ทฤษฎีใหม่
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/koig407l.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=b4422a321bdc787586757718cd1f2088) (http://sv1.up-img.com/upload/12-38/oxcco9dn.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=cebee76b44fe81ebde9ae3bdf9fd141c)
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/m2baoemx.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=73f73d24c3623501cd1700c4e0e57eb1)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการดำเนินงาน
โครงการพัฒนาพื้นที่วัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
"ต้นแบบทฤษฎีใหม่"
เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖
บทนำ
ปัญหาหลักของเกษตรกรในอดีตจนถึงปัจจุบันที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในเขตที่มีฝนค่อนข้างน้อย และส่วนมากเป็นนาข้าวและพืชไร่ เกษตรกรยังคงทำการเพาะปลูกได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น และมีความเสี่ยงกับความเสียหายอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของดิน ฟ้า อากาศ และฝนทิ้งช่วง แม้ว่าจะมีการขุดบ่อหรือสระเก็บน้ำไว้ใช้บ้างแต่ก็ไม่มีขนาดแน่นอน หรือมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ รวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว
ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบากดังกล่าว ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤติ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก
พระราชดำรินี้ ทรงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่" อันเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์ สูงสุด
ทฤษฎีใหม่ : ทำไมใหม่
๑. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกรซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
๒. มีการคำนวณโดยหลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียงต่อการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมตลอดปี
๓. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยมีถึง ๓ ขั้นตอน
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/o394gpd9.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=42ee133e2247722d9054c800ab28fb9b)
ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น
การจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน
ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง
พื้นที่ส่วนหนึ่ง ประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ
พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/otoz8kb7.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=de638db50b2f38677eff722588d35cce)
พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ ๑๐% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่น ๆ
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/sbzkkeaf.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=bf9f782880e19a69b1f232cd2bd6f46d)
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/muz4gj67.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=e4f10561b743c340815dd83ddc443173)
หลักการและแนวทางสำคัญ
๑. เป็นระบบการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำนองเดียวกับการ "ลงแขก" แบบดั้งเดิมเพื่อลดค่าใช้จ่าย
๒. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้น จึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำนาประมาณ ๕ ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/zt0obvju.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=ee7e82e07a832016c80d7a99e9eaad1f)
๓. ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้ขุดสระน้ำ โดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี ทั้งนี้ได้พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อการเพาะปลูก ๑ ไร่ โดยประมาณ ฉะนั้น เมื่อทำนา ๕ ไร่ ทำพืชไร่ หรือไม้ผลอีก ๕ ไร่ (รวมเป็น ๑๐ ไร่) จะต้องมีน้ำ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อปี
