Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
หมวดหมู่ทั่วไป => สาระน่ารู้ => Topic started by: Smile Siam on 12 January 2013, 10:02:02
-
ประวัติมวยไทย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. มวยไทยกับคนไทย
จากการจำแนกเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ คนไทยมีเชื้อชาติอยู่ในกลุ่มมองโกเลีย ลักษณะร่างกายโดยทั่วไปตัวเล็กกว่าคนที่อาศัยอยู่ในเขตหนาว ความสูงโดยเฉลี่ย 5 ฟุต 3 นิ้ว
ร่างกายล่ำสัน สมส่วน ทะมัดทะแมง น้ำหนักตัวน้อย มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นสูง มือมีเนื้อนุ่มนิ่ม ผิวสีน้าตาลอ่อน ผมดกดำ ขนตามตัวมีน้อย เคราไม่ดกหนา
รูปศีรษะเป็นสัดส่วนดี ลูกตาสีดำตาขาวมีสีเหลืองเล็กน้อย กระพุ้งแก้มอวบอูม ใบหน้ากลม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นเมืองร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร
ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ใช้เรือเป็นพาหนะ จึงทำให้คนไทยสวมเสื้อผ้าน้อยชิ้น ไม่สวมหมวกและรองเท้า สามารถใช้อวัยวะหมัด เท้า เข่า ศอก
ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว จึงนำไปผสมผสานกับการใช้อาวุธมีด ดาบ หอก เพื่อป้องกันตนเองและป้องกันประเทศ
มวยไทยนั้นมีมาพร้อมกับคนไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยมาช้านาน ในสมัยโบราณประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ
จึงมีการสู้รบกันอยู่เสมอๆ ดังนั้นชายไทยจึงนิยมฝึกมวยไทยควบคู่กับการฝึกอาวุธ ต่อมาได้วิวัฒนาการจนกลายเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น
มีลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงามแฝงไว้ด้วยความแข็งแกร่งดุดัน สามารถฝึกเพื่อป้องกันตนเอง เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย และเพื่อเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
2. มวยไทยในสมัยกรุงสุโขทัย
สมัยกรุงสุโขทัยเริ่มประมาณ พ.ศ.1781 - 1951 รวมระยะเวลา 140 ปี หลักฐานจากศิลาจารึกกล่าวไว้ชัดเจนว่า กรุงสุโขทัยทำสงครามกับประเทศอื่นรอบด้าน
จึงมีการฝึกทหารให้มีความรู้ความชำนาญในรบด้วยอาวุธ ดาบ หอก โล่ห์ รวมไปถึงการใช้อวัยวะของร่างกายเข้าช่วยในการรบระยะประชิดตัวด้วย เช่น ถีบ เตะ
เข่า ศอก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรบ
หลังเสร็จสงครามแล้ว ชายหนุ่มในสมัยกรุงสุโขทัยมักจะฝึกมวยไทยกันทุกคนเพื่อเสริมลักษณะชายชาตรี เพื่อศิลปะป้องกันตัว เพื่อเตรียมเข้ารับราชการทหาร
และถือเป็นประเพณีอันดีงาม ในสมัยนั้นจะฝึกมวยไทยตามสำนักที่มีชื่อเสียง เช่น สำนักสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี นอกจากนี้ยังมีการฝึกมวยไทยตามลานวัด
โดยพระภิกษุอีกด้วย วิธีฝึกหัดมวยไทยในสมัยกรุงสุโขทัย ครูมวยจะใช้กลอุบายให้ศิษย์ ตักน้ำ ตำข้าว ผ่าฟืน ว่ายน้ำ ห้อยโหนเถาวัลย์ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
และอดทนก่อนจึงเริ่มฝึกทักษะ โดยการผูกผ้าขาวม้าเป็นปมใหญ่ๆไว้กับกิ่งไม้ แล้วชกให้ถูกด้วยหมัด เท้า เข่า ศอก นอกจากนี้ยังมีการฝึกเตะกับต้นกล้วย
ชกกับคู่ซ้อม ปล้ำกับคู่ซ้อม จบลงด้วยการว่ายน้ำเพื่อทำความสะอาดร่างกายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน ครูมวยจะอบรมศีลธรรมจรรยา ทบทวนทักษะ
มวยไทยท่าต่างๆ จากการฝึกในวันนั้นผนวกกับทักษะท่าต่างๆ ที่ฝึกก่อนหน้านี้แล้ว
