Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
ภาพประทับใจ => สถานที่สวยงาม => Topic started by: ppsan on 02 August 2023, 08:50:50
-
หัวลำโพง
2 สิงหาคม 2022 ·
หัวลำโพง
สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มก่อสร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยมีรูปแบบของทางเชื่อมต่อทางสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานคร
สถานีกรุงเทพก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ คล้ายกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ เป็นหลัก โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่รัศมี 80 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง
เมื่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อเดิม) เปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2564 และกลายเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้สถานีกรุงเทพต้องลดสถานะเป็นสถานีรองแทน
.....
“เกร็ด” ความรู้จากสถานีกรุงเทพ
หัวลำโพงหรือวัวลำพอง
แต่เดิมมีความเชื่อกันว่า บริเวณสถานีหัวลำโพงเคยเป็นทุ่งเลี้ยงวัวมาก่อน จึงเรียกย่านนี้ว่า “ทุ่งวัวลำพอง” ภายหลังจึงเรียกเพี้ยนเป็น “หัวลำโพง” บ้างว่าละแวกนี้มีต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นลำโพง ขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงเรียกย่านนี้ว่า “ทุ่งวัวลำพอง”
อย่างไรก็ตาม จากพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม ร.ศ. 129 เรื่องการใช้ศัพท์ไทย ศัพท์ฝรั่ง ทรงกล่าวถึงชื่อของ หัวลำโพง-วัวลำพอง ไว้ว่า “…การเช่นนี้มีจนกระทั่งในกรุงเทพฯ เช่น หัวลำโพง ฝรั่งเรียกไม่ชัด ไทยเราพลอยเรียกตามว่า วัวลำพอง นี่เป็นเรื่องที่ควรจะฟาดเคราะห์จริง ๆ…”
สะท้อนให้เห็นว่า บริเวณแห่งนี้มีชื่อว่า “หัวลำโพง” มาตั้งแต่แรก ไม่ได้เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า “วัวลำพอง” แต่อย่างใด ส่วนนาม “หัวลำโพง” มีที่มาจากไหน คงต้องสืบหากันต่อไป
.
ภาพเก่า หัวลำโพง
(http://postto.me/21c/c2p.jpg)
หัวลำโพง 1 ส.ค. 65
(http://postto.me/21c/be2.jpg)
หัวลำโพง 1 ส.ค. 65
(http://postto.me/21c/bdu.jpg)
หัวลำโพง 1 ส.ค. 65
(http://postto.me/21c/be3.jpg)
714
(http://postto.me/21c/bdv.jpg)
.
-
สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/08/%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%87.JPG/1024px-%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%87.JPG)
.
สถานีรถไฟกรุงเทพในปี พ.ศ. 2566
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/12/Bangkok_Railway_Station_07.23.jpg/1280px-Bangkok_Railway_Station_07.23.jpg)
.
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 356 กำลังออกจากสถานีกรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2480
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/c0/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%94_356_2480.jpg/1280px-%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%94_356_2480.jpg)
.
ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ บริเวณจุดจำหน่ายตั๋ว ในปี พ.ศ. 2562
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/45/Interior_-_Bangkok_Railway_Station_%28III%29.jpg/1024px-Interior_-_Bangkok_Railway_Station_%28III%29.jpg)
.
ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ บริเวณชานชาลา ในปี พ.ศ. 2562
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/dc/Interior_-_Bangkok_Railway_Station_%28I%29.jpg/1024px-Interior_-_Bangkok_Railway_Station_%28I%29.jpg)
.
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 จอดคู่กับ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 จอดแสดงในงาน Hua Lamphong in Your Eye ขณะจอดเทียบอยู่ในชานชลาที่ 4 และ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/1c/%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%875.jpg/1024px-%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%875.jpg)
.
ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ บริเวณชานชาลา ในปี พ.ศ. 2566
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/7e/Interior_-_Bangkok_Railway_Station_07.23.jpg/1280px-Interior_-_Bangkok_Railway_Station_07.23.jpg)
.