Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
เหนือเกล้าชาวสยาม => พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าอริยสาวก => Topic started by: ppsan on 24 February 2022, 15:14:52
-
ธรรมจักร ศิลปะทวารวดีตอนต้น
“ศิลปะทวารวดี” ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในสยามประเทศ ในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16
(https://scontent.fbkk24-1.fna.fbcdn.net/v/t39.30808-6/274585566_170872818603281_3267873088612689334_n.jpg?_nc_cat=110&ccb=1-5&_nc_sid=730e14&_nc_ohc=KJuyKlSThdIAX-OGYlc&tn=10sB9gke74c-dXHz&_nc_ht=scontent.fbkk24-1.fna&oh=00_AT_BrzDrUsVmoaEhxzZUSh-mUQT97rrScU5kklyRLg1BEQ&oe=621C2154)
(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/552000009776001.JPEG)
(http://dhamma.serichon.us/wp-content/uploads/2018/06/2018-06-17_071701.jpg)
(http://3.bp.blogspot.com/-nRMW_Ckku3w/TfSYpZV_WWI/AAAAAAAAIeg/M0c7LLBBwBc/s1600/artaug13001.jpg)
(https://promayarn.files.wordpress.com/2012/06/e0b881e0b887e0b8a5e0b989e0b8ade0b89ee0b8a3e0b8b0e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b888e0b8b1e0b881e0b8a3.jpg)
-
ธรรมจักร
ธรรมจักร (สันสกฤต: धर्मचक्र; บาลี: dhammacakka) หรือ กงล้อแห่งธรรม เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แพร่หลายในศาสนาอินเดีย เช่น ศาสนาฮินดู, ไชนะ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในศาสนาพุทธ
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/c4/001_Dhammacakka%2C_7c%2C_Dwaravati_%2835252600795%29.jpg/800px-001_Dhammacakka%2C_7c%2C_Dwaravati_%2835252600795%29.jpg)
"ธรรมจักร" แกะสลักจากหินทราย, พุทธศตวรรษที่ 12, พบที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม, ปัจจุบันเป็นของสะสมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ต้นกำเนิด
สัญลักษณ์กงล้อ/จักรเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์อินเดีย นักวิชาการ Madhavan และ Parpola ระบุว่าสัญลักษณ์กงล้อปรากฏมากในโบราณวัตถุจากอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยเฉพาะบนตราประทับหลาย ๆ ตรา ตัวอย่างชิ้นสำคัญคือเป็นหนึ่งในสิบสัญลักษณ์บนป้ายโธลาวีรา[3] ปรากฏเป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ตั้งแต่ราว 2500 ปีก่อน ค.ศ.
นักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อมโยงจักรโบราณเข้ากับลัทธิสัญลักษณ์ดวงอาทิตย์ ในพระเวท พระสุริยะอวตารในปางพระมิตรมีการบรรยายว่าเป็น "ดวงตาของโลก" ในแง่นี้พระอาทิตย์จึงอาจมองเป็นดวงตา (จักษุ) ซึ่งให้ความสว่างและการมองเห็นแก่โลก ฉะนั้นจึงมีการเชื่อมโยงแนวคิดจักรเข้ากับแสงสว่างหรือปัญญา
ในศาสนาพุทธ
ในศาสนาพุทธ ธรรมจักรปรากฏใช้ทั่วไปเพื่อสื่อถึงธรรมของพระพุทธเจ้า, บ้างใช้เป็นสัญลักษณ์แทนพระโคตมพุทธเจ้า และใช้แทนหนทางสู่การตรัสรู้ ปรากฏใช้เช่นนี้นับตั้งแต่ศาสนาพุทธยุคแรก บางครั้งปรากฏเชื่อมโยงธรรมจักรเข้ากับอริยสัจสี่, อริยมรรคแปด และ ปฏิจจสมุปบาท
ธรรมจักรที่ปรากฏใช้ในยุคก่อนศาสนาพุทธถือว่าเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์อัษฏมงคล และเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดของศิลปะอินเดีย
