Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
วิถีสู่ชีวิตแห่งความพอเพียง => เกษตรทางเลือก => เพอร์มาคัลเจอร์ => Topic started by: Smile Siam on 29 December 2012, 07:53:42
-
เพอร์มาคัลเจอร์ #9 : Hugelkultur
(http://img3.uploadhouse.com/fileuploads/16746/1674639316ec9d52218c59dd43037fff7b0dd30d.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746393&showlnk=0)
จากความพยายามหาแนวทางในการจัดการพื้นที่ในสวนบริเวณที่เป็นหินค่อนข้างมาก ดินแข็ง อินทรีย์วัตถุน้อย และแทบไม่มีดินสีดำๆ ให้เห็นเลย ในบริเวณดังกล่าวแม้นแต่น้องปอเทืองก็งอกน้อยมาก ทำให้ได้ค้นหาเรื่องราวในฟอรั่มของเพอร์มาคัลเจอร์เกี่ยวกับเทคนิคการปรับปรุงดินในพื้นที่ที่เป็นทรายล้วน / หินกรวดล้วน รวมทั้งพื้นที่ทะเลทราย ให้สามารถเพาะปลูกได้ และเมื่อทำต่อเนื่องกันหลายๆ ปีก็ปรากฎหน้าดินขึ้นมาได้ เทคนิคดังกล่าวเรียกว่า Hugelkultur ซึ่งเป็นภาษาเยอรมันแปลว่า mound culture น่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่า วัฒนธรรมเนินดิน ซึ่งฟังดูแปลกๆ และไม่สื่อความหมายมากนัก จึงของใช้ชื่อภาษาเยอรมันว่า Hugelkultur ตามเขาแล้วกัน
Hugelkultur เกิดจากการสังเกตุธรรมชาติว่าต้นไม้ที่ล้ม หรือกิ่งไม้ที่ร่วงในป่าธรรมชาติจะสามารถรักษาความชื้นได้ดีกว่าบริเวณรอบๆ มักจะมีตะไคร่ มอส หรือเห็ดเกาะตามขอนไม้ ในหน้าแล้งดินบริเวณขอนไม้ก็จะมีความชื้นมากกว่าบริเวณอื่นๆ เมื่อไม้ย่อยสลายก็จะทำให้ดินบริเวณใกล้ๆ ขอนไม้มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าบริเวณอื่นๆ เป็นเวลานับ 10 ปีหลังจากที่ต้นไม้ล้มแล้ว หลังจากที่ขอนไม้ย่อยสลายหมดแล้วบริเวณดังกล่าวก็จะกลายเป็นกองดิน (mound)
(http://img4.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167463928ff2b1a755c85c68ceb128d0b8d8e53c.png) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746392&showlnk=0)
ชาวยุโรบตะวันออกจึงพยายามเลียนแบบธรรมชาติด้วยเทคนิคการหมักปุ๋ยโบราณแบบที่เรียกว่า Sheet Composting หรือ Lasagna Composting (ซึ่งเป็นเทคนิคหลักที่ใช้ใน no-dig garden เรื่องนี้ว่างๆ จะมาเขียนบล็อกให้อ่านในภายหลัง) โดยการสุมไม้ที่ไม่ใช้ หรือเศษไม้จากการตัดแต่งกิ่งให้ค่อยๆ ย่อยสลายเป็นปุ๋ย
Hugelkultur กลายเป็นที่นิยมในกลุ่มเพอร์มาคัลเจอร์เนื่องจากนักเพอร์มาคัลเจอร์ชาวออสเตรียที่มีชื่อว่า Sepp Holzer พยายามทำแปลงผักที่ไม่ต้องพรวนดินโดยการใส่อินทรีย์วัตถุที่จะหมักเป็นชั้นๆ (Sheet Composting หรือ Lasagna Composting) แล้วปลูกผักบนกองปุ๋ยหมักไปเลยโดยไม่ต้องรอให้กลายเป็นปุ๋ย (นิสัยขี้เกียจตามสไตล์เพอร์มาคัลเจอร์ ทำครั้งเดียว ใช้ได้นานๆ )
ในประเทศไทยก็มีการทดลองทำปุ๋ยหมักในลักษณะคล้ายกับแบบนี้ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปี 2552 เรียกว่า "การผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง" ของ ผศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร โดยในช่วงแรกปี 2547 เป็นระบบที่ต้องมีท่อเติมอากาศ ต่อมาจึงพัฒนาเทคนิคคล้ายของชาวตะวันตกในปี 2552 กลายเป็นเทคนิคแบบที่ไม่ต้องใช้ท่อเติมอากาศ ซึ่งปัจจุบันเป็นเทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักที่กำลังได้รับความนิยมจากสมาชิกเวปเพื่อนบ้านของเราเป็นอย่างสูง
