Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...

เหนือเกล้าชาวสยาม => พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าอริยสาวก => ธรรมมะจากคัมภีร์ => Topic started by: SATORI on 27 December 2012, 00:22:33

Title: พระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์ และเอตทัคคะ ๔๑ องค์
Post by: SATORI on 27 December 2012, 00:22:33
พระอสีติมหาสาวก-พระสาวกผู้ยิ่งใหญ่ สำคัญ และเป็นภิกษุผู้บรรลุธรรมขั้นสูงสุด คือ อรหัตผล เป็นพระอรหันต์แล้วทั้งหมดทุกๆองค์ มี 80 รูป ดังนี้


1)พระอัญญาโกณทัญญะ2)พระวัปปะ3)พระภัททิยะ 4)พระมหานามะ5)พระอัสสชิ6)พระนาลกะ 7)พระยสะ 8)พระวิมละ 9)พระสุพาหุ 10)พระปุณณชิ 11)พระควัมปติ 12)พระอุรุเวลกัสสปะ 13)พระนทีกัสสปะ 14)พระคยากัสสปะ 15)พระสารีบุตร 16)พระมหาโมคคัลลานะ 17)พระมหากัสสปะ 18)พระมหากัจจานะ 19)พระมหาโกฏฐิตะ 20)พระมหากัปปินะ 21)พระมหาจุนทะ 22)พระอนุรุทธะ 23)พระกังขาเรวัตตะ 24)พระอานนท์ 25)พระนันทกะ 26)พระภคุ 27)พระนันทะ 28)พระกิมพิละ 29)พระภัททิยะ(กาฬิโคธาบุตร)30)พระราหุล 31)พระสีวลี 32)พระอุบาลี 33)พระทัพพะ(มัลลบุตร) 34)พระอุปเสนะ(วังคันตบุตร)35)พระขทิรวนิยเรวตะ 36)พระปุณณมันตานีบุตร 37)พระปุณณะ(สุนาปรันตกะ)38)พระโสณกุฏิกัณณะ 39)พระโสณโกฬิวิสะ 40)พระราธะ 41)พระสุภูติ 42)พระองคุลิมาล 43)พระวักกลิ 44)พระกาฬุทายี 45)พระมหาอุทายี 46)พระปิลินทวัจฉะ 47)พระโสภิตะ 48) พระกุมารกัสสปะ 49)พระรัฐบาล 50)พระวังคีสะ 51)พระสภิยะ 52)พระเสละ 53)พระอุปวาณะ 54)พระเมฆิยะ 55)พระสาคตะ 56)พระนาคิตะ 57)พระลกุนฑกภัททิยะ 58)พระปิณโฑลภารทวาชะ 59)พระมหาปันถก 60)พระจูฬปันถก 61)พระพากุละ 62)พระกุณฑธานะ 63)พระพาหิยะ(ทารุจีริยะ)64)พระยโสชะ 65)พระอชิตะ 66)พระติสสะเมตเตยยะ67)พระปุณณกะ 68)พระเมตตคู 69)พระโธตกะ70)พระอุปสีวะ71)พระนันทะ 72)พระเหมกะ 73)พระโตเทยยะ 74)พระกัปปะ75)พระชตุกัณณี 76)พระภัทราวุธ 77)พระอุทยะ 78)พระโปสาละ 79)พระโมฆะราช 80)พระปิงคิยะ

                     พระสารีบุตร-เป็นพระอัตรสาวกเบื้องขวา...                     พระมหาโมคคัลลานะ-เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย .....

