Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
23 December 2024, 07:22:45

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เหนือเกล้าชาวสยาม  |  พระบรมโพธิสัตว์เจ้าแห่งแผ่นดินสยาม (Moderator: Smile Siam)  |  กว่าจะเป็น "ไทย" ในวันนี้
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: กว่าจะเป็น "ไทย" ในวันนี้  (Read 1124 times)
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« on: 02 September 2019, 08:43:55 »

กว่าจะเป็น "ไทย" ในวันนี้


กว่าจะเป็น "ไทย" ในวันนี้

ที่อยู่บนหลังช้างนั้นคือ องค์พระมหากษัตริย์พระผู้ทรงปกป้องชาติไทย
ไม่ใช่นักการเมืองที่เรียกร้อง โหยหาาาาาาาาาาาาาาา.....................
ประชาธิปไตย ประชาธิปไตย เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง
และนี่คือเหตุผลที่คนไทยต้อง................สำนึกในบุญคุณ และเทิดทูน
สถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งในอดีต จวบจนถึงปัจจุบัน

ประเทศไทยที่อยู่รอดปลอดภัยมาได้.....จนถึงทุกวันนี้
ไม่ใช่เพราะ "ประชาธิปไตย" แต่เพราะ บรรพกษัตริย์
และบรรพบุรุษที่รักชาติ รักแผ่นดิน ยิ่งกว่าชีวิตตัวเอง

...
อย่าหลงเชื่อคำนักการเมืองจนลืม “ราก” ลืมที่มาของเรานะครับ

...................
จาก facebook
https://www.facebook.com/Loveskingdomofthailand/?tn-str=k*F



...............................

กว่าจะเป็น"ไทย"ในวันนี้
· 11 มิถุนายน ·
 
ทุกยุคทุกสมัย พระองค์ทรงปกป้องสยามประเทศจากคนที่คิดร้าย หลายครั้งหนักหนาสาหัสถึงขนาดที่จะเสียเอกราช ก็มีหลายครั้ง แต่ทุกพระองค์ก็ยืนหยัด ต่อสู้กับอริราชศัตรู จนไทย เป็นไทยมาได้ถึงทุกวันนี้ อยากจะฝากบอกน้องๆทั้งหลาย อย่าหลงเชื่อคำนักการเมืองจนลืม “ราก” ลืมที่มาของเรานะครับ

*เหตุการณ์สำคัญที่พระมหากษัตริย์ทรงปกป้องบ้านเมืองจากอริราชศัตรู
- สงครามเก้าทัพ
- สงครามท่าดินแดง
- สงครามปราบฮ่อ
- วิกฤตการณ์ล่าอาณานิคม ฝรั่งเศษ อังกฤษ
- วิกฤติเศรษฐกิจหลังสงครามโลก
- สงครามลัทธิคอมมิวนิสต์
และอื่นๆอีกมากมาย ที่ทรงปกบ้าน ป้องเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข




« Last Edit: 02 September 2019, 08:47:26 by p_san@ » Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #1 on: 02 September 2019, 08:49:34 »




กว่าจะเป็น"ไทย"ในวันนี้
· 19 สิงหาคม ·
 
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
ฉบับหมอบรัดเลย์ สำนักพิมพ์โฆษ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงแต่งเครื่องประดับสำหรับราชกษัตริย์ สู่สมรภูมิสงคราม วันนั้นเป็นวันอาทิตย์ ทรงพระแสงธนูแล้ว เสด็จขึ้นเกยคอยฤกษ์...พอได้ยินเสียงปืนยิงยุทธแย้งสุดเสียง ตรัสให้จมื่นทิพเสนาเอาม้าเร็ว ไปฟังราชการ เห็นทัพหน้าพ่ายมาเป็นอลหม่าน

ตรัสถามว่า เหตุใดจึงพ่ายข้าศึก ขุนหมื่นกราบบังคมทูลว่า ยกขึ้นไปถึงท้ายโคกเผาข้าว เพลาประมาณโมงเศษ พบกองทัพรามัญยกมาปะทะ ตีกันถึงตะลุมบอน ศึกหนักกว่าทุกครั้งจึงพ่าย

