Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
หมวดหมู่ทั่วไป => สาระน่ารู้ => Topic started by: ppsan on 11 January 2022, 10:03:54
-
มาตรา ชั่ง ตวง วัด (ภาคเครื่องชั่ง)
ตอนเครื่องชั่ง
วัตถุประสงค์
เพื่อแสดงให้เห็นความรู้ด้าน วิวัฒนาการ หน่วยการวัด และรูปแบบต่างๆของระบบการ "ชั่ง ตวง วัด" ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
หากย้อนกลับไปคืนวันเก่าๆ หลายท่านคงมีความทรงจำบางอย่างที่ติดตาติดใจใน อดีตไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง เพื่อให้หวนนึกถึงวันนั้น วันนี้ข้าพเจ้าขอนำเสนอของสะสมเก่าๆที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์เล็กๆของข้าพเจ้า (ซึ่งยังไม่มีที่ตั้งเป็นทางการ) เป็นเรื่องราวของอุปกรณ์ที่เรียกว่า "ชั่ง ตวง วัด" ครับ แต่ก่อนจะดูตาชั่งที่สะสมไว้ ลองมาดูถึงหน่วยหรือมาตราวัดของระบบการชั่งของไทยกันก่อน
มาตรา “ชั่ง” โบราณของไทยเมื่อเทียบกับเมตริก 1)
๒ อัฐ = ๑ ไพ = ๐.๔๖๘ กรัม
๔ ไพ = ๑ เฟื้อง = ๑.๘๗๕ กรัม
๒ เฟื้อง = ๑ สลึง = ๓.๗๕ กรัม
๔ สลึง = ๑ บาท = ๑๕ กรัม
๔ บาท = ๑ ตำลึง = ๖๐ กรัม
๒๐ ตำลึง = ๑ ชั่ง = ๑.๒ กิโลกรัม
๕๐ ชั่ง = ๑ หาบ = ๖๐ กิโลกรัม
หมายเหตุ : ปัจจุบันหน่วยเมตริกไม่ค่อยนิยมใช้ แต่หันมาใช้หน่วย “SI” ซึ่งเป็นหน่วยมาตรฐานนานาชาติแทน
นอกจากนี้ จากก็ยังมีผลงานอมตะของพระสิริมังคลาจารย์คือ “สังขยาปกาสกฎีกา” ที่มีอายุเกือบห้าร้อยปีมาแล้ว 2) ซึ่งมีเพิ่มเติมไปอีกได้แก่
๒ กล่อม = ๑ กุเลา
๒ กุเลา = ๑ ไพ
ในส่วนของ “ปมาณสังขยา” (มาตราชั่ง) จากผลงานเดียวกันกล่าวไว้ว่า
4 วีหิ เป็น 1 คุญชา
2 คุญชา เป็น 1 มาสกะ
5 มาสกะ เป็น 2 อักขะ
8 อักขะ เป็น 1 ธรณะ
5 ธรณะ เป็น 1 สุวัณณะ
5 สุวัณณะ เป็น 1 นิกขะ
0.4 นิกขะ เป็น 1 ปละ
100 ปละ เป็น 1 ตุลา
20 ตุลา เป็น 1 ภาระ
10 ภาระ เป็น 1 สกฏะ (เกวียน)
หรือในอีกแบบหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า
4 วีหิ เป็น 1 คุญชา
2 คุญชา เป็น 1 มาสกะ
2.5 มาสกะ เป็น 1 อักขะ
8 อักขะ เป็น 1 ธรณะ
10 ธรณะ เป็น 1 ปละ
100 ปละ เป็น 1 ตุลา
20 ตุลา เป็น 1 ภาระ
10 ภาระ เป็น 1 สกฏะ (เกวียน)
จะเห็นว่าหน่วยทั้งหมดนี้ เกิดจากจิตที่ผูกติดกับธรรมะและธรรมชาติ ทำให้สามารถแยกแยะ รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์เรื่องราวต่างๆได้อย่างลึกซึ้งไม่เว้นแต่หน่วยการ “ชั่ง” รวมถึงการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นมาได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดในตอนต้นที่กล่าวมานี้ก็น่าจะสืบค้นหาให้ลึกลงไปถึงเส้นทางและที่มาเป็นอย่างยิ่ง
คราวนี้มาดูของที่สะสมกัน เริ่มที่ตาชั่งครับ
๑. ตาชั่ง (a scales, a weight)ที่มีสะสม
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/eggscale2.JPG)
๑. ตาชั่งไข่ (ภาพล่างแสดงด้านหลัง) สำหรับคัดขนาดของไข่ ผลิตโดยอเมริกา
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/eggscale3.JPG)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/DSC00806.JPG)
๒. ตู้ชั่งทอง (ใช้ร่วมกับลูกตุ้มถ่วงน้ำหนัก) ใช้หลักการสมดุลแรง
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/spring.JPG)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/DSC00820.JPG)
๓. ตาชั่งสปริงขนาด ๓๐ กิโลกรัม และ ๕๐ กิโลกรัม ของเยอรมันตามลำดับ
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/balancescale2.JPG)
๔. ตาชั่งยาสมุนไพร (ใช้ร่วมกับลูกตุ้มน้ำหนัก)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/kamor3kg.JPG)
๕. ตาชั่งยี่ห้อ Kamor ขนาด ๓ กก.
