Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
วิถีสู่ชีวิตแห่งความพอเพียง => เกษตรทางเลือก => เพอร์มาคัลเจอร์ => Topic started by: Smile Siam on 29 December 2012, 07:51:46
-
พรรณไม้ทนน้ำท่วม
การปรับตัวของพืชในที่น้ำท่วมขังประจำ
โดยปกติแล้วบริเวณป่าชายเลนจะมีน้ำจะท่วมขังอยู่เสมอเนื่องจากอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง ดังนั้นดินในป่าชายเลนจึงมีน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ ทำให้ออกซิเจนในอากาศไม่สามารถแพร่กระจายลงสู่ดินได้ อย่างไรก็ตามรากของต้นไม้ป่าชายเลนต้องการออกซิเจนเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโต ดังนั้น ต้นไม้จึงต้องพัฒนาวิธีการเพื่อที่รากของมันจะได้รับออกซิเจนต้นไม้ป่าชายเลนส่วนมากจึงมีรากอากาศ (pneumatophores) โผล่พ้นเหนือดิน ออกซิเจนจึงสามารถผ่านลงทางรากอากาศสู่รากที่อยู่ใต้ดินได้ รูปทรงของรากอากาศมีตั้งแต่
รากพูพอน รากจะเติบโดคล้ายกับเป็นส่วนหนึ่งของลำต้นแผ่ขยายออกไปช่วยให้ลำต้นทรงตัว ได้ดี และช่วยในการหายใจ เช่น ต้นตะบูนขาว หงอนไก่ทะเล
(http://img7.uploadhouse.com/fileuploads/16747/167478012a6b576314f7d53fcb5055a1eaaedd13.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16747801&showlnk=0)(http://img7.uploadhouse.com/fileuploads/16749/16749735d395b8b17320bb98a8c1b84a238d40ae.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16749735&showlnk=0)
รากแท่งดินสอ เป็นรากผอบบางคล้ายแท่งดินสอแทงขึ้นมาจากพื้นให้พ้นระดับน้ำเพื่อช่วยในการหายใจ ทำให้รากสามารถขยายออกไปได้ไกลและช่วยค้ำจุนลำต้น ได้แก่ วงศ์ไม้แสม(Verbenaceae) เช่น แสมทะเล แสมขาว แสมดำ สำมะง่า, วงศ์ลำพู (Sonneratiacea) เช่น ลำพูทะเล ลำแพน ลำแพนหินหรือลำแพนทะเล
(http://img1.uploadhouse.com/fileuploads/16747/1674780091899ea310ee7e4945f7719daf441fb4.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16747800&showlnk=0)(http://img2.uploadhouse.com/fileuploads/16749/16749734e7598057f46ece32e78c372a8f6c5eed.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16749734&showlnk=0)
บางครั้งรากแบบพูพอนดูลักษณะจากด้านเหนือดินทั่วๆ ไปคล้ายๆ แท่งดินสอขนาดขนาดใหญ่ ทำให้ดูเหมือนรากแท่งดินสอ แต่อาจจะมีลักษณะรากส่วนที่อยู่ใต้ดิน และลักษณะทางชีวภาพอื่นไม่เหมือน เช่น ต้นตะบูนดำ
(http://img3.uploadhouse.com/fileuploads/16747/16747799024cff949692b61408c2a5da327aa5c5.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16747799&showlnk=0)
รากค้ำจุน โดยงอกออกมาจากลำต้นส่วนที่พ้นน้ำเพื่อช่วยในการหายใจ และค้ำจุนลำต้นไม่ให้ล้มในดินเลนที่อ่อนตัวมาก ได้แก่ วงศ์โกงกาง (Rhizophoraceae) บางชนิด เช่น โกงกางหัวสุม โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่
(http://img2.uploadhouse.com/fileuploads/16747/16747798cb7c447c6599f68b7c5b4a82d2e6db83.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16747798&showlnk=0)(http://img8.uploadhouse.com/fileuploads/16749/16749733c76c143dc19ec581ca089c1c48efc634.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16749733&showlnk=0)
รากหัวเข่า เป็นรากหายใจโผล่พ้นดินโค้งงอมองดูเหมือนกับหัวเข่าของมนุษย์ วงศ์โกงกาง (Rhizophoraceae) บางชนิด เช่น พังกาหัวสุม(ประสัก) โปรงขาว โปรงแดง ถั่วขาว(รุ่ย)
(http://img7.uploadhouse.com/fileuploads/16747/16747797db728a8fa5bf6ccac48d00ffee59800a.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16747797&showlnk=0)(http://img8.uploadhouse.com/fileuploads/16749/16749732000f60ef846b461be47b164594cbbd80.jpg) (http://www.uploadhouse.com/viewfile.php?id=16749732&showlnk=0)
