็ อยาก ก็ยึดใน ปัจจัย 4 , โลกธรรม 8 ฯลฯ
แบบคนดี ก็มีโมหะ ตัณหา อุปาทานในการทำหน้าที่หรือความดี ก็ต้องได้รับ
ความทุกข์จากการทำหน้าที่หรือการทำดีนั้น
• แบบนักปฏิบัติทำ ก็ดิ้นรนขวนขวาย ตะเกียกตะกาย มุมานะ...ให้ได้ ให้มี
ให้เป็นซึ่งสติ ศีล สมาธิ ฌาน ญาณ ปัญญา งมหาทางพ้นทุกข์ งมหาทางว่าทำอย่างไรจึงจะถูกหรือรอคอยผลงาน คอยความสำเร็จหรือแม้แต่รอคอยการบรรลุธรรม บรรลุพระนิพพาน ช่างน่าสงสารเสียจริงๆ
ก็ไม่รู้หรืออย่างไรว่า การไปทำมันขึ้น หรือความดิ้นรน-รอคอยนั้นเป็นเนื้อหาของความไม่จบไปซะเอง เพียงแค่เลิกหา เลิกดิ้น เลิกทำ ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ก็ตรงต่อความจบของมันเองอยู่เองแล้วเลยทันที ไม่ใช่การทำกิจให้จบ แต่หมายถึงการยุติ(กิจ)กรรม ยุติทำ