ตรัสดูความคิดมุขมนตรีว่า ทัพหน้าพ่ายดังนี้ จะคิดเห็นประการใด
เสนาบดีมุขมนตรีกราบทูลว่า ขอเชิญเสด็จทัพหลวงตั้งมั่นอยู่ก่อน แต่งทัพไปตั้งรับหน่วงไว้ ต่อได้ทีแล้ว จึงเอาทัพหลวงออกทำยุทธหัตถีเห็นจะได้ชัยชำนะ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เห็นด้วย ดำรัสว่า “ทัพหน้าแตกฉานมาแล้ว แลจะแต่งทัพออกไปรับไว้ ก็จะมาปะทะกันเข้า จะพลอยให้แตกไปอีก”
ชอบให้เปิดลงมาทีเดียว ให้ข้าศึกไล่ละเลิงใจเสียขบวนมา เราจึงยกทัพใหญ่ยอข้าศึก เห็นจะได้ชัยชำนะโดยง่าย...

ฝ่ายทัพรามัญเห็นทัพชาวพระนครพ่าย มิได้ตั้งรับ ยิ่งมีใจกำเริบ ไล่ระส่ำระสายมิได้เป็นขบวน สมเด็จพระนเรศวรผู้เป็นเจ้า เสด็จคอยฤกษ์ ทอดพระเนตรเห็นมหาเมฆตั้งขึ้นมาแต่ทิศพายัพ แล้วกลับเกลื่อนคืนกระจายอันตรธานไป พระสุริยะเทวบุตรจรัสแจ่มดวงในนภดลนภากาศ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จทรงเจ้าพระยาไชยานุภาพเป็นคชาธาร สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จทรงเจ้าพระยาปราบไตรจักร เป็นพระคชาธาร พลทหารก็โห่สนั่นบันลือศัพท์แตรสังข์ เสียงประโคมฆ้องกลองชนะกลองศึก สะท้านสะเทือนประหนึ่งแผ่นดินจะไหว

ใกล้ทัพหน้าข้าศึก ทอดพระเนตรเห็นพลพม่ารามัญยกมานั้นเต็มท้องทุ่ง เดินดุจคลื่นในมหาสมุทร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ขับพระคชาธารเข้าโจมแทงช้างม้ารี้พล พม่าล้มตายเกลื่อนกลาด ช้างม้าข้าศึกได้กลิ่นน้ำมันพระคชาธาร ก็หกหันตลบปะกันเป็นอลหม่าน พลพม่ารามัญก็โทรมยิงธนูหน้าไม้ปืนไฟระดมพระคชาธาร...แลธุมาการก็ตลบมืดเป็นหมอกมัว มิได้เห็นประจักษ์

สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จึงประกาศแก่เทพยดาทั้งปวงว่า ไฉนจึงไม่ช่วยให้สว่างเห็นข้าศึกเล่า พอตกพระโอษฐ์ พระพายก็พัดควันอันเป็นหมอกมืดนั้นสว่างไป

ทอดพระเนตรเห็นช้างเศวตฉัตรสิบสองช้าง มีช้างดั้งช้างกันยืนอยู่เป็นอันมาก...ครั้นเหลือบไปทิศขวาพระหัตถ์เห็นช้างเศวตฉัตรช้างหนึ่ง ยืนอยู่ ณ ฉายาไม้ข่อย มีเครื่องสูงและทหารหน้าช้างมาก ก็เข้าใจถนัดว่าช้างพระมหาอุปราชา

ก็ขับพระคชาธารตรงเข้าไป ทหารหน้าช้างข้าศึกก็วางปืนจ่ารงค์มณฑกนกสับตะแบงแก้วระดมยิง มิได้ต้องพระองค์แลพระคชาธาร

สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จึงตรัสร้องเรียกด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า
พระเจ้าพี่ เราจะยืนอยู่ไยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดิน ที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว

พระมหาอุปราชาได้ฟังดังนั้น ละอายพระทัยมีขัติยราชมานะ ก็บ่ายพระคชาธารออกมารับ เจ้าพระยาไชยานุภาพเห็นช้างข้าศึก ก็ไปด้วยฝีล้นน้ำมัน มิทันยั้งเสียที พลายพัทกอได้ล่างแบกรุนมา พระมหาอุปราชาจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว

สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า เบี่ยงพระมาลารับ พระแสงขอมิได้ต้องพระองค์ เจ้าพระยาไชยานุภาพสะบัดลงได้ล่างแบกถนัด พลายพัทกอเพลี่ยงเบนไป สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าได้ที จ้วงฟันด้วยพระแสงพลพ่าย ต้องพระอังศาเบื้องขวามหา-อุปราชา ซบลงกับคอช้าง...

