Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...

ภาพประทับใจ => สถานที่สวยงาม => Topic started by: ppsan on 17 September 2021, 22:27:04

Title: วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร (วัดจอมทอง)
Post by: ppsan on 17 September 2021, 22:27:04
วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร (วัดจอมทอง)


วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร (วัดจอมทอง)
วัดประจำรัชกาลที่ ๓

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เดิมชื่อวัดจอมทอง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตอนนั้นทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นมาใหม่ และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ ยศของพระองค์ในขณะนั้น ดังนั้นวัดแห่งนี้จึงได้เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3 นั่นเอง

(https://cms.dmpcdn.com/travel/2019/12/04/563b5d60-164f-11ea-a282-13af15ea56d3_original.jpg)

(https://ed.edtfiles-media.com/ud/book/content/1/152/454030/Wat_Ratcha_Orasaram_Ratchaworawiharn.jpg)

(https://ed.edtfiles-media.com/ud/book/content/1/152/454030/Wat_Ratcha_Orasaram_Ratchaworawiharn02.jpg)

(https://ed.edtfiles-media.com/ud/book/content/1/152/454030/Wat_Ratcha_Orasaram_Ratchaworawiharn03.jpg)

(https://ed.edtfiles-media.com/ud/book/content/1/152/454030/Wat_Ratcha_Orasaram_Ratchaworawiharn04.jpg)

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
ที่อยู่ : ถ.ถนนเอกชัย บางค้อ จอมทอง กรุงเทพฯ



Title: Re: วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร (วัดจอมทอง)
Post by: ppsan on 17 September 2021, 22:39:35
วัดราชโอรสาราม


วัดราชโอรสาราม
วัดที่เป็นจุดเริ่มต้นศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 และจุดเปลี่ยนสำคัญของศิลปะไทย ที่ราชทูตอังกฤษออกปากชมว่างามที่สุดในบางกอก

เรื่องและภาพ ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล

ในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถือได้ว่าเป็นยุคเรเนซองส์ของสยามหรือยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการอย่างแท้จริง เพราะเป็นยุคสมัยที่ว่างเว้นจากสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ประกอบกับพระมหากษัตริย์ทรงใฝ่ในการพระศาสนา ทำให้เกิดการสร้างซ่อมวัดขึ้นมากมายทั้งโดยพระมหากษัตริย์และขุนนาง แต่เนื่องจากการสร้างซ่อมเกิดขึ้นอย่างมากมาย การสร้างแบบไทยประเพณีเดิมซึ่งใช้เวลานานย่อมไม่ทันการและยังไม่คงทนถาวรเพียงพอ ประกอบกับการค้าขายกับชาวจีนที่เฟื่องฟูขึ้น ทำให้เกิดการสร้างงานศิลปแบบกรรมแนวใหม่ขึ้นมา นั่นก็คือ งานศิลปกรรมแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีการนำศิลปะจีนเข้ามาผสมผสาน โดยวัดที่น่าจะสร้างภายใต้แนวคิดนี้เป็นแห่งแรกๆ นั่นก็คือ ‘วัดราชโอรสาราม’ วัดประจำรัชกาลที่ 3 นั่นเอง

วัดราชโอรสารามนี้เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า ‘วัดจอมทอง’ แต่บ้างก็เรียก ‘วัดเจ้าทอง’ หรือ ‘วัดกองทอง’ ในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อครั้งรัชกาลที่ 3 ขณะทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงเป็นจอมทัพไปตั้งทัพสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ พระองค์ทรงนำทัพผ่านและประทับแรมที่วัดนี้ พร้อมกับทำพิธีเบิกโขลนทวารที่หน้าวัดนี้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่กองทัพ หลังจากทรงเลิกทัพกลับพระนครได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งวัดโดยเสด็จประทับคุมงานและตรวจการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง เมื่อแล้วเสร็จได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชทานนามใหม่ว่า ‘วัดราชโอรส’ อันหมายถึงวัดที่พระราชโอรสทรงสถาปนา

วัดราชโอรสในเวลานั้นงดงามจนเป็นที่เลื่องลือ แม้แต่นายมีมหาดเล็ก บุตรพระโหราธิบดี ผู้แต่งเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติทูลเกล้าฯ ก็ยังพรรณนาไว้ว่า

วัดไหนๆ ก็ไม่ลือระบือยศ
เหมือนวัดราชโอรสอันสดใส
เป็นวัดเดิมเริ่มสร้างไม่อย่างใคร
ล้วนอย่างใหม่ทรงคิดประดิษฐ์ทำ
ทรงสร้างด้วยพระมหาวิริยาธึก
โอฬารึกพร้อมพริ้งทุกสิ่งขำ
ล้วนเกลี้ยงเกลาเพราเพริศดูเลิศล้ำ
ฟังข่าวคำลือสุดอยุธยา

ไม่เพียงแต่ชาวสยามเท่านั้น แม้แต่ชาวต่างชาติเองก็ชื่นชมในความงามของวัดแห่งนี้ เช่น เซอร์จอห์น ครอว์เฟิร์ด หรือที่ในเอกสารไทยเรียกว่า เสอร์ยอนกะละฟัด ราชทูตอังกฤษที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้เขียนบันทึกยกย่องความงามของวัดนี้ว่า