แต่สิ่งที่ Sepp Holzer ทำจะแตกต่างจากการผลิตปุ๋ยหมัก เพราะในขบวนการหมักเราอาจจะไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณไนโตรเจน ความร้อน หรือความเป็นกรดในกองมากเท่ากับการปลูกพืชบนกองปุ๋ย โดยปกติถ้าเราใส่เศษไม้เข้าไป (มีคาร์บอนสูง) จำนวนมากจะเกิดการดึงไนโตรเจนไปใช้ในขบวนการหมักมาก ทำให้เกิดสภาวะขาดธาตุไนโตรเจนในกองปุ๋ยชั่วคราวแต่ก็มากพอที่จะทำให้พืชที่ปลูกบนกองเหลืองและตายได้ ถ้าเราใส่ไม้เข้าไปน้อยมีปริมาณวัสดุที่มีไนโตรเจนมากไปก็อาจจะทำให้เกิดสภาพเป็นกรดจนพืชตายได้เช่นกัน ความท้าทายที่ Sepp Holzer เจอคือเขาจะต้องระมัดระวังในการผสมสัดส่วนของวัสดุต่างๆ เข้าไปในกองเป็นอย่างมาก ต่อมา Sepp Holzer จึงพยายามประยุต์เทคนิคของ Hugelkultur โดยการใช้ไม้ทั้งท่อน ไม่ต้องย่อยไม้ให้เป็นชิ้นเล็ก หรือเป็นขี้เลื่อยก่อนที่จะไปทำกองปลูกพืช เขาค้นพบว่าการทำแบบนี้จะทำให้เกิดการย่อยสลายแบบช้าๆ ซึ่งอาจยาวนานเป็นสิบปี ทำให้พืชที่ปลูกบนกองนี้ได้รับอาหารอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานมาก และเขาก็ไม่ต้องสนใจเรื่องสัดส่วนของอินทรีย์วัตถุต่างๆ ที่เขาจะเติมลงในกอง และ Hugelkultur กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของเขาในการทำการเกษตรแบบเพอร์มาคัลเจอร์จนเป็นที่โด่งดัง
การสร้าง Hugelkultur สามารถทำได้หลายเทคนิคดังนี้
______________________________________________________________________________
(http://img3.uploadhouse.com/fileuploads/16746/1674639112e44e9d67fde5d00411070e25d6c993.png) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746391&showlnk=0)
ถ้าหน้าดินตื้น, ขุดดินยาก และคุณสามารถหาดินจากที่่อื่นในพื้นที่ หรือจากภายนอกได้ วิธีแรกจะค่อยข้างง่ายที่สุด คือเอาท่อนไม้มากองสุมกันจนสูง แล้วเอาดินที่หาได้มาโรยทับหนาประมาณ 1-2 นิ้ว คลุมด้วยวัสดุคลุมดิน เช่น ฟาง
(http://img1.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746390762d98e071bcb6a67b633f45e4bec89e.png) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746390&showlnk=0)
ถ้าไม่สามารถหาดินจากที่อื่นได้ วิธีที่ 2 คือการขุดดิน (เช่น ขุดลึก 30-60 ซม.) เป็นร่อง แล้วเอาท่อนไม้มากองสุมในร่องที่ขุด จากนั้นโรยดินที่ขุดทับกองไม้อีกครั้ง
วิธีนี้คล้ายๆ วิธีที่ 2 แต่จะขุดร่องข้างๆ กองเพื่อให้น้ำไหลลงร่องนี้ในช่วงที่ฝนตก และเอาดินในร่องข้างๆ ไปใส่บนกอง Hugelkultur ด้วย
(http://img9.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746389b5fc6f6b6480f1f57c9fa0c468384efe.png) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746389&showlnk=0)
ส่วนรูปทรงของกอง Hugelkultur สามารถทำได้หลายอย่างขึ้นกับลักษณะของดิน ปริมาณท่อนไม้ และวัสดุอื่นๆ ด้วย เช่น
