Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...

ภาพประทับใจ => สถานที่สวยงาม => Topic started by: ppsan on 20 September 2021, 22:07:00

Title: วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
Post by: ppsan on 20 September 2021, 22:07:00
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร


วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
วัดประจำรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 7

เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาล มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง นับเป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล

วัดนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 เท่านั้น แต่ยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 7 ด้วย เพราะในรัชสมัยของ รัชกาลที่ 7 มิได้มีการสร้างวัด แต่ท่านก็ได้รับพระราชภาระในการทำนุบำรุงและบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธนี้ด้วย ดังนั้นจึงถือเป็นวัดประจำพระองค์ด้วยเช่นกัน

(https://cms.dmpcdn.com/travel/2019/12/04/7939f3d0-164f-11ea-a282-13af15ea56d3_original.jpg)

(https://ed.edtfiles-media.com/ud/book/content/1/152/454030/Wat_Ratchabophit.JPG)

(https://ed.edtfiles-media.com/ud/book/content/1/152/454030/Wat_Ratchabophit02.JPG)

(https://ed.edtfiles-media.com/ud/book/content/1/152/454030/Wat_Ratchabophit03.JPG)

(https://ed.edtfiles-media.com/ud/book/content/1/152/454030/Wat_Ratchabophit04.JPG)



Title: Re: วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
Post by: ppsan on 20 September 2021, 22:11:59
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 7

(https://travel.mthai.com/app/uploads/2017/02/151_154.jpg)

(https://travel.mthai.com/app/uploads/2017/02/100_166.jpg)

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาล เมื่อ พ.ศ. 2412 และนับเป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก อำนวยการก่อสร้างโดย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)

(https://travel.mthai.com/app/uploads/2017/02/41_686.jpg)

ครั้นเมื่อวัดสร้างเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง และมีมหาสีมาอันเป็นเสาศิลาจำหลักยอดเป็นรูปเสมาธรรมจักร 8 เสา ตั้งเป็นสีมาที่กำแพง 8 ทิศ

(https://travel.mthai.com/app/uploads/2017/02/paragraph_100_267.jpg)

ภายในอุโบสถประดิษฐาน พระพุทธอังคีรส อยู่บนฐานชุกชีหินอ่อนจากประเทศอิตาลี ซึ่งหล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 – ต้นรัชกาลที่ 5 กระไหล่ทองคำเนื้อแปดหนัก 180 บาท เป็นทองที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้เมื่อยังทรงพระเยาว์

และเดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงนำไปประดิษฐานที่พระปฐมเจดีย์ แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2415

(https://travel.mthai.com/app/uploads/2017/02/22_969-1.jpg)

ที่ฐานบัลลังก์กระไหล่ทองเนื้อหกหนัก 48 บาท ภายในบรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีสุลาไลย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร และพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชสรีรางคาร สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม แห่งนี้ นอกจากจะคงความวิจิตรงดงามในเชิงสถาปัตยกรรมไทยแบบพระราชนิยมแห่งหนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พระอารามนี้ยังประกอบด้วย เขตสุสานหลวงจุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ อันเป็นบริเวณเฉพาะที่นับเนื่องด้วยราชสกุลและสายสัมพันธ์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(https://travel.mthai.com/app/uploads/2017/02/paragraph_51_964.jpg)
สุสานหลวง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างสุสานหลวงขึ้นในที่อุปจารชานกำแพงวัดด้านทิศตะวันตก (ติดกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม นอกเขตกำแพงมหาสีมาธรรมจักรของวัด) เป็นที่บรรจุพระอัฐิ (กระดูก) และพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ผู้ที่มีความรักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิดคือ พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และพระราชโอรส พระราชธิดา ได้อยู่รวมกันหลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว

(https://travel.mthai.com/app/uploads/2017/02/paragraph_2_152.jpg)

และเพื่อเป็นพระบรมราชูทิศพระราชกุศลแก่พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระองค์ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ กันทั้งพระเจดีย์ พระปรางค์ วิหารแบบไทย แบบขอม (ศิลปะปรางค์ลพบุรี) และแบบโกธิค โดยตั้งอยู่ในสวน ซึ่งมีต้นลั่นทมและพุ่มพรรณไม้ต่างๆ ปลูกไว้อย่างสวยงาม

(https://travel.mthai.com/app/uploads/2017/02/paragraph_paragraph_992.jpg)

อนุสาวรีย์ที่สำคัญคือ เจดีย์สีทอง 4 องค์ เรียงลำดับจากเหนือไปใต้ ซึ่งมีชื่อสอดคล้องกันดังนี้

- สุนันทานุสาวรีย์ พระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
- รังษีวัฒนา พระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)
- เสาวภาประดิษฐาน พระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
- สุขุมาลนฤมิตร์ พระราชทานแก่พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี (สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี)

ขอบคุณรูปภาพและข้อมูล https://th.wikipedia.org
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19364



เรื่องและภาพจาก
https://travel.mthai.com/region/151417.html



Title: Re: วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
Post by: ppsan on 20 September 2021, 22:14:36
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

