Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...

วิถีสู่ชีวิตแห่งความพอเพียง => เกษตรทางเลือก => เพอร์มาคัลเจอร์ => Topic started by: Smile Siam on 29 December 2012, 08:07:21

Title: เพอร์มาคัลเจอร์ #6 : การกักเก็บน้ำฝน
Post by: Smile Siam on 29 December 2012, 08:07:21
เพอร์มาคัลเจอร์ #6 : การกักเก็บน้ำฝน


ต่อเนื่องจากบล็อกที่แล้ว  ที่ดินของผมมีปัญหาเรื่องแล้งในฤดูหนาว และฤดูร้อนโดยเฉพาะด้านบนของที่ดินที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำ  ถึงแม้นว่าจะมีอ่างเก็บน้ำอยู่ตรงปลายที่ดินด้านที่ต่ำ  แต่น้ำในอ่างเก็บน้ำมีไว้สำหรับใช้กับพื้นที่ของชาวบ้านถึง 500 ไร่  และเนื่องจากความไม่แน่นอนของปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี อาจจะมีปัญหาน้ำไม่เพียงพอในปีที่ฝนตกน้อยเป็นพิเศษ

นอกจากนั้นการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำด้านล่างไม่ใช่ทางออกที่ถาวรตามแนวคิดของเพอร์มาคัลเจอร์เนื่องจากต้องอาศัยพลังงานในการปั๊มน้ำขึ้นไปรดน้ำต้นไม้  ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วธรรมชาติได้นำพาน้ำขึ้นไปด้านบนของที่ดินในรูปแบบของฝนแล้วทุกปีในฤดูฝน  แต่เราบริหารจัดการน้ำไม่ดีพอ ปล่อยให้น้ำลงมาด้านล่างโดยไม่มีการจัดเก็บ  ทำให้ต้องมาแก้ปัญหาที่ปลายเหตุคือต้องทำระบบไฟฟ้า ระบบปั๊มน้ำ ระบบท่อส่งน้ำ ระบบสปริงเกอร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นทั้งค่าใช้จ่าย และทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องสูญเสียไปโดยไม่จำเป็น  แถมยังมีค่าบำรุงรักษาในระยะยาวสูงเนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ มีอายุการใช้งานไม่กี่ปี

เมื่อพิจารณาว่าน้ำฝนที่ตกมาหายไปไหน  จะเห็นว่าน้ำส่วนแรกจะระเหยเป็นไอน้ำ (evapotraspiration) ส่วนที่สองจะไหลไปตามพื้นผิว (runoff) จากที่สูงไปยังที่ต่ำ อาจจะไปลงระบบระบายน้ำ สระ คูคลอง แม่น้ำ หรือทะเล  ส่วนที่สามจะซึมเข้าไปที่ผิวดินตื้นๆ (shallow infiltration) และส่วนสุดท้ายจะซึมลงใต้ดิน (deep infiltration)  จากผลการศึกษาของ Fisrwg ใน ค.ศ. 1998 จะเห็นว่าสัดส่วนที่ไปของน้ำฝนแตกต่างกันดังนี้

(http://img7.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167460461e82d26a5418894e6ff4a288f758d12a.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746046&showlnk=0)

A. พื้นที่ในเมืองใหญ่ที่มีพื้นที่ที่น้ำซึมไม่ได้ (เช่น พื้นถนนราดยาง พื้นคอนกรีต บ้าน อาคาร ) ประมาณ 75-100%

(http://img1.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746045da98624ea699486672ccc2b84af29086.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746045&showlnk=0)

B. พื้นที่ในเมืองต่างจังหวัดที่มีพื้นที่ที่น้ำซึมไม่ได้ประมาณ 35-50%

(http://img6.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167460440ad55225b4a9761e0b59baf3ec554108.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746044&showlnk=0)