(http://img1.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746388bf097c5defa0c285dad166fe6a0ce316.png) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746388&showlnk=0) ทรงปกติ
(http://img6.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167463878ae7483c6079b368ce1a3166a232202b.png) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746387&showlnk=0) ทรงผอมสูง
(http://img6.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167463865af48abf207492701d93c3e26de7523b.png) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746386&showlnk=0) ทรงสามเหลี่ยม
(http://img5.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167463854c79f1ab2d000dbaabeb1ba19633ec8e.png) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746385&showlnk=0) แบบกั้นขอบด้วยหินขนาดใหญ่
(http://img3.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167463844ce76002fb6d51b52e6e3ff0f43d4805.png) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746384&showlnk=0) แบบกั้นขอบด้วยท่อนไม้
ตัวอย่างภาพการทำกอง Hugelkultur แบบที่ 2 (แบบขุด)
(http://img2.uploadhouse.com/fileuploads/16746/1674638359f614109c7ecf0e0891ba620dac1bbd.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746383&showlnk=0)
(http://img5.uploadhouse.com/fileuploads/16746/167464022d858a2bcfa46f09aff4679fe3ce53f8.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746402&showlnk=0)
(http://img2.uploadhouse.com/fileuploads/16746/16746506505ecdd81706d0b3e907dcfc0adb6992.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16746506&showlnk=0)
ปัญหาหลักในการทำ Hugelkultur ที่มักจะเจอคือ คนทั่วๆ ไปไม่คุ้นเคยกับการมีแปลงปลูกผักเป็นกองสูงๆ คนคุ้นชินกับการมีแปลงผักเตี้ยๆ และด้านบนแปลงผักราบ ดังนั้นจึงมักจะทำให้กอง Hugelkultur เตี้ยเกินไปจนไม่เห็นผลของเทคนิคนี้เท่าที่ควร ถ้าเราต้องการจะได้กองปลูกผักที่ไม่ต้องรดน้ำเลยตลอดหน้าแล้ง (หลังจากปีที่ 2) เราจะต้องทำกอง Hugelkultur สูงอย่างน้อย 2 เมตร ถ้ากองของเราสูงประมาณ 60 ซม. ก็จะสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องรดน้ำประมาณ 3 สัปดาห์ คุณสมบัติในการดูดซับความชื้นของ Hugelkultur ที่มีความสูงเพียงพอนั้นดีมากจนมีบางท่านเรียก Hugelkultur ว่า No irrigation raised bed gardening system (ระบบยกร่องแปลงผักที่ไม่ต้องรดน้ำ)
อ่านเจอแบบนี้ผมก็กำลังคิดว่าในปีนี้คงจะไม่มีกิ่งไม้ในสวนพอที่จะสามารถทำกองสูงขนาด 2 เมตรได้ (ปีเลยนี้กำลังปลูกไม้ป่าประมาณ 600 ต้น อนาคตน่าจะมีกิ่งไม้มากขึ้น) แต่จะพยายามทดลองทำกองขนาด 60 - 120 ซม ไปก่อนในช่วงต้น ถ้าได้ผลดีจึงค่อยๆ ขยายกองต่อไป ถ้า Hugelkultur มันเวิร์คกับพื้นที่ที่ผมเพาะปลูกอะไรไม่ได้ก็จะค่อนข้างคุ้ม เพราะการทำ 1 ครั้งจะสามารถใช้งานได้นานเกินสิบปี สมกับการขี้เกียจสไตล์เพอร์มาคัลเจอร์ (permanent + culture) Uhuhuh
http://www.bansuanporpeang.com/node/23168