Smile Siam
|
|
« on: 30 December 2012, 10:42:43 » |
|
ผู้นำองค์กรชุมชนในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑลและภาคตะวันออก ขานรับการขับเคลื่อนงานสภาองค์กรชุมชน วันพุธ ที่ 9 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2551 นับเป็นเวลาประมาณเกือบ 3 เดือน ที่ พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 ได้ประกาศใช้ ซึ่งต่างทำให้ผู้นำชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานชุมชนมีความตื่นตัวต่อการจะมีสภาองค์กรชุมชน ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว และเริ่มมีชุมชนต้นแบบของความเข้มแข็งเกิดขึ้นแล้วหลายแห่งที่เกิดจากการประสานความมือกันอย่างดีจากหน่วยงานในท้องถิ่น ผู้นำท้องที่และผู้นำองค์กรชุมชน เช่น ตำบลศิลาลอย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดกาญจนบุรี, ตำบลศรีสว่าง จังหวัดร้อยเอ็ด และอีกหลายแห่งที่ก่อรูปเป็นสภาองค์กรชุมชนแล้วทั่วประเทศ เมื่อมองถึงที่มาของความเข้มแข็งของชุมชนเหล่านี้จะพบว่า "ทุน" สำคัญที่สุดไม่ใช่ดิน ไม่ใช่ป่าหรือทรัพยากรต่างๆ ไม่ใช่แรงงาน ไม่ใช่เงิน แต่เป็นความรู้ และปัญญา เป็นความรู้ที่ได้มาจากการเรียนรู้ เรียนรู้จากการปฏิบัติ จากประสบการณ์ทั้งบวกและลบ ทั้งสำเร็จและล้มเหลว ปัญญาที่ได้จากการสรุปบทเรียน กลายเป็นหลักคิดหลักการนำทางชีวิต โดย ต่างเป็นการประสานความร่วมมือกันอย่างดีกับหน่วยงานในท้องถิ่น โดยเฉพาะ อบต. และ เทศบาล
เครือข่ายองค์กรชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและภาคตะวันออก รวม 12 จังหวัด จึงได้จัดเวทีพัฒนายกระดับผู้นำเพื่อขับเคลื่อนงานสภาองค์กรชุมชน ในวันที่ 9-10 พฤษภาคม 2551 โดยมีแกนนำจาก 12 จังหวัด รวม 76 คน เข้าร่วมงานดังกล่าว ซึ่งจัดที่ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน จังหวัดชลบุรี
งานดังกล่าว แบ่งสาระสำคัญของการจัดงานเป็น 3 ช่วง ช่วงแรก เป็นการแลกเปลี่ยนแนวคิด เกี่ยวกับสถานการณ์ของประเทศ ระบบการเมืองและสถานการณ์ประชาธิปไตยในประเทศไทยจนกระทั่งถึงการก่อเกิดสภาองค์กรชุมชน โดยมีคุณ สุวัฒน์ คงแป้น จาก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยน และคุณ เจษฎา มิ่งสมร จากเครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง 4 ภาค นำเสนอให้เห็นถึงการเชื่อมโยงสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน เช่น กฎหมายต่างๆ งานพัฒนาของภาครัฐ ซึ่ง ทำให้ชุมชนต้องตั้งหลักต่อการพัฒนาที่จะเข้ามาถึงชุมชน
ช่วงที่สอง คุณ วิชัย นะสุวรรณโน ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานภาค นำเสนอเนื้อหาสาระและองค์ประกอบ ของ พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชน ที่ประกอบด้วย 4 หมวด 35 มาตรา ซึ่งเป็นการอธิบายความหมายรายมาตรา นอกจากนี้ยังนำเสนอบทเรียนจากพื้นที่ปฏิบัติการจริงที่มีสภาองค์กรชุมชนแล้ว ได้แก่ ตำบลเนินฆ้อ จังหวัดระยอง โดย คุณ ชาติชาย เหลืองเจริญ และ ตำบลศิลาลอย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดย นายบุญยืน วิเศษสมบัติ
ช่วงสุดท้าย เป็นการวางแนวทางและกลไกส่งเสริมสนับสนุนงานสภาองค์กรชุมชนทั้งระดับภาคและระดับจังหวดั โดยได้จัดตั้ง "คณะทำงานสนับสนุนงานสภาองค์กรชุมชนของภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและภาคตะวันออก" ซึ่งมีองค์ประกอบ จำนวน 21 คน และได้สรุปทบทวนพื้นที่เป้าหมายในการยกเป็นสภาองค์กรชุมชนให้เป็นสภาองค์กรชุมชนที่นำร่องให้ชุมชนอื่นๆ ได้ดำเนินการตาม ซึ่งในวันที่ 21 พฤษภาคม 2551 ขบวนองค์กรชุมชนของภาคจะจัดหารือในแนวทางการประสานความร่วมมือในการเคลื่อนงานสภาองค์กรชุมชน ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ มหาวิทยาลัยบูรพา
นายสวงษ์ แสวงนิล คณะทำงานขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนกล่าวว่า "การมีสภาองค์กรชุมชนจะส่งเสริมให้กลุ่มองค์กรต่างๆ ในหมู่บ้าน ตำบลมีบทบาทในการช่วยกันทำงานพัฒนา แบ่งเบาภาระและเกื้อหนุนการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภาคตะวันออก ไม่ต่ำกว่า 120 ตำบล ที่จะร่วมกันพัฒนาด้วยดีในรูปแบบสภาองค์กรชุมชนที่มีทั้ง องค์กรชุมชน อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน วัด โรงเรียน มาร่วมด้วยช่วยกันขับเคลื่อนเรื่องนี้”
http://www.codi.or.th/webcodi/sapa/index.php?option=com_content&task=view&id=69&Itemid=2 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) Community Organizations Development Institue (Public Organization) เป็นองค์กรของประชาชนที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งของสังคมจากฐายราก ด้วยพลังองค์กรชุมชนและประชาสังคม912 ถนนนวมินทร์ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทร : 0-2378-8300-9 โทรสาร : 0-2378-8343 http://www.codi.or.th/
|