ไปด้วยกัน
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หรือนิยมเรียกสั้นว่า วัดราชบพิธ วัดประจำรัชกาลที่ 5 และ 7 ตั้งอยู่บนถนนเฟื่องนคร เป็นวัดที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 มีสถาปัตยกรรมผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและยุโรป ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในโบสถ์ออกแบบตกแต่งแบบตะวันตก ความโดดเด่นของวัดราชบพิธ  คือ  พระอุโบสถ วิหาร เจดีย์ และระเบียงแก้ว  มีลายไทยลงรักประดับมุกที่วิจิตรสวยงาม บางส่วนตกแต่งด้วยลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์  พระเจดีย์ประดับกระเบื้องเคลือบทรงระฆัง เป็นเจดีย์ประธานองค์สุดท้าย ที่สร้างขึ้นตามแบบแผนประเพณีนิยมที่ทำกันมาแต่โบราณ

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/1-DEW_8709.jpg)

การเดินทางสำหรับคนที่ใช้บริการรถสาธารณะสามารถนั่งรถแท๊กซี่ ตุ๊กๆ มาลงหน้าวัดหรือด้านหลังวัดได้เลย แต่สำหรับผู้ที่นำรถส่วนตัว สามารถนำรถมาจอดบริเวณ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ใกล้ อนุสาวรีย์หมู ซึ่งจะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดราชบพิธ  โดยจะเสียค่าจอดรถทั้งวัน 40 บาท  จากนั้นเดินข้ามฝั่งมายังวัดจะสะดวกกว่าหาที่จอดบนถนนเรียบฝั่ง เมื่อเข้ามาจากทางข้างหน้าวัด สิ่งแรกที่จะเจอ คือ สุสานหลวง ของราชสกุลต่างๆ ตกแต่งเป็นสไตล์ที่หลากหลาย เช่น สไตล์ขอม สไตล์ตะวันตก สไตล์ไทย สามารถเดินชมได้ทั่ว มีป้ายบอกสายสกุลต่างๆ มีพรรณไม้นานาชนิด  จากนั้นเดินผ่านเข้าไปจะเจอกับพระอุโบสถของวัด มีระเบียงแก้วที่มีลวดลายระดับกระเบื้องที่สวยงาม

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/2-DEW_8749.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/3-DEW_8754.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/4-DEW_8745.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/5-DEW_8796.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/6-DEW_8757.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/7-DEW_8794.jpg)

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงสุดท้ายที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณี ที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาลที่ 5 และยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 7 เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 7 มิได้ทรงสร้างวัดประจำรัชกาล แต่ได้รับพระราชภาระในการทำนุบำรุง และทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นวัดของพระราชบิดา คือ รัชกาลที่ 5 จึงเสมือนเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์เช่นกัน

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/8-DEW_8763.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/9-DEW_8772.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/10-DEW_8765.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/10-DEW_8767.jpg)

ในส่วนของศิลปกรรมที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ บานประตู และหน้าต่างของพระอุโบสถ ที่มีลายไทยลงรักประดับมุก เป็นรูปดวงตราครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ สวยงามมาก รวมทั้ง พระอุโบสถ วิหาร เจดีย์ และระเบียงแก้ว ล้วนตกแต่งด้วยลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์ทั้งสิ้น ซึ่งทุกแผ่นเขียนด้วยมือ รวมถึงออกแบบรูปทรงกระเบื้องได้อย่างลงตัว ทั้ง เจดีย์ ระเบียง พระอุโบสถ ซึ่งมีรูปทรงอ่อนช้อย

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/11-SON09511.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/12-SON09407.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/14-SON09421.jpg)

พระมหาเจดีย์เป็นประธานของวัดอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยระเบียงกลม มีพระอุโบสถอยู่ด้านหน้าและพระวิหารอยู่ด้านหลัง  พระเจดีย์รูปทรงระฆังประดับกระเบื้องเคลือบ ตั้งอยู่เหนือคูหาที่ประดับด้วยซุ้ม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกศิลปะขอมและพระพุทธรูปอื่นๆ อีก 6 องค์ เป็นเจดีย์ประธานองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้นตามแบบแผนประเพณีนิยมที่ทำกันมาแต่โบราณก่อนที่จะฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งในยุคปัจจุบัน

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/16-DEW_8792.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/17-DEW_8780.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/20-DEW_8654.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/18-DEW_8783.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/19-DEW_8729.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/23-DEW_8784.jpg)

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/22-DEW_8731.jpg)

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม นับเป็นหนึ่งในวัดในเขตพระนคร ที่ควรมาสักเที่ยวชมสักครั้ง ทั้งสถาปัตยกรรมในวัดที่งดงาม ทั้งรายละเอียดฝาผนัง และเสาประตูที่วิจิตรบรรจงงดงามมาก

(https://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2020/09/21-DEW_8668.jpg)



เรื่องและภาพจาก
https://www.paiduaykan.com/travel/วัดราชบพิธ



Title: Re: วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
Post by: ppsan on 20 September 2021, 22:17:56
สัมผัสความงามตระการตา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

             วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงสุดท้ายที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณี และยังเป็นตั้งของสุสานหลวงอีกด้วย

             ถ้าเอ่ยถึง "วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร" หลาย ๆ คนคงทราบเพียงแต่ว่าตั้งอยู่บนถนนเฟื่องนคร ใกล้ ๆ กับกระทรวงมหาดไทย และเป็นที่ตั้งของ "สุสานหลวง" ภายในวัดยังมีความงดงามอื่น ๆ ให้ได้สัมผัสอีกมากมาย วันนี้กระปุกดอทคอมจึงจะพาไปทำความรู้จักกับวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร หนึ่งในวัดสำคัญคู่กรุงรัตนโกสินทร์กันค่ะ