ดังนั้น หากตั้งสมมุติฐานว่ามีพื้นที่ ๑๕ ไร่ ก็จะสามารถกำหนดสูตรคร่าว ๆ ว่า แต่ละแปลงประกอบด้วย
- นา ๕ ไร่
- พืชไร่พืชสวน ๕ ไร่
- สระน้ำ ๓ ไร่ ลึก ๔ เมตร จุประมาณ ๑๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่เพียงพอที่จะสำรองไว้ใช้ยามฤดูแล้ง
- ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ ๒ ไร่
รวมทั้งหมด ๑๕ ไร่
แต่ทั้งนี้ ขนาดของสระเก็บกักน้ำขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม ดังนี้
- ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรอาศัยน้ำฝน สระน้ำควรมีลักษณะลึกเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหยได้มากเกินไป ซึ่งจะทำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี
- ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทาน สระน้ำอาจมีลักษณะลึกหรือตื้นและแคบหรือกว้างก็ได้ โดยพิจารณาตามความเหมาะสมเพราะสามารถมีน้ำมาเติมอยู่เรื่อย ๆ
การมีสระเก็บกักน้ำก็เพื่อให้เกษตรกรได้มีน้ำใช้อย่างสม่ำเสมอทั้งปี (ทรงเรียกว่า Regulator หมายถึงการควบคุมให้ดีมีระบบน้ำหมุนเวียนใช้เพื่อการเกษตรได้โดยตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าแล้งและระยะฝนทิ้งช่วง แต่มิได้หมายความว่าเกษตรกรจะสามารถปลูกข้าวนาปรับได้ เพราะหากน้ำในสระเก็บกักน้ำไม่พอ ในกรณีมีเขื่อนอยู่บริเวณใกล้เคียงก็อาจจะต้องสูบน้ำมาจากเขื่อน ซึ่งจะทำให้น้ำในเขื่อนหมดได้ แต่เกษตรกรควรทำนาในหน้าฝน และเมื่อถึงฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วงให้เกษตรกรใช้น้ำที่ได้เก็บตุนนั้น ให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตรอย่างสูงสุด โดยพิจารณาปลูกพืชให้เหมาะสมกับฤดูกาล เช่น
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/k1j1miwm.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=be545e228ab4fba4a185a464ef773928)
- หน้าฝนจะมีน้ำมากพอที่จะปลูกข้าวและพืชชนิดอื่น ๆ ได้
- หน้าแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ควรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วต่าง ๆ
๔. การจัดแบ่งแปลงที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณ และคำนึงจากอัตราการถือครองที่ดินถัวเฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๕ ไร่ อย่างไรก็ตามหากเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองน้อยกว่า หรือมากกว่านี้ก็สามารถใช้อัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ไปเป็นเกณฑ์ปรับใช้ได้ กล่าวคือ
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/kguamz9z.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=2d6a458fdb86e84519b4ce7d49ff3805)
- ๓๐% ส่วนแรก ขุดสระน้ำ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ ได้ด้วย) และบนสระอาจจะสร้างเล้าไก่ได้ด้วย
- ๓๐% ส่วนที่สอง ทำนา
- ๓๐% ส่วนที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวน (ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้เพื่อเป็นเชื้อฟืน ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร เป็นต้น)
- ๑๐% สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)
อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตรหรือหลักการโดยประมาณเท่านั้น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ดิน ปริมาณน้ำฝนและสภาพแวดล้อม เช่น ในกรณีภาคใต้ที่มีฝนตกชุกกว่าภาคอื่น หรือพื้นที่ใดมีแหล่งน้ำ มาเติมสระได้ต่อเนื่อง ก็อาจลดขนาดของบ่อหรือสระน้ำให้เล็กลง เพื่อเก็บพื้นที่ไว้ใช้ประโยชน์อื่นต่อไปได้
ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า
หลักการดังกล่าวมาแล้วเป็นทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นพออยู่พอกินและตัดค่าใช้จ่ายลงเกือบหมด มีอิสระจากสภาพปัจจัยภายนอกและเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สองและขั้นที่สาม ต่อไปตามลำดับ ดังนี้
