Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
ภาพประทับใจ => สถานที่สวยงาม => Topic started by: ppsan on 21 September 2021, 21:05:32
-
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
วัดประจำรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 9
วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชไทยถึง 4 พระองค์ และยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สถาบันการศึกษาของสงฆ์แห่งแรกในประเทศ ความแตกต่างจากวัดอื่นๆ คือมีพระประธาน 2 องค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่และสำคัญ ได้แก่ พระสุวรรณเขต พระประธานองค์แรกของอุโบสถวัดนี้ ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และ พระพุทธชินสีห์ ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัขกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9 ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงเคยผนวช ณ วัดแห่งนี้
(https://cms.dmpcdn.com/travel/2019/12/04/917bab50-164f-11ea-a282-13af15ea56d3_original.jpg)
วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) มีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เดิมชื่อ วัดใหม่ เป็นวัดโบราณ เมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงผนวชได้เสด็จมาประทับ และทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตติกนิกายขึ้นที่วัดนี้เป็นครั้งแรก ถือเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่ง เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9 ทรงผนวช ณ วัดนี้อีกด้วย
อีกทั้งหลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) จะอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารประดิษฐานที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ซึ่งจะถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 9
(https://s.isanook.com/ho/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL2hvLzAvdWQvMzYvMTgwODUzLzkxOTEzMjIzXzI1OTIzNjQ3MzEwMDAxMjBfNzc5LmpwZw==.jpg)
(https://ed.edtfiles-media.com/ud/book/content/1/152/454030/Wat_Bowon_Niwet_1.JPG)
(https://ed.edtfiles-media.com/ud/book/content/1/152/454030/Wat_Bowon_Niwet_2.JPG)
(https://ed.edtfiles-media.com/ud/book/content/1/152/454030/Wat_Bowon_Niwet_4.JPG)
(https://ed.edtfiles-media.com/ud/book/content/1/152/454030/Wat_Bowon_Niwet_3.JPG)
-
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร วัดงดงาม กลางกรุง สมัยรัตนโกสิทร์
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร วัดงดงาม กลางกรุง สมัยรัตนโกสิทร์
Posted on September 24, 2018 by insidewatthai in Uncategorized
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06762-2000x1333.jpg)
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara) เป็นพระอารามหลวงแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องความงดงามด้านสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝาผนังเป็นอย่างมาก เป็นการผสมผสานระหว่างชาติตะวันตก จีน และไทย ได้อย่างสวยงาม
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร เป็นวัดชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพฯ แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดใหม่อยุ่ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ต่อมาได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกัน โดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างขั้นใหม่ วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุง และสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้นจนเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง โดยเฉพาะในสมัยปลายรัชกาลที่ 3 เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งผนวชเป็นพระภิกษุอยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) เสด็จมาครอง เมื่อ พ.ศ. 2375 ทำให้วัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ และเสริมสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชาคณะเสด็จประทับที่วัดนี้แล้วทรง บูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุต่างๆเพิ่มเติมขึ้นหลายอย่าง พร้อมทั้งได้รับพระราชทาน ตำหนักจากรัชกาลที่ 3 ด้วย ในสมัยต่อมาวัดนี้ เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรง ผนวชหลายพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน จึงทำให้วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุงให้คงสภาพดีอยู่เสมอ ในปัจจุบัน นี้ ศิลปกรรมโบราณวัตถุ และ ศิลปวัตถุ หลายสิ่งหลายอย่างอยู่ในสภาพดีพอที่จะชม และ ศึกษาได้ เป็นจำนวนไม่น้อย
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-2-2000x1333.jpg)
พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร
พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาสที่สำคัญเริ่มจากพระอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แต่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมต่อมาอีกหลายครั้ง รูปแบบของพระอุโบสถ ที่สร้างตามแบบ พระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 มีมุขหน้ายื่นออกมา เป็นพระอุโบสถและมีปีกยื่นออก ซ้ายขวา เป็นวิหารมุขหน้าที่เป็นพระอุโบสถมีเสาเหลี่ยมมีพาไลรอบซุ้มประตูหน้าต่าง และ หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้น
พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ หลังนี้ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยโปรดฯ ให้มุงกระเบื้องเคลือบลูกฟูก ประดับ ลายหน้าบันด้วยกระเบื้องเคลือบสี และโปรดฯให้ขรัวอินโข่งเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ ส่วนภายนอกได้รับการบูรณะ บุผนัง ด้วยหินอ่อนทั้งหมด เสาด้านหน้าเป็นเสาเหลื่ยมมีบัวหัวเสาเป็นลายฝรั่ง ซุ้มประตูหน้าต่างปิดทองประดับกระจก
ด้านหน้ามีใบเสมารุ่นเก่าสมัยอู่ทองทำด้วยหินทรายแดงนำมาจากวัดวังเก่า เพชรบุรี ส่วนใบเสมาอื่นทำแปลกคือติดไว้กับผนังพระอุโบสถแทน การตั้งไว้บนลานรอบพระอุโบสถ หลังพระอุโบสถเป็นเจดีย์กลมสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาได้หุ้มกระเบื้องสีทอง ในรัชกาลปัจจุบัน
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06648-2000x1333.jpg)
พระพุทธชินสีห์(องค์หน้า) – หลวงพ่อโต(องค์หลัง)
พระสุวรรณเขต หรือเรียกว่าหลวงพ่อโต หรือ “หลวงพ่อเพชร” คือพระประธานองค์ใหญ่ ตั้งอยู่ด้านในสุดของ วัดบวรนิเวศ เป็นพระประธานองค์แรกของพระอุโบสถนี้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปโลหะ ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา หน้าตักกว้าง 9 ศอก 21 นิ้ว พระยาชำนิหัตถการได้ปั้นพอกพระศกให้มีขนาดดังที่เห็นในปัจจุบันแล้วลงรักปิดทอง ด้านข้างพระพุทธรูปองค์นี้มีพระอัครสาวกปูนปั้นหน้าตัก 2 ศอก ข้างละ 1 องค์
พระพุทธชินสีห์ ประดิษฐานอยู่ข้างหน้าพระพุทธสุวรรณเขต เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หน้าตักกว้าง 5 ศอก 4 นิ้ว สองข้างพระพุทธชินสีห์มีรูปพระอัครสาวกคู่หนึ่ง สันนิษฐานว่า สมเด็จพระธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันกับพระพุทธชินราช และพระศรีศาสดา เดิมประดิษฐานอยู่ที่พระวิหารด้านทิศเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาวิหารชำรุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่มุขหลังของพระอุโบสถจัตุรมุข วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพุทธศักราช 2374
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06675-2000x1333.jpg)
พระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร
พระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขตพุทธาวาส ต่อจากพระเจดีย์และวิหารเก๋ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างในพุทธศักราช 2402 เดิมที่นี้เป็นคูและที่ตั้งคณะลังกา แต่โปรดให้ถมและรื้อเพื่อสร้างพระวิหาร พระวิหารหลังนี้มีขนาด 5 ห้อง มีเฉลียงรอบ ภายในแบ่งเป็น 2 ตอน คือทางทิศตะวันออก 3 ห้อง ประดิษฐานพระศาสดา ทิศตะวันตก 2 ห้อง ประดิษฐานพระพุทธไสยา หลังคาซ้อนชั้น 2 ชั้น หน้าบันรวยระกาไม่มีลำยอง ลวดลายหน้าบันเป็นปูนปั้นรูปดอกพุดตาน ตรงกลางเป็นรูปพระมหามงกุฎประดิษฐานบนพาน มีฉัตร 2 ข้าง ซึ่งเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ 4 หลังคามุงกระเบื้องกาบกล้วย ซุ้มประตูหน้าต่างด้านนอกเป็นลวดลายปูนปั้นรูปดอกพุดตานใบเทศปิดทอง ตรงกลางซุ้มด้านบนทำเป็นรูปพระมหามงกุฎมีฉัตรอยู่ 2 ข้างเช่นเดียวกับหน้าบัน การก่อสร้างวิหารพระศาสดาค้างมาจนถึงรัชกาลที่ 5 โปรดให้ดำเนินการต่อ โปรดให้ปิดทองพระศาสดา พระพุทธไสยาและซุ้มประตูหน้าต่าง เขียนภาพจิตรกรรมที่บานประตู หน้าต่าง เพดานและผนัง
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06695-2000x1333.jpg)
พระศาสดา
พระศาสดา เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 4 คืบ 8 นิ้ว เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ให้อัญเชิญพระศาสดาจากเมืองพิษณุโลกมาไว้ที่วัด ครั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค)ทราบเรื่อง จึงให้อัญเชิญพระศาสดาจากวัดบางอ้อยช้างมาไว้ที่วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งเป็นวัดที่ท่านสร้างขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบและมีพระราชดำริว่า พระศาสดานั้นสร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพทรงให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พระศาสดาก็ควรประดิษฐานอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหารที่เดียวกับพระพุทธชินสีห์ เป็นเสมือนพระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์ แต่ยังมิได้สร้างสถานที่ประดิษฐาน จึงโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังมุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามไปพลางก่อนเมื่อพุทธศักราช 2396 ครั้นสร้างพระวิหารพระศาสดาจวนแล้วเสร็จจึงโปรดให้อัญเชิญพระศาสดามาประดิษฐาน เมื่อพุทธศักราช 2407
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06708-2000x1333.jpg)
พระพุทธไสยา
พระพุทธไสยา วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปสำริดลงรักปิดทองปางไสยาสน์ สมัยสุโขทัย ยาวตั้งแต่พระบาทถึงพระจุฬา 6 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สร้างขึ้นราว พุทธศักราช 1800 – 1893 เดิมประดิษฐาน ณ วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย เมื่อพุทธศักราช 2376 ทอดพระเนตรว่ามีลักษณะงามกว่าพระไสยาองค์อื่นๆ ครั้นเมื่อเสด็จประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จึงได้โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหลังของพระอุโบสถ เมื่อพุทธศักราช 2390 ครั้นสร้างวิหารพระศาสดาแล้วจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วิหารพระศาสดาห้องทิศตะวันตก ที่ฐานพระพุทธไสยาบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06698-2000x3000.jpg)
จิตรกรรมฝาผนังในห้องพระศรีศาสดา วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร
จิตรกรรมฝาผนังวิหารพระศาสดา เป็นจิตรกรรมที่เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 จากรูปแบบของภาพจิตรกรรมอาจกล่าวได้ว่าเป็นฝีมือลูกศิษย์ของขรัวอินโข่ง เรื่องราวในภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารพระศาสดาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ภาพจิตรกรรมในห้องพระศรีศาสดา และจิตกรรมให้ห้องพระไสยา
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06711-2000x3320.jpg)
จิตรกรรมฝาผนังนห้องพระไสยา วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร
เรื่องราวที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังช่วงรัชกาลที่ 4-5 ในสกุลช่างขรัวอินโข่งนิยมเขียนเรื่องที่เป็นพงศาวดาร หรือปริศนาธรรม เป็นส่วนใหญ่ ในวิหารพระศาสดานี้ก็เป็นเรื่องธุดงควัตร 13 เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อที่พระสงฆ์ปวารณาตัวเพื่อประพฤติปฏิบัติ เพื่อกำจัดกิเลส เรื่องตำนานการสร้างพระพุทธรูปที่สำคัญ คือ พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา ก็เป็นเรื่องแสดงความยึดมั่นนับถือและศรัทธาในพระพุทธศาสนา ส่วนภาพจิตรกรรมในห้องพระไสยาแม้จะเป็นภาพเรื่องพุทธประวัติตอนปรินิพพาน แต่ก็มีรูปแบบต่างไปจากภาพเขียนในอดีตที่มักเขียนเป็นภาพเรื่องราวตั้งแต่ทรงปรารภเรื่องปรินิพพานกับพระอานนท์ การเดินทางไปเมืองกุสินารา การรับบิณฑบาตและฉันอาหารมื้อสุดท้ายจากนายจุนนะ ทรงอาพาธ สุภัทธะปริพาชกบวชเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นรูปสุดท้าย และภาพตอนมหาปรินิพพานใต้ต้นสาละ ส่วนจิตรกรรมในห้องพระไสยานั้นใช้พระไสยาเป็นองค์ประกอบภาพแทนพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานและเขียนภาพไม้สาละคู่ และเหล่าพระสาวกซึ่งเป็นรูปแบบการเขียนที่แปลกออกไปจากเดิม
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06725-2000x1333.jpg)
พระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร
พระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหารก่อพระฤกษ์เมื่อเดือน 10 ขึ้น 11 ค่ำ ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ.1193 (วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พุทธศักราช 2374) ในสมัยรัชกาลที่ 3 และใช้เวลาก่อสร้างต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 องค์พระเจดีย์มีสัณฐานกลม มีคูหาภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีทักษิณ 2 ชั้นเป็นสี่เหลี่ยม ที่องค์พระเจดีย์มีซุ้มเป็นทางเข้าสู่คูหา 4 ซุ้ม กลางคูหาพระเจดีย์ประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีพระเจดีย์องค์ประดิษฐานอยู่โดยรอบพระเจดีย์กาไหล่ทองอีก 4 องค์ คือ ด้านตะวันตก พระไพรีพินาศเจดีย์ ด้านใต้ พระเจดีย์บรมราชานุสรณ์พระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ด้านตะวันออก เป็นพระเจดีย์ไม้ปิดทอง ด้านตะวันตก พระเจดีย์โลหะปิดทอง
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06740-2000x1333.jpg)
ตำหนักปั้นหยา
ตำหนักปั้นหยา เป็นตึกฝรั่ง 3 ชั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชทานพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏ เมื่อทรง อาราธนาให้เสด็จมาประทับที่วัดนี้ และประทับอยู่ที่ตำหนักปั้นหยาตลอดเวลาผนวช ต่อมา ตำหนักนี้ได้เป็นที่ประทับของเจ้านายหลายพระองค์ที่ผนวชและประทับอยู่ที่วัดนี้ รูปทรงของ ตำหนักเป็นตึกก่ออิฐถือปูนหน้าจั่วประดับด้วยกระเบื้องเคลือบอยู่ซ้ายมือของกลุ่ม ตำหนัก ต่างๆ
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06741-2000x1333.jpg)
ตำหนักจันทร์
ตำหนักจันทร์ เป็นตำหนักที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยทรัพย์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจันทราสรัทธาวาส กรมขุน พิจิตเจษฐฃฏาจันทร์ถวายเป็นที่ประทับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส ในบริเวณตำหนักจันทร์ด้าน ทิศตะวันออกติดกับรั้วเหล็กมีศาลาเล็กๆ มีพาไล 2 ด้าน ฝาล่องถุนก่ออิฐถือปูนโถงเป็นเครื่องไม้ หลังคามุงกระเบื้อง ศาลาหลังนี้เดิมเป็นพลับพลา ที่ ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง สร้างไว้ในสวนพระราชวังเดิม โปรดให้ย้ายมาปลูกไว้ เมื่อ พ.ศ.2452ในกลุ่มพระตำหนัก นี้
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06747-2000x1333.jpg)
