Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
บุคคลต้นแบบ => บุคคลตัวอย่าง => Topic started by: ppsan on 17 November 2021, 09:46:50
-
นายสง่า มยุระ ผู้ให้กำเนิดพู่กันของไทย โดย yutthana
นายสง่า มยุระ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ที่ อ. ศรีประจันต์ จ. สุพรรณบุรี ศึกษาวิชาสามัญที่โรงเรียนวัดสัปรสเทศ พร้อมกับฝึกวิชาวาดเขียนมาตั้งแต่เด็กกับอาจารย์อู๋ ที่วัดมะนาว อ. บางปลาม้า จ. สุพรรณบุรี ต่อมาได้มาอยู่กับอาจารย์ม้วนที่วัดสุวรรณาราม คลองบางกอกน้อย ธนบุรี จึงได้มีโอกาสเรียนวาดเขียนกับครูสอิ้งที่อยู่ข้างวัดนั้น ครูสอิ้งพาไปช่วยเขียนลายรดน้ำที่หน้าต่างพระวิหารวัดพระเชตุพนฯ ต่อมาได้ไปสมัครทำงานเขียนพานแว่นฟ้ากับคุณผิน และเขียนตู้พระมาลัยที่วัดมหาธาตุ
สง่า มยุระ ได้รู้จักกับหลวงเจนจิตรยง ช่างเขียนอันลือชื่อในสมัยนั้น ท่านชวนให้ไปช่วยเขียนลายบนโถกะยาคู โดยเอาฟักทองมากลึงให้เหมือนโถและจะต้องให้เสร็จในวันเดียว มิฉะนั้นฟักทองจะเหี่ยว ทั้งสองท่านช่วยกันเขียนจนเสร็จ หลวงเจนจิตรยงชมฝีมือว่าดี จึงชวนให้ไปช่วยเขียนที่วัดสุวรรณคีรีในคลองบางกอกน้อย โดยมอบหมายให้เขียนลายรดน้ำที่บานประตูหน้าต่างโบสถ์ ตอนนั้นหลวงเจนฯ ท่านชราภาพมาก เมื่อเห็นว่าเขางานแข็งดีจึงมอบหมายให้เขียนทั้งหมด นายสง่าต้องใช้เวลาเขียนถึงสี่เดือนจึงเสร็จ
ต่อมา ได้รับเหมาเขียนพานแว่นฟ้าและตู้พระมาลัยให้นายอู๊ด ช่างหล่อ และส่งขายที่ร้านแถวเสาชิงช้า ระยะนี้ต้องทำงานหนักมาก โดยเริ่มลงมือทำการเขียนตั้งแต่เช้าตลอดไปจนดึกดื่นจึงวางมือ เมื่อเขาอายุครบบวช มารดาจึงจัดการบวชให้ โดยจำพรรษาที่วัดสุวรรณาราม ธนบุรี
ในระยะ ที่บวชสองพรรษานั้น นายสง่าได้มีโอกาสเข้าไปเขียนภาพรามเกียรติ์ที่พระระเบียงวัตพระศรีรัตน ศาสดารามโดยมีพระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทียมศิลป์ไชย) เป็นผู้อำนวยการเขียนภาพที่นั่น เขาได้ฝากฝีมือไว้บนผนังพระระเบียงอันเป็นที่ยกย่องกันมาก หลังจากลาสิกขาแล้วก็มาตั้งร้านขายเครื่องดื่มที่หลังโรงพยาบาลศิริราช โดยให้บิดาเป็นผู้ขาย ส่วนตนเองไปทำงานประจำที่ร้านคณะช่าง อันเป็นร้านช่างเขียนรับงานเขียนต่าง ๆ และทำบล็อกด้วย ทำงานอยู่ร้านคณะช่างได้สองปีก็ลาออก และไปทำงานที่โรงพิมพ์บุญครอง
สง่า สมรสเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ แล้วเลยคิดว่าจะตั้งตนด้วยการทำพู่กันขาย เขาพากเพียรแก้ไขดัดแปลงพู่กันจนดีได้ระดับมาตรฐาน กิจการของเขาดำเนินมาด้วยดี นับวาเป็นโรงงานทำพู่กันแห่งแรกของเมืองไทย
เนื่อง จาก สง่า มยุระ ได้เคยร่วมงานเขียนภาพที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามกับพระเทวาภินิมมิ ต ซึ่งคุณพระก็ได้ช่วยแก้ไขติชมให้ตลอด เขาจึงมีความเคารพและนับถือคุณพระเป็นครูตลอดมา สมัยต่อมาเมื่อภาพเขียนที่วัดพระแก้วเกิดชำรุดเสียหายมาก แม้ว่าเขาจะชราภาพมากก็ได้มีโอกาสเข้าไปช่วยเขียนซ่อม บางห้องก็เขียนใหม่ทั้งหมดจนสำเร็จ
ผลงาน ของ สง่า มยุระ มีอยู่หลายแห่ง เช่น ออกแบบลวดลายตกแต่งหน้าบัน ซุ้มประตูหน้าต่างให้พระอุโบสถวัดราชบูรณะ เชิงสะพานพุทธ ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ และยังออกแบบให้วัดสัตหีบและวัดกอไผ่ที่อยุธยาเป็นต้น ระยะหลังนี้เขามีฐานะมั่นคงร่ำรวยจากกิจการค้าโรงงานทำพู่กัน เขาจึงช่วยทำงานแก่พระพุทธศาสนาโดยไม่รับเงินค่าจ้างเลย บางครั้งถ้าทางวัดขาดแคลนเงินก็ยังช่วยทำบุญร่วมด้วย
สง่า มยุระ ถึงแก่กรรมวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ นับว่าเขาเป็นจิตรกรรุ่นเก่าที่มีอาชีพเป็นจิตรกรมาตลอด และตั้งตัวได้ด้วยความพากเพียร ละด้วยฝีมือโดยแท้
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10100;image)
-
เรื่องราวของศิลปินชั้นครูผู้ผลิตพู่กันสง่า มยุระ ที่เคยใช้กันเกือบทุกคนก็ว่าได้ ไปเจอบทความที่ อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต ท่านกล่าวถึงครูท่านนี้เอามาเล่าให้ฟังครับ
