Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
ภาพประทับใจ => สถานที่สวยงาม => Topic started by: ppsan on 24 January 2013, 01:45:19
-
พิพิธภัณฑ์สิรินธร : แหล่งเรียนรู้ธรณีวิทยา วิชาการ และซากดึกดำบรรพ์
บ้านภูกุ้มข้าว ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์
เป็นพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
--------------------------------------
พิพิธภัณฑ์สิรินธร : แหล่งเรียนรู้ธรณีวิทยา วิชาการ และซากดึกดำบรรพ์
เมื่อเอ่ยถึง ไดโนเสาร์ เพื่อนๆ คงนึกถึงสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ที่มีขนาดตัวใหญ่โตมโหฬาร อย่างในหนังหรือในสารคดีจากต่างประเทศที่เคยได้รับชม
จนอาจเผลอรู้สึกว่า เรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์นั้นเป็นเรื่องไกลตัว
แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด เพราะแม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานแล้ว แต่ร่องรอยหรือฟอสซิลที่หลงเหลือไว้
ก็ยังคงเป็นเบาะแสให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาทำความรู้จักกับไดโนเสาร์อยู่เสมอ
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/uy951pos.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=5221745a3e376af49a06f43b1879e244)
พิพิธภัณฑ์สิรินธร หรือ อุทยานโลกไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูกุ้มข้าว วัดป่าสักกะวัน บนเนื้อที่กว่า 100 ไร่
คือ สถานที่ที่ได้รวบรวมเรื่องราวของไดโนเสาร์ไว้อย่างครบถ้วน ที่นี่เป็นศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
อีกทั้งยังถือเป็นพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยในภาคอีสานนั้น ถือเป็นแหล่งขุดค้นพบซากฟอสซิลโดโนเสาร์มากที่สุด
ซึ่งคนอีสานจะเรียกไดโนเสาร์ว่า “กะปอมยักษ์”
สาเหตุที่พบไดโนเสาร์ในภูมิภาคนี้เป็นจำนวนมาก มีการสันนิษฐานกันว่า เป็นเพราะสภาพแวดล้อมแถบนี้ในสมัยโบราณมีภูมิประเทศ
เป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีแม่น้ำไหลผ่าน จนเป็นแหล่งอาศัยของไดโนเสาร์และสัตว์ดึกดำบรรพ์ เมื่อสัตว์เหล่านั้นตายลง จึงถูกตะกอนแม่น้ำ
กลบฝังไว้ และกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลในที่สุด
การจัดแสดงภายในอาคารของพิพิธภัณฑ์สิรินธร มีการแบ่งออกเป็น 8 โซน ได้แก่
โซน 1 จักรวาลและโลก
จักรวาล โลก สิ่งมีชีวิต รวมทั้งไดโนเสาร์ ถือกำเนิดมานานแล้ว นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหาเรื่องราวที่ลึกลับนี้
นับจากการระเบิดครั้งใหญ่หรือ “ บิ๊กแบง ” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวาล การกำเนิดของจักรวาล การกำเนิดของดาวฤกษ์
และพัฒนาการของระบบสุริยะและโลก
การกำเนิดโลก
จากดาวเคราะห์ร้อนจัดและปั่นป่วน อันเนื่องจากภูเขาไฟระเบิดและการพุ่งชนของอุกกาบาต โลกของเราค่อย ๆ เย็นตัวลง
ทั้งบรรยากาศและน้ำช่วยนำทางไปสู่พัฒนาการของสารเคมีอันสลับซับซ้อน ซึ่งเรียกว่าชีวิต สิ่งมีชีวิตยุคแรกเริ่มที่มีรูปร่างง่ายๆ
และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าได้ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของโลกด้วยการเติมออกซิเจนสู่มหาสมุทรและบรรยากาศ
จนกลายเป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/tia7pfuw.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=32414c4d2d08c1c2e1664e90a59b7922)
สัณฐานธรณีต่างๆ บนโลก รวมทั้งหินแต่ละก้อนต่างบันทึกหลักฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญทางธรณีวิทยา
ตลอดช่วงเวลา 4,600 ล้านปีที่ผ่านมาของโลก ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ไปตามลำดับอายุทางธรณีวิทยา
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/j1ojpp43.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=38ad3f283e059e1a1ff2db01414ec224)
โซน 2 เมื่อชีวิตแรกปรากฏ
จากดาวเคราะห์ร้อนจัดและปั่นป่วน อันเนื่องจากภูเขาไฟระเบิดและการพุ่งชนของอุกกาบาต โลกของเราค่อย ๆ เย็นตัวลง
ทั้งบรรยากาศและน้ำช่วยนำทางไปสู่พัฒนาการของสารเคมีอันสลับซับซ้อน ซึ่งเรียกว่าชีวิต สิ่งมีชีวิตยุคแรกเริ่มที่มีรูปร่างง่ายๆ
และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าได้ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของโลกด้วยการเติมออกซิเจนสู่มหาสมุทรและบรรยากาศ
จนกลายเป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/o705kc6x.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=f65403c9f980aee88f2fa6d1f1d5a931)