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06750-2000x1333.jpg)
พระตำหนักเพ็ชร
พระตำหนักเพ็ชร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักเพ็ชร ถวายเป็นท้องพระโรงแด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อปีพุทธศักราช 2457 ที่ตั้งพระตำหนักนี้ เคยเป็นที่ตั้งโรงพิมพ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งทรงครองวัดนี้ สำหรับพิมพ์บทสวดมนต์ และหนังสือพุทธศาสนาอื่นๆแทนหนังสือใบลาน โดยใช้ตัวพิมพ์เป็นอักษรอริยกะที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นใหม่
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร นับว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าเข้า น่าท่องเที่ยววัดในกรุงเทพ เป็นวัดพระอารามหลวง ที่น่าไปเช็คอินเป็นอย่างมาก
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/o2q7eomy4pmhswcmrvx-o.jpg)
แผนที่ วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร
ข้อมูลวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
นิกาย : เถรวาท ธรรมยุตินิกาย
สถานที่ตั้ง : ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
เบอร์ติดต่อ : 02-629-5854
http://www.watbowon.com
ภาพโดย : insidewattha
-
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_chedi.jpg)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_view2.jpg)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ ๖
ประวัติและที่ตั้งของวัดบวรนิเวศวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหารเป็นวัดชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพฯ แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดใหม่อยุ่ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ต่อมาได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกัน โดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างขั้นใหม่ วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุง และสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้นจนเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง โดยเฉพาะในสมัยปลายรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งผนวชเป็นพระภิกษุอยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) เสด็จมาครอง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ทำให้วัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ และเสริมสร้างสิ่งต่างๆขึ้น
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_entrance.jpg)
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชาคณะเสด็จประทับที่วัดนี้แล้วทรง บูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุต่างๆเพิ่มเติมขึ้นหลายอย่าง พร้อมทั้งได้รับพระราชทาน ตำหนักจากรัชกาลที่ ๓ ด้วย ในสมัยต่อมาวัดนี้ เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรง ผนวชหลายพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน จึงทำให้วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุงให้คงสภาพดีอยู่เสมอ ในปัจจุบัน นี้ ศิลปกรรมโบราณวัตถุ และ ศิลปวัตถุ หลายสิ่งหลายอย่างอยู่ในสภาพดีพอที่จะชม และ ศึกษาได้ เป็นจำนวนไม่น้อย
ศิลปกรรมที่ควรชมภายในวัดบวรนิเวศวิหาร
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_tamnak.jpg)
วัดบวรนิเวศวิหารนี้มีศิลปกรรม และถาวรวัตถุที่มีค่าควรแก่การศึกษาไม่น้อย แบ่งออกเป็น ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาสและศิลปกรรมในเขตสังฆวาส เขตทั้งสองนี้ถูกแบ่งโดย กำแพง และ คูน้ำมีสะพานเชื่อมถึงกันเดินข้ามไปมาได้สะดวก ศิลปกรรมที่สำคัญ ของวัดนี้ที่น่า สนใจ มีดังนี้
ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาส
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_ubosot1.jpg)
พระอุโบสถ
ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาสที่สำคัญเริ่มจากพระอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สร้างวัดในรัชกาลที่ ๓ แต่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมต่อมาอีกหลายครั้ง รูปแบบของพระอุโบสถ ที่สร้างตามแบบ พระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีมุขหน้ายื่นออกมา เป็นพระอุโบสถและมีปีกยื่นออก ซ้ายขวา เป็นวิหารมุขหน้าที่เป็นพระอุโบสถมีเสาเหลี่ยมมีพาไลรอบซุ้มประต?หน้าต่าง และ หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้น
พระอุโบสถหลังนี้ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยโปรดฯ ให้มุงกระเบื้องเคลือบลูกฟูก ประดับ ลายหน้าบันด้วยกระเบื้องเคลือบสี และโปรดฯให้ขรัวอินโข่งเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ ส่วนภายนอกได้รับการบูรณะ บุผนัง ด้วยหินอ่อนทั้งหมด เสาด้านหน้าเป็นเสาเหลื่ยมมีบัวหัวเสาเป็นลายฝรั่ง ซุ้มประตูหน้าต่างปิดทองประดับกระจก
ด้านหน้ามีใบเสมารุ่นเก่าสมัยอู่ทองทำด้วยหินทรายแดงนำมาจากวัดวังเก่า เพชรบุรี ส่วนใบเสมาอื่นทำแปลกคือติดไว้กับผนังพระอุโบสถแทน การตั้งไว้บนลานรอบพระอุโบสถ หลังพระอุโบสถเป็นเจดีย์กลมสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาได้หุ้มกระเบื้องสีทอง ในรัชกาลปัจจุบัน
พระอุโบสถหลังนี้มีรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะต่างไปจากพระอุโบสถทั่วไป เพราะเป็นการผสมกันระหว่างศิลปะแบบพระราชนิยมของรัชกาลที่ ๓ ซึ่งกระเดียดไปทาง ศิลปะจึนและศิลปะแบบรัชกาล ที่ ๔ ซึ่งเป็นศิลปะที่มีอิทธิพลฝรั่ง จึงทำให้พระอุโบสถหลังนี้ีมีลักษณะผสมของอิทธิพลศิลปะต่างชาติทั้งสองแบบ แต่ทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของศิลปะไทย เมื่อโดยรวมแล้วพระอุโบสถหลังนี้ มีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่งดงามแปลกตาไม่น้อยทีเดียว
ศิลปกรรมภายในพระอุโบสถ นอกเหนือไปจากพระพุทธรูปแล้วก็มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้ขรัวอินโข่งเขียนขึ้น เป็นงานจิตรกรรม ฝาผนัง ที่มีค่ายิ่ง เพราะเป็นรูปแบบของ จิตรกรรมหัวเลี้ยวหัวต่อของการรับอิทธิพลยุโรป หรือ ฝรั่งเข้า มาผสมผสานกับแนวคิดตามขนบนิยมของไทย ภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้ สันนิษฐานว่าเขียนตั้งแต่สมัยที่ พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏฯเข้าครองวัด โดยเขียนบนผนังเหนือประตูหน้าต่างขึ้นไป มีอยู่ ๑๖ ตอน เริ่มต้นจากทางหลังของผนังด้านซ้ายทางทิศตะวันตก นับเป็นผนังที่ ๑ วนทักษิณาวัตพระพุทธรูปในพระอุโบสถตามลำดับ มีคำจารึกพรรณาเขียนไว้ที่ช่องประตู หน้าต่างรวม ๑๖ บาน
นอกจากภาพจิตรกรรมฝาผนังแล้วที่เสาพระอุโบสถเขียนภาพแสดงปริศนาธรรมเปรียบด้วย น้ำใจคน ๖ ประเภทเรียกว่า ฉฬาภิชาติ ด้วย ภายในพระอุโบสถนี้ มีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ ๒ องค์ คือ พระประธานเป็นพระพุทธรูปหล่อโลหะขนาดใหญ่หน้าพระเพลากว้าง ๙ ศอก ๑๒ นิ้ว กรมพระราชวังบวรฯ ผู้สร้างวัดได้ทรงอัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน เพชรบุรี โดยรื้อออกเป็น ท่อนๆ แล้วนำมาประกอบขึ้นใหม่ สันนิษฐานว่าเดิมเป็นพระทวาราวดี พระศกเดิมโต พระยาชำนิหัตถการ นายช่างกรม พระราชวังบวรฯ เลาะออกทำพระศกใหม่ด้วยดินเผาให้เล็กลง ลงรักปิดทองมีพระสาวกใหญ่ นั่งคู่หนึ่งเป็นพระปั้นหน้าตัก ๒ ศอก
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_buddha.jpg)
พระพุทธชินสีห์(องค์หน้า) - หลวงพ่อโต(องค์หลัง)
ส่วนพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งคือ พระพุทธชินสีห์ ซึ่งอัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก โดยอัญเชิญมาทั้งองค์เมื่อฤดูน้ำปี พ.ศ.๒๓๗๓ และ ในปีต่อมาได้ปิดทองกาไหล่พระรัศมี ฝังพระเนตรใหม่ และตัดพระอุณาโลม พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปที่งดงามอย่างยิ่งองค์หนึ่ง ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่สร้างสมัยรัชกาลที่ ๔ หุ้มกระเบื้องสีทอง ในรัชกาลปัจจุบัน รอบฐานพระเจดีย์มี ศาลาจีนและซุ้มจีน หลังเจดีย์ออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน ข้างในมีภาพเขียน ฝีมือช่างจีน เทคนิค และฝีมืออยู่ในเกณฑ์ดี
