Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
23 December 2024, 07:37:24

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  หมวดหมู่ทั่วไป  |  สาระน่ารู้ (Moderators: CYBERG, MIDORI)  |  วงเวียนสระแก้ว ทำไมอยู่ที่ “ลพบุรี”
0 Members and 3 Guests are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: วงเวียนสระแก้ว ทำไมอยู่ที่ “ลพบุรี”  (Read 806 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,454


View Profile
« on: 14 September 2019, 09:33:08 »

ตอนที่ 6 วงเวียนสระแก้ว ทำไมอยู่ที่ “ลพบุรี”
by admin 04.02.2018





หากใครเคยไปเยือนเมืองลพบุรี คงจะต้องจำได้อย่างแน่นอนว่า ก่อนจะเข้าสู่ตัวเมืองนั้น เราต้องวิ่งรถผ่านวงเวียนขนาดใหญจำนวนสองวงเวียนด้วยกัน ซึ่งก็คือ “วงเวียนเทพสตรี” ซึ่งมีพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชตั้งอยู่ตรงกลาง และ “วงเวียนศรีสุริโยทัย” หรือวงเวียนสระแก้ว



วงเวียนสระแก้ว ตั้งอยู่บนถนนนารายณ์มหาราช ถนนสายหลักที่มีจุดเริ่มต้นจากวงเวียนเทพสตรีมุ่งหน้าสู่ตัวเมืองลพบุรี ก่อสร้างขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เริ่มจากการขุดสระจากแหล่งน้ำโบราณ ในปี พ.ศ. 2481-2482 เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในย่านเมืองใหม่ลพบุรี โดยในช่วงแรกก่อสร้างเพื่อเตรียมสร้างเป็นฐานสำหรับเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่จอมพล ป. ไม่เห็นดีด้วย จึงเปลี่ยนแปลงเป็นประติมากรรมลักษณะคล้ายเทียนตั้งอยู่กลางพาน มีสะพานเชื่อมจากขอบสระทั้งสี่ทิศ ตรงขอบพานมีตรากระทรวงต่างๆในขณะนั้น เช่น กระทรวงยุติธรรม, กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการคลัง เป็นต้น ในสระมีพญานาคพ่นน้ำสี่ตัว มีรูปปั้นคชสีห์หมอบซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของทหารอยู่เชิงสะพานทั้งสี่ทิศรวมแปดตัว รูปปั้นคชสีห์มีเจตนาปั้นให้มีกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดความรู้สึกแข็งแรงดุดัน เสมือนดั่งทหารที่แข็งแกร่ง เนื่องจากลพบุรีเป็นเมืองที่ตั้งของค่ายทหารจำนวนมาก ส่วนขอบสระสร้างเป็นที่นั่งพักผ่อนโดยรอบ



Photo credit : AT topview




Photo credit : RATTAPORN POONYAM


สาเหตุที่วงเวียนแห่งนี้ได้ชื่อว่า “วงเวียนสระแก้ว” ก็เนื่องมาจากตั้งอยู่บนบ่อน้ำเก่าแก่ซึ่งคาดว่าน่าจะขุดตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและเรียกกันว่า “สระแก้ว” เฉกเช่นเดียวกับ สวนสัตว์ลพบุรี ที่คนลพบุรีเรียกต่างเรียกว่า “สวนสัตว์สระแก้ว” ด้วยเพราะสร้างอยู่ติดกับบ่อน้ำเก่าแก่เช่นกันกระทั่งเกิดมีจังหวัดสระแก้วขึ้นมาจึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็นสวนสัตว์ลพบุรีเพื่อไม่ให้สับสน

สระแก้วบริเวณวงเวียนสระแก้ว และ สวนสัตว์ลพบุรี ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับระบบประปาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ โดยทั้งสองสระใช้เป็นที่พักน้ำที่ลำเลียงจากทะเลชุบศรและห้วยซับเหล็ก ก่อนจะส่งเข้าไปใช้ภายในตัวเมืองลพบุรี



หากมองจากภาพถ่ายจากดาวเทียมที่ถ่ายในยุคปัจจุบันอาจจะสงสัยที่ว่าทำไมไม่ปรากฏแหล่งน้ำบริเวณทะเลชุบศรตามที่กล่าวไว้ แต่มีหลักฐานที่กล่าวถึงพระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็น) หากเรียกตามที่ตั้งก็คือ ตำหนักทะเลชุบศร ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดฯให้สร้างขึ้นกลางเกาะทะเลชุบศร เพื่อใช้เป็นประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถในคราวเสด็จประพาสป่าและล่าสัตว์ ซึ่งรอบพระที่นั่งไกรสรสีหราชเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีเขื่อนหินถือปูนล้อมรอบ เพื่อกั้นน้ำให้ขังได้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้ถนนจากวัดไก่ไปจรดถนนพหลโยธิน ก็คือ ทำนบด้านทิศใต้นั่นเอง หลังจากกั้นทำนบดังกล่าวแล้วก็สร้างท่อส่งน้ำต่อมายัง “ปากจั่น” หรือปากท่อ ก่อนส่งน้ำไปพักที่สระแก้วแห่งที่หนึ่งซึ่งอยู่ด้านหลังโรงภาพยนตร์ทหารบกในปัจจุบัน จากนั้นจึงต่อท่อน้ำไปยังสระแก้วแห่งที่สองซึ่งตั้งอยู่ที่วงเวียนศรีสุริโยทัยหรือวงเวียนสระแก้วในปัจจุบัน ก่อนส่งไปใช้ในตัวเมืองลพบุรีต่อไป ซึ่ง “ปากจั่น” ทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วตั้งแต่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2479