เจ้าพระยาปราบไตรจักร พระคชาธารสมเด็จพระเอกาทศรถ ก็เข้าชนช้างด้วยพลายพัชเนียง ช้างมางจาชะโร เจ้าพระยาปราบไตรจักรได้ล่าง พัชเนียงเสียทีเบนไป สมเด็จพระเอกาทศรถจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว ต้องศอมางจาชะโรขาดตายกับคอช้าง

ขณะเมื่อได้ชัยชำนะมหาอุปราชาและมางจาชะโรแล้ว บรรดาท้าวพระยามุขมนตรีนายทัพนายกองซ้ายขวา หน้าหลังทั้งปวง จึงมาทันเสด็จเข้ารบพุ่งแทงควันข้าศึกเป็นสามารถ แลพวกพลพม่ารามัญทั้งนั้น ก็แตกกระจัดกระจายไป

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสให้ก่อพระเจดีย์ฐาน สวมศพพระมหาอุปราชาไว้ตำบลตระพังตรุ
แลโปรดพระราชทานช้างช้างหนึ่งกับหมอแลควาญ ให้เจ้าเมืองมะลวน กลับขึ้นไปแจ้งกับพระเจ้าหงสาวดี.





Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #2 on: 02 September 2019, 09:00:34 »


https://www.facebook.com/boraannaanma/?ref=py_c&eid=ARBBgUpDMnZCv5fvTsgeSDQViAxG9pR8GuDViKFOwx9WBw34k2shPS-BmlEU1OkXJdfzyJqqG7S7myPY

โบราณนานมา
30 สิงหาคม เวลา 09:38 น. ·

กว่าจะเป็นไทยได้ในวันนี้
เลือดเนื้อแลกพลีไปเท่าไหร่
ทุ่มเทสุดชีวิตสุดจิตใจ
หวังลูกหลานมีแผ่นดินไว้เป็นไทแก่ตัว

บุญคุณเทียดทวดปู่ย่า
บุรพมหากษัตริย์ถ้วนทั่ว
ทดแทนสักเท่าไหร่จึงสมตัว
พระคุณท่านท่วมหัวเหลือพรรณนา

อยู่ดีมีกินบนถิ่นย่าน
ได้กล่าวขานว่าเป็นไทใช่ไหมหนา
ปกปักรักแดนดินถิ่นมารดา
ให้เหมือนท่านที่ทำมาแต่ปางบรรพ์





..................................

https://www.facebook.com/Loveskingdomofthailand/photos/a.1453211264969873/2204211276536531/?type=3&theater