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_buddhasasada.jpg)
พระศาสดา
พระศาสดา เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๑ คืบ ๘ นิ้ว เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ให้อัญเชิญพระศาสดาจากเมืองพิษณุโลกมาไว้ที่วัด ครั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) ทราบเรื่อง จึงให้อัญเชิญพระศาสดาจากวัดบางอ้อยช้างมาไว้ที่วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งเป็นวัดที่ท่านสร้างขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบและมีพระราชดำริว่า พระศาสดานั้นสร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพทรงให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พระศาสดาก็ควรประดิษฐานอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหารที่เดียวกับพระพุทธชินสีห์ เป็นเสมือนพระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์ แต่ยังมิได้สร้างสถานที่ประดิษฐาน จึงโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังมุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามไปพลางก่อนเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๖ ครั้นสร้างพระวิหารพระศาสดาจวนแล้วเสร็จจึงโปรดให้อัญเชิญพระศาสดามาประดิษฐาน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๗
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_buddhasiyas.jpg)
พระพุทธไสยา
เป็นพระพุทธรูปสำริดลงรักปิดทองปางไสยาสน์ สมัยสุโขทัย ยาวตั้งแต่พระบาทถึงพระจุฬา ๖ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว สร้างขึ้นราว พุทธศักราช ๑๘๐๐ – ๑๘๙๓ เดิมประดิษฐาน ณ วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๖ ทอดพระเนตรว่ามีลักษณะงามกว่าพระไสยาองค์อื่นๆ ครั้นเมื่อเสด็จประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จึงได้โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหลังของพระอุโบสถ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๐ ครั้นสร้างวิหารพระศาสดาแล้วจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วิหารพระศาสดาห้องทิศตะวันตก ที่ฐานพระพุทธไสยาบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_buddhafootprint.jpg)
พระพุทธบาทจำลอง
ในบริเวณพุทธาวาสนั้นมีศิลปกรรมน่าสนใจอีกหลายอย่างเช่น พระพุทธบาทจำลอง ซึ่งเป็น พระ พุทธบาทโบราณสมัยสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ในศาลาข้าง พระอุโบสถพลับพลา เปลื้อง เครื่อง สร้างเป็นเครื่องแสดงว่าวัด นี้รับพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตรา ที่พระเจ้าแผ่นดิน เสด็จ เปลื้องเครื่องทรงในศาลานี้ก่อนเสด็จเข้าวัด
นอกจากนี้ที่ซุ้มประตูด้านหน้าพระอุโบสถบานประตูมีรูปเซี่ยวกาง แกะสลักปิดทอง เป็นฝีมือ ช่างงดงามทีเดียว
ศิลปกรรมในเขตสังฆวาส
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_tamnakpanya.jpg)
ตำหนักปั้นหยา
ศิลปกรรมในเขตสังฆวาสส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ เพื่อเป็น ตำหนักที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่ผนวชในวัดนี้ เริ่มจากตำหนักปั้นหยา ซึ่งเป็นตึกฝรั่ง ๓ ชั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชทานพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏ เมื่อทรง อาราธนาให้เสด็จมาประทับที่วัดนี้ และประทับอยู่ที่ตำหนักปั้นหยาตลอดเวลาผนวช ต่อมา ตำหนักนี้ได้เป็นที่ประทับของเจ้านายหลายพระองค์ที่ผนวชและประทับอยู่ที่วัดนี้ รูปทรงของ ตำหนักเป็นตึกก่ออิฐถือปูนหน้าจั่วประดับด้วยกระเบื้องเคลือบอยู่ซ้ายมือของกลุ่ม ตำหนัก ต่างๆ
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_tamnakjan.jpg)
ตำหนักจันทร์
ถัดจากตำหนักปั้นหยาคือ ตำหนักจันทร์ เป็นตำหนักที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยทรัพย์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจันทราสรัทธาวาส กรมขุน พิจิตเจษฐฃฏาจันทร์ถวายเป็นที่ประทับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส ในบริเวณตำหนักจันทร์ด้าน ทิศตะวันออกติดกับรั้วเหล็กมีศาลาเล็กๆ มีพาไล ๒ ด้าน ฝาล่องถุนก่ออิฐถือปูนโถงเป็นเครื่องไม้ หลังคามุงกระเบื้อง ศาลาหลังนี้เดิมเป็นพลับพลา ที่ ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง สร้างไว้ในสวนพระราชวังเดิม โปรดให้ย้ายมาปลูกไว้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ ในกลุ่มพระตำหนัก นี้
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_tamnakpet2.jpg)
ตำหนักเพชร
ยังมี พระตำหนักเพชร อีกตำหนักหนึ่งอยู่ขวามือเมื่อเข้าจากหน้าวัด เป็นตำหนัก สองชั้นแบบ ฝรั่ง มุขหน้าประดับด้วยลวดลายไม้ฉลุงดงาม ตำหนักนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างถวายเป็นท้องพระโรง ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส อย่างไรก็ตามศิลปกรรมและถาวรวัตถุของวัดบวรนิเวศวิหารยังมีอีกหลายอย่างส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ ในสภาพดี
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_mahamakut.jpg)
มหามกุฏราชวิทยาลัย
มหามกุฏราชวิทยาลัย
ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2436 โดยพระบรมราชานุญาตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามดำริพระสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาพระวชิรญาณวโรรส เพื่อเป็นสถานศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ได้ทรงประกาศตั้งสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาขึ้นเมื่อวันที 30 ธันวาคม 2488 และมหาเถรสมาคมได้รับรองสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2517 เป็นการศึกษาที่ไม่เก็บค่าเล่าเรียน
การศึกษาระดับปริญญาตรีแบ่งเป็น 4 คณะคือ คณะศิลปศาสตร์ คณะศาสนาและปรัชญา คณะสังคมศาสตร์ และคณะ ศึกษาศาสตร์ พระภิกษุสามเณรที่จะเข้ารับศึกษาในระดับปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิตจะต้องมีความรู้เปรียญ 4 ประโยค นักธรรมเอก หรือเทียบเท่า ม.ศ.5 หรือ ม.6 สายปรยัติ กำหนดเวลาเรียน 7 ปี แบ่งเป็นชั้นบุรพศึกษา 1 ปี เตรียมปี 1 และ เตรียมปี 2 รวม 3 ปี ทั้งนี้เฉพาะผู้ที่ไม่มีคุณวุฒิเทียบเท่า ม.ศ.5 หรือ ม.6 ส่วนชั้นนักศึกษา 4 ปี และต้องออกปฏิบัติงาน 1 ปี รวมเป็น 8 ปี จึงจะจบหลักสูตร และต้องสอบได้เป็นเปรียญ 5 ประโยคด้วยจึงจะได้รับปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต ส่วนการศึกษาระดับปริญญาโทศาสนศาสตรมหาบัณฑิตเริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 เป็นต้นมา
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_tamnakjan-pet.jpg)
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_view1.jpg)
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_map.jpg)
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_abbot.jpg)
สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
248 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 02 282 8303, 02 281 6427
ความสำคัญ - - พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร, วัดประจำรัชกาลที่ ๖, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)
สังกัดคณะสงฆ์ - ธรรมยุติกนิกาย
พระประธานในอุโบสถ - พระพุทธชินสีห์ พระโต (องค์ใหญ่)
เว็บไซต์ วัดบวรนิเวศวิหาร
เฟซบุุ๊ก - วัดบวรนิเวศวิหาร @WatBovoranivesVihara
..........
