Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
หมวดหมู่ทั่วไป => เพลงไทย => เพลงพาเพลิน => ศาลาพักใจ => เพลงไทยสากล => Topic started by: ppsan on 10 March 2025, 11:00:08
-
เพลง เสน่หา - สุเทพ วงศ์กำแหง[/b
เพลง เสน่หา - สุเทพ วงศ์กำแหง
https://www.youtube.com/watch?v=Fdc3ojrXvHs
เพลง เสน่หา สุเทพ วงศ์กำแหง
https://youtu.be/Fdc3ojrXvHs?si=nQcpOVsS5L5sV7t_
..
เสน่หา
คำร้อง - ทำนอง : มนัส ปิติสานต์
ขับร้อง : สุเทพ วงศ์กำแหง
ความรักเอย ..
เจ้าลอยลมมาหรือไร
มาดลจิต
มาดลใจเสน่หา
รักนี้จริงจากใจหรือเปล่า
หรือเย้าเราให้เฝ้าร่ำหา
หรือแกล้งเพียงแต่แลตา
ยั่วอุราให้หลงลำพอง
สงสารใจฉันบ้าง
วานอย่าสร้างรอยช้ำซ้ำเป็นรอยสอง
รักแรกช้ำน้ำตานอง
ถ้าเป็นสองฉันคงต้องขาดใจตาย
...
ที่มา แห่ง ..เสน่หา
เพลงนี้ครูมนัส ปิติสานต์ เล่าว่า แต่งในปี พ.ศ.2502 เมื่อครั้งที่ไปทำงานเป็นครูสอนดนตรีที่สถานีโทรทัศน์ กรมประชาสัมพันธ์ที่ขอนแก่น สมัยที่รักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช เป็นอธิบดี และมีบ้านพักอยู่ที่ริมบึงแก่นนคร
ครูมนัส ปิติศานต์ สอนดนตรีให้กับ นักแสดงละคร ทีวีช่อง 5 ขอนแก่น ที่นั่น
คืนนั้นพระจันทร์ลอยเด่นเต็มดวงสวยมาก เป็นช่วงเดือนธันวาคม อากาศกำลังหนาว จึงเกิดอารมณ์อยากเขียนเพลง ในท่วงทำนองของคนที่ผิดหวัง ในเรื่องของความรัก (ซึ่งในขณะนั้น ครูมนัส เพิ่งจะผิดหวังในเรื่องราวของความรัก กับคู่รักของท่าน ซึ่งรักกันมาก)
ครูมนัส ท่านแต่งขึ้นมาได้ เพียงประโยคหนึ่ง " ความรักเอยเจ้าลอยลมมาหรือไร " แต่งมาได้เพียงเท่านี้ เกิดความรู้สึกว่าตัน แต่ในอีกความรู้สึกบอกว่า ยังไม่จบ ต้องมีเนื้อเพลงมากกว่านี้ ครูจึงใส่ ฮัม.. ลงไปในเนื้อเพลง
และนึกถึงว่า ในขณะนั้น ครูต้องการอะไร และจะต้องมีใครสักคนที่เข้าใจครู
หลังจากนั้น ครูจึงเขียนเนื้อเพลง ประโยคต่อมาว่า " สงสารใจฉันบ้าง วานอย่าสร้างรอยช้ำซ้ำเป็นรอยสอง รักแรกช้ำน้ำตานอง ถ้าเป็นสองฉันคงต้องขาดใจตาย " และเพลง เสน่หา จบในค่ำคืนนั้น แต่ยังไม่ได้ตั้งชื่อเพลง
เมื่อครูมนัส กลับมาถึงกรุงเทพ ครูจึงนำบทเพลง ..เสน่หา เพลงนี้ให้คุณสุเทพ วงศ์กำแหง ร้องบันทึกลงแผ่นเสียง ปี พ.ศ.2502
เมื่อนำมาบันทึกแผ่นเสียงออกเผยแพร่ จึงใช้คำว่าวรรคสุดท้ายของเพลงบรรทัดแรก คือคำว่า "เสน่หา" มาเป็นชื่อ และได้รับความนิยมไม่แพ้เพลงอื่นๆ ที่แต่งมาก่อนหน้านี้