ความหมายของคำว่า ‘อสีติมหาสาวก’ ตามรูปศัพท์ คำว่า ‘อสีติมหาสาวก’ เป็นคำสมาสประกอบด้วยคำ ‘อสีติ’ และ ‘มหาสาวก’ คำว่า ‘อสีติ’ เป็นปกติสังขยา คือ จำนวนนับตามปกติ แปลว่า ‘๘๐’ ส่วน ‘มหาสาวก’ ประกอบด้วยคำว่า ‘มหา’ ซึ่งเป็นคุณศัพท์แปลว่า ใหญ่,มาก, สำคัญ และคำว่า ‘สาวก’ ซึ่งเป็น คำนามกิตก์ ประกอบรูปมาจากธาตุ ‘สุ’ (ในความหมายว่าฟัง) +ปัจจัย ณฺวุ มีรูปศัพท์ ว่า ‘สาวก’ แปลว่า ผู้ฟัง ในที่นี้หมายถึง ภิกษุผู้บรรลุธรรมชั้นสูงสุดคืออรหัตผล

ดังนั้นคำว่า ‘อสีติ’ และ ‘มหาสาวก’ เมื่อรวมเข้าด้วยกันเป็นคำสมาส เป็น ‘อสีติมหาสาวก’ จึงแปลว่า พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกผู้ยิ่งใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกสำคัญ ๘๐ รูป

อสีติมหาสาวก มีมาในพระคัมภีร์ที่เป็นหลักฐานในที่ใดนั้น ยังไม่ปรากฎแน่ชัด บางฉบับอ้างว่ามาในเถรคาถาบ้าง อปทานบ้าง หนังสือที่เป็นหลักฐานแต่เรื่องเอตุทัคคะที่มีในคัมภีร์ เอกนิบาต อังคตรนิกายนั้นมีจำนวน พระสาวกนับได้ ๔๑ องค์เท่านั้น หาครบ ๘๐ ไม่ ส่วนพระสาวก ๘๐ องค์นั้น เห็นมีในหนังสือสวดมนต์ ผูกเป็นคาถาบ้าง เป็นนามเรียกกันไปบ้าง นอกจากนี้ ยังเห็นมีที่จารึกแผ่นศิลาติดอยู่ที่รูปพระอสีติมหาสาวก ที่พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม และวัดเขมาภิรตาราม แต่ไม่ใคร่ตรงกัน มีต่าง ๆ นามกันไปสุดแต่ครบ ๘๐ องค์ เท่านั้น เว้นแต่องค์ที่สำคัญเป็นที่รู้จักกันดี จะมีอยู่เหมือนพ้องต้องกันหมดทุกแห่ง จำนวนพระสาวกที่มีในสวดมนต์แปล และในฉบับอื่นอีกนั้น ก็ผิดเพี้ยนกันไปอีกไม่น้อย

ในพระไตรปิฎกไม่มีคำว่า ‘อสีติมหาสาวก’ พบแต่คำว่า ‘พระสาวกเถระผู้มีชื่อเสียง’ แต่พบคำว่า ‘อสีติมหาสาวก’ ปรากฏอยู่ในหนังสืออรรถกถาต่างๆ คือ อรรถกถาธรรมบท สุมังคลวิลาสินี และ ปรมัตถทีปนี ส่วนรายนามของพระอสีติมหาสาวก ในพระไตรปิฎก มีกล่าวไว้ครบทั้ง 80 องค์แต่กล่าวไว้ในที่ต่างๆกัน ส่วนมากกล่าวไว้ในพระสุตตันตปิฎก ในอรรถกถาธรรมบทก็มีบ้าง ในปรมัตถทีปนีกล่าวไว้ครบเช่นเดียวกับในพระไตรปิฎก

