สถานที่ปฏิบัติธรรมของชาวอโศก (พ.ศ. ๒๕๔๕)
[สันติอโศก] [ปฐมอโศก] [ศีรษะอโศก] [ศาลีอโศก] [สีมาอโศก] [ราชธานีอโศก] [ภูผาฟ้าน้ำ] [ทักษิณอโศก] [หินผาฟ้าน้ำ]
http://www.asoke.info/01Religion/Buddhastan/index.html
การรวมตัวกันก่อสร้างบ้านเรือนอยู่ติดกับพุทธสถาน เพื่อจะได้อยู่ใกล้ชิดหมู่กลุ่มมิตรดี สหายดีที่ช่วยให้การปฏิบัติธรรมเป็นไปด้วยดี พุทธสถานจึงกลายเป็นศูนย์กลางของชุมชน ที่ให้การอบรมชี้แนะแนวการปฏิบัติธรรมในแนวลึก และประสานกันทำงานเพื่อสังคมในแนวกว้างไปพร้อมกัน สถานที่ปฏิบัติธรรมทุกแห่งจึงมีชุมชนชาวพุทธเกิดขึ้น กิจกรรมต่างๆ ก็ขยายขึ้นไปอีก
ในจำนวนพุทธสถานทั้งหมดนั้น พุทธสถานสันติอโศก ถือเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ธรรมะ โดยเฉพาะเป็นแหล่งผลิตสิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยมี มูลนิธิธรรมสันติเป็นผู้อนุเคราะห์
ต่อมาได้เกิด กองทัพธรรมมูลนิธิ สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม และ ธรรมทัศน์สมาคม ตลอดทั้งหน่วยงาน และกิจการต่างๆ ตามมาอีก
หน่วยงาน หรือองค์กรของชาวอโศก
1. มูลนิธิธรรมสันติ (2520) เป็นองค์หลักสำคัญยิ่งของกระบวนการทางศาสนา ดำเนินกิจการต่างๆ ภายใต้นโยบายหลัก 3 ประการ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดังนี้ โรงพิมพ์มูลนิธิธรรมสันติ, โครงการปฐมอโศก, ศาลาสุขภาพ, ธรรมสันติทันตกรรม, โรงเรียนสัมมาสิกขา (ปฐมอโศก และสันติอโศก)
2. กองทัพธรรมมูลนิธิ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดังนี้ โรงพิมพ์กองทัพธรรมมูลนิธิ ปฐมอโศก, ชมรมขยะวิทยา
3. สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดังนี้ ชมรมหัตถกรรมกะลาไท, ห้องสมุดสมาคมผู้ปฏิบัติธรรม, ชมรมนักศึกษาผู้ปฏิบัติธรรม (นศ.ปธ.), ชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย (ชมร.) สาขากรุงเทพ (สวนจตุจักร) สาขานครปฐม สาขาเชียงใหม่ และสาขานครราชสีมา, ชมรมสัมมาสิกขาพุทธธรรม, โรงสีสมาคม จังหวัดขอนแก่น, โรงเจสมาคม จังหวัดจันทบุรี,
4. ธรรมทัศน์สมาคม
5. บริษัทบุญนิยม ได้แก่ บริษัท พลังบุญ จำกัด, บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด, บริษัท แด่ชีวิต จำกัด, มูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อน, บริษัท วิทยุดี จำกัด
6. กองบุญคุ้มครองภัย, กองบุญสวัสดิการ, สหกรณ์บุญนิยม