Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
04 January 2025, 01:23:57

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,664 Posts in 12,957 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  หมวดหมู่ทั่วไป  |  สาระน่ารู้  |  เรื่องที่ควรรู้เท่าทันระดับโลก  |  เริด เริด
0 Members and 2 Guests are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: เริด เริด  (Read 1900 times)
Mocha
เลขาสาวสวย
น้องใหม่ฝึกยิ้ม
*****
Offline Offline

Posts: 39


View Profile
« on: 01 January 2013, 09:48:46 »

มาเร้ว มาเร็วๆๆ มาเลือกต้นไม้กันค่ะ

สิ่งประดิษฐ์ใหม่ล่าสุดในวงการพลังงานทางเลือก
จากฝีมือของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
วิทยาเขตนครซานดิเอโก (ยูซีเอสดี) สหรัฐอเมริกา
ทีมวิจัยสังเคราะห์มวลสารไฮโดรเจนจากเส้นลวดนาโนได้สำเร็จ
เส้นลวดเหล่านี้ทำจากแร่ซิลิกอน และสังกะสี
มีลักษณะเป็นแท่งเรียงกันจำนวนมาก คล้ายต้นไม้ในป่า
แต่ละต้นเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ซึ่งใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้

แม้การเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นพลังงานโดยอาศัยแสงอาทิตย์มีมานานแล้ว
แต่ที่ผ่านมาเป็นการใช้ โซลาร์เซลล์ ซึ่งถ้าหากเปลี่ยนมาใช้ 'ต้นไม้นาโน'
จะผลิตพลังงานได้มีประสิทธิภาพกว่า เพราะมีเนื้อที่มากกว่าโซลาร์เซลล์ถึง 400,000 เท่า

นายเค ซุน หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่า
สักวันหนึ่งต้นไม้นาโนเหล่านี้อาจจะเป็นที่พึ่งพิงหลักของโลกในการผลิตพลังงาน
คล้ายที่โลกพึ่งต้นไม้ต่างๆ เพื่อสังเคราะห์แสงผลิตออกซิเจนให้
โดยนอกจากทีมวิจัยมุ่งหวังให้ต้นไม้นาโนผลิตไฟฟ้าที่ไร้ผลกระทบต่อธรรมชาติและมีราคาถูกแล้ว
ยังเร่งวิจัยหาทางให้เทคโนโลยีนี้กำจัดสารคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก
เพื่อลดปัญหาโลกร้อนด้วย


ที่มาของข้อมูล..น.ส.พ.ข่าวสด วันที่ 2 เม.ย.2555

« Last Edit: 01 January 2013, 09:52:42 by Mocha » Logged
MIDORI
Global Moderator
น้องใหม่ฝึกยิ้ม
*****
Offline Offline

Posts: 4


View Profile
« Reply #1 on: 01 January 2013, 09:58:46 »

ปัจจุบัน ถ้าผู้ใดสามารถผลิตไฟฟ้าเองได้ และสามารถผลิตได้มากพอ คือ ตั้งแต่ ๑ เมกะวัตต์ขึ้นไป
สามารถขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้

มีผู้ลงทุนผลิตไฟฟ้าขายให้การไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

ข่าวที่มอคค่านำมาเสนอนี้ ถ้าถึงวันที่สามารถนำมาใช้อย่างแพร่หลายได้เมื่อใด
น่าจะทำให้ความต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หมดไปได้


เพราะปัจจุบันแผงผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ยังมีราคาสูงมากอยู่ ทั้งแผงก็ใหญ่ แต่ได้พลังงานออกมาไม่มากนัก
แต่ก็ยังมีผู้ลงทุนทำไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ขายให้การไฟฟ้า เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ



ต้องการติดตั้งโซล่าร์เซล ขายให้การไฟฟ้า - เว็บบอร์ดกรมพัฒนาพลังงาน ...
http://www.dede.go.th/dede/index.php?option=com_kunena&Itemid=116&func=view&catid=21&id=529&lang=th

สัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้ผลิตไฟฟ้า” ฝ่ายหนึ่ง กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
www.erc.or.th/ERCWeb2/Upload/.../2.2.2%20PPA10MW_Renew.do...

Logged
MIDORI
Global Moderator
น้องใหม่ฝึกยิ้ม
*****
Offline Offline

Posts: 4


View Profile
« Reply #2 on: 01 January 2013, 10:04:35 »

'ลพบุรี โซลาร์' โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดในโลก


รัฐ-เอกชน ทำโครงการ 'ลพบุรี โซลาร์' โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกนายวินิจ แตงน้อย ประธานกรรมการ บริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด(NED) กล่าวว่า บริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัดร่วมกับ กระทรวงพลังงาน , สถาบันการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำโครงการ “ ลพบุรี โซลาร์ ” โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดกำลังผลิต 73 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ใช้งบลงทุน 8,000 ล้านบาท และใช้แผงโซล่าร์ แบบทินฟิล์ม จำนวนกว่า 540,000 แผง จะเริ่มก่อสร้างในเดือนสิงหาคมนี้ และสามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 โดย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)จะเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าสำหรับโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ซึ่งโครงการนี้จะช่วยประเทศลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สู่ชั้นบรรยากาศได้มากกว่า 1.3 ล้านตันตลอดอายุการดำเนินโครงการ 25 ปี และช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงได้มากถึงปีละ 35,000 ตัน ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ คือ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(เอดีบี) ให้เงินกู้ 70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ประมาณกว่า 2 พันล้านบาท , ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ให้เงินกู้กว่า 3,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีที่ 60 แห่งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาในปี 2554

http://archive.voicetv.co.th/content/18398
Logged
MIDORI
Global Moderator
น้องใหม่ฝึกยิ้ม
*****
Offline Offline