“เป็นวัดที่สร้างขึ้นได้อย่างงดงามที่สุดของบางกอก”

สิ่งน่าสนใจอย่างแรกของวัดนี้คือแผนผังของวัด เพราะเป็นการนำแผนผังแบบฮวงจุ้ยจีนเข้ามาใช้เป็นครั้งแรก แผนผังแบบฮวงจุ้ยนั้นบ้านจะหันหน้าไปยังน้ำโดยมีภูเขาใหญ่อยู่ข้างหลัง ขนาบสองข้างด้วยเนินเขา ทีนี้พอเรามาดูแผนผังของวัดราชโอรสกัน วัดแห่งนี้มีพระอุโบสถเป็นอาคารประธานของวัด หันหน้าไปทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นคลอง ด้านหลังเป็นวิหารพระนอนขนาดใหญ่ ขนาบสองข้างด้วยวิหารพระนั่งและศาลการเปรียญ ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่าน่าจะนำไอเดียของฮวงจุ้ยมาประยุกต์ใช้ที่นี่ ซึ่งแผนผังแบบนี้ถูกใช้อีกแค่วัดเดียว นั่นก็คือ วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-27.png)

สิ่งแรกที่เราจะพบเห็นเมื่อมาถึงวัดราชโอรสคือซุ้มประตูแบบจีน ที่แม้จะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นแทนซุ้มประตูแบบเดิมแต่ก็ทำให้ดูเข้ากับวัดที่ออกสไตล์จีนๆ ได้ดี โดยมีเจดีย์โบราณทรงถะแบบจีนขนาบ 2 ข้าง อย่างไรก็ดี ยังมีการใช้เจดีย์ทรงปรางค์ที่มุมกำแพงอยู่ เรียกได้ว่าเป็นการผสมผสานขนบแบบใหม่เข้ากับขนบแบบเก่าได้อย่างลงตัว

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-14.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-5.jpg)

อาคารประธานของวัดก็คือพระอุโบสถซึ่งเป็นอาคารแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 หรือแบบนอกอย่าง (นอกอย่างในที่นี้หมายถึงนอกแบบไทยประเพณีดั้งเดิม) หน้าบันก่ออิฐแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นบนประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นสัญลักษณ์แห่งความมงคล ไม่ว่าจะเป็นแจกัน ช่อดอกไม้ หงส์คู่ เมฆ ผีเสื้อ

ส่วนชั้นล่างเป็นภาพทิวทัศน์ ประกอบด้วยบ้านมีคนอยู่ ภูเขา ต้นไม้ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีการใช้ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ มีเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่รองรับน้ำหนักของหลังคาซึ่งมีความคงทนแข็งแรง ทำให้พระอุโบสถและพระวิหารในรัชกาลนี้มีขนาดใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ลองนึกถึงพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามก็ได้ครับว่าใหญ่ขนาดไหน โดยล้อมรอบพระอุโบสถคือซุ้มเสมาทรงเกี้ยวซึ่งเป็นอีกหนึ่งประดิษฐกรรมใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 เช่นกัน เพราะก่อนนี้ใบเสมาจะตั้งบนแท่นอยู่เสมอ

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-11.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-25.jpg)

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก่อนที่จะเข้าไปภายในพระอุโบสถก็คือทวารบาล ตามปกติแล้วทวารบาลหากไม่แกะสลักหรือวาดบนบานประตู ก็มักจะเป็นประติมากรรมหินตั้งเอาไว้ แต่ที่นี่ตุ๊กตากระเบื้องเคลือบขนาดใหญ่ 2 ตัวตั้งเอาไว้แทน ส่วนบานประตูด้านในวาดเป็นเซี่ยวกางหรือทวารบาลจีนโดยที่ด้านนอกเป็นบานประตูประดับมุกรูปมังกรดั้นเมฆ เรียกได้ว่าเป็นการใช้ทวารบาลซ้อนทวารบาลเลยทีเดียว

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-2.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-15.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-6.jpg)

ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธอนันตคุณอดุลยญาณบพิตร พระพุทธรูปปางสมาธิประทับภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุยเดช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ ให้ยกขึ้นประดิษฐานเหนือพระประธานเมื่อ พ.ศ. 2504 เนื่องจากที่บริเวณผ้าทิพย์ของพระพุทธรูปองค์นี้มีรูปปราสาทอันเป็นตราแผ่นดินรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและศิลาจารึกดวงพระชันษาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนำมาบรรจุเมื่อ พ.ศ. 2397 พร้อมกับการถวายพระนามให้พระพุทธรูปองค์นี้

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-17.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-16.jpg)

นอกเหนือจากพระประธาน ผนังภายในของพระอุโบสถหลังนี้ยังตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังลายเครื่องตั้งเครื่องมงคลอย่างจีน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นในรัชกาลนี้ จากที่แต่ก่อนจะต้องเขียนภาพทศชาติชาดกบ้าง พุทธประวัติบ้าง จักรวาลบ้าง โดยเหตุที่มีการนำภาพเครื่องตั้งแบบจีนมาเขียนบนฝาผนังวัดนั้นน่าจะมาจากการที่ชาวจีนนิยมประดับเครื่องตั้งไว้ในบ้านพักอาศัยเพื่อความมีโชคลาภและมีการเขียนตามศาลเจ้าจีน วัดจีน อยู่ก่อนแล้ว