C. พื้นที่ในชุมชนต่างจังหวัดที่มีพื้นที่ที่น้ำซึมไม่ได้ประมาณ 10-20%

(http://img7.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746043ef687856ae1eeffbcf983f6b125ee269.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746043&showlnk=0)


D. พื้นที่ตามธรรมชาติ (เช่น ป่าไม้ พื้นที่ทำการเกษตร)

เราจะเห็นว่าน้ำฝนที่ตกในพื้นที่เมืองจะสูญเสียไปกับการไหลไปตามพื้นดิน (runoff)มาก และมีการซึมลงใต้ดินในปริมาณที่น้อยกว่า ทำให้เราสูญเสียน้ำที่ไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์มากกว่าพื้นที่เกษตร  ทำให้สังคมเมืองต้องใช้พลังงานมากในการนำน้ำที่สูญเสียไปกลับมาใช้งานใหม่ทั้งโดยระบบประปา ระบบปั๊มน้ำ ระบบท่อ และอีกหลายๆ ทรัพยากรที่ต้องใช้เพื่อให้มีน้ำมาใช้งาน

ตามหลักเพอร์มาคัลเจอร์แล้วการเก็บน้ำไว้ใช้ในที่ดินจึงเป็นเรื่องที่่ควรทำอย่างยิ่ง  การเก็บที่ผิวดินเป็นวิธีการแรกๆ ที่เราจะนึกถึง เช่น สระน้ำ แต่วิธีการนี้จะมีอัตราการระเหยของน้ำสูง  ทำให้ระยะเวลาที่เราจะกักน้ำไว้ในที่ดินของเราจะสั้นกว่า  ส่วนการขุดบ่อ หรือขุดน้ำบาดาลมาใช้เป็นการเบียดเบียนธรรมชาติ เพราะเรานอกจากไม่ได้ช่วยเพิ่มศักยภาพการกักเก็บน้ำ  เรากลับไปเอาน้ำที่ธรรมชาติเก็บรักษาไว้มาใช้งาน

ดังนั้นเพอร์มาคัลเจอร์จึงสนับสนุนการเสริมเก็บน้ำไว้ใต้ดินทั้งแบบ shallow และ deep infiltration ไว้ในที่ดินของเราเอง  เพราะน้ำที่เก็บไว้ในใต้ดินจะสามารถอยู่ได้หลายสัปดาห์ ถึงหลายเดือนหลังจากที่ฝนตก  เราจะเห็นว่าพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งมีน้ำซึมลงใต้ดิน (infiltration) ปริมาณมากจึงมีน้ำใต้ดินไว้เลี้ยงต้นไม้ให้เขียวตลอดหน้าแล้งทั้งๆ ที่ไม่มีฝนตกเลย   สำหรับภูมิอากาศแบบ wet-dry อย่างในประเทศไทย  ซึ่งจะมีฝนทิ้งช่วงในฤดูหนาว และฤดูร้อน  และ 60% ของฝนจะไปตกเฉพาะช่วงฤดูฝน  จึงสมควรใช้กลยุทธ์การเพิ่มการจัดเก็บน้ำไว้ใต้ดิน (อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับบางพื้นที่ของภาคใต้มีฝนตกทั้งปี และมีปัญหาดินโคลนถล่มรุนแรง) เพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำในหน้าแล้ง

การปลูกต้นไม้แบบผสมผสานเป็นวิธีการนึงที่จะช่วยการสูญเสียของน้ำ และเพิ่มการจัดเก็บน้ำไว้ใต้ดินดังนี้

- น้ำที่ซึมลงดินจะถูกดูดซึมเข้าไปใช้ในต้นไม้ทำให้ลำต้นและใบของต้นไม้ทำหน้าที่เสมือนที่เก็บน้ำเพิ่มเติมจากการเก็บน้ำไว้ใต้ดิน  (ประมาณ 5-15% ของน้ำหนักต้นไม้คือน้ำ)