"เรื่องคุณลุงสง่า มยุระกับการซ่อมพระระเบียงวัดพระแก้ว"
คุณลุงสง่า มยุระ เป็นช่างเขียนรุ่นแรกๆที่ได้รับเชิญมาเขียนซ่อม ภาพระเบียงวัดพระแก้ว ในการอนุรักษ์ครั้งใหญ่นี้ เนื่องจากช่างรุ่นแรกเป็นช่างที่เคยเขียนซ่อมมาแล้วเมื่อครั้งฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี
ในสมัยรัชกาลที่ ๗ จึงได้ถูกเชิญมาเขียนซ่อมอีกในรัชกาลที่๙ นี้ช่างเขียนรุ่นแรกเป็นช่างเขียนอาวุโสอยู่ในวัยหกสิบกว่าปีขึ้นไปทั้งนั้น ส่วนช่างรุ่นสองคือรุ่นข้าพเจ้า ต้องมีการสอบฝีมือดูความสามารถเสียก่อน ก่อนที่จะไดรับความไว้วางใจเข้าไปซ่อม การสอบฝีมือใช้เวลา ๓ วัน ณ โรงเรียนช่างศิลปโดยคณะกรรมการกำหนดให้เขียนรูปกระบี่ลงสี ปิดทองและมีฉากหลังในการสอบรุ่นสองมีผู้มาสมใคร๓๐คน คัดออกเหลือเพียง ๙ คน
ข้าพเจ้าได้พบกับคุณลุง สง่า ในตอนนี้ เนื่องจากห้องที่เขียนอยู่ติดกัน คือข้าพเจ้าเขียนห้อง ๑๕๙และ ๑๖๐ ลุงสง่าเขียนห้อง๑๖๑ เรื่องรามเกียรติ์มีกี่ร้อยห้องไม่ทราบแต่ห้องที่ข้าพเจ้าและคุณลุงสง่าเขียน เป็นตอนปลายของเรื่องรามเกียรติ์แล้ว คือข้าพเจ้าเขียนตอนนางสีดาถูกขับ พระอินทร์แปลงเป็นควาย นำนางสีดาไปอยู่กับฤาษี กระทั่งนางสีดากำเนิดพระบุตร ส่วนคุณลุงสง่าเขียนตอนปล่อยม้าอุปการ การซ่อมภาพเขียนแต่ละห้องมีวิธีการไม่เหมือนกัน ห้องของคุณลุงสง่าและข้าพเจ้าเป็นห้องที่ทรุดโทรมมาก ภาพเก่ากระเทาะหลุดหมดหาเค้าเดิมไม่พบ จึงต้องเขียนขึ้นใหม่
จัดองค์ประกอบและตัวภาพใหม่ทั้งหมด ไม่ใช่เขียนซ่อม คณะกรรมการจะเป็นผู้กำหนดราคาในการเขียนซ่อมห้องแต่ละห้องซึ่งราคาไม่เท่ากัน โดยกำหนดก่อนที่จะลงมือเขียน เนื่องจากข้าพเจ้าเป็นผู้อ่อนอาวุโสที่สุด ที่สนิทคุ้นเคยกันนอกจากลุงสง่าแล้วยังมีลุงโหมด ว่องสวัสดิ์ คุณลุงสงวน รักมิตร คุณลุงด่วน สังข์ทองเล็ก ลุงสง่า มยุระจะใช้เวลาเขียนภาพๆหนึ่งนานมากคือเริ่มเขียนก่อนข้าพเจ้าเข้ามาหลายเดือนแต่เขียนเสร็จในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน ช่างเขียนเมื่อมาทำงานต้องเซ็นชื่อไว้เป็นหลักฐานที่กองอนุรักษ์ ช่างเขียนมีสิทธิเบิกเครื่องเขียน สีฝุ่น กาว ทองคำเปลว ยางมะเดื่อที่ใช้ปิดทอง พู่กันได้จากกองอนุรักษ์
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10102;image)
คุณลุงสง่า จะมาที่ผนังตอนเช้าประมาณ ๙ โมง เพราะบ้านท่านอยู่ใกล้วัดพระแก้วข้ามเรือที่ท่าวังหลังมาท่าช้าง มีน้อยครั้งที่จะมาตอนบ่ายพอถึงเวลาพักเที่ยง คุณลุงสง่าจะเดินออกไปทานอาหารข้างนอกตกบ่ายก็จะมาเขียนรูปที่ฝนังต่อ ถ้าอากาศร้อนคุณลุงสง่าก็จะถอดเสื้อเชิ๊ตออก เหลือแต่เสื้อกล้ามนั่งทำงานอย่างกระปี้กระเปร่า เพราะนั่งร้านอยู่ติดกับกับคุณลุงสง่าได้เห็นวิธีการทำงานอันปราณีต ล้างพุ่กันอย่างพิถีพิถันทุกครั้งที่เสร็จงาน ไม่ปล่อยพู่กันเลอะสีไว้จนแห้งเเข็ง ไม่แช่ผู้กันทิ้งไว้ค้างคืนจนปลายงอ ช่างเขียนภาพผนังในสมัยรัตนโกสินทร์มักจะร่างภาพตัวละครทั้งหมดด้วยหมึกจีน แล้วลงพื้นฉากหลังกลบตัวละครทั้งฝืน จึงค่อยเขียนสีและตัดเส้นตัวละครที่ร่างไว้ ตั้งแต่ตอนต้น โดยหมึกจีนที่ร่างไว้จะขึ้นมาให้เห็นพอลางๆ แต่ลุงสง่าท่านร่างภาพด้วยดินสอดำบ้าง ชอล์กบ้าง ลงไปบนผนังขาวๆ แล้วระบายสีเสร็จไปเป็นส่วนๆ จากบนลงล่างตามลำดับโดยระบายสีท้องฟ้าจนเสร็จแล้วมาระบายสีราชวังเว้นตัวละครเป็นสีขาวของพื้นผนัง ภาพร่างตัวละครนั้นลุงสง่าร่างไว้อย่างละเอียดทุกสัดส่วนโดยร่างบนกระดาษและลอกลงบนผนังอีกที เมื่อเขียนฉากหลังเรียบร้อยจึงเริ่มลงสีตัวละคร ระบายสีตัวและเครื่องนุ่งห่มก่อน แล้วใช้รงระบายส่วนที่เป็นชฎาและเครื่องประดับแล้วจึงทายางมะเดื่อทับรง เพื่อปิดทอง ตัดเส้นในขั้นต่อไป ในการเขียนภาพคุณลุงสง่าใช้ไม้ยาวเป็นสะพานรองมือทุกครั้งไม่เคยใช้มือทาบกับผิวผนังเลยด้วยเกรงว่าเส้นสีแดงที่ตัดลงไปบนทองจะติดเหงื่อมือขึ้นมา ตลอดเวลาหลายเดือนที่ทำงานอยู่ใกล้กันที่วัดพระแก้วคุณลุงสง่า มักเล่าถึงชีวิตการทำงานเป็นช่างเขียน การทำพู่กัน "สง่า มยุระ " อันลือชื่อของท่าน เมื่อคุณลุงสง่า มยุระเขียนฝนังของท่านเสร็จ ท่านนำเงินค่าเขียนภาพทั้งหมดขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