หลักการเลือกพระสาวก 80 รูปแล้วจัดเป็นพระอสีติมหาสาวก จากการเลือกพระสาวกแล้วจึงจัดเป็นพระมหาสาวกก่อน โดยยึดถือคุณธรรม และความสามารถ คือความชำนาญในอภิญญาสมาบัติและความแตกฉานใน ปฏิสัมภิทาเป็นหลัก โดยไม่เกี่ยวกับพรรษา และอายุ และด้วยเหตุนี้เองจึงปรากฏว่าได้จัดฆราวาสที่เป็นพระอรหันต์เข้าเป็นพระมหาสาวกด้วย 1 ท่านคือพระพาหิยะ ส่วนการคัดเลือกแล้วจัดให้เป็นพระอสีติมหาสาวกนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงวินิจฉัยไว้โดยทรงเสนอเกณฑ์สำหรับพิจารณา ไว้ว่า พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นเอตทัคคะสงเคราะห์พระปัญจวัคคีย์ 4 พระองค์เข้าด้วย พระอุรุเวลกัสสปะ สงเคราะห์พระกัสสปะน้องชายอีก 2 พระองค์เข้าด้วย พระโมฆราชเป็น เอตทัคคะสงเคราะห์พระคณะเดียวกัน อีก 15 พระองค์เข้าด้วย อีกเกณฑ์หนึ่ง สงเคราะห์พระสาวกผู้มีชื่อระบุไว้ในเริ่มประกาศพุทธศาสนา แต่ไม่ได้ระบุอยู่ในจำนวน เอตทัคคะ คือ พระยสะกับพระสหายอีก 4 พระองค์ โดย 2 เกณฑ์นี้ได้พระสาวก เอตทัคคะ 41 พระสาวกสหจรแห่ง เอตทัคคะ ๒๓ พระองค์ ในเริ่มแรกประกาศพระพุทธศาสนา 1 สหจร 4 รวมเป็น 69 พระองค์ อีก 11 พระองค์เป็นพระสาวกที่จัดเข้าโดยหาเกณฑ์มิได้ แต่มีนามระบุอยู่ในช่วงกลางของการประกาศพระพุทธศาสนาบ้าง ในช่วงท้ายของการประกาศพระพุทธศาสนาบ้าง จากหลักการเลือกที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงวินิจฉัยไว้นี้ สรุปได้ว่า

    กำหนดเอาพระสาวกผู้เป็นเอตทัคคะเป็นหลัก แล้วรวมพระสหจรในกลุ่มของท่านเข้าด้วยนี้เป็นเกณฑ์แรก ส่วนเกณฑ์ที่ 2 กำหนดเอาพระสาวกผู้มิได้เป็นเอตทัคคะ แต่มีชื่อระบุไว้ในปฐมโพธิกาล ตามหลักการเลือกนี้ เกณฑ์แรก ได้พระสาวก 64 รูป เกณฑ์ที่ ๒ ได้พระมหาสาวกอีก 5 รูป รวมเป็นได้พระมหาสาวก 69 รูป
    ที่เหลืออีก 11 รูปนั้น จัดเข้าโดยไม่มีหลักเกณฑ์ ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงวินิจฉัยว่า คงเป็นด้วยต่างอาจารย์ต่างเลือกกันจัดเข้าตามมติของตน เพื่อให้ครบ จำนวน 80 จึงต่างรายชื่อกัน”

อนึ่ง ในการเลือกพระสาวกแล้วจัดเข้า เป็นพระอสีติมหาสาวกนั้น ยังมีข้อที่น่าศึกษาเพิ่มเติมคือ เกิดมีขึ้นในยุคใด จากเหตุผลที่กล่าวมานี้ทำให้สันนิษฐานได้ว่า น่าจะมีเค้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว โดยเห็นได้จากคำเรียกที่ว่า ‘พระสาวกเถระ ผู้มีชื่อเสียง’ ซึ่งเท่าที่ระบุนามไว้ ก็เป็นอสีติมหาสาวกทั้งหมด แต่มาเด่นชัดขึ้นในยุคสมัยของพระอรรถกถาจารย์ในลังกา

ทั้งนี้เพราะธัมมปทัฏฐกถา ก็ดี สุมังคลวิลาสินี ก็ดี ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่มีคำว่า “มหาสาวก” และ ‘อสีติมหาสาวก’ ปรากฏอยู่ล้วนเป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นในลังกา หรือในยุคที่การศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกากำลังรุ่งเรือง โดยพระอรรถกถาจารย์ผู้มีชื่อเสียงคือพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้มีชีวิตอยู่ระหว่าง ปี พ.ศ. 900-1000 พุทธศาสนิกชนในยุคนั้นและยุคต่อมาทั้งพระและฆราวาส ต่างนิยมยกย่องในตัวพระอสีติมหาสาวกมาก คัมภีร์มหาวงศ์กล่าวว่า

