Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...

เหนือเกล้าชาวสยาม => พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าอริยสาวก => ธรรมมะจากคัมภีร์ => Topic started by: SATORI on 27 December 2012, 00:27:55

Title: มหาสติปัฏฐานสูตร โดย ท่านดังตฤณ
Post by: SATORI on 27 December 2012, 00:27:55
เป็นหนังสือแนะนำการเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสนากรรมฐาน โดยละเอียด เนื้อหาไม่ต่ำกว่า ๕๑๗ หน้า เชิญดาวน์โลดมาอ่านกันได้เลยครับ

http://www.dungtrin.com/sati/MahaSatiWeb.pdf


คำนำสำนักพิมพ์

คุณดังตฤณได้เขียน ‘มหาสติปัฏฐานสูตร’ ฉบับดั้งเดิม
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เนื้อหาหลักเป็นการขยายความเกี่ยวกับการ
ปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน นับตั้งแต่หมวดกายานุปัสสนา
หมวดเวทนานุปัสสนา ไปจนถึงหมวดจิตตานุปัสสนา ขาดแต่หมวด
ธรรมานุปัสสนาไป โดยได้วางแผนจะเขียนต่อเป็นเล่ม ๒ ให้มีหมวด
ธรรมานุปัสสนาเพียงหมวดเดียว
อย่างไรก็ตาม หลังจากเตรียมเนื้อหาทั้งหมด คุณดังตฤณพบ
ว่ารายละเอียดมีมากเกินไป ไม่สมกับความตั้งใจแต่แรกที่จะให้เป็น
คู่มือเจริญสติ จึงเปลี่ยนแนวทางเป็นเขียนใหม่ทั้งหมดแบบกระชับ
สั้น และได้ออก ‘มหาสติปัฏฐานสูตร’  ที่มีเนื้อความครบทุกหมวด
แต่พอสังเขป
ทว่าหลังจากเวลาผ่านมาครบ ๑๐ ปี ก็ยังคงมีการถามถึง
‘ฉบับดั้งเดิม’ ที่ละเอียดลอออยู่ไม่ขาดสาย เนื่องจากนักเจริญสติผู้
เอาจริงเอาจังพบว่าฉบับดั้งเดิมนั้น ได้มีการรวบรวมพุทธพจน์เกี่ยว
กับการปฏิบัติอันล้ำาค่าไว้มาก แก้ข้อกังขาต่างๆได้ขาด ตลอดจนเป็น
แรงบันดาลใจได้อย่างดีโดยไม่ต้องแคลงใจว่าใครเป็นคนคิด คิดผิด
หรือคิดถูก ในเมื่อเป็นพระวัจนะแห่งองค์บรมศาสดาเอง
ถึงวันนี้คุณดังตฤณเชื่อแล้วว่ามีผู้ต้องการเนื้อความแบบฉบับ
ดั้งเดิมอยู่จริงๆ จึงลงมือเรียบเรียงใหม่อีกครั้ง โดยคงความละเอียด
อันเป็นที่ต้องการของนักเจริญสติไว้แต่จัดสรรลำาดับเนื้อหาเสียใหม่
ให้ครบถ้วนและอ่านง่ายขึ้น แล้วจึงให้สำานักพิมพ์ฮาวฟาร์นำามาจัด
พิมพ์เพื่อเป็นฉบับธรรมทานเท่านั้น ดังที่ได้ปรากฏอยู่ในมือของทุก
ท่านแล้วในบัดนี้