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการในด้าน
๑. การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
- เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิต โดยเริ่ม ตั้งแต่ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การจัดหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
๒. การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)
- เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดีและลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/tp9c05du.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=688a4aa8b206657cf2f5da62152de3c8)
๓. การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
- ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่นอาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
๔. สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
- แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/ifsxsudr.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=b2a9b39b959dee880a6222265598d350)
๕. การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)
- ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียน ให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
๖. สังคมและศาสนา
- ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว
- กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้าวต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/bm46iyyl.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=c121e60acbc99b8b372e3e0e7aa5aa7b)
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารหรือบริษัทเอกชนจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
- เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
- ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
- เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ราคาขายส่ง)
- ธนาคารหรือบริษัทเอกชนจะสามารถกระจายบุคลากร เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/ky0yxbyi.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=55a474ff9b43509674cfc81a48029a97)
ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่
จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานในโอกาสต่าง ๆ นั้น พอจะสรุปถึงประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ได้ ดังนี้
๑. ให้ประชาชนพออยู่พอกิจสมควรแก่อัตภาพ ในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ตามหลักปรัชญาของ "เศรษฐกิจพอเพียง"
๒. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่าง ๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
๓. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวนขึ้นได้
๔. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/posxdpxm.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=014f86e62ff8c09a372dc607c1b4b5e2)
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/kqtd0dw8.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=61767a0e84450b98b79ec54902ae7362)
ข้อสำคัญที่ควรพิจารณา
๑. การดำเนินการตามทฤษฎีใหม่นั้น มีปัจจัยประกอบหลายประการ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น ฉะนั้นเกษตรกรควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ด้วย
๒. การขุดสระน้ำนั้น จะต้องสามารถเก็บกักน้ำได้ เพราะสภาพดินในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน เช่น ดินร่วน ดินทราย ซึ่งเป็นดินที่ไม่สามารถอุ้มน้ำได้ หรือเป็นดินเปรี้ยว ดินเค็ม ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับพืชที่ปลูกได้ ฉะนั้นจะต้องพิจารณาให้ดีและควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดิน หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/l1v2hfk0.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=9262bb9d1de6a5681aad0b1d4503c2fc)