เครื่องตั้งเหล่านี้เขียนอยู่ในช่องที่มีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ดูคล้ายกับตู้แบบจีนเลยครับ ภาพลักษณะนี้บางครั้งก็วาดบนพื้นที่เหนือช่องประตูหน้าต่างแบบวัดราชโอรส วัดนาคปรก บางครั้งก็วาดบนผนังระหว่างประตูหน้าต่าง เช่น วัดภคินีนาถ วัดสามพระยา แต่ที่นี่บริเวณผนังระหว่างประตูหน้าต่างจะวาดเป็นภาพตำหนักจีนแทน บางช่องมีภาพเทพเจ้าจีนด้วย เช่น นาจา แม้แต่เจ้าแม่กวนอิมก็มีนะครับ

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-18.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-1.jpg)

ชมพระอุโบสถเสร็จอย่างเพิ่งเดินเลยไปยังพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ อยากให้ลองแวะดูรอบๆ ก่อนนะครับ เพราะมีทั้งพระแท่นที่ประทับของล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งเสด็จฯ มาทรงคุมงานบูรณปฏิสังขณ์วัดแห่งนี้ เจดีย์ทรงถะจีนแปดเหลี่ยม รวมไปถึงกำแพงด้านนอกของระเบียงคดที่มีแผ่นจารึกตำรายาคล้ายกับที่พบที่วัดโพธิ์ แม้จะไม่เท่ากับวัดโพธิ์แต่ก็มีมากพอสมควรเลย

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-26.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-12.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-3.jpg)

เมื่อผ่านแนวระเบียงคดมาโดยประตูที่เหมือนจะเป็นประตูทรงกลม (แต่จริงๆ เป็นประตูสี่เหลี่ยมแต่ทำกรอบทรงกลม) เราก็จะเข้าสู่พื้นที่ของวิหารพระพุทธไสยาสน์ วิหารหลังนี้มีแนวระเบียงคดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจากหลากหลายสมัยที่รวบรวมลงมาจากหัวเมืองเหนือ (หัวเมืองเหนือในทีนี้หมายถึงเมืองที่อยู่เหนือกรุงเทพฯ) ที่อัญเชิญลงมาตั้งแต่ต้นกรุง ล้อมรอบชั้นที่ 2 คือแถวเจดีย์จำนวน 32 องค์ ซึ่งเมื่อรวมกับพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ก็จะกลายเป็นตัวเลข 33 ทันที ตัวเลข 33 นี้ มีจำนวนเท่ากับของเทวดาทั้งหมด 33 องค์ รวมพระอินทร์ด้วย ดังนั้น พื้นที่บริเวณนี้จึงเป็นเหมือนการจำลองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในอีกวิธีหนึ่ง

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-7.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-13.jpg)

พระวิหารพระพุทธไสยาสน์มีลักษณะภายนอกคล้ายกับพระอุโบสถ แต่หน้าบันมีการประดับน้อยกว่าพระอุโบสถและไม่ได้ใช้กระเบื้องเคลือบแต่ใช้ปูนปั้นแล้วทาสีหรือเคลือบในเวลาต่อมาแทน โดยมีการทำรูปไก่ในกรอบวงกลมกลางหน้าบันเข้าไปด้วย

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-10.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-21.jpg)

ภายในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่นามพระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์ ชินสากยบรมสมเด็จสรรเพชญพุทธบพิตร ชื่ออาจจะยาวสักหน่อย แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับการที่พระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีการทำลวดลายมงคล 108 ประการที่พระบาทแบบเดียวกับพระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์ แต่วัดราชโอรสใช้เทคนิคลายรดน้ำ ส่วนวัดโพธิ์ใช้เทคนิคฝังมุก บานหน้าต่างของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ทำเป็นรูปไม้ดัดและนก ซึ่งเป็นการวาดภาพบนหน้าต่างแนวใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำที่นี่เป็นที่แรกๆ เช่นกัน

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-4.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-24.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-22.jpg)

ขนาบ 2 ข้างของพระอุโบสถคือ วิหารพระยืน และศาลาการเปรียญหรือวิหารพระนั่ง โดยวิหารพระยืนจะอยู่ฝั่งซ้ายของพระอุโบสถ ส่วนวิหารพระนั่งอยู่ฝั่งขวา แม้ดูภายนอกวิหารพระยืนจะหน้าตาเหมือนอาคารที่ได้อิทธิพลจีนสมัยรัชกาลที่ 3 แต่ข้างในกลับเต็มไปด้วยพระพุทธรูปสมัยอยุธยา เริ่มจากหลวงพ่ออู่ทอง พระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่สมัยอยุธยาตอนกลางอันเป็นที่มาของชื่อวิหารพระยืนที่เราจะเห็นเมื่อเข้าไปภายในวิหารและเมื่อเดินทะลุประตูเข้าไปด้านหลังหลวงพ่ออู่ทองก็จะพบกลุ่มพระพุทธรูปสมัยอยุธยาหลายองค์หลากยุค โดยมีองค์ใหญ่สุดตรงกลางเป็นองค์ประธาน ส่วนสาเหตุที่ภายในวิหารพระยืนเต็มไปด้วยพระพุทธรูปที่เก่าแก่ว่าสมัยรัชกาลที่ 3 นั้นก็เพราะว่าอาคารหลังนี้เคยเป็นอุโบสถของวัดจอมทอง วัดดั้งเดิมสมัยอยุธยาก่อนจะมาเป็นวัดราชโอรสนั่นเอง อาจจะพูดได้ว่า นี่คือส่วนที่เก่าที่สุดของวัดราชโอรสในปัจจุบันนั่นเอง