- น้ำส่วนเกินที่อยู่ใกล้ๆ รากจะถูกเก็บได้มากกว่าดินธรรมดา  โดยจะถูกอุ้มไว้เป็นเหมือนเจลใกล้ๆ ราก  ทำให้อุ้มน้ำได้ดีกว่าดินที่ไม่มีต้นไม้เลย

- ต้นไม้ที่มีระบบรากลึก จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำที่ซึมลึกลงไปใต้ดิน (deep infiltration) ซึ่งน้ำที่เก็บอยู่ใต้ดินจะสามารถอยู่ได้หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือนก่อนจะหมดไป

- ร่มเงาจากใบไม้ และคุณสมบัติอุ้มน้ำของกิ่ง/ใบไม้ จะช่วยลดอัตราการระเหยของน้ำจากความร้อนของแสงแดด หรือลม

- ใบไม้ที่ร่วงมาปกคลุมพื้นดินจะช่วยสร้างฮิวมัส  ซึ่งดินที่มีฮิวมัสมากจะอุ้มน้ำได้ดีกว่าดินที่มีอินทรีย์วัตถุน้อยๆ

- เมื่อฝนตกจะกระทบกับใบไม้ก่อนจะค่อยๆ ไหลลงดิน ทำให้แรงของน้ำที่กระทบกับพื้นดินลดลง  ทำให้ดินมีความแน่นน้อยกว่าดินที่ไม่มีต้นไม้คลุมอยู่  เมื่อดินมีความโปร่งมากก็จะทำให้น้ำซึมลงใต้ดินได้มากขึ้น

ยังมีคุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์อีกมากที่อธิบายได้ว่าต้นไม้ช่วยลดการสูญเสียของน้ำได้อย่างไร  จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เราจะต้องปลูกต้นไม้ไว้หลากหลาย และปริมาณเยอะๆ ในหลักของเพอร์มาคัลเจอร์  แต่นอกเหนือจาการปลูกต้นไม้แล้วยังมีเครื่องมืออื่นๆ ที่เราจะช่วยเร่งการทำงานตามธรรมชาติเพื่อเพิ่มปริมาณการจัดเก็บน้ำไว้ใต้ดิน เครื่องมือหนึ่งที่จะแนะนำวันนี้คือ ร่องชะลอน้ำ (swale)

ร่องชะลอน้ำ (swale) จะช่วยนำน้ำที่ไหลผิวดิน (runoff water) และส่งน้ำให้ซึมลงใต้ดิน  ช่วยทำให้พืชเจริญงอกงาม และลดการชะล้างหน้าดิน  แนวคิดพื้นฐานคิดทำให้น้ำไหลช้าที่สุดโดยขุดร่องที่มีระดับเท่ากันเพื่อให้น้ำมีเวลาในการซึมลงใต้ดิน ถ้าน้ำฝนตกมากจนน้ำล้นร่องให้ไหลไปยังร่องชะลอน้ำถัดไป  โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้ (อาจจะเหมาะสำหรับที่ดินขนาดตั้งแต่ 1-2 งานขึ้นไปนะครับ)

(http://img6.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167460426e63349aa731d0497b2fcf7be136ec8d.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746042&showlnk=0)

1. เลือกพื้นที่ในการขุดร่องชะลอน้ำ (swale) โดยเลือกพื้นที่สูงในที่ดินของเรา หรือพื้นที่ที่ต้องการลดปัญหาการกัดเซาะหน้าดิน  สำรวจหาเส้นระดับ (คือมีระดับความสูงเท่ากัน) และปักแนวร่องชะลอน้ำยาวอย่างน้อย 10 เมตร  การวัดให้ได้แนวระดับเดียวกันอาจจะใช้เครื่องมือ