สำนักพิมพ์ฮำวฟำร์

____________________________________________________________________________
อรัมภกถจกดังตฤณ

ในทางโลก ชีวิตที่มีเป้าหมาย ไม่ใช่เพื่อให้ได้ตัวเป้าหมาย
อย่างเดียว แต่เพื่อได้ตัวตนที่ไปถึงเป้าหมายด้วย ใครจะสง่างาม
สูงส่ง หรือยิ่งใหญ่เพียงใด ก็ขึ้นกับว่าได้ไปยืนคู่อยู่กับธงที่ปักไว้บน
ยอดเขาสูงระดับไหน
แต่ในทางธรรม ชีวิตที่ไปได้ถึงเป้าหมายสูงสุดในพุทธศาสนา
ไม่ใช่เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวตนใหม่ระดับใด ตรงข้าม เป็นการทิ้งความ
รู้สึกว่ามีตัวตน เพื่อเข้าถึงภาวะ ‘ไร้ตัวผู้ทุกข์’ ซึ่งข้ามพ้นความสง่า
งาม ความสูงส่ง และความยิ่งใหญ่ทั้งปวงไป
การเข้าถึงเป้าอันเป็นยอดสุดของพุทธศาสนา คือการตื่นขึ้นรู้
ตามจริง ไม่ว่าจะลืมตาหรือหลับตา มุมมองของเราจะแปลกเปลี่ยน
ไปอย่างสิ้นเชิง เหมือนพลิกกลับด้าน หรือเหมือนพื้นที่ยืนอยู่ทะลุ
หาย ได้ที่ยืนใหม่ เป็นอะไรที่เหนือความคาดหมาย
อย่างไรก็ตาม พุทธศาสนามิได้เริ่มสอนจากวิธีมองที่แปลก
ประหลาดชวนพิศวง ตรงข้าม ทุกอย่างเริ่มต้นจากจุดที่เห็นง่าย
เข้าใจได้ตรงกัน เช่น ให้ถามตัวเองว่า ‘เราอยากเป็นทุกข์หรือ
เป็นสุข?’ แน่นอน ทุกคนต้องตอบว่า ‘อยากเป็นสุข’
จากนั้น พุทธศาสนาจะชี้ความจริงผ่านคำาถามสำาคัญในลำาดับ
ต่อมา นั่นคือ ‘อยากสุขชั่วคราวหรืออยากสุขถาวร?’ แน่นอน ทุกคน
ต้องตอบว่า ‘อยากสุขถาวร!’
จุดตัดอันน่าพิศวงอยู่ที่ตรงนี้ การเข้าถึงบรมสุขหรือสุขถาวร
นั้น ก่อนอื่นต้องเข้าให้ถึงสัจจะที่ว่ากายใจทั้งแท่งนี้แหละที่เป็นทุกข์
สงบจากกายใจได้ก็เหมือนดับไฟได้ความสุขอันเยือกเย็นรออยู่ตรง
ที่ความทุกข์อันร้อนแรงหายไปประดุจเปลวเทียนดับนั่นเอง ไม่ต้อง
เรียกขอเลย

แต่ถ้ายัง ‘รับไม่ได้’ ว่ากายใจนี้เป็นทุกข์คำาว่ากายใจเป็นทุกข์
ยัง ‘เป็นเท็จ’ สำาหรับเรา ก็มีวิธีเป็นสุขชั่วคราว คืออย่าไปสร้างเหตุ
แห่งความลำาบากกายลำาบากใจ ให้สร้างแต่เหตุแห่งความสบายกาย
สบายใจเข้าไว้
เหตุแห่งความลำาบากกายลำาบากใจคือบาปอกุศล โดยย่นย่อ
คือทำาตัวเป็นคนตระหนี่ เป็นผู้ทุศีล กล้าฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ผิดกาม
โกหก และกินเหล้า หากเป็นผู้ทุศีลเต็มขั้นสักระยะหนึ่ง ย่อมทราบ
เต็มอก รู้แน่อยู่แก่ใจว่ากายก็อยู่ลำาบาก ใจก็อยู่ลำาบาก ที่ส�ำคัญคือ
คนบำปไม่มีทำงเห็นตำมจริงได้เลยว่ำกำยใจเป็นทุกข์ มีแต่
อยำกปล้นมำเพิ่มด้วยซ้ำ
ส่วนเหตุแห่งความสบายกายสบายใจคือบุญกุศล โดยย่นย่อ
คือทำาตัวเป็นคนมีนา้ำ ใจ มีความรักในศีล เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ลัก
ทรัพย์ผิดกาม โกหก และกินเหล้า หากสามารถรักษาศีลได้สะอาด
หมดจดสักระยะหนึ่ง ย่อมทราบว่าความไร้มลทินทำาให้กายสบาย
ใจสบายเพียงใด ที่สำคัญคือคนสะอำดย่อมเป็นผู้มีสิทธิ์พัฒนำ
ขึ้นเห็นตำมจริงว่ำกำยใจเป็นทุกข์ ควรสละทิ้งเสีย เพื่อเข้ำถึง
บรมสุขอันเหนือกว่ำกำรแบกกำยใจไว้เป็นภำระ
การเป็นผู้มีศีลหมดจดดีแล้ว จะทำาให้เราพบความจริงขั้น
ต้นประการหนึ่ง คือแม้ศาสนาพุทธจะเชื่อยาก แต่ก็พิสูจน์ง่าย ไม่
จำาเป็นต้องตายเสียก่อนจึงค่อยรู้ว่าที่พระศาสดาตรัสเป็นเรื่องจริง
หรือของหลอก หายใจเดี๋ยวนี้ก็พิสูจน์ได้เดี๋ยวนี้ว่าไม่เที่ยง บังคับให้
เข้าหรือออกอย่างเดียวไม่ได้บังคับให้สั้นยาวตลอดไม่ได้มีแต่ความ
เป็นธาตุลม ไม่มีบุคคล เมื่อใดรู้ชัดเช่นนี้มโนภาพของผู้หายใจย่อม
ดับลง และนั่นเองความจริงเกี่ยวกับลมหายใจจึงปรากฏชัด ว่าเป็น
ทุกข์ไม่ใช่ตัวตนน่ายึดถือเอาเลย
ร่างกายก็เหมือนลมหายใจ ความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ก็
เหมือนลมหายใจ สภาพจิตต่างๆก็เหมือนลมหายใจ ความจำาได้
หมายรู้และความนึกคิดดีร้ายต่างๆก็เหมือนลมหายใจ ดูเดี๋ยวนี้ก

