Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
หมวดหมู่ทั่วไป => สาระน่ารู้ => Topic started by: ppsan on 11 January 2022, 21:53:47
-
มาตรา ชั่ง ตวง วัด (ภาคเครื่องตวง)
๒. เครื่องตวง (Measurement, Scoop) และมาตรการตวง
“รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก
เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้”
คงจะเคยได้ยินและจำกันได้บ้างนะครับ กับการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนที่มีมาตรการตวงปรากฏอยู่ในบทดังกล่าว ครั้งที่แล้วได้กล่าวถึงมาตรการชั่งของไทยแบบโบราณรวมถึงอุปกรณ์ที่เป็นตาชั่ง เครื่องชั่ง และกิโลโบราณมาแล้ว (ซึ่งก็ได้ปรับปรุงข้อมูลมาแล้วประมาณสองสามครั้ง)
สำหรับในวันนี้ จะขอกล่าวถึงมาตรการตวงและอุปกรณ์การตวงโบราณที่สะสมไว้ในช่วงระยะหนึ่ง (ซึ่งก็จะพยายามหามาเพิ่มเติมตามแต่กำลังทรัพย์ที่พอจะมีครับ)
มาตรการตวง(1)ของไทยโบราณ
150 เมล็ดข้าว เป็น 1 หยิบมือ
4 หยิบมือ เป็น 1 กำมือ
4 กำมือ เป็น 1 ฟายมือ
2 ฟายมือ เป็น 1 กอบ
4 กอบ เป็น 1 ทะนาน
25 ทะนาน เป็น 1 สัด
80 สัด เป็น 1 เกวียน
ในอีกแบบหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า
150 เมล็ดข้าว เป็น 1 ใจมือ
4 ใจมือ เป็น 1 กำมือ
8 กำมือ เป็น 1 จังวอน
2 จังวอน เป็น 1 แล่ง
2 แล่ง เป็น 1 ทะนาน
20 ทะนาน เป็น 1 ถัง
50 ถัง เป็น 1 บั้น
2 บั้น เป็น 1 เกวียน
หมายเหตุ : หากเทียบกับมาตราเมตริกซ์ 1 ทะนาน จะมีค่าเท่ากับ 1 ลิตร
จากด้านบน พบข้อสังเกตว่า 25 ทะนานเป็น 1 สัด และในอีกแบบที่กล่าวไว้ว่า 20 ทะนาน เป็น 1 ถัง นั้นแสดงว่าถังเก็บข้าวที่มีใช้อยู่จะมีขนาดไม่เท่ากัน (นั่นคือ 1 สัดจะมากกว่า 1 ถังอยู่ 5 ลิตร) ซึ่งสอดคล้องกับกลอนนิราศภูเขาทองของสุนทรภู่ตอนหนึ่ง ที่นำคำว่าถังกับสัดไปเปรียบเทียบกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ยุติธรรมว่า (2)
“จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง ก็ใช้ถังแทนสัดเห็นขัดขวาง
จึ่งจำลาอาวาสนิราศร้าง มาอ้างว้างวิญญาณ์ในสาคร”
สาเหตุที่หน่วยทั้งสองไม่เท่ากัน ก็อาจจะมาจากความคลาดเคลื่อนของขนาดภาชนะที่ใช้ ซึ่งหาได้จากสิ่งรอบตัวที่มีขนาดไม่เท่ากันนั่นเอง
มาตราการตวงหน่วยหลวง
ถ้าอ้างถึงพระราชบัญญัติ มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 (รัชกาลที่ 6) มาตรา 13 ข้อ 2 วิธีประเพณี โดยระบุว่า นาม, อัตรา และ อักษรย่อ ตามลำดับ
· เกวียนหลวง ให้เท่ากับ สองพันลิตร (กว.)
· บั้นหลวง ให้เท่ากับ พันลิตร (บ.)
· สัดหลวง ให้เท่ากับ ยี่สิบลิตร (ส.)
· ทนานหลวง ให้เท่ากับ หนึ่งลิตร (ท.)