สมัยกรุงสุโขทัยมวยไทยถือว่าเป็นศาสตร์ชั้นสูงถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาของกษัตริย์ เพื่อฝึกให้เป็นนักรบที่มีความกล้าหาญ มีสมรรถภาพร่างกายดีเยี่ยม
เป็นกษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถในการปกครองประเทศต่อไป ดังความปรากฏตามพงศาวดารว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์กษัตริย์กรุงสุโขทัยพระองค์แรกทรงเห็นการณ์
ไกลส่งเจ้าชายร่วงองค์ที่ 2 อายุ 13 พรรษา ไปฝึกมวยไทยที่ สำนักสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี เพื่อฝึกให้เป็นกษัตริย์ที่เก่งกล้าในอนาคต และในปี พ.ศ. 1818 - 1860
พ่อขุนรามคำแหงได้เขียนตำหรับพิชัยสงคราม ข้อความบางตอนกล่าวถึงมวยไทยด้วย นอกจากนี้พระเจ้าลิไท เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาจากสำนัก
ราชบัณฑิตในพระราชวังมีความรู้แตกฉานจนได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ ซึ่งสำนักราชบัณฑิตมิได้สอนวิชาการเพียงอย่างเดียว พระองค์ต้องฝึกภาคปฏิบัติควบคู่
กันไปด้วย โดยเฉพาะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่าแบบมวยไทย และการใช้อาวุธ คือ ดาบ หอก มีด โล่ห์ธนู เป็นต้น
3. มวยไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา
สมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่มประมาณ พ.ศ.1988 - 2310 ระยะเวลา 417 ปี บางสมัยก็มีศึกกับประเทศใกล้เคียง เช่น พม่า และเขมร ดังนั้นชายหนุ่มสมัยกรุงศรีอยุธยา
จึงต้องฝึกฝนความชำนาญในกานต่อสู้ด้วยอาวุธและศิลปะป้องกันตัวด้วยมือเปล่า โดยมีครูผู้เชี่ยวชาญทางการต่อสู้เป็นผู้สอน การฝึกเริ่มจากในวังไปสู่ประชาชน
สำนักดาบพุทธไทสวรรค์เป็นสำนักดาบที่มีชื่อเสียงสมัยอยุธยา มีผู้นิยมไปเรียนมาก ซึ่งในการฝึกจะใช้อาวุธจำลอง คือดาบหวายเรียกว่า กระบี่กระบอง นอกจากนี้
ยังต้องฝึกการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า เรียกว่า มวยไทย ควบคู่กันไปด้วย ในสมัยนี้วัดยังคงเป็นสถานที่ให้ความรู้ทั้งวิชาสามัญและวิชาปฏิบัติในเชิงอาวุธควบ
คู่กับมวยไทยอีกด้วย
สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133 - 2147)
พระองค์ทรงเลือกคนหนุ่มรุ่นราวคราวเดียวกับพระองค์มาทรงฝึกหัดด้วยพระองค์เอง โดยฝึกให้มีความกล้าหาญ มีความเชื่อมั่นตนเอง ใช้อาวุธได้ทุกชนิดอย่าง
ชำนาญ มีความสามารถในศิลปะการต่อสู้มวยไทยดีเยี่ยม และพระองค์ทรงตั้ง กองเสือป่าแมวมอง เป็นหน่วยรบแบบกองโจร ซึ่งทหารกองนี้เองมีบทบาทมากใน
การกอบกู้เอกราชจากพม่าในปี พ.ศ.2127
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2147 - 2233)
สภาพบ้านเมืองสงบร่มเย็น มีความเจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์ทรงให้การส่งเสริมและสนับสนุนกีฬาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะมวยไทยนั้นนิยมกันมากจนกลาย
เป็นกีฬาอาชีพ มีค่ายมวยเกิดขึ้นมากมาย มวยไทยสมัยนี้ชกกันบนลานดิน โดยใช้เชือกเส้นเดียวกั้นบริเวณเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส นักมวยจะใช้ด้ายดิบชุบแป้งหรือ
น้ำมันดินจนแข็งพันมือ เรียกว่า คาดเชือก หรือ มวยคาดเชือก นิยมสวมมงคลไว้ที่ศีรษะ และผูกประเจียดไว้ที่ต้นแขนตลอดการแข่งขัน การเปรียบคู่ชกด้วยความ
สมัครใจทั้งสองฝ่าย ไม่คำนึงถึงขนาดร่างกายลาอายุ กติกาการชกง่ายๆ คือ ชกจนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยอมแพ้ ในงานเทศกาลต่างๆ ต้องมีการจัดแข่งขันมวย
