User Info
Welcome,
Guest
. Please
login
or
register
.
22 December 2024, 22:16:20
1 Hour
1 Day
1 Week
1 Month
Forever
Login with username, password and session length
Search:
Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ
http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618
Posts in
12,929
Topics by
70
Members
Latest Member:
KAN
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
|
เรื่องราวน่าอ่าน
|
หนังสือดี ที่น่าอ่านยิ่ง
|
ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
0 Members and 1 Guest are viewing this topic.
« previous
next »
Pages:
1
[
2
]
Author
Topic: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ (Read 12510 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #15 on:
22 December 2012, 13:05:27 »
เ
ว
ลา
( Time)
เวลาเป็นเพียงสิ่งอุปโลกน์ – สมมติขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในทางโลก แต่ก็กลับเป็นจุดติดตันกันมาก เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ที่เนื่องด้วยเวลาก็มีเยอะ ในทางธรรมที่อิง- เกี่ยวพันอยู่ก็มีภาษา ซึ่งบางทีก็แปลกันชวนให้เข้าใจผิดก็มี เช่น อกาลิโก แปลว่า ( ศึกษาได้ – รู้ได้ – แจ้งได้ ) ไม่จำกัดกาล หรือไม่เลือกเวลา แต่เนื้อหาจริง ๆ เมื่อเทียบจากสัจธรรมแล้วคือ ไม่เนื่องด้วยเวลา หรือไม่เกี่ยวกับเวลา หรือนอกเหนือกาลเวลา โดยสัจธรรม ทุกสรรพสิ่งสมบูรณ์พร้อม ไม่ขาดตกบกพร่อง ไม่มาก – ไม่เกิน , ไม่ต้องการอะไร , ไม่เอาอะไร , ว่างอยู่แล้ว , ไม่ยึดติดกันเองอยู่แล้ว , ไม่ใช่อะไร , ไม่เป็นอะไรอยู่แล้ว , นิพพานอยู่แล้ว , วิมุติอยู่แล้ว
คำว่า “อยู่แล้ว” ก็หมายถึงตลอดเวลา จะเรียกให้ถูกต้องจริง ๆ ก็คือไม่เกี่ยวกับเวลา หรือเรื่องของเวลาทิ้งไปเลย ไม่ใช่เป็นเช่นนั้นเป็นพัก ๆ , จริงแท้อย่างนั้นเป็นพัก ๆ , ไม่ใช่เดี๋ยวจะว่าง , เดี๋ยวจะวาง , เดี๋ยวจะหลุด , เดี๋ยว ๆๆๆ.... , คำว่า จะ , เดี๋ยว มันเป็นเนื้อหาของการรอ – คอย เป็นเรื่องของเวลาในส่วนที่เป็นอนาคต มันจึงเป็นสิ่งที่ไม่ตรงต่อสัจธรรมที่ “อยู่แล้ว” เช่น รอสั่งสมบารมี , รอความสมบูรณ์ของศีล – สติ – สมาธิ – ปัญญา , ฌาน , ญาณ แล้วจะบรรลุนิพพาน , เดี๋ยวจะหลุดพ้น
ให้เข้าใจเลยว่า เนื้อหาของการรอ , คอย ,เดี๋ยว , จะเพื่อ , เผื่อ, ขั้น , ตอน มันเป็นแค่เงื่อนไข – ข้อแม้ ของโมหะ – ตัณหา – อุปาทานทั้งนั้น มันหลอกให้รอไปเรื่อย ๆ , ทำไปเรื่อย , หนักหน้าไปเรื่อยเรื่อย ไม่ยอมจบซะที นี้เค้าเรียกว่า หลงเหลี่ยม – หลงเล่ห์ของกิเลสโดยไม่รู้ตัว ด้วยความไม่รู้ความเป็นจริงของทุกสภาวะว่ามันจบอยู่แล้ว มันจบด้วยตัวมันเองอีกด้วย มิใช่จบเพราะอะไรๆๆ...หรือเพื่ออะไรๆๆ... , ธาตุ – ขันธ์ ที่เป็นธรรมโดยธรรมนั้นไม่มีคำว่ารอ – คอย – เดี๋ยว – จะ , เพื่อ... , เผื่อ...
หากการดำเนินชีวิต หรือ จิตใจยังเป็นไปในแง่มุมดังกล่าวอยู่ ก็จะถูกกิเลสหลอกให้ทำงานทางใจไปเรื่อย ๆ แบบแอบหรือจงใจหวังผลงานนั้น คือ ความจบ ,ความสำเร็จ , ความหลุดพ้น , ความดับ มีแต่รออยู่ข้างหน้าตลอด มันจะจบได้ยังไงในเมื่อตัณหา – อุปาทาน มันมีแต่เรื่องของการ “ต่อ” โดยเฉพาะต่อรู้ – รู้ต่อ , ต่อดู – ดูต่อ , ต่อเห็น – เห็นต่อ , ต่อเฝ้า – เฝ้าต่อ , ต่อคอย – คอยต่อ , เพื่ออะไร , เผื่ออะไร เป็นต้น เมื่อต่อก็ติด ภาษาจึงว่าติดต่อ (ติดธาตุติดขันธ์ต่อ) ภาษาธรรมท่านเรียกว่า “สันตติ”เป็นความสืบเนื่องของภพ – ชาติ เมื่อไม่ยอม ตัด-ยุติ(เจตนา) แล้วมันจะตรงต่อเนื้อหาของความจบความดับ ความหลุดพ้น ความเป็นเช่นนั้นเอง ได้อย่างไร?
เรื่องของการตัด จึงเป็นเรื่องของการ “จบกิจ” โดยการงดเว้นหรือละเจตนากรรม เพราะเข้าใจตรงต่อเนื้อหาของสัจธรรมนั่นเอง เมื่องดเว้นหรือละเจตนากรรมเป็นก็จบเดี๋ยวนั้นเลย จบที่ไม่ต้อง , ไม่ตั้ง นั่นแหละตัดทันที มันก็ไม่ต่อ ไม่ต่อมันก็ไม่ติด เรียกว่า ไม่ติดต่อ สันตติก็ขาดลง การ “หลงรู้” นั่นแหละคือ “หัวเชื่อมชั้นเลิศ” ที่เชื่อมภพชาติ(ในอดีต)กับภพชาติ(ในอนาคต) โดยการ “รู้” อยู่กับปัจจุบัน
“อยู่แล้ว”นี่ ไม่ใช่ “ที่นี่และเดี๋ยวนี้” เพราะ “อยู่แล้ว”มันไม่เกี่ยวหรือเนื่องด้วยกาลเวลา แต่ที่นี่และเดี๋ยวนี้ โดยภาษาแล้วก็ยังชี้นำสู่การคอยอยู่กับสภาวะอะไรก็ตามที่เรียกว่า ปัจจุบันธรรม เรียกว่า ยังเนื่องด้วย – ยังเกี่ยวข้องด้วย ยังมีร่องรอยที่จะเกาะติดอะไรๆได้อยู่ แล้วถ้าจะให้ตรงต่อสัจจะ ที่ไม่ติดไม่ข้องไม่คาอยู่แล้วก็คือ “ที่นี่” ก็ไม่ใช่และ “เดี๋ยวนี้”ก็ไม่ใช่
ชอบกล่าวกันนัก กล่าวกันหนาว่า ให้อยู่กับปัจจุบัน, รู้ปัจจุบัน , เห็นปัจจุบัน , เข้าใจปัจจุบัน คำกล่าวทั้งหมดนี้ ดูดี แต่ไม่ตรงต่อสัจธรรม ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ไม่มีอะไรอยู่กับอะไรได้จริงดอก , ไม่มีอะไรคอยดู-คอยเห็นอะไร, อนิจจังนี่มันไม่มีขั้น , ไม่มีตอน , ไม่มีการต่อรองโดยมีข้อแม้ , เงื่อนไขใดๆครบแล้ว “จะ” “อนิจจัง”
สั่งกันมา สอนกันว่า ดูให้ชัด เห็นให้ชัด ชัดอันนี้=Focusเป็นอาการของ“อุปาทาน”ชัดชัด!!!ซึ่งไม่ตรงกับความหมายของภาษาที่ว่า “เห็น-เข้าใจความเป็นจริงอย่างแจ่มชัด”
และรู้กันบ้างไหมว่า เจตนาที่จะอยู่ , จะรู้ , จะดู ,จะเห็นเพื่อให้เข้าใจปัจจุบันธรรมนั้นมันก่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอีกหลายกระบุงเกวียน เช่น เพราะมีปัจจุบันนั่นแหละ จึงมีอดีต –
มีอนาคต เพราะเอาปัจจุบันนั่นแหละ จึงติดทั้งอดีต – ติดทั้งอนาคต เมื่อไม่มีเจตนาจะเอาอะไรกับปัจจุบัน ปัจจุบันจะมีแบบไหน จะเป็นอย่างไร “ใจ” มันก็ไม่เกาะไม่กำไปเองของมันเอง แล้วแล้วไปกับปัจจุบัน เรียกว่าไม่ติดปัจจุบัน ก็จะไม่ติดอดีต – ไม่ติดอนาคตคือหมดอดีต หมดอนาคต ไม่ต้องดีดต้องดิ้น ไม่ต้องคดต้องงอ กันอีกต่อไป
การอยู่กับปัจจุบันโดยเจตนา ก็เพราะมันจะเอานั่นเอง (โดยอาศัยแรงผลักดัน จากตัณหา อุปาทาน ) เช่น เอาสติ เอาสมาธิ เอาความรู้ ให้มีสติจะไม่ได้เผลอ , มีสติจะได้ไม่มีช่องให้กิเลสเกิด , มีสติต่อเนื่องสมาธิก็จะเกิด , มีสมาธิก็เพื่อให้เกิดปัญญา เมื่อมีปัญญาสามารถกำจัดกิเลสได้ แล้วจะได้พ้นทุกข์ หมดทุกข์... เกือบใช่!!!
เมื่อเอาปัจจุบันก็หมายถึง ได้แผ่ตัณหา อุปาทานเป็นไปในอดีตด้วย และอนาคตด้วย อย่างไรหรือ ? คำกล่าวที่ว่า ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดเพราะอดีตก็ผ่านไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่มา ดูดีใช่มะ แต่ดูให้ดี ๆ มันมีเนื้อหาของความพยายามจะปรับปรุง – แก้ไขอดีต โดยผ่านการกระทำลงไปที่ปัจจุบัน เหมือนชดเชยอะไรซักอย่างที่ยังดีไม่พอ , สมบูรณ์ไม่พอ และยังมีเนื้อหาเพื่อ ,เผื่อและแผ่ถึงอนาคตด้วยคือจะให้ดียิ่งขึ้น แม้ความสำเร็จต่างๆ, บุญกุศล , ความสุข , นิพพาน
ตรองดูทีซิว่า ขบวนการนี้มันอะไรกันแน่ เป็นปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายเกิดหรือฝ่ายดับ มันตัดหรือมันต่อ มันมีแต่เรื่องที่เนื่องด้วยอะไรๆๆทั้งนั้น ไม่ว่าจะเนื่องด้วยความจงใจ – เจตนา , ความพยายาม , เจตนากรรม กาลเวลา , เหตุ-ปัจจัย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเนื้อหาของตัณหา อุปาทาน ซึ่งเป็นตัวสมุทัย ( ที่ไม่เป็นตัวจริงๆ )ทั้งสิ้น
กลายเป็นว่า อดีตเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข ปรับปรุง , เลยเฝ้าปัจจุบัน เพื่ออนาคต มันถูกต้องแล้วหรือ? ตรงต่อสัจธรรมหรือเปล่า ? ตอบได้เลยว่า ไม่ถูกและไม่ตรง
โดยสัจธรรมทุกอย่างที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป แล้วแล้วไปเองอยู่แล้วที่เรียกว่าอดีต (โดยยืมภาษาใช้เพื่อเทียบเคียงให้เห็น) อันจบไปแล้วโดยสมบูรณ์ (แล้ว แล้วไป ) มันได้แสดงถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างสมบูรณ์แบบ(พอ)อยู่เองแล้ว แต่ด้วยตัณหา - อุปาทานต่างหากที่หลงยึดว่ามันไม่ดีพอ สมบูรณ์ไม่พอ สมควรแก้ไข – ปรับปรุง เพิ่มเติม หรือเมื่อมันเป็นสิ่งถูกต้อง – ดีงาม , ก็นึกว่าใช่แล้ว แม่นแล้ว สมควรรักษา – ทำให้ต่อเนื่องไป เพื่ออนาคต (บางทีก็หลงเพื่อ..จริง ๆ บางทีก็แอบหลงเพื่อ...โดยไม่รู้ตัว) คือไม่ตรงต่อความจบได้จริงซักที
ยิ่งเป็นเนื้อหาของการกำหนดปัจจุบัน เช่น จะ–จ้อง–ต้อง–ตั้ง- อยู่กับปัจจุบัน-วิจัย-วิจารณ์-หมายถึงๆฯลฯด้วยแล้ว (โดยสภาวะแล้วกรรมเหล่านี้มันเป็นเนื้อหาของความไม่จบ ยังต่อ–ติดขัดข้องคา(ขันธ์)ทั้งนั้น) จะตรงต่อดับอยู่แล้ว – วางอยู่แล้วได้อย่างไร?
