Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...

ภาพประทับใจ => สถานที่สวยงาม => Topic started by: ppsan on 06 October 2021, 09:27:27

Title: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
Post by: ppsan on 06 October 2021, 09:27:27
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


http://www.juth.net/?p=4170
JUTH.NET

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
November 11, 2016  Art & Culture, Travel  1 comment

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า อยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงละครแห่งชาติ ตรงข้ามสนามหลวง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่งต่าง ๆ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย หมู่พระวิมาน พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ และ อาคารมหาสุรสิงหนาท


.....
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090110.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090140.jpg)


พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 สำหรับประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติและภาพเทพชุมนุม

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090118.jpg)



พระพุทธสิหิงค์
พระพุทธสิหิงค์ ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชได้มาจากลังกาแล้วนำขึ้นไปถวายพระเจ้ากรุงสุโขทัย จากนั้นได้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐานหลายเมือง เช่น กรุงศรีอยุธยา กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่

พระพุทธสิหิงค์ ศิลปะสุโขทัย สำริดกะไหล่ทอง สูง 166 ซม.

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090136.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090119.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090121.jpg)



พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในกรัณฑ์
สมัยรัตนโกสินสินทร์ พุทธศตรวรรษที่ 24-25

ประดิษฐานอยู่ในช่องเสียบก้านพระรัศมีของพระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในกรัณฑ์ (ผอบมีเชิง มีฝาครอบทรงยอด) ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดี ประดิษฐานไว้ในองค์พระพุทธรูป แสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปองค์นั้นเป็นพระปฏิมาสำคัญค่าควรเมือง และฐานันดรศักดิ์ของผู้ถวายเครื่องทองคำลงยาราชาวดีนี้ คือ พระมหากษัตริย์

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090122.jpg)
พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในกรัณฑ์



พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับ
สมัยสุโขทัย พุทธศตรวรรษที่ 19-20

พบขณะขุดแต่งบูรณะโบราณสถานบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง เมื่อ พ.ศ. 2544 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย

พระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในตลับทองคำใบเล็ก ซ้อนอยู่ด้านในตลับชั้นกลางทำด้วยทองคำ และตลับชั้นนอกทำด้วยสำริด จุดที่พบตลับทั้งสามใบเป็นช่องกรุรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในฐานของโบราณสถาน ซึ่งเป็นฐานเจดีย์ทรงระฆังที่ส่วนบนพังทลายลงมาเหลือเพียงส่วนฐาน

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090124.jpg)
พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับ



๑ พระบรมสารีริกธาตุ และพระสถูปจำลอง
สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 20

พบในกรุพระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

๒ พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในสถูปจำลองพร้อมเครื่องสูง
สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 21

พบขณะปฏิสังขรณ์เจดีย์ศรีสุริโยทัย พระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2533 โดยกองบัญชาการทหารสูงสุดร่วมกับกรมศิลปากร

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ศรีสุริโยทัยขึ้นบริเวณสถานที่พระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระอัครมเหสี เมื่อ พ.ศ. 2091

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090126.jpg)
พระบรมสารีริกธาตุและพระสถูปจำลอง



พระบรมสารีริกธาตุ
สมัยล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21-22

1 พบที่วัดดอกคำ ตำบลบ้านหลวง อำเภอฮอด เชียงใหม่
2 พบที่วัดเจดีย์สูง ตำบลบ้านหลวง อำเภอฮอด เชียงใหม่
3 พบที่วัดศรีโขง ตำบลบ้านหลวง อำเภอฮอด เชียงใหม่
4 พบที่โบราณสถานเจดีย์กุด ตำบลแม่เหียะ เชียงใหม่
5 พบที่โบราณสถานเวียงกุมกาม อำเภอสารภี เชียงใหม่

1-3 สำรวจเก็บกู้ได้จากวัดร้าง ก่อนการสร้างเขื่อนภูมิพล ระหว่าง พ.ศ. 2502-2504

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090132.jpg)



ภาพเขียนพุทธประวัติ
ภาพเขียนพุทธประวัติ ตอนเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จิตรกรรมฝาผนังในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090128.jpg)