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-19.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-20.jpg)

ในขณะที่ภายในศาลาการเปรียญก็น่าสนใจไม่แพ้กัน หากไม่นับรอยพระพุทธบาทและลวดลายเครื่องตั้งแบบเดียวกับจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถบนหน้าต่างแล้ว ก็ยังมีพระพุทธชัยสิทธธรรมนาถ พระพุทธรูปประธานของอาคารหลังนี้แม้จะดูเหมือนพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยแบบที่หาได้ทั่วไป แต่พระหัตถ์ซ้ายแทนที่จะวางไว้ตรงหน้าตักกลับกำมือและถือตาลปัตรแทน พระพุทธรูปเช่นนี้เรียกว่า พระชัยวัฒน์ ซึ่งตามปกติจะเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก แต่การสร้างเป็นพระ

พุทธรูปขนาดใหญ่เช่นนี้เป็นสิ่งที่หาชมได้ยาก มีเพียงไม่กี่วัดในประเทศไทยที่มีพระชัยวัฒน์เช่นนี้อยู่เป็นประธานภายในอาคาร ที่สำคัญ ตาลปัตรที่คล้ายจะบังพระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้มีช่องตรงกลางที่ทำให้พอจะสามารถมองเห็นพระพักตร์ของพระปฏิมาได้ด้วย

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-8.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-9.jpg)

(https://readthecloud.co/wp-content/uploads/2019/03/travel-wat-ratchaorasaram-23.jpg)

เราจะเห็นว่าหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นที่วัดราชโอรสารามนี้ตั้งแต่ช่วงปลายรัชกาลที่ 2 แล้ว หลังจากการปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้แล้วเสร็จและเคลื่อนเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 3 รูปแบบศิลปกรรมเช่นนี้ก็ปรากฏขึ้นอย่างมากมายทั้งฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี ในเมืองหลวงและต่างจังหวัด และยังส่งอิทธิพลให้การงานศิลปกรรมในยุคสมัยต่อๆ มาในหลายๆ ด้าน เรียกได้ว่าที่นี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญจุดหนึ่งในศิลปะไทยเลยทีเดียว ดังนั้น ถ้าใครไปชมวัดไหนแล้วดูมีความเป็นจีนผสมผสานอยู่มาก ก็เป็นไปได้ว่าวัดเหล่านั้นสร้างขึ้นในยุคสมัยนี้ที่งานศิลปะเช่นนี้เฟื่องฟูอยู่นั่นเอง

.....
เกร็ดแถมท้าย
1. วัดราชโอรสารามตั้งอยู่ในเขตจอมทอง ลึกและห่างจากวัดประจำรัชกาลส่วนใหญ่ ดังนั้น ถ้าคุณคิดจะเที่ยววัดประจำรัชกาลให้ครบในวันเดียวคุณก็จำเป็นจะต้องมีรถส่วนตัว หรือไม่ก็รอช่วงเทศกาลพิเศษหรือวันสำคัญที่จะมีรถเมล์ไหว้พระนะครับ
2. หากคุณใช้รถส่วนตัวแล้วขับรถมาที่วัดแล้วหาที่จอดไม่ได้ คุณสามารถนำรถไปจอดที่วัดหนังแล้วเดินข้ามสะพานมายังวัดราชโอรสได้เลย โดยสะพานจะเดินผ่านด้านหลังของวิหารพระนั่งครับ
3. แต่ถ้าคุณมาด้วยขนส่งสาธารณะ คุณสามารถมาได้ทั้งรถเมล์ รถสองแถว หรือรถกระป๊อเล็ก โดยบางคันจะผ่านฝั่งด้านหน้าวัด ส่วนบางคนจะผ่านไปทางวัดนางนอง วัดที่อยู่ตรงข้ามกับวัดหนัง ซึ่งคุณสามารถเดินข้ามสะพานมายังวัดราชโอรสได้ครับ


เรื่องจาก
https://readthecloud.co/wat-ratchaorasaram/



Title: Re: วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร (วัดจอมทอง)
Post by: ppsan on 17 September 2021, 22:48:08
เดินยลความงาม 'วัดราชโอรสฯ' เสน่ห์ล้น ต้นแบบวัดไทยสไตล์จีน


เดินยลความงาม 'วัดราชโอรสฯ' เสน่ห์ล้น ต้นแบบวัดไทยสไตล์จีน
เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2560 12:55   โดย: MGR Online


(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385401.JPEG)
พระอุโบสถ ตกแต่งหน้าบันด้วยกระเบื้องเคลือบสวยงาม