A. ใช้ท่อใสใส่น้ำแล้วนำไปผูกกับไม้ยาวเท่ากันตามรูปข้างล่าง  ทำเครื่องหมายของระดับน้ำตอนที่ไม้อยู่ติดกัน  แล้วเวลาใช้งานให้คนแรกวางไม้ในแนวดิ่งไว้ที่จุดอ้างอิง และคนที่สองเดินหาจุดที่ห่างออกไปซึ่งเมื่อวางไม้ในแนวดิ่งแล้วจะทำให้น้ำในสายยางได้ระดับเท่ากันทั้ง 2 เสา  จุดที่ทำให้ระดับน้ำเท่ากันจะเป็นจุดที่มีระดับเท่ากัน

(http://img7.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167460418404e3ab98e0a9ae85bed47405e63542.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746041&showlnk=0)

(http://img7.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167460409b8dc39628e4e5a701e8d421b45bf8e1.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746040&showlnk=0)

หรือ B. เฟรมรูปตัว A (A-Frame) ซึ่งมีวัตถุถ่วง (เช่น ลูกดิ่ง ก้อนหิน ขวดใส่น้ำ)  แล้วลองวัดที่พื้นที่ระดับเท่ากัน ให้ทำตำแหน่งของลูกดิ่งไว้ แล้วกลับสลับตำแหน่งของขาทำเครื่องหมายอีกครั้ง  ถ้าพื้นได้ระดับจริงๆ ตำแหน่งทั้งสองจะอยู่ที่เดียวกันเลย  ถ้าไม่ได้ระดับก็จะห่างกันเล็กน้อย  เวลาใช้งานให้ขาข้างนึงอยู่ที่จุดอ้างอิง แล้วหมุนหาจุดที่จะทำให้ลูกดิ่งหยุดนิ่งอยู่ตรงกลางซึ่งจะเป็นจุดที่มีระดับเท่ากับจุดอ้างอิง


2. ในกรณีที่พื้นที่มีความลาดชันมาก อาจจะต้องขุดร่องชะลอน้ำ(swale)หลายร่อง  ซึ่งควรจะต้องให้มีร่องชะลอน้ำซ้อนกันเพื่อรองรับน้ำที่ล้นจากร่องชะลอน้ำด้านบน  เพื่อให้น้ำไหลช้าที่สุด

(http://img1.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167460397c6545dd9eda20ae7eafcd4827e37284.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746039&showlnk=0)

3.ลงมือขุดร่องกว้างอย่างน้อย 50-150 เซนติเมตร และมีความลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตรให้เอาดินที่ขุดมากองเป็นคันดินทางด้านที่ต่ำกว่าด้านเดียว  เพื่อให้คนดินทำหน้าที่กั้นน้ำ โดยเราสามารถปลูกพืชบนคันดินนี้ในภายหลังเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของคันดิน

(http://img5.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746038b35cf0056e0629735b8394c94eea0342.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746038&showlnk=0)

ข้อสำคัญคือด้านล่างของร่องจะต้องได้ระดับเดียวกัน  มิฉะนั้นจะกลายเป็น"ร่องระบายน้ำ" ไม่ใช่"ร่องชะลอน้ำ" และอย่าอัดดินในร่องจนแน่นแข็ง หรือลงไปเหยียบในร่อง เพราะเราต้องการให้น้ำซึม ไม่ใช่น้ำขัง ซึ่งแตกต่างกับการขุดสระ หรือขุดร่องระบายน้ำ

4. เพื่อรักษาระดับความลึกของร่อง และให้ร่องมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำลงใต้ดิน  เราจะใส่วัสดุอินทรีย์ที่อุ้มน้ำและย่อยสลายช้า เช่น ใบไม้แห้ง, กิ่งไม้, ขี้เลื่อย  ลงไปในร่องให้เต็ม  ถ้าเราไม่ใส่วัสดุพวกนี้เข้าไปน้ำฝนจะพัดเอาดินจากด้านบนมาลงร่อง  ทำให้ร่องตื้นเร็วกว่า