(ทนาน เขียนตามที่ปรากฏใช้ในพระราชบัญญัตินี้ ปัจจุบัน พจนานุกรมใช้ ทะนาน)
หน่วยโบราณอื่นๆ ที่มีขนาดน้อยกว่าทะนาน เป็นการวัดโดยประมาณ เช่น
· 4 กำมือ (มุฏฐิ) = 1 ฟายมือ (กุฑวะ)
· 2 ฟายมือ = 1 กอบ (ปัตถะ)
· 2 กอบ = 1 ทะนาน (นาฬี หรือ นาลี) เป็นต้น
หมายเหตุ : ขนาด “ฟายมือ” คือ เต็มอุ้งมือ หรือ เต็มฝ่ามือที่ห่อเข้าไป
หากจะหาปริมาตรตามหน่วยโบราณเทียบกับหน่วยหลวง อาจคิดย้อนจาก
· 1 หยิบมือ = 150 เมล็ดข้าวเปลือก
· 4 หยิบมือ = 1 กำมือ = 600 เมล็ดข้าวเปลือก
· 4 กำมือ = 1 ฟายมือ = 2,400 เมล็ดข้าวเปลือก
· 2 ฟายมือ = 1 กอบมือ = 4,800 เมล็ดข้าวเปลือก
· 4 กอบมือ = 1 ทะนาน = 19,200 เมล็ดข้าวเปลือก
· 20 ทะนาน = 1 สัด = 384,000 เมล็ดข้าวเปลือก
· 50 สัด = 1 บั้น = 19,200,000 เมล็ดข้าวเปลือก
· 2 บั้น = 1 เกวียน หรือ 100 ถัง = 38,400,000 เมล็ดข้าวเปลือก
โดยเอาปริมาตรเมล็ดข้าวเปลือกเป็นเกณฑ์ (ไม่ทราบว่าเมล็ดข้าวเปลือกพันธุ์ใดที่โบราณใช้)
นอกจากนี้ในท้องถิ่นแต่ละแห่งก็อาจจะมีมาตรการตวง (รวมถึงเครื่องตวง) ที่แตกต่างออกไป เช่นที่แม่ฮ่องสอน(3) จะมีเครื่องตวง (แจ่แหล่) ที่ทำด้วยกะลามะพร้าว โดยขูดผิวให้สะอาดเป็นมัน ภาชนะที่เรียกว่า ก๊อกแป่ และข้องควายก็ใช้สำหรับตวงเช่นกัน ภาชนะดังกล่าวสานด้วยไม้ไผ่ หวาย ทำขอบด้วยเหล็ก ทองเหลือง หรือไม้เถา ทาด้วยรัก เพื่อให้ทนทาน ส่วนในการตวง เป็นจอ จะใช้ในกรณีที่ต้องการตวงข้าวสารเป็นจำนวนมาก (1 จอ = 20 ควาย)
มาตรด้านล่างต่อไปนี้ จะเปรียบเทียบ(4)ให้เห็นความสัมพันธ์ของหน่วยตวงแบบต่างๆที่นิยมใช้สำหรับงานต่างๆเช่น ในงานปิโตรเคมี สำหรับการตวงเหล้า การตวงยา และอาหาร(2) เป็นต้น
1 cc = 1 ลูกบาศก์ เซนติเมตร
1 ลิตร = 1000 cc
1 ลูกบาศก์ เมตร = 1000 ลิตร
1 แกลลอน(อังกฤษ) = 4.546 ลิตร
1 แกลลอน(อเมริกา) = 3.785 ลิตร
1 บาร์เรล = 42 แกลลอน
1 บาร์เรล (US) = 159 ลิตร
1 ตัน (ระวางเรือ) = 42 ลูกบาศก์ หลา
1 ถ้วยตวง = 8 ออนซ์ (Fluid oz.)
1 ออนซ์ (Fluid oz.) = 2 ช้อนโต๊ะ (ช.ต.)
1 ออนซ์ (Fluid oz.) = 30 มิลลิลิตร
1 ควอต = 32 ออนซ์
1 เพค = 8 ควอต
1 บุเชล = 4 เพค
1 ช้อนโต๊ะ = 3 ช้อนชา (ช.ช.)