(https://img.kapook.com/u/2019/sutasinee/05/r4.jpg)

   "วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม" หรือที่เรียกกันติดปากว่า "วัดราชบพิธ" เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุต วัดแห่งนี้นับเป็นพระอารามหลวงสุดท้ายที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณี ที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาลที่ 5 และยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 7 คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกด้วย เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 7 มิได้ทรงสร้างวัดประจำรัชกาล แต่ได้รับพระราชภาระในการทำนุบำรุง และทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นวัดของพระราชบิดา คือ รัชกาลที่ 5 จึงเสมือนเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์เช่นกัน

(https://img.kapook.com/u/2019/sutasinee/05/r15.jpg)

   แต่เดิมบริเวณวัดเป็นวังของ พระบรมวงศ์เธอกรมหลวงบดินทร ไพศาลโสภณ ก่อนที่ พ.ศ. 2412 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาล โดยสร้างเลียนแบบ 2 วัด คือ วัดพระปฐมเจดีย์ กับ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 และภายในวัดแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตสุสานหลวง สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2413

(https://img.kapook.com/u/2019/sutasinee/05/r1.jpg)

   พร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง และมีมหาสีมาอันเป็นเสาศิลาจำหลักยอดเป็นรูปเสมาธรรมจักร 8 เสา ตั้งเป็นสีมาที่กำแพง 8 ทิศ ส่วน "ราชบพิธ" หมายถึง พระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินสร้าง และ "สถิตมหาสีมาราม" หมายถึง พระอารามซึ่งมีมหาเสมาหรือเสมาใหญ่ มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและยุโรป คือลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก

(https://img.kapook.com/u/2019/sutasinee/05/r7.jpg)

(https://img.kapook.com/u/2019/sutasinee/05/r5.jpg)

   โดยตัวพระอุโบสถภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ ประกอบด้วยลวดลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์รูปเทพประนม ภายในเป็นสถาปัตยกรรมโกธิค พระประธานคือ "พระพุทธอังคีรส" แปลว่า "มีรัศมีซ่านออกจากพระวรกาย"ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีหินอ่อนจากประเทศอิตาลี ถูกหล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อต้นรัชกาลที่ 5 กะไหล่ทองคำเนื้อแปดหนัก 180 บาท เป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้เมื่อยังทรงพระเยาว์ เดิมรัชกาลที่ 4 จะทรงนำไปประดิษฐานที่พระปฐมเจดีย์ แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2415

(https://img.kapook.com/u/2019/sutasinee/05/r8.jpg)

   นอกจากนี้ที่ฐานบัลลังก์กะไหล่ทองเนื้อหกหนัก 48 บาท ภายในบรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2), พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3), พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4), พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5), พระบรมอัฐิพระศรีสุลาไลย สมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 3 และสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร

             ทั้งนี้วันที่ 29 ตุลาคม 2560 มีพระราชพิธีอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง ไปบรรจุที่ฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธอังคีรส พระประธานพระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

(https://img.kapook.com/u/2019/sutasinee/05/r11.jpg)


สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

             สำหรับ "สุสานหลวง" วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่นอกเขตกำแพงมหาสีมาธรรมจักรของวัด ทางด้านทิศตะวันตก ติดกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม แต่เดิมมีอาณาบริเวณกว้าง 4 ไร่กว่า ต่อมาในสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทางผู้สำเร็จราชการและทาง กทม. ได้ตัดถนนอัษฎางค์ ซึ่งกินพื้นที่สุสานหลวงไปบางส่วน จนปัจจุบันสุสานหลวงเหลือพื้นที่เพียง 2 ไร่ครึ่งเท่านั้น

(https://img.kapook.com/u/2019/sutasinee/05/r12.jpg)

   ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "สุสานหลวง" ขึ้นในวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เพื่อเป็นที่บรรจุพระอัฐิ (กระดูก) และพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ผู้ที่มีความรักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิด คือพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม พระราชโอรส พระราชธิดา พระนัดดา และพระปนัดดา ได้อยู่ร่วมกัน หลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงสร้างขึ้นในสมัยหลัง

             อนุสาวรีย์ที่สุสานหลวงนี้ทำเป็นรูปเจดีย์ ปรางค์ และอาคารศิลปะยุโรป โดยตั้งอยู่ในสวน ซึ่งมีต้นลั่นทมและพุ่มพรรณไม้ต่าง ๆ ปลูกไว้อย่างสวยงาม และอนุสาวรีย์ที่สำคัญคือเจดีย์สีทอง 4 องค์ เรียงลำดับจากเหนือไปใต้

(https://img.kapook.com/u/2019/sutasinee/05/r3.jpg)

(https://img.kapook.com/u/2019/sutasinee/05/r10.jpg)

(https://img.kapook.com/u/2019/sutasinee/05/r6.jpg)

   ในส่วนของศิลปกรรมที่สำคัญในวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ได้แก่ บานประตู และหน้าต่างของพระอุโบสถ ที่มีลายไทยลงรักประดับมุก เป็นรูปดวงตราครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ สวยงามมาก และที่น่าสนใจอีกอย่างคือ กระเบื้องเบญจรงค์ ทั้งพระอุโบสถ วิหาร เจดีย์ และระเบียงแก้ว ล้วนตกแต่งด้วยลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์ทั้งสิ้น ซึ่งทุกแผ่นเขียนด้วยมือ รวมถึงออกแบบรูปทรงกระเบื้องขนาดต่าง ๆ ลงตัวอย่างน่าอัศจรรย์ ไม่ว่าเจดีย์ ระเบียง พระอุโบสถ ซึ่งมีรูปทรงอ่อนช้อย แต่ทุกอย่างลงตัว