(http://img7.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746037370a1b27b1ef962d9a1966a4164ba727.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746037&showlnk=0)

5. หาวัสดุคลุมดิน เช่น ฟาง หรือหญ้าแห้งคลุมกิ่งไม้อีกชั้น เพื่อรักษาความชื้นในร่องชะลอน้ำ

(http://img9.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746401d284e1eda971bd8106c2ea063d5324f7.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746401&showlnk=0)

6. เราต้องระวังไม่ให้น้ำล้นร่องชะลอน้ำตรงๆ เพราะน้ำที่ล้นจะกัดเซาะดินตรงคันที่กั้นน้ำอยู่  จะทำให้คันดินเตี้ยลง หรือพังลงอย่างรวดเร็ว  เราจะต้องทำร่องเล็กๆ ทางด้านข้างให้น้ำน้ำเอ่อล้นไปทางด้านข้างในระดับที่ต่ำกว่าระดับสูงสุดของคันดิน  ถ้าเราขุดร่องชะลอน้ำซ้อนกันตามแนวระดับเหมือนรูปด้านบน  อาจจะทำร่องเล็กๆ เป็นแนวให้น้าล้นจากร่องชะลอน้ำด้านบนลงไปยังร่องชะลอน้ำในระดับที่ต่ำถัดไป  โดยระดับร่องน้ำให้น้ไหลไม่ควรมีความชันเกิน 1% (ถ้ามากกว่านี้จะเริ่มมีการกัดเซาะดินในร่อง)

(http://img5.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746036e9b69b418ce652b4f3d95535dd614d40.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746036&showlnk=0)

บนคันดินของร่องเราควรจะปลูกต้นไม้ช่วยยึดร่องให้แข็งแรง เช่น ต้นกล้วย กระทิน ถั่วพร้า มัน   ถัดจากคัดดินมาทางด้านร่องดินจะชุ่มชื้น  เราจะสามารถปลูกไม้ผล หรือต้นไม้ขนาดใหญ่ได้  ส่วนในร่องชะลอน้ำเองจะถูกท่วมด้วยน้ำในหน้าฝน ถ้าจะปลูกต้นไม้ที่ริมด้านบนควรจะเป็นพืชที่ทนน้ำแฉะๆ ได้ เช่น ออดิบ เผือก   เหนือร่องขึ้นไปอาจจะเป็นพืชที่ชอบน้ำ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง หญ้าแฝก ตะไคร้

ข้อควรระวังคือเวลาไม้/อินทรีย์วัตถุอื่น ที่เราใส่ไปในร่องเกิดการย่อยสลายตามธรรมชาติ (แม้นว่าจะย่อยสลายช้าก็ตาม) จะมีจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ไนโตรเจนอยู่ในร่องมาก และมีสภาพในร่องความเป็นกรดสูง (คล้ายๆ ปุ๋ยหมักที่ยังหมักไม่เสร็จนะครับ)  หากปลูกพืชที่ต้องการไนโตรเจนสูงอาจจะไม่ค่อยงาม มีอาการใบเหลือง  ในฤดูฝนอาจจะมีน้ำขังทำให้พืชที่ไม่ทนน้ำท่วมขังอาจจะมีอาการรากเน่า ควรเลือกปลูกพืชให้เหมาะสม  หรือเว้นพืชที่ในร่องไว้

(http://img9.uploadhouse.com/fileuploads/16746/1674603579afd5eedffcbd2736b071f822a01a7d.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746035&showlnk=0)
 
ส่วนตัวผมยังอยู่ระหว่างการสำรวจพื้นที่เพื่อหาแนวระดับที่จะขุดร่องชะลอน้ำ  และจะค่อยๆ ดำเนินการขุดร่องตามกำลังที่มี  โดยจะเน้นที่บริเวณที่มีปัญหาหน้าดินถูกกัดเซาะก่อนเป็นอันดับแรก  แต่คิดว่าแนวระดับของผมจะไม่ตรงๆ จะโค้งไปโค้งมาคล้ายรูปด้านล่าง