ฉันได้ยินคำขวัญของเขตจอมทองที่ว่า

“หลวงปู่เฒ่าวัดหนัง ตลาดดังวัดไทร หวานชื่นใจส้มบางมด ราชโอรสวัดงาม” แล้วรู้สึกสะดุดหูกับท่อน “ราชโอรสวัดงาม...” ขึ้นมา เลยนึกอยากลองไปยลโฉมวัดงามของเขตจอมทองด้วยตาของตัวเอง

”วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร" ตั้งอยู่ริมคลองสนามไชย ฝั่งตะวันตก (ฝั่งธนบุรี) และติดคลองบางหว้า ทางด้านทิศเหนือของวัด ตั้งอยู่ที่เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3 สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมมีชื่อว่า "วัดจอมทอง" ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 2 ของกรุงรัตนโกสินทร์ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระองค์ได้ทรงเป็นแม่ทัพคุมทหารไปสกัดทัพพม่าที่เมืองกาญจนบุรีโดยทางเรือ

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385402.JPEG)
บริเวณวัดติดกับคลองด่าน ดูร่มรื่น เย็นสบาย

เส้นทางเดินทัพในวันแรกนั้นเสด็จผ่านคลองบางกอกใหญ่ และคลองด่าน และทัพของพระองค์ได้หยุดประทับแรมที่หน้าวัดจอมทอง และได้ทรงประกอบพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม เจ้าอาวาสวัดจอมทองในขณะนั้นได้ถวายคำพยากรณ์แด่พระองค์ว่ากิจของพระองค์นั้นจะประสบความสำเร็จและจะเสด็จกลับมาโดยสวัสดิภาพ พระองค์จึงตรัสว่า หากเป็นเช่นนั้นจริงจะกลับมาสร้างวัดถวายให้ใหม่

ดังนั้นหลังจากเลิกทัพเสด็จกลับมาพระนครโดยปลอดภัยแล้ว พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้นใหม่ทั้งวัดตามที่ตรัสไว้ และต่อมาเมื่อปฏิสังขรณ์วัดเสร็จ พระองค์ก็ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงแด่พระราชบิดา รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดให้ใหม่ว่า “วัดราชโอรส” อย่างในปัจจุบัน ซึ่งหมายถึง "วัดที่พระราชโอรสทรงสถาปนา" นั่นเอง

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385403.JPEG)
ซุ้มประตูให้บรรยากาศแบบจีน

จะเห็นได้ว่าหลายๆ วัดในกรุงเทพฯ ที่มีส่วนผสมของความเป็นศิลปะจีนสอดแทรกอยู่ ไม่ว่าจะเป็นวัดกัลยาณมิตร วัดเทพธิดาราม วัดพิชัยญาติ ฯลฯ ซึ่งรูปแบบของวัดที่เป็นเช่นนี้ถือเป็น "พระราชนิยม" ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ที่ทรงโปรดสไตล์แบบจีนและนิยมนำมาผสมผสานกับวัดไทยเสมอๆ ดังนั้นหากเห็นวัดที่มีกลิ่นอายแบบจีนๆ เมื่อไร ก็เชื่อได้เลยว่าย่อมต้องเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งกับรัชกาลที่ 3 แน่นอน

"วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร" แห่งนี้ถือเป็นต้นแบบของวัดไทยสไตล์จีน รัชกาลที่ 3 ทรงนำเอาศิลปะแบบจีนมาประยุกต์ให้เข้ากับวัดไทย โดยพระอุโบสถและพระวิหารต่างๆ จะไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าชำรุดเสียหายได้ง่ายและเปลืองเวลาในการทำ หน้าบันจึงเป็นแบบเรียบๆ มีการประดับหน้าบันด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นลวดลายดอกไม้ หรือสัตว์ต่างๆ เช่นหงส์ หรือมังกรตามแบบจีน สถาปัตยกรรมเช่นนี้ถือเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของที่วัดเลย

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385404.JPEG)
ศิลปะปูนปั้นแบบจีน บริเวณทางเข้าพระอุโบสถ

คราวนี้มาชมสิ่งต่างๆ ภายในวัดกันดีกว่า เริ่มต้นกันที่ “พระอุโบสถ” ซึ่งตั้งหันหน้าไปทางคลองด่าน มองเห็นการผสมผสานระหว่างศิลปะจีนและไทยได้ตั้งแต่ซุ้มประตูทางเข้าสู่ตัวพระอุโบสถซึ่งเป็นซุ้มประตูแบบจีน มีสิงโตหินยืนเฝ้าอยู่ด้านหน้าทางเข้าทั้งสองด้าน ลอดซุ้มประตูเข้าไปมองเห็นหน้าบันของพระอุโบสถเป็นลักษณะตามแบบพระราชนิยม ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นรูปแจกันดอกเบญจมาศ ล้อมรอบด้วยมังกร หงส์ และนกยูง ซึ่งเป็นสัตว์มงคลของจีน

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385405.JPEG)
ทวารบาลทำจากกระเบื้องเคลือบอยู่หน้าพระอุโบสถ