พระเจ้าพุทธทาสแห่งลังกามีพระราชบุตร 8 องค์ล้วนทรงสุรภาพแกล้วกล้าการรณรงค์สงคราม ทรงขนานนามพระกุมารนั้นตามพระอัชฌาสัยของพระองค์ให้คงนามพระอสีติมหาสาวกทั้งหลาย พระเจ้าพุทธทาสองค์นี้ ได้แวดล้อมด้วยพระราชบุตรทั้งหลายอันทรงพระนามตาม พระอสีติมหาสาวกว่า สารีบุตร เป็นอาทิ พระองค์ทรงรุ่งเรืองอยู่ ดูประหนึ่งว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้น

รายนามพระอสีติมหาสาวก
• พระอัญญาโกณฑัญญะ    • พระมหาโมคคัลลานะ
• พระวัปปะ    • พระองคุลิมาลเถระ
• พระภัททิยะ    • พระวักกลิเถระ
• พระมหานามะ    • พระกาฬุทายีเถระ
• พระอัสสชิ    • พระมหาอุทายีเถระ
• พระนาลกะ    • พระปิลินทวัจฉเถระ
• พระยสะ    • พระโสภิตเถระ
• พระวิมละ    • พระกุมารกัสสปเถระ
• พระสุพาหุ    • พระรัฏฐปาลเถระ
• พระปุณณชิ    • พระวังคีสเถระ
• พระควัมปติ    • พระสภิยเถระ
• พระอุรุเวลกัสสปะ    • พระเสลเถระ
• พระนทีกัสสปะ    • พระอุปวาณเถระ
• พระคยากัสสปะ    • พระเมฆิยเถระ
• พระสารีบุตรเถระ    • พระสาคตเถระ
• พระมหากัสสปะเถระ    • พระนาคิตเถระ
• พระมหากัจจายนะ    • พระลกุณฏกภัททิยเถระ
• พระมหาโกฏฐิตเถระ    • พระปิณโฑลภารทวาชเถระ
• พระมหากัปปินเถระ    • พระมหาปันถกเถระ
• พระมหาจุนทเถระ    • พระจูฬปันถกเถระ
• พระอนุรุทธเถระ    • พระพากุลเถระ
• พระกังขาเรวตเถระ    • พระโกณฑธานเถระ
• พระอานนทเถระ    • พระพาหิยทารุจิริยเถระ
• พระนันทกเถระ    • พระยโสชเถระ
• พระภคุเถระ    • พระอชิตเถระ
• พระนันทเถระ    • พระติสสเมตเตยยเถระ
• พระกิมพิลเถระ    • พระปุณณกเถระ
• พระภัททิยเถระ (กาฬิโคธาบุตร)    • พระเมตตคูเถระ
• พระราหุลเถระ    • พระโธตกเถระ
• พระสีวลีเถระ    • พระอุปสีวเถระ
• พระอุบาลีเถระ    • พระนันทกเถระ
• พระทัพพมัลลบุตรเถระ    • พระเหมกเถระ
• พระอุปเสนวังคันตบุตรเถระ    • พระโตเทยยเถระ
• พระขทิรวนิยเรวตเถระ    • พระกัปปเถระ
• พระปุณณมันตานีบุตรเถระ    • พระชตุกัณณีเถระ
• พระปุณณสุนาปรันตเถระ    • พระภัทราวุธเถระ
• พระโสณกุฏิกัณณเถระ    • พระอุทยเถระ
• พระโสณโกฬิวิสเถระ    • พระโปสาลเถระ
• พระราธเถระ    • พระโมฆราชเถระ
• พระสุภูติเถระ    • พระปิงคิยเถระ

รายนามของพระอสีติมหาสาวกที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ รายนามเบื้องซ้าย เป็นพระมหาเถระนั่งด้านพระปรัศว์ขวา(เบื้องขวา) ของพระพุทธเจ้า ส่วนรายนามเบื้องขวา เป็นพระมหาเถระนั่งด้านพระปรัศว์ซ้าย (เบื้องซ้าย) ของพระพุทธเจ้า

