Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...

ภาพประทับใจ => ผนังเก่าเล่าเรื่อง => Topic started by: ppsan on 26 June 2022, 19:44:02

Title: [0] วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
Post by: ppsan on 26 June 2022, 19:44:02
[0] วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)


(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/82/02-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.jpg/1024px-02-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.jpg)
วัดโพธิ์


(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d9/Buddha_Reclining_Bangkok_Thailand_by_D_Ramey_Logan.jpg/800px-Buddha_Reclining_Bangkok_Thailand_by_D_Ramey_Logan.jpg)
พระพุทธไสยาส


วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ (วัดโพธิ์) เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551 และวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติ


(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/96/Watphomap.svg/1024px-Watphomap.svg.png)
แผนผังวัดโพธิ์


(http://www.kitmaiwatpho.com/dataWorld-Heritage/03PnukUbosot/PlanPnukUbosot800x493.png)
แผนผังแสดงบริเวณที่ตั้งจารึกที่พนักรอบพระอุโบสถ เรื่องรามเกียรติ์ จำนวน 34 ชุด รวม 152 แผ่น



Title: Re: [0] วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
Post by: ppsan on 26 June 2022, 19:46:10

ภาพศิลาจำหลักเรื่องรามเกียรติ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์)

ภาพจำหลักนี้ จำหลักและติดตั้งอยู่ระหว่างเสาเฉลียง(เสานางเรียง)ของพระอุโบสถด้านนอก จำหลักเป็นภาพสลักนูนต่ำ บนแผ่นหินอ่อน เรื่องรามเกียรติ์ มีทั้งหมด 152 ภาพ และมีโคลงจารึกบอกเนื้อเรื่องติดไว้ใต้ภาพ แต่ปัจจุบันได้เลือนลางมองเห็นไม่ชัดเจน

ภาพสลักศิลาเหล่านี้ มาจากภาพหนังใหญ่ตอนต่างๆ รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชปรารภว่า “หนังใหญ่เป็นการเล่นมหรสพของไทยมาแต่อยุธยาตอนต้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การเล่นหนังใหญ่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูงหลายด้าน เพราะเหตุนี้การเล่นหนังใหญ่จึงเป็นของเล่นให้ดีได้ยาก นับวันแต่จะโทรมลงไป เพื่อให้อนุชนได้ชมภาพตัวหนังดังกล่าวจึงให้เอาตัวหนังใหญ่มาแกะลงบนแผ่นศิลาให้เหมือนหนังฉลุทุกส่วน ติดไว้ให้ชม”

ซึ่งช่างได้คัดเลือกเอาแต่เฉพาะตอนที่เห็นว่าจะจำหลักเป็นภาพได้งดงาม จึงมีเนื้อเรื่องไม่ต่อเนื่องกันนัก แต่เนื้อเรื่องนั้นได้เริ่มตั้งแต่ พระรามตามกวาง จากแผนของทศกัณฐ์ที่ออกอุบายให้มารีศแปลงเป็นกวางทองมาล่อพระราม จนทศกัณฐ์ลักนางสีดาจนถึงพระลักษมณ์ทำศึกกับมูลพลัม ซึ่งเป็นอสูรตนสำคัญแห่งเมืองปางตาล ที่มาช่วยทศกัณฐ์รบกับฝ่ายพระราม และจบลงที่แผ่นสุดท้าย สหัสเดชะตาย

.....
ในสมัยก่อนไม่มีใครสนใจ ด้วยเป็นแผ่นหินจำหลักลวดลาย ไร้สีสัน จนกระทั่งจิตรกรชาวเยอรมัน Hampe, Rudolf W. E. ได้ทำการลอกลายบนผนังด้วยกระดาษสาในช่วงปี 2498-2499 หนึ่งภาพไม่รวมกรอบในเวลานั้น มีราคาสูงถึง 500 บาท

ต่อมาก็เป็นไปตามคาด เมื่อคนไทยสามารถลอกเลียนแบบได้ กลายเป็นแหล่งหารายได้สำคัญ การทำซ้ำๆ ไปมา แผ่นหินก็ชำรุด จนในที่สุดทางวัดก็ประกาศห้ามไปในที่สุด กระนั้นในปัจจุบัน แผ่นหินเหล่านั้นก็เจือจางแทบมองไม่เห็น การถ่ายรูปทำได้ยาก

โชคดีที่มีช่างภาพคนหนึ่งชื่อ ร. บุญนาคได้อุทิศตัวถ่ายภาพชุดนี้ไว้ ในช่วงเวลาเดียวกับความเฟื่องฟูของการลอกลายช่วงก่อนปี 2500 เมื่อรวมเข้ากับโคลงภาพรามเกียรติ์ ทำให้เราสามารถย้อนจินตนาการถึงความตั้งใจที่อยู่ในแผ่นศิลาที่ได้บอกเล่าเรื่องราวกล่าวขานเอาไว้

ภาพทั้งหมดมี 152 ภาพ มีโคลงประดับใต้ภาพละหนึ่งบท มีโคลงบทปิดท้ายอีกสอง รวมเป็น 154 บท น่าเสียดายที่ลบเลือนไปหมด แต่โชคดีที่หลงเหลือต้นฉบับตัวคัดในหนังสือชื่อโคลงภาพรามเกียรติ์ จากหอสมุดแห่งชาติ ที่น่าจะถูกคัดลอกไว้ก่อนหน้าในรัชกาลที่ 5