โรงราชรถ
ประวัติโรงราชรถ
จากหลักฐานหนังสือ “เรื่องกรุงเก่า” กล่าวว่า มีโรงใส่พระมหาพิชัยราชรถ อยู่ริมกำแพงคั่นท้องสนามหน้าพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ ภายนอกประตูพระราชวัง ชั้นกลาง โรง 1 ซึ่งได้สูญไปกับเพลิงในสงครามครั้งเสียกรุง เมื่อ พ.ศ. 2310

ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างพระพิชัยราชรถ ใช้เป็นราชูปโภคสืบต่อมา 7 รถ จากหมายรับสั่งรัชกาลที่ 3 ปี พ.ศ. 2386 กล่าวว่ามีโรงเก่าอยู่ที่ริมตึกดิน ทางทิศตะวันตกของพระบรมมหาราชวัง และโปรดให้เกณฑ์เลกมาชักลากพระมหาพิชัยราชรถไปไว้ที่โรงรถทำใหม่ ซึ่งอยู่แห่งใดไม่เป็นที่ปรากฏ

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้ย้ายโรง พระมหาพิชัยราชรถ มาไว้ที่พระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า ตั้งเป็นโรงเก็บราชรถสำคัญ 2 โรง โดยให้อยู่ในความดูแลของกรมพระตำรวจ

ถึงสมัยรัชการที่ 7 ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชวังบวรสถานมงคล ให้เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร (ปัจจุบัน คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) อยู่ในการกำกับดูแลของราชบัณฑิตยสภา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภา จึงให้สร้างโรงราชรถขึ้นใหม่ ลักษณะเป็นโรงหลังคาทรงจั่ว 2 หลัง เชื่อมต่อกันด้วย มุขขวาง ภายในเปิดโล่งถึงกันโดยตลอด แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2472

พ.ศ. 2536 กรมศิลปากรได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์โรงราชรถขึ้นใหม่โดยต่อเติมมุขหน้า ใช้เป็นที่เก็บรักษาและจัดแสดงราชรถสำคัญของแผ่นดิน รวมทั้งเครื่องประกอบในการพระราชพิธี พระบรมศพและพระศพในปัจจุบัน

โรงราชรถ
(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCremationCeremony090269.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCarriages090271.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCarriages090272.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCarriages090273.jpg)



ภายในโรงราชรถ วัตถุจัดแสดงที่สำคัญคือ

พระมหาพิชัยราชรถ
มีนามหมายถึง ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ เป็นมงคลนาม ตามคติการสร้างรถศึกของอินเดียโบราณ ใช้เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เมื่อปี พ.ศ. 2339 ลักษณะเป็นราชรถทรงบุษบกขนาดใหญ่ มีขนาดกว้าง 4.80 เมตร ยาว 18 เมตร สูง 11.20 เมตร หนัก 13.70 ตัน ตกแต่งด้วยชั้นเกรินประดับกระหนกเศียรนาค กระหนกท้ายเกริน และรูปเทพพนมโดยรอบใช้อัญเชิญพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมชนก พระราชชนนี พระอัครมเหสี และพระมหาอุปราช ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้เป็นพิเศษ

ครั้งสุดท้ายใช้ในการอัญเชิญพระโกศสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ออกพระเมรุท้องสนามหลวง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555


พระมหาพิชัยราชรถ
(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCarriages090237.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCarriages090186.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCarriages090234.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCarriages090237-1.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCarriages090230.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCarriages090233.jpg)


(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCarriages090213.jpg)
ภายในโรงราชรถ



เวชยันตราชรถ
มีนามหมายถึงรถของพระอินทร์ ลักษณะเป็นราชรถทรงบุษบกพิมานขนาดใหญ่ กว้าง 4.85 เมตร ยาว 18 เมตร สูง 11.70 เมตร หนัก 12.25 ตัน จำหลักตกแต่งลวดลายวิจิตร สร้างขึ้นพร้อมกับพระมหาพิชัยราชรถ เพื่อใช้ในการถวยพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ในปี พ.ศ. 2339 โดยพระมหาพิชัยราชรถ ใช้เป็นราชรถทรงพระบรมอัฐิ และเวชยันตราชรถใช้เป็นรถพระที่นั่งรอง จากนั้นใช้ในการพระศพ สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าสืบมาถึงรัชกาลที่ 6

ต่อมาพระมหาพิชัยสำหรับทรงพระบรมศพชำรุด จึงใช้เวชยันตราชรถเป็นราชรถทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2468 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2493 ครั้งสุดท้ายใช้ในการอันเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2528