ไทยด้วยเสมอ มีการพนันกันระหว่างนักมวยที่เก่งจากหมู่บ้านหนึ่งกับนักมวยที่เก่งจากอีกหมู่บ้านหนึ่ง
สมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ (พ.ศ.2240 - 2252)
สมัยพระเจ้าเสือ หรือขุนหลวงสุรศักดิ์ พระองค์ทรงโปรดการชกมวยไทยมาก ครั้งหนึ่งพระองค์ได้เสด็จไปที่ตำบลหาดกรวด พร้อมด้วยมหาดเล็กอีก 4 คน แต่งกาย
แบบชาวบ้านไปเที่ยวงานแล้วเข้าร่วมการเปรียบคู่ชก นายสนามรู้เพียงว่าพระองค์เป็นนักมวยจากเมืองกรุงจึงจัดให้ชกกับนักมวยฝีมือดีจากสำนักมวยเมืองวิเศษ
ไชยชาญ ซึ่งได้แก่ นายกลาง หมัดตาย นายใหญ่ หมัดเล็ก และนายเล็ก หมัดหนัก ซึ่งพระองค์ชกชนะทั้งสามคนรวด นกจากนี้พระองค์ทรงฝึกฝนให้เจ้าฟ้าเพชรและ
เจ้าฟ้าพร พระราชโอรสให้มีความสามารถในด้านมวยไทย กระบี่กระบองและมวยปล้ำอีกด้วย
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พระมหากษัตริย์ทรงโปรดให้มีกรมมวยหลวงขึ้นโดยให้คัดเลือกเอาชายฉกรรจ์ที่มีฝีมือในการชกมวยไทยเข้าต่อสู้กันหน้าพระที่นั่ง
แล้วคัดเลือกผู้มีฝีมือเลิศไว้เป็นทหารสนิท และทหารรักษาพระองค์ เรียกว่า "ทหารเลือก" สังกัดกรมมวยหลวง มีหน้าที่รักษาความปลอดภัย ภายในพระราชวังหรือ
ตามเสด็จในงานต่างๆ ทั้งยังเป็นครูฝึกมวยไทยให้ทหารและพระราชโอรสอีกด้วย
สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
หลังจากพ่ายแพ้แก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 มีนักมวยที่มีชื่อเสียง 2 คน ดังนี้
1. นายขนมต้ม เป็นเชลยไทยที่ถูกกวาดต้อนไปครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2310 ต่อมาในปี พ.ศ.2317 พระเจ้ากรุงอังวะ กษัตริย์พม่าโปรดให้จัด
งานพิธีสมโภชมหาเจดีย์ใหญ่ ณ เมืองร่างกุ้ง ทรงตรัสให้หานักมวยไทยฝีมือดี มาเปรียบกับนักมวยพม่า แล้วให้ชกกันที่หน้าพระที่นั่ง ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2317
ซึ่งนายขนมต้มชกชนะนักมวยพม่าถึง 10 คน โดยไม่มีการพักเลย การชกชนะครั้งนี้เป็นการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยในต่างแดนเป็นครั้งแรก ดังนั้นนายขนมจึงเปรียบ
เสมือน "บิดามวยไทย" และวันที่ 17 มีนาคม ถือว่า เป็นวันมวยไทย
(http://th.image24hr.com/upload/global/12-42/sz7yhqsl.jpg) (http://th.image24hr.com/show.php?id=bfdc4dfa4a848fc5b961a3b0ea9c84b9)
2.พระยาพิชัยดาบหัก (พ.ศ.2284 - 2325) เดิมชื่อจ้อย เป็นคนเมืองพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความรู้ความสามารถเชิงกีฬามวยไทยมาก ได้ฝึกมวยไทยจากสำนักครู
เที่ยงและใช้วิชาความรู้ชกมวยไทยหาเลี้ยงตัวเองมาจนอายุได้ 16 ปี แล้วจึงฝึกดาบ กายกรรม และมวยจีนจากคนจีน ด้วยฝีมือเป็นเลิศในเชิงมวยไทยและดาบ
เป็นที่ปรากฏแก่สายตาของพระยาตาก จึงนำเข้าไปรับราชการได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงพิชัยอาสา หลังจากพระเจ้าตากสิ้นได้กรุงธนบุรีเป็นราชธานี ก็ให้พระยาพิชัย
ไปครองเมืองพิชัยบ้านเมืองเดิมของตนเอง ในปี พ.ส.2314 พม่ายกทับมาตีเมืองเชียงใหม่แล้วเลยมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัยนำทหารออกสู้รบ การรบถึงขั้น
ตะลุมบอน จนดาบหักทั้งสองข้าง จึงได้นามว่า พระยาพิชัยดาบหัก
4. กีฬามวยไทยในสมัยกรุงธนบุรี
สมัยกรุงธนบุรีเริ่ม พ.ศ.2310 - 2324 ระยะเวลา 14 ปี บ้านเมืองอยู่ระหว่างการฟื้นฟูประเทศ หลังจากการกู้อิสรภาพคืนมาได้ การฝึกมวยไทยสมัยนี้เพื่อการ