Posts: 4


View Profile
« Reply #3 on: 01 January 2013, 10:07:30 »

น้ำมันจากแสงแดด


พลังงานทดแทน (Alternative/Renewable Energy) ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน เพื่อเป็นทางเลือกของการใช้พลังงานและยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในยุโรปการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง เพราะได้ใช้ไฟฟ้าจากแหล่งผลิตที่เป็นธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เป็นที่น่าดีใจว่า ปัจจุบันนี้ประเทศไทยเราตระหนักถึงการนำพลังงานทดแทนมาใช้เป็นอย่างมาก เห็นได้จากโครงการ “ลพบุรี โซลาร์” โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดกำลังผลิต 73 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี งบลงทุน 8,000 ล้านบาท และใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง (Thin film Solar Panel) จำนวนกว่า 540,000 แผง

โรงไฟฟ้าแห่งนี้จะเริ่มก่อสร้างในเดือนสิงหาคมนี้ และสามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าสำหรับโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก จึงจะช่วยประเทศลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สู่ชั้นบรรยากาศได้มากกว่า 1.3 ล้านตันตลอดอายุการดำเนินโครงการ 25 ปี และช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงได้มากถึงปีละ 35,000 ตัน นับเป็นก้าวสำคัญและเป็นอภิมหาโปรเจคของประเทศไทยในการนำพลังงานทางเลือกมาใช้ในประเทศ

นอกจากพลังงานแสงอาทิตย์จะนำมาใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า อีกกระแสหนึ่งที่นับว่าแรงมากคือ การผลิตน้ำมันจากแสงอาทิตย์ ในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากผลผลิตทางการเกษตรหรือซากสิ่งของที่เหลือใช้ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง หรือแม้กระทั่งซากเปลือกหรือหญ้า มาย่อย หมักและผลิตเป็นเอทานอล หรือที่เรียกว่า พลังงานชีวมวล (Biomass) เป็นที่รู้จักกันดี

แต่เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดคือ การเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแสงอาทิตย์เป็นน้ำมันโดยตรง ไม่ต้องผ่านตัวกลางซึ่งก็คือพืชนั่นเอง โดยอาศัยจุลชีพที่สังเคราะห์แสงได้ (photosynthetic microorganisms) ซึ่งได้จากการตัดแต่งหรือสังเคราะห์ยีนขึ้นมาให้มันมีความสามารถดังกล่าว เรียกว่า Synthetic Biology

ปัจจุบันมีนักวิจัยหลายกลุ่ม กำลังพยายามค้นหาและสังเคราะห์สิ่งมีชีวิตดังกล่าว รวมทั้ง Craig Venter ได้ก่อตั้งบริษัท Synthetic Genomics เพื่อสังเคราะห์สิ่งมีชีวิตนี้

ขณะที่บริษัท Joule Biotechnologies ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาของระบบพลังงานชีวมวล ที่เปลืองน้ำในการเพาะปลูกและกินพื้นที่อีกด้วย โดยสร้างระบบผลิตน้ำมันด้วยการใช้รีแอกเตอร์ที่ไม่ต้องใช้น้ำบริสุทธิ์ และใช้พื้นที่น้อยกว่าการปลูกพืชเพื่อผลิตพลังงานชีวมวล แต่ประสิทธิภาพการผลิตสูงกว่าเป็น 100 เท่าต่อหน่วยตารางเมตร และเป็น 10 เท่าเมื่อเทียบกับซากผลผลิตการเกษตร เป้าหมายก็คือ ต้องทำให้ราคาต้นทุนการผลิตน้ำมันจากแสงอาทิตย์นี้ ให้มีราคาต่ำกว่า 30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเรายังใช้พลังงานกันแบบปัจจุบัน คาดการณ์ว่าถึงปี ค.ศ.2050 พลังงานทดแทนจากชีวมวลและเอทานอล ก็ยังคงเป็นเพียงร้อยละ 26 ของพลังงานที่ใช้สำหรับการคมนาคมขนส่งอย่างเดียว

การพยายามเพื่อหาพลังงานมาทดแทนน้ำมันนั้น มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพียงแต่เมื่อไรมนุษย์จะตระหนักได้ว่า ถ้าลดการใช้อย่างสิ้นเปลือง เราคงมีพลังงานใช้กันได้นานขึ้น และลดมลภาวะ แต่ยิ่งถ้าผลิตมากใช้มาก มันจะไม่ต่างอะไรกับการเผาโลกที่เราอยู่นี้เลย

ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาค ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)




http://www.bangkokbiznews.com/2010/08/06/news_31356002.php?news_id=31356002

Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.058 seconds with 22 queries.