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCremationCeremony090145.jpg)
เวชยันตราชรถ



ราชรถน้อย
สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 พร้อมพระมหาพิชัยราชรถ และเวชยันตราชรถ มีสัณฐาน และรูปทรงเช่นเดียวกัน แต่มีขนาดย่อมกว่า มีน้ำหนักเพียง 3.85 ตัน และ 3.65 ตัน เท่านั้น

คือมีฐานสูงซ้อนชั้น ประกอบด้วยชั้นเกริน ตกแต่งด้วยกระหนกนาค กระหนกท้ายเกริน และตัวภาพรูปเทพพนมโดยรอบ ส่วนบนยอดเป็นบุษบกพิมาน ส่วนล่างเป็นโครงสร้าง รับน้ำหนักและบังคับรถ จำหลักด้วยไม้ปิดทองประดับกระจกอย่างประณีต ใช้เป็น รถพระ รถโปรย และรถโยง นำหน้ารถทรงพระบรมโกศ ต่อมาในรัชกาลที่ 6 โปรดให้ยกเลิกประเพณี โยง และโปรย ในการพระราชพิธีพระบรมศพ ปัจจุบันจึงคงใช้ราชรถน้อยเป็นรถพระสงฆ์อ่านพระอภิธรรมนำ

ราชรถน้อย
(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCremationCeremony090248.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCremationCeremony090250.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCremationCeremony090255.jpg)



เกรินบันไดนาค
คืออุปกรณ์ที่ใช้อัญเชิญพระโกศขึ้นสู่ราชรถโดยการหมุนกว้านเลื่อนแท่นที่วางโกศขึ้นไปตามรางเลื่อนไม้จำหลักรูปนาค จึงเรียกเกรินบันไดนาค แท่นที่วางพระโกศ เป็นแท่นสี่เหลี่ยม ท้ายเกรินมีลักษณะคล้ายท้ายสำเภาสำหรับเจ้าพนักงานภูษามาลาขึ้นนั่งประคอง พระโกศพระบรมศพประดิษฐ์ขึ้นโดยสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ใช้ครั้งแรกในงานพระเมรุพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2355

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCremationCeremony090214.jpg)
เกรินบันไดนาค


ยานมาศสามลำคาน
เป็นยานที่มีคานหามขนาดใหญ่ ทำด้วยไม้จำหลักลวดลายลงรักปิดทอง มีพนักโดยรอบ และมีคานหาม 3 คาน จึงเรียกยานมาศสามลำคาน ใช้คนหาม 2 ผลัด ผลัดละ 60 คน ใช้สำหรับอัญเชิญพระโกศพระบรมศพ จากพระบรมมหาราชวังขึ้นสู่ราชรถ และใช้ทรงพระโกศพระบรมศพในการเวียนพระเมรุ

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCremationCeremony090191.jpg)
ยานมาศสามลำคาน


พระโกศจันทน์ทรงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7
พระโกศจันทน์ใช้เพื่อการถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ณ พระเมรุมาศในปริมณฑลท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2528 มีลักษณะเป็นโกศแปดเหลี่ยม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.86 เมตร สูง 1.61 เมตร ประกอบด้วยโครงลวดตาข่ายประดับลายฉลุเป็นลายซ้อนไม้ ทำจากไม้จันทน์ทั้งองค์ สามารถถอดได้เป็น 3 ส่วน คือส่วนฐาน ส่วนองค์ และส่วนยอด สำหรับทรงพระบรมศพถวายพระเพลิงที่พระเมรุมาศ

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCremationCeremony090264.jpg)
พระโกศจันทน์ทรงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี


พระโกศ
พระโกศที่ทรงพระบรมศพ และพระศพในลักษณะศพนั่ง มี 2 ชั้น ในสมัยอยุธยาเรียกพระโกศชั้นนอกว่า “พระลอง” และชั้นในเรียกว่า “พระโกศ” สมัยรัตนโกสินทร์เรียกกลับกัน คือ ชั้นนอกเรียก “พระโกศ” ชั้นในเรียก “พระลอง” หรือ “พระลองใน” ชั้นในเป็นโลหะทรงกระบอกไม่มีลวดลาย มักปิดทองทึบ ชั้นนอกตกแต่งลวดลายสวยงาม สำหรับประกอบหุ้มชั้นในให้มิดชิด ส่วนใหญ่ทำด้วยไม้จำหลักลวดลาย หรือบุทองคำแท้ก็มี ลงรักปิดทองแกมแก้วก็มี เป็นลายกระหนกฝังมุกก็มี ส่วนผ่าแหลมสูงทำยอดทรงมงกุฏ ทรงยอดมณฑป หรือยอดปราสาท บางครั้งมีเครื่องตกแต่งเพิ่มเติมคือ พุ่มข้าวบิณฑ์ และดอกไม้ไหวประดับที่ยอด เฟื่องอุบะประดับรอบฝา และดอกไม้เพชรหรือดอกไม้เอวประดับที่เอวพระโกศ ฐานพระโกศที่รอบรับองค์พระโกศทำคล้ายฐานสิงห์หรือฐานบัว

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCremationCeremony090267.jpg)
พระโกศ


สัตว์หิมพานต์
การนำรูปสัตว์หิมพานต์มาตั้งประดับพระเมรุเป็นธรรมเนียมที่สืบมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้เพื่อแสดงสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ อันเป็นแกนแห่งจักรวาล และเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตามความเชื่อด้านคติจักรวาลของไทย ด้วยเชิงเขาพระสุเมรุย่อมประกอบด้วยสัตว์นานาชนิด ทั้งทวิบาท และจตุบาท รูปสัตว์หิมพานต์เหล่านี้ ตามธรรมเนียมเดิมผูกเป็นหุ่น หลังเทินบุษบกใ่ส่ผ้าไตร มีล้อลาก สำหรับเชิญไปในกระบวนพยุหยาตราอันเชิญพระโกศพระบรมศพและพระศพ เมื่อถึงยังมณฑลจึงใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งพระเมรุ

สัตว์หิมพานต์ในที่นี้ ใช้ในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นสัตว์หิมพานต์ ประเภททวิบาท คือ มี 2 เท้า นำมาประดับบันไดทางขึ้นพระเมรุ 3 ด้าน เป็นทวารบาลพิทักษ์รักษาพระเมรุ ได้แก่ กินรี ลักษณะครึ่งคนครึ่งนก ประดับบันไดทางทิศเหนือ อัปสรสีหะ ลักษณะครึ่งนางฟ้าครึ่งสิงห์ ประดับอยู่ด้านทิศตะวันตก นกทัณฑิมา มีมือถือกระบอง ประดับด้านทิศใต้

สัตว์หิมพานต์
(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCremationCeremony090198.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_RoyalCremationCeremony090192.jpg)



ส่วนอื่นๆ ของทางพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ท้องพระโรงใช้เป็นที่เสด็จออก ปัจจุบันใช้เป็นห้องจัดแสดงนิทรรศการพิเศษหมุนเวียนตลอดปี

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090281.jpg)
พระพุทธรูปบุทอง เครื่องทองต่างๆ


เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย เครื่องแรกของโลก คิดค้นโดย นายเอ็ดวิน ฮันเตอร์ ยี่ห้อ สมิทพรีเมียร์ ในปี พ.ศ. 2434

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090284.jpg)
เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรก


จัดแสดงเครื่องราชยาน คานหาม สัปคับ เสลี่ยงกง เสลี่ยงหิ้วและสีวิกา

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090289.jpg)
เครื่องราชยาน


(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090307.jpg)
พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ


(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090296.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090302.jpg)

(http://www.juth.net/wp-content/uploads/2016/11/JuthNet_NationalMuseumBangkok090304.jpg)


.....
http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/bangkoknationalmuseums/index.php/th/virtual-museum/26-พระที่นั่งพุทไธสวรรย์.html
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

กดเข้าชม
http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/bangkoknationalmuseums/360/puttaisawan.html

         สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงสร้าง เดิมเข้าใจว่าทรงดำริให้สร้างขึ้นสำหรับประกอบการพระราชพิธีต่างๆ เช่นเดียวกับ พระมหาปราสาทในวังหลวง แต่ในเวลาที่ยังไม่ได้ลงมือสร้างหรือกำลังสร้างอยู่นั้น ในปี พ.ศ. 2338 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เสด็จนำทัพไปขับไล่พม่าที่ยกมาตั้งล้อมเมืองเชียงใหม่มีชัยชนะ