๓. ขนาดของพื้นที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราการถือครองที่ดิน ถัวเฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๕ ไร่ แต่ให้พึงเข้าใจว่าอัตราส่วนเฉลี่ยขนาดพื้นที่นี้มิใช่หลักตายตัว หากพื้นที่การถือครองของเกษตรกรจะมีน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ ก็สามารถนำอัตราส่วนนี้ (๓๐:๓๐:๓๐:๑๐) ไม่ปรับใช้ได้ โดยถือเกณฑ์เฉลี่ย
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/qr46w406.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=a298508df313c197f21930fa3935d8ac)
๔. การปลูกพืชหลายชนิด เช่น ข้าวซึ่งเป็นพืชหลัก ไม้ผล พืชผัก พืชไร่ และพืชสมุนไพร อีกทั้งยังมีการเลี้ยงปลา หรือสัตว์อื่น ๆ ซึ่งเกษตรกรสามารถนำมาบริโภคได้ตลอดทั้งปี เป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนของอาหารสำหรับครอบครัวได้ และส่วนที่เหลือสามารถจำหน่ายได้เป็นรายได้แก่ครอบครัวได้อีก
๕. ความร่วมมือร่วมใจของชุมชนจะเป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติตามหลักทฤษฎีใหม่ เช่น การลงแรงช่วยเหลือกัน หรือที่เรียกว่าการลงแขก นอกจากจะทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชนแล้ว ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานได้อีกด้วย
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/wb0edwog.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=d8087f6464c5533e364c90ab370553f8)
๖. ในระหว่างการขุดสระน้ำ จะมีดินที่ถูกขุดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก หน้าดินซึ่งเป็นดินดีควรนำไปกองไว้ต่างหาก เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชต่าง ๆ ในภายหลัง โดยนำมาเกลี่ยคลุมดินชั้นล่างที่เป็นดินไม่ดี ซึ่งอาจนำมาถมทำขอบสระน้ำหรือยกร่องสำหรับปลูกไม้ผล.
เงื่อนไขหรือปัญหาในการดำเนินงาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘ ณ ศาลาดุสิดาลัย มีความตอนหนึ่ง ดังนี้
"…การทำทฤษฎีใหม่นี้มิใช่ของง่าย ๆ แล้วแต่ที่ แล้วแต่โอกาส และแล้วแต่งบประมาณ เพราะว่าเดี๋ยวนี้ประชาชน ทราบถึงทฤษฎีใหม่นี้กว้างขวางและแต่ละคนก็อยากได้ ให้ทางราชการขุดสระแล้วช่วย แต่มันไม่ใช่สิ่งง่ายนัก บางแห่งขุดแล้วไม่มีน้ำ แม้จะมีฝนน้ำก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่ามันรั่วหรือบางทีก็เป็นที่ที่รับน้ำไม่ได้ ทฤษฎีใหม่นี้จึงต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมด้วย…ฉะนั้น การที่ปฏิบัติตามทฤษฎีใหม่หรืออีกนัยหนึ่ง ปฏิบัติเพื่อหาน้ำให้แก่ราษฎร เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ง่าย ต้องช่วยกันทำ…"
ตัวอย่างพืชที่ควรปลูกและสัตว์ที่ควรเลี้ยง
ไม้ผลและผักยืนต้น : มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้ม กล้วย น้อยหน่า มะละกอ กะท้อน แคบ้าน มะรุม สะเดา ขี้เหล็ก กระถิน เป็นต้น
ผักล้มลุกและดอกไม้ : มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว มะเขือ มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รัก และซ่อนกลิ่น เป็นต้น
เห็ด : เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น
สมุนไพรและเครื่องเทศ : หมาก พลู พริกไทย บุก บัวบก มะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก และพืชผักบางชนิด เช่น กระเพรา โหระพา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น
ไม้ใช้สอยและเชื้อเพลิง : ไผ่ มะพร้าว ตาล กระถินณรงค มะขามเทศ สะแก ทองหลาง จามจุรี กระถิน สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัน และยางนา เป็นต้น
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/7gv556wv.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=1968ac251bf68834ce82f8f9ae3c059b)
พืชไร่ : ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย มันสำปะหลัง ละหุ่ง นุ่น เป็นต้น พืชไร่หลายชนิดอาจเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ และจำหน่ายเป็นพืชประเภทผักได้และมีราคาดีกว่าเก็บเมื่อแก่ พืชไร่เหล่านี้ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย และมันสำปะหลัง