(http://img2.uploadhouse.com/fileuploads/16746/1674603409b186e3bba981162791d641a405e941.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746034&showlnk=0)

ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการทำร่องชะลอน้ำใน 2-3 ปีข้างหน้าคือ

1. ร่องชะลอน้ำจะลดการกัดเซาะหน้าดินจากน้ำฝนที่ตกหนักในฤดูฝน

2. ร่องชะลอน้ำจะดักดินที่ถูกกัดเซาะมาจากด้านบนไม่ให้ไหลไปกับน้ำ เป็นตัวช่วยเพิ่มดินในร่อง

3. ร่องชะลอน้ำจะทำให้เกิด Microclimate (ไม่รู้ว่าจะแปลว่าอะไรดี  มันคือสภาพอากาศเฉพาะที่ที่แตกต่างจากสภาพอากาศโดนรวมของที่ดินเรา) แบบที่มีความชื้นสูง  เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ทั้งด้านบน และด้านล่างของร่องชะลอน้ำ

4. นอกจากร่องชะลอน้ำจะดักตะกอนดินที่ไหลมากับน้ำจากด้านบน  ยังจะมีอินทรีย์วัตุอื่นๆ เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ขนาดเล็ก ที่จะลอยมากับน้ำที่ไหลมาจากด้านบน ลงมาสะสมในร่องชะลอน้ำนี้  ทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมสำหรับธรรมชาติในการสร้างดินขึ้นมาใหม่

ถ้าเพื่อนๆ มีโอกาสทำร่องชะลอน้ำในพื้นที่  และได้ผลลัพธ์อย่างไรก็แวะมาแลกเปลี่ยนกันบ้างนะครับ

http://www.bansuanporpeang.com/node/19541

____________________________________________________________________________
เพอร์มาคัลเจอร์ #6.1 : เริ่มลงมือทำ swale


หลังจากที่เขียนทฤษฎีใน เพอร์มาคัลเจอร์ #6 : การกักเก็บน้ำฝน  ได้ทดลองขุด swale แล้วปรากฎว่าดินแข็งมากๆ จากผลของการที่หน้าดินถูกกัดเซาะ แถมด้านล่างมีหินก้อนใหญ่ๆ กระจายอยู่ทั่วไป  ทำให้ไม่คืบหน้ามากนัก  จึงต้องเปลี่ยนแผนเป็นรอการเข้ามาของรถตักเพื่อจัดทำ swale ขนาดใหญ่ด้วยเครื่องจักรแทน

(http://img5.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746505db0e19b01901a69812a4d02ccee10ff9.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746505&showlnk=0)

(http://img5.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746504bf7e2022e02117383d2658118aea9b94.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746504&showlnk=0)

และแล้วก็ถึงเวลาเครื่องจักรเข้ามาทำงาน เริ่มต้นด้วยการเคียร์พื้นที่ดงกระถิน และวัชพืชด้วยรถไถ  เพื่อความสะดวกในการวัดแนวระดับ

 

ตั้งอกตั้งใจหาแนวระดับในพื้นที่โดยใช้สายยางใส่น้ำ เพื่อกำหนดแนวขุดร่องให้รถตัก  โดยมีระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 10-20 เมตร  โดยพยายามไม่โค่นต้นไม้ขนาดใหญ่ในพื้นที่เดิมเลย  เราไม่ได้เป็นคนกำหนดแนวร่อง ธรรมชาติค่อยๆ เปิดเผยรูปแบบของพื้นที่ให้เราเห็นต่างหาก