สงครามและการฝึกทหารอย่างแท้จริง
ในยุคนี้มีนักมวยฝีมือดีมากมาย เช่น นายเมฆบ้านท่าเสา นายเที่ยงบ้านเก่ง นายแห้วแขวงเมืองตาก นายนิลทุ่งยั้ง นายถึกศิษย์ครูนิล ส่วนนักมวยที่เป็นนายทหาร
เลือกของพระเจ้าตากสิน ได้แก่ หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี นายหมึก นายทองดี ฟันขาว หรือพระยาพิชัยดาบหัก การจัดชกมวยในสมัยกรุง
ธนบุรี นิยมจัดนักมวยต่างถิ่น หรือลูกศิษย์ต่างครูชกกัน กติกาการแข่งขันยังไม่ปรากฏชัดเจน ทราบเพียงแต่ว่าชกแบบไม่มีคะแนน จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมแพ้ไป
สังเวียนเป็นลานดิน ส่วนมากเป็นบริเวณวัด นักมวยยังชกแบบคาดเชือกสวมมงคล และผูกประเจียดที่ต้นแขนขณะทำการแข่งขัน
5. กีฬามวยไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
กีฬามวยไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 พ.ศ.2325 - 2411 ระยะเวลา 86 ปี กีฬามวยไทยยังเป็นศิลปะประจำชาติ มีการจัดแข่งขัน
ในงานเทศกาลประจำปี กติกาเริ่มมีการกำหนดเวลาการแข่งขันเป็นยก โดยใช้กะลามะพร้าวที่มีรูลอยน้ำถ้ากะลามะพร้าวจมถึงก้นอ่างก็จะตีกลองเป็นสัญญาณ
หมดยก การแข่งขันไม่กำหนดยก ชกกันจนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมแพ้
สมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ2325 - 2352)
พระองค์ทรงฝึกหัดมวยไทยมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และทรงสนพระทัยในการเสด็จทอดพระเนตรการแข่งขันชกมวยไทยอยู่เสมอ ในปี พ.ศ.2331 พ่อค้าชาว
ฝรั่งเศสสองพี่น้องเดินทางไปค้าขายทั่วโลกด้วยเรือกำบั่น คนน้องเป็นนักมวยฝีมือดี เที่ยวพนันชกมวยมาหลายเมืองเดินทางมาถึงกรุงเทพมหานครจึงได้ล่ามกราบ
เรียนพระยาพระคลัง ขอชกมวยพนันกับคนไทยพระยาพระคลังได้นำความขึ้นกราบทูลรัชกาลที่ 1 พระองค์ทรงตรัสปรึกษากับกรมพระราชวังบวรพระอนุชา ซึ่งเป็น
ผู้มีฝีมือมวยไทย และคุมกรมมวยหลวงอยู่ในขณะนั้น รับตกลงพนันกันเป็นเงิน 50 ชั่ง กรมพระราชวังบวรคัดเลือกทนายเลือกวังหน้าฝีมือดีชื่อ หมื่นผลาญต่อสู้กับ
นักมวยฝรั่งเศสครั้งนี้ สังเวียนการแข่งขันจัดสร้างขึ้นที่สนามหลังวัดพระแก้ว โดยใช้เชือกเส้นเดียวผูกกับเสา 4 ต้น สูงประมาณ 70 เซนติเมตร ขึงกั้นบริเวณเป็นสี่
เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 20 เมตร ด้านหน้าปลูกพลับพลาที่ประทับ กติกาการแข่งขันไม่มีการให้คะแนน ชกกันจนกว่าจะแพ้ชนะกันโดยเด็ดขาด เมื่อ
ใกล้เวลาชกทรงตรัสสั่งให้แต่งตัวหมื่นผลาญ ด้วยการชโลมน้ำมันว่านยาตามร่างกาย ผูกประเจียดเครื่องรางที่ต้นแขน แล้วให้ขี่คอคนมาส่งถึงสังเวียน
เมือการแข่งขันเริ่มขึ้น ฝรั่งได้เปรียบรูปร่าง เข้าประชิดตัว พยายามจะปล้ำเพื่อหักคอและไหปลาร้า หมื่นผลาญพยายามปิดป้อง ปัดเปิด สลับกับเตะถีบชิงต่อยแล้ว
ถอยวนหนียิ่งชกนานฝรั่งยิ่งเสียเปรียบเรพาะทำอะไรไม่ได้ ฝรั่งพี่ชายเห็นว่าถ้าชกต่อไปน้องชายคงเสียเปรียบแน่จึงตัดสินใจกระโดดเข้าไปขวางกั้นไม่ให้หมื่น
ผลาญถอยหนี การกระทำเหมือนช่วยกัน จึงเกิดมวยหมู่ระหว่างพวกฝรั่งกับพวกทนายเลือก ฝรั่งบาดเจ็บหลายคน รัชกาลที่ 1 พระราชทานหมอยาหมอนวดไป
รักษาพยาบาล เมื่อหายดีแล้วฝรั่งเศสสองพี่น้องก็ออกเรือกลับไป
สมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ.2352 - 2367)
เมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงฝึกมวยไทยจากสำนักวัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) จากสมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่) ซึ่งเคยเป็นแม่ทับเก่า ครั้นเมื่อพระชนม์
อายุ 16 พรรษา ได้เสด็จมาประทับในพระราชวังเดิมและทรงฝึกมวยไทยจากทนายเลือกเพิ่มเติมอีก อีกทั้งทรงโปรดใหญ่สร้างสนามมวยที่สนามหญ้าบริเวณวังหลัง
และทรงเปลี่ยนคำว่า "รำหมัด รำมวย" มาเป็น "มวยไทย"
สมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2367 -2394)
พระองค์ทรงฝึกมวยไทยจากทนายเลือกในรัชกาลที่ 2 ในสมัยนี้ประชาชนตามหัวเมืองยังคงนิยมฝึกมวยไทยและกระบี่กระบองกันอยู่ ด้วยเหตุผลนี้เองท้าวสุรนารี
หรือคุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองโคราช จึงสามารถคุมทับออกต่อสู้เอาชนะกองทัพของเจ้าอนุวงค์แห่งเมืองเวียงจันทร์ รักษาเมืองไว้ได้
สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2394 - 2411)
ในขณะที่ทรงพระเยาว์ ทรงแต่งองค์อย่างกุมารชกมวยไทย และเล่นกระบี่กระบองโชว์ในงานสมโภชหน้าพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในสมัยนี้เป็นหัว
เลี้ยวหัวต่อของอารยธรรมตะวันตกเริ่มแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย แต่มวยไทยยังคงเป็นกีฬาประจำชาติอยู่
สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2411 - 2453)
พระองค์ทรงฝึกมวยไทยจากสำนักมวยหลวง ซึ่งมีปรมาจารย์หลวงพลโยธานุโยค ครูมวยหลวงเป็นผู้ถวาย0การสอน ทำให้พระองค์โปรดกีฬามวยไทยมาก เสด็จ
ทอดพระเนตรการชกมวยหน้าพระที่นั่ง ทรงโปรดให้ข้าหลวงหัวเมืองต่างๆ คัดนักมวยฝีมือดีมาชกกันหน้าพระที่นั่งเพื่อหานักมวยที่เก่งที่สุดเข้าเป็นทหารรักษา
พระองค์ สังกัดกรมมวยหลวง
พระองค์ทรงเห็นคุณค่าของกีฬาประจำชาติ จึงตรัสให้มีการแข่งขันมวยไทยขึ้นทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความนิยมกีฬามวยไทยมากขึ้น นอกจากนี้ทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าให้มี "มวยหลวง" ตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ฝึกสอน จัดการแข่งขัน และควบคุมการแข่งขันมวยไทย เมื่อมีงานพระราชพิธีต่างๆ เช่น งานโสกันต์ งานพระ
เมรุหรืองานรับแขกเมือง สำนักพระราชวังจะออกหมายเรียกให้มวยหลวงนำคณะนักมวย คณะปี่กลองมาร่วมแสดงในงานด้วย ดังเช่นในงานศพของ กรมขุนมรุ
พงศ์ศิริพัฒน์ ซึ่งจัดขึ้นที่ท้องทุ่งพระเมรุ (สนามหลวง) ด้านป้อมเผด็จดัสกร ในงานนี้พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการจัดแข่งขันมวยไทยหน้าพระที่นั่ง มีนัก
มวยฝีมือดีจากต่างจังหวัดหลายคนชกชนะคู่ต่อสู้ได้รับพระราชทาน "หมื่น" ดังนี้
1. หมื่นมวยมีชื่อ คือ นายปล่อง จำนงทอง นักมวยฝีมือดีจากเมืองไชยา ผู้ชกด้วยท่าเสือลากหางเข้าจับทุ่มคู่ต่อสู้จนได้รับชัยชนะหลายครั้ง
2. หมื่นมวยแม่นหมัด คือ นายกลิ้ง ไม่ปรากฏนามสกุล นักมวยฝีมือดีจากเมืองลพบุรี ผู้มีลีลาการชกฉลาด รุกรับ หลบหลีกว่องไว ใช้หมัดตรงได้อย่างดียอดเยี่ยม
3. หมื่นชงัดเชิงชก คือ นายแดง ไทยประเสริฐ นักมวยฝีมือดีจากเมืองโคราช ผู้มีการเตะที่รุนแรง และมีหมัดเหวี่ยงอันเลื่องลือ สมยานามว่า "หมัดเหวี่ยงควาย"
ปี พ.ศ.2430 รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งกรมศึกษาธิการขึ้น ให้มวยไทยเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรของโรงเรียนครูฝึกหัดพลคึกษา และโรงเรียนนาย
ร้อยพระจุลจอมเกล้า ในสมัยนี้เป็นที่ยอมรับว่า คือ ยุคทองของมวยไทย
สมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2453 - 2468)
ในระหว่างปี พ.ศ.2457 - 2461 ประเทศไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 ณ เมืองมาเซย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยมีพลโทพระยาเทพ
หัสดินเป็นแม่ทัพคุมทหารไทยไปร่วมรบในครั้งนี้ ท่านเป็นผู้สนใจมาก ได้จัดมวยไทย ชกมวยไทยโชว์ให้ทหารและประชาชนชาวยุโรปชม สร้างความชื่นชอบและ
ประทับใจอย่างยิ่ง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มวยไทยเริ่มเผยแพร่ในยุโรป
ปี พ.ศ.2464 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สนามมวยสวนกุหลาบเป็นสนามมวยถาวรแห่งแรกที่จัดการแข่งขันเป็นประจำ บนสนามฟุตบอลภายในโรงเรียนสวนกุหลาบ
ระยะเริ่มแรก ผู้ชมจะนั่งและยืนรอบสังเวียนซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 26 เมตร ขีดเส้นกั้นบริเวณห้ามผู้ชมล้ำเขตสังเวียน นักมวยคาดเชือกที่
มือด้วยด้ายดิบ สวมมงคล ผูกประเจียดไว้ที่ต้นแขน สวมกางเกงขาสั้น สวมกระจับบุนวมป้องกันอวัยวะที่สำคัญ และใช้ผ้าคาดทับรอบเอวอย่างแน่นหนาอีกครั้ง ไม่
สวมเสื้อและรองเท้า กรรมการผู้ชี้ขาดแต่งกายด้วยชุดผ้าม่วงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อราชประแตนและสวมถุงเท้าขาว
มวยคู่ผู้ที่สนใจมาก คือ หมื่นมวยแม่นหมัด นักมวยฝีมือดีในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งอายุได้ 50 ปี ชกกับนายผ่อง ปราบสบถ นักมวยหนุ่มฝีมือดี รูปร่างสูงใหญ่ อายุ 22 ปี
จากโคราช การชกครั้งนี้เพื่อแก้แค้นแทนบิดาที่แพ้หมื่นมวยแม่นหมัด เมื่อครั้งชกกันหน้าพระที่นั่งงานพระเมรุขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ การแข่งขันใช้เวลา 2 นาที หมื่นมวย
แม่นหมัดถูกหมัดเหวี่ยงควายของนายผ่อง ล้มนอนหมดสติกับพื้นสนาม ผู้ชมต่างตื่นเต้นกับชัยนะของนายผ่อง วิ่งเข้าห้อมล้อมเพื่อแสดงความยินดี ทำให้เกิดความ
วุ่นวาย เจ้าที่และลูกเสือต้องทำงานหนัก จากเหตุการณ์ครั้งนี้คณะกรรมการจัดมวยจึงจัดประชุมเพื่อหาทางแก้ไข ในที่สุดตกลงสร้างเวทีมวยขึ้นใหม่ในวันรุ่งขึ้น
โดยยกพื้นเวทีสูง 4 ฟุต ปูพื้นด้วยเสื่อจันทบูรณ์หลายผืนเย็บติดกัน มีเชือกกั้นเวทีขนาด 1 นิ้ว มีช่องตรงมุมบันไดสำนักมวยและผู้ตัดสินขึ้นลง ผู้ตัดสินแต่งเครื่อง
แบบเสือป่าเต็มยศ มีเจ้าหน้าที่รักษาเวลาโดยใช้นาฬิกาจับเวลา 2 เรือน ใช้เสียงกลองเป็นสัญญาณการชกแข่งขันกัน 11 ยกๆ ละ 3 นาที ต้องแยกจากกันเมื่อผู้
ตัดสินสั่งแยก ห้ามกัด ห้ามซ้ำ ใช้ลูกติดพันได้ ถ้าคู่ต่อสู้ล้มให้ไปยืนรอที่มุมกลาง มีวงมโหรีปี่กลองของหมื่นสมัคร เสียงประจิตร บรรเลงให้จังหวะขณะแข่งขัน
ประชาชนสนใจเข้าชมการแข่งขันกันมากและเรียกร้องให้จัดต่อไปอีก รัชกาลที่ 6 จึงทรงโปรดเกล้าให้พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี แม่กองเสือป่า จัดแข่งขันชกมวย
เพื่อหาทุนซื้อปืนให้กองเสือป่า โดยให้สมุเทศาภิบาลและข้าหลวงหัวเมืองต่างๆ จัดนักมวยฝีมือดีมาชกกัน นักมวยส่วนใหญ่จากต่างจังหวัดจะพักที่ห้องสโมสรเสือป่า
บริเวณสวนดุสิตเมื่อนักมวยเปรียบคู่ได้แล้ว นักข่าวจะถ่ายภาพทำโฆษณา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการโฆษณา การแข่งขันมวยไทย
มวยคู่ประวัติศาสตร์ที่สามารถทำเงินได้มากที่สุดในยุคนั้น คือ นายยัง หาญทะเล กับ จี๊ฉ่าง (โฮ้ว จงกุ๋น) นักมวยจีน ผลการแข่งขันจี๊ฉ่างถูกชกที่ใบหน้าแล้วเตะตาม