บางท่านก็อาจสงสัยว่าแล้วกฎแห่งกรรมล่ะ เมื่อมีเจตนา กรรม – การกระทำก็สำเร็จแล้ว ไม่ว่าจะทางไหน มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ไม่ว่าจะเรียก กุศล – อกุศล – อัพพยากตา ก็จะเกิดวิบากคือ ผลตามมาแน่นอน แต่วิบากนั้นหากเราเข้าใจตรงต่อสัจธรรม วิบากนั้นก็ไม่ใช่อะไรที่แท้จริง , มิใช่สิ่งเที่ยงแท้ถาวร(ของชั่วคราว) ก็จะไม่หลงไปเป็นจริงเป็นจัง(เป็นตุเป็นตะ)กับวิบากนั้น วิบากกรรมก็เป็นเพียงปรากฏการณ์แสดงออกของสัจธรรมเท่านั้น ล้วนเป็นสิ่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอย่างสมบูรณ์เต็มที่อยู่แล้ว คือ เป็นสิ่งไม่ยึดติดตัวมันเองอยู่แล้ว , ดับเองอยู่แล้ว , วางเองอยู่แล้ว , ว่างเองอยู่แล้ว , ไม่ใช่อะไรจริง ๆ อยู่แล้ว , ปราศจากความหมาย , ไร้ความเป็น...อยู่แล้ว คราเมื่อวิบากกรรมใดๆปรากฏ ก็รู้(ชัด)พร้อม(เข้าใจ)ถึงที่มาและเนื้อหา(สัจจะ)ของมันอย่างถูกต้อง นี่เรียกว่า “ไม่หลง”
เมื่อใจตรงต่อความเป็นจริงอยู่อย่างนี้ คราเมื่อวิบากกรรมปรากฏ มันก็ไม่มุ่ง , พุ่ง , เฝ้า , เอา ,ทำตาม – ทำต้าน จัดการ จัดแก้ ฯลฯ กับปัจจุบันธรรม เมื่อไม่หลงไปเกี่ยวด้วย ไม่หลงข้องด้วย ไม่หลงสนใจด้วย ก็ไม่ติดวิบาก กรรมวิบากก็จะไม่ถูกตอกย้ำ – สำคัญมั่นหมาย นั่นแหละ เค้าเรียกว่า เป็นปัจจุบันที่ไม่ใช่ปัจจุบัน เป็นปัจจุบันที่ไม่ติดปัจจุบัน นอกเหนือกรรมวิบาก นอกเหนือกรรมอนุสัยเป็น เป็นปัจจุบันที่ถูกต้อง และเป็น ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ที่ถูกตรงตามสัจธรรม
โดยบทสรุปก็คือความจงใจ หรือเจตนาที่จะอยู่กับปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน (หรือ ไม่ต้องจงใจอยู่กับปัจจุบันก็ได้ แค่เกิดความตั้งใจ – จงใจขึ้น มันก็เป็นการสร้างและอยู่กับปัจจุบันโดยปริยายอยู่แล้ว) นั่นแหละคือ ตัวติด ตัวต่อ ตัวสันตติ ตัวเจริญผัสสะ ตัวสมุทัย (ที่ไม่ใช่ตัวจริง ๆซะด้วย) ดังนั้นการเป็นอยู่ด้วยจิตสำนึกที่ตรงต่อสัจธรรม โดยตื่น!!!แบบไม่อะไรกับอะไร , แบบแล้วแล้วไป , ไม่จะ – ไม่จ้อง -ไม่ต้อง – ไม่ตั้ง , ไม่...อยู่แล้ว จะเป็นทั้งการตัดกรรม เพราะยุติทำ และนอกเหนือวิบากกรรมไปเอง ก็เลยไม่ต้องเป็นไปอย่างสัตว์โลกที่ย่อมเป็นไปตามกรรม ทุกอย่างจะปราศจากความหมาย ไร้ความเป็น เสมอภาคกันไปทั้งหมด เป็นการรู้ทุกข์ รู้สมุทัย รู้นิโรธ รู้มรรค ,ละสมุทัย แจ้งนิโรธ จบมรรค อยู่แล้วทันที ไม่เป็นพันธะและภาระ ไม่เป็นเวลา จบหมดทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต เลิกคด เลิกงออีกต่อไป
สิ่งที่ทำขึ้น ไม่ใช่(ทางสาย)กลาง (ทางสาย)กลางที่แท้ ปราศจากการกระทำ
กลางคือว่าง กลางคือไม่เลือกอะไร(เพราะอะไรๆก็ไม่ใช่อยู่แล้ว)
(ทางสาย)กลางนั่นคือความพออยู่แล้ว ไม่ใช่ทำให้มันพอ หรือให้มันดีพอ หรือให้มันพอดี ๆ ธรรมชาติมันพออยู่แล้ว อย่าทำความไม่พอ หรือสร้างความพร่องไปซะเอง
(ทางสาย)กลางไม่ใช่การอยู่กับอะไร หรือคอยอยู่กับอะไร , การอยู่กับสภาวะใด ๆ ได้นั้นมันมีตัณหาพาอยู่ เพราะโดยสัจจะ มันวางกันเองตลอดและอยู่เองแล้ว สภาวะที่ค้างคา , ทรง , ดำรง , คอย , อยู่จริงๆ ไม่อาจมีในธรรมชาติแท้ ๆ ได้ ถ้ามีก็เป็นเพียงสภาวะอุปโลกน์คือสมมติเท่านั้น แม้จะอยู่ , ทรง , ดำรงกับความเป็นกลาง หรือแม้แต่ความว่างก็ไม่ใช่ มีแต่ผ่านตลอด, หลุดตลอด, วิมุติหลุดพ้นกันอยู่เองแล้วโดยตลอด นี่คือสัจธรรม!!
คำโบราณกล่าวว่า จะถึงนิพพานเร็ว ให้คลาน จะถึงนิพพานนานให้วิ่ง ดูเหมือนจะถูกแต่ก็ยังไม่ใช่ ถึงนิพพานไม่ได้ หากยังคลานยังวิ่งอยู่ “นิพพานอยู่แล้ว” อย่ามัววิ่งให้เลยนิพพาน อย่ามัวคลานให้เลยวิมุตติไปซะเอง ถ้ามัวแต่คลาน มัวแต่วิ่ง แต่ไม่ยอมหยุดซักทีแล้วจะตรงต่อจบอยู่แล้วได้อย่างไร(ก็มัวแต่ มัวแต่อยู่นั่นไม่จบซะที เพราะเข้าใจไม่แจ่มชัด จึง “มัว” เมื่อใจมัน “มัว”ก็เลย “ลังเล” จึงมี “แต่”ตามมา นี่เป็นรหัสนัยของภาษา)
สำเหนียกถึงคำว่า...เองอยู่แล้วให้ดี ๆ ให้มันแม่นๆซะหน่อยต่อความเป็นจริง จะได้เลิกหลงทำ เลิกหลงปรุง เมื่อใดที่ “ยุติทำ” ก็ตรงต่อเนื้อหาของ “ยุติธรรม” ทันที
คำว่า “ทาง” จริง ๆ จึงมิได้หมายถึงทางในลักษณะที่เป็นวิถี วิธีการ พิธีกรรม วัตรปฏิบัติใดๆ
ไม่มีทาง นั่นแหละ ทาง
ไม่มีทำ นั่นแหละ ทาง
หมดทาง ก็ถึง ธรรม
หมดทำ ก็ถึง ธรรมแท้
สมาธิที่แท้ปรากฏเมื่อหมดความตั้งใจ , นอกเหนือความพยายาม , ไม่เอานั่นแหละตรงกับเนื้อหาว่าปล่อยวาง ที่ใช้คำว่า ปรากฏ เพราะที่แท้มันสงบอยู่แล้ว – ตั้งมั่นอยู่แล้ว – ดับอยู่แล้ว เพียงแต่ให้เราเลิกวุ่นวายไปซะเอง สิ่งนั้นก็สัมผัสหรือรับรู้ได้ต่อหน้าต่อตา ยกตัวอย่าง เช่น ห้องประชุม หรือศาลาที่ว่างเปล่า – สงบเงียบอยู่ก่อนแล้ว ต่อเมื่อมีคนเข้ามามากขึ้น เดินกัน ขวักไขว่ พูดคุยกันโขมงโฉงเฉง ทั่วไปเราจะเข้าใจว่า ความว่างหายไป – ความสงบ – ความเงียบหายไป ถ้าต่างคนก็ต่างเดินหาความว่าง – ความสงบ , ต่างตะโกนบอกกันและกันให้หยุดพูดคุย หรือต่างคนต่างพยายามทำให้คนอื่นหยุด แล้วมันจะเจอความว่าง – ความสงบได้จริงมั้ย
ต่อเมื่อทุกคนหยุดเดิน หยุดคุย คืออยู่เฉยๆสักครู่ ทุกคนก็จะสัมผัสกับความเงียบความสงบได้ และเมื่อทุกคนออกไปจากห้อง ความว่างที่ “อยู่แล้ว” ก็ปรากฏชัดเจนได้ทันที
ถามว่าความว่าง ความสงบเงียบที่เกิดภายหลังจากที่ให้ทุกคนหยุดเดิน หยุดคุย หรือออกไปจากห้อง เป็นสิ่งที่ทำขึ้นหรือเปล่า คำตอบคือไม่ใช่ มันมีอยู่ก่อนแล้ว แต่ดูเหมือนหายไป เพราะมีความวุ่นวายเกิดขึ้น ที่ว่าดูเหมือนหายก็เพราะจริง ๆ มันไม่เคยหายไปไหน
คือมีอยู่ตลอดนั่นแหละ แต่เราสัมผัสมันไม่ได้ เพราะใจเราก็วุ่นหรือไม่ตรงกับว่าง ก็เลย เหมือนรับคลื่นกันไม่ได้
อันนี้ก็เนื้อหาเดียวกันคือ ความดับ – ความหลุดพ้น – ความตั้งมั่น – ความว่าง – ความสะอาด – ความสว่าง , ความสงบ, ความไม่ใช่อะไรจริง , ความปล่อยกันเอง ฯลฯ มีอยู่แล้วเพียงแค่ให้เข้าใจ และตรงต่อความเป็นจริง จริง ๆ เท่านั้น อย่าได้หลงเอากิเลสตัณหา – อุปาทานไปปฏิบัติในลักษณะเจตนากรรม หรือปฏิบัติทำ เพื่อหวังจะเข้าถึงความพ้นทุกข์ในรูปแบบต่าง ๆ มันยิ่งทำยิ่งไม่ใช่ ยิ่งไม่ถูก ยิ่งไม่ตรง ยิ่งห่างไกลจากความจริง อย่างดีก็ได้แค่ดูดี ดูคล้าย เหมือนเพชรรัสเซีย (ของทำขึ้น) กับเพชรแท้ (ของเกิดเอง) ดูคล้ายแต่เนื้อหาจริง ๆ ไม่ใช่
• เพราะเมื่อจิตหลงมาก ก็จะไหลตามอารมณ์ไปทางตา – หู –จมูก – ลิ้น – กาย – ใจรู้สึก นึกคิดและทำตาม คือ กามสุขัลลิกานุโยค เมื่อรู้ว่า “ไม่ใช่” คือตื่น! ก็จะปฏิบัติ
• ต่อเมื่อจะปฏิบัติ ก็หลงพยายามบังคับ, พยายามฝืนไม่ให้ไหลไปตามอารมณ์ภายนอก โดยหาหลักสร้างหลักให้จิตเกาะ อยู่กับ... หรือย้ายฐานจิตหรือพยายามทำ(สิ่งหนึ่ง)เพื่อให้อารมณ์นั้นดับ แม้แต่ย้อนกลับมาคอยรู้คอยดู ตามรู้ ตามดูปรากฏการณ์ในใจตนเอง ก็ยังเป็นอัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนให้แก่ตน...ซะเอง)
• ต่อเมื่อมีสัมมาทิฐิ : ตรงต่อไม่....อยู่แล้ว , ไม่ต้อง.....อยู่แล้ว , ไม่เนื่องด้วย...อยู่
แล้วจริง ๆ
: จิตยุติทำ , ยุติการดิ้นรนแสวงหาโดยเจตนา คือไม่มีเจตนาทำ
แต่เมื่อสัมมาทิฐิยังไม่สมบูรณ์ จิตก็แอบทำงานเป็น
อัตโนมัติตามความคุ้นเคยและห้ามไม่ได้อีกด้วย
ความเป็นฌานจิตในแต่ละระดับจะว่าไปแล้วก็คือความเป็นไปของจิตใจที่เลิกหลงยึดในสังขาร(สิ่งปรุงแต่ง)ทั้งหลายทั้งปวง โดยเฉพาะปัญญา ความเคยชิน(อนุสัย)ที่จะวิตก–วิจัย-วิจารณ์ของจิตเกิดขึ้นและดำเนินไปก็เพราะเสพติดรู้ เสพติดปัญญา ก็เลยอยากรู้–อยากเข้าใจ
นั่นก็คือจิตจะมีวิตก – วิจารณ์ในสภาวะ – ในปรากฏการณ์คราเมื่อมีธรรมารมณ์เกิดขึ้น ดังนั้นการวิตก – วิจารณ์ของจิต มันเป็นขบวนการพัฒนาของปัญญาก็ได้ เมื่อวิตก – วิจารณ์สภาวะ จนเข้าใจถ่องแท้แล้ว มันก็เลิก วิตก – วิจารณ์ไปเอง นี้ก็อันหนึ่ง เปรียบเหมือนว่า มันยังไม่เข้าใจ และอยากจะเข้าใจ(อยากรู้ เพราะเสพติดปัญญา) มันก็จะคิดค้น – วิจัย – วิจารณ์ – วิตก จน clear (แจ่มแจ้ง) ก็เลิกคิดค้น(จบเป็นเรื่องๆ) แต่มันจบไม่จริงเพราะมันได้ทิ้งอนุสัยหรือความเคยทางใจที่จะคอยวิตก-วิจัย-วิจารณ์ไปเรื่อยๆ เรียกว่าเป็นความฟุ้ง ความซ่านทางใจ
เพื่อให้เลิกหลงรู้ เลิกหลงปัญญา จบงานวิตก-วิจัย-วิจารณ์ให้กับจิตเป็น ยุติการสร้างเหตุสร้างปัจจัย(เชื้อ)ของความฟุ้งซ่านไว้ในใจเป็น (แต่ที่มันติดลมมานั้นก็ต้องช่างมันสถานเดียว อย่าได้พยายามไปแก้ไขมันเด็ดขาด)และจะไม่เยิ่นเย่อ – ยืดเยื้อ – เรื้อรังไปหน้าเรื่อย ใหม่ๆเราค่อยๆเตือนใจตนเองถึงความเป็นจริงของสภาวะ , เหมือนเตือนจิตให้ได้บทสรุปที่ถูกต้อง – ตรงต่อสัจจะ เพราะถ้าไม่เตือนใจตนเองถึงความเป็นจริงของสภาวะ
• มันก็จะเสียเวลาคิดค้น – วิตก – วิจัย – วิจารณ์
• เสี่ยงที่จะส่งเสริมความคุ้นเคยที่จะแช่สภาวะได้ง่าย
• เพิ่มความหลงในแง่ของการไปสำคัญมั่นหมายสภาวะ
• กลายเป็นปัญญาแตกซ่าน วกวน ยึดติดกับความรู้ ความเข้าใจ กลายเป็นทิฐิ มานะต่อไป
• กลายเป็นส่งเสริม ตัณหา - อุปาทาน
• กลายเป็นการสร้าง – ตอกย้ำ อนุสัยวิบากเก่าเรื่อยไป โดยเฉพาะอนุสัยที่ชอบวิจัย – วิจารณ์ จะเอาปัญญา ชอบหาความรู้หรือติดรู้
• ก็ตัวคิดค้น – วิตก – วิจารณ์ มันก็ยังไม่ใช่อะไรเลย แล้วเรื่องที่มันจะไปวิจัย – วิจารณ์เค้าที่ไม่ใช่อะไรอยู่แล้วจะให้มันได้อะไรจริงๆขึ้นมาล่ะฮึ !