กว่าจะเป็น"ไทย"ในวันนี้
· 29 สิงหาคม ·
 
สงครามล้อมกรุงศรีอยุธยา ศึกพระเจ้านันทบุเรงตำนานพระแสงดาบคาบค่าย

สงครามครั้งนี้เป็นการรู้ล่วงหน้ามานานเหมือนคราวพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองขอช้างเผือก เพราะกองทัพพระมหาอุปราชาเข้ามาตั้งทำนาแต่ปีระกาดังกล่าวมาแล้ว ครั้นถึงเดือน ๑๒ ปีจอ พ.ศ. ๒๑๒๙ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงก็ยกกองทัพหลวงมา เวลานั้นไทยทิ้งหัวเมืองเหนือให้แก่ข้าศึก พระเจ้าหงสาวดีจึงให้กองทัพทั้งปวงเข้ามาประชุมกันที่เมืองกำแพงเพชร เป็นจำนวนพลเบ็ดเสร็จ ๒๕๐,๐๐๐ ให้จัดเป็นทัพกษัตริย์ ๓ ทัพ คือ ทัพพระเจ้าหงสาวดีทัพหนึ่ง ทัพพระมหาอุปราชาทัพหนึ่ง ทัพพระเจ้าตองอูทัพหนึ่ง แต่พระเจ้าเชียงใหม่นั้นพระเจ้าหงสาวดีขัดเคืองว่ามาแพ้ไทย จึงให้เป็นแต่พนักงานสำหรับขนเสบียงอาหาร ครั้นจัดพร้อมแล้วก็เดินทัพลงมา เมื่อถึงเมืองนครสวรรค์ ให้กองทัพพระมหาอุปราชายกแยกมาทางเมืองลพบุรี เมืองสระบุรี แล้วมาบรรจบทัพหลวงที่พระนครศรีอยุธยา ส่วนกองทัพพระเจ้าตองอูให้ยกลงมาทางริมแม่น้ำฝั่งตะวันออก กองทัพพระเจ้าหงสาวดีนั้นยกลงมาทางฝั่งตะวันตก ทั้ง ๒ ทัพนี้ลงมาถึงพระนครศรีอยุธยาเมื่อเดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ ตั้งค่ายรายกันอยู่ทางทิศเหนือกับทิศตะวันออกแต่ ๒ ด้าน ด้วยเป็น ทางที่จะเข้าตีพระนครได้สะดวกกว่าด้านอื่น กองทัพพระเจ้าหงสาวดีอยู่ด้านเหนือตั้งค่ายหลวงที่ขนอนปากคู ให้กองมังมอดราชบุตรกับพระยาพระยาพระราม ตั้งที่ตำบลมะขามหย่อง ให้กองพระยานครตั้งที่ตำบลพุทธเลา ให้กองนันทสูตั้งที่ขนอนบางลาง กองทัพพระเจ้าตองอูให้ตั้งที่ทุ่งชายเคืองทางทิศตะวันออก ครั้นกองทัพพระมหาอุปราชามาถึงให้ตั้งที่ทุ่งชายเคืองด้านตะวันออก ต่อกองทัพพระเจ้าตองอูลงมาทางบางมะนาวข้างใต้

ฝ่ายข้างกรุงศรีอยุธยา ได้มีเวลาเตรียมรักษาพระนครหลายเดือน เพราะรู้ตัวดังกล่าวมาแล้ว การตระเตรียมครั้งนี้มีรายการปรากฏอยู่ในหนังสือพระราชพงศาวดารหลายอย่างคือ

(๑) ตั้งแต่เข้าฤดูฝน ให้เกณฑ์คนออกตั้งทำนาทุกทำเลในพระนครและให้ทหารกองอาสาออกไปคอยตรวจตราป้องกันมิให้พวกข้าศึกมาทำร้ายได้ เมื่อได้ข่าวว่าข้าศึกยกกองทัพใหญ่ลงมาเวลานั้นข้าวกำลังออกรวง ก็ให้รีบเกี่ยวเก็บขนเอาเข้ามาในกรุงฯ ที่จะเอามามิได้ทันก็ให้ทำลายเสียมิให้ได้เป็นประโยชน์แก่ข้าศึก

(๒) ให้ระดมคนทั้งกรุง และหัวเมืองขึ้นชั้นในเข้ามาประจำรักษาพระนครเหมือนทุกคราว แต่คราวนี้เอาความรู้การที่เคยปรากฏว่า เมื่อต้อนคนเข้าพระนครแต่ก่อนมาผู้คนที่อยู่แขวงห่างไกลมักเที่ยวหลบซุ่มซ่อนอยู่ในป่าดง ไม่ได้ตัวมาเสียเป็นอันมากทุกคราว คราวนี้จึงเลือกพวกทหารที่ชำนาญป่าตั้งเป็นนายกองอาสา ให้แยกย้ายกันเที่ยวเกลี้ยกล่อมผู้คนที่กระจัดพลัดพรายรวมเข้าเป็นกองโจร คอยเที่ยวตีตัดลำเลียงข้าศึก ทำลายเสีย อย่าให้ส่งเสบียงอาหารและเครื่องยุทธภัณฑ์มาถึงกันได้สะดวก