เรื่องและภาพจาก
http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watbowon.php
-
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร งดงามงานศิลป์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวงแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ อันสะท้อนถึงความผูกพันของสถาบันพระมหากษัตริย์และพระพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุต ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ เป็นหนึ่งในวัดสำคัญของกรุงเทพฯ ที่ขึ้นชื่อทั้งในเรื่องความงดงามทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งในอดีตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระผนวช และได้เสด็จมาประทับที่วัดนี้เป็นครั้งแรกก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ และพระมหากษัตริย์อีกหลายพระองค์ รวมถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้วยเช่นกัน นับได้ว่าเป็นวัดสำคัญประจำราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/c70_1.jpg)
ประวัติวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างโดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ "วังหน้า" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ไปเสียก่อน หลังจากที่วัดนี้สร้างเสร็จแล้ว สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้นิมนต์ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งขณะนั้นทรงพระผนวชอยู่ที่วัดราชาธิวาส ให้มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดบวรนิเวศวิหารแห่งนี้
1. เรื่องเล่ารอบรั้ววัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w1.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w2.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w4.jpg)
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เป็นสถานที่ที่รวบรวมศิลปกรรมของไทยไว้หลายช่วงสมัย ทั้งศิลปะไทยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศิลปะแบบจีน หรือแม้กระทั่งศิลปะแบบตะวันตก ผ่านการรังสรรค์ผลงานอย่างประณีตและลงตัวในทุกรายละเอียด และเพียงแค่เราเดินชมไปรอบ ๆ บริเวณวัด รับรองเลยว่าคุณจะได้รับความรู้มากมายเลยทีเดียวเชียว
- พระอุโบสถ
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w15.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w8.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w12.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w13.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w17.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w18.jpg)
พระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร งดงามและโดดเด่นด้วยศิลปะผสมผสานทั้งแบบจีนและตะวันตก สร้างขึ้นโดยฝีมือช่างวังหน้าในรัชกาลที่ 3 เป็นอาคารตรีมุข คือมีลักษณะเป็นอาคาร 3 หลังต่อกัน หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบและลวดลายปูนปั้น ตามพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w9.jpg)
พระสุวรรณเขต พระประธานองค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่ด้านใน เป็นพระประธานองค์แรกของพระอุโบสถนี้ และพระพุทธชินสีห์ ประดิษฐานอยู่ข้างหน้าพระ
พุทธสุวรรณเขต
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w10.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w11.jpg)
เมื่อเข้ามายังในตัวพระอุโบสถ เราจะเจอกับพระประธาน ซึ่งวัดบวรนิเวศราชวรวิหารจะมีความแตกต่างจากวัดอื่น ตรงที่จะมีพระประธานอยู่ด้วยกันถึงสององค์ พระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ทางด้านหลังคือ "พระสุวรรณเขต" เป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และเป็นพระประธานเดิมในพระอุโบสถแห่งนี้
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w7.jpg)
ส่วนพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ทางด้านหน้าคือ "พระพุทธชินสีห์" โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงอัญเชิญมาจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเพราะเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่ครั้งอดีต ซึ่งพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์เสด็จมาถวายสักการบูชาในโอกาสต่าง ๆ นับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยมากที่สุดองค์หนึ่ง
- พระเจดีย์
ออกจากพระอุโบสถมาไม่ไกลเราก็จะเจอกับพระเจดีย์ อันเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แต่มาแล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w22.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w19.jpg)
รูปสัตว์ เหนือซุ้มประจำทิศของพระเจดีย์ใหญ่ หมายถึง ดินแดนรอบราชอาณาจักรไทย
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w21.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w20.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w5.jpg)
รูปตุ๊กตาจีนบริเวณพระเจดีย์ใหญ่
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w30.jpg)
เทวรูปประจำทิศทั้ง 6 อยู่โดยรอบพระเจดีย์
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w29.jpg)
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w28.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w25.jpg)
ทางเข้าสู่คูหาภายในพระเจดีย์ใหญ่
(https://img.kapook.com/u/2018/supattra_wat/bawon/b7.jpg)
พระไพรีพินาศเจดีย์
(https://img.kapook.com/u/2018/supattra_wat/bawon/b8.jpg)
พระเจดีย์กะไหล่ทอง
ภายในพระพระเจดีย์ใหญ่ ประดิษฐานพระเจดีย์สำคัญ คือ "พระไพรีพินาศเจดีย์" เป็นพระเจดีย์ศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น บรรจุพระพุทธวจนะ และ "พระเจดีย์กะไหล่ทอง" บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ฐานพระเจดีย์เป็นแท่นศิลา สลักภาพพุทธประวัติ ปางประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน ด้านละปาง มีอักษรจารึก พระวาจา พระอุทาน และพระพุทธวจนะไว้เหนือแผ่นภาพสลักนั้นด้วย
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w27.jpg)
พระไพรีพินาศ
อีกทั้งพระเจดีย์ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งนั่นคือ "พระไพรีพินาศ" เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร พระหัตถ์ขวาหงายขึ้น งดงามด้วยศิลปะสมัยศรีวิชัย มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระไพรีนินาศที่น่าสนใจ ด้วยเพราะครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้รับพระองค์นี้มาจากผู้ที่นำมาถวาย ปรากฏว่าเรื่องราวที่กำลังเป็นที่โจษขานเกี่ยวกับพระองค์ รวมถึง "ไพรี" หรือ "ศัตรู" ของพระองค์ท่านก็พ่ายแพ้ไปจริง ๆ จึงได้พระราชทานนามว่า "พระไพรีพินาศ" จนเป็นที่เลื่องลือในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนโดยทั่วไป
- พระวิหารพระศาสดา
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w6.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w32.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w33.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w36.jpg)
เป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญที่ต้องมาเยือนเมื่อมาเที่ยววัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ภายในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระศาสดา พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งแต่เดิมประดิษฐานอยู่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหารแห่งนี้
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w35.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w34.jpg)
ความน่าสนใจของพระวิหารพระศรีศาสดา ไม่เพียงแต่เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์สำคัญเท่านั้น หากลองสังเกตให้ดี ทางด้านมุขหลังของพระวิหาร เราจะพบ "พระพุทธไสยา" ประดิษฐานอยู่ เป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ศิลปะสมัยสุโขทัย นอกจากนี้ภายใต้ฐานของพระไสยายังบรรจุพระสรีรางคารของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์อีกด้วย
- วิหารเก๋ง
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w47.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w48.jpg)
สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์จนแล้วเสร็จ และโปรดให้ประดับตกแต่งด้วยลวดลายอย่างจีน พร้อมภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสามก๊ก
ด้านในของพระวิหารเก๋งจีนหลังนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของอดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ได้แก่
- พระพุทธวชิรญาณ เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
- พระพุทธปัญญาอัคคะ พระพุทธรูปฉลองพระองค์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
- พระพุทธมนุสสนาค พระพุทธรูปฉลองพระองค์ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
นอกจากนี้ภายใต้ฐานพระพุทธชินสีห์จำลองภายในพระวิหารเก๋ง ยังเป็นที่บรรจุพระสรีรางคารสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สสกลมหาสังฆปรินายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อีกด้วย
- พระตำหนักเพ็ชร
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w41.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w37.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w40.jpg)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักเพ็ชร ถวายเป็นท้องพระโรงแด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อปี พ.ศ. 2457 ที่ตั้งพระตำหนักนี้เคยเป็นที่ตั้งโรงพิมพ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งทรงครองวัดนี้ สำหรับพิมพ์บทสวดมนต์และหนังสือพุทธศาสนาอื่น ๆ แทนหนังสือใบลาน โดยใช้ตัวพิมพ์เป็นอักษรอริยกะที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นใหม่
