Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
เหนือเกล้าชาวสยาม => พระบรมโพธิสัตว์เจ้าแห่งแผ่นดินสยาม => พระราชวังและพระราชพิธี => Topic started by: ppsan on 21 November 2021, 11:57:28
-
ขบวนเรือต่างๆ ในพระราชพิธีเสด็จทางชลมารค
เรือดั้ง
(http://phralan.in.th//coronation/images/upload/images/Barge_001.jpg)
เรือดั้ง : คือเรือที่ทำหน้าที่ป้องกันกระบวนหน้า เพราะคำว่าดั้งหมายถึงหน้า ไม่พบหลักฐานที่สร้าง ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ กรมอู่ทหารเรือได้ต่อเรือดั้ง ๖ ขึ้นใหม่ โดยวางกงเหล็กเพื่อให้เรือแข็งแรงและทนทานทำให้ ตัวเรือหนักมาก มีการซ่อมใหญ่ในปี พ.ศ.๒๕๒๔
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เรือดั้ง เป็นเรือไม้ทาสีน้ำมัน ไม่มีลวดลายอย่างใด แต่ปัจจุบันหัวเรือปิดทอง มี ๒๒ ลำ มีชื่อเรียกตามลำดับตั้งแต่ เรือดั้ง ๑ ถึง เรือดั้ง ๒๒
ขนาดของเรือ ยาว ๒๓.๖๘ - ๒๗.๓๕ เมตร กว้าง ๑.๕๕ - ๑.๘๑ เมตร จำนวนฝีพาย ๒๖ - ๓๒ นาย ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568863794_g_1.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568863799_g_2.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568863848_g_3.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568863863_g_4.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568863863_g_5.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568863868_g_6.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568864078_g_1.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568864083_g_2.jpg)
-
เรือทองขวานฟ้า และเรือทองบ้าบิ่น
(http://phralan.in.th//coronation/images/upload/images/The%20Barge%20Thong-Khwan-Fa%20and%20The%20Barge%20Thong-Ba-Bin.jpg)
ทองขวานฟ้า แปลว่า ขวาน (ทำด้วย) ทอง ตกมาจากท้องฟ้า คนไทยโบราณมักเรียกขวานหินขัด
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบอยู่ในแหล่งต่าง ๆ ว่าเรียกว่า ขวานฟ้า เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำขึ้นเอง แต่ตกลงมาจากท้องฟ้า
อันที่จริง ชื่อทองขวานฟ้า น่าจะเพี้ยนมาจาก ทองแขวนฟ้า แปลว่า ทองที่ห้อยย้อยลงมาจากท้องฟ้า เรือทองแขวนฟ้าเป็นชื่อเรือคู่หนึ่งที่ปรากฏในกระบวนเรือฯ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231) และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) เป็นไปได้ว่า ในสมัยต่อมาเรือชื่อทองแขวนฟ้าลำหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น ทองขวานฟ้า
และอีกลำหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น ทองบ้าบิ่น เรือทั้งสองลำนี้เป็นเรือดั้งทาน้ำมัน ยอดดั้งปิดทองแกะสลักลวดลาย เป็นเรือคู่หน้าสุดที่นำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคทั้งหมด
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568868925_g_1.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568868927_g_2.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568868928_g_3.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568868930_g_4.jpg)
-
เรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์
(http://phralan.in.th//coronation/images/upload/images/The%20Barge%20Sua-Thayan-Chon%20and%20The%20Barge%20Sua-Khamron-Sin(1).jpg)
เรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือ 2 ลำที่ดัดแปลงมาจากเรือรบ (เรือที่ใช้ในการรบหรือการสงคราม)
เป็นเรือนำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคในสมัยโบราณ เรียกเรือลักษณะนี้ว่า เรือพิฆาต เรือแต่ละลำวาดลงสีรูปเสือไว้ที่หัวเรือซึ่งมีช่องที่มีปืนใหญ่ยื่นออกมา
ถือเป็นเรือพิทักษ์กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคด้วย จึงต้องให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ฝ่ายทหารเป็นผู้นั่งประจำในคฤห์ (เก๋ง) ของเรือทั้งสองลำนี้ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อเรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ ปรากฏชื่อในลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทั้งทางสถลมารคแลทางชลมารคในพุทธศักราช 2387
แต่ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อใด เรือทั้งสองลำนี้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ในพุทธศักราช 2534