(๓) การที่ตระเตรียมต่อสู้ข้าศึกนั้น ระวังรักษาแต่ที่พระนครกับทางที่จะไปมาข้างใต้ให้ใช้เรือใหญ่ไปมาทางทะเลได้สะดวก ส่วนทางข้างเหนือตั้งแต่เมืองวิเศษไชยชาญขึ้นไป ปล่อยให้ข้าศึกทำตามชอบใจ ไม่คิดรักษาให้เปลืองผู้คนทีเดียว แต่ในชานพระนครนั้นเตรียมทั้งปืนใหญ่ และกระบวนทัพบกทัพเรือไว้คอยป้องกันเป็นสามารถมิให้ข้าศึกเข้ามาตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามาในกรุงฯ ได้

ขณะเมื่อกองทัพพระเจ้าหงสาวดียกลงมาถึงกรุงฯ เมื่อต้นเดือนยี่นั้น ข้าวในท้องนาทุ่งหันตราข้างนอกกรุงฯ ด้านตะวันออกยังเกี่ยวไม่เสร็จ ครั้นกองทัพข้าศึกมาใกล้ จึงโปรดให้เจ้าพระยากำแพงเพชรซึ่งได้ว่าที่สมุหกลาโหม คุมกองทัพออกไปตั้งป้องกันผู้คนที่ออกไปเกี่ยวข้าว พอพระมหาอุปราชายกกองทัพมาถึง ให้กองทัพม้าตีกองทัพเจ้าพระยากำแพงเพชรแตกพ่ายเข้ามายังพระนคร สมเด็จพระนเรศวรก็ทรงพิโรธ ด้วยรบกันมาในชั้นนี้ไทยยังไม่เคยแตกพ่ายข้าศึกเลย เจ้าพระยากำแพงเพชรไปทำเสียการ จะให้ไพร่พลกลับเกรงกลัวข้าศึกเสียจึงมีรับสั่งให้รีบจัดกองทัพ แล้วสมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จลงทรงเรือพระที่นั่งลำเดียวกันยกออกไปในทันที ได้รบพุ่งกับข้าศึกที่ทุ่งชายเคืองเป็นสามารถ สมเด็จพระเอกาทศรถถูกกระสุนปืน ฉลองพระองค์ขาดตลอดพระกร แต่หาต้องพระองค์ไม่ รบกันอยู่จนเวลาพลบค่ำข้าศึกถอยไปจากค่ายเจ้าพระยากำแพงเพชรที่ตีได้นั้นแล้ว จึงเสด็จกลับเข้าพระนครดำรัสสั่งให้ประหารชีวิตเจ้าพระยากำแพงเพชร แต่สมเด็จพระราชบิดาดำรัสขอชีวิตไว้จึงเป็นแต่ให้ถอดออกจากตำแหน่งมิให้ว่าการกลาโหมต่อไป พวกข้าราชการทั้งปวงก็พากันเกรงพระราชอาญาตั้งหน้ารบพุ่งทั่วกันแต่นั้นมา

ในพงศาวดารพม่าว่า เมื่อพระเจ้าหงสาวดีตั้งล้อมกรุงศรีอยุธยาแล้ว ให้กองทัพเข้าตีปล้นพระนครหลายครั้งก็เข้าไม่ได้ ด้วยไทยต่อสู้แข็งแรงกว่าครั้งก่อน ๆ พม่ายกเข้ามาคราวใดไทยก็ตีเอาต้องกลับถอยคืนไปค่ายที่เดิมทุกคราว แต่พระเจ้าหงสาวดีตีพระนครอยู่กว่าเดือนก็ไม่ประชิดเข้ามาได้ ในระหว่างนั้นพวกกองโจรซึ่งสมเด็จพระนเรศวรให้ไปรวบรวมคนจัดขึ้นตามหัวเมือง มีหลายหมวดหลายกองพากันเที่ยวตีตัดลำเลียง เสบียงอาหารของข้าศึกส่งมาถึงกันไม่ได้สะดวกก็เกิดอัตคัด แล้วเลยมีความไข้เจ็บเกิดขึ้นในกองทัพที่ตั้งล้อมพระนคร พอสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบว่าเกิดความไข้เจ็บในกองทัพข้าศึก เห็นได้ทีก็ให้ออกตีปล้นค่ายข้าศึกทั้งกลางวันกลางคืนมิให้อยู่เป็นปรกติได้ ในหนังสือพระราชพงศาวดาร มีรายการเฉพาะแต่คราวที่สมเด็จพระนเรศวรเสด็จออกไปรบเองหลายคราวคือ