ครูมนัส ปิติสานต์ เขียนเล่าเอาไว้ในที่มาแห่งอารมณ์เพลงในหนังสือมหกรรมดนตรี เพลงไทยยุคทองของ 12 ครูเพลง ว่า
"...เพลงนี้ลอยลมมาจริงๆ เหมือนอย่างเนื้อเพลงที่ว่า...ความรักเอยเจ้าลอยลมมาหรือไร...เป็นความรู้สึกนั้นจริงๆ ความรักลอยลมมากระทบใจ แล้วไหลออกมาเป็นบทเพลงนี้ เพียงไม่กี่บรรทัด แต่คำจำกัดความของความรักนั้นมันคือความรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ...ผมขอยืนยัน"
เรื่องราวของเพลงที่ครูมนัส ปิติศานต์ แต่งไว้แต่ละเพลงที่แต่งนั้น เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของครูมนัสทั้งสิ้น และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ครูรักมากที่สุด ซึ่งในเวลาต่อมาครูมนัส และผู้หญิงคนนั้น ได้เลิกรากันด้วยฐานะที่ต่างกัน
และทุกสิ่งกลายมาเป็นเพลงเพราะๆ ที่เราได้ฟังกันจนทุกวันนี้
.....
ขอขอบคุณ ที่มาแห่งเสน่หา
http://saisampan.net/index.php?topic=56840.0
.
-
เพลง เสน่หา
เพลงเสน่หา เป็นผลงานที่แต่งทั้งคำร้องและทำนองโดยครูมนัส ปิติสานต์ หรือ พ.อ.อ. มนัส ปิติสานต์ เดิมท่านชื่อ “มะลิ” แต่มาเปลี่ยนชื่อเป็น “มนัส”
ครูมนัสเรียนที่กองดุริยางค์ทหารอากาศ ในรุ่นที่ 1 และเป็นลูกศิษย์ของพระเจนดุริยางค์ ครูมนัสบอกว่า “ในการเขียนเพลงนั้น สวรรค์มอบมาให้จริง ๆ จะถ่ายทอดให้ใครก็ไม่ได้ หากผู้ใดหรือใครอยากจะเป็นนักแต่งเพลง ต้องมีพรสวรรค์ในการเสกสรร ปั้นคำ หาไม่แล้วก็จะเป็นเพลงที่ไร้เสน่ห์..”
การประพันธ์เพลงเป็นองค์ความรู้ที่ลุ่มลึก โดยครูมนัสได้ผสมผสานทั้งทางด้านดนตรีไทยและสากล เช่น เพลงเสน่หา การร้องมีการเอื้อนแบบเพลงไทยเดิมอย่างเหมาะสม มีความไพเราะกินใจ เป็นเพลงที่โดดเด่นมาก ส่วนคุณค่าในคำประพันธ์ พบว่าเพลงรักต่าง ๆ มาจากใจของครูมนัส ที่นำเอาเรื่องราวของชีวิตจริงแล้วกลั่นออกมาจากใจ เป็นความรักไม่สมหวัง รักปนเศร้า ที่มีความไพเราะกินใจทั้งทำนองและคำร้อง
เพลงเสน่หา แต่งในปี พ.ศ. 2507 ซึ่งขณะนั้นครูมนัสได้ไปทำงานเป็นครูสอนดนตรีที่สถานีโทรทัศน์ กรมประชาสัมพันธ์ มีบ้านพักริมบึงแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น ต่อมาปี พ.ศ. 2509 เพลงนี้ได้ขับร้องและบันทึกแผ่นเสียงโดยสุเทพ วงศ์กำแหง