และพอเดินเข้าไปถึงประตูพระอุโบสถก็ต้องตกใจเมื่อเจอ "ทวารบาล" หน้าตาถมึงทึงยืนเฝ้าอยู่หน้าประตูที่ประดับมุกเป็นลวดลายมังกรดั้นเมฆ ส่วนทวารบาลนั้นทำด้วยกระเบื้องเคลือบขนาดใหญ่กว่าคนจริง ดูน่าเกรงขามไม่น้อยพอเข้ามาภายในพระอุโบสถก็ยังมีกลิ่นอายของความเป็นจีนอยู่ตรงภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่เขียนเป็นลายเครื่องบูชาและสิ่งมงคลแบบจีน

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385406.JPEG)
พระประธานในพระอุโบสถ

ส่วนพระประธานในอุโบสถนั้นยังคงเป็นพระพุทธรูปแบบไทยแท้ปางสมาธิ มีพระนามว่า "พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร" ซึ่งที่ใต้ฐานพระพุทธรูปก็มีพระบรมราชสรีรังคารของรัชกาลที่ 3 บรรจุไว้ด้วย และในบริเวณด้านข้างพระอุโบสถนั้นมี “พระแท่นที่ประทับ” อยู่ใต้ต้นพิกุล ซึ่งพระองค์ใช้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จมาทรงคุมงานและตรวจการก่อสร้างนั่นเอง

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385407.JPEG)
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่เขียนเป็นลายเครื่องบูชาและสิ่งมงคลแบบจีน

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385408.JPEG)
แท่นประทับใต้ต้นพิกุลของรัชกาลที่ 3

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385409.JPEG)
ประตูกลมแบบจีน เชื่อกันว่าจะนำสิ่งดีงามให้แก่ผู้ที่ผ่านประตูนี้เข้ามา

จากพระอุโบสถ คราวนี้ไปดูพระวิหารต่างๆ ของวัดกันต่อ ซึ่งความน่าสนใจก็คือที่วัดราชโอรสฯ นี้มีทั้งพระวิหารพระนั่ง พระวิหารพระนอน และพระวิหารพระยืน ครบทั้งสามอิริยาบถเลยทีเดียว สำหรับ “พระวิหารพระนอน” หรือ “พระวิหารพระพุทธไสยาสน์” นั้น ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ ตัววิหารมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนเช่นเดียวกัน ประตูทางเข้าสู่พระวิหารนั้นเป็นประตูกลมแบบจีน เชื่อกันว่าจะนำสิ่งดีงามให้แก่ผู้ที่ผ่านประตูนี้เข้ามา

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385410.JPEG)
พระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์ ชินศากยบรมสมเด็จ สรรเพชญพุทธบพิตร

สำหรับพระประธานในพระวิหารนั้นก็คือ "พระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์ ชินศากยบรมสมเด็จ สรรเพชญพุทธบพิตร" วัดความยาวจากพระบาทถึงเปลวพระรัศมีได้ 20 เมตร สูง 6 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นพระนอนที่องค์ใหญ่ไม่น้อย นอกจากนั้นบริเวณรอบลานพระวิหารก็ยังมีหมู่พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองประดิษฐานอยู่ 32 องค์ด้วยกัน และที่ผนังด้านนอกพระระเบียงของพระวิหารพระนอนก็ยังมีแผ่นหินอ่อนจารึกตำรายาแผนโบราณและตำราหมอนวด ติดไว้รอบพระระเบียงทั้งสี่ด้าน จำนวน 92 แผ่น คล้ายกับที่วัดโพธิ์

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385411.JPEG)
หมู่พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองประดิษฐานรอบบริเวณพระวิหารพระนอน

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385412.JPEG)
พระวิหารพระยืน

ส่วน “พระวิหารพระยืน” นั้น ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของพระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนอีกเช่นเคย ภายในพระวิหารหลังนี้แบ่งออกเป็นสองห้องคือห้องตอนหน้าและตอนหลัง ตอนหน้านั้นประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ ส่วนตอนหลังเป็นที่ประดิษฐานหมู่พระพุทธรูปหลายปางหลายขนาด มีพระประธานองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะแบบอยุธยา

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385414.JPEG)
พระยืนปางห้ามญาติในพระวิหารพระยืน

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385413.JPEG)
ตกแต่งรอบบริเวณด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีน

สำหรับพระวิหารหลังนี้สันนิษฐานว่าเคยเป็นพระอุโบสถเก่าของวัดมาก่อน ส่วนพระพุทธรูปยืนนั้นก็คงจะเป็นพระประธานในพระอุโบสถหลังเดิมด้วยเช่นกัน ด้านหน้าพระวิหารมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสององค์ใหญ่ ซึ่งเป็นเจดีย์ที่บรรจุอัฐิของราชสกุลลดาวัลย์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี (พระองค์เจ้าชายลดาวัลย์) พระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 นั่นเอง

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385417.JPEG)
ถะ หรือเจดีย์หินแบบจีน บริเวณด้านหน้าพระวิหารพระนั่ง