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568867720_g_1.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568867728_g_2.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568867729_g_3.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568867730_g_4.jpg)
-
เรืออสุรวายุภักษ์ และเรืออสุรปักษี
(http://phralan.in.th//coronation/images/upload/images/The%20Barge%20Asura-Wayu-Phak%20and%20The%20Barge%20Asura-Paksi.jpg)
เรือสองลำนี้ ลงรักปิดทองประดับกระจก
รูป อสุรวายุภักษ์ ใส่เสื้อสีม่วง มือและเท้าเป็นสีคราม ส่วนรูป อสุรปักษี ใส่เสื้อด้านหน้าสีม่วง ด้านหลังสีเขียว มือและเท้าเป็นสีเขียว
เรือทั้งสองลำนี้สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568873090_g_1.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568873091_g_2.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568873092_g_3.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568873093_g_4.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568873095_g_5.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568873096_g_6.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568873375_g_1.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568873376_g_2.jpg)
-
เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และเรือกระบี่ราญรอนราพณ์
(http://phralan.in.th//coronation/images/upload/images/The%20Barge%20Krabi-Prap-Muang-Man%20and%20The%20Barge%20Krabi-Ran-Ron-Rap.jpg)
โขนเรือกระบี่ปราบเมืองมาร เป็นรูปวานร (ลิง) ร่างกายสีขาว ไม่สวมเครื่องประดับหัว
ส่วนเครื่องประดับกาย และผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก
ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่าเป็นรูปของหนุมาน ทหารเอกของพระราม ขุนกระบี่ผู้นำกองทัพวานรต่อสู้กับกองทัพของทศกัณฐ์เจ้ากรุงลงกา ความชั่วร้ายของทศกัณฐ์ ทำให้เรียกกรุงลงกาว่า เมืองมาร ถือเป็นฝ่ายอธรรม
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
โขนเรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เป็นรูปวานร (ลิง) ไม่สวมเครื่องประดับหัว ร่างกายสีดำ
ส่วนเครื่องประดับกาย และผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก
ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่า เป็นรูปของนิลพัท ขุนกระบี่ผิวดำดั่งชื่อผู้นำกองทัพวานร
ต่อสู้ทำลายล้างกองทัพของราพณ์ (อีกชื่อหนึ่งของทศกัณฐ์ในมหากาพย์รามายณะ เรียกว่า ราวณะ)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568874230_g_1.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568874232_g_2.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568874234_g_3.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568874235_g_4.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568874236_g_5.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568874237_g_6.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568874238_g_7.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568874239_g_8.jpg)
-
เรือพาลีรั้งทวีป และเรือสุครีพครองเมือง
(http://phralan.in.th//coronation/images/upload/images/The%20Barge%20Phali-Rang-Thawip%20and%20The%20Barge%20Sukhrip-Khrong-Muang.jpg)
โขนเรือพาลีรั้งทวีป เป็นรูปวานร (ลิง) สวมมงกุฎ ร่างกายสีเขียว เครื่องประดับกายและผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก
ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่า เป็นรูปของพาลี พระราชาเมืองขีดขิน แห่งอาณาจักรวานร ในเรื่องรามเกียรติ์ (ในมหากาพย์รามายณะเรียกว่า วาลี ส่วนเมืองชื่อ กีษกินธะ)
ชื่อเรือ พาลีรั้งทวีป มาจากเรื่องราวของพาลีผู้อาจหาญ ทุกๆ เช้าจะข้ามทวีปจากฝั่งตะวันออกไปตะวันตกและจากเหนือไปใต้เพื่อกราบไหว้พระอาทิตย์ (พระสูรยะ)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
โขนเรือสุครีพครองเมือง เป็นรูปวานร (ลิง) สวมมงกุฎ ร่างกายสีแดง เครื่องประดับกายและผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก
ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่า เป็นรูปของสุครีพ (ในมหากาพย์รามายณะ เรียกว่า สุครีวะ) น้องชายของพาลี ขึ้นครองเมืองขีดขิน
หลังจากพาลีวายชนม์ อาณาจักรวานรที่สุครีพขึ้นครองเมืองได้นี้ก็เพราะได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากหนุมานและพระรามซึ่งเป็นพระเอกในเรื่องรามเกียรติ์