(https://img.kapook.com/u/2019/sutasinee/05/r9.jpg)

(https://img.kapook.com/u/2019/sutasinee/05/r14.jpg)

   อีกทั้งวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ยังเป็นที่ประทับของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

        สัมผัสความงดงามของ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กันบ้างแล้ว หากมีโอกาสควรแวะไปพิสูจน์ด้วยตาคุณเองนะคะ

(https://img.kapook.com/u/2019/sutasinee/05/r2.jpg)

(https://img.kapook.com/u/2019/sutasinee/05/r13.jpg)


เวลาทำการ

             พระอุโบสถจะเปิดเป็นเวลา โดยในวันธรรมดาจะเปิดช่วงพระทำวัตรเช้า-เย็น คือ 09.00-10.00 น. และ 17.00-18.00 น. วันพระและช่วงปีใหม่จะเปิดให้เข้าไปไหว้พระตั้งแต่เวลา 08.00-13.30 น. ส่วนพระวิหารจะเปิดเฉพาะเวลามีพิธีสำคัญ เช่น อุปสมบท หรือการถวายสังฆทานสมเด็จพระสังฆราช เป็นต้น

การเดินทาง

             วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่บริเวณถนนเฟื่องนคร ติดกับกระทรวงมหาดไทย สามารถจอดรถได้บริเวณถนนข้าง ๆ วัด



เรื่องและภาพจาก
https://travel.kapook.com/view31530.html



Title: Re: วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
Post by: ppsan on 20 September 2021, 22:20:37
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ละเลียดชมความงามวัดประจำรัชกาลที่ 5 ที่ประทับสมเด็จพระสังฆราช และพระอารามหลวงที่มีโบสถ์ตกแต่งภายในอย่างโบสถ์คริสต์

เรื่องและภาพ ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล
..........

Home /Art & Culture/อารามบอย
25 มิถุนายน 2562

นี่คือวัดที่ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

นี่คือวัดที่เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 3 พระองค์รวมถึงพระองค์ปัจจุบัน

นี่คือวัดที่เป็นที่ตั้งของสุสานหลวงแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร นี่คืออีกหนึ่งวัดที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของในหลวงรัชกาลที่ 9 และนี่ยังเป็นอีกวัดที่นำพาโลกตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับโลกตะวันออกอย่างลงตัวที่สุด

คุณสมบัติทั้งหมดนี้ชี้นำไปสู่วัดเพียงแห่งเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยโปรดฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) เป็นแม่กองอำนวยการสร้างวัดตามลำดับ

การก่อสร้างวัดแห่งนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2412 เมื่อแรกสร้างวัด ทรงซื้อวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร และเจ้าจอมมารดาคล้าย พร้อมกับซื้อบ้านเรือนข้าราชการและชาวบ้านเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับสร้างวัด สิ้นพระราชทรัพย์ไปเป็นเงิน 2,806 บาท 37 สตางค์ (ดูเหมือนน้อย แต่เราต้องไม่ลืมนะครับว่านี่คือค่าเงินในสมัยรัชกาลที่ 5) พร้อมกันนั้นยังทรงนิมนต์พระสงฆ์จากวัดโสมนัสราชวรวิหารมาจำพรรษา พร้อมกับอัญเชิญ ‘พระนิรันตราย’ มาประดิษฐานเอาไว้ด้วย

โดยมูลเหตุในการก่อสร้างก็เพื่อให้เป็นไปตามโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์จะทรงสร้างวัด และยังแสดงถึงพระราชศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ด้วย

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-12-750x500.jpg)

หากเราเดินทางมายังวัดจากทางฝั่งคลองรอบกรุง วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และอนุสาวรีย์หมู สิ่งแรกที่เราจะเจอก็คือสุสานหลวง แต่ผมขอพูดถึงพื้นที่ส่วนหลักของวัดจากทางฝั่งถนนราชบพิธฯ ก่อนนะครับ

วัดแห่งนี้มีพระมหาเจดีย์เป็นประธานของวัดอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยระเบียงกลม มีพระอุโบสถอยู่ด้านหน้าและพระวิหารอยู่ด้านหลัง ระเบียงคดกลมนี้ถือเป็นประดิษฐกรรมใหม่ที่เพิ่งพัฒนาขึ้นในรัชกาลก่อนหน้าที่วัดพระปฐมเจดีย์ ก่อนจะนำมาใช้ที่วัดแห่งนี้ ดังนั้น เมื่อถนนราชบพิธอยู่ทางทิศเหนือของวัด สิ่งแรกที่เราจะเห็นเมื่อเดินผ่านประตูวัดที่แกะเป็นรูปทหารแต่งกายอย่างตะวันตกก็คือพระอุโบสถของวัด

พระอุโบสถหลังนี้เป็นอาคารแบบไทยประเพณี มีหน้าบัน 2 ชิ้น หน้าบันของมุขทำเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ซึ่งมักจะพบในพระอารามหลวงที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ ในขณะที่หน้าบันด้านในเป็นรูปช้าง 7 ช้างเทินพานรองพระเกี้ยว พระราชลัญจกรประจำพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งช้างทั้งเจ็ดหมายถึงช้างเผือกทั้งเจ็ดช้างในรัชกาลของพระองค์