-
ฟังเรื่องเล่าถึงการทำงานของครูสง่า มยุระแล้วคงต้องดูผลงานของท่านต้องยอมรับว่าท่านมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบมากลองดูผลงานของท่านทีละชิ้นครับ บางภาพอาจไม่ชัดบ้าง เนื่องจากระบบการพิมพ์ในสมัยก่อนครับ
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10109;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10111;image)
ผลงานชิ้นต่อมาครับ
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10113;image)
ผลงานชิ้นต่อมาครับ บางงานผมเพิ่งเกิดได้ปีเดียวเอง สังเกตพระจันทร์ด้านหลังเขียนได้ความรู้สึกจริงๆ
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10114;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10115;image)
-
การออกแบบเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทยครับ
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10116;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10118;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10120;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10122;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10124;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10126;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10136;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10138;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10140;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10142;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10144;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10146;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10148;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10150;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10153;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10156;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10158;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10160;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10162;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10164;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10166;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10168;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10170;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10172;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10174;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10176;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10178;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10180;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10182;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10184;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10186;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10192;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10194;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10197;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10199;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10201;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10203;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10205;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10207;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10213;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10215;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10217;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10219;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10221;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10223;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10225;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10227;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10232;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10233;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10235;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10237;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10239;image)
-
งานออกแบบลวดลายทางสถาปัตยกรรมต่อ
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10246;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10248;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10250;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10252;image)
ทิ้งท้ายไว้สำหรับผลงานของครูท่านนี้ครับถ้าเจอผลงานใหม่ๆของครูท่านนี้ จะนำมาลงให้ชมต่อครั้งต่อไปครับ
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10254;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10256;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10258;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3311.0;attach=10260;image)
jean1966
ภาพทั้งหมดเหล่านี้ มาจากหนังสืออัตตชีวประวัติของท่าน ของผมเคยมี แต่ภายหลังหายสาปสูญสมัยเรียน เสียดายมาก เพราะเป็นหนังสือเล่มนึงที่สร้างแรงบันดาลใจให้มาเรียนจิตรกรรมไทยเลย ขอบคุณน้องยุทธที่นำมาให้ดู ปูชนียบุคคลบ้านเราล้มหายตายจากไปทีละคน อนาคตต่อจากนี้เราชาวชมรมฯจะสืบสานเจตนารมณ์ท่านเหล่านั้นให้ศิลปะไทยอยู่คงคู่เมืองไทยสืบต่อไป
.....
kui045
เห็นภาพจิตรกรรม ฝาผนัง
ตอนหนุมานอมพลับพลา
ใน คห.2 และ คห. 4
นี่เป็นงานของครูสง่าทั้ง 2 ภาพเลยใช่ไหมครับ
อารมณ์ภาพต่างกันจัง
ภาพ 4 นี่เป็นตาหนุมานแล้วได้อารมณ์ดีจริง
เคยอ่านบทความวิพากษ์(ในแง่ไม่ดีนัก)
งานซุ้มหน้าบันที่วัดราชบูรณะของครูสง่า
ที่เป็นภาพนูนลอยตัว ออกมาอยู่บนฐาน
แล้วมีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้างครับ
.....
yutthana
เป็นผลงานของครูสง่าทั้งสองห้องครับเพียงแต่หนุมานอมพลับนี่อ.สง่า เขียนเมื่อ๒๔๗๓ และอ.โหมด ว่องสวัสดิ์ มาซ่อมเมื่อ๒๕๑๗ ครับ อีกห้องที่อ.สง่างามคือห้อง ๑๐๔ ตอนฤาษีโคบุตรพาหนุมานไปเฝ้าทศกัณฐ์ เขียนพระราชวังงามมากเขีนย๒๔๗๒ นายสวาท ภมรจันทร์เขียนซ่อม ๒๕๑๘ ห้องที่๑๖๑ ตอนปล่อยม้าอุปการ ซึ่งอ.สง่าซ่อมเองในปี๒๕๑๕ อีกห้องคือห้อง๑๗๘เป็นตอนจบของเรื่องรามเกียรติ์ครับ ซ่อมโดยนายสวาทอีกเช่นกัน ส่วนเรื่องการวิจารณ์บทความนั้นเป็นเรื่องธรรมดาครับ ที่จะมีในทางลบบ้างทางบวกบ้างคงต้องดูเจตนาอาจจะผิดหลักของการทำประติมากรรม แต่ถ้าดูภาพรวมแล้วผลว่าเป็นงานที่ดีครับ เหมือนตัวท่านอ.สง่าเองท่านเป็นครูคนหนึ่งที่เป็นส่วนเชื่อมโยงสืบทอดงานศิลปไทยมาสู่พวกเราในปัจจุบันท่านหนึ่ง ท่านมีคุณความดีมากมาย และถ้าไม่มีท่านผมจะหาพู่กันที่ไหนใช้เขียนรูปได้ได้ละครับ ผลงานทุกชิ้นของครูในแต่ละช่วงเวลาถือว่าเป็นอัญมณีสีสรรค์ในแต่ละช่วงเวลาครับ พวกเราคงเก็บสิ่งดีที่เป็นภูมิปัญญาของท่านไว้ ส่วนที่ไม่ดีบ้างก็เอามาปรับปรุงตัวเองต่อไปครับ
.....
เรื่องและภาพของ yutthana
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3311.0