เมื่อเดือน ๓ แรม ๑๐ ค่ำ เวลา ๕ นาฬิกา เสด็จออกปล้นค่ายพระยานครที่ปากน้ำพุทธเลา (ทำนองข้าศึกกองนี้จะอ่อนกว่ากองอื่น) ข้าศึกแตกหนีได้ค่ายพระยานคร (ให้เผาค่ายข้าศึกเสีย) แล้วเสด็จกลับคืนเข้าพระนคร

เดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เวลากลางคืนเสด็จออกไปปล้นค่ายทัพหน้าของพระเจ้าหงสาวดี ข้าศึกไม่รู้ตัวแตกพ่าย ได้ค่ายนั้นแล้วไล่ฟันแทงข้าศึกเข้าไปจนถึงค่ายหลวงพระเจ้าหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรเสด็จลงจากม้าพระที่นั่ง ทรงคาบพระแสงดาบนำทหารขึ้นปีนระเนียด จะเข้าค่ายพระเจ้าหงสาวดี ถูกข้าศึกแทงตกลงมาจึงเข้าไม่ได้ ขณะนั้นพอข้าศึกกรูกันมามากก็เสด็จกลับคืนเข้าพระนคร พระแสงดาบซึ่งสมเด็จพระนเรศวรทรงในวันนั้น จึงปรากฏนามว่า “ พระแสงดาบคาบค่าย ” มาจนตราบเท่าทุกวันนี้

การที่สมเด็จพระนเรศวรไปปล้นค่ายพระเจ้าหงสาวดีครั้งนี้ มีเนื้อความปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า เมื่อพระเจ้าหงสาวดีทราบ ตรัสแก่เสนาบดีว่า ซึ่งพระนเรศวรออกมาทำการเป็นอย่างพลทหารดังนี้ เหมือนเอาพิมเสนมาแลกเกลือ นี่พระราชบิดาจะรู้หรือไม่ เสนาบดีกราบทูลว่า พระราชบิดาเห็นจะไม่ทรงทราบ ถ้าทราบคงจะไม่ยอมให้มาทำอย่างนั้น พระเจ้าหงสาวดีตรัสว่าพระนเรศวรนี้ทำศึกอาจหาญนัก ถ้าออกมาอีกทีจะเสียทหารสักเท่าใดก็ตาม จะแลกเอาตัวพระนรเศวรให้จงได้ จึงให้ลักไวทำมู ซึ่งเป็นนายทหารมีฝีมือเลือกทหาร ๑๐,๐๐๐ ไปรักษาค่ายกองหน้ารับสั่งกำชับไปว่า ถ้าสมเด็จพระนเรศวรออกมาอีกให้คิดอ่านจับเป็นให้จงได้

ครั้นเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จออกไปตั้งซุ่มทัพอยู่ที่ทุ่งลุมพลี หมายจะเข้าปล้นค่ายระเจ้าหงสาวดีอีก และครั้งนี้ทำนองลักไวทำมู ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีให้คอยจับสมเด็จพระนเรศวร เห็นจะคอยสอดแนมรู้ว่าเสด็จออกไปอีกจึงให้ทหารทศคุมพลกอง ๑ ยกมารบ สมเด็จพระนเรศวรเห็นข้าศึกน้อยก็เสด็จเข้ารบพุ่งแต่ด้วยลำพังกระบวนม้า พวกพม่าสู้พลางหนีพลางล่อให้ไล่ไปจนถึงที่ลักไวทำมูคุมกองทหารซุ่มอยู่ก็กรูกันออกห้อมล้อม สมเด็จพระนเรศวรทรงต่อสู้ข้าศึกเป็นสามารถ ลักไวทำมูขับม้าเข้ามาจะจับพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรทรงแทงด้วยพระแสงทวนถูกลักไวทำมูตาย ทหารทศเข้ามาแก้ลักไวทำมูทรงฟันด้วยพระแสงดาบตายอีกคน ๑ แต่พวกพม่าเห็นไทยน้อยคนก็ห้อมล้อมไว้รบสู้กันอยู่กว่าชั่วโมง พวกกองทัพไทยจึงตามไปทันเข้าแก้ไขสมเด็จพระนเรศวรออกจากที่ล้อมกลับคืนมาพระนครได้

ถึงเดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จโดยกระบวนเรือไปตีทัพมหาอุปราชา ซึ่งตั้งอยู่ ณ ขนอนบางตะนาวแตกพ่ายถอยลงไปตั้งอยู่ที่บางกระดาน พระเจ้าหงสาวดีตั้งล้อมกรุงฯ มาแต่เดือนยี่ ปีจอ จนเดือน ๖ ปีกุน พ.ศ. ๒๑๓๐ ถึงเดือน ๕ ตีไม่ได้กรุงศรีอยุธยา เห็นไพร่พลป่วยเจ็บล้มตายร่อยหรอลงทุกทีก็ท้อพระหฤทัย ดำรัสปรึกษานายทัพนายกองทั้งปวง เสนาบดีผู้ใหญ่จึงทูลว่ากรุงศรีอยุธยานี้ภูมิฐานมั่นคงนัก จะตีเอาโดยเร็วนั้นไม่ได้ บัดนี้ก็เขาฤดูฝนจะตั้งทำการต่อไปไพร่พลก็จะลำบากยิ่งขึ้นทุกที ควรจะถอยทัพกลับไปทำนุบำรุงรี้พลเสียสักคราว ๑ แต่ฤดูแล้งหน้าจึงค่อยยกมาตีใหม่ ถึงพระนเรศวรกล้าหาญในการศึกรี้พลก็มีน้อย รบขับเคี่ยวกันไปหลายคราวเข้าก็คงหมดกำลังที่จะต่อสู้ พระเจ้าหงสาวดีเห็นชอบด้วย จึงมีรับสั่งให้เตรียมถอยทัพ ให้กองทัพพระมหาอุปราชาซึ่งลงมาตั้งอยู่ที่สุดแนวข้างใต้ถอยกลับไปก่อน ให้กองทัพพระเจ้าตองอูยกกลับเป็นกองหลัง

ถึงเดือน ๖ แรม ๑๐ ค่ำ สมเด็จพระนเรศวรยกทัพเรือลงไปที่บางกระดาน หมายจะตีกองทัพพระมหาอุปราชาอีก เห็นพระมหาอุปราชากำลังถอยทัพกลับไป ได้รบพุ่งแต่กับกองหลังของพระมหาอุปราชาก็ทรงทราบว่าพระเจ้าหงสาวดีจะถอยทัพ จึงเสด็จกลับคืนเข้าพระนครรีบทรงจัดกองทัพยกไปตั้งที่วัดเดช เมื่อเดือน ๗ ขึ้น ๑ ค่ำ ให้เอาปืนขนาดใหญ่ลงในเรือสำเภาขันฉ้อตามขึ้นไปหลายลำ พอเตรียมพร้อมเสร็จถึงวันขึ้น ๘ ค่ำ ก็ให้เอาปืนใหญ่ระดมยิงค่ายหลวงพระเจ้าหงสาวดี ถูกผู้คนช้างม้าล้มตาย พระเจ้าหงสาวดีทนอยู่ไม่ได้ก็ต้องรีบถอยทัพหลวงกลับขึ้นไปตั้งอยู่ที่ป่าโมก เมื่อกองทัพหงสาวดีถอยกลับไปครั้งนั้น สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้กองทัพบกยกติดตามตีข้าศึกไปจนทะเลมหาราชทาง ๑ ส่วนสมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จโดยกระบวนทัพเรือตามตีกองทัพหลวงของพระเจ้าหงสาวดีขึ้นไปจนถึงป่าโมกอีกทาง ๑ แต่ข้าศึกมากกว่ามากนักตีไม่แตกฉานไปได้ก็เสด็จกลับคืนมายังพระนคร ทางโน้นพระเจ้าหงสาวดีก็ให้เลิกทัพกลับไปยังบ้านเมือง




Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.043 seconds with 20 queries.