ปัจจุบันภายในห้องพระโรงในพระตำหนักเพ็ชรเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขนาดเท่าพระองค์จริง ด้วยช่างผีมือไทยรัชกาลที่ 4 นอกจากนี้ยังประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6, พระรูปสีน้ำมัน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และตู้พัดยศ พัดรอง ตลอดจนเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อน ๆ
- พระตำหนักปั้นหย่า
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w38.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w46.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w45.jpg)
อีกหนึ่งสถานที่สำคัญในเขตสังฆาวาสภายในวัดบวรนิเวศวิหาร งดงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบยุโรป เดิมพระตำหนักปั้นหย่าตั้งอยู่สวนขวาในพระบรมมหาราชวัง ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาสร้างใหม่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งที่ยังทรงพระผนวชได้เสด็จมาประทับ หลังจากนั้นมาพระตำหนักปั้นหย่าก็กลายเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ที่มาผนวชที่วัดนี้ รวมถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ก็เคยประทับ ณ พระตำหนักแห่งนี้
- กังหันชัยพัฒนา
(https://img.kapook.com/u/2018/supattra_wat/bawon/b1.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/supattra_wat/bawon/b.jpg)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระอัจฉริยภาพ และได้มีพระราชดำริคิดค้นงานประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่ล้วนก่อเกิดประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทยมากมาย รวมถึง "กังหันชัยพัฒนา" ที่ทรงประดิษฐ์ คิดค้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำเสีย โดยพระราชทานรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูง โดยกังหันน้ำชัยพัฒนาตัวแรกได้นำไปติดตั้งทดลองใช้บำบัดน้ำเสีย ภายในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2532 และที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 เพื่อศึกษาวิจัย และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระยะเวลา 4-5 ปี ก่อนนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
2. คำแนะนำสำหรับการเข้ากราบพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
แต่เดิมตามธรรมเนียมการสร้างวัดประจำรัชกาล เมื่อพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น ๆ สวรรคต หรือมีการถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว จะมีการอัญเชิญพระสรีรางคารมาประดิษฐานไว้ที่ฐานพระประธานของวัดประจำรัชกาล หากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา ไม่ได้มีการสร้างวัดประจำรัชกาลตามคติธรรมเนียมเดิมอีก แต่พระมหากษัตริย์ทรงรับวัดไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์ต่าง ๆ และให้ถือว่าวัดนั้นเป็นวัดประจำรัชกาลไป
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w14.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/Tanapol/travel/february/watbalwon/w16.jpg)
ซึ่งวัดบวรนิเวศราชวรวิหารแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ไว้ใต้ฐานพระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถ รวมถึงพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้วยเช่นกัน
(https://img.kapook.com/u/2018/supattra_wat/bawon/b2.jpg)
(https://img.kapook.com/u/2018/supattra_wat/bawon/b3.jpg)
สำหรับประชาชนที่ต้องการเดินทางเข้ากราบพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จะมีเจ้าหน้าที่ของทางวัดเป็นผู้จัดระเบียบแถว ให้ทยอยเข้าไปภายในพระอุโบสถอย่างเป็นระเบียบ เมื่อเข้ามาภายในพระอุโบสถแล้ว จะมีเจ้าหน้าที่คอยบอกคำแนะนำอย่างชัดเจน โดยขั้นแรกให้กราบเบญจางคประดิษฐ์ (แบบแบมือ) 3 ครั้ง เพื่อสักการะพระพุทธชินสีห์ และตามด้วยกราบพระบรมราชสรีรางคาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 (ไม่แบมือ) 1 ครั้ง เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ทางวัดเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามากราบไหว้ ระหว่างเวลา 09.00-17.00 น. และในเวลา 20.00 น. ทุกวัน (ยกเว้นวันพระ)
การเดินทางมายังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
เข้ามาทางถนนหลานหลวง ตรงไปเรื่อยจนถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หลังจากนั้นจะเจอแยกไฟแดงแรก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนพระสุเมรุ ไม่นานจะเห็นวัดบวรนิเวศราชวรวิหารตั้งอยู่ทางด้านซ้ายมือ (สามารถดูเส้นทางการเดินทางได้ที่ GPS วัดบวรนิเวศวิหาร หรือโทรศัพท์ 02 629 5854)
หากใครอยากชื่นชมสถาปัตยกรรมที่มีความหลากหลาย ทั้งสไตล์ตะวันตกและไทยประยุกต์ ต้องไม่พลาดมาเที่ยววัดบวรนิเวศราชวรวิหาร อันเป็นเครื่องสะท้อนถึงสายสัมพันธ์พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแต่ละพระองค์ ในฐานะองค์พระบรมราชูปถัมภ์แห่งวัดบวรนิเวศราชวรวิหารอย่างหาที่สุดมิได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก วัดบวรนิเวศวิหาร, เว็บไซต์ watbowon.com
..........
เรื่องและภาพจาก
https://travel.kapook.com/view188640.html
-
วัดบวรนิเวศวิหาร วัดสวย กรุงเทพ พระอารามหลวง ประจำ 2 รัชกาล
วัดบวรนิเวศวิหาร วัดสวย กรุงเทพ พระอารามหลวง ประจำ 2 รัชกาล
SummerB
28 เมษายน 2564 ( 18:00 )
หากกล่าวถึง พระอารามหลวง ที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ หนึ่งในนั้นก็ต้องมี วัดบวรนิเวศริหาร วัดสวย กรุงเทพ อย่างแน่นอนค่ะ เพราะนอกจากมีความเกี่ยวของกับพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีหลายพระองค์แล้ว ศิลปกรรมภายในวัดเองก็มีความวิจิตรอ่อนช้อย และมีความสำคัญต่อพุทธศาสนาในเมืองไทยอีกด้วยค่ะ
(https://cms.dmpcdn.com/travel/2021/04/28/39203540-a80f-11eb-82d0-f787c3df094f_original.jpg)
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดสวย กรุงเทพ
พระอารามหลวง ประจำ 2 รัชกาล
ประวัติ วัดบวรนิเวศราชวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด ราชวรวิหาร เรียกชื่อเต็มๆ คือ วัดบวรนิเวศวิหารราชวิหาร เป็นวัดประจำ 2 รัชกาลของกรุงรัตนโกสินทร์ คือ รัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 9 ตั้งอยู่ระหว่าง ถนนตะนาว และ ถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อ วัดใหม่ ตั้งอยู่ใกล้กับ วัดรังษีสุทธาวาส แต่แล้วก็ได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกันโดย กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ใน รัชกาลที่ 3 และมีการทำนุบำรุง บูรณะปฏิสังขรณ์วัดเรื่อยมาจนสมัย สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ทรงมาประทับ และก่อตั้ง คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ขึ้น รวมถึงบูรณะปฏิสังขรณ์ และสร้างเสริมถาวรวัตถุไว้มากมาย
(https://cms.dmpcdn.com/travel/2021/04/28/7c0b4020-a80f-11eb-bd85-f36976593f6e_original.jpg)
วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี รวมถึงบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ทรงเคยมาผนวช เช่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6, พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ถึง 4 พระองค์ คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เรียกได้ว่า วัดบวรนิเวศวิหาร นั้นมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นอย่างมากเลยค่ะ
ศิลปกรรมที่น่าสนใจใน วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหาร ถือเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่วิจิตรงดงามมากๆ แห่งหนึ่งเลยค่ะ ยิ่งรวมเข้ากับบรรยากาศสุดคลาสสิกแถบ บางลำพู ก็ยิ่งทำให้รู้สึกเหมือนได้ย้อนวันวานไปยังย่านพระนครในอดีตเลยทีเดียว
(https://cms.dmpcdn.com/travel/2021/04/28/38947000-a80f-11eb-bd85-f36976593f6e_original.jpg)
เมื่อเข้าไปในวัด จะพบว่าพื้นที่ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆวาส โดยมีกำแพงและคูน้ำกั้น ในส่วนของเขตพุทวาสจะมี พระอุโบสถ ที่ประดิษฐานของ พระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ คือ พระพุทธสุวรรณเขต (หลวงพ่อโต) ที่อันเชิญมาจาก วัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี เชื่อว่าเดิมเป็นศิลปะขอมตั้งแต่สมัยทวาราวดี แต่พระยาชำนิหัตถการ นายช่างกรม พระราชวังบวรฯ เลาะออกทำพระศกใหม่ด้วยดินเผาให้เล็กลง ลงรักปิดทอง ทำให้มีกลิ่นอายของศิลปะยุครัตนโกสินทร์ และ พระพุทธชินสีห์ ที่อิญเชิญมาจาก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
(https://cms.dmpcdn.com/travel/2021/04/28/3918e240-a80f-11eb-80d3-132c31d86f5f_original.jpg)
สถาปัตยกรรมของพระอุโบสถมีการผสมผสานระหว่างหลายวัฒนธรรม ไทย จีน และ ยุโรป ทำให้พระอุโบสถของ วัดบวรนิเวศวิหาร มีความยิ่งใหญ่และวิจิตรงดงามในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ภายในวัดก็ยังมีจุดที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น พระอุโบสถวัดรังสี วิหารพระศาสดา วิหารเก๋ง พระมหาเจดีย์ หอระฆัง และ หอไตร เป็นต้น
(https://cms.dmpcdn.com/travel/2021/04/28/3881ab50-a80f-11eb-bd85-f36976593f6e_original.jpg)
ในส่วนของเขต สังฆวาส ก็จะมีพระตำหนักต่างๆ เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเคยผนวชที่วัดนี้ เช่น ตำหนักปั้นหยา เป็นสถาปัตยกรรมแบบอาคารบ้านเรือนฝรั่ง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตำหนักจันทร์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 และ ตำหนักเพชร อีกตำหนักที่มีการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและฝรั่งเข้าด้วยกัน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ค่ะ
อ้างอิง :
http://www.dhammathai.org/
http://www.resource.lib.su.ac.th/
ข้อมูล วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
ที่อยู่ : 248 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พิกัด : https://goo.gl/maps/kHMnTU2Kw6iViEo59
เปิดให้เข้าชม : 08.00-17.00 น.