มาถึง “พระวิหารพระนั่ง” หรือ “ศาลาการเปรียญ” ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านขวาของพระอุโบสถ เป็นอาคารที่มีลักษณะผสมทางศิลปกรรมระหว่างไทยและจีนเช่นเดียวกัน บริเวณด้านหน้าพระวิหารก็จะมี "ถะ" หรือเจดีย์หินแบบจีนองค์เล็กๆ ตั้งอยู่ ซึ่งเป็นที่บรรจุอัฐิของอดีตเจ้าอาวาสวัดราชโอรสฯ สำหรับพระประธานในพระวิหารนี้เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางประทานพระธรรมเทศนา ถือตาลปัตร ดังนั้นหากนั่งกราบพระพุทธรูปทางด้านหน้าก็จะมองไม่เห็นพระพักตร์ของพระพุทธรูป หากอยากมองหน้าท่านก็ต้องเขยิบมาข้างๆ จึงจะเห็น นอกจากนั้นภายในพระวิหารยังมี "รอยพระพุทธบาทจำลอง" ประดิษฐานไว้ให้สักการะอีกด้วย

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385415.JPEG)
พระพุทธรูปปางแสดงธรรมเทศนาในพระวิหารพระนั่ง

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385416.JPEG)
รอยพระพุทธบาทจำลอง

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006385418.JPEG)
ศาลาริมน้ำ

บริเวณริมคลองด่านยังมีศาลาให้นั่งพักผ่อนริมน้ำ และยังเป็นจุดให้อาหารปลาอีกด้วย ด้วยศิลปกรรมที่งดงามแปลกตา แต่ก็ยังคงครบถ้วนด้วยความเป็นวัดแห่งพระพุทธศาสนา ก็ทำให้วัดนี้เป็นอีกหนึ่งวัดที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น เป็นที่น่าภูมิใจของชาวจอมทอง


.....
วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ 258 ซอยเอกชัย 4 ถนนเอกชัย แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 มีรถประจำทางสาย 43, 120, 167 ผ่าน
สอบถามรายละเอียดโทร.0-2415-2286, 0-2893-7274


.....
เรื่องจาก prinsiri.com/blog
https://mgronline.com/travel/detail/9600000062036
Title: Re: วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร (วัดจอมทอง)
Post by: ppsan on 17 September 2021, 22:56:49
วัดราชโอรสาราม สถาปัตยกรรมไทยในสไตล์จีน ความงดงามที่ยังคงอยู่เหนือกาลเวลา


วัดราชโอรสาราม สถาปัตยกรรมไทยในสไตล์จีน ความงดงามที่ยังคงอยู่เหนือกาลเวลา
LIFESTYLE IN THE CITY PostJune 4, 2019

(https://www.prinsiri.com/upload/blog/61115cc17b75b769b_WatRatcha_Preview.jpg)

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หรือวัดจอมทองในอดีต เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3 ถูกสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์ โดยการผสมผสานศิลปะแบบจีนเข้ากับการสร้างวัดแบบไทย เพราะในยุคนั้นการค้าขายกับชาวจีนกำลังเฟื่องฟู ศิลปะและวิวัฒนาการต่างๆ ของจีนเริ่มเป็นที่นิยมในสังคมไทย ทำให้เกิดเป็นงานศิลปกรรมแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3

(https://www.prinsiri.com/uploads/blog/WatRatcha/WatRatcha_01.jpg)

(https://www.prinsiri.com/uploads/blog/WatRatcha/WatRatcha_02.jpg)

เริ่มต้นชมความความงามของวัดราชโอรสฯ ที่ “หอระฆัง” สไตล์จีนสีขาวล้วน ตกแต่งด้วยภาพวาดจิตรกรรมลายเส้นแบบจีนที่เล่าเรื่องราวของไซอิ๋ว บรรยากาศโดยรอบที่มีต้นไม้ใหญ่ เสียงสายลมและแสงแดดที่ตกกระทบลงบนภาพวาดให้ความรู้สึกที่สงบร่มเย็น

(https://www.prinsiri.com/uploads/blog/WatRatcha/WatRatcha_03.jpg)

(https://www.prinsiri.com/uploads/blog/WatRatcha/WatRatcha_04.jpg)

ถัดจากหอระฆังจะพบกับ “อาคารศาลาการเปรียญ” โครงหลังคาในแบบจีนแท้ ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นแบบจีน ผสานรูปแบบอาคารในทรงวัดแบบไทย ภายในอาคารก็ยังคงรูปแบบการตกแต่งแบบจิตรกรรมฝาผนังไทย เป็นการผสมผสานความแตกต่างที่ลงตัว

(https://www.prinsiri.com/uploads/blog/WatRatcha/WatRatcha_05.jpg)

(https://www.prinsiri.com/uploads/blog/WatRatcha/WatRatcha_06.jpg)

(https://www.prinsiri.com/uploads/blog/WatRatcha/WatRatcha_07.jpg)

(https://www.prinsiri.com/uploads/blog/WatRatcha/WatRatcha_08.jpg)