เห็นเดี๋ยวนี้ว่าเหล่านั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ควรหลง
ยึดมั่นถือมั่นไปทั้งสิ้น กำรเป็นผู้ไม่เฝ้ำตำมรู้ ไม่เฝ้ำตำมดูอยู่
โดยควำมจริงเช่นนี้ นับว่ำพลำดโอกำสใช้ควำมเป็นมนุษย์ใน
กำรทำลำยทุกข์ให้สิ้น
ผู้เข้าถึงความจริงในพุทธศาสนา ได้ชื่อว่าเป็นอริยบุคคล เป็น
ผู้บรรลุมรรคผล เห็นความจริงอันเป็นธรรมชาติเดิมแท้ถาวรอันควร
ปรารถนาสูงสุด คือนิพพาน กับทั้งรู้จริงๆว่าถ้ายังมีกายใจอยู่ ต่อ
ให้ดีเลิศน่าอิจฉาปานใด ก็นับว่าเป็นทุกข์อยู่ดี เนื่องจากมีอันต้อง
ปรวนแปรไป ทนอยู่กับสภาพเดิมอันน่าชื่นใจไม่ได้ไม่อาจสั่งให้เป็น
ไปดังใจนึก มีแต่ต้องใช้กำาลังใจฝืนสร้างเหตุดีๆไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อจะ
ได้ไม่ต้องทนรับผลเป็นความลำาบากกายลำาบากใจเพียงชั่วคราว
ถึงยุคปัจจุบันยังมีความพยายามเข้าให้ถึงมรรคผลนิพพาน
กันอยู่ ทั้งฝ่ายพระและฝ่ายฆราวาส แต่ ‘วิธีเข้าให้ถึง’ กลายเป็น
เรื่องน่าสงสัย เพราะดูเหมือนมีมากมายหลายวิธีตามแต่ละสำานักจะ
บัญญัติไว้นำามาซึ่งสารพัดข้อกังขา เช่น รูปแบบตายตัวของใครที่ใช่
แน่? ที่รู้อยู่ถูกแล้วหรือยัง? ปรากฏการณ์ทางกายและทางจิตที่เกิด
ขึ้นถือเป็นญาณขั้นไหน?
ความจริงคือ ถ้าจับจุดถูกว่าเราเอากันที่การ ‘มีสติชอบ’ คือรู้
กายใจได้ตามจริง กับ ‘มีสมาธิชอบ’ คือตั้งมั่นอยู่กับการรู้นั้นได้เป็น
ปกติก็คงทำาความเข้าใจกันง่ายขึ้น กล่าวคือ เมื่อเล็งเข้ำมำที่จิต
ที่ตัวรู้ แล้วพบว่ำมีสภำพรู้ที่ถูกต้อง เห็นกำยใจเป็นของไม่
เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนได้เป็นปกติ ก็ให้นับว่ำมำถูกทำงแน่ แม้จะ
ขึ้นต้นด้วยวิธีที่แตกต่ำงกันอย่ำงไรก็ตำม
หนังสือ ‘มหาสติปัฏฐานสูตร’ เล่มนี้แสดงวิธีบรรลุมรรคผล
ตามที่พระพุทธเจ้าสอน โดยนำาสติปัฏฐาน ๔ มาซอยเป็นบทเป็น
ตอน แต่ละบทอาศัยพระพุทธพจน์เป็นหลักตั้ง ตามด้วยการแสดง
นิยามศัพท์ต่างๆ จากนั้นจึงพูดถึงจุดประสงค์ของการฝึกในแต่ละบท
แล้วจึงค่อยว่ากันถึงแนวทางในการฝึกกันด้วยภาษาร่วมสมัย