โทร : 0-2281-5052
เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/WatBovoranivesVihara/
.....
เรื่องและภาพจาก
https://travel.trueid.net/detail/2Kbg78jjw7eW
-
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
ไปด้วยกัน
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพ
1 January 2021
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพ เป็นพระอารามหลวงแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องความงดงามด้านสถาปัตยกรรมเป็นอย่างมาก เป็นการผสมผสานระหว่างชาติตะวันตก จีน และไทย ได้อย่างสวยงาม เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์เมื่อทรงผนวชหลายพระองค์ จึงทำให้วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุงให้คงสภาพดีอยู่เสมอ
(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/10/SON09459.jpg)
พระอุโบสถ ที่สร้างตามแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 มีมุขหน้ายื่นออกมา เป็นพระอุโบสถและมีปีกยื่นออก ซ้ายขวาเป็นวิหารมุขหน้าที่เป็นพระอุโบสถมีเสาเหลี่ยมมีพาไลรอบซุ้มประตูหน้าต่าง และ หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้น
(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/10/SON09457.jpg)
พระเจดีย์ใหญ่ ตั้งอยู่ถัดจากพระอุโบสถ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีทักษิณ 2 ชั้นเป็นสี่เหลี่ยม ที่องค์พระเจดีย์มีซุ้มเป็นทางเข้าสู่คูหา 4 ซุ้ม กลางคูหาพระเจดีย์ประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีพระเจดีย์องค์ประดิษฐานอยู่โดยรอบพระเจดีย์กาไหล่ทองอีก 4 องค์ คือ ด้านตะวันตก พระไพรีพินาศเจดีย์ ด้านใต้ พระเจดีย์บรมราชานุสรณ์พระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้านตะวันออก เป็นพระเจดีย์ไม้ปิดทอง ด้านตะวันตก พระเจดีย์โลหะปิดทอง
(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/10/SON09465.jpg)
(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/10/SON09576.jpg)
นอกจากนี้ภายในวัดบวรฯยังมีกลุ่มอาคารและพระตำหนักต่างๆที่มีความคลาสสิค ผสมผสานระหว่างชาติตะวันตก จีน และไทย ได้อย่างสวยงาม ที่เปิดให้เข้าไปถ่ายภาพรอบตัวอาคารได้
(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/10/SON09614.jpg)
พระตำหนักเพ็ชร อาคารสีเหลืองโดดเด่น อาคารปัจจุบันเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขยื่นออกมาคลุมทางเดินขึ้นพระตำหนักฝั่งตะวันออก หน้าบันมุขประดับตราวชิราวุธ พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 6 กรอบหน้าบันและสันหลังคาประดับลายปูนปั้นแบบไทย ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มโค้งประดับปูนปั้นลวดลายดอกไม้
(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/10/SON09475.jpg)
(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/10/SON09487.jpg)
(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/10/SON09509.jpg)
พระตำหนักจันทร์ อาคารสีขาวสองชั้น หลังคาปั้นหยา ชายคาประดับลายไม้ฉลุ เหนือบานหน้าต่างกลางของแต่ละด้านประดับตราพระเกี้ยว พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 5 ด้านตะวันตกของพระตำหนักมีทางเชื่อมไปยังพระตำหนักซ้ายซึ่งเป็นสถานที่ทรงงาน
(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/10/SON09472.jpg)
นอกจากนี้ภายในเขตสังฆาวาสของวัดบวรฯ ยังเป็นที่ตั้งของพระตำหนักและอาคารที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชวงศ์อยู่หลายหลัง แต่ละหลังมีความสำคัญ และความสวยงามทางศิลปะที่แตกต่างกันออกไป
(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/10/SON09590.jpg)
ตรอกทางเดินไปรวมกับทางหลักที่มาจากประตูหน้าพระวิหารเก๋ง เมื่อหันกลับมาจะเห็นแนวตึกพระตำหนักและกุฏิเรียงกันอย่างสวยงาม
(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/10/SON09596.jpg)
(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/10/SON09602.jpg)
กำแพงวัดที่หันมองกลับมา จะเจอกับกลุ่มอาคารสีเหลืองแบบคลาสสิค ที่ตั้งอยู่ด้านนอก เป็นภาพที่สวยงาม
(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2021/01/SON09616.jpg)
-
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f9/Ubosot_of_Wat_Bowonniwet.jpg/1024px-Ubosot_of_Wat_Bowonniwet.jpg)
พระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/18/Buddha_images_at_Wat_Bowonniwet.jpg/800px-Buddha_images_at_Wat_Bowonniwet.jpg)
พระพุทธชินสีห์ (หน้า) และพระสุวรรณเขต (หลัง) พระประธาน ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
(https://youimg1.tripcdn.com/target/100m0d0000006tlgg042E_C_760_506.jpg?proc=source%2ftrip)
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_chedi.jpg)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_view2.jpg)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06762-2000x1333.jpg)
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-2-2000x1333.jpg)
พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06648-2000x1333.jpg)
พระพุทธชินสีห์(องค์หน้า) – หลวงพ่อโต(องค์หลัง)
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06675-2000x1333.jpg)
พระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06695-2000x1333.jpg)
พระศาสดา
10
(https://insidewatthai.com/wp-content/uploads/2018/09/untitled-06708-2000x1333.jpg)
พระพุทธไสยา
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watbowon_buddhafootprint.jpg)
พระพุทธบาทจำลอง
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/2f/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3.jpg)
(https://cms.dmpcdn.com/travel/2021/04/28/7c0b4020-a80f-11eb-bd85-f36976593f6e_original.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A33.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A316.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A317.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A318.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A319.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A35.jpg)
20
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A34.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A32.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A36.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A38.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A37.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A315.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A31.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A314.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A312.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A313.jpg)
30
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A311.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A310.jpg)
(http://www.dooasia.com/wp-content/uploads/2014/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A39.jpg)
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7119.jpg?w=1200)
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7117.jpg?w=1200)
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7076.jpg?w=600)
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7083.jpg?w=600)
(https://i1.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7239-1.jpg?w=1200)
(https://i1.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7185-1.jpg?w=1200)
(https://i1.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7261-1.jpg?w=1200)
40
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7026.jpg?w=1200)
พระแท่นที่ประทับของพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่เสด็จออกทรงผนวช
(https://i0.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7030.jpg?w=600)