พืชบำรุงดินและพืชคลุมดิน : ถั่วมะแฮะ ถั่วฮามาต้า โสนแอฟริกัน โสนพื้นเมือง ปอเทือง ถั่วพร้า ขี้เหล็ก กระถิน รวมทั้งถั่วเขียว และถั่วพุ่ม เป็นต้น และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไถกลบลงไปเพื่อบำรุงดินได้
หมายเหตุ : พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งชนิด และการเลือกปลูกพืชควรเน้นพืชยืนต้นด้วย เพราะการดูแลรักษาในระยะหลังจะลดน้อยลง มีผลผลิตทยอยออกตลอดปี หากเลือกพืชยืนต้นชนิดต่าง ๆ กัน และให้ความร่มเย็นและชุ่มชื้นกับที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และควรเลือกต้นไม้และพืชให้สอดคล้องกับคุณภาพของพื้นที่ เช่น ไม่ควรปลูกยูคาลิปตัสบริเวณขอบสระ ควรเป็นไม้ให้คุณค่าสูงกว่า เช่น ไม้ผล เป็นต้น
(http://sv1.up-img.com/upload/12-38/egdyq66e.jpg) (http://sv1.up-img.com/show.php?id=e1595ca315100d3fa3a99b6bf46d23a8)
สัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ได้แก่
๑. สัตว์น้ำ เช่น ปลาไน ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาดุก เพื่อเป็นอาหารเสริมประเภทโปรตีน และยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย ในบางพื้นที่สามารถเลี้ยงกบได้
๒. สุกร หรือ ไก่ เลี้ยงบนขอบสระน้ำ ทั้งนี้มูลสุกรและไก่สามารถนำมาเป็นอาหารปลา บางแห่งอาจเลี้ยงเป็ดได้
ทฤษฎีใหม่ที่สมบูรณ์
ทฤษฎีที่ดำเนินการตามธรรมชาติอาศัยแหล่งน้ำจากน้ำฝนประสิทธิภาพยังอยู่ในลักษณะ "หมิ่นเหม่" เพราะหากปีไหนฝนน้อยอาจไม่เพียงพอ ฉะนั้นการที่จะทำให้ทฤษฎีใหม่สมบูรณ์ได้นั้นคือ สระเก็บกักน้ำจะต้องทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มความสามารถ โดยต้องมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่สามารถเพิ่มเติมน้ำในสระเก็บกักน้ำให้เต็มอยู่เสมอ ดังเช่นในกรณีของการทดลองที่วัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสนอวิธีการดังนี้
ระบบทฤษฎีใหม่ที่สมบูรณ์ อ่างใหญ่ เติมอ่างเล็ก อ่างเล็ก เติมสระน้ำ
จากภาพวงกลมเล็กคือสระน้ำที่เกษตรกรขุดขึ้นตามทฤษฎีใหม่ เมื่อเกิดช่วงขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง เกษตรกรสามารถสูบน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ และหากน้ำในสระน้ำไม่เพียงพอ ก็ขอรับน้ำจากอ่างห้วยหินขาว (อ่างเล็ก) ซึ่งได้ทำระบบส่งน้ำเชื่อมต่อทางท่อลงมายัง สระน้ำที่ได้ขุดไว้ในแต่ละแปลง ซึ่งจะช่วยให้สามารถมีน้ำใช้ตลอดปี
กรณีที่เกษตรกรใช้น้ำกันมาก อ่างห้วยหินขาว (อ่างเล็ก) ก็อาจมีปริมาณน้ำไม่พอเพียง หากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักหรือมีโครงการใหญ่ที่สมบูรณ์แล้ว ก็ใช้วิธีการผันน้ำจากป่าสัก คืออ่างใหญ่ ต่อลงมายังอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาว (อ่างเล็ก) ก็จะช่วยให้มีปริมาณน้ำมาเติมในสระของเกษตรกรพอตลอดทั้งปี โดยไม่ต้องเสี่ยง
ระบบการจัดการทรัพยากรน้ำในลักษระแนวพระราชดำริใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สามารถทำให้การใช้น้ำเพิ่มประสิทธิภาพ จากระบบส่งท่อเปิดผ่านไปตามแปลงไร่นาต่าง ๆ ถึง ๓-๕ เท่า เพราะยามหน้าฝน นอกจากน้ำในอ่างเก็บน้ำแล้ว ยังมีน้ำในสระของราษฎรเก็บไว้พร้อมกันด้วย ทำให้ปริมาณเพิ่มอย่างมหาศาล น้ำในอ่างที่ต่อมาสู่สระจะทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บน้ำสำรอง คอยเติมเท่านั้นเอง
รายละเอียดและข้อมูลเกี่ยวกับแปลงสาธิตทฤษฎีใหม่ และสถานที่ดำเนินการที่ติดต่อได้
ท่านที่สนใจและมีความพร้อมที่จะดำเนินการตามแนวทฤษฎีใหม่ สามารถขอคำปรึกษาขอข้อมูล และเยี่ยมชมแปลงสาธิตทฤษฎีใหม่ได้ ดังนี้
๑. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) หรือ มูลนิธิชัยพัฒนา
ติดต่อ : กองประชาสัมพันธ์
โทรศัพท์ ๒๘๐๖๑๙๓-๒๐๐ โทรสาร ๒๘๐๖๒๐๖
๒. โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
ติดต่อ : ผู้อำนวยการสถานีทดลองพืชไร่ พระพุทธบาท
โทรศัพท์ (๐๓๖) ๔๙๙-๑๘๑
๓. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ติดต่อ : ผู้อำนวยการศูนย์ ฯ เขาหินซ้อน