“ปากจั่น” ประตูน้ำโบราณ




พระที่นั่งไกรสรสีหราช หรือ พระที่นั่งเย็น หรือ พระตำหนักทะเลชุบศร  (Photo credit : http://www.lopburitravel.com)

บริเวณ ต.ทะเลชุบศร เป็นที่ลุ่มขนาดใหญ่เดิมมีน้ำขังเป็นบริเวณกว้างจนคล้ายกับทะเล เหตุที่เรียกว่าทะเลชุบศรนั้นเพราะว่ามีความเชื่อว่า พระรามได้เคยชุบพระแสงศรในแหล่งน้ำแห่งนี้จึงถูกเรียกว่า “ทะเลชุบศร” สืบมา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้มีการนำน้ำจากทะเลชุบศรไปใช้ในตัวเมือง โดยได้สร้างคันดินกักน้ำทางด้านทิศตะวันตกของทะเลชุบศร บริเวณมุมคันดินทำประตูเป็นช่องระบายน้ำที่เรียกว่า “ปากจั่น” น้ำจะถูกบังคับให้ไหลออกทางประตูนี้จากนั้นน้ำจะถูกส่งด้วยท่อน้ำดินเผาเข้าไปใช้ในตัวเมือง จึงนับเป็นระบบประปาที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ทะเลชุบศรแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งไกรสรสีหราช หรือ พระที่นั่งเย็น ซึ่งเป็นพระที่นั่งที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อทรงสำราญพระราชอิริยาบถ มีน้ำล้อมรอบอยู่กลางทะเลชุบศร ณ พระที่นั่งแห่งนี้ เป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงส่องกล้องทอดพระเนตรจันทรุปราคา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2228 ซึ่งถือเป็นการศึกษาดาราศาสตร์ครั้งแรกในประเทศไทยด้วย

ส่วนคลองอนุศาสนนันท์ หรือ คลองชัยนาท–ป่าสัก เป็นคลองชลประทานที่ขุดภายหลังในยุคปัจจุบัน เพื่อผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังแม่น้ำป่าสัก



ท่อน้ำดินเผา ท่อประปาโบราณ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์  ภาพโดย  จันผา

 

อ้างอิง

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. วงเวียนสระแก้ว (วงเวียนศรีสุริโยทัย). (ออนไลน). แหล่งที่มา  http://library.tru.ac.th/inlop/lptour/152-lptusk.html

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.สวนสัตว์ลพบุรี (สวนสัตว์สระแก้ว). (ออนไลน). แหล่งที่มา http://library.tru.ac.th/inlop/lptour/172-lptuzoo.html

เว็บไซต์ ท่องเที่ยวลพบุรี.สวนสัตว์ลพบุรี. (ออนไลน). แหล่งที่มา  http://www.lopburitravel.com/page-86

อารีรัตน์ รัศมี.  2556. ปากท่อ.(ออนไลน). แหล่งที่มา www.infothailand.eu/lopburi/index.php/โบราณสถาน/อำเภอเมือง/ทะเลชุปศร/ปากท่อ

ไทยตำบลดอทคอม. ข้อมูลตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง ลพบุรี. (ออนไลน). แหล่งที่มา http://www.thaitambon.com/tambon/160101


เรื่องจาก http://kaojaithailand.com/2018/02/04/srakaew-circle/




Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,454


View Profile
« Reply #1 on: 14 September 2019, 09:54:59 »

วงเวียนเทพสตรี หรือ วงเวียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี


วงเวียนเทพสตรี  จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



วงเวียนเทพสตรี บ้างเรียก วงเวียนพระนารายณ์ หรือ วงเวียนเมืองใหม่ เป็นวงเวียนที่ตั้งอยู่บนถนนนารายณ์มหาราช อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี อันเป็นที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชตรงส่วนกลางของวงเวียน


วงเวียนเทพสตรีตั้งอยู่หัวถนนนารายณ์มหาราชก่อนเข้าสู่ย่านตัวเมือง ใกล้ศาลากลางจังหวัดลพบุรี ตัววงเวียนมีชื่อ วงเวียนเทพสตรี มีลักษณะเป็นวงเวียนขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ผู้มีคุณูปการณ์ต่อเมืองลพบุรี ด้วยเหตุนี้ผู้คนจึงนิยมเรียกวงเวียนดังกล่าวว่า วงเวียนพระนารายณ์ หรือ วงเวียนพระนารายณ์มหาราช



พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชตั้งอยู่ใจกลางวงเวียนเทพสตรี ในลักษณะประทับยืน ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ และก้าวพระบาทซ้ายออกมาเล็กน้อย หล่อด้วยโลหะรมดำ และมีขนาดเท่าครึ่งพระองค์จริง เป็นผลงานการหล่อของศิลป์ พีระศรี และได้ประดิษฐานไว้กลางวงเวียน เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509















Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.035 seconds with 20 queries.