1 ช้อนโต๊ะ = 15 มิลลิลิตร
1 ช้อนชา = 5 มิลลิลิตร
คราวนี้ลองมาชมเครื่องตวงที่มีสะสมอยู่ครับ
๑. ทะนาน (ทนาน) ปกติจะทำจากกะลาตาเดียว แต่ชิ้นนี้เป็นทองเหลือง
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scoop/tanan1.JPG)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scoop/tanan2.JPG)
๒. ถังตวงข้าวทำด้วยไม้ ขนาด ๕ ลิตร และถังตวงข้าวทองเหลืองตีตราไว้ ๑ ล, ๕ ดล , ๒๐๐ ซม๓, ๑๐๐ ซม๓ และ ๕ ซล. ตามลำดับ
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scoop/tank2.JPG)
๓. ถังตวงข้าวขนาด ๑ ลิตร ทำจากสังกะสี รูปบนจะมีการตีหมายเลขกำกับไว้ รูปล่างที่จุดบัดกรีจะมีการตีตราครุฑไว้ทั้งบนและล่างดังรูปล่าง
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scoop/1litre.JPG)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scoop/1litre2.JPG)
๔. ถังตวงข้าวสารขนาด ๑๐ ลิตร ทำจากเหล็กแผ่นม้วนเชื่อม ด้านข้างมีแผ่นทองเหลืองประทับตราครุฑ พร้อมหมายเลขกำกับ และผู้ผลิต (ดังรูปล่าง)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scoop/10litre.JPG)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scoop/10liter2.JPG)
๕. ถังตวงข้าวขนาด ๒๐ ลิตร ตัวผู้และตัวเมียตามลำดับ บางท่านกล่าวไว้ว่าถังตวงเหล่านี้ ถ้าเป็นของแท้ที่ออกให้โดยหลวง จะต้องตีตราครุฑทั้งด้านในและนอกถัง
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scoop/20litre.JPG)
๖. ถ้วยตวงของเหลว เช่น เหล้า และน้ำมันก๊าซ ในสมัยก่อน ขนาด ๕๐ ลบ.ซม,๑๐๐ ลบ.ซม.๒ อัน) และ ๒๐๐ ลบ.ซม. ตามลำดับ
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scoop/DSC01436.JPG)
๗. ช้อนตวงของแข็ง เช่น นม ขนาด ๑ ช้อนโต๊ะและครึ่งช้อนโต๊ะ
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scoop/spoon2.JPG)
๘. ช้อนตวงขนาด ๑ ช้อนโต๊ะ, ๑ ช้อนชา, ครึ่งช้อนโต๊ะ และครึ่งช้อนชา ตามลำดับ
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scoop/spoon1.JPG)
สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณเจ้าของเนื้อหาที่ข้าพเจ้าได้นำมาเผยแพร่ และเพื่อนสมาชิกทุกท่านที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมและให้ข้อคิดเห็นครับ
(1)มาตราโบราณของไทย* ที่หมดความสำคัญลงไป. *บุญหนา สอนใจ สังขยาปกาสกปกรณ์และฎีกา : การตรวจชำระและการศึกษาเชิง วิเคราะห์ วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2523.หน้า 288-230.
อ้างจาก http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=chemengfight&topic=533
(2)มาตราตวง. อ้างจาก http://th.wikipedia.org/wiki
(3)ภูมิปัญญาชาวบ้าน.อ้างจากhttp://www.moohin.com/about-thailand/oldcity/maehongson15.shtml
(4)มาตราชั่งตวงวัดที่น่ารู้.อ้างจาก http://siripaula.multiply.com/journal/item/3
ขอขอบคุณ เรื่องและภาพจาก
ครุตามพรลิงค์
สวัสดีผู้รักการเรียนรู้ และรู้ที่จะเรียน
Permalink : http://oknation.nationtv.tv/blog/kru-podjanard
อะกาฬิโกคลาสสิก : พิพิธภัณฑ์ ชั่ง ตวง วัด (ภาคเครื่องตวง)
Posted by บ้านชฎาเรือนปฏัก
http://oknation.nationtv.tv/blog/kru-podjanard/2011/01/29/entry-1