Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
ภาพประทับใจ => ผนังเก่าเล่าเรื่อง => Topic started by: ppsan on 02 October 2023, 22:20:16
-
พระศิวนาฏราช (Shiva Nataraja)
-ความรู้เพิ่มเติม-
พระศิวนาฏราช (Shiva Nataraja)
.
ศิวนาฏราช เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ เป็นบรมครูของศิลปะการร่ายรำหรือนาฏยศาสตร์ของอินเดีย ความเชื่อว่าการเต้นรำของพระศิวะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของการสร้างโลกและมนุษย์ ศิวนาฏราชจะปรากฏในท่าย่างสามขุม (ตรีวิกรม) ซึ่งเป็น 1 ใน 108 ท่าที่ออกแบบโดยพระศิวะ โดยมีสัญลักษณ์ที่พระกรขวาถือกลองคือการสร้างโลก พระกรซ้ายมีเปลวเพลิงล้อมเป็นกรอบคือการสิ้นสุดที่ไฟจะเผาผลาญโลก พระศิวะได้ทรงพนันกับพระอุมาว่าโลกที่สร้างใหม่แข็งแรงหรือไม่ โดยพระศิวะทรงยืนขาเดียวบนก้อนหินโดยที่ขาต้องไม่ตก ในขณะที่พญานาคแกว่งลำตัววิดน้ำในมหาสมุทรให้สะเทือน พระศิวะทรงชนะ พระองค์ทรงสร้างโลกใหม่ด้วยการเต้นรำบนก้อนหินนั้น ในระหว่างที่ทรงเต้นรำเกิดเปลวไฟและน้ำหลั่งไหลจากพระวรกายกลายเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิต
.
ศิวนาฏราชในศิลปะอินเดีย
นาฏราช หรือพระศิวะในฐานะของบรมครูองค์แรกแห่งการร่ายรำ พระหัตถ์ขวาด้านบน ทรงถือกลองรูปร่างคล้ายๆ นาฬิกาทราย (เอวคอด) กลองเล็ก ๆ ใบนี้ให้จังหวะประกอบการฟ้อนรำของพระศิวะ และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เสียงกลองเป็นสัญลักษณ์แทนธาตุแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในจักรวาล นั่นคือ กลองเป็นสัญลักษณ์แห่งการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ทั้งมวล
พระหัตถ์ซ้ายด้านบน ถืออัคนี อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการทำลายล้าง โดยคำว่า ทำลายล้าง ในที่นี้ หมายถึง ล้างความชั่ว ล้างอวิชชา ให้หมดไป เพื่อเปิดทางการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาใหม่ พระกรและพระหัตถ์คู่ซ้าย-ขวา ซึ่งแทนการสร้างสรรค์และการทำลายล้างนี้ กางออกไปในระดับเสมอกัน อันบ่งบอกถึงความหมายที่ว่า "มีเกิด ก็ย่อมมีดับ" นั่นเอง
พระหัตถ์ขวาด้านล่างแบออก เรียกว่า ปางอภัย (abhaya pose) ซึ่งมีความหมายว่า "จงอย่าได้กลัวเลย" (do not fear) เพราะไม่มีภัยใด ๆ จะมากล้ำกลาย ท่านี้บ่งว่าพระศิวะเป็นผู้ปกป้องอีกด้วย
ส่วนพระกรซ้ายด้านล่างพาดขวางลำตัวระดับอก ในลักษณะคล้ายๆ งวงช้าง ซึ่งบางคนตีความว่า เป็นงวงของพระคเณศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ และเป็นบุตรของพระศิวะอีกต่างหาก ปลายนิ้วของพระกรที่เป็นงวงช้างนี้ชี้ไปที่พระบาทซ้ายที่ยกขึ้น มาจากพื้น ก็ตีความกันว่า พระบาทที่ยกขึ้นมานี้บ่งถึงการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร
ส่วนพระบาทขวานั้นเหยียบอยู่บนอสูรมูลาคนี ซึ่งเป็นตัวแทนของอวิชชา เมื่ออวิชชาถูก 'เหยียบ' ไม่ให้โผล่ขึ้นมาบดบังความจริง ความรู้แจ้ง (วิชชา) ก็จะปรากฏขึ้นนั่นเอง
วงกลม ๆ ที่ล้อมพระศิวะอยู่ก็คือ ขอบเขตแห่งการร่ายรำ อันเป็นตัวแทนของจักรวาลทั้งมวล โดยมีขอบด้านนอกเป็นเปลวไฟ และมีขอบด้านในเป็นน้ำในมหาสมุทร พระศิวะในปางนาฏราชนี้ยังแสดงคู่ตรงกันข้ามกันเช่น กลอง = สร้าง vs ไฟ = ทำลาย แม้พระศิวะจะร่ายรำ ขยับมือ ขยับเท้าและแขนขาอย่างต่อเนื่อง แต่พระพักตร์กลับสงบนิ่งเฉย เหมือนไร้ความรู้สึก ซึ่งเป็นเสมือนการสอนว่า การเกิด-ดับของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่โดยตลอด พระเกศาของพระศิวะยาวสยาย ปลิวสะบัดยื่นออกไปทั้งซ้ายขวา เป็นสัญลักษณ์แทนผู้ละทิ้งชีวิตทางโลก แต่ก็มีพระคงคาและพระจันทร์เสี้ยวอนเป็นสัญญลักษณ์แห่งเทพสตรีประดับอยู่ด้วย
.