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568875813_g_1.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568875814_g_2.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568875815_g_3.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568875817_g_4.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568875818_g_5.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568875819_g_6.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568875820_g_7.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568875821_g_8.jpg)
-
เรือครุฑเหินเห็จ และเรือครุฑเตร็จไตรจักร
(http://phralan.in.th//coronation/images/upload/images/The%20Barge%20Khrut-Hoen-Het%20and%20The%20Barge%20Khrut-Tret-Trai-Chak.jpg)
ชื่อเรือลำนี้สะท้อนถึงอิทธิพลคัมภีร์ปุราณะของอินเดียที่มีต่อคตินิยมและศิลปกรรมไทย ตามคัมภีร์ปุราณะครุฑเป็นเจ้าแห่งนกทั้งหลาย หรือเทพปักษิน ซึ่งผูกพันกับพระวิษณุ เพราะพระวิษณุทรงท่องไปในสวรรค์โดยมีครุฑเป็นพาหนะ กล่าวกันว่า ครุฑสามารถเปลี่ยนแปลงตนให้เป็นรูปร่างต่างๆ นานาและสามารถไปได้ในทุกหนแห่งตามปรารถนา
ครุฑเป็นศัตรูกับนาคหรือบรรดางูทั้งหลาย เนื่องมาจากมารดาของทั้งสองฝ่ายวิวาทกัน ดังนั้นในศิลปกรรมของศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนา ครุฑจึงมักปรากฏในท่าที่ฉวยจับนาคไว้ ไม่ว่าจะเป็นนาคเพียงตัวเดียวหรือหลายตัว ไทยเราเรียกว่า ครุฑยุดนาค
โขนเรือลำนี้เป็นไม้จำหลักรูปครุฑจับนาค ๒ ตัวชูขึ้น ลงรักปิดทองประดับกระจก ทั้งนี้ เรือครุฑเหินเห็จ จะมีครุฑกายสีแดง และ เรือครุฑเตร็จไตรจักร จะมีครุฑกายสีชมพู
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568880287_g_1.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568880288_g_2.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568880292_g_3.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568880293_g_4.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568880295_g_5.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568880296_g_6.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568880297_g_7.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568880298_g_8.jpg)
-
เรือเอกชัยเหินหาว และเรือเอกชัยหลาวทอง
(http://phralan.in.th//coronation/images/upload/images/The%20Barge%20Ekkachai-Hoen-Hao%20and%20The%20Barge%20Ekkachai-Lao-Thong.jpg)
เอกชัยเหินหาว และเอกชัยหลาวทอง เป็นชื่อเรือ 2 ลำคู่กัน ลักษณะใกล้เคียงกันคือหัวเรือเป็นรูปดั้งเชิดสูงงอนขึ้นไป ลงรักปิดทองเขียนลายรดน้ำรูปเหรา (อ่าน เห-รา) ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนาน ลักษณะคล้ายมังกรแต่มีหัวเป็นงูหรือนาค อย่างไรก็ตามเรือ 2 ลำนี้มีรูปลักษณ์ของหัวเรือที่ต่างกันอยู่บ้างเป็นที่สังเกตได้
เอกชัยเหินหาว แปลว่า “ชัยชนะสูงสุดทะยานสู่ท้องฟ้า” เอกชัยหลาวทอง แปลว่า “เรือทองที่บรรจงสร้าง (โดยการหลาวหรือเหลา) เพื่อชัยชนะ” หรือแปลว่า “หลาว (อาวุธ) ทองคำที่นำชัยชนะ”
ชื่อเรือ 2 ลำนี้ปรากฏอยู่ในสมุดภาพเรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231) แห่งกรุงศรีอยุธยา
เรือเอกชัยเหินหาว และเอกชัยหลาวทองตามรูปลักษณ์ปัจจุบัน สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352)
เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดจากอากาศยานที่ถล่มกรุงเทพมหานครสร้างความเสียหายให้กับเรือพระราชพิธีทั้งสองลำนี้มาก
ดังนั้นในพุทธศักราช 2508 กองทัพเรือและกรมศิลปากรร่วมกันบูรณะเรือสองลำนี้ใหม่โดยใช้หัวเรือเดิมมาประกอบ
เรือ 2 ลำถือว่าเป็นเรือคู่ชัก หมายความว่าใช้เป็นเรือชักลากเรือพระที่นั่ง เช่น ชักลากเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เมื่อน้ำเชี่ยวหรือต้องการให้แล่นเร็วขึ้น และเป็นเรือคู่นำหน้าเรือพระที่นั่ง ต่อมาใช้เป็นเรือสำหรับให้ข้าราชการชั้นสูงนั่ง
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568881299_g_1.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568881305_g_2.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568881306_g_3.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568881307_g_4.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568881308_g_5.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568881309_g_6.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568881310_g_7.jpg)
(http://phralan.in.th/coronation//images/finalceremonies/1568881312_g_8.jpg)