ที่ก้านคอล้มลงนอนนิ่ง ผู้ตัดสินนับ 10 ก็ไม่สามารถลุกข้ามาต่อสู้ได้
สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2468 - 2477)
ระหว่างปี พ.ศ.2466 - 2472 พลโทพระยาเทพหัสดินได้สร้าง สนามมวยหลักเมืองท่าช้าง ขึ้น บริเวณโรงละครแห่งชาติปัจจุบัน เวทีมีเชือกกั้นเส้นใหญ่ขึ้น เชือกแต่
ละเส้นขึงตึงเป็นเส้นเดียวไม่เปิดช่องตรงมุมสำหรับขึ้นลงเหมือนกับยุคเก่า เพื่อป้องกันนักมวยตกเวทีตรงช่องนี้และจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปี
ปี พ.ศ.2472 รัฐบาลมีคำสั่งให้การแข่งขันชกมวยไทยทั่วประเทศสวมนวมชกได้ ตังอย่างการสวมนวมจากนักมวยฟิลิปปินส์ที่เข้ามาชกมวยสากลในประเทศไทย
ทั้งนี้สาเหตุเนื่องจาก นายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยฝีมือดีจากบ้านท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ต่อย นายเจีย แขกเขมร ตายด้วยหมัดคาดเชือก
ในวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2472 เจ้าคุณคธาธรบดี ได้เริ่มจัดการแข่งขันชกมวยไทยขึ้นที่สวนสนุกภายในบริเวณสวนลุมพินีร่วมกับมหรศพอื่นๆ โดยคัดเอานัก
มวยฝีมือดีชกกันทุกวันเสาร์เนื่องจากเจ้าคุณเป็นคนทันสมัยจึงเวทีมวยแบบมาตรฐานสากล คือ มีเชือก 3 เส้น ใช้ผ้าใบปูพื้น มีมุมแดง น้ำเงิน มีผู้ตัดสินให้คะแนน 2
คน มีผู้ชี้ขาดการแข่งขันบนเวที 1 คน ให้สัญญาณด้วยระฆังเป็นครั้งแรก และในวันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2472 ในรายการต้อนรับวันปีใหม่ คู่เอกระหว่างสมาน
ดิลกวิลาศ กับ เดช ภู่ภิญโญ มวยประกอบรายการได้แก่ นายแอ ม่วงดี กับสุวรรณ นิวาสะวัตร ซึ่งนายแอ ม่วงดี ได้นำเอากระจับเหล็กมาใช้ป้องกันอวัยวะสำคัญทำ
ให้นักมวยคนอื่นๆ หันมาใช้กระจับเหล็กตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
สมัยรัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล (พ.ศ.2477 - 2489)
ระหว่างปี พ.ศ.2478 - 2484 คหบดีผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้นได้สร้างเวทีมวยขึ้นบริเวณที่ดินของเจ้าเชต ชื่อ สนามมวยสวนเจ้าเชต ปัจจุบันคือที่ตั้งกรมรักษาดินแดน
การดำเนินการจัดการแข่งขันเป็นไปด้วยดี เนื่องจากทหารเข้ามาควบคุม เพื่อนำรายไปบำรุงกิจการทหาร จัดการแข่งขันกันติดต่อหลายปี จึงเลิกไปเพราะเกิด
สงครามโลกครั้ง ที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้าประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484
ระหว่างปี พ.ศ.2485 -2487 สงครามโลกครั้งที่ 2กำลังจะสงบแต่ยังคงมีเครื่องบินข้าศึกบินลาดตระเวนอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน จำเป็นต้องจัดการแข่งขันชกมวย
ไทยตามโรงภาพยนต์ต่างๆ ในเวลากลางวัน เช่น สนามมวยพัฒนาการ สนามมวยท่าพระจันทร์ สนามมวยวงเวียนใหญ่ เนื่องจากประชนยังคงให้ความสนใจมวย
ไทยอยู่
วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2488 สนามมวยเวทีราชดำเนินได้เปิดสนามทำการแข่งขันครั้งแรก มีนายปราโมทย์ พึ่งสุนทร เป็นนายสนามมวยคนแรก พระยาจินดา
รักษ์เป็นกรรมการบริหารเวที ครูชิต อัมพลสิน เป็นโปรโมเตอร์ จัดชกเป็นประจำในวันอาทิตย์เวลา 16.00 - 17.00 น. ใช้กติกาของกรมพลศึกษา ปี พ.ศ.2480 ชก 5
ยกๆละ 3 นาที
พักระหว่างยก 2 นาที ในระยะแรกชั่ง น้ำหนักตัวนักมวยด้วยมาตราส่วนเป็นสโตนเหมือนน้ำหนักม้า อีก 2 ปีต่อมา จึงเปลี่ยนเป็นกิโลกรัม ปี พ.ศ.2491 เปลี่ยน