โซน 3 พาลีโอโซอิก มหายุคแห่งวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
542 ล้านปีที่แล้ว สิ่งมีชีวิตบนโลกเกิดการขยายเผ่าพันธุ์ครั้งใหญ่จากพวกที่มีรูปแบบง่ายๆ ไม่กี่ประเภท วิวัฒนาการไปสู่สิ่งมีชีวิตหลากรูปแบบ
จากสัตว์ตัวอ่อนนุ่มไปสู่สัตว์ที่มีเปลือกแข็งหุ้ม ปลาโบราณขนาดใหญ่ยาวกว่า 5 เมตร แหวกว่ายผ่านแนวปะการังมหึมาที่แผ่ไปทั้งท้องทะเลเขตร้อน
สิ่งมีชีวิตบางประเภทพากันรุกคืบขึ้นบก เปลี่ยนแผ่นดินอันเวิ้งว้างว่างเปล่าให้กลายเป็นป่าทึบที่อุดมไปด้วยแมลง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
และสัตว์เลื้อยคลาน ก่อนที่มหันตภัยปริศนาจะกวาดล้างสรรพชีวิตบนโลกไปจนเกือบหมดสิ้น
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/s8x3gpuo.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=02bb21dc859dc36f4b17d79fa41dd620)
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/mjeu59cn.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=1e9d304ec8fb6d8d247364f4fd51b554)
โซนที่ ๔ มหายุคมีโซโซอิค
โซน 4.1 มีโซโซอิก มหายุคแห่งสัตว์เลื้อยคลานและไดโนเสาร์
ในช่วงปลายมหายุคพาลีโอโซอิก แผ่นทวีปทั้งหมดได้เคลื่อนมารวมกันเป็นผืนเดียว เรียกว่า “ แพนเจีย ”
ความใหญ่โตของแผ่นดินทำให้ตอนกลางของทวีป ซึ่งห่างไกลจากทะเลที่สภาพแห้งแล้งเป็นทะเลทรายกว้างใหญ่
จึงเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของสัตว์เลื้อยคลานมากที่สุด
หลังการสูญพันธ์ครั้งยิ่งใหญ่ตอนสิ้นสุดมหายุคพาลีโอโซอิก สัตว์เลื้อยคลานก็ก้าวขึ้นมาครองโลกในมหายุคมีโซโซอิกที่ตามมา
ไดโนเสาร์ครองความยิ่งใหญ่บนแผ่นดิน เทอโรซอร์ที่งามสง่าเป็นจ้าวเวหา สัตว์เลื้อยคลานทะเลขนาดมหึมาเป็นเจ้าสมุทร
นกปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก และสภาพแวดล้อมบนโลกก็ทวีความหลากหลายยิ่งกว่าครั้งใดๆ พืชดอกช่วยแต่งเติมสีสันแก่ป่าผืนกว้าง
ที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดจิ๋ว ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ต้องใช้ชีวิตหลบๆ ซ่อนๆ จากคมเขี้ยวของไดโนเสาร์
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/w03x47ps.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=df6a1820ac80a9823de8d8ec96e16979)
รอยเท้าไดโนเสาร์
โซน 4.2 ไดโนเสาร์ไทย
มหายุคมีโซโซอิก แผ่นดินที่ปัจจุบันเป็นประเทศไทย เป็นแหล่งอาศัยของไดโนเสาร์นานาชนิด นับตั้งแต่พวกกินเนื้อขนาดใหญ่หรือเทอโรพอด
ที่เป็นญาติสนิทของ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ พวกกินพืชคอยาวหรือซอโรพอด ซึ่งหนักกว่าช้างหลายตัวรวมกัน ไปจนถึงไดโนเสาร์ปากนกแก้วตัวจิ๋ว
การศึกษาอย่างต่อเนื่องทำให้เราเข้าใจความเกี่ยวข้องระหว่างไดโนเสาร์กลุ่มต่างๆ ทั้งพวกสะโพกแบบนกและสะโพกแบบสัตว์เลื้อยคลาน
และตระหนักว่าไดโนเสาร์ไทยมีคุณูปการต่อความเข้าใจเรื่องวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ในระดับโลกมากเพียงใด
ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจำลองโครงกระดูกและรายละเอียดต่างๆ ของไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทย ทั้ง 8 ชนิด ได้แก่
1.สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส
2.อีสานโนซอรัส
3.อรรถวิภัชน์ชิ -ไดโนเสาร์กินพืชที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
4.ภูเวียงโกซอรัส,
5.สิรินธรเน -ไดโนเสาร์กินพืชชนิดแรกที่พบในไทย
6.ชิดตะโกซอรัส
7.สัตยารักษ์กิ - ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว ชนิดแรกที่พบในไทย
8.ฮิปซิโลโฟดอน ไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็ก
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/7zbx8wcj.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=ad29f9ef2d86a96e330babadb76c4f68)
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/7r8u9h9u.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=83ec823f0688edfde51191bae50be197)
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/tdmpjvpb.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=c9ad6db272624c8c9c1dadbd2280af42)
โซน 5 วิถีชีวิตไดโนเสาร์
การค้นพบข้อมูลใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้เราเข้าใจถึงเรื่องราวในมุมลึกของไดโนเสาร์ นอกจากจะล่วงรู้ถึงรูปร่างของไดโนเสาร์ชนิดต่างๆ แล้ว