มาถึงไฮไลท์ของวัดราชโอรสฯ นั่นคือ “พระอุโบสถ” ในจุดนี้จะเห็นได้ชัดเจนอย่างมากถึงการนำศิลปะแบบจีนมาใช้ในการสร้างวัด ทั้งการวางผังตัวพระอุโบสถ และการสร้างกำแพงล้อมรอบ และมีการสร้างอาคารแบบจีนหลังเล็กล้อมทั้ง 4 ด้านของพระอุโบสถ ทางเข้าพระอุโบสถเป็นประตูแบบจีน มีเจดีย์จีนและรูปปั้นสิงโตประดับอยู่ แต่ยังคงไม่ลืมความเป็นไทยด้วยการวางเจดีย์ทรงไทยขนาบข้าง และหน้าบันพระอุโบสถเป็นกระเบื้องเคลือบสีแบบไทย รวมไปถึงการใช้ทวารบาลที่ตั้งหน้าประตูทางเข้าพระอุโบสถเป็นตุ๊กตาเซรามิกที่เป็นการปั้นแบบจีน ทั้งหมดนี้คือศิลปะประยุกต์ไทยจีนที่เรียกได้ว่าเป็นยุคสมัยแห่งการวิวัฒนาการโดยแท้จริง หรือหากจะเปรียบเทียบก็คงจะเรียกว่า “ยุคเรอเนซองส์แห่งศิลปะไทย” เลยก็ว่าได้

(https://www.prinsiri.com/uploads/blog/WatRatcha/WatRatcha_09.jpg)

(https://www.prinsiri.com/uploads/blog/WatRatcha/WatRatcha_10.jpg)

(https://www.prinsiri.com/uploads/blog/WatRatcha/WatRatcha_11.jpg)

(https://www.prinsiri.com/uploads/blog/WatRatcha/WatRatcha_12.jpg)

นอกจากความงดงามในด้านของสถาปัตยกรรม ภายในวัดราชโอรสฯ ยังคงมีธรรมชาติที่ร่มรื่น ต้นไม้ดอกไม้สวยงาม มีลมพัดเย็นสบายทั้งวันเพราะทิศเหนืออยู่ติดริมคลองบางหว้า และยังได้สัมผัสวิถีชีวิตชุมชนริมคลองดั้งเดิมในย่านจอมทองที่หาดูได้ยากในยุคปัจจุบัน วัดราชโอรสฯ ตั้งอยู่ในซอยเอกชัย 4 เดินทางจากโครงการปริญญ์ สาทร-ราชพฤกษ์ ใช้เวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น



.....
เรื่องจาก prinsiri.com/blog
https://www.prinsiri.com/th/blog/life-style/20190425161833-วัดราชโอรสาราม-สถาปัตยกรรมไทยในสไตล์จีน--ความงดงามที่ยังคงอยู่เหนือกาลเวลา



Title: Re: วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร (วัดจอมทอง)
Post by: ppsan on 17 September 2021, 23:02:55
วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร

(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/03/Wat_Ratchaorotsaram_%28I%29.jpg/1280px-Wat_Ratchaorotsaram_%28I%29.jpg)

(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/42/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3_.jpg/1024px-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3_.jpg)
พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร พระอุโบสถ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/91/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3_%2816%29.JPG/1024px-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3_%2816%29.JPG)
พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร พระประธานในพระอุโบสถ

(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4d/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3_%287%29.JPG/1024px-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3_%287%29.JPG)
พระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์ ชินสากยบรมสมเด็จ สรรเพชญพุทธบพิตร

(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/dc/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3_%2823%29.JPG/800px-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3_%2823%29.JPG)
พระพุทธชัยสิทธิธรรมนาท ในศาลาการเปรียญ

(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/7d/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3_%285%29.JPG/800px-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3_%285%29.JPG)
เจดีย์ 32 องค์รายรอบพระวิหาร

(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/60/Wat_Ratcha_Orasaram_%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1_2019_20.jpg/1024px-Wat_Ratcha_Orasaram_%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1_2019_20.jpg)
พระอุโบสถ

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratchaorasaram_entrance.jpg)
วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratchaorasaram_ubosot.jpg)
พระอุโบสถ

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratchaorasaram_buddha.jpg)
พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratchaorasaram_tree.jpg)

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratchaorasaram_sathup.jpg)

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratchaorasaram_wihan.jpg)

(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watratchaorasaram_sala.jpg)

(http://img.painaidii.com/images/20160721_16_1469075796_591453.jpg)
พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

(http://img.painaidii.com/images/20160721_16_1469075796_386809.jpg)
บรรยากาศยามเย็นแสนเงียบสงบ...

(http://img.painaidii.com/images/20150415_62_1429082102_338623.jpg)

(http://img.painaidii.com/images/20150415_62_1429082101_782663.jpg)

(http://img.painaidii.com/images/20150415_62_1429082101_626490.jpg)

(http://img.painaidii.com/images/20150415_62_1429082101_439252.jpg)

(http://img.painaidii.com/images/20150415_62_1429082101_152826.jpg)

(http://img.painaidii.com/images/20150415_62_1429082100_963895.jpg)

(http://img.painaidii.com/images/20150415_62_1429082100_963895.jpg)

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/556000002710001.JPEG)

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/556000002710002.JPEG)

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/556000002710003.JPEG)

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/556000002710004.JPEG)

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/556000002710005.JPEG)

(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/556000002710006.JPEG)

(https://www.web-pra.com/upload/amulet-page/1969-9c97.jpg)


.....................
(https://horoscope.mthai.com/app/uploads/2016/10/temple.jpg)