กลายเป็นว่า การวิตก – วิจัย – วิจารณ์ ก็เป็นอนุสัยเก่าที่ต้องการปัญญา อันตัวอยากรู้นี้แหละ คือ อวิชชา ลองตรึกตรองดูดี ๆ ใครกันแน่ อะไรกันแน่ที่ต้องการปัญญา รูปรึ! , เวทนารึ!, สัญญารึ! , สังขารรึ! ,วิญญาณรึ! ที่ต้องการปัญญา ม่ายช่าย... .อวิชชา – โมหะ – ตัณหา – อุปาทาน ต่างหากเล่าที่ต้องการปัญญา จึงเป็นปัญญาที่เอาปัญญา , เป็นปัญญาติดปัญญา
เท่ากับ ปัญญาติดห่วง คือ ห่วงไม่รู้ ห่วงดู ห่วงเห็น กลัวจะไม่เข้าใจ ก็เลยขวนขวาย ดิ้นรนไปต่างๆนานา (เป็นตัณหาในปัญญา อวิชชาในวิชชา) ใจก็เลยแส่ส่าย ไม่สงบ ไม่ตั้งมั่นไปซะเอง
แต่การที่จะละ วิตก – วิจารณ์ ของจิตได้อย่างชะงัดก็คือ เข้าใจ(สัจธรรม)ชนิดที่ว่าแจ่มชัด ซาบซึ้งจริงๆ และเตือนใจถึงความเป็นจริงว่ามันทั้งหมดที่ปรากฏมีอยู่นั้น “ไม่ใช่”
ไม่เอาแม้แต่ปัญญา
ไม่ปรารถนาแม้ความพ้นทุกข์
ไม่ต้องการเป็นอะไร
ไม่ต้องการได้อะไร แม้ความสงบ แม้ความตั้งมั่น
แล้วการวิตก – วิจารณ์ – วิจัย ของจิตจะลดลงไปเองอย่างมากมาย เรียกว่า “การข้ามพ้น” ที่มีก็เป็นแค่ความเคยชิน เมื่อไม่ต้องการอะไรเพราะรู้ความจริงซะแล้ว อันนี้ท่านเรียกว่า ปัญญาตัดปัญญา ไม่ใช่ ปัญญาเอาปัญญา ซึ่งเป็นเงื่อนไขให้จิตแสวงหา แส่ส่าย ดิ้นรน ด้วยอาการดังกล่าว ก็คือ ทุกข์ชัด ๆ อยู่แล้ว หมดความตั้งมั่น(ไม่ใช่พยายามจะตั้งมันเพื่อให้มันตั้งมั่น) รวมทั้งสิ่งที่แสวงหาก็ล้วนแต่เป็นขันธ์ทุกข์ๆทั้งสิ้น เพียงแต่ชื่อและสภาวะอาจดูดีเท่านั้น
(เช่นฌาน ญาณ) ท่านจึงใช้ภาษาสะท้อนให้รับรู้ถึงอันตราย หรือปัญหา , ความยุ่งยากวุ่นวายที่จะตามมาจากการแสวงหาเพราะความไม่รู้ ว่าหาห่า..อะไร , ตัณหา...ห่า..., วิปัสสนา..วิปัสสหนา , ตัณหา- หาทางตัน
มีวิตก ก็ไม่ อิน(in)ไป(=ละ) มันก็หลุดกันเองอยู่แล้ว ดับกันเองอยู่แล้วอย่างวิตก
มีวิจารณ์ ก็ไม่อิน(in) ไป(=ละ) มันก็หลุดกันเองอยู่แล้ว ดับกันเองอยู่แล้วอย่างวิจารณ์
มีปีติ ก็ไม่อิน(in) ไป(=ละ) มันก็หลุดกันเองอยู่แล้ว ดับกันเองอยู่แล้วอย่างปีติ
มีสุข ก็ไม่อิน(in) ไป(=ละ) มันก็หลุดกันเองอยู่แล้ว ดับกันเองอยู่แล้วอย่างสุข
มีเอกัคคตา ก็ไม่อิน(in) ไป(=ละ) มันก็เป็นอย่างที่ “ใจ” มันเป็น
ตามตำรากล่าวไว้ว่า
บรรลุปฐมฌาน อันมีองค์ประกอบด้วย วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา
บรรลุทุติยฌาน เมื่อละวิตก วิจารณ์เสียได้ เหลือเพียงปีติ สุข เอกัคคตา
บรรลุตติยฌาน เมื่อละปีติเสียได้ เหลือเพียงสุข และเอกัคคตา
บรรลุจตุตถฌาน เมื่อละสุขเสียได้ เหลือเพียง เอกัคคตา
เมื่อไม่เอาปัญญา – ความรู้ – ความเข้าใจ ไม่ in ไม่เจตนาสนใจกับอารมณ์ ความรู้สึก ความนึก ความคิด เพราะสำนึกถึงความเป็นจริงของสภาวะ เนื้อหาก็คือใจจะไม่ไปติด ไม่ข้อง
ไม่คา-ไม่ค้างอยู่กับสภาวะ การไม่ติดไม่ข้องนั่นแหละเรียกว่า การละ คือละโดยเนื้อหา โดยไม่ต้องไปทำการละ
ถ้ายังทำ นั่นไม่ใช่การละ (แต่มันคือการติดซะแล้ว) เอกัคคตาจิตมันก็จะเป็นของมันเอง ตั้งมั่นของมันเองอยู่แล้ว (เพราะมันหมดการแสวงหา, ดิ้นรน , แส่ส่ายที่จะเอาอะไร) เรียกว่า สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่มีเนื้อหาตรงกับสัจธรรม จึงเรียกว่า สัมมา...
การทำสมาธิ แบบเจตนา ทำการรวมจิตให้เป็นหนึ่ง แล้วก็ระเบิด ตูม ! ออกมา แล้วบอกว่าบรรลุธรรมนั้น ท่านบอกว่ามันไม่ถูกต้องโดยธรรม การรวมจิตให้เป็นหนึ่งด้วยอาศัยความเพียร – ความพยายาม, เจตนาทำๆๆๆ จริง ๆ ก็คือ การรวบรวมอุปาทาน “เข้าเป็นหนึ่ง” และเมื่อมันทนไม่ได้ (ทุกขัง – ขังทุกข์) ก็เลยระเบิดตูม! ( แสดงสัจจะ)ออกมา แต่เมื่อมีอนุสัยความคุ้นชินที่รวบเข้าก็จะรวมกันอีก ระเบิดอยู่นั่น เข้า ๆ ออก ๆ อยู่นั่น สมาธิหรือเอกัคคตาชนิดนี้
ไม่เรียกสัมมา...จะเรียกว่ามิจฉาสมาธิ หรือโลกิยสมาธิก็ว่ากันไป
ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อใจตรงต่อ ไม่..อยู่แล้ว , ไม่ต้องอยู่แล้ว , ว่างอยู่แล้ว จริง ๆ
นั่นแหละคือ นิโรธ = ความดับลงของตัณหา ความดับไม่เหลือของตัณหา
นี้แหละคือเนื้อหาของ นิโรธสมาบัติ ของจริง ไม่ต้องเข้า –ต้องออก ไม่ต้องทำ ไม่ใช่ต้องไปนั่งเข้า – ออกจากสภาวะนิโรธที่ทำขึ้น
การเตือนใจถึงความเป็นจริงที่ว่าทุกสรรพสิ่งว่างอยู่แล้ว , ไม่เกี่ยวกับอะไรอยู่แล้ว , ไม่ใช่อยู่แล้ว , ไม่เนื่องด้วยอยู่แล้ว ทำให้ใจเลิกสำคัญมั่นหมายในปรากฏการณ์ , เลิกสนใจ , เลิกแวะ, เลิกแช่ , เลิกจม , เลิกงม , เลิกสาระวนกับสภาวะ เรียกว่าตื่น!!! จะไปเอาปัญญาแบบไหนอีก
มัวแต่ไปวิตก วิจัย วิจารณ์ มันก็เป็นเนื้อหาของโมหะ อวิชชา อุปาทานนั่นเอง ดูดี! วิตก วิจัย วิจารณ์แล้วจะได้เข้าใจ
อันนี้ให้เราเข้าใจตรงต่อความจริงที่ว่า “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”นี้คือ ทุกสิ่งไม่ยึดเกาะตัวมันเองอยู่แล้ว , มันไม่มีความหมายในตัวมันเองอยู่แล้ว , มันไม่เกี่ยวกับกายแบบไหนใจจะอย่างไรอยู่แล้ว ปราศจากเงื่อนไข , ไร้ข้อแม้ใด ๆ, ไม่ใช่การยึดติด ,จะเอาก็เอาไม่ได้จริง จะยึดก็ยึดไม่ได้จริง เห็นชัดเข้าใจชัดดังนี้แล้ว “ใจ”มันจะเด็ดเดี่ยว , เด็ดขาด , อาจหาญในการปรากฏขึ้นของกรรมวิบากทุกรูปแบบ ก็ข้ามพ้นอนุสัย ธาตุ ขันธ์ไปเอง ,จืดจางไปเอง , หมดความหมาย , หมดความหลงเป็น..ไปเอง เรียกว่า ไม่หลงแบกวิบาก
คราเมื่อวิบากปรากฏก็ไม่ทุกข์ยากลำบาก(เพราะไม่แบก)จนเกินไป อนุสัยก็ไม่ใช่อนุสัย , ธาตุก็ไม่ใช่ธาตุ , ขันธ์ไม่ใช่ขันธ์อีกต่อไป ไม่ไปหลงแวะเวียน เกาะเกี่ยวเหนี่ยวรั้ง วิตก – วิจัย – วิจารณ์ ให้เป็นเป้า เป็นจุด เป็นธุลีให้ตัณหา – อุปาทานได้หยั่งรากฝากเมล็ดไว้สืบภพ สืบเผ่า สืบพันธุ์ต่อไปอีก
สรุปให้ใจตรงต่อความเป็นจริงเรื่อย ๆ แล้วมันก็เลิกหลงไปเอง ทุกปรากฏการณ์ที่เกี่ยวเนื่องด้วยกายและใจ “ ไม่ใช่”ทั้งหมด นี้คือความจริง ที่ไปหลงยึด หลงเกาะ หลงแกะกันอยู่มันก็เป็นเรื่องที่เนื่องด้วย กาย – ใจทั้งหมด เมื่อ “ใจ”ไม่เนื่องด้วยปรากฏการณ์ของใจเองเป็น เพราะใจได้บทสรุปที่ตรงต่อสัจธรรม ตัณหาก็เป็นอันถูกละ , อุปาทานก็ไม่อาจหาที่ยึด – ที่เกาะได้ มันก็ล้มหายตายจากไปเอง
พระนิพพานนั้น : ไม่ใช่กาย – ใจ, ธาตุ – ขันธ์ใด ๆ
: ปราศจากเหตุ – ปัจจัย
: นอกเหนือ กิริยา – เจตนากรรม
: นอกเหนือและไม่ใช่สิ่งปรุงแต่ง(สังขาร)ทุกชนิด
: นอกเหนือข้อแม้ เงื่อนไขทั้งปวง
: พ้นจากตัณหา – ปราศจากตัณหา หรือความดับลงของตัณหา
: สมบูรณ์อยู่แล้ว
เมื่อใจตรงต่อ
ไม่...อยู่แล้ว
ไม่ต้องอยู่แล้ว
ไม่ตั้งอยู่แล้ว
ไม่เนื่องด้วยอยู่แล้ว ไม่อะไรกับอะไร แล้วแล้วไป ....
อย่างเด็ดเดี่ยว – เด็ดขาด – อาจหาญ
จุดอ่อนทั้งหลายจะหายไปเอง ไม่ต้อง(หลง)ไปกำจัดจุดอ่อน....หลอก
มันเลิกอ่อนแอไปเอง ไม่ต้อง(หลง)สร้างความเข้มแข็งขึ้นมา...หลอก
มันเลิกอ่อนไหว – เลิก ไหลตามไปเอง ไม่ต้อง(หลง)ไปสร้างความมั่นคงขึ้นมา...หลอก
มันหมดความหย่อน – ยานไปเอง ไม่ต้อง(หลง)พยายามสร้างตบะขึ้นมา...หลอก
เพียงใจตรงต่อสัจจะ ความที่ใจตั้งมั่น (สัมมาสมาธิ) จะเป็นไปเอง เพราะจิตมันเลิกหลงเลิกแวะ – เวียน – วกวน – แส่ส่าย – ควาน – ค้น – หา – เอา อะไร, ไม่อะไรกับอะไร อย่าได้หลงไปพยายามทำใจให้ตั้งมั่นเลย นั่นมันถูกตัณหา – อุปาทาน – โมหะหลอก
ความไม่ทุกข์ หรือความพ้นทุกข์ คือ การดำเนินชีวิตไปแบบไม่เนื่องด้วยอะไร ยิ่งเนื่องด้วยมาก , เกี่ยว - ข้องกับสิ่งใดมาก ๆ ทุกข์ก็ยิ่งมากเพราะติด – ขัด – ข้อง – คามาก
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #16 on:
22 December 2012, 13:06:43 »
กรรมฐาน
คำอธิบายทั่วไป กรรมฐาน แปลตามรูปศัพท์หมายถึง ที่ตั้งของการกระทำ
รวมถึง วิถี – วิธีการฝึก – อบรมจิต
โดยทั่วไปก็หมายถึง วิธีการปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน 4 ซึ่งเมื่อดูจากคำแปลก็จะเข้าใจได้ว่าสิ่งที่เรียกว่า ฐานหรือที่ตั้ง คือ กาย – เวทนา – จิต – ธรรม อันเป็นที่จิตเข้าไประลึกรู้ เพื่อให้เห็นถึงความเป็นจริงของฐานนั้น ๆ ไปเรื่อย ๆ จากสัญญา จนเกิดญาณ – ปัญญา ปล่อยวาง กาย – ใจ ได้ในที่สุด
หรือในอีกแง่หนึ่งคือ การให้จิตมีหลักหรือที่อาศัย หรือที่อยู่(ที่เกาะ)กับสภาวะอะไรซักอย่างเพื่อใช้เป็นฐาน ประมาณว่าฐานที่มั่น ก่อนที่ออกจะไปทำงาน (ไม่ว่ามโนกรรม วจีกรรม กายกรรม) เพื่อไม่ให้กระทำการใด ๆ ไปด้วยอำนาจของตัณหาอุปาทาน , หรือทำไปเพราะมีอารมณ์ (โดยเฉพาะอารมณ์อันไม่พึงประสงค์) หรืออคติครอบงำ อันเข้าใจว่าจะเป็นเหตุให้กิเลส อกุศลได้เกิด ได้กำเริบแล้วเกิดทุกข์โทษตามมา อีกทั้งจะเป็นการเจริญธรรมฝ่ายกุศล – วิชชา กุศลใด ยังไม่เกิดก็จะได้เกิด , กุศลใดที่มีแล้ว เกิดแล้วก็จะได้เจริญยิ่งๆขึ้นไป ภาษาเรียกว่า การปรารภความเพียร ความเข้าใจดังนี้ ดูเข้าท่าดี !
คำอธิบายดังกล่าวเมื่อผู้อ่านได้อ่านแล้ว ปฏิบัติตามแล้ว จะมีผลแตกต่างกัน เพราะอะไร? เพราะภาษาที่ใช้และเนื้อหาที่แท้จริงของวิธีการปฏิบัตินั้น ไม่ตรงต่อความเป็นจริง (สัจจะ) หรืออาจไปขัดแย้งกับสัจจะ ความเป็นจริงแท้ๆ(มีอยู่แล้ว)ว่าทุก(ข์)สภาวะ ไม่ว่าภายนอก ภายใน
• ไม่ใช่สิ่งยึดติด...อยู่แล้ว
• หลุดกันเอง...อยู่แล้ว
• วางกันเอง...อยู่แล้ว ทั้งหมดนี่ ... “อยู่แล้ว”
• ปล่อยกันเอง...อยู่แล้ว “ ไม่เนื่องด้วย ” เจตนา – กรรม(กำ) – ทำ
• ดับกันเอง...อยู่แล้ว “ ไม่เนื่องด้วย ” ความเพียร – พยายาม
• ปราศจากความหมาย...อยู่แล้ว (ดิ้นรน -รอคอย) แม้แต่น้อยนิด !!