ยังช่วยให้เข้าใจเรื่องการกินอาหาร การล่าเหยื่อ การป้องกันตัวและการเลี้ยงลูกอ่อน อีกทั้งยังช่วยให้เราเห็นภาพไดโนเสาร์ที่มีชีวิตชีวามากขึ้น
และดื่มด่ำกับความอัศจรรย์ของสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ยิ่งใหญ่กลุ่มนี้ได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้หลักฐานใหม่ๆ ยังบ่งชี้ว่าไดโนเสาร์อาจไม่ได้สูญพันธุ์ไปทั้งหมด
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/bywoo39i.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=623505f7dce8e5dc76a6ed1007cee39f)
จำลอง ไข่ไดโนเสาร์
โซน 6 คืนชีวิตให้ไดโนเสาร์
ไดโนเสาร์ สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ และสิ่งมีชีวิตหลายประเภท ในมหายุคมีโซโซอิกสูญพันธ์ไปในมหันตภัยปริศนาเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว
แต่นักโบราณชีววิทยาซึ่งทำงานศึกษาอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์อยู่ตามสถาบันต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งที่ภูกุ้มข้าวแห่งนี้ ได้ช่วยกันฟื้นชีวิต
และสร้างความหมายให้แก่ซากดึกดำบรรพ์เพื่อนำเราย้อนกลับไปสัมผัสกับยุคที่ไดโนเสาร์เป็นใหญ่
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/qxe1h1b4.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=8bdbd77c796161b63ca028c7dd557f5c)
โซน 7 ซีโนโซอิก มหายุคแห่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
หลังการสูญพันธ์ของไดโนเสาร์ สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่เหลืออยู่ต้องหลีกทางให้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ทวีเผ่าพันธุ์อย่างรวดเร็ว
และพากันเข้ายึดครองภูมิประเทศกันหลากหลาย ทั้งทุ่งหญ้า ป่าทึบ ท้องทะเลและในอากาศ นี่คือโลกที่เราคุ้นเคยดี
เพราะยังมีทายาทของช้าง ม้า แรด วาฬ ค้างคาว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มหลักๆ ให้เห็นเป็นตัวอย่างของวิวัฒนาการขนาดใหญ่
ที่เกิดขึ้นในช่วง 65 ล้านปี ที่ผ่านมาแม้แต่มนุษย์เองก็เป็นผลผลิตจากกระบวนการนี้
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/rajz1q7l.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=d7b7f8af3a13cdf89d47093d25255afb)
โซน 8 เรื่องของมนุษย์
จาก “ ไพรเมต ” หรือสัตว์ในตระกูลลิง ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ซึ่งถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ได้แยกตัวเองออกจากเผ่าพันธุ์ลิงใหญ่
เมื่อประมาณ 6-7 ล้านปี ที่แล้ว และเริ่มวิวัฒนาการมาเป็นสัตว์ที่เดิน 2 ขา และอาศัยบนพื้นดิน แต่ความโดดเด่นของมนุษย์อยู่ที่
การพัฒนาการทางสมอง และภูมิปัญญาที่มีความฉลาดกว่าสัตว์ประเภทอื่น ซึ่งเปิดโอกาสให้เราสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ตั้งแต่ขวานหินไปจนถึงคอมพิวเตอร์
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/8ljtp9yi.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=d0c5ce04e313fec63a405bf1f4823014)
ถัดจากพื้นที่แสดงโครงกระดูกไดโนเสาร์จำลอง คือ ห้องปฏิบัติการโบราณชีววิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นห้องที่รวบรวมฟอสซิลไดโนเสาร์
ที่ค้นพบทั่วประเทศ เพื่อนำมาทำความสะอาด และซ่อมแซมส่วนที่แตกหัก โดยนักวิจัยจะทำการศึกษากระดูกเพื่อระบุชนิดและอายุ
ด้วยการนั่งทำงานในห้องปฏิบัติการฯ นี้ ส่วนผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์สามารถชมวิธีการทำงานของนักวิจัย ผ่านกระจกได้
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/dmetst3t.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=52641a2e88fde1d95716ea913dd768e9)
เรื่องราวของไดโนเสาร์นั้น ไม่ใช่เรื่องไกลตัว อย่างที่คิด นอกจากนี้ยังมีสื่อการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสเรียนรู้อย่างสนุกสนานด้วย
ถ้าหากมีโอกาสอย่าลืมแวะเวียนเข้าเยี่ยมชมกันนะครับ
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-17/7pkgzzjk.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=de8d3a4cd5da25c851fa1f2b9f929c64)
แหล่งที่มา : พิพิธภัณฑ์สิรินทร
http://www.vcharkarn.com/varticle/39046
http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/11/22/entry-1
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=159222
============================================