         เมื่อเสด็จกลับได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์พระพุทธรูปสำคัญครั้งกรุงเก่า ซึ่งประดิษฐานเป็นศรีเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้นลงมายังพระนคร ทรงอุทิศพระที่นั่งองค์ที่สร้างนี้ถวายเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ขนานนามตามนิมิตซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปว่า “พระที่นั่งพุทธาสวรรย์”(หมายถึงที่ประทับของพระพุทธเจ้า) หรือในหนังสือเก่าบางแห่งออกนามว่า “พระที่นั่งสุทธาสวรรย์”


.....
ประเทศไทยเต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ประณีต วิจิตร มาที่นี่แล้วรู้สึกภูมิใจในบรรพบุรุษของเรา ที่ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ที่ทรงคุณค่ามากมาย ให้คนรุ่นหลังได้เก็บไว้ ยังมีอีกมากมายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ลองมาชมด้วยตัวคุณเองนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจากแผ่นพับของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เวลาทำการ 09.00-16.00 น.
ปิดวันจันทร์ วันอังคาร
Facebook: www.facebook.com/nationalmuseumbangkok



Title: Re: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
Post by: ppsan on 06 October 2021, 09:35:11
https://siamrath.co.th/n/127281
สยามรัฐออนไลน์  18 มกราคม 2563 04:02 น.  วัฒนธรรม

ภาพเทพชุมนุม ศิลปะไทยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์


(https://siamrath.co.th/files/styles/1140/public/img/20200118/bc1a00d8cf5045e23810d23182c1797a823d1373af5621f60d8d11bc42b25f71.jpg?itok=PMLRERhk)


ลานบ้านกลางเมือง/บูรพา โชติช่วง : ยลภาพเทพชุมนุม ศิลปะไทยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์

หลายท่านคงเคยได้ยินชื่อพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ หนึ่งในพระที่นั่งสำคัญของพระราชวังบวรสถานมงคล “วังหน้า” ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปประจำวังหน้า ในอดีตสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงมีพระประสงค์ให้พระที่นั่งแห่งนี้ใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ ทุกวันนี้กรมศิลปากรยังคงได้ใช้เป็นสถานที่ทำพิธีกรรมทางศาสนา บำเพ็ญกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่สักการะพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองคือ พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปต่างๆ ที่ประดิษฐานไว้บนฐานบุษบก พร้อมๆ กับเป็นห้องจัดแสดง ตู้พระธรรมลายรดน้ำ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนเรื่องพุทธประวัติบริเวณผนังข้างหน้าต่างประตู ภาพเทพชุมนุม ภาพนักสิทธิ์และวิทยาธรที่อยู่เหนือขึ้นไปของฝาผนัง

ในที่นี้จึงนำเกร็ดความรู้ภาพเทพชุมนุมในพระที่นั่งแห่งนี้ คัดจากเรื่องการสร้างตาลปัตรชุด “เทพชุมนุม” ที่รฤกพระราชวังบวรสถานมงคล พุทธศักราช 2550 สมชาย ณ นครพนม และ เกียรติศักดิ์ สุวรรรพงศ์ ในนิตยสารศิลปากร ฉ.มกราคม–กุมภาพันธ์ ปีที่ 60 ได้อธิบายภาพเทพชุมชน นำมาบางตอนเป็นเกร็ดความรู้เผยแพร่อีกทอดนึง เผื่อว่าบางท่านสนใจและได้ไปสักการะพระพุทธสิหิงค์ พร้อมชมภาพเทพชุมนุม


(https://siamrath.co.th/files/styles/750/public/img/20200118/c6efff30299ee22a8baf764fd40e1ade5a4d8ba5c60e172ada25c6bb6341f1dd.jpg?itok=7fS3aW_k)


(https://siamrath.co.th/files/styles/750/public/img/20200118/c023633406d9ec6df69adf342a100ca29955b8107ad20e926746ccd48e2f99f4.jpg?itok=tXZcngqR)


ภาพเทพชุมนุมในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นงานจิตรกรรมฝาผนังของศิลปะไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คงเขียนขึ้นแต่ครั้งแรกสร้างพระที่นั่งหลังนี้ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อพ.ศ.2338 โดยรูปแบบทางศิลปะบนจิตรกรรมฝาผนังยังคงเห็นถึงรูปแบบของศิลปะอยุธยาที่ถ่ายทอดมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในครั้งนั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาจากเชียงใหม่มาประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งนี้ ทรงให้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แล้วให้ชื่อพระที่นั่งว่า “พระที่นั่งพุทธาสวรรย์” ในเอกสารบางเล่มเรียกชื่อเดิมว่า “พระที่นั่งสุทธาสวรรย์”

สมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ในรัชกาลที่ 3 มีการปฏิสังขรณ์พระที่นั่งครั้งใหญ่ ดังปรากฏลักษณะสถาปัตยกรรมที่เห็นในปัจจุบัน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนชื่อพระที่นั่งใหม่เป็น “พระที่นั่งพุทไธสวรรย์” พระที่นั่งนี้ได้รับการบูรณะมาเป็นระยะๆ และซ่อมภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพเทพชุมนุม ครั้งหลังสุดปี 2560 ภายใต้โครงการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์


(https://siamrath.co.th/files/styles/750/public/img/20200118/9a3fcbdb3379b596487be27905dd37e32649816a9ed65580ffd6bada828ee3f7.jpg?itok=LdDOVAKs)


ภาพเทพชุมนุมมีทั้งหมด 400 องค์ ภาพเหล่าเทพทั้งหลายนั่งเรียงแถวซ้อนกัน 4 ชั้น โดยรอบผนังทั้ง 4 ด้าน แต่ละชั้นคั่นด้วยลายประจำยามก้ามปู ไล่เรียงจากชั้นล่างหรือชั้นที 1 เป็นเทพหรือเทวดาในสวรรค์ชั้นมหาราชิกา เป็นชั้นที่อยู่ใกล้โลกมนุษย์ที่สุด เทพในชั้นนี้จะเป็นจตุโลกบาลหรือเทพผู้รักษาโลกในทิศทั้ง 4 คือ ท้าวธตรฐเป็นใหญ่ทางทิศตะวันออกและปกครองคนธรรพ์ วิทยาธร กุมภัณฑ์ ท้าววิรุฬหกเป็นใหญ่ทางทิศใต้และปกครองพวกครุฑ ท้าววิรูปักษ์ผู้เป็นใหญ่ทางทิศตะวันออก ปกครองพวกนาค และท้าวเวสสุวรรณเป็นใหญ่ทางทิศเหนือ ปกครองพวกยักษ์ ทุกองค์อยู่ในท่านั่งบนพื้นหลังสีแดง ในชั้นนี้จึงปรากฏภาพเทพ ครุฑ นาคและยักษ์สลับกันไป นอกจากนั้นยังมีภาพกินนร ภาพฤาษีหรือวิทยาธรแทรกอยู่ในแถวข้างประตูกลางด้านตะวันออกด้วย และเฉพาะผนังด้านตะวันออกเหนือประตูกลาง เขียนเป็นภาพขนาดเล็กเป็นภาพเจดีย์ทุสเจดีย์ มีพระพรหม 2 องค์ นั่งประนมกรหันหน้าเข้าหากัน ส่วนที่อยู่เหนือประตูด้านหลังพระประธานเขียนเป็นภาพเจดีย์จุฬามณี มีพระอินทร์ 2 องค์นั่งประนมกรหันหน้าเข้าหาพระเจดีย์


(https://siamrath.co.th/files/styles/750/public/img/20200118/2d01639f8fe9694203a0a1e389f7af0048ed21a1d7de10ba54977c352a834c89.jpg?itok=ackIWn1a)


ส่วนเทพชุมนุมในชั้นที่ 2 ลงสีพื้นหลังสีดำ เป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และชั้นยามา ซึ่งชั้นดาวดึงส์นั้นมีพระอินทร์เป็นใหญ่ และชั้นที่ 3 พื้นหลังสีแดงเป็นสวรรค์ชั้นดุสิตและชั้นนิมมานรดี โดยเขียนเป็นภาพเทพทั้งหมด สลับกันทั้งหน้าด้านข้างและหน้าเสี้ยว ส่วนชั้นที่ 4 เป็นสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี เป็นภาพของพระพรหมบนพื้นสีดำ ในช่องระหว่างเทพในทุกชั้น เป็นพุ่มดอกไม้พุทธบูชาหรือพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ โดยชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3 เป็นลายช่อดอกไม้ ส่วนชั้นที่ 2 และชั้นที่ 4 เป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ มีก้านตั้งตรงยาวจรดพื้นที่เหล่าทวยเทพนั่งอยู่