• ไร้ความแตกต่าง...อยู่แล้ว
• ไม่ใช่เป็นอะไรที่จริงแท้...อยู่แล้ว
• ว่าง...อยู่แล้ว
ดังนั้นการเกี่ยวข้องกับสัจจะอย่างถูกต้อง – ตรงต่อเนื้อหาของสัจจะจริง ๆที่เรียกกันว่า สัมมามรรค (อริยมรรค) สรุปลงสู่สมมติบัญญัติที่สั้นที่สุด ก็คือ “ ไม่ ”
รู้เอง - ไม่เจตนารู้
รู้แบบไม่อะไรกับอะไร (ไม่หลงไปให้ค่า ให้ความหมาย)
รู้แบบแล้วแล้วไป(ไม่ทำตาม ไม่ทำต้าน ไม่ทำแม้การทรงอยู่-เฝ้าไว้)
รู้ไม่เอารู้(และความรู้) – ไม่ติดรู้ นั่นแหละ “ไม่หลงรู้”
ก็คือ ตัดซะรู้ เรียกว่า ตรัสรู้ ตามตำรากล่าวว่าพระพุทธองค์ได้ปฏิญาณเป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต่อเมื่อได้สำเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอันประกอบด้วย
- สัจจญาณ ญาณหยั่งรู้สัจจะ ทุกขสัจ
- กิจจญาณ ญาณหยั่งรู้กิจ ทุกขสมุทัยสัจ
- กตญาณ ญาณหยั่งรู้กิจที่ทำแล้ว ทุกขนิโรธสัจ ปริวัฏฏ์ 3 อาการ 12
ทุกขนิโรธคา-
มินีปฏิปทาสัจ
เมื่อไม่เข้าใจความเป็นจริงที่มีอยู่แล้ว ความรู้ในการที่จะเกี่ยวข้องกับความจริง (อริยสัจทั้ง 4 ) ก็ไม่ตรงคือไม่ถูกต้องตามไปด้วย(มิจฉามรรค - โลกิยมรรค)
ดังนั้นเจตนากรรมในทุกรูปแบบ ไม่เว้นแม้แต่สิ่งที่เรียกว่า กรรม(กำ)ฐาน ถ้าหากยังมีเนื้อหาของจงใจกระทำ , ปรุง ,แต่ง, สร้าง...ฯลฯ มันก็จะได้แค่ดูดี แต่ไม่อาจที่จะเข้าถึง(เป็นเนื้อหาเดียวกันกับ)ความเป็นจริงคือสัจจะได้ เพราะเจตนากรรมนั่นเองปิดบัง , บดบัง , เคลือบ , ปกปิด...สัจจะนั้นไว้ ท่านเรียกว่า กรรมบัง , การปฏิบัติปิดบังพระนิพพาน
เปรียบเหมือน ตัวเราเป็นกระแสน้ำอยู่แล้ว หลง – เข้าใจผิดว่าขณะนี้เป็นก้อนน้ำแข็ง ก็เลยพยายามทำอะไร ๆ ให้น้ำแข็งละลายจะได้หมดความเป็นก้อนน้ำแข็ง และกลับไปรวมกับกระแสน้ำดังเดิม
เหมือนกันคือ ด้วยความหลงยึดว่ามีตัวตน ผู้ที่ไม่รู้อะไรเลยก็หวง – ห่วง self อันนี้แบบโลก ๆ ทุกข์ – ยาก – ลำบากไปแบบโลก ๆ ผู้ที่สนใจธรรมะ ก็เริ่มได้ยินและเข้าใจว่าไม่มีเรา หรือตัวตนที่แท้จริง แต่พอลงมือปฏิบัติเข้าจริง ๆ ก็พยายาม , ทำๆๆๆอะไร ๆๆ ให้หมดตัวตน หรือตัวตนหมด หรือให้อะไร ๆ ที่เรียกว่า ไม่ดี – อกุศล หลุดหรือหมดไป ขณะเดียวกันก็พยายาม (ขยัน)ทำในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะให้มีสิ่งที่เรียกว่า กุศล โดยเฉพาะสติ ศีล สมาธิ ปัญญา หวังว่า – เข้าใจว่า – รู้สึกว่า – เห็นว่า เมื่อมีสิ่งเหล่านี้(แบบที่ตัวเองเข้าใจว่าใช่)แล้วจะพ้นทุกข์ได้ , จะทำให้ตัวตนหมดไป
หารู้ไม่ว่า – ยิ่งมีเจตนากรรม เพื่อให้อะไรๆมี ให้อะไรๆหมด กลับกลายเป็นการตอกย้ำ หรือหลงสร้าง(บำเพ็ญ)-เสริมความหลงผิดว่าเป็นตัวเป็นตนให้หนักแน่นยิ่งขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพราะความหลงผิดที่รู้สึกว่าเป็นตัวตนนั่นแหละที่ผลักดันให้เกิดความเพียรนั้น และมันจะซ้อน – แทรกไปพร้อมกับเจตนากรรมเรียบร้อยแล้ว เหมือนที่อุปมา อุปมัยถึงเรื่องก้อนน้ำแข็ง (ซึ่งไม่มีจริงอยู่แล้ว) ยิ่งพยายามทำให้ก้อนน้ำแข็งละลาย กลับกลายเป็นยิ่งพอกพูน(ความหลงผิดว่าเป็น)ก้อนน้ำแข็งอีกด้านหนึ่งให้คงอยู่หรือเพิ่มขึ้น ทั้งๆที่จริงๆมันก็เป็นกระแสน้ำเดิมอยู่แล้ว
ดังนั้นทางเดียวที่จะกลับรวม (ยืมภาษาใช้) คือไม่ทำ หรือยุติทำ งดเว้นเจตนากรรมทุกรูปแบบ(นี่แหละศีลอริยะที่แท้จริง)ลองดูสิ ปล่อยให้ปรากฏการณ์ของใจแสดงออกอย่างอิสระเต็มที่ ลองไม่ทำตาม – ทำต้าน – ทำต่อ ดูซิ ทุกสภาวะมันจะดับให้ดู , แล้วแล้วไปให้รู้ได้เอง ลองไม่ต้อง ไม่ตั้งดูซิ ใจก็จะประจักษ์แจ้งถึงสิ่งที่เป็นเหตุและการไม่สร้างเหตุแห่งทุกข์ไปเอง,
การงดเว้นเจตนากรรม(ศีล)ด้วยความเข้าใจที่ตรงต่อสัจธรรม(ปัญญา-สัมมาทิฐิ)นี้ ก็เป็นอันเดียวกับ การไม่ยึดหรือปล่อยวาง (แต่ไม่ใช่ทำอะไรขึ้นมาเพื่อที่จะไม่ยึดหรือไปวางมัน)
ไม่เจตนาสนใจ ก็จะไม่มีเนื้อหาที่ จะมุ่ง จะหมายให้มันมั่น
ไม่อะไรกับอะไร ก็ไม่ติด – ขัด – ข้อง – คาในสภาวะ สถานการณ์
ไม่ตอกย้ำอนุสัยเดิม วิบากเดิม ให้กลับกลายเป็นเหตุสืบต่อ
ไม่สร้างอนุสัยใหม่ ก็ไม่ต้องรับ วิบากใหม่
เมื่ออนุสัย ปรากฏได้อย่างอิสระเต็มที่ และไม่ค้าง(แช่)อยู่ อาสวะ ( การหมักดอง อันเกิดจากการแช่สภาวะ สภาวะที่เกิดไม่สามารถแล้วแล้วไปตามธรรมชาติเดิมของเค้าได้ เพราะตัวยุ่ง คือการไปตอกย้ำตามสันดานเดิมคือความคุ้นเคยที่ติดลมมา ) ก็จะจืดจางหมดกำลังไปเอง
กรรมฐานที่จะไม่หลง : ต้องสะท้อนมาจาก “ว่าง” ไม่ใช่สะท้อนมาจากหรือเนื่องด้วยความหลงว่าเป็นตัวตน , หรือเนื่องด้วยตัณหา – อุปาทาน แม้ในธรรมะ
: จะตรงต่อวิปัสสนาจริง ๆ ก็ต่อเมื่อไร้เจตนาเป็น , มีแต่เรื่องของการผ่านไป ๆ ของขันธวิบาก เริ่มแต่ขันธ์รู้ มีแต่ปลง- ปล่อย-วางทุกฐาน ไม่ใช่มัวหลงกำฐาน
เฝ้าฐาน ติดฐาน
อย่างไรจึงเรียกว่า หลงกำฐาน ก็คืออาการที่ใจมีเจตนาเข้ารู้-ไปดู-ไปกำหนด- Focus
ดูให้ชัด เห็นให้ชัด...นั่นแหละคือ อุปาทานในฐาน ติดขันธ์ = อุปาทานในเบญจขันธ์
ให้เข้าใจความจริงตรง ๆ อย่างนี้ แล้วมันจะเลิกหลงไปเอง แล้วก็ไม่ต้องไปตามเช็คว่ามันเลิกหลงกันยังไง มันเลิกหลงกันไปถึงไหนแล้ว “ ไม่ต้อง ก็คือไม่ต้อง...” ก็เพราะสภาวะมันไม่ต้อง... เรามัวไปต้อง...มันก็ผิดธรรม มัวไปเช็ค การเช็คนั่นแหละเป็นการต้องแล้วล่ะ มันก็ติดนะซิ ติดอะไร ก็ติดรู้ – ติดอนุสัย เป็นตัณหาในปัญญาผลักดันมา ให้กลายเป็นทิฐานุสัย, มานานุสัย ทำได้ – ทำไม่ได้ ทำสำเร็จ – ไม่สำเร็จ (หลง)มีตัวเองมีส่วนได้ส่วนเสียกับธรรม(อนัตตา)ติดฝั่ง – ติดธาตุ ติดขันธ์โดยไม่รู้ตัว
รหัสนัยของภาษา คำว่า
“มัว” แสดงถึงความไม่ชัด ไม่กระจ่าง ไม่แจ่ม ไม่แจ้ง มีภาษาที่สอดคล้อง
กันอีกเช่น พร่ามัว หมองมัว มัวหมอง เป็นต้น จริงๆก็คือยังหลงอยู่
หรือไม่ - เข้า - ใจ
“ ต้อง” มีเนื้อหาของสภาวะคือ : สัมผัส(ผัสสะ) , กระทบ – แตะต้อง
: มีเงื่อนไข, มีข้อแม้
: ความอยาก(เอา-ไม่เอา)และความยึด
เพราะ “ความมัว” จึงหลงไป “ ต้อง” ไม่เข้าใจว่า เมื่อ “ต้อง”มันก็ “ติด” นั่นคือ
การเจริญขึ้นของสมุทัย
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #17 on:
22 December 2012, 13:07:51 »
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
เนื้อหาคำตรัสของพระพุทธองค์ที่สำคัญมากและอาจถือได้ว่า เป็นเนื้อหาของสัจจะล้วนๆเลย ก็คือ การแสดงธรรมครั้งแรกของพระองค์ต่อปัญจวัคคีย์ ยังผลให้มีพระสงฆ์องค์แรกเกิดขึ้น ที่รู้จักชื่อท่านว่า อัญญาโกณฑัญญะ มีดวงตาเห็นธรรม หลังจากพระพุทธองค์ได้แสดงธรรมที่ตั้งชื่อให้ภายหลังว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โดยแสงสว่างแห่งปัญญาที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะคือ
“ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมัง ”
“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา”
เนื้อหาของพระสูตรที่ชื่อ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จะว่าไปแล้วก็คือแก่นของการปฏิบัติ (โดยภาษา) แบบบริสุทธิ์ โดยลำดับก็คือ ท่านแสดง
ทาง - ฝั่ง สุดโต่ง 2 ข้างที่ไม่ควรข้อง – แวะ - กามสุขัลลิกานุโยค
- อัตตกิลมถานุโยค
ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือมีมรรคมีองค์ 8 แล้วสรุปลงที่
ญาณ : สัจจญาณ – กิจจญาณ – กตญาณ ในอริยสัจ 4
ภาษาที่ว่า แสดงธรรม ก็มีนัยสำคัญที่ควรทราบเช่นกัน ซึ่งเราจะได้ยิน ได้อ่านกันบ่อย ๆ แต่ถ้าฟัง หรืออ่านผ่าน ๆ ก็อาจจะละเลยเนื้อหาที่ถูกตรงได้ การแสดง(สัจจะ)ธรรมไม่เหมือนกับการสอน(ให้ทำ)ธรรม
ซึ่งการสอนธรรม มักจะมีลักษณะคือ สอนให้ทำ ทำให้ถูก ทำให้เป็น ทำให้ต่อเนื่องซึ่งก็ต้องตั้งใจฟัง – อ่านให้เข้าใจ แล้วก็ต้องพยายามทำให้ถูก ทำให้เป็นตามที่ท่านสอน , ครูบาอาจารย์ให้ทำอย่างนั้น ให้ทำอย่างนี้ก็ทำไปด้วยใจเคารพเลื่อมใสศรัทธาในตัวครูบาอาจารย์ อันนี้ให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องของเทคนิค,อุบาย, กุศโลบายต่างๆนานา ผลลัพธ์(รับ)ก็จะเป็นไปจากเหตุที่ได้ทำไว้
แต่การแสดงธรรม คือ การบอกหรือเล่าความจริง – สัจจะของสรรพสิ่ง ไม่ว่าสัจจะระดับไหน(ที่ว่ากันโดยสมมติ) ไม่ใช่สั่งหรือสอนให้ทำใจแบบใหม่ๆขึ้นมาที่นอกเหนือไปจากการดำเนินไปในชีวิตประจำวัน เพราะสัจธรรมก็มีอยู่แล้วในความเป็นไปของชีวิตประจำวันนี้เอง เมื่อได้ฟังแล้วก็ตื่นต่อความเป็นจริงนั้น ความสำนึก – สำเหนียก – แยบคาย – คำนึงถึง-เฉลียวใจถึงความเป็นจริงนั้น จะเป็นสติเป็นปัญญาไปโดยธรรมชาติ ไม่ใช่การตั้งท่าทำหรือทำท่า(ท่าเรือ-ท่ารถ) แต่หมายถึงปลง- วาง- สละ-จาคะ-ทาน –ให้ขันธ์ ซึ่งไม่ใช่การทำ หรือทำเอา
การแสดงธรรมของพระองค์ต่อปัญจวัคคีย์ที่ชื่อว่า ธัมมจักกัปวัตตนสูตร ก็เป็นเหมือนพระองค์บอกเล่าเส้นทางชีวิตของพระองค์ จนกระทั่งได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นไปเองโดยธรรมชาติ ซึ่งเส้นทางนั้นไม่มีการวางแผนหรือรู้ล่วงหน้าให้เป็นขั้นตอนอย่างใด ๆ
สาธุชนเมื่อได้สดับพระธรรมเทศนานี้แล้ว ก็คิด – นึก- รู้สึก – ตีความ – วิเคราะห์กันไปในแง่มุมต่าง ๆ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็เป็นความเข้าใจของผู้เรียบเรียงเอง ซึ่งผู้อ่านก็ลองตรองดูเอาเองเถิด ให้สำเหนียกในเนื้อหาของกาลามสูตรไว้ให้ดี โดยผู้เรียบเรียงใช้หลักเทียบเคียงของสัจธรรม สัจธรรมนี้มีมาอยู่ก่อนแล้ว จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นหรือไม่อุบัติขึ้น สัจธรรมก็ยังคงมีอยู่ มิได้สูญหายไปไหนหรือเพิ่งเกิด การบรรลุธรรมของพระองค์ก็คือ บรรลุถึงสิ่งที่ไม่ต้องทำการได้กลับไปรวมหรือเป็นหนึ่งเดียวกับสัจธรรม ( ขอยืมภาษาใช้) คือได้แจ่มแจ้งว่าของแท้เดิม (ของเดิม)เป็นอย่างไร จึงได้รู้ว่าของปลอม – ของหลอก (ของเก่า)ที่เป็นอยู่เป็นอย่างไร และรู้ว่าเหตุที่สัตว์โลกไม่อาจเข้าถึงของเดิมแท้ได้ หรืออยู่ในภาระที่เกินหรือเลยสัจธรรมไปเนื่องด้วยเหตุอันใด และได้รู้ว่าหนทางที่จะเข้าถึงหรือกลับเป็นหนึ่งเดียวกับสัจธรรมคืออะไร อย่างไร
และเช่นเคยว่า ขอให้ผู้อ่านสำนึกเสมอว่า ภาษาที่ข้าพเจ้ายืมใช้อยู่นี้อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ ดังนั้นถ้าหากมีภาษาที่เนื้อหาชี้ ชวนให้มุ่งเกิดเจตนากรรม อันจะไม่สอดคล้องหรือตรงต่อสัจธรรมแล้ว ก็ขอให้รู้ว่าเป็นเพียงยืมภาษาใช้เท่านั้นตามสมมติโลก แต่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้ทำอย่างที่เคยเข้าใจตามภาษาที่ยืมใช้นั้น เนื้อหาดังกล่าวนี้ อาจไม่คุ้นเคย แต่ขอให้ตรองดูดี ๆ