เพียงศึกษาด้วยการอ่านอย่างเดียว ทุกท่านคงรู้สึกได้ว่า กำร
ขึ้นบันไดทีละขั้นจะพำไปสู่ชั้นบนได้ ฉันใด กำรฝึกสติตำม
ลำดับสติปัฏฐำน ๔ ก็ประกันว่ำจะไปถึงสติรู้ถึงที่สุดได้ ฉันนั้น
การมีพระพุทธพจน์เป็นหลักตั้งนั้น นอกจากจะทำาให้เชื่อมั่น
ได้ว่าวิธีฝึกและประสบการณ์ทั้งหมดยืนพื้นอยู่บนคำาสอนของผู้ก่อตั้ง
พุทธศาสนา ยังจะได้แรงบันดาลใจว่าพระองค์ท่านสอนมนุษย์ไม่ว่า
จะร่วมสมัยกับท่าน หรือจะเป็นยุคหลังจากท่านสิ้นพระชนม์โดยวิธี
การก็เป็นเรื่องสนุก ทำาได้จริง และ ‘ต้องทำา’ ให้ได้ก่อนตาย เพื่อจะ
ไม่ไปมองย้อนกลับมาด้วยความเสียดายชีวิตในชาติที่พบวิธีดับทุกข์
ของพระพุทธเจ้ากัน
ประมาณความสว่างที่เกิดจากบุญในการเรียบเรียงมหา
สติปัฏฐานสูตรออกสู่สาธารณชนมีเพียงใด ผู้เขียนขอให้ได้แก่บิดา
มารดา ญาติมิตร ครูบาอาจารย์ผู้ให้ความช่วยเหลือจัดทำาหนังสือ
ตลอดจนเพื่อนร ่วมทุกข์ทั้งหลายในสากลจักรวาลโดยถ้วนหน้า
เสมอกัน กับทั้งขอให้ผู้เพียรเจริญสติตามแนวทางที่ถูกต้องของ
พระพุทธเจ้า จงเข้าถึงธรรม และมีชีวิตนี้เป็นทุกข์ครั้งสุดท้าย ได้
หายตัวไปอย่างสง่างาม เสมือนเปลวเทียนดับที่ไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้
ใครจับความร้อนได้อีก
           
                                                ดังตฤณ                                                 

  สิงหาคม ๕๕

____________________________________________________________________________
อุทเทสวารกถา
พุทธพจน์

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของ
ชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกเหล่า
ภิกษุสาวกว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเดียวที่จะท�าให้เหล่า
สัตว์บริสุทธิ์ได้ ล่วงพ้นความโศกและความร�าพันคร�่าครวญ
ได้ ดับทุกข์และโทมนัสได้ บรรลุอริยมรรคเพื่อเห็นแจ้งพระ
นิพพานได้ หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สี่ประการนั้นมีอะไรบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระ
ศาสนานี้…
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เสมอ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เป็นประการ
หนึ่ง
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่เสมอ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้
เป็นอีกประการหนึ่ง