(https://siamrath.co.th/files/styles/750/public/img/20200118/f7392b381352ab046ccbe8ac45ab560eb723c15693a82bffb39eab8bfa7b4ed0.jpg?itok=gdhqIj3c)


ส่วนชั้นบนสุดเหนือเส้นสินเทาแบบหยักฟันปลา ไปจนจรดเพดานและลงพื้นเป็นสีฟ้า เป็นภาพเหล่า นักสิทธิ์และวิทยาธร เกือบทุกตนที่มือข้างหนึ่งถือพระขรรค์ แต่อีกข้างหนึ่งถือช่อดอกไม้เพื่อมาเป็นพุทธบูชา ทั้งหมดแสดงท่าทางเหาะเหินอยู่บนท้องฟ้าหรือสวรรค์ เส้นสินเทาที่กล่าวถึงนี้ ใช้ในการแบ่งเหตุการณ์ของภาพจิตรกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสืบทอดรูปแบบของจิตรกรรมที่นิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

ภาพเทพชุมนุมในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ยังได้ถูกนำมาบรรจงเขียนภาพในการสร้างตาลปัตรชุด “เทพชุมนุม” เพื่อใช้ในงานพิธีทางศาสนาของวังหน้าโดยเฉพาะอีกด้วย



Title: Re: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
Post by: ppsan on 06 October 2021, 09:38:30
https://www.silpa-mag.com/culture/article_9136
ศิลปวัฒนธรรม
SILPA-MAG.COM

วัฒนธรรม
จิตรกรรมพิธีแรกนาขวัญในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ กับปาฏิหาริย์ในพิธี


(https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2017/05/R12.jpg)
จิตรกรรมพิธีแรกนาขวัญในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์



เผยแพร่   วันพฤหัสที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2562
จิตรกรรมฝาผนังในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล หรือภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปัจจุบัน มีภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติวาดบนผนังซึ่งอยู่ระหว่างช่องหน้าต่าง โดยเริ่มต้นที่ผนังด้านหลังพระพุทธสิหิงค์ และเวียนทักษิณาวรรต เวียนตามเข็มนาฬิกา ห้องภาพแรกซึ่งอยู่บนฝั่งซ้ายขององค์พระพุทธสิหิงค์ อันเป็นตอนต้นๆ ของพระพุทธประวัติ วาดภาพพิธีแรกนาขวัญของพระเจ้าสุทโธทนะ ในระหว่างพิธีเจ้าชายสิทธัตถะ ได้แสดงอภินิหารใต้ต้นหว้า

“เสด็จขึ้นนั่งตั้งบัลลังก์ขัดสมาธิ เจริญอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ในม่าน ยังปฐมฌานให้เกิดขึ้นได้, ขณะนั้นเป็นเวลาบ่าย เงาแห่งต้นไม้อื่นย่อมชายไปตามตะวัน แต่เงาต้นชมพูตรงอยู่ดุจในเวลาเที่ยง พวกนางพี่เลี้ยง นางนมกลับเข้ามาเห็น ต่างพิศวงและนำความกราบทูลพระราชบิดา, พระองค์เสด็จและบังคมพระโอรสเป็นพระเกียรติปรากฏสืบมา.” (พุทธประวัติภาคที่ ๑ ตอนปฐมโพธิกาล)


(https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2018/05/RU3-1024x577.jpg)


เป็นประเด็นน่าสนใจ เหตุใดจึงทรงแสดงปาฏิหาริย์ในพิธีแรกนาขวัญ ทราบหรือไม่ว่า “โอทนะ” เป็นภาษาบาลีแปลว่า ข้าวสุก พระเจ้าสุทโธทนะ พุทธบิดา มีพระอนุชา ๔ องค์ นามว่า สุกโกทนะ อมิโตทนะ โธโตทนะ และฆนิโตทนะ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงสันนิษฐานว่าเหตุที่มีพระนามเกี่ยวกับข้าวสุกทั้งนั้นว่า

“น่าจะเห็นว่า ในชนบทนี้ มีการทำนาเป็นเป็นสำคัญ. ทั้งมีเรื่องเล่าถึงพวกศากยะและพวกโกลิยะทำนา แย่งกันไขน้ำในแม่น้ำโรหิณีในปีฝนแล้งเกือบเกิดรบกันขึ้น.”


(ขอบคุณข้อมูลและภาพจากเพจ : National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)