ช่วงแรกของชีวิตพระองค์ก็เพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งหลาย และพระองค์ก็เสวยกามสุขทางเนื้อหนังมังสาอย่างเต็มที่ ว่าโดยเนื้อหาก็คือ การเพลินอยู่ – ไหลตามอารมณ์ – ความรู้สึก – ความนึก –ความคิด แบบสมมติโลก เรียกว่า เจตนาทำตาม แบบปฏิบัติกิเลส จัดได้ว่าเป็น
กามสุขัลลิกานุโยค ( การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข )
ต่อเมื่อพระองค์ตื่นต่อความเป็นจริงของชีวิตว่ามีเกิด ก็ต้องมีแก่ เจ็บ ตาย ไม่อาจพ้นการเวียนตาย – เวียนเกิดได้ พระองค์จึงออกแสวงหาโมกขธรรมหรือความดับของกองทุกข์ โดยสละราชสมบัติออกบวชเป็นนักบวช ช่วงแรกก็ไปศึกษาการทำสมาธิกับอาจารย์จนได้ฌาน 7 , ฌาน 8 พระองค์ก็รู้ได้ว่ายังไม่ใช่ทางดับทุกข์ ได้เพียงแต่เสวยความสุข –ความสงบ จากฌานขั้นละเอียด ช่วงนี้ก็ยังจัดเป็นการเจตนาทำ – กรรมปฏิบัติ – ปฏิบัติทำอยู่
ยังจัดเป็น “กามสุขัลลิกานุโยค” ได้อยู่
ต่อมาได้บำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างยิ่งยวด จนเกือบสิ้นพระชนม์ก็พบว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ได้ อันนี้ก็ยังเป็นกรรมปฏิบัติ – ปฏิบัติทำ – กรรมเจตนา เรียกว่า “อัตตกิลมถานุโยค” ( การกระทำตนให้ลำบาก – ยุ่งยาก การบีบคั้นทรมานตน(ใจ)ให้เดือดร้อน )
เมื่อพระองค์รู้ชัดด้วยประสบการณ์ตรงของพระองค์เองว่าไม่อาจพ้นทุกข์ได้ด้วยวิธีดังกล่าว และได้นิมิตจากสายพิณ (ตามตำรา) ที่หย่อนเกินไปและตึงเกินไปว่าไม่อาจก่อประโยชน์ได้ จึงหันกลับมาเสวยพระกระยาหารจนพระวรกายแข็งแรงเป็นปกติแล้วอธิษฐานเสี่ยงทายลอยถาดทวนน้ำได้ ทำให้พระองค์มั่นใจหรือมีกำลังใจว่าจะสามารถตรัสรู้ได้อย่างแน่นอน แล้วจึงนั่งขัดสมาธิใต้ต้นโพธิ์โดยอธิษฐานว่า ตราบใดที่ยังไม่ตรัสรู้ ไม่สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าจะไม่ลุกจากอาสนะอันนี้ แม้เนื้อหนังเอ็นกระดูกจะแห้งเหือดไปก็ตามที
ตามตำรากล่าวว่าพระองค์เจริญอาณาปานสติอยู่ จนปฐมยามก็บรรลุ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ , ระลึกชาติได้) ต่อมามัชฌิมยามก็บรรลุจุตูปปาตญาณ (ญาณกำหนดรู้จุติ – อุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุญาณ) และเมื่อถึงปัจฉิมยามพระองค์ก็บรรลุอาสวักขยญาณ ( ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปของอาสวะทั้งหลาย, ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ) ปฏิญญาได้ว่าเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ที่น่าสนใจก็คือตั้งแต่พระองค์รู้ว่าหย่อนเกินไป – ตึงเกินไปก็ไม่ใช่ทาง พระองค์ก็ดำเนินชีวิตตามปกติที่มิใช่การเพลินหมกมุ่นอยู่ในความสุข และไม่ประกอบตน – บังคับ – ควบคุมให้ใจตึง - เครียด ขอให้สังเกตว่าการดำเนินชีวิตที่เป็นไปตามปกตินั้นไม่ต้องเจตนาทำการคอยอยู่ เมื่อใจตื่นรู้ – ตระหนักชัดถึงความไม่ใช่ของทางหย่อนและทางตึง ใจก็ไม่หลงไปติดฝั่ง 2 ฝั่งนั้นเองโดยปริยาย ใจที่ไม่ติดฝั่ง 2 ฝั่งนั่นก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทาไปโดยเนื้อหาทันที
พระองค์มิได้มีเจตนาจะสร้างหรือทำทางสายกลางขึ้นมาเพื่อการคอยอยู่กับทางสายกลางนั้น มันจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะพระองค์ไม่รู้มาก่อนว่าทางสายกลางคืออย่างไร อีกทั้งพระองค์ก็รู้อยู่แล้วว่าการพยายามที่จะอยู่ มันก็คือ การบังคับ – ประคอง – รักษา เป็นเนื้อหาของการติดฝั่งเรียบร้อยแล้ว และถ้าจะอยู่กับสภาวะอะไรได้สำเร็จ(เช่นฌาน ญาณ)ก็เป็นการแช่ – เพลิน – จมก็เป็นการติดฝั่งอีกคือกัน
ตรงนี้จึงอยากจะชี้ให้เข้าใจว่า ด้วยความตื่นต่อความเป็นจริง – ตระหนักชัดถึงความไม่ใช่ทางของฝั่ง 2 ฝั่ง ใจมันก็ไม่หลงไปติดเองและถ้ามันจะหลงไปติดอีกก็รู้ได้ – ตื่นออกเองไม่ใช่พยายามจะออกหรือคอยอยู่กับอะไร
เมื่อไม่ติดฝั่งเพลินและฝั่งดิ้นรน ใจมันก็อยู่ในเส้นทางของมัชฌิมาปฏิปทาโดยปริยาย ตรงนี้สำคัญมากเพราะจากประสบการณ์ของพระพุทธองค์เอง ฝั่งสุดโต่ง 2 ฝั่ง ล้วนแล้วแต่เนื่องด้วยเจตนากรรมทั้งสิ้น
กามสุขัลลิกานุโยค : เจตนากรรมสนใจอยู่กับกามสุขทั้งกายและใจ
อัตตกิลมถานุโยค : เจตนากรรมบังคับ – กดข่ม – ควบคุมทั้งกายและใจ
จะเห็นได้ทันทีเลยว่าเหตุที่ทำให้เกิดการติดฝั่งสุดโต่ง 2 ฝั่งของพระองค์ เกิดเนื่องมาจากการขาดความรู้ – ความเข้าใจ ที่เรียกว่าเพราะความไม่รู้ก็เลยทำไป เพราะเข้าใจว่าเส้นทางที่ทำนั้นอาจจะเป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ เรียกว่าพระองค์เองก็งมทาง – หาทาง – แสวงหาด้วยความไม่รู้นั่นเอง ก็เลยต้องลองไปเรื่อย ๆ เหมือนคนหลงป่าจะหาทางออกจากป่าก็ต้องลอง เส้นทางนี้ๆ ไม่ใช่ๆ ก็ลองเดินไปทางใหม่ไปเรื่อย ๆ ก็เริ่มจะรู้ได้ว่าเส้นนี้ๆ ไม่ใช่ ๆ ก็เช่นกัน
พระพุทธองค์ก็ลองผิดลองถูกเพราะความไม่รู้ฉันนั้น
ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าอาการที่ทำให้เกิดการติดฝั่ง 2 ฝั่งนั้น ล้วนเนื่องด้วยเจตนากรรมที่ประกอบขึ้นด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจทั้งสิ้น ต่อเมื่อพระองค์ประจักษ์ชัดถึงความเป็นจริงดังกล่าว ก็คือตื่นต่อความเป็นจริงจากประสบการณ์ตรงของพระองค์เอง จะเรียกว่าเกิดปัญญาก็ได้ พระองค์ก็สามารถดำเนินตนอยู่บนทางสายกลาง โดยเพียงแต่งดเว้นเจตนากรรมที่จะไปติดฝั่งทั้ง 2 เท่านั้น แต่คำว่าการประกอบตนอยู่บนทางสายกลางมิได้หมายถึงเจตนากระทำอะไร ๆ เพื่อให้ไม่ไปติดฝั่ง 2 ฝั่ง หรือทำอะไร ๆ เพื่อจะได้อยู่บนทางสายกลาง
แต่เนื้อหาแท้ ๆ ของการอยู่บนทางสายกลางคือ ไม่ทำอะไร ไม่ทำอะไรนั่นแหละคือการงดเว้นหรือละเจตนาที่จะติดฝั่ง 2 ฝั่ง แล้วก็อยู่บนทางสายกลางโดยปริยาย ไม่ใช่อยู่โดยเจตนาอยู่ แต่ตรงกันข้ามคือ ที่เป็นทางสายกลางได้เพราะไร้เจตนากรรมที่จะอยู่ เพราะเมื่อไหร่ที่มีความต้องการจะอยู่กับสภาวะใด ๆ ก็ตาม มันต้องอาศัยเจตนาเท่านั้นจึงจะอยู่กับสภาวะได้ (แต่ก็อยู่ได้ไม่จริง) เพราะโดยสัจธรรมแล้วธาตุทุกธาตุ – ขันธ์ทุกขันธ์ มันยังไม่ติดตัวมันเองเลย มันปล่อยกันเองตลอด , วางตัวมันเองตลอด แล้วมันจะไปอยู่กับธาตุอื่น – ขันธ์อื่นได้อย่างไร ตัวมันเองมันยังไม่อยู่กับตัวมันเอง นี้คือสิ่งที่ผู้ปฏิบัติ “ต้องสำเหนียกถึง” รหัสนัยของทางสายกลางให้ดี ๆ ตรง ๆ ต่อสัจธรรมแล้ว จะได้ไม่หลง เลิกหลงทางซะที
ดังนั้นเนื้อหาของทางสุดโต่ง 2 ข้างจะเกิดได้ก็เนื่องด้วยเจตนากรรม ซึ่งสามารถเรียกได้ว่า กรรมกิเลส เพราะมันเนื่องมาจากแรงผลักดันของโมหะ – ตัณหา – อุปาทานนั่นเอง และเมื่อท่านเข้าใจตรงตามนี้จากประสบการณ์ของพระองค์เองก็เพียงแต่งดเว้นเจตนากรรมคือนั่งไม่ทำอะไร ใจก็เป็นปกติ ตรงต่อเนื้อหาของทางสายกลางไปเองทันที
การที่พระองค์มีการระลึก(สติ)รู้ลมหายใจเข้า – ออก ก็ไม่ใช่เรื่องจงใจทำการเจริญสติ ไม่ได้หมายความว่าพระองค์มีเจตนาที่จะเอา “รู้”ไป “อยู่”กับลมหรือกำหนดลม ไม่ใช่เช่นนั้นแน่ แต่การนั่งเฉย ๆ ไม่ทำอะไร ใจมันจะไปรับรู้ลมเข้า – ออกได้เองโดยปริยาย เพราะเมื่อนั่งนิ่ง ๆ มันก็มีแต่เพียงลมเข้า - ออกเท่านั้นที่เป็นส่วนของกายที่เคลื่อนไหวอยู่ แต่ไม่ใช่การรู้ลมเพราะเจตนากำหนดหรือประสงค์จะ “อยู่”กับลมแน่นอน เพราะพระองค์ก็ได้บทเรียนจากสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแล้วทั้งหมดว่ามันคือ การติดฝั่ง
เมื่อเห็นนิมิตหมายจากการเสี่ยงทายลอยถาดทองแล้ว พระองค์ก็มั่นใจว่าจะได้ตรัสรู้ความดับทุกข์ได้แน่ ประกอบกับการที่พระองค์รู้ชัดถึงผลของเจตนาทำอะไร ๆ ว่านั่นคือการติด พระองค์จึงงดเว้นเจตนาที่จะทำอะไรแม้แต่ทำดู – ทำรู้ – ทำเห็น – ทำห้าม – ทำตาม ก็พอดีอยู่บนทางสายกลางโดยปริยาย แบบไม่ใช่การคอยอยู่นั่นแหละที่เรียกว่า นั่งเฉย ๆ เมื่อไม่มีเจตนาที่จะทำอะไร ๆ ไม่สนใจที่จะเอาอะไรแม้ความพ้นทุกข์ แม้การตรัสรู้ เมื่อปราศจากเจตนาที่จะเอา ความเป็นไปของจิตที่ไม่ถูกกำกับโดยตัณหาตั้งแต่ต้น หมดการค้นหา – เฝ้า – คอย – รักษา – ฝืน - ตาม จิตก็ตั้งมั่นไปเอง สงบรำงับไปเอง ( สัมมาสมาธิ)
ดังที่ปรากฏในตำราตั้งแต่ฌาน 1 ถึงฌาน 4 เนื้อหาในตำราที่กล่าวถึงสมาธิจิตของพระองค์เริ่มแต่ฌาน 1 ถึงฌาน 4 นั้นเราต้องเข้าใจว่านี้ไม่ใช่ฌานในสมถะที่ต้องอาศัยเจตนาในการกำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เป็นอารมณ์เดียว แต่หมายถึงความตั้งมั่นของจิตที่เป็นไปเอง เพราะไม่มีเจตนาที่จะเอาอะไร จึงไม่มีเหตุที่จะทำให้จิตเคลื่อน – แส่ส่าย สภาวะใดปรากฏก็รับรู้โดยอาการที่เรียกว่า “สักแต่ว่า” คือไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยในทุกรูปแบบ , ใจตั้งมั่นไม่ถูกครอบงำให้เพลินตาม ทำตามหรือปฏิเสธ ฝืน ทำต้าน แง่มุมของสมาธิจิตแบบนี้แหละที่เป็นสมาธิในวิปัสสนา
เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เห็นสภาวะต่าง ๆ ตามความเป็นจริงว่าทุกข์เกิดได้อย่างไร
เป็นลำดับจากโสกะ ปริเทวะอุปายาสคือ ความโศก ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพันก็เนื่องด้วยเมื่อชรามรณะปรากฏแล้วยึด-ติด(อุปาทานใน)ชรามรณะนั้น, ชรามรณะมีได้ก็เนื่องด้วยเมื่อชาติปรากฏแล้วยึด-ติด(อุปาทานใน)ชาตินั้น, ชาติมีได้ก็เนื่องด้วยเมื่อภพปรากฏแล้วยึด-ติด(อุปาทานใน)ภพนั้น, ภพมีได้ก็เนื่องด้วยเมื่ออุปาทานปรากฏแล้วยึด-ติด(อุปาทานใน)อุปาทานนั้น, อุปาทานมีได้ก็เนื่องด้วยเมื่อตัณหาปรากฏแล้วยึด-ติด(อุปาทานใน)ตัณหานั้น, ตัณหามีได้ก็เนื่องด้วยเมื่อเวทนาปรากฏแล้วยึด-ติด(อุปาทานใน)เวทนานั้น, เวทนามีได้ก็เนื่องด้วยเมื่อผัสสะปรากฏแล้วยึด-ติด(อุปาทานใน)ผัสสะนั้น, ผัสสะมีได้ก็เนื่องด้วยเมื่อสฬายตนะปรากฏแล้วยึด-ติด(อุปาทานใน)สฬายตนะนั้น, สฬายตนะมีได้ก็เนื่องด้วยเมื่อนามรูปปรากฏแล้วยึด-ติด(อุปาทานใน)นามรูปนั้น, นามรูป มีได้ก็เนื่องด้วยเมื่อวิญญาณปรากฏแล้วยึด-ติด(อุปาทานใน)วิญญาณนั้น, วิญญาณมีได้ก็เนื่องด้วยเมื่อสังขารปรากฏแล้วยึด- ติด(อุปาทานใน)สังขารนั้น, สังขารมีได้ก็เนื่องด้วยอวิชชา เรียกว่า เห็นปฏิจจสมุปบาท
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งกุศล – อกุศล – กลาง ๆ ก็ได้ปรากฏอย่างอิสระเต็มที่ และเมื่อพระองค์ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของ สภาวะๆต่าง ๆ ก็แสดงสัจจะของเค้าออกมาคือ ความไม่เที่ยง ความทนอยู่ไม่ได้ ความไม่ใช่อะไรจริงๆ ( ไตรลักษณ์)
มันอาจจะขัดแย้งกับความเข้าใจแต่เดิมของเราซักหน่อย แต่ขอให้พิจารณาดูดีๆ การที่พระองค์ไม่ได้ตั้งเจตนาที่จะทำอะไร พระองค์จึงได้พบเห็นการเผยตัวของสัจธรรม