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เสมอ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มี
สติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้เป็นอีกประการ
หนึ่ง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เสมอ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้
เป็นอีกประการหนึ่ง
จบอุทเทสวารกถา

นิยม

ภิกษุคือ ผู้รู้ตัวว่ามีกิเลส แล้วเพียรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพื่อ
ละกิเลสเสีย (จูฬอัสสปุรสูตร)
บรรลุอริยมรรคคือ การตรัสรู้แจ้ง ล้างผลาญกิเลสเป็นขั้นๆ
ตั้งแต่ทำาลายความสำาคัญผิดว่ามีตัวตน ไปจนกระทั่งดับอุปาทานว่า
มีตัวตนได้เด็ดขาด
เห็นกายในกาย คือ เห็นส่วนหนึ่งของอาการทางกาย
เช่น ลมหายใจถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกาย การเห็นลมหายใจก็ถือ
เป็นการเห็นกายในกาย เป็นต้น
อภิชฌา คือ ความเล็งโลภอยากได้นั่นอยากได้นี่
อุทเทสวารกถา คือ บทตั้ง ยังไม่ลงลึกถึงหลักวิธีให้นำาไป
ปฏิบัติสิ่งที่จะต้องทำาคือการจดจำาไว้ด้วยความเข้าใจว่า ‘การเจริญ
สติปัฏฐาน’ เขาทำากันที่ไหน เพื่ออะไร
อย่างไรก็ตาม ยังมีในแห่งอื่นที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้

ว่าสติปัฏฐาน ๔ มิใช่สิ่งที่ใครๆก็ทำากันได้ ไม่ว่าจะมีจิตสะอาด
หรือสกปรกเพียงใด โดยที่แท้แล้ว จิตของผู้เหมาะจะฝึกเจริญ
สติปัฏฐานนั้น ต้องเป็นจิตที่สะอาด พร้อมจะเห็นความจริงอย่างตรง
ไปตรงมา ดังเช่นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในภิกขุสูตร พระสุตตันต
ปิฎก เล่ม ๑๑ ที่ภิกษุรูปหนึ่งตั้งใจจะปลีกวิเวก ก็เข้ากราบขอรับแนว
ปฏิบัติหรืออุบายภาวนาจากพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ยังไม่บอก
อุบายทันทีทว่าตรัสสั่งให้สำารวจตนเองในเรื่องของศีลก่อน มีความ
ดังนี้
ดูกรภิกษุ เธอจงยังเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์ก่อน
เบื้องต้นของกุศลธรรมคืออะไร? คือศีลที่บริสุทธิ์ดี (สีลวิสุทธิ)
และความเห็นตรง (ทิฏฐิวิสุทธิ) เมื่อใดศีลของเธอจักบริสุทธิ์
ดี ความเห็นของเธอจักตรง เมื่อนั้นเธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล
แล้วพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓ (คือเจริญอย่างมีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ)
ศีลจะทำาให้เราไม่มีอะไรคาใจ ถ้าขาดศีลเสียแล้ว ก็เป็นไปไม่
ได้ที่จะให้จิตสงบ ปราศจากความหวั่นไหว ปราศจากความฟุ้งซ่าน
มีแต่จะคิดหรือมองอะไรบิดเบี้ยวผิดจากความจริงเพื่อเข้าข้างตัวเอง
เห็นความผิดเป็นของดีเห็นกงจักรเป็นดอกบัว
หลังจากมีศีลสะอาดพอ กับทั้งทำาความเข้าใจว่าควรระลึกถึง
กายนี้สุขทุกข์นี้สภาพจิตนี้และสภาวธรรมนี้ก็ได้ชื่อว่ามีแนวทางที่
ถูกต้อง อยู่ในทิศแห่งการเข้าให้ถึงพระนิพพานด้วยกายใจนี้
ว ่ากันถึงมุมมองเกี่ยวกับการฝึกจิต ก็ต้องกล ่าวว ่า
สติปัฏฐานคือการฝึกจิตชนิดหนึ่ง แต่เพื่อเป็นการปิดกั้นไม่ให้เกิด
ความเข้าใจผิด คิดว่าสติปัฏฐานเป็นเพียงการนั่งหลับตาทำาสมาธิอีก
ทั้งไม่ใช่เพียงญาณขั้นสูงที่เรียกกันว่า ‘วิปัสสนา’ ท่าเดียว เราก็ควร