(http://img5.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746503039fd773cecdb865acffa7ad861dffcd.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746503&showlnk=0)
(http://img2.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167465025e3c0004514feaf5cb9dab90f14b72fa.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746502&showlnk=0)
(http://img2.uploadhouse.com/fileuploads/16746/1674650102dcb929fb4881a7a153dac8e8766f33.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746501&showlnk=0)

รถตักค่อยๆ ขุดตามแนวระดับที่เราปักไม้เป็นแนวไว้  ร่องจะโค้งอย่างไรขึ้นกับลักษณะของพื้นที่ที่ธรรมชาติเปิดเผยให้เราเห็น


ความจริงต้องหาเศษไม้มาใส่ในร่อง swale  แต่เนื่องจากใช้เครื่องจักรขุดเป็นร่องขนาดใหญ่ที่จะยังไม่ตื้นเขินเร็ว  และหาไม้เยอะขนาดนี้ไม่ได้จึงทดแทนด้วยการปลูกพืชคลุมดิน

พืชคลุมดินที่เลือกคือ พืชตระกูลถั่วสารพัดถั่วที่มีรากยาวเพื่อช่วยเจาะดินที่แข็งมากๆ (ปลูก ถั่วพุ่ม ถั่วปี ถั่วแปบ ถั่วมะแฮะ ถั่วอีโต้ และถั่วครก  โดยมีสปอนเซอร์มาเพื่อนๆ ในบ้านสวนโดยเฉพาะป้าลัด น้องวิศิษฐ์ที่ส่งมาให้มากเป็นพิเศษ)  และมัน (เลือกมันเนื่องจากใบอาจจะเหี่ยวไปตอนหน้าแล้ง  แต่พอได้ฝนก็จะงอกออกมาคลุมดินใหม่ในปีหน้า ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาปลูกซ้ำ) ส่วนในร่องซึ่งจะมีน้ำท่วมขังเวลาฝนตกหนักๆ เป็นเวลา 1-2 วัน เลือกที่จะปลูกเผือกเป็นหลัก ด้วยเหตุผลคล้ายๆ กับที่ปลูกมันทำให้ไม่ต้องปลูกซ้ำในปีถัดไป  จากนั้นก็โรยด้วยเมล็ดปอเทือง (ตระกูลถั่วที่ได้รับแจกจากสถานีพัฒนาที่ดิน) เพื่อแข่งขันกับวัชพืชที่ถูกไถออกไปด้วยความหวังว่าปอเทืองจะโตทันกับวัชพืช

ครั้งหน้าจะตามมาเพิ่มเติมผลของการทำงานของ swale หลังจากที่เริ่มมีฝนตกลงมาว่าจะทำงานได้ตามที่คิดไว้หรือไม่

http://www.bansuanporpeang.com/node/22472

___________________________________________________________________________
เพอร์มาคัลเจอร์ #6.2 : ผลงานของ swale ช่วงเริ่มต้น

(http://img4.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746500fd8c3c08fe550fcdb08005d5911f5f39.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746500&showlnk=0)

ต่อเนื่องจาก เริ่มลงมือทำ swale ภายหลังจากที่ฝนตกลง  Swale ทำหน้าที่ในการกักน้ำ run-off จากถนนได้ดีมาก  swale ด้านบนสุดที่ติดกับถนนท่าทางจะรับน้ำฝนจากถนนมาเยอะ  เป็น swale เดียวที่ยังมีน้ำขังอยู่ทั้งๆ ที่ฝนไม่ตกมา 1 สัปดาห์แล้ว

(http://img1.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167464996040287706ec84eda4635fe11199e3b2.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746499&showlnk=0)

ถ้าสังเกตุใกล้ๆ จะเห็นว่าน้ำใน swale จะถูกแรงดึงผิวดึงน้ำให้ระดับน้ำใต้ดินหลังสูงขึ้นจากระดับน้ำประมาณ 20-30 เซนติเมตร  การปลูกพืชที่มีรากลึกบนเนินเหนือ swale จะช่วยถึงระดับน้ำสูงขึ้นไปกว่าผลของแรงดึงผิวแต่เพียงอย่างเดียว