ธรรมะแท้ที่เรียกว่าสัจธรรม มิใช่สิ่งที่ใครจะสร้างหรือปรุงขึ้นมาได้ แม้พระพุทธองค์ก็ไม่ใช่ผู้สร้างสัจธรรมขึ้น ช่วงแรกพระองค์ค้นหาทางพ้นทุกข์ – ดับทุกข์ ด้วยความไม่รู้ – ไม่เข้าใจ – ไม่มีประสบการณ์ พระองค์ก็เลยทำ – สร้าง – ปรุง – งม –– แสวง - หา – เฝ้า – รอ ซึ่งเป็นสิ่งที่เนื่องด้วยเจตนากรรมจากความไม่รู้ และสิ่งเหล่านี้เองที่ปิดบังสัจธรรม ( คือความมีหรือสมบูรณ์อยู่เองแล้ว) ปิดบังสิ่งที่มีอยู่เองแล้วไว้เสีย
พระองค์จึงไม่อาจตรัสรู้ได้เพราะก่อนนั้นสภาวะเห็น – รับรู้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เนื่องจากการ “ปรุงขึ้น – ทำขึ้น” เมื่อไม่ทำอะไร ๆ จึงได้พบเห็น – รับรู้ถึงสิ่งที่มีเองอยู่แล้ว ดับก็ดับเองอยู่แล้ว, ไม่ยึดกันเอง-หลุดกันเองอยู่แล้ว , วางก็วางอยู่เองแล้ว , ไม่มีความหมายในตัวมันเอง , ไม่อาจจะเป็นอะไร ๆ ที่จริงแท้ได้เลย แม้แต่การไปรู้อารมณ์ทางใจ จึงได้รู้ว่าที่ใจเป็นใจ , รูปเป็นรูป, เวทนาเป็นเวทนา , สัญญาเป็นสัญญา , สังขารเป็นสังขาร , วิญญาณเป็นวิญญาณ , ธาตุเป็นธาตุได้เพราะเนื่องด้วยการหลงไปจงใจรู้ – เจตนารู้ จึงก่อเกิดความเป็น... ,ความเห็น – ความหมายขึ้น เรียกว่าได้ตรัสรู้อริยสัจทั้ง 4 (ปฏิจจสมุปบาท) ซึ่งเริ่มต้นด้วยความไม่รู้ก็เลยหลงปรุง – แต่ง – สร้างอะไรๆขึ้น เรียกสิ่งที่หลงปรุงขึ้นนั้นว่าสังขาร เป็นต้นไปจนถึงผัสสะ - เวทนา – ตัณหา –
อุปาทาน - ภพ – ชาติ – มรณะ โสกะปริเทวะ ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดของปฏิจจสมุปบาทในภายหลังต่อไป
ขอให้พิจารณาคำตรัสตอบคำถามของเทวดาที่ทูลถามพระองค์ว่า “ท่านข้ามโอฆะได้อย่างไร” และพระองค์ตรัสตอบว่า “เพราะเราไม่พักและไม่เพียรจึงข้ามโอฆะได้” ดังที่ได้เคยกล่าวถึงในเนื้อหาก่อนหน้านี้แล้ว ลองไปทบทวนดูอีกที การตรัสรู้ของพระองค์ไม่ใช่เกิดขึ้นจากการเพียรทำๆๆอะไร ๆ จนสมบูรณ์สุดขีดแล้วจึงจบ แต่ตรงกันข้ามพระองค์ไม่ได้ทำสภาวะและไม่ให้ค่ากับสภาวะ แม้แต่สภาวะรู้ – ดู – เห็น ก็มิได้จงใจทำขึ้น จึงได้ค้นพบสัจธรรมที่มีอยู่ก่อนแล้วที่เรียกว่าไตรลักษณ์หรือสามัญญลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขอทบทวนอีกทีว่า
อนิจจัง - ทุกขัง เนื้อหาโดยสภาวะคือ ทุกธาตุ – ทุกขันธ์ – ทุกสภาวะไม่ยึดติดกันอยู่แล้ว, ปล่อยกันเองอยู่แล้ว, วางกันเองอยู่แล้ว, ดับกันเองอยู่แล้ว ปราศจากเจตนากรรม
อนัตตา เนื้อหาโดยสภาวะคือ ไม่มีความหมายในตัวเอง , ไร้ความเป็นอะไร ๆ
ที่จริงแท้ ไม่ต้องพูดถึงความเป็นตัว เป็นตน มัน
ไม่อาจเป็นอะไร ๆ จริง ๆได้ เพราะมันหลุด
กันเอง – วางตัวเอง – ดับกันเองอยู่แล้ว ไม่ใช่
อะไร นั่นแหละ อนัตตา
ถ้าเกิดความจงใจหรือเจตนาขึ้นเมื่อไหร่ นั่นแหละก็จะเกิดอัตตา (คือความเป็น) ขึ้นในสภาวะนั้น ธาตุนั้น ขันธ์นั้นทันที และถ้าหลงผิด – เข้าใจผิดว่าเป็น...นั้น เป็น...นี้จริงๆ เข้าใจว่า “ใช่” ความเป็น...ก็เลยหลงตอกย้ำความรู้สึกนั้นเหมือนเป็นจริง ๆขึ้นมา ความเป็น....ความใช่ นั่นแหละที่มีความหมายถึงอัตตา แต่ความจริงโดยสัจจะ มันไม่อาจจะเป็นอะไรได้จริง คำกล่าวที่ตรงต่ออนัตตาหรือสอดคล้องต่ออนัตตาก็คือ ไม่ใช่ทั้งหมด ไม่ต้อง ไม่ตั้ง นี้เรียกว่าใช้ภาษาสะท้อนสภาวะ ไม่ใช่ใช้ภาษาแล้วทำให้เกิด “เรา” หลงสภาวะ หลงทำ หลงอยาก หลงยึด เกิน – เลย สัจธรรมไปโดยไม่รู้ตัว เนื้อหาของอนัตตายังหมายถึงความไม่มีอะไรที่จริงแท้ จึงเรียกว่า “ว่างอยู่แล้ว” ความที่แต่ละธาตุ – ขันธ์ ไม่มีจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของตัวมันเอง , ความที่แต่ละธาตุ – ขันธ์ไร้เจตนาที่จะเป็นตัวมันหรือปฏิบัติตัวมันเองให้เป็นอะไร
จริง ๆ แล้วพระองค์ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงนิโรธสัจกับมรรคสัจก็ได้ เพราะการเห็นทุกข์ – รู้ทุกข์ ( อย่างเป็นธรรมชาติของธาตุรู้ ) โดยความเป็นสัจจะอันเป็นที่สุดของกองทุกข์เองและ ไม่มีเนื้อหาของการเข้าไปสนใจ ข้องเกี่ยวใด ๆ กับสภาวะทุกข์ ตัณหาก็ดับ นั่นก็นิโรธในตัวอยู่แล้ว นั่นก็เป็นมรรคพร้อมเพรียงอยู่แล้ว โดยไม่ต้องเรียกชื่อก็ได้ แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์จึงได้แจกแจงอย่างครบถ้วนกระบวนความ ชนิดจะไม่ก่อให้เกิดความลังเลสงสัย ทุกข์ยากลำบากแก่สาวกของพระองค์เลยทีเดียว
การอุบัติขึ้นขององค์พุทธอรหันต์ ก็เพื่อลงมาสรุปโลกสรุปธรรมให้เวไนยสัตว์ ได้บทสรุปทางใจที่ตรงต่อสัจธรรม อย่างองค์พระพุทธเจ้าโคดมก็ได้แสดงชีวิตจริงของพระองค์ที่ต้องลองผิด – ลองถูก – สุ่ม – เดา – ค้นหา – แสวงหาด้วยความทุกข์ยากลำบาก ดังนั้นการแสดงความรู้ที่พระองค์เป็นมาก็คือประสพการณ์ของพระพุทธองค์ที่ได้ตรัสรู้ จึงมิได้มีวัตถุประสงค์ให้สาวกของพระองค์ต้องทุกข์ยากลำบาก เวไนยสัตว์จะได้ไม่ต้องไปหลงทำ หลงปฏิบัติ ปฏิบัติแบบหลง ๆ แบบเดาสุ่ม แบบค้นหา หรือรอคอยพระนิพพาน ท่านลงมา “จบให้”กับสังสารวัฏ
โดยพระองค์ได้ตรัสแสดงเนื้อหาของสัจจะไว้เป็นอันมาก ที่เป็นบทสรุปเลยก็คือ ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น สัพเพสังขาราอนิจจา , สัพเพสังขาราทุกขา , สัพเพธัมมาอนัตตา, ขันธ์ 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา, อุปาทานขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์ ฯลฯ เพียงแต่สาวกเมื่อได้สดับแล้ว เห็นจริงตามนั้น ศรัทธาต่อเนื้อหาของสัจธรรมอย่างไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน แล้วดับตาม คลายตาม ไม่หมกมุ่นตาม ผู้นั้นก็จะสงบเย็นไปเอง
การประทานความรู้ความเข้าใจของพระองค์มาให้ เปรียบเหมือนกับการมอบอาวุธที่คมสุดๆ มาให้สาวกใช้ฟันต้นไม้ เหมือนที่เคยเปรียบเทียบไว้ในบทก่อน ๆ นี้แล้ว สาวกฟังประโยคใดประโยคหนึ่งแล้วเห็นจริงตามนั้น เกิดความประทับใจ แจ้งตาม สว่างไสวตาม โพล่งตาม ไม่…ตาม ดับตาม ไร้ตามไปเรื่อยๆ (ภาษาในตำราจะว่า เจริญให้มาก (ไม่)ทำให้มาก) ก็เพียงพอแล้วกับประโยคนั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องหลายประโยค
แต่เนื้อหาจริง ๆ ก็เพียงแค่ระลึกถึงหัวข้อหรือเนื้อหาของสัจธรรมที่พุทธองค์ได้แสดงแก่ตนนั้นเรื่อยๆบ่อยๆ มิใช่ต้องไปถือ (แบก)ศีล สร้างสติ ปรุงสมาธิ รอปัญญาชนิดใหม่ๆขึ้นมาอีก เพราะการเข้าใจและดำเนินชีวิตจิตใจให้ตรงต่อสัจธรรมมากเท่าไหร่มันก็เป็นเนื้อหาของศีล สติ สมาธิ ปัญญา ครบถ้วนไปในคราวเดียวกันอยู่แล้ว ไม่ใช่เนื้อหาที่จะต้องไปปรุง – แต่ง – สร้าง – ค้นหา - รอคอยสภาวะใด ๆ อีกต่อไป และประเด็นสำคัญที่เราต้องสำเหนียกหรือแยบคายถึงเนื้อหาในปฏิจจสมุปบาท ที่พุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” คำว่า “สังขาร”โดยนัยยะของปัจจยาการนับตั้งแต่ ความเกิดขึ้นของเจตนา หรือ ความจงใจทางใจ
คือ “กรรมภพ”ที่เรียกว่า มโนสัญเจตนา
มโนกรรม กุศลกรรม (ปุญญาภิสังขาร)
วจีกรรม อกุศลกรรม (อปุญญาภิสังขาร)
กายกรรม กลางๆ (อาเนญชาภิสังขาร)
โดยเฉพาะ “นักปฏิบัติ”ทั้งหลาย หารู้ไม่ว่าเส้นทางที่ตนเองกำลังบำเพ็ญจิต ตั้งใจ-มุ่งมั่นกับการฝึกจิต(ทำใจ)อยู่นั้น เป็นเนื้อหาของ “สังขาร” อันหนึ่งเหมือนกันคือ “อาเนญชาภิสังขาร” นับเป็นจิตตสังขาร หรือ มโนสังขารเช่นกัน
สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสังสารจักร – สังขารทุกข์ มิใช่เนื้อหาของความดับ แต่มันกลับเป็นเนื้อหาของความเกิดและเป็นปัจจยาการ(สมุทัย)ของการเกิดทุกข์นั่นเอง
การที่เราเตือนใจตนเอง การคำนึงถึง ระลึกถึงความเป็นจริงอยู่เรื่อยๆ นี้แหละที่ท่านกล่าวว่า
ทำให้มาก เจริญให้มาก
ภาษาเรียกว่า เป็นการเจริญสติเจริญปัญญา เป็นสติสัมปชัญญะที่มีเนื้อหาตรงกับสัจธรรม ดับเย็นอยู่เองแล้วโดยปริยาย จะเรียกสตินิโรธก็ได้ เพราะเป็นสติตัด ไม่ใช่สติต่อ ปัญญาก็ตัดปัญญา ไม่ใช่ปัญญาต่อปัญญา ให้กลายเป็นปัญญาติดปัญญา, ปัญญาก่อปัญหา หรือปัญญาติดห่วง(ห่วงจะไม่รู้) ซึ่งมีเบื้องหลังก็คือ อวิชชาหิววิชชา, ตัณหาแสวงหาปัญญา
มรรคมีองค์ 8 ประการก็เช่นกัน ในขณะที่พระองค์ดำเนินอยู่บนทางสายกลางพระองค์ก็ยังไม่รู้ เรียกว่า เป็นหรืออยู่บนทางสายกลางโดยเนื้อหาโดยไม่รู้ตัว ต่อเมื่อพระองค์เกิดญาณหยั่งรู้สภาวะต่าง ๆ ตามความเป็นจริงเป็นลำดับนั้น จึงได้บทสรุปและพระองค์ก็มาแยกแยะ แจกแจงเป็นข้อ ๆ เพื่อง่ายในการเรียนรู้ถ่ายทอดแล้วเรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” มีองค์ 8 ประการ ดังนี้
1. สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบหรือความเห็นตรง ได้แก่ เห็นไตรลักษณ์ ,อริยสัจ 4 , หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ ได้แก่ ดำริออกจากกาม (ความนึกคิดในทางเสียสละ) , ดำริปลอดจากพยาบาท – เพ่งโทษ , ดำริที่ไม่เบียดเบียนมุ่งร้าย
3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต 3 คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ , ไม่พูดคำหยาบ
4. สัมมากัมมันตะ คือ กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต 3 คือ เว้นการฆ่าเบียดเบียน , เว้นการลักทรัพย์ , เว้นการประพฤติผิดในกาม
5. สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพประกอบสัมมาชีพ
6. สัมมาวายามะ คือ พยายามชอบ ได้แก่ สัมมัปปธาน 4
7. สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4
8. สัมมาสมาธิ คือ ได้แก่ จิตตั้งมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน 4
สัมมามรรค หรือมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง ได้เคยกล่าวถึงไว้พอสมควรแล้วในที่นี้ จะกล่าวถึงในแง่มุมอื่นประกอบบ้าง พอเป็นข้อสรุป คือ สัมมา...ทั้งหลายจะเป็นเช่นนั้นได้ต้องตรงต่อสัจธรรม ไม่ว่าภาษาสมมติจะอธิบายในรูปแบบใดก็ตาม ให้เข้าใจว่านั้นเป็นเพียงการยืมใช้ แต่เนื้อหาคือต้องตรงต่อความเป็นจริงรองรับตลอดทุกข้อ มิฉะนั้นแล้วจะถูกตัณหา – อุปาทานซ้อน – สอดแทรก – สอดไส้ – เคลือบคลุมไปตลอดสาย มิอาจเป็น “อริยมรรค” คือทางออกจากทุกข์ได้จริง เพราะกลับเจริญเหตุหรือสมุทัยไปด้วย โดยมิได้เฉลียวใจ – เอะใจ ภาษาเรียกว่า โดยไม่รู้ตัว
การไม่ติดฝั่ง หรือทางสายกลาง ยังกินความหมายถึง การไม่ติด ข้อง คาอยู่ในสภาวะคู่ หรือธรรมคู่ คือให้เข้าใจ อย่างเด็ดเดี่ยว เด็ดขาดไปเลยว่า “ไม่ใช่”ทั้งคู่นั่นแหละ ทั้งตัวรู้ – สิ่งที่ถูกรู้ , นอก – ใน , ผิด – ถูก , ดี – ไม่ดี , ใช่ – ไม่ใช่ , อดีต – อนาคต แม้ปัจจุบัน , เอา – ไม่เอา ฯลฯ แล้วมันจะได้เลิกดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่ถูก เลิกเลือกข้าง เลิกเลือกฝ่าย จะตรงต่อดับอยู่แล้วเลยทันที ใจมันจะยุติทำๆๆอะไรๆๆ ที่เป็นการมุ่ง , พุ่ง ไปข้างหน้าอยู่เรื่อย เพราะเข้าใจว่าที่ถูก – ที่ดี ที่สมบูรณ์ รออยู่ข้างหน้า , ที่ปรากฏอยู่ขณะนี้ไม่ดี ไม่พอ ไม่ได้ ถ้าเข้าใจอย่างนั้นจิตมันก็ตะเกียกตะกายไปหน้าเรื่อย สงสารใจมันบ้าง...