ทำาความเข้าใจกันตั้งแต่ตรงนี้ว่า ‘สมถะ’ คืออะไร และ ‘วิปัสสนา’
ต่างกันกับสมถะแค่ไหน
นิยามของสมถะและวิปัสสนา
ในจิตตุปปาทกัณฑ์ พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑ นิยามของ
‘ลักษณะจิต’ อันเป็นสัญลักษณ์ของสมถะและวิปัสสนาไว้ดังนี้
สมถะมีในสมัยนั้นเป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความ
ด�ารงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่ง
จิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อ
ว่าสมถะมีในสมัยนั้น
วิปัสสนามีในสมัยนั้นเป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความ
วิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความก�าหนดหมาย
ความเข้าไปก�าหนด ความเข้าไปก�าหนดเฉพาะ ภาวะที่
รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้น
คิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่อง
ทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือน
ศาสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสง
สว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวง
แก้ว ความไม่หลง สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า
วิปัสสนามีในสมัยนั้น

สรุปว่า อาการที่จิตสงบตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน มีกำาลัง คือลักษณะ
ของจิตที่เป็นสมถะ ส่วนอาการที่จิตมีปัญญารู้ชัด ไม่หลงผิด ทำาลาย
กิเลสได้คือลักษณะของจิตที่เป็นวิปัสสนา
ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้น พระพุทธเจ้ามิได้ทรงระบุจำาแนก
แยกแยะ ว่าตรงไหนคือสมถะ ตรงไหนคือวิปัสสนา แต่พระองค์
ก็ทรงแยกหน้าที่ของสมถะและวิปัสสนาไว้ ในปฐมปัณณาสก์
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ คือ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะหนึ่ง วิปัสสนาหนึ่ง ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อม
ละราคะได้ วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร
ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์
อะไร ย่อมละอวิชชาได้
แม้แต่ผู้ที่บรรลุธรรมชั้นต้นแล้ว แต่ยังไม่จบกิจ ยังไม่ถึง
แก่นสารชั้นลึกสุดของพระพุทธศาสนา ก็ยังจำาเป็นต้องเจริญทั้งส่วน
ของสมถะและวิปัสสนา ดังจะเห็นได้ ในมหาวัจฉโคตตสูตร
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ ที่ภิกษุชื่อ ‘วัจฉะ’ บวชได้เพียงครึ่งเดือนก็
ถึงมรรคผลชั้นต้น เป็นพระโสดาบันบุคคล ท่านก็เข้าไปกราบทูลขอ
คำาแนะนำาขั้นต่อไปจากพระพุทธองค์ซึ่งพระองค์ท่านก็ตรัสว่า
ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรมทั้งสอง คือสมถะและ
วิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไปเถิด ดูกรวัจฉะ ธรรมทั้งสองคือสมถะ