การที่พระสาวกนั่งด้านปรัศว์ทั้ง 2 ข้าง ของพระพุทธเจ้า ถือเป็นธรรมเนียมครั้งพุทธกาล โดยมีหลักอยู่ว่าการปูลาดอาสนะ ในที่นิมนต์ ให้ปูลาดอาสนะของพระพุทธ เจ้าไว้ตรงกลาง ปูลาดอาสนะ ของพระสารีบุตรไว้ด้านพระปรัศว์ขวา ปูลาดอาสนะของพระมหาโมคคัลลานะไว้ด้านพระปรัศว์ซ้าย แล้วจึงปูลาดอาสนะพระสาวก รูปอื่นๆ ต่อจากอาสนะของพระมหาสาวก ทั้ง 2 นั้น


พระสาวกเด่นๆด้านใดนั้น เรียกว่า เอตทัคคะ-ที่ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้า มีเพียง 41 รูปเท่านั้น ถือว่ามีความสามารถเป็นเลิศเฉพาะด้านต่างๆ ดูเหมือนว่าจะเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าในด้านต่างๆนั้นได้ .....

1.พระอัญญาโกณฑัญญะ-เอตทัคคะในทางรัตตัญญู หมายถึง ผู้ราตรีนาน(พระภิกษุผู้เฒ่า)

2.พระอุรุเวลกัสสปเถระ-เอตทัคคะในทางผู้มีบริวารมาก

3.พระสารีบุตร**-เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา

4.พระมหาโมคคัลานเถระ**-เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์(อิทธิฤทธิ์-ปาฏิหาริย์)

5.พระปุณณมันตานีบุตรเถระ-เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก(ผู้แสดงธรรม)

6.พระกาฬุทายีเถระ-เอตทัคคะในทางผู้นำตระ***ลให้เลื่อมใส(ก.ไก่+สระอู+ล.ลิง)

7.พระนันทเถระ-เอตทัคคะในทางผู้สำรวมอินทรีย์(ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กายใจ)

8.พระราหุลเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา

9.พระอุบาลีเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย

10.พระภัททิยเถระ-เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระ***ลสูง(ก.ไก่+สระอู+ล.ลิง)

11.พระอนุรุทธเถระ-เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ

12.พระอานนท์***-เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูตร เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีคติ เป็นผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก(5 ประการ)

13.พระโมฆราชเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง

14.พระปิณโฑลภาระทวาชเถระ***-เอตทัคคะในทางผู้บันลือสีหนาท(กล้าหาญในการประกาศวาจาองอาจยิ่งแม้ต่อหน้าพระพุทธเจ้าในความเป็นพระอรหันต์ของตน ถึงพร้อมสมบูรณ์ด้วยสติ-สมาธิ-ปัญญา สามารถแสดงฤทธิ์ได้เทียบเท่าพระมหาโมคคัลลานเถระ)

15.พระมหากัจจายนเถระ-เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิศดาร

16.พระสีวลี**-เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก

17.พระโสณกุฏิกัณณเถระ-เอตทัคคะในทางผู้มีวาจาไพเราะ

18.พระมหกัสสปเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์

19.พระราธเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ว่าง่าย

20.พระลกุณฏกภัททิยเถระ-เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ

21.พระทัพพมัลลบุตรเถระ-เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ

22.พระพากุลเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ไม่มีโรคาพยาธิ

23.พระวักกลิเถระ-เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ(หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา)

24.พระมหากัปปินเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทพระภิกษุ

25.พระอุปเสนเถระ-เอตทัคคะในทางผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใส

26.พระเรวตขทิรวนิยเถระ-เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า

27.พระสุภูติเถระ-เอตทัคคะในทางอรณวิหารและทักขิเณยยบุคคล(เจริญฌานประกอบด้วยเมตตาและเป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน)

28.พระพาหิยเถระ-เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา(ตรัสรู้เร็วพลัน)