ข้อปฏิบัติทั้งหลายทั้งปวง (ยืมภาษาใช้) ต้องสอดคล้องต่อสัจธรรมที่ ไม่...อยู่แล้ว , ไม่ต้อง – ไม่ตั้งอยู่แล้ว , แล้วแล้วไป อยู่แล้วตลอด ไร้ซึ่งเจตนากรรมในแต่ละธาตุ – ขันธ์ เจตนากรรมทั้งหลายทั้งปวงในการดำเนินชีวิตสามารถมีได้แต่ก็ให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องหรือตรงต่อความดับ เช่น เป็นไปในลักษณะของการยุติ , ตัด , ไม่ต่อ , ไม่ปรุง , ไม่แต่ง , จบ เช่น ปัญญาก็จบในปัญญา , ปัญญาตัดปัญญาไม่ใช่ปัญญาแตกซ่านซึ่งมันจะเป็นชีวิตที่เรียบง่ายไปเอง ดำริออก
ก็เพื่อออกจากดำริ ไม่ใช่ดำริไปเรื่อย, นอกจากนั้น
เจตนากรรม ก็ให้เป็นไปในแง่มุมเพื่อการสละ, จาคะ , จางคลาย มีเนื้อหาที่ตรงต่อ
“ไม่ใช่สิ่งยึดติดอยู่แล้ว”ในทุกรูปแบบ เรียกว่าเป็นไปเพื่อการเกื้อกูล สงเคราะห์ – อนุเคราะห์ – ช่วยเหลือ ทำให้ มิใช่ทำเอา ไม่มีวัตถุประสงค์อื่นแอบแฝง เช่นหวังผลใด ๆ ก็ตามแม้จะเป็นบุญ , กุศล ฯลฯ เรียกว่าเป็นการกระทำดีล้วนๆ วางใจอย่างนี้แล้วจะได้ไม่ถูกตัณหา – อุปาทาน
( สร้างสมุทัย )แทรกหรือซ้อนไปในการกระทำนั้นเลย เป็นเนื้อหาของการให้ การสละด้วยความบริสุทธิ์ใจจริง ๆ และเมื่อใจตรงต่อสัจธรรม จะเป็นการทำให้แบบแล้ว ๆ ไป มิใช่ให้หรือกระทำแล้วยังมีเนื้อหาติด – ขัด – ข้อง – คา กับสิ่งที่ได้ทำไปหรือผลที่จะเกิดตามมา
สัมมาทิฐิ จึงเป็นประธานของมรรคทั้งปวง ถ้าขาดซึ่งข้อนี้เสียแล้ว แน่ใจได้เลยว่าจะหลงปฏิบัติ หรือปฏิบัติแบบหลง ๆ ผลคือ ทุกข์ยาก – ลำบาก – เนิ่นช้า ต่อเมื่อใดที่ศรัทธาและตรงต่อสัจธรรม เลิกทำ – ยุติทำ การงมทางก็สิ้นสุดลง เรียกว่าหมดทาง หมดความอาลัยในทาง ( เมื่อมีทางก็มีผู้เดินทาง) ตั้งอยู่บนสัมมามรรคโดยปริยาย แน่นอนว่า ความพ้นทุกข์ ความดับลงแห่งตัณหา – อุปาทาน จึงจะเป็นไปได้ โดยที่ไม่ต้องพูดว่าจะถึงนิโรธอย่างไร
อีกอย่างหนึ่งที่ต้องขยายความของภาษากันการหลงผิดเกี่ยวกับมรรค หรือข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่ได้ยินบ่อย เช่น เจริญให้มาก ทำให้มาก ขอให้เข้าใจว่า คำว่า เจริญที่ถูกตรงต่อสัจธรรมนั้น มิใช่เนื้อหาในลักษณะของการพอกพูน – สะสม – รอคอยความสมบูรณ์พร้อม เพราะถ้าเป็นเนื้อหาดังกล่าวมันจะมีสิ่งตรงกันข้ามทันทีคือ เจริญได้ก็เสื่อมได้ ก็เพราะใช้ขันธ์มาทำการเจริญมันก็ของไม่เที่ยงทั้งนั้น ดังนั้นคำว่า เจริญ จึงมิได้มีความหมายถึงเจตนาปรุงหรือสร้างอะไร ๆ หรือให้ทำๆๆๆ ให้หนักหน้าไปเรื่อย
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า อนิจจสัญญา1, อนัตตสัญญา1, มรณสัญญา1, อาหาเรปฏิกูลสัญญา1, และสัพพโลเกอนภิรตสัญญา1 ( สัญญาที่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เบื่อระอาในโลกอันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งธาตุ 3 ทั้งหมดได้แก่ กามภพ , รูปภพ , อรูปภพ ) สัญญา 5 ประการนี้อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมีอานิสงค์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด จะเห็นว่าสัญญา 5 ประการ มีเนื้อหาที่เป็นสัจจะรองรับ (อนิจจสัญญา , อนัตตสัญญา ) และอีก 3 ก็เป็นไปเพื่อความยุติ , ความจบหรือตัด – ละความเพลิน – ความมัวเมา – การปรุงแต่ง
คำว่า เจริญให้มากหรือ ทำให้มาก ในที่นี้จึงหมายถึงขณะชีวิตดำเนินไป “ใจ”ก็คำนึงถึง สำเหนียกถึง – ระลึกถึง – แยบคายถึง – พิจารณาถึง – สำนึกถึง หรือเตือนใจตนเองถึงความเป็นจริง(สัญญา)เรื่อย ๆ นี้เรียกว่า ทำให้มาก แน่นอนว่าเบื้องต้นมันเป็นเจตนา แต่มันเป็นเจตนาที่เมื่อใช้แล้วยังผลให้ใจเลิกหลง “ทำ” ตรงกับภาษาที่ว่า “ตัด”การเพลิน – มัวเมา – ยึด – อยาก มันก็ตรงต่อดับอยู่แล้ว นิโรธอยู่แล้ว วิมุติอยู่แล้วทันที จบตรงที่ระลึกถึง ไม่ใช่อยากระลึกถึงหรือแอบหวังผลในการเตือนใจตนเอง (จะได้ไม่ถูกตัณหา –อุปาทานแทรกซ้อน)
ไม่มีการรอผลหรือหวังผลสำเร็จใด ๆ เรียกว่าระลึกถึงด้วยความบริสุทธิ์ใจ (สักแต่ว่าเตือน สักแต่ว่าระลึกถึง) มันก็ตรงกับดับอยู่แล้วทันที(ด้วยตัวของสัจจะเอง) เตือนจิตของตนเองเรื่อย ๆ ใจก็จะตรงต่อความเป็นจริงเรื่อย ๆ ต่อไปก็ไม่ต้องเตือน เพราะใจมันเป็นเนื้อหาของความไม่ดิ้นรนเกาะเกี่ยวเหนี่ยวรั้งไปเอง เรียกว่า มีศีล สติ สมาธิ ปัญญา พร้อม(สมังคี) ไม่เน่าในด้วยตัณหาแทรก อุปาทานซ้อน นั่นแหละที่ท่านว่า หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด (อมตะหมายถึงพระนิพพาน)
ดังนั้นจึงให้สำเหนียกคำว่า เจริญให้มาก ทำให้มาก ไว้ให้ดีๆ ไม่ใช่ทำกายอย่างไรทำใจอย่างไรจึงจะดีจึงจะถูก เน้นว่าไม่ใช่เจตนาปรุง – แต่ง – สร้าง – จงใจที่ทำสภาวะขึ้น แม้แต่สภาวะรู้ – ดู – เห็น – สติ – สมาธิ –– ฌาน – ญาณ –ปัญญา มันไม่ใช่เรื่องของการทำกายอย่างไรหรือทำใจอย่างไรจึงจะถูก จึงจะดี จึงจะพ้น อย่างที่เคยกล่าวไว้ว่า ไม่ได้ทำ มิได้หมายความว่า
ไม่มี ( คนทั่วไปจะติดนิสัยกับทางโลก (อนุสัย – เคยชิน)ที่จะมีอะไร ได้อะไร ถึงอะไรก็ต้องเนื่องมาจากการกระทำหรือสร้างด้วยฝีมือของตนเอง พอบอกไม่ต้องทำก็กลัวจะไม่มี กลัวจะไม่ได้ เกรงจะไม่ถึง ) ตรงกันข้ามคือ มีแบบไม่ต้องทำขึ้นมาเอง มีแบบนี้จะเป็น “มี”ที่ไม่ยึด “มี”เป็น, เป็น “เป็น”ที่ไม่ยึด “เป็น”เป็น แต่ถ้าเราไปทำขึ้น มีจะติดมี , เป็นจะติดเป็น เมื่อติดก็ตัน เมื่อตันก็ต้องหา ยิ่งหาก็ยิ่งตัน ท่านจึงเรียกว่า ตัณหา อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ เพราะความดิ้นรนแส่ส่ายนั่นเอง
สติ ศีล สมาธิ ปัญญาสามารถมีได้เมื่อใจเราตื่นต่อความเป็นจริง จริงๆ และซื่อตรงต่อสัจจะนั้น แล้วต่อไปจึงใช้ชีวิตเป็น ถึงเวลาใช้(กรรม) “ขันธ์”ก็ใช้เป็น ไม่ใช้(กรรม)ขันธ์ก็ไม่แบกขันธ์
ไม่ต้อง ไม่ตั้งกับการดำเนินชีวิต ก็จะไม่ติดการเป็นการอยู่ มันจะเป็นชีวิตที่เรียบง่าย เรียกว่า นอกเหนือชีวิตเป็น ไม่ใช่ทาสรับใช้ชีวิต และไม่ใช่ขี้ข้าของชีวิต
“ท่าน” จึงกล่าวเตือนไว้ว่า
“ พ่อแม่ให้ความเป็นชีวิตจิตวิญญาณ
แต่องค์พุทธอรหันต์ มหาโพธิสัตว์ ท่านให้นอกเหนือชีวิตจิตวิญญาณ ”
เพราะคำว่าชีวิต ๆ มันก็คือขันธ์ 5 การจะนอกเหนือชีวิต ก็คือการนอกเหนือขันธ์ทุก(ข์)รูปแบบเป็น เพียงใจซื่อตรงต่อสัจจะที่ ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่จงใจ ไม่มีเจตนากรรมใด ๆ ไม่เอาอะไร ไม่อะไรกับอะไร แล้วแล้วไป นอกเหนือเจตนากรรม
เนื้อหาของ ความไม่แปลกแยก, ความไม่แตกต่าง, ความไม่เหลื่อมล้ำ , ไม่ใช่คติ – อคติ , นอกเหนือความเป็นธรรมคู่หรือของคู่ , ไม่ใช่การเลือก , ไม่ใช่เรื่องของเหตุ – ปัจจัย, ไม่ใช่เพื่อ... มิใช่เพราะ..., ไม่ใช่การคอยอยู่กับอะไร, ไร้ขั้นไร้ตอน , ไร้ขณะ , ไร้การเดินทาง , นอกเหนือเวลา , ไม่เกี่ยวกับเวลา นี้แหละธาตุ ขันธ์จะสามัคคี หรือสมังคี หรือเป็นหนึ่งไปเองโดยธรรม ไม่ใช่ทำจนเป็นหนึ่ง แต่เพราะไม่ทำนั่นแหละจึงเป็นหนึ่ง คือเสมอกันด้วยสัจจะ , เสมอกันด้วยเพราะไม่มีตัณหา – อุปาทาน มานะทิฐิ มาทำให้เกิดความแปลกแยกแตกต่าง
การหลงกระทำนั่นแหละเป็นเหตุทำให้แตกแยก แตกสามัคคี ยิ่งทำจึงยิ่งแตกต่าง, ยุติทำก็ยุติความแตกต่าง มันก็เสมอกัน - สามัคคีกันโดยเนื้อหา เป็นหนึ่งไปเองโดยปริยาย นี่แหละ อริยมรรค , มัชฌิมาปฏิปทา , ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ที่แท้จริง
ตามตำรากล่าวไว้ว่า มรรคมีองค์ 8 ย่อได้เป็น 3 คือ หลักไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา (แต่ถ้าเรียงตามลำดับองค์มรรคจริง ๆ จะเป็นปัญญา ศีล สมาธิ) ตามตำราแปลว่า ฝึกหัดอบรม กาย วาจา ใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือ พระนิพพาน กล่าวคือ
อธิศีลสิกขา แปลว่า ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง
เรียกว่า ศีลอันยิ่ง
อธิจิตตสิกขา แปลว่า ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิตเพื่อให้เกิดสมาธิอย่างสูง
เรียกว่า จิตอันยิ่ง
อธิปัญญาสิกขา แปลว่า ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญาเพื่อให้เกิดความรู้แจ้ง
อย่างสูงเรียกว่า ปัญญาอันยิ่ง
ถ้าเราเข้าใจหลักการทั้ง 3 ตามนัยของภาษาที่อธิบายมาและเอามาปฏิบัติ จะเห็นได้ว่ามันไม่ตรงต่อสัจธรรม เพราะภาษาที่ใช้ล้วนแต่ชี้นำไปสู่การกระทำ , รอ – คอย , มีเป้าหมาย เรียกว่า หวังผล, มีแต่ทำๆๆ... เพราะๆๆๆ... เพื่อๆๆๆ... อันนี้เป็นวงจรของปัจจยาการซึ่งเป็นปัจจยาการที่เนื่องด้วยขันธ์ 5 ตลอด และอิง – อาศัย ขันธ์ 5 ตลอดสาย มันก็แบกขันธ์ตลอดสาย แล้วจะพ้นทุกข์ได้อย่างไรกัน ถ้ายังเห็นหรือเข้าใจว่าพระนิพพาน จะถึงได้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วละก็ ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะจะกลายเป็นพระนิพพานมีเหตุ – ปัจจัย แต่โดยสัจจะ นิพพานเป็นวิสังขารธรรม - อสังขตธรรม , สมบูรณ์อยู่แล้วไม่อิง – อาศัย – เนื่องด้วยสิ่งใดนอกเหนือสิ่งอนิจจัง , สิ่งใด ๆ ที่เป็นสิ่งเนื่องด้วยต้องอิง – อาศัย เหตุปัจจัยอันนั้นมันเป็นสังขารธรรม – สังขตธรรม ซึ่งไม่อาจนอกเหนืออนิจจังไปได้