การที่ต้นไม้ป่าชายเลนจะเติบโตในบริเวณที่ดินมีน้ำท่วมขังได้ไม่ดีเนื่องจากดิน น้ำท่วมขังมีอากาศอยู่น้อย จึงเป็นเหตุให้ป่าชายเลนมีระบบรากพิเศษและเซลล์ที่อากาศสามารถเข้าไปในต้น พืชได้ในขณะน้ำลด พืชที่อยู่ในดินน้ำท่วมขังจะไม่งอกเหมือนกับพืชที่ปลูกในดินปกติ เนื่องจากก๊าซออกซิเจนที่จะเข้าสู่รากนั้นมีน้อยเกินไป ส่วนพืชที่ปลูกอยู่ในดินธรรมดานี้จะโตเร็วกว่าและจะมีความแข็งแรงมากกว่าพืช ที่ขึ้นในดินน้ำท่วมขัง
พืชที่ทนน้ำท่วมชั่วคราวได้
ในพืชชนิดอื่นอาจจะไม่ได้มีพัฒนาการในการอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมตลอดเวลาได้เหมือนต้นไม้ในป่าชายเลน แต่ก็มีได้หลายชนิดที่สามารถขึ้นได้ดีบริเวณริมตลิ่ง และสามารถทนน้ำท่วมเป็นระยะเวลาไม่นานได้ ระยะเวลาที่ต้นไม้สามารถทนน้ำท่วมได้ยังขึ้นกับลักษณะน้ำที่ท่วมขังด้วยด้งนี้
ปริมาณตะกอนที่น้ำพัดพามา หากมีตะกอนมาก (น้ำขุ่นมาก) ตะกอนดินจะเข้าไปอุดตามช่องต่างๆ ในโพรงอากาศในดินเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของพืช
การไหลของน้ำ ถ้าเป็นน้ำท่วมขังแบบนิ่งจะมีออกซิเจนในน้ำน้อย และเกิดโอกาสเน่าเสีย เข้าทำลายรากได้มากกว่าน้ำที่ไหล
ปริมาณสารอินทรีย์ ถ้ามีสารอินทรีย์ในน้ำมากก็จะทำให้เกิดการย่อยสลาย และทำให้รากเน่าได้ง่ายขึ้น
ปริมาณสารเคมีอันตราย สารเคมีหลายชนิดจะคงค้างและเป็นอันตรายกับพืช
ระยะเวลาที่ท่วม ยิ่งท่วมนานก็จะสามารถทำความเสียหายได้มาก
ระดับความสูงของน้ำ ถ้าระดับน้ำสูงจนท่วมยอดมักจะทำความเสียหายก้บต้นไม้รุนแรงกว่า
ต้นไม้ที่สามารถทนน้ำท่วมชั่วคราวได้มีหลากหลายชนิด ตัวอย่างเช่น
วงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) เช่น ยางนา ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนทราย สยาขาว กระบาก จันทน์กะพ้อ พะยอม
วงศ์มะเกลือ (Ebenaceae) เช่น มะเกลือ มะพลับ ไม้ดำ ดำดง สั่งทำ ตะโกพนม ตะโกนา ตะโกสวน จันดำ จันอิน พญารากดำ
วงศ์ ถั่ว (Leguminosae) ขนาดใหญ่บางชนิด เช่น อโศก จามจุรี ทองกราว ขี้เหล็ก นนทรี ประดู่บ้าน ประดู่ป่า อินทนิล มะขาม มะขามเทศ ราชพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ กาฬพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ พฤกษ์ กระพี้จั่น
วงศ์ปาล์ม (Palm) หลายชนิด เช่น ปาล์มแวกซ์ จาก ตาล มะพร้าว กะพ้อ หมาก
วงศ์เตย-ลำเจียก (Pandanaceae) เช่น เตยเหาะ เตยหอม เตยด่าง ลักกะจันทน์ เตยแก้ว เตยทะเล เกี๋ยงป่า เกี๋ยงหลวง เตยแดง เตยหอมใหญ่ ลำเจียก เตยญี่ปุ่น ลำดวน การะเกดด่าง
วงศ์ลั่นทม(Apocynaceae) หลายชนิด เช่น โมกเครือ ตีนเป็ดเล็ก พญาสัตบรรณ ชะลูด ตีนเป็ดน้ำ ตีนเป็ดแดง พุดจีบ พุดฝรั่ง พุดสวน โมกใหญ่ ลั่นทม(ลีลาวดี) ระย่อม รำเพย
วงศ์สารภี (Guttiferae) หลายชนิด เช่น กระทิง ชะมวง มะพูด มะดัน สารภี
วงศ์จิก (Lecythidaceae) เช่น จิกนา จิกสวน กระโดน
วงศ์ตะขบ(Flacourtiaceae) เช่น ตะขบป่า ตะขบควาย ตะขบไทย ชุมแสง กระเบาใหญ่ กระเบา กระเบากลัก
วงศ์ไม้ฝาด เช่น ฝาดแดง และฝาดขาว
วงศ์เหงือกปลาหมอ เช่น เหงือกปลาหมอดอกสีฟ้าหรือนางเกรง และเหงือกปลาหมอดอกสีขาว
พวกมีชื่อน้ำๆ เช่น มะกอกน้ำ ชมพู่น้ำ นาวน้ำ กุ่มน้ำ ขะเจาะน้ำ การเวกน้ำ
นอกเหนือจากนั้นก็ลองฟังๆ จากผู้รู้ เช่น ไทร โพธิ์ มะตูม ตานหก
http://www.bansuanporpeang.com/node/23719
สำหรับท่านที่อยากทราบว่า คำว่า พรรณไม้ กับ พันธุ์ไม้ ต่างกันอย่างไร เชิญเข้าไปอ่านที่นี่ดูนะครับ (สำหรับความเห็นผม ควรเป็น พันธุ์ไม้ทนน้ำท่วม นะครับ)
http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/J3027791/J3027791.html