29.พระวังคีสเถระ-เอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ

30.พระโสณโกฬิวิสเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร

31.พระโสภิตเถระ**-เอตทัคคะในทางระลึกปุพเพนิวาสานุสติญาณ(ระลึกชาติเก่าๆในอดีตกาลได้เสมอกับพระพุทธเจ้า)

32.พระนันทกเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทภิกษุณี

33.พระกังขาเรวตเถระ-เอตทัคคะในทางผู้เพ่งด้วยฌาน

34.พระมหาปันถกเถระ-เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา

35.พระจูฬปันถกเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ(ฤทธิ์ทางใจ)

36.พระกุณฑธานเถระ-เอตทัคคะในทางผู้จับสลากเป็นที่หนึ่ง

37.พระรัฐบาลเถระ-เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา

38.พระกุมารกัสสปเถระ-เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร

39.พระมหาโกฏฐิตเถระ-เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา 4(แตกฉานในอรรถ-ในธรรม-ในนิรุตติ(ภาษา)-ในปฏิภาณ)

40.พระสาคตเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญเตโชสมาบัติ(ไฟ)

41.พระปิลินทวัจฉเถระ-เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา

ผู้ที่เป็นเอตทัคคะ

    เอตทัคคะ ที่เป็นพระภิกษุสงฆ์ มีทั้งหมด 41 ท่าน เป็นพระอสีติมหาสาวกทั้งหมด
    เอตทัคคะ ที่เป็นพระภิกษุณี มีทั้งหมด 13 ท่าน
    เอตทัคคะ ที่เป็นอุบาสกมีทั้งหมด 10 ท่าน
    เอตทัคคะ ที่เป็นอุบาสิกามีทั้งหมด 10 ท่าน


พระภิกษุณีที่เป็นเอตทัคคะ

    พระมหาปชาบดีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู
    พระมหาเขมาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปัญญา
    พระมหาอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์
    พระมหาปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย
    พระมหานันทาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ยินดีในฌาน
    พระมหาธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก
    พระมหาโสณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ปรารภความเพียร
    พระมหาสกุลาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีทิพยจักษุ
    พระมหาภัททากุณฑลเกสีเถรี (พระนางยโสธรา) เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน
    พระมหาภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติได้)
    พระนางยโสธรา เอตทัคคะในฝ่าย ผู้บรรลุมหาภิญญา
    พระมหากีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
    พระมหาสิงคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา

อุบาสกที่เป็นเอตทัคคะ

    ตปุสสะและภัลลิกะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงสรณะก่อน
    อนาถปิณฑิกเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก
    จิตตคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก
    หัตถกอาฬวกอานาคามี เอตทัคคะในฝ่ายผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔
    พระเจ้ามหานามะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายปัจจัย ๔ อันประณีต
    อุคคคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายโภชนะเป็นที่ชอบใจ
    อุคคตคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นสังฆอุปัฏฐาก
    สูรัมพัฏฐเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสอย่างมั่นคง
    ชีวกโกมารภัจจ์ เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสในบุคคล
    นกุลปิตาคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธเจ้า

อุบาสิกาที่เป็นเอตทัคคะ

    นางสุชาดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน
    นางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา
    นางขุชชุตตรา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นพหูสูต
    นางสามาวดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา
    นางอุตตรา (นันทมาตา) เอตทัคคะในฝ่ายผู้ยินดีในฌาน
    นางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายรสอันประณีต
    นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นคิลานุปัฏฐาก
    นางกาติยานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง
    นางกาฬี (อุบาสิกาชาวกุรุรฆริกา) เอตทะคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสโดยได้ยินได้ฟังตาม
    นางนกุลมาตาคหปตานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธเจ้า

อ้างอิง

    ชีวประวัติพุทธสาวก ประวัติพระอัจฉริยะมหาเถระเมื่อครั้งพุทธกาล เล่ม 1 จำเนียร ทรงฤกษ์ , 2542 , พิมพ์โดยสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว (สาขาวัดปากน้ำ), สำนักพิมพ์ธรรมสภา ISBN 974-7276-30-5