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-1.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-9.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-11-750x500.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-10-750x500.jpg)

แม้ว่าข้างนอกจะดูไทยขนาดไหน แต่ข้างในนี่ผิดกันคนละเรื่องเลย ยังจำวัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหารที่ผมเคยพาไปดูได้ไหมครับ วัดแห่งนั้นใช้สถาปัตยกรรมแบบโบสถ์คริสต์มาประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ที่นี่ตกแต่งภายในเหมือนโบสถ์คริสต์ไม่มีผิด โดยนำเอาการตกแต่งภายในแบบโกธิคมาใช้ ซึ่งเป็นไอเดียของหม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย นั่นเอง

ประตูและหน้าต่างด้านนอกประดับด้วยงานประดับมุกเป็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ 1 รวม 5 ดวง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 และเริ่มนำมาประดับอาคารครั้งแรกในรัชกาลนี้เช่นกัน

ในขณะที่กรอบซุ้มด้านนอกทำเป็นยอดปราสาท เหนือกรอบซุ้มทำเป็นตราพระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ 9 โดยตกแต่งเป็นลวดลายอุณาโลมสลับกับอักษร ‘จ’ บริเวณผนังระหว่างหน้าต่าง ส่วนผนังด้านข้างเดิมทีเคยมีจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องพุทธประวัติแต่ถูกลบออกไปในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โปรดให้แก้ไขตกแต่งเป็นแบบตะวันตก

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-4-750x499.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-13.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-3-750x499.jpg)

พระประธานภายในพระอุโบสถมีนามว่า ‘พระพุทธอังคีรส’ พระพุทธรูปปางสมาธิครองจีวรยับย่นสมจริงตามแนวคิดแบบตะวันตกที่เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระพุทธอังคีรสเป็นอีกพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีความหมายว่ามีพระรัศมีแผ่ซ่านออกมาจากพระวรกาย

พระพุทธรูปองค์นี้มีประวัติว่าหล่อขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 4 ถึงต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ พระพุทธรูปเนื้อทองคำองค์นี้หล่อขึ้นจากเครื่องทรงของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงนำไปประดิษฐานยังวัดพระปฐมเจดีย์แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐานยังวัดแห่งนี้

ยิ่งไปกว่านั้น พระรัศมีของพระพุทธรูปองค์นี้สามารถถอดออกเพื่อเปลี่ยนได้ ซึ่งผมเองก็ไม่เคยรู้มาก่อน จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารคและเสด็จฯ มายังวัดแห่งนี้ ทรงเจิมพระรัศมีทองคำลงยาราชาวดีและทรงอัญเชิญพระรัศมีนี้สวมที่พระเศียรของพระพุทธอังคีรส

อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ ใต้ฐานบัลลังก์ของพระพุทธอังคีรสนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีถึง 4 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมไปถึงพระอัฐิของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระสนมเอกในรัชกาลที่ 2 พระราชชนนีในรัชกาลที่ 3 และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราประยูร พระราชธิดาในรัชกาลที่ 3 ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์

โดยทั้งหมดนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเป็นผู้บรรจุไว้ ก่อนที่ต่อมา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระบรมราชสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาบรรจุที่ฐานพุทธบัลลังก์หินอ่อนเมื่อ พ.ศ. 2492

ก่อนที่ใน พ.ศ. 2528 ได้นำพระราชสรีรางคารของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 มาบรรจุเอาไว้ด้วย และใน พ.ศ. 2560 ภายหลังการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชิญพระราชสรีรางคารของรัชกาลที่ 9 มาประดิษฐานไว้ที่ฐานหินอ่อนนี้ด้วยเช่นกัน

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-2.jpg)

ในขณะที่พระวิหารที่อยู่ตรงข้ามกันมีรูปร่างหน้าตาภายนอกแทบจะถอดแบบมาจากพระอุโบสถเลยครับ เราสังเกตได้จากบานประตูและหน้าต่างที่แม้จะทำเป็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์เช่นเดียวกับพระอุโบสถ แต่เปลี่ยนเทคนิคจากงานประดับมุกเป็นงานแกะสลักไม้แทน

การเปลี่ยนเทคนิคนี้ทำให้เราได้เห็นสีของเครื่องราชอิสริยาภรณ์แต่ละประเภทด้วยครับ ภายในเองก็ไม่ได้แตกต่างจากพระอุโบสถเท่าไหร่ เว้นแต่โทนสีที่ออกเป็นสีชมพูต่างจากพระอุโบสถที่ออกเป็นโทนสีเย็น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยนาม ‘พระประทีปวโรทัย’

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-7.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-6.jpg)

อาคารสำคัญแกนกลางของวัดแห่งนี้ก็คือพระเจดีย์ประดับกระเบื้องเคลือบ ตั้งอยู่เหนือคูหาที่ประดับด้วยซุ้ม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกศิลปะขอมและพระพุทธรูปอื่นๆ อีก 6 องค์ (ซึ่งส่วนตัวผมเองยังไม่เคยเห็นเหมือนกันครับเลยไม่มีภาพมาให้ชม) รูปทรงของพระเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงระฆังที่น่าจะถ่ายแบบมาจากพระเจดีย์ที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามที่อยู่ตรงข้ามคลองเพราะหน้าตาคล้ายกันมาก และที่สำคัญ พระเจดีย์องค์นี้ถือเป็นเจดีย์ประธานองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้นตามแบบแผนประเพณีนิยมที่ทำกันมาแต่โบราณ ก่อนที่จะฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งในยุคปัจจุบัน