รูปปั้นสัมฤทธิ์ของพระศิวะ เทพแห่งการระบำ สมัยราชวงศ์โจฬะในคริสต์ศตวรรษที่ 10
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/bf/Shiva_as_the_Lord_of_Dance_LACMA_edit.jpg/800px-Shiva_as_the_Lord_of_Dance_LACMA_edit.jpg)
(https://www.siamganesh.com/all_gods/nararaj.jpg)
(https://scontent.fbkk24-1.fna.fbcdn.net/v/t1.18169-9/13310367_1091700944222214_3434022812384886870_n.jpg?_nc_cat=100&ccb=1-7&_nc_sid=730e14&_nc_ohc=pBt2V51mILkAX-JZfhZ&_nc_ht=scontent.fbkk24-1.fna&oh=00_AfAKUiWOO50-KT_qUYlr1mAMSNvPTWeBuXmIOO1bHYISNw&oe=65424FCA)
.
...................
หน้าบันศิวนาฏราช ณ ปรางค์ประธานประสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์
.
หน้าบันศิวนาฏราช ณ ปรางค์ประธานประสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์
(https://e-shann.com/wp-content/uploads/2018/11/002-700x400.jpg)
.
หน้าบันศิวนาฏราช เหนือทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ณ ซุ้มประตูสู่ปรางค์ประธาน
(https://e-shann.com/wp-content/uploads/2019/08/002-2.jpg)
.
(https://e-shann.com/wp-content/uploads/2019/08/003.jpg)
ความงามพระพาหา (ท่อนแขน) และที่ข้อพระกรประดับพระวลัย (สร้อยข้อมือ) อันละเอียดอ่อนช้อยอย่างที่สุด กระทั่งพระมัชฌิมา (นิ้วกลาง) กับพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) ที่จีบเข้าหากัน ช่างยังจำหลักให้เห็นอย่างละเอียดอ่อน
.
(https://pbs.twimg.com/media/DRIhk4rVwAMh_vy?format=jpg&name=large)
.
ประสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์
(https://e-shann.com/wp-content/uploads/2019/08/004.jpg)
.
(https://scontent.fbkk24-1.fna.fbcdn.net/v/t1.6435-9/109113789_101288638340659_4075062150992726508_n.jpg?_nc_cat=110&ccb=1-7&_nc_sid=730e14&_nc_ohc=X0ibH79OqQEAX_24tii&_nc_ht=scontent.fbkk24-1.fna&oh=00_AfB4P7NJm8zNCslr6toEK4wJJd8WrgytErLDoGh7mJ32cg&oe=6542562B)
.
Shiva
(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjgzLzE0MTk4MTcvNDg5NTYzLmpwZw==.jpg)
.
narai
(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjgzLzE0MTk4MTcvODMwNTgzLmpwZw==.jpg)
.
-
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง แห่งนี้ นอกจากความสวยงามของตัวปราสาทและประติมากรรมศิลปะสมัยขอมโบราณ ยังมีปรากฎการณ์ธรรมชาติที่โด่งดัง และเป็นที่ตั้งตารอของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่จะมารอชมความสวยงามของปรากฎการณ์ แสงอาทิตย์ผ่านประตู ที่จะมีให้ชม 4 ครั้ง ใน 1 ปี
-ในช่วงวันที่ 3 - 5 เมษายน และ 8 - 10 กันยายน ของทุกปี เพื่อชมดวงอาทิตย์ขึ้น ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน
-และในช่วงวันที่ 6 - 8 มีนาคม และ 6 - 8 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อชมดวงอาทิตย์ตก ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน เช่นกัน
นับเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่ถือได้ว่าเป็นปรากฎการณ์อันศักดิ์สิทธิ์ ที่มีความเชื่อกันว่า เมื่อได้มารับแสงอาทิตย์ที่สอดส่องผ่านศิวลึงค์ ซึ่งตั้งอยู่กลางปราสาทเขาพนมรุ้ง เป็นการเสริมพลังชีวิตและความเป็นสิ่งมงคลกับตนเองและครอบครัว ของผู้ที่พบเห็น จึงทำให้ปรากฎการณ์นี้เป็นที่น่าสนใจของทุกปี
(http://www.soupvanclub.com/index.php?PHPSESSID=g3871k90shu9nrfi4ogcu45su2&action=dlattach;topic=1201.0;attach=5350;image)
(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjgzLzE0MTk4MTcvNjA2ODQyLmpwZw==.jpg)
.
ขอขอบคุณเรื่องและภาพจาก...
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง / ลุงซุป เชียงใหม่ soup chiangmai
http://www.soupvanclub.com/index.php?topic=1201.0
-
(https://i.postimg.cc/wv64Xwrn/27-1.jpg) (https://postimg.cc/R3DT9L4T)