ครูมนัสบอกว่า “คืนนั้นพระจันทร์ลอยเด่นเต็มดวงสวยมาก เป็นช่วงเดือนธันวาคม อากาศกำลังหนาว จึงเกิดอารมณ์อยากเขียนเพลง ในท่วงทำนองของคนที่ผิดหวังในเรื่องความรัก แต่ตอนนั้นยังไม่ได้ตั้งชื่อ เมื่อนำมาบันทึกแผ่นเสียงจึงใช้คำจากวรรคสุดท้ายของเพลงบรรทัดแรก คือคำว่า “เสน่หา” มาเป็นชื่อเพลง”
นอกจากนี้แล้วครูมนัส ปิติสานต์ ยังได้เล่าผ่านการสัมภาษณ์ของอาจารย์อานันท์ นาคคง ไว้ว่า "ไม่เคยคิดเลยว่าเพลงนี้จะกลายเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟัง เพราะเป็นการเขียนที่ใช้ภาษาง่าย ง่ายมาก ๆ เลย เป็นเรื่องของคำถาม เป็นเรื่องของการระบายของอารมณ์ความเจ็บปวด ที่เราถูกทิ้งไว้ แล้วก็ไปเจอคนที่มาใส่ใจ เราก็ไม่แน่ใจว่าชีวิตของศิลปินอย่างเราจะมีคนใส่ใจ เพราะความเป็นศิลปินเรารู้สึกต่ำต้อย และเมื่อเขามาสนใจ ให้ความสนิทสนม เป็นปัญหาที่ต้องถามตัวเอง ก็เลยเขียนเพลงนี้ขึ้นมา ถามว่าที่มาเนี่ย จริงใจหรือ แล้วนำความเจ็บปวดที่เจ็บตอนนั้นใส่เข้าไป
‘สงสารใจฉันบ้าง วานอย่าสร้างรอยช้ำ ซ้ำเป็นรอยสอง รักแรกช้ำน้ำตานอง ถ้าเป็นสอง ฉันคงต้องขาดใจตาย’
... เป็นความรู้สึกส่วนตัว และนึกถึงว่าคงยังมีอีกหลายคนคล้ายเรา ก็เขียนว่า
‘ความรักเอยเจ้าลอยลมมาหรือไร มาดลจิตมาดลใจเสน่หา’
เลยถามว่า
‘รักนี้จริงจากใจหรือเปล่า หรือเย้าเราให้เฝ้าร่ำหา หรือแกล้งเพียงแต่แลตา ยั่วอุราให้หลงลำพอง’
เพลงเสน่หา เป็นหนึ่งในเพลงที่รักอมตะของไทยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2475 - 2530 ซึ่งถือเป็นยุคทองของเพลงไทยสากล โดยเพลงนี้เป็นเพลงรักที่มีแก่น หรือ Theme อยู่ในกลุ่มโศกนาฏกรรมแบบเมื่อมีรักย่อมมีทุกข์ คือเป็นบทเพลงที่มีแก่นของเรื่องแบบผู้ที่เพิ่งเคยพานพบกับความรัก เป็นความสุขที่ปะปนมาพร้อมกับความทุกข์เหมือนเงาตามตัว แม้ความรักจะทำให้เกิดทุกข์แต่ก็ยินดีที่จะรับไว้ และยากที่จะตัดขาดได้
สำหรับรูปแบบคำร้อง เป็นเพลงที่มีความงดงามทางด้านวรรณศิลป์ โดยมีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใหม่ แล้วต่อมาเมื่อเพลงได้รับความนิยมสูง คำคม หรือสำนวนในเพลงเหล่านั้นกลายเป็นสำนวนฮิต ที่ผู้คนพูดติดปากมาจนกระทั่งทุกวันนี้ เช่น “ความรักเอยเจ้าลอยลมมาหรือไร” จากเพลง “เสน่หา”
.
.....
ขอขอบคุณ
https://www.facebook.com/photo/?fbid=4913548298732084&set=a.838110082942613
.