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-5-750x499.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-8.jpg)


สุสานหลวงถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ของวัดราชบพิธฯ ถือเป็นขนบใหม่ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากในอดีต การถวายพระกุศลให้แก่เจ้านายที่ล่วงลับไปแล้วมีเพียงการสร้างสิ่งของหรือถาวรวัตถุเป็นการเฉพาะเท่านั้น

สุสานหลวงของวัดราชบพิธฯ แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระอัฐิและพระราชสรีรางคาร ด้วยมีพระราชประสงค์ให้ผู้ที่รักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิดได้มาอยู่รวมกันหลังจากที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งภายในสุสานหลวงแห่งนี้มีอนุสรณ์สถานและอนุสาวรีย์อยู่ถึง 34 แห่ง ขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกัน และยังมีรูปแบบที่ต่างกัน บ้างมาแนวตะวันตกจ๋า บ้างมาแนวตะวันออกจ๋า บ้างจำลองมาจากสถานที่ที่มีอยู่จริงๆ

ครั้นจะพาไปดูจนครบก็คงต้องแยกไปเล่าเป็นหนึ่งตอนเพียวๆ เลย วันนี้เลยจะขอแนะนำองค์สำคัญๆ ที่น่าสนใจเพียงบางองค์เท่านั้น

เริ่มกันด้วยกลุ่มสำคัญซึ่งมีรูปแบบคล้ายกัน เป็นอาคารทรงไทย ยอดเป็นเจดีย์ประดับด้วยโมเสกสีทองจำนวน 4 องค์ ทั้ง 4 องค์นี้มีชื่อคล้องจองกันทั้งหมด ประกอบด้วย ‘สุนันทานุสาวรีย์’ บรรจุพระสรีรางคารของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือที่เรารู้จักกันในนาม ‘พระนางเรือล่ม’ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ รังสีวัฒนา พระราชธิดาของพระองค์ที่สิ้นพระชนม์พร้อมกัน

‘รังษีวัฒนา’ บรรจุพระราชสรีรางคารพระราชโอรสและพระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระปัยยิกาหรือทวดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 รวมถึงสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ด้วย

‘เสาวภาประดิษฐาน’ บรรจุพระราชสรีรางคารของพระราชโอรสในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง พระราชมารดาของรัชกาลที่ 6 และ 7

และ ‘สุขุมาลย์นฤมิตร์’ บรรจุพระสรีรางคารของสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งถ้าใครชมสุสานหลวงแล้วไม่รู้ว่าองค์ไหนในกลุ่ม 4 องค์นี้ชื่ออะไร ลองสังเกตที่ด้านหน้าดูได้ครับ เพราะทุกองค์มีชื่อกำกับไว้ทั้งหมด

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-15-750x500.jpg)

จริงๆ แล้วภายในสุสานหลวงยังมีอนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานอีกหลายแห่งที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นอนุสรณ์สถานของพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ซึ่งทำเป็นรูปปรางค์สามยอด เนื่องจากพระราชโอรสของพระองค์ท่านคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฑัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์

อนุสรณ์สถานทรงตะวันตกนอกโดมของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และพระธิดา รวมถึงเจ้านายที่สืบเชื้อสายของเจ้านายฝ่ายเหนือ อนุสาวรีย์เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ หรือวิหารน้อย

อาคารทรงยุโรปหลังคามุงกระเบื้องประดับกระจกสีที่ประตูและหน้าต่าง บรรจุพระสรีรางคารของเจ้าจอมมารดาแพ บุนนาค และพระธิดา รวมถึงเจ้าจอมมารดาโหมด บุนนาค และทายาท ตลอดจนสมาชิกราชสกุลอาภากรและราชสกุลสุริยง

อาคารทรงยุโรปหลังคามุงกระเบื้องประดับกระจกสีที่ประตูและหน้าต่างที่มีหน้าบันเป็นรูปพระอาทิตย์ตามนามของราชสกุล ‘อาภากร’ รวมถึงอนุสรณ์สถานของเจ้าจอมก๊กออถึง 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าจอมเอิม เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอี่ยม

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-14.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-17-750x500.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/06/wat-rajabopit-16-750x500.jpg)

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในรายละเอียดมากมายที่ซ่อนอยู่ในวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เนื่องจากวัดแห่งนี้ถือเป็นพระอารามหลวงที่มีเนื้อที่กว้างขวาง จึงยังมีสิ่งน่าสนใจอีกมากภายในวัดที่รอให้เราเข้าไปสัมผัส ผมเลยอยากเชิญชวนทุกคน หากใครผ่านไปผ่านมาแถวนั้น หรืออ่านบทความนี้แล้วสนใจ ลองเข้าไปสัมผัส เข้าไปละเลียดชมความงามของพระอารามหลวงแห่งนี้กันครับ รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอนครับ


เกร็ดแถมท้าย
1. ตรงข้ามกับวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามแห่งนี้คือวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม พระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ 4 ที่มีความงามและความน่าสนใจไม่แพ้กัน ถ้าได้ไปชมวัดราชบพิธฯ แล้ว ลองเดินข้ามไปชมวัดแห่งนี้ไปพร้อมๆ กันด้วยนะครับ
2. หรือถ้ายังอยากชมงานช่างสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งผสมผสานความเป็นตะวันออกกับตะวันตก แนวคิดแบบดั้งเดิมกับแนวคิดสมัยใหม่ ในกรุงเทพมหานครเองยังมีอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะวัดราชาธิวาส วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดเทพศิรินทราวาส หรือในต่างจังหวัดก็มีเช่นกัน เช่น วัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3. แต่ถ้าใครจะไปสักการะและเยี่ยมชมวัดประจำรัชกาลแบบครบทุกวัด ให้รอช่วงวันสำคัญ เช่น ปีใหม่ ขสมก. จะมีรถเมล์ให้บริการพาไหว้พระตามวัดประจำรัชกาลอยู่ครับ ลองตามข่าวกันดูครับผม
4. นอกจากวัดแล้ว อนุสาวรีย์หมูหรืออนุสาวรีย์สหชาติที่อยู่กึ่งกลางระหว่างวัดราชประดิษฐ์ฯ และวัดราชบพิธฯ บริเวณเชิงสะพานปีกุนก็น่าสนใจนะครับ เพราะสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2456 เมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง มีพระชนมายุครบ 50 พรรษา โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงร่วมกับพระยาพิพัฒน์โกษา (เซเลสติโน ซาเวียร์) และพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) สร้างขึ้น



เรื่องและภาพจาก
https://readthecloud.co/wat-rajabopit-sathitmahasimaram/



Title: Re: วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
Post by: ppsan on 20 September 2021, 22:23:07
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_view1.jpg)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_ubosot3.jpg)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๗
   
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ร.๕ โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์ โดยสร้างเลียนแบบ ๒ วัดคือ วัดพระปฐมเจดีย์กับวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๔

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_view2.jpg)

บริเวณวัดนี้เดิมเป็นวังของพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงบดินทร ไพศาลโสภณ วัดราชบพิธฯ เริ่มก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2412 (สมัยรัชกาลที่ 5) เสร็จในปี พ.ศ. 2413 แล้วนิมนต์พระสงฆ์จากวัดโสมนัสวรวิหารมาจำพรรษาอยู่ พร้อมกับอัญเชิญพระพุทธนิรันตรายมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ

โดยภายในวัดแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตสุสานหลวง

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_view3.jpg)

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_view4.png)
อาณาเขตวัด

ตัวพระอุโบสถภายนอกสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ ประกอบด้วยลวดลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์รูปเทพประนม(มือ) ภายในเป็นสถาปัตยกรรมโกธิค พระประธานคือ พระพุทธอังคีรส ภายใต้พระประธานมิได้เพียงบรรจุพระสรีรังคารของ ร.๕ เพียงเท่านั้นยังบรรจุพระสรีรังคารของพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ ด้วย

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_ubosot1.jpg)
พระอุโบสถ

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_buddha2.jpg)
พระพุทธอังคีรส  พระประธานในพระอุโบสถ

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_buddha5.jpg)

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_inubosot.jpg)
ภายในพระอุโบสถ

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_tree.jpg)

การวางตัวของพระอุโบสถกับพระวิหารเป็นแบบวัดพระปฐมเจดีย์ คือวางแนวทิศตรงกันข้าม โดยด้านข้างจะมีทางเข้าไปในรอบๆ พระเจดีย์ ข้างในพระเจดีย์มีพระพุทธรูปปางนาคปรกอยู่ด้วย ซึ่งเล่ากันมาว่าขุดพบใต้ต้นตะเคียนริมคลองหลอด ซึ่งเชื่อกันว่าคนที่อยากมีลูกมาขอพรก็จะมีลูกสมใจ ภายในพระเจดีย์ยังมีทางขึ้นไปบนฐานเจดีย์ด้วย ในอดีตสามารถมองเห็นภูเขาทองได้ด้วย

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_rama5.jpg)

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/rajabophit/rajabophit9.jpg)

ศิลปกรรมที่สำคัญในวัดได้แก่ บานประตู และหน้าต่างของพระอุโบสถที่มีลายไทยลงรักประดับมุก เป็นรูปดวงตราครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ สวยงามมาก

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_front.jpg)

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_front2.jpg)

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม คำว่าสถิตมหาสีมาราม หมายถึงการมีเขตเสมาใหญ่มากล้อมรอบทั้งวัด แทนที่จะมีแค่ เสมารอบ ๆ พระอุโบสถเท่านั้น และที่น่าสนใจอีกอย่างคือกระเบื้องเบ็ญจรงค์ ทั้งพระอุโบสถ วิหารและเจดีย์ ระเบียงแก้ว ล้วนตกแต่งด้วย ลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์ทั้งสิ้น และทุกแผ่นเขียนด้วยมือ และออกแบบรูปทรงกระเบื้องขนาดต่างๆ ลงตัวอย่างน่าอัศจรรย์ ไม่ว่าเจดีย์ ระเบียง พระอุโบสถ ซึ่งมีรูปทรงอ่อนช้อย แต่ทุกอย่างลงตัว

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_susan1.jpg)
สุสานหลวง

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_ubosot4.jpg)

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_night.jpg)


เจ้าอาวาส

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratbhopit_abbot.jpg)
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อฺมพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร


วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
ความสำคัญ - พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร , วัดประจำรัชกาลที่ ๕ และ ๗
สังกัดคณะสงฆ์ - ธรรมยุติกนิกาย
พระประธานในอุโบสถ - พระพุทธอังคีรส
เฟซบุุ๊ก - วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม Wat Rajabopit



เรื่องและภาพจาก
http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watratbhopit.php



Title: Re: วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
Post by: ppsan on 20 September 2021, 22:26:17
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d0/Wat_Ratchabopit_%28I%29.jpg/800px-Wat_Ratchabopit_%28I%29.jpg)

(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/29/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3_%2860%29.jpg/800px-thumbnail.jpg)
พระพุทธอังคีรส

(https://fastly.4sqi.net/img/general/width960/19963336_JtX4wVz4t9Qf2UHtlPJVIQXbnaa-Pl9fi9kg73IugFI.jpg)

(https://fastly.4sqi.net/img/general/width960/QfdLgefrH5E8ITcPaeWEygZkglA-7_SPlOyC7GNuXZ8.jpg)

(https://tiewgan.com/wp-content/uploads/2021/04/170885105_10220818800883376_5179457311880103268_n-1.jpg)

(https://tiewgan.com/wp-content/uploads/2021/04/171389989_10220818809203584_8303789395088626425_n.jpg)

(https://tiewgan.com/wp-content/uploads/2021/04/171182085_10220818805763498_7084005138934776512_n.jpg)

(https://tiewgan.com/wp-content/uploads/2021/04/172207895_10220818805483491_4605631612017752177_n.jpg)

(https://tiewgan.com/wp-content/uploads/2021/04/171691379_10220818807643545_776805524280505229_n.jpg)

(https://tiewgan.com/wp-content/uploads/2021/04/170760330_10220818807403539_8869920538058846559_n.jpg)
10
(https://tiewgan.com/wp-content/uploads/2021/04/171684419_10220818801163383_3137945483051460069_n.jpg)

(https://tiewgan.com/wp-content/uploads/2021/04/171739121_10220818810283611_4856404752962802220_n.jpg)

(https://tiewgan.com/wp-content/uploads/2021/04/171057660_10220818808523567_2794911232221617648_n.jpg)

(https://tiewgan.com/wp-content/uploads/2021/04/171722954_10220818808883576_2710397166463435040_n.jpg)

(https://tiewgan.com/wp-content/uploads/2021/04/171555426_10220818809883601_1921753972577098524_n.jpg)

(https://tiewgan.com/wp-content/uploads/2021/04/172459837_10220818807923552_6704684845288114544_n-1.jpg)

(https://tiewgan.com/wp-content/uploads/2021/04/170928995_10220818802923427_1195066838511294099_n.jpg)

(https://tiewgan.com/wp-content/uploads/2021/04/171401080_10220818804163458_8862452275856974288_n.jpg)

(https://tiewgan.com/wp-content/uploads/2021/04/170885105_10220818807163533_6185231127837526003_n-1.jpg)

(https://tidroam.com/wp-content/uploads/2021/06/4-DEW_8745.jpg)
20
(https://tidroam.com/wp-content/uploads/2021/06/3-DEW_8754.jpg)

(https://tidroam.com/wp-content/uploads/2021/06/2-DEW_8749.jpg)

(https://tidroam.com/wp-content/uploads/2021/06/6-DEW_8757.jpg)

(https://tidroam.com/wp-content/uploads/2021/06/5-DEW_8796.jpg)

(https://tidroam.com/wp-content/uploads/2021/06/7-DEW_8794.jpg)

(https://tidroam.com/wp-content/uploads/2021/06/22-DEW_8731.jpg)

(https://tidroam.com/wp-content/uploads/2021/06/18-DEW_8783.jpg)

(https://tidroam.com/wp-content/uploads/2021/06/10-DEW_8767.jpg)

(https://tidroam.com/wp-content/uploads/2021/06/10-DEW_8765.jpg)

(https://tidroam.com/wp-content/uploads/2021/06/8-DEW_8763.jpg)
30
(https://2.bp.blogspot.com/-beiQUhc_3B8/V3u4Z2rXVCI/AAAAAAAACV8/F-4ynUMCbCcKDKMEHUA96wZo778KQkjlgCKgB/s1600/Rajabopit0260.jpg)

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg0LzE0MjQ3MDEvaGouanBn.jpg)

(https://www.touronthai.com/gallery/photo/18000057/watrachaborpit02.jpg)

(https://www.touronthai.com/gallery/photo/18000057/watrachaborpit03.jpg)

(https://www.touronthai.com/gallery/photo/18000057/watrachaborpit04.jpg)

(https://www.touronthai.com/gallery/photo/18000057/watrachaborpit06.jpg)

(https://www.touronthai.com/gallery/photo/18000057/watrachaborpit07.jpg)

(https://www.touronthai.com/gallery/photo/18000057/watrachaborpit08.jpg)

(https://www.touronthai.com/gallery/photo/18000057/watrachaborpit09.jpg)

(https://www.touronthai.com/gallery/photo/18000057/watrachaborpit17.jpg)
40
(https://ed.edtfiles-media.com/static-cache/resize-cache/790x528/ud/images/1/145/433580/ATR_5639_Cover.jpg)

(http://122.155.197.111:8080/bkkConnect/download?&file=cover/bafff3c2-e195-40e4-8377-45d345512b031583293058319.jpg)

(https://img.kapook.com/u/2017/sutasinee/11/e7.jpg)