ตามธรรมเนียมพุทธระบุว่า พระพุทธเจ้าทรงเริ่มหมุนกงล้อแห่งธรรมครั้งแรกเมื่อทรงแสดงปฐมเทศนา ดังที่ปรากฏใน ธัมมจักกัปปวัตนสูตร การ "หมุนกงล้อแห่งธรรม" นี้เป็นการแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่มีผลต่อจักรวาล เข้าใจว่าศาสนาพุทธรับเอาแนวคิดของกงล้อในฐานะสัญลักษณ์มาจาก แนวคิดปรัมปราอินเดียของ จักรวรรติน ("ผู้หมุนกงล้อ", หรือ "จักรพรรดิแห่งเอกภพ") แนวคิดนี้ถูกรับมาแทนพระโคตมพุทธเจ้าในฐานะมหาปุริษา ในฐานผู้หมุนกงล้อ ("จักรวรรติน") ในทางจิตวิญญาณ แทนที่จะเป็นการหมุนกงล้อในทางโลกตามความหมายดั้งเดิมของจักรวรรติน
ในการตีความ "การหมุนกงล้อแห่งธรรม" นั้น พระพุทธโฆษาจารย์ ภิกษุองค์สำคัญในธรรมเนียมเถรวาท อธิบายว่า "กงล้อ" ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงหมุนนี้ เข้าใจหลัก ๆ ในแง่ว่าเป็นปัญญา ความรู้ และญาณ ปัญญาที่ว่านี้มีสองแง่มุม คือ ปฏิเวธญาณ (paṭivedha-ñāṇa) หรือปัญญาแห่งการรู้ตนถึงความจริง และ เทศนาญาณ (desanā-ñāṇa) ปัญญาของการประกาศความจริง
ปรากฏการออกแบบธรรมจักรมีซี่ที่แตกต่างกัน โดยที่พบมากคือ 8, 12, 24 หรือมากกว่านั้น การตีความจำนวนนี้แตกต่างกันไปตามธรรมเนียม โดยทั่วไปมักตีความถึงคำสอนต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า เช่น ในธรรมเนียมทิเบตตีความกงล้อ 8 ซี่ว่าแทนมรรคแปด และองค์ประกอบสามส่วนของจักร คือ ตุมล้อ, ขอบ และ ซี่ แทนการปฏิบัติสามประการของพระพุทธเจ้า (ศีล, สมาธิ และ ปัญญา) หรือในคติเถรวาทแบบไทย ตีความจักร 12 ซี่ หมายถึงปฏิจจสมุปบาทสิบสอง หรือ 31 ซี่ หมายถึง ภูมิทั้ง 31 (กามภูมิ 11 รูปภูมิ 16 และอรูปภูมิ 4) เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏการแทนความหมายของวงล้อที่หมุนไปในฐานะวงล้อของการเวียนว่ายตายเกิด (สังสารวัฏ) ซึ่งเรียกจักรในความหมายนี้ว่า "สงสารจักร" หรือ "สังสารจักร" และ "ภวจักร"
ในการใช้งานแบบอื่น ๆ
ปรากฏธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ในศรมัณของศาสนาไชนะ และบางครั้งปรากฏบนเทวรูปของตีรถังกร และในภควัทคีตา ปรากฏแนวคิดของธรรมจักรและการหมุนกงล้อเช่นกัน
อโศกธรรมจักร 24 ซี่ ปรากฏในธงชาติอินเดีย เพื่อแทนแนวคิดของธรรมในศาสนาอินเดียโดยรวม และตราแผ่นดินอินเดียซึ่งเป็นภาพของหัวเสาอโศกรูปสิงห์จากสาญจีก็ปรากฏธรรมจักรบนนั้น สรเวปัลลี รธากฤษณัน รองประธานาธิบดีคนแรกของอินเดียระบุว่าอโศกจักรในสัญลักษณ์ของชาติอินเดียนั้นแทน "กงล้อของกฎหมายของธรรม" และ "ความจริงหรือสัตยะ" (ดังที่ปรากฏในคำขวัญประจำชาติ สัตยเมวชยเต), "คุณธรรม" และ "ดารเคลื่อนไหว" ในแง่ของ "พลวัตของการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ"
.
(http://igetweb.com/www/phromalok/gallery/1482869.jpg)
ธรรมจักรศิลา วัดพระพุทธบาทหินลาด อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
.
(https://seaarts.sac.or.th/uploads/artwork/267/gallery/large-5d6ce09ba406a.jpg)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
.
(https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiw-xMLXETVDTD4FpWCVqI0EFuHiBMvcsBB7TqWBF_cGHvAg7At0UlsMKEGcfDf14lKrn1t5RNm5rEuWV1FOEsmJEb27yL3y8jXRCk8K8QHNMMxJK_LNxdBuTXOEPZB7i7GnA_k802or6Hg/s1600/dvaravati_wheel.jpg)
.
(https://seaarts.sac.or.th/uploads/artwork/266/gallery/large-5d6cd70c49e53.jpg)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์
.
(https://www.is-trip.com/wp-content/uploads/2021/07/18.1-1-768x1024.jpg)
.
.....
จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ธรรมจักร
.