น้ำหนักนักมวยเป็นปอนด์ เพื่อให้เป็นระบบสากลมากขึ้น และเรียกชื่อรุ่นตามน้ำหนัก เช่น น้ำหนักไม่เกิน 112 ปอนด์ รุ่นปลายเวท น้ำหนักไม่เกิน 118 ปอนด์ รุ่น
แบนตัมเวท เป็นต้น และปี พ.ศ.2494 สนามมวยเวทีราชดำเนินได้เริ่มก่อสร้างหลังคาอย่างถาวร
วันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2496 พันตำรวจเอกพิชัย กุลวณิชย์ ผู้ช่วยมวยนายสานมวยเวทีราชดำเนินได้ออกระเบียบให้นักมวยสวมกางเกงให้ตรงมุมตนเอง พี่เลี้ยงต้อง
แต่งกายสุภาพ
วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2496 สนามมวยเวทีลุมพินี ได้เปิดการแข่งขันมวยไทยขึ้นเป็นครั้งแรก มี เสธ เอิบ แสงฤทธิ์ เป็นนายสนาม นายเขต ศรียาภัย เป็นผู้จัดการ
ปี พ.ศ.2498 บริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด ได้จัดทำกติกามวยไทยอาชีพฉบับแรกขึ้น โดยได้ปรับปรุงจากกติกามวยไทย ฉบับปี พ.ศ.2480 ของกรมพลศึกษา
ปี พ.ศ.2502 นายโนกุจิ นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นนำนักมวยชาวญี่ปุ่นมาชกกับนักมวยไทยได้ถ่ายภาพยนต์มวยไทยไว้แล้วนำไปศึกษา เปลี่ยนชื่อเป็นคึกบอกซิ่ง
นายไคโต เคนกุจิ ผู้นำด้านศิลปะการต่อสู้ชาวญี่ปุ่นได้เข้าชมมวย ณ เวทีราชดำเนิน เกิดความประทับใจ นำวิชามวยไทยไปฝึกสอนกันอย่างจริงจัง ในโรงเรียน
ประถมศึกษาของญี่ปุ่น
ปี พ.ศ.2503 บริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด ได้เพิ่มข้อบังคับกติกามวยไทยอาชีพอีกว่า นักมวยไทยต้องมีอายุในวันแข่งขันไม่ต่ำกว่า 18 ปี และอายุไม่เกิน 38 ปีบริบูรณ์
ปี พ.ศ.2504 เวทีราชดำเนินได้จัดการแข่งขันมวยชิงถ้วยพระราชทานขึ้นเป็นครั้งแรก มีนักมวยซึ่งได้รับถ้วยพระราชทน ตามลำดับดังนี้
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2504 คนที่ 1 นำศักดิ์ ยนตรกิจ
วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2506 คนที่ 2 เดชฤทธิ์ อิทธิอนุชิต
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2508 คนที่ 3 สมพงษ์ เจริญเมือง
วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2512 คนที่ 4 เฉลิมศักดิ์ เพลินจิต
วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 คนที่ 5 ศรนักรบ เกียรติวายุภักษ์
วันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2522 คนที่ 6 เผด็จศึก พิษณุราชันย์
วันที่ 29 พ.ศ.2507 นายเฉลิม เชี่ยวสกุล ประธานบริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด ประกาศใช้ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการชิงแชมป์เปี้ยน การป้องกันแชมป์เปี้ยน และ
การจัดอันดับนักมวยไทยของเวทีราชดำเนินเป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ.2508 บริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด ได้ปรับปรุงกติกามวยไทยอาชีพให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ให้ชื่อว่า " กติกามวยไทยอาชีพของเวทีราชดำเนิน พ.ศ.2508 "
ธันวาคม พ.ศ.2527 เวทีมวยราชดำเนินจัดอันดับ 10 ยอดมวยไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ดังนี้
คนที่ 1 ผล พระประแดง
คนที่ 2 สุข ประสาทหินพิมาย
คนที่ 3 ชูชัย พระขรรค์ชัย
คนที่ 4 ประยุทธ์ อุดมศักดิ์
คนที่ 5 อดุลย์ ศรีโสธร
คนที่ 6 อภิเดช ศิษย์หิรัญ
คนที่ 7 วิชาญน้อย พรทวี
คนที่ 8 พุฒ ล้อเหล็ก
คนที่ 9 ผุดผาดน้อย วรวุฒิ
คนที่ 10 ดีเซลน้อย ช.ธนสุกาญจน์
-----------------------------------------------------