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scale/antiquescale.JPG)
๖. ตาชั่งตัวนี้ไม่ทราบยี่ห้อและพิกัดครับ
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/linkscale1.JPG)
๗. ตาชั่งซองจดหมาย ชี้สเกลสูงสุดที่ ๒๕๐ กรัม ผลิตในประเทศเยอรมัน
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scale/postscale2.JPG)
๘. ตาชั่งไปรษณีย์ (postal scale) มีอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ไปรษณีย์ไทย บางเขน การออกแบบทำได้คลาสสิกมาก
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/pigscale.JPG)
๙. ตาชั่งจีน (ตัวนี้ชั่งได้ ๑๐๐ กก.) ตาชั่งแบบนี้ส่วนมากจะใช้ชั่งเนื้อ ข้าวสาร และอื่นๆ
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/showscale.JPG)
๑๐. ตาชั่งตัวนี้น่าจะใช้ตั้งโชว์มากกว่าจะใช้งานจริง (รอผู้รู้ช่วยอธิบายครับ)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/changfin.JPG)
๑๑. ตาชั่งฝิ่น ใช้คู่กับลูกเป้ง (ลูกเป้งจะเป็นตัวแสดงฐานะของเจ้าของ)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/kilo.JPG)
๑๒. ตาชั่ง (กิโล) วัดสามจีน ๓๐ กก. (ไม่แน่ใจว่าทำไมเรียกเช่นนี้)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scale/engscale.JPG)
๑๓. ตาชั่งขนาดเล็กใช้สปริง ผลิตจากประเทศอังกฤษ
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/salung1.JPG)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/salung2.JPG)
๑๔. ตาชั่งสลึง (ภาพล่างกล่องสำหรับเก็บ) ใช้ชั่งสิ่งของที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก เช่น ส่วนผสมสำหรับปรุงอาหาร ชั่งยา เป็นต้น
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/RHEWA1.JPG)
๑๕. ตาชั่งสมุนไพร ผัก ผลไม้ และอื่นๆ ขนาด ๓ กก. ยี่ห้อ RHEWA (ตัวนี้ขาดจานและตุ้มน้ำหนัก)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/DSC01253.JPG)
๑๖. ตาชั่งสนุมไพร ผัก และผลไม้ ขนาด ๕ กก. ยี่ห้อ MUR - WAG
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/DETECTO.JPG)
๑๗. ตาชั่งน้ำหนักแบบแขวนมี ๒ หน้า ยี่ห้อ DETECTO ผลิตในอเมริกา ชั่งได้สูงสุด ๑๐ กก. ความละเอียด ๕๐ กรัม
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/kanchang.JPG)
๑๘. คันชั่งจีน (เพิ่มเติม) ตัวแรกบนสุดด้านซ้าย ชั่งได้ ๓๐ กก. ตัวกลางชั่งได้ ๑๐๐ กก. (วัสดุมีทั้งเหล็กและทองเหลือง) ตัวล่างสุดชั่งได้ ๒๓๐ กก. (ความยาวรวม ๑๖๕ ซม.) ส่วนตัวบนสุดด้านขวามือ ชั่งได้ ๑๐ กก.
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/kilo/doctorscale.JPG)
๑๙. ตาชั่งเด็ก (Baby scale) ผลิตในญี่ปุ่น ชั่งได้สูงสุด ๒๐ กก.
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scale/denmarkscale1.JPG)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scale/denmarkscale2.JPG)
๒๐. ตาชั่งผลิตจากเดนมาร์ก เมื่อต้องการชั่งของต้องเปิดฝาด้านหน้าลง ฝาด้านหน้าจะเป็นตัวรองรับสิ่งของที่จะชั่ง (ดังรูปด้านล่าง)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/276/32276/images/scale/DSC01718.JPG)
๒๑. ตาชั่งแบบสองแขนผลิตจากอเมริกา ที่ฐานจะมีระดับน้ำเพื่อตั้งระดับ
ท้ายสุดนี้ ขอฝากสุภาษิตดีๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องตาชั่งไว้ครับ ซึ่งได้จากการไปพูดคุยกับแม่ค้ารับซื้อของเก่า ท่านบอกว่า "ถ้าเรามีตาชั่งต่อไปนี้จะไม่ยากจน ชั่งเงิน ชั่งทอง ชั่งไม้บอง (ท่อนไม้) ๑๒ ตาชั่ง" สวัสดีครับ
ขอขอบคุณ
1) http://watnang.com/webboard/index.php?topic=110.0
2) บุญหนา สอนใจ. สังขยาปกาสกปกรณ์และฎีกา : การตรวจชำระและการศึกษาเชิงวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2523.หน้า 288-230. อ้างจาก http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=chemengfight&topic=533
(ปล.ท่านใดมีความรู้เกี่ยวกับตาชั่ง ยินดีรับฟังนะครับ และขอขอบคุณไว้ล่วงหน้าครับ)
เรื่องและภาพจาก
ครุตามพรลิงค์
สวัสดีผู้รักการเรียนรู้ และรู้ที่จะเรียน
Permalink : http://oknation.nationtv.tv/blog/kru-podjanard
วันอาทิตย์ ที่ 14 พฤศจิกายน 2553
อะกาฬิโกคลาสสิก : พิพิธภัณฑ์เล็กๆของข้าพเจ้า (ภาคเครื่องชั่ง)
Posted by บ้านชฎาเรือนปฏัก
อะกาฬิโกคลาสสิก (Aghaligo Classic) : พิพิธภัณฑ์เล็กๆของข้าพเจ้า
http://oknation.nationtv.tv/blog/kru-podjanard/2010/11/14/entry-1