โทรศัพท์ (๐๓๘) ๕๙๙-๑๐๕
๔. โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำ คลองสีเสียด อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
ติดต่อ : นายอำเภอปากพลี
โทรศัพท์ (๐๓๗) ๓๙๙-๖๕๗ ผู้จัดการโครงการเขื่อนคลองท่าด่าน โทรศัพท์ (๐๓๗) ๓๑๓-๕๗๔
๕. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ติดต่อ : ผู้อำนวยการศูนย์ ฯ ห้วยทราย
โทรศัพท์ (๐๓๒) ๔๗๑-๑๑๐
๖. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
ติดต่อ : ผู้อำนวยการศูนย์ ฯ อ่างคุ้งกระเบน
โทรศัพท์ (๐๓๙) ๓๖๙-๒๑๖-๘
๗. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
ติดต่อ : ผู้อำนวยการศูนย์ ฯ ภูพาน
โทรศัพท์ (๐๔๒) ๗๑๒-๙๗๕ ผู้อำนวยการสถานีทดลองพืชไร่สกลนคร โทรศัพท์ (๐๔๒) ๗๑๑-๐๐๘
๘. โครงการสาธิตทฤษฎีใหม่บ้านแดนสามัคคี อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ติดต่อ : นายอำเภอเขาวง
โทรศัพท์ (๐๔๓) ๘๕๙-๐๘๙
๙. โครงการสาธิตทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
ติดต่อ : ผู้อำนวยการสถานีทดลองพืชไร่ บ้านใหม่สำโรง
โทรศัพท์ (๐๔๔) ๓๒๕-๐๔๘
๑๐. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอนสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ติดต่อ : ผู้อำนวยการศูนย์ ฯ ห้วยฮ่องไคร้
โทรศัพท์ (๐๕๓) ๒๔๖-๔๐๒
๑๑. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
ติดต่อ : ผู้อำนวยการศูนย์ ฯ พิกุลทอง
โทรศัพท์ (๐๗๓) ๕๑๓-๕๖๐
๑๒. จังหวัดและอำเภอทั่วประเทศ
๑๓. เกษตรจังหวัดและเกษตรอำเภอทั่วประเทศ
๑๔. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร, ศูนย์วิจัยและสถานีทดลองของกรมวิชาการเกษตรทั่วประเทศ
ภาคผนวก
ข้อควรทำและไม่ควรทำ
ควรทำ
๑. ปรับอัตราส่วนที่กำหนดไว้ให้เหมาะสมกับพื้นที่และสภาพแวดล้อม (๓๐:๓๐:๓๐:๑๐)
๒. ต้องปลูกข้าวให้เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือนตลอดทั้งปี
๓. ควรศึกษาสภาพดินก่อนดำเนินการขุดสระ ว่าจะสามารถเก็บกักน้ำได้หรือไม่ โดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่
๔. ควรนำหน้าดินจากการขุดสระน้ำไปถมไว้ในบริเวณที่จะทำการเพาะปลูก
๕. ควรปลูกผักสวนครัว พืชสมุนไพร บริเวณที่ว่างรอบบ้าน เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารในครัวเรือน
๖. ควรเลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลต่อกันและกัน เช่น ไก่ เปิด หรือหมู บริเวณขอบสระน้ำ หรือบริเวณบ้าน
๗. ควรเลี้ยงปลาในสระน้ำ เพื่อการบริโภคอาหารโปรตีนแล้ว และยังสามารถขายเป็นรายได้เสริมของครอบครัวอีกด้วย
๘. ควรปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายรอบคันขอบสระน้ำ
๙. ควรมีความสามัคคีในท้องถิ่นโดยช่วยกันทำแบบ "ลงแขก" จะทำให้ประสบผลสำเร็จ
๑๐. ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนนายอำเภอ เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ไม่ควรทำ
๑. อย่าคิดว่าถ้ามีพื้นที่เกษตรน้อยกว่าหรือมากกว่า ๑๕ ไร่ จะทำทฤษฎีใหม่ไม่ได้
๒.ไม่ควรเสียดายที่ดินส่วนหนึ่งที่จะต้องนำมาขุดสระน้ำ เป็นและถ้ามีสระน้ำอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องขุดสระใหม่ เพียงแต่ปรับปรุงให้สามารถเก็บกักน้ำได้
๓. อย่าทำลายหน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ในขณะขุดสระน้ำ
๔. ไม่ควรปลูกพืชหรือไม้ยืนต้นที่ต้องการน้ำมากบริเวณคันขอบสระน้ำ
๕. ไม่ควรปลูกพืชเพียงชนิดเดียว
๖. หากดำเนินการด้านการเกษตรกรรมอื่นใดได้ผลอยู่แล้ว ไม่ควรปรับเปลี่ยนมาทำทฤษฎีใหม่ เพราะไม่จำเป็น
๗. หากสภาพภูมิประเทศไม่เหมาะสมทำทฤษฎีใหม่ไม่ได้ ก็ต้องหาหนทางอื่นที่เหมาะสมต่อไป
๘. อย่าท้อถอยและเกียจคร้าน
| การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน | การพัฒนาแหล่งน้ำ | โครงการธนาคารข้าว | การพัฒนาการประมง | การพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ |
โครงการธนาคารโค-กระบือ | โครงการฝนหลวง | โครงการหลวง | การพัฒนาระบบสหกรณ์ |
| สรรพศิลปศาสตราธิราช | สาขาส่งเสริมการเกษตร |
======================================================