ภาพเหล่านี้เคยถูกคัดลอกและกลายเป็นสินค้าที่ระลึกมีชื่อเสียงของวัดนี้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25

ปัจจุบันก็ยังมีพ่อค้าหน้าวัดโพธิ์บางส่วนยังขายภาพที่ได้จากแผ่นหินสลักชุดนี้อยู่ แต่ไม่ได้คัดลอกกับแผ่นหินของจริงแล้ว

(https://scontent.fbkk24-1.fna.fbcdn.net/v/t39.30808-6/289652099_197960419227854_6344878696371243514_n.jpg?_nc_cat=102&ccb=1-7&_nc_sid=730e14&_nc_ohc=abF8WIK24NsAX-lnr6O&_nc_ht=scontent.fbkk24-1.fna&oh=00_AT_-FZbzgzPMt9pokT1reSbTsx3giFN_c2qeS9QjyXTTzQ&oe=62BBF88D)
คัดลอกลายภาพสลักศิลาชุดภาพรามเกียรติ์ วัดโพธิ์ พระนคร พ.ศ.๒๕๐๓
ถ่ายเมื่อราวปี ค.ศ.1960 (พ.ศ.๒๕๐๓)
Image Source : Irving Snider, Canada

(https://scontent.fbkk24-1.fna.fbcdn.net/v/t39.30808-6/290292204_197960379227858_1156360001392897086_n.jpg?_nc_cat=104&ccb=1-7&_nc_sid=730e14&_nc_ohc=UdXwWBEMqqcAX92GFcq&tn=zCYyghTamW8-oW29&_nc_ht=scontent.fbkk24-1.fna&oh=00_AT8HBWNrg3giMkphAiz1jgleXzi4ulqj6W97GXA6gO0FMQ&oe=62BB8550)


(https://scontent.fbkk24-1.fna.fbcdn.net/v/t39.30808-6/290166893_197960352561194_1980491795528157717_n.jpg?_nc_cat=110&ccb=1-7&_nc_sid=730e14&_nc_ohc=G7qfjbTxIpQAX-S_lLW&_nc_ht=scontent.fbkk24-1.fna&oh=00_AT8H3R4grLuxNuMJZNZn3o9E_S5IROXLUHEtbUkrQATBzA&oe=62BBA1B7)
คัดลอกลายภาพสลักศิลาชุดภาพรามเกียรติ์ วัดโพธิ์
ถ่ายเมื่อราวปี ค.ศ.1962 (พ.ศ.๒๕๐๕)
Image Source : Charles F. Keyes, United States
ปัจจุบัน ทางวัดโพธิ์ ห้ามทำการลอกลายภาพศิลาจำหลัก ชุด “ภาพรามเกียรติ์” แล้ว


(https://scontent.fbkk24-1.fna.fbcdn.net/v/t39.30808-6/290193636_197960455894517_2890703406287433830_n.jpg?_nc_cat=105&ccb=1-7&_nc_sid=730e14&_nc_ohc=Q3jdSmYWmGEAX-M5F-I&_nc_ht=scontent.fbkk24-1.fna&oh=00_AT9aPq9A9ivRDDE87iFprGtHZ4TtGe1Q7-U1cs5Bxyhjxg&oe=62BD129A)
ลายภาพสลักศิลาชุดภาพรามเกียรติ์ วัดโพธิ์



Title: Re: [0] วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
Post by: ppsan on 26 June 2022, 19:47:49

(http://www.kitmaiwatpho.com/dataWorld-Heritage/03PnukUbosot/PlanPnukUbosot800x493.png)
แผนผังแสดงบริเวณที่ตั้งจารึกที่พนักรอบพระอุโบสถ เรื่องรามเกียรติ์ จำนวน 34 ชุด รวม 152 แผ่น


ภาพศิลาจำหลัก เรื่องรามเกียรติ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
จารึกที่พนักรอบพระอุโบสถ ทั้ง 4 ทิศ จำนวน 34 ชุด รวม 152 แผ่น

ด้านทิศตะวันออก มี 6 ช่อง(ชุด) แผ่นที่ 1-32
ด้านทิศใต้ มี 11 ช่อง(ชุด) แผ่นที่ 33-76
ด้านทิศตะวันตก มี 6 ช่อง(ชุด) แผ่นที่ 77-108
ด้านทิศเหนือ มี 11 ช่อง(ชุด) แผ่นที่ 109-152



ศิลาจำหลัก เรื่องรามเกียรติ์
ด้านทิศตะวันออกมี 6 ช่อง

ช่องที่ 1  แผ่นที่  1-3
ช่องที่ 2  แผ่นที่  4-9
ช่องที่ 3  แผ่นที่  10-16
ช่องที่ 4  แผ่นที่  17-23
ช่องที่ 5  แผ่นที่  24-29
ช่องที่ 6  แผ่นที่  30-32


.....
ขอขอบคุณ ภาพและเรื่อง จาก...
http://www.kitmaiwatpho.com/index.html

.....Cr.
บัณฑิต พวงมาลัย – วาดภาพ ,  พระมหากิตติศักดิ์ ไมตรีจิต – แต่งสีภาพ

ผู้จัดทำ : พระมหากิตติศักดิ์ ไมตรีจิต (ตัวอักษรที่จารึกไว้เลือนหมด จึงคัดลอกตามหนังสือประชุมจารึกมาใส่ไว้แทนการถ่ายทอดตามจารึกที่ปรากฏ)