เรื่องที่น่าอัศจรรย์สำหรับผมคือ น้ำพวกนี้ปกติจะไหลทิ้งไปด้านล่างที่ต่ำกว่า  และต้นไม้ในบริเวณ swale นี้จะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากน้ำเหล่านี้ได้  แต่ผลของ swale ทำให้น้ำจากฝนที่ตกมาในสัปดาห์ที่แล้วเพียงวันเดียว  มีพอให้ต้นไม้ในบริเวณนี้ได้ใช้งานนานกว่า 1 สัปดาห์

(http://img2.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167464984c8048c47167b65a632cfa52dc716322.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746498&showlnk=0)

ถั่วอีโต้จากสาวน้อยมหัศจรรย์  หนึ่งในบรรดาอุปกรณ์ช่วยปั๊มน้ำจาก swale (ถือโอกาสส่งการบ้าน)

(http://img1.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746497bd0834bc57a9b0490d1d058e1bf7a3b5.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746497&showlnk=0)

ถั่วครกจากครูป้าลัด และน้องวิศิษฐ์  (ปลูกไปพร้อมกันเลยไม่รู้ว่าต้นนี้เป็นของครูคนไหน) นี่ก็ช่วยปั๊มน้ำ  แถมยังมีปอเทืองที่กระจัดกระจายอยู่บนเนินช่วยอีกแรง

(http://img4.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167464969610ad0f9c56f1fee9805110dda564c7.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746496&showlnk=0)

ส่วน swale อื่นๆ ไม่มีน้ำขังอยู่ แต่มีร่องรอยของโคลนที่ก้นร่องของ swale เห็นคนงานก่อสร้างซึ่งอยู่ทำงานที่สวนเล่าให้ฟังว่าน้ำค้างอยู่ในร่องประมาณ 1-2 วันก่อนที่จะแห้งไป  ไม่ได้เป็นสัปดาห์เหมือนร่องบนสุด ชลอน้ำไว้สัก 1-2 วันก็ยังดี 

ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นความลับที่ทำให้ swale ร่องบนสุดเก็บน้ำได้นาน คิดว่ามี 2 ปัจจัยคือ 1.swale ด้านบนสุดรับน้ำจากถนนด้วย  อาจจะได้น้ำมากกว่าร่องอื่นๆ และ 2. ลักษณะดินด้านบนเป็นหินน้อยกว่าด้านล่าง  ดินอาจจะไปอุดรอยรั่วต่างๆ ทำให้เก็บน้ำได้ดีกว่าร่องอื่นที่อยู่ด้านล่างลงมา  คงต้องพยายามหาคำตอบต่อไป แต่ที่แน่ๆ swale เริ่มทำหน้าที่ของมัน  ตอนนี้ระบบยังไม่สมบูรณ์ คงยังต้องทำการปรับปรุงเพิ่มเติมในภายหลัง  เป้าหมายคือไม่อยากเห็นภาพข้างล่างนี้ที่สวนอีก (ภาพจากบล็อกเวทีประลองหน้าแล้ง - พืชสวน vs พืชท้องถิ่น)

(http://img1.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746495ffc4f34f0e1fccb07a297ab4ba227ab2.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746495&showlnk=0)

หน้าแล้งปีหน้าจะเป็นบทพิสูจน์ที่แท้จริงของ swale ว่าจะช่วยต้นไม้ให้ผ่านหน้าแล้งได้อย่างไร  ส่วนตัวหวังว่า swale จะเป็นเครื่องมือสำคัญของสวนในการนำพาต้นไม้ให้พ้นภัย  เดี๋ยวหน้าแล้งปีหน้าจะกลับมาเพิ่มเติมข้อมูลของ swale เพิ่มเติมนะครับ

http://www.bansuanporpeang.com/node/22543