และวิปัสนานี้ เธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทง
ตลอดในธาตุหลายประการ
สรุปคือ จะเป็นผู้เริ่มต้นภาวนา หรือผู้ภาวนากระทั่งถึง
มรรคผลแล้ว ก็ยังต้องเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาให้ยิ่งๆขึ้นไป ใช่จะ
ละเลยส่วนใดส่วนหนึ่งด้วยความประมาทว่าไม่สำาคัญ ไม่จำาเป็น
ตามข้อเท็จจริงในการปฏิบัติประการหนึ่ง ก็คือ ถ้าจิตยังถูก
ห่อหุ้มด้วยกิเลสหยาบๆ โอกาสที่จะเห็นความจริงคือไตรลักษณ์ของ
รูปนาม เพื่อความปล่อยวาง เพื่อความรู้แจ้งว่ากายใจไม่ใช่ตัวตนนั้น
เรียกได้ว่าไม่มีเลย ขอให้นึกว่าถ้ากำาลังโลภอยากกินของอร่อยตรง
หน้าอย่างแรงจัดขนาดน้ำาลายไหลสอ หรือกำาลังฟุ้งซ่านเป็นทุกข์กับ
ปัญหาหนักอกจนมึนตื้อ จิตจะอยู่ในความพร้อมพิจารณาโลภะใน
จิตเป็นอนิจจังหรือไม่ หรือพร้อมพิจารณาทุกขเวทนาเป็นของที่เกิด
แต่เหตุหรือไม่
เพราะฉะนั้น ถ้าใจยังไม่สงบจากเครื่องรบกวนหนักๆ ก็ต้อง
ทำาให้สงบลงบ้าง ด้วยการตัดใจออกมาจากของหยาบ พอมีสติบ้าง
แล้วก็ผูกใจไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง วัตถุอันเป็นเครื่องผูกใจนั้นเองเรียกว่า
‘อารมณ์’ หรือ ‘อารมณ์สมาธิ’ มีอยู่แล้วในมหาสติปัฏฐานสูตร แต่
เราต้องสังเกตสังกาแยกแยะเอาตามนิยามของสมถะและวิปัสสนา
ยกตัวอย่างเช่น ในอานาปานบรรพ พระพุทธองค์ให้รู้
ลมหายใจหลายต่อหลายแง่ถ้าแง่ที่รู้ว่านี่ลมเข้า นี่ลมออก อันนั้นคือ
ผูกใจไว้กับอารมณ์เฉยๆ ยังไม่ได้พิจารณาอะไร ก็เข้าข่ายเป็นสมถะ
ส่วนถ้าให้ปฏิบัติอะไร อย่างเช่น พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้น
ในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง ดังนี้เรียก
ว่าใช้ลมหายใจที่ถูกรู้นั่นเอง เป็น ‘อารมณ์วิปัสสนา’ คือเห็นธรรมดา
เกิดดับเพื่อปล่อยวางลมหายใจว่าไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา
ดังนั้น ตัวของสภาวะอันเป็นวัตถุแห่งการถูกรู้ มิใช่ตัวบอก

ว่าเป็นสมถะหรือวิปัสสนา เช่น ลมหายใจเหมือนๆกัน ยังถูกรู้ได้
ทั้งโดยความเป็นสมถะและวิปัสสนา ตัวบอกที่แท้จริงว่าตรงไหน
เป็นสมถะ ตรงไหนเป็นวิปัสสนา ก็คือ ‘วิธีรู้’ หรืออาการดำาเนินจิต
นั่นเอง รู้เฉยๆเพื่อสงบจำกกิเลสหยำบถือว่ำเป็นสมถะ รู้เพื่อ
เห็นแจ้งว่ำไม่ใช่ตัวตนถือว่ำเป็นวิปัสสนำ
ทุกหมวดของมหาสติปัฏฐานสูตร จะลงเอยด้วยการ
‘รู้โดยความไม่ยึดมั่นถือมั่น’ เสมอ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า มหา
สติปัฏฐานสูตรทั้งหมด ก็คือการทำาวิปัสสนาให้แจ้ง ผ่านการไต่
ลำาดับมาจากสมถะ
เมื่อเข้าใจตรงกันดังนี้ก็ขจัดปัญหาที่มักเกิดขึ้น คือความเห็น
เป็นฝักเป็นฝ่าย ฝ่ายหนึ่งอยากทำาสมาธิก่อน ให้เหตุผลว่ากำาจัด
นิวรณ์อันเป็นอุปสรรคขวากหนามในทางวิปัสสนาเสียได้แต่แท้จริง
มีนัยแอบแฝงคือชอบรสชาติความสงบ พอทำาสมาธิแล้วก็เอาแต่จม
จ่อมอยู่กับรสนั้นทั้งวัน หรือได้สมาธิแล้วเอาไปเล่นสนุกอื่นๆ ไม่
น้อมมาพิจารณารูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์
ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมให้ทำาสมาธิให้เหตุผลว่าทำาสมาธิเป็น
เรื่องนอกพุทธศาสนา พาให้หลงทาง แต่แท้จริงอาจมีนัยแอบแฝงคือ
ตนเองไม่ประสบความสำาเร็จในงานสมาธิ อีกทั้งชอบใจที่จะศึกษา
ค้นคว้าให้แตกฉานทั่วถึงความรู้ในพระไตรปิฎก เห็นความจริงจาก
กระดาษมากกว่าจะเห็นความจริงจากกายและใจของตนเอง
ต่อเมื่อตั้งทิฏฐิหรือความเห็นไว้ถูกตรงดีแล้ว การแบ่งแยก
ระหว่างสมถะกับวิปัสสนาจะไม่มีเมื่อทำาสมถะจะเห็นรากของความ
เป็นวิปัสสนา เพราะจิตตั้งมั่นสามารถเห็นสภาวธรรมตามจริง และ
เมื่อทำาวิปัสสนาจะเห็นความก้าวหน้าที่เอาไปเติมให้ส ่วนสมถะ
เพราะจิตมีความปล่อยวาง กิเลสเบาบาง ไม่ฟุ้งซ่านซัดส่ายไปข้าง
นอกตัวเช่นเคย
เพราะฉะนั้น หากเห็นใครนั่งหลับตานิ่ง เจริญสุขในฌาน