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7090.jpg?w=1200)
ซุ้มปรางค์พระพุทธรูป อยู่ข้างพระอุโบสถนอกกำแพงแก้วข้างละซุ้ม
(https://i1.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7147.jpg?w=1200)
ตุ๊กตาปูนปั้นที่นี่ก็มีเยอะแยะมากมายเลยครับ (เอ๊ะ หรือว่าหินแกะสลัก แฮะๆ)
(https://i1.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_6934.jpg?w=1200)
(https://i0.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_6959.jpg?w=1200)
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7028.jpg?w=1200)
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7032.jpg?w=1200)
(https://i0.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7033.jpg?w=1200)
พระพุทธบาทจำลอง
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7086.jpg?w=1200)
50
(https://i1.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7089.jpg?w=1200)
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_6962.jpg?w=1200)
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_6965.jpg?w=1200)
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_6966.jpg?w=1200)
(https://i0.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7043.jpg?w=600)
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7046.jpg?w=600)
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7038.jpg?w=1200)
(https://i0.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7041.jpg?w=600)
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7042.jpg?w=600)
(https://i0.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7060.jpg?w=1200)
60
-
(https://i1.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7054.jpg?w=600)
(https://i1.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_6967.jpg?w=1200)
พระวิหารเก๋ง
(https://i0.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7057.jpg?w=1200)
(https://i1.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_6969.jpg?w=1200)
(https://i0.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_6971.jpg?w=1200)
พระพุทธวชิรญาณ
(https://i0.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_6973.jpg?w=1200)
พระพุทธมนุสสนาค
(https://i1.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_6975.jpg?w=1200)
พระพุทธปัญญาอัคคะ
(https://i0.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/bbIMG_6977.jpg?w=1200)
พระศาสดา
(https://i1.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_6984.jpg?w=1200)
พระพุทธไสยา
(https://i1.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_6991.jpg?w=1200)
หอสหจร
(https://i0.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_6996.jpg?w=1200)
พระตำหนักทรงพรต
(https://i1.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7003.jpg?w=1200)
อาคารมนุษยนาควิทยาทาน หรือเรารู้จักกันในชื่อ พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7007.jpg?w=1200)
(https://i0.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_6998.jpg?w=1200)
ภายในอาคาร จะมีการจัดแสดงแยกเป็นห้องต่างๆ
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7523-1.jpg?w=1200)
(https://i2.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7530-1.jpg?w=1200)
(https://i1.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7533-1.jpg?resize=1182%2C800)
(https://i0.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7469-1.jpg?w=1200)
(https://i1.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7484-1.jpg?w=1200)
(https://i0.wp.com/9choke.com/wp-content/uploads/2016/01/aaIMG_7526-1.jpg?w=1200)
80
(https://kinyupen.co/wp-content/webp-express/webp-images/uploads/2019/05/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3.jpg.webp)
พุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ ที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคาร
(https://static.thairath.co.th/media/Dtbezn3nNUxytg04OL9nC2EMK2wJAmnNRXs0aLbXvNJO9G.webp)
พระพุทธชินสีห์ องค์พระประธานภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
(https://static.thairath.co.th/media/Dtbezn3nNUxytg04OL9nC2EMK2wJAmnNNyhbc0sz4MBp6p.webp)
จุดประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคาร ในหลวง ร.9 พุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์
(https://www.khaosod.co.th/wpapp/uploads/2017/11/651e952f02b8df2c876507ef68d1511a.jpg)
พระพุทธชินสีห์
(https://www.khaosod.co.th/wpapp/uploads/2017/11/paragraph_1_484.jpg)
(https://www.khaosod.co.th/wpapp/uploads/2017/11/nxlnmh76ucTLG1bxBCo-o.jpg)
(http://www.dooasia.com/userfiles/watbhawon%20(26).JPG)
(http://www.dooasia.com/userfiles/watbhawon%20(49).JPG)
(http://www.dooasia.com/userfiles/watbhawon%20(51).JPG)
(http://www.dooasia.com/userfiles/watbhawon%20(55).JPG)
90
(http://www.dooasia.com/userfiles/watbhawon%20(54).JPG)
(http://www.dooasia.com/userfiles/watbhawon%20(52).JPG)
(http://www.dooasia.com/userfiles/watbhawon%20(16).JPG)
(http://www.dooasia.com/userfiles/watbhawon%20(22).JPG)
(http://www.dooasia.com/userfiles/watbhawon%20(25).JPG)
(http://www.dooasia.com/userfiles/watbhawon%20(13).JPG)
(http://www.dooasia.com/trips/image_upload/watbhawon_(19).jpg)
(http://www.dooasia.com/trips/image_upload/watbhawon_(43).jpg)
(http://www.dooasia.com/trips/image_upload/watbhawon_(39).jpg)
(http://www.dooasia.com/trips/image_upload/watbhawon_(70).jpg)
100
(http://2.bp.blogspot.com/-o2-jA1A6HJ8/UijcdPYnnyI/AAAAAAAAAJg/GRxpmwO5FXI/s1600/IMG_0096.jpg)
(https://f.ptcdn.info/419/004/000/1366692101-IMG0022-o.jpg)
ทางขึ้นพระอุโบสถ น่าจะเป็นตัวเหรา ผมคิดว่านะ ลักษณะอาจไม่ตรงตามข้อมูลสัตว์หิมพานต์ซะทีเดียว แต่ก็ใกล้เคียง
(https://f.ptcdn.info/420/004/000/1366692295-IMG0007-o.jpg)
(https://f.ptcdn.info/420/004/000/1366692385-IMG0011-o.jpg)
เซี่ยวกาง หรือ ยักษ์ เทพ ฯ เฝ้าประตู ที่ทวารบาล
(https://f.ptcdn.info/420/004/000/1366692509-IMG0017-o.jpg)
เรื่องเล่าว่า สมัยก่อนมีคนจีนติดฝิ่น มานอนเสียชีวิตที่หน้าประตู แล้วไปเข้าฝันว่าจะเฝ้าวัดให้ ให้เซ่นไหว้ด้วยฝิ่น คราบดำๆ ตอนแรกผมคิดว่าจาระบีซะงั้น อยากลองเอามือจับดู กลัวเขาว่า
(https://f.ptcdn.info/420/004/000/1366692690-IMG0018-o.jpg)
ตำหนักเพ็ชร
(https://f.ptcdn.info/420/004/000/1366692786-IMG0013-o.jpg)
(https://f.ptcdn.info/420/004/000/1366692855-IMG0020-o.jpg)
(https://f.ptcdn.info/420/004/000/1366692992-IMG0024-o.jpg)
(https://f.ptcdn.info/420/004/000/1366693031-IMG0009-o.jpg)
ประติมากรรม ที่ฐานพระศาสดา
(https://cms.dmpcdn.com/travel/2021/04/28/7c0b4020-a80f-11eb-bd85-f36976593f6e_original.jpg)
(http://122.155.197.111:8080/bkkConnect/download?&file=cover/7fe25d60-14e2-418e-949a-131df4fb81181583292935525.jpg)
(https://f.tpkcdn.com/review-source/33b6808f-9605-6426-14f1-5937c7e1e10f.jpg)
(https://f.tpkcdn.com/review-source/d9620e4e-b29c-fce7-1125-5937c810dcde.jpg)
(https://f.tpkcdn.com/review-source/f03c4ba8-d9a6-3d04-1ddc-5937c928074d.JPG)
(https://f.tpkcdn.com/review-source/d7fcf92b-bf2f-71de-7d36-5937c9bdacec.jpg)
(https://f.tpkcdn.com/review-source/418a12e8-acae-c438-a8e8-5937c93a0ec1.jpg)
(https://f.tpkcdn.com/review-source/e1a247e0-c5b2-7924-769a-5937cffba734.JPG)
(https://f.tpkcdn.com/review-source/c3eb550a-6fdf-d81f-54d1-5937cf8c7d4a.jpg)
(http://122.155.197.111:8080/bkkConnect/download?&file=image/4edf7b28-effd-4f5e-afbb-2db0c5d366951583292935283.jpg)
120