กลางถ้ำากลางเขา ก็อย่าเพิ่งตัดสินว่าเขาทำาผิด ต้องดูว่าในใจเขามี
‘แผนที่ภาวนา’ ไว้อย่างไร ออกจากสุขในฌานแล้วจิตเขามีสติตั้งอยู่
ที่ฐานไหน พอเพียงจะไปถึงความเข้าใจอริยสัจหรือไม่
ในอีกภาพลักษณ์หนึ่ง ถ้าเห็นใครเอาแต่ลืมตา กิน นอน ดื่ม
ทำา  พูด คิด อยู่ในชีวิตประจำาวันตามปกติทุกอย่าง ไม่เคยหลับตา
ทำาสมาธิเลย ก็อย่าเพิ่งด่วนนึกประมาทว่าท่านผู้นี้คงไม่มีส่วนแห่ง
การภาวนากับใคร แท้จริงโลกภายในของเขาอาจกำาลังสว่างโพลง
ขึ้นเรื่อยๆตามลำาดับวันเวลาแห่งการเจริญสติถูกทาง ตรงหลัก
สติปัฏฐาน ๔ ก็ได้
และท้ายที่สุด คือ ถ้าใครอ้างว่าเรียนรู้พระธรรมคัมภีร์มามาก
ทำาทั้งสมถะ ทั้งวิปัสสนามานานปีแต่กิเลสไม่ลดลงเลย ยังประกอบ
พร้อมด้วยมโนทุจริต วจีทุจริต และกายทุจริต ครบวงจร อย่างนี้ก็
สะท้อนให้เห็นเช่นกันว่างานสมถะและวิปัสสนาของเขาบกพร่อง ไม่
ได้ทำาจริง หรือทำาจริงแต่ว่าไม่ตรงทางเสียแล้ว
จุดมุ่งหมาย
อุทเทสวารกถานี้ นำามาเป็นหลักตั้งก็เพียงเพื่อชี้ให้มองเห็น
ภาพรวมว่า สติปัฏฐาน ๔ คือการศึกษาและปฏิบัติอยู่ในขอบเขต
ของกายใจนี้เท่านั้น ไม่ใช่สร้างกายใจอื่น หรือหวังว่าจะมีกายใจอื่น
ให้ยึดถือกันอีก
นอกจากนั้น การตีกรอบไว้อย่างชัดเจนว่า ‘กายใจ’ สามารถ
จำาแนกดูจากสภาพหยาบลงไปถึงสภาพละเอียด ไม่ให้หลงเข้าใจผิด
คิดว่าสติปัฏฐานมีแค่การดูอะไรอย่างหนึ่ง เพราะความจริงมี๔ ด้าน
ถ้าดูด้านเดียวก็ละได้ด้านเดียว ต่อเมื่อดูครบทั้ง ๔ ด้านจึงเป็นอิสระ
จากพันธนาการครบทุกด้าน


ขอเชิญดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดมาอ่านต่อกันนะครับทุกๆท่าน

http://www.dungtrin.com/sati/MahaSatiWeb.pdf