นอกจากนั้นภาษายังชี้นำให้เกิดการค้นหา – แสวงหา หรือเอาปัญญา เพราะหวังว่า – คาดว่า - เข้าใจว่าเมื่อมีปัญญาอันยิ่ง (ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่รู้ว่าปัญญาอันยิ่งนั้นเป็นอย่างไร) จะบรรลุพระนิพพานได้ ก็เลยทำกันใหญ่ – ปรุง – แต่ง – สร้างเหตุปัจจัย เพื่อให้เกิดปัญญากันเข้าไป ทั้งศีล สติ สมาธิ ก็เพื่อปัญญา หวังว่า – คาดว่า – เข้าใจว่า – รู้สึกว่า จะจบที่มีปัญญา นั้นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อสัจธรรมเป็นอย่างยิ่ง เรียกว่า อาจถึงขั้นกลับหัวกลับหางกันเลยก็ได้ ลองพินิจดูให้ดีเถิดท่านทั้งหลาย
คำว่าจะ, เพราะ, เพื่อ , อาศัย , เหตุ , ปัจจัย ฯลฯ เนื้อหาของภาษาจริง ๆ คือ เป็นแง่มุมของปัจจยาการในการเกิดภพ – ชาติ และกองทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง
คำว่า ไม่เนื่องด้วย , ไม่ต้อง , ไม่ตั้ง , นอกเหนือ , ไม่...อยู่แล้ว แล้วแล้วไป ไม่อะไรกับอะไร เนื้อหาของภาษาคือ ตัด , ยุติ , ดับ , วาง , ว่าง ,หลุด, พ้น , ไม่ข้อง , ไม่ขัด , ไม่คา ตรงกับนิโรธ, วิมุตติ , นิพพาน ความสงบเย็น
เพราะตัวการกระทำหรือเจตนากรรมนั้น เป็นเนื้อหาของสมุทัยเต็มที่อยู่แล้วในตัวมันเอง ไม่ต้องพูดถึงผลิตผลที่เกิดตามมาไม่ว่า สติ ศีล สมาธิ ปัญญา , สติก็เพื่อศีล , สติก็ทำเพื่อสมาธิ , สติก็เพื่อปัญญา , ศีลก็เพื่อๆๆ สมาธิก็เพื่อ ๆๆ , ปัญญาก็เพื่อๆๆ มันเหมือนงูกินหางไปเรื่อย จึงเรียกว่า ภวจักร (วงล้อหรือวงจรแห่งภพ) ไม่มีต้น ไม่มีปลาย ไม่รู้วันจบสิ้น
แล้วจะจบอย่างไร ก็ต้องตรงต่อสัจธรรมที่ไม่เนื่องด้วย , ไม่ต้องอย่างไร - ไม่ต้องแบบไหนกับรู้ – ดู – เห็น, ไม่ตั้งกับรู้ – ดู – เห็น ,นอกเหนือรู้ให้เป็น จึงจะนอกเหนือขันธ์เป็น
อธิศีล แปลว่า ศีลอันยิ่ง อันนี้อาจติดศีลได้ ถ้าตรงต่อสัจจะแล้วต้อง ยิ่งกว่าศีล หรือนอกเหนือศีลเป็น , ไม่เนื่องด้วยศีลเป็น ก็จะเป็นศีลที่ไม่ติดศีล เป็นศีลที่ตรงต่อนิพพาน (สีเลนะนิพพุติง ยันติ)
อธิจิต แปลว่า จิตอันยิ่ง หมายถึง สมาธิอย่างละเอียด นี้ก็อาจติดสมาธิได้ ถ้าจะให้ตรงและไม่ติดก็ต้อง ยิ่งกว่าจิตสมาธิเป็น คือ ไม่เนื่องด้วยจิตแบบไหน , ใจจะอย่างไร , ไม่ใช่ทำใจให้ดี – ให้ละเอียดจึงถูก จิตทำจิตยิ่งติดจิต(ติดใจ) ติดอยู่นั้น ไม่ปล่อยใจ ไม่วางใจ ไม่ตัดใจ มีแต่ข้องใจ คาใจ ก็เลยนิโรธไปเสีย , ไม่ตรงต่อดับอยู่แล้ว , หลุดอยู่แล้ว , นิพพานอยู่แล้วซักที
เพราะไม่ว่าจิตแบบไหน ใจจะอย่างไรมันก็ไม่พ้นจิตอนิจจัง – จิตทุกขัง – จิตอนัตตา เมื่อมันไม่ใช่อะไรจริง ๆ แล้วจะเฝ้าทำใจให้มันเป็นอะไรขึ้นมา ธาตุโดยธาตุ – ธรรมโดยธรรมแล้ว ใจก็ไม่เป็นใจอยู่แล้ว ใจมันไม่เป็นอะไรอยู่แล้ว มันไม่ได้พยายามจะเป็นอะไร แม้แต่พยายามจะเป็นตัวมันเอง ใจเป็นธาตุรู้อยู่แล้ว ไม่ใช่มันพยายามจะเป็นธาตุรู้อีก มีแต่อวิชชา – ตัณหา – อุปาทานเท่านั้นที่พยายามจะทำใจให้เป็นใจ , ทำใจให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ม่ายช่าย...นั่นกิเลสมันหลอกเอา
ทุกอย่างมันจบด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว , มันดับด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ใช่มันพยายามจะเป็นตัวมัน มันจึงไม่อาจเป็นอะไร ๆ ได้จริง ๆ จึงเรียกว่า อนัตตาๆ ดังนั้น ให้ยิ่งกว่าจิตเป็น , นอกเหนือจิตใจให้เป็น ก็คือ ไม่ตั้งกับรู้ – ดู – เห็น , ไม่ต้องกับรู้ – ดู – เห็น ก็จบตรงนี้ จบตรงที่ไม่ต้อง -ไม่ตั้งกับจิตนั่นแหละ ภาษาเรียกว่าตัดใจ วางใจ ใจมันก็ตั้งมั่นไปเองเพราะเลิกดิ้นรนแส่ส่ายเรียกว่าสัมมาสมาธิ
อธิปัญญา แปลว่าปัญญาอันยิ่ง อันนี้ก็อาจจะติดกลายเป็นตัณหาในปัญญา ,อวิชชาในวิชชา, ติดปัญญา , แบกปัญญา ไม่อาจพ้นขันธ์ได้ ถ้าจะตรงต่อหลุดอยู่แล้วก็ต้องแปลว่า ให้ยิ่งกว่าปัญญา คือ ไม่เอาปัญญา ไม่เอารู้ – ดู – เห็น นี้เรียกว่า ปัญญาตัดปัญญา
เพราะการจะเอาปัญญานั่นเองจึงเป็นเหตุให้เจริญรู้ – ดู – เห็น, ทำรู้ – ดู – เห็น แล้วก็แช่รู้ –หารู้ – คอยรู้ เมื่อไม่เอาปัญญา – ไม่ติดปัญญาจึงเรียกว่า ปัญญาแท้ ท่านจึงกล่าวว่าตัดซะรู้ นั่นแหละจึงจะเป็นการ ตรัสรู้ที่แท้จริงในอริยสัจ 4 ก็ตรงต่อนิโรธเพราะตัณหาดับ(เอง) , ไม่มีเนื้อหาของสมุทัยที่จะดำเนินต่อไปได้ ใจก็ว่าง
การไม่ทำเอาปัญญาอื่นใดขึ้นมาเอง นอกเหนือจากที่องค์พุทธอรหันต์ได้ประทานมาให้ ( ความรู้ ความเข้าใจของสัจธรรม) ก็จะไม่เป็นการเปิดโอกาส สร้างเป้าล่อให้อนุสัยยึด-อยากได้ช่องที่จะเจริญเติบโต อีกทั้งตัณหาและทิฐิได้ที่อิงอาศัย เป็นเชื้อเป็นอนุสัย ก่อเกิดอาสวะชั้นดี ชั้นประณีตได้อีกต่อไป
อธิศีลสิกขา - อธิจิตสิกขา - อธิปัญญาสิกขา เนื้อหาที่ควรจะเป็นคือ พึงศึกษาว่า
แม้ “ศีล” ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แม้ “สมาธิจิต” ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แม้ “ปัญญา” ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
รู้ชัดว่า ศีลไม่ใช่อะไร ไม่อาจยึดได้ – พึ่งได้ – อาศัยได้ตลอดกาล
สมาธิไม่ใช่อะไร ไม่อาจยึดได้ – พึ่งได้ – อาศัยได้ตลอดกาล
ปัญญาก็ไม่ใช่อะไร ไม่อาจยึดได้ – พึ่งได้ – อาศัยได้ตลอดกาล
เพราะไม่ว่าศีล – สมาธิ – ปัญญา มันก็เป็นสิ่งเนื่องด้วยขันธ์ 5 ทั้งนั้น ขึ้นชื่อว่าขันธ์ 5 ก็คือกองทุกข์ อีกทั้งมิใช่สิ่งอมตะ เมื่อเราไปเอา – ไปอิน(in) – ไปอิง – ไปอาศัย ก็คือการเอาทุกข์ – ติดทุกข์ , เอาสิ่งอนิจจัง , ติดสิ่งอนิจจัง แบกหามแต่สิ่งอนิจจัง ก็เป็นเนื้อหาเดียวกับสิ่งโมฆะเรียกว่าคือกัน คือไม่อาจเอาอะไรได้จริง , ไม่อาจพึ่งได้จริง เข้าใจอย่างนี้ ตรงต่อสัจจะอย่างนี้ มันก็เลิกหลง , เลิกหลงยึด , หลงอยาก , หลงหา , หลงทำ , หลงเอา , หลงอิง , หลงอิน(in) , หลงอาศัย เมื่อใจเลิกหลงมันก็สงบ , สะอาด ,สว่าง , ประภัสสรอยู่เองแล้วทันที หมดพันธะ ภาระผูกพันรัดรึงให้ทุกข์ยาก ลำบากต่อไป
ท่าน จึงเน้นมากเรื่องของ ถ้าผู้ใช้ไม่ระมัดระวังไม่แยบคาย ไม่รู้ทั่วถึงในอรรถะและพยัญชนะของภาษา การยืมภาษาโลกมาใช้กลับจะกลายเป็นอุปสรรคไปซะเอง สู้ไม่พูดซะเลยอาจจะดีเสียกว่า
ปฏิจจสมุปบาท
หมายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน , ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม , ธรรมที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันจึงเกิดมีขึ้น มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น อิทัปปัจจยตา , ธรรมนิยาม , ปัจจยาการ เริ่มต้นจาก
เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี
เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี
เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูป จึงมี
เพราะนามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี
เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี
เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนา จึงมี
เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี
เพราะตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี
เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพ จึงมี
เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติ จึงมี
เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรา – มรณะ จึงมี
เมื่อมีชรามรณะ ก็ถึงพร้อมด้วย ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ
อันนี้ยกตำรามาให้ดู ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกว่า กงจักรหรือสังสารจักร ในการหมุนวนเวียนเรียก ไตรวัฏฏ์ หรือวัฏฏ์ 3 ดังแผนผัง
เมื่อพิจารณาดูตามวงจรแห่งทุกข์นี้แล้ว มีจุดที่น่าสนใจอันเกี่ยวเนื่องไปถึงสิ่งที่เรียกว่า การปฏิบัติ(ทำ)ธรรม เพราะถ้าหากเข้าใจรหัสนัยสำคัญตรงนี้ได้ อาจทำให้ไม่หลงปฏิบัติหรือ ปฏิบัติแบบหลง ๆ ได้ คำ ๆนั้นคือ สังขาร
ชรามรณะ อวิชชา
ชาติ
อุปัตติภพ
ตัณหา
เวทนา
ผัสสะ
สฬายตนะ อุปาทาน
นามรูป
วิญญาณ
กรรมภพ สังขาร
เนื้อหาก็เหมือนคนติดยาเสพติด คือ
เพราะเสพ (กรรมเป็นเหตุ) จึงติด ( เป็นผลหรือวิบาก)
เพราะติด (เหตุ) จึงอยาก (ผล-ตัณหา)
เพราะอยาก (เหตุ) จึงเสพ (กรรมเป็นผล-วิบาก)
“สังขาร”โดยนัยที่แสดงอยู่ในปฏิจจสมุปบาทนั้น หมายถึง สภาวะที่มีเจตนาเป็นประธาน ทำให้เกิดขึ้น มีขึ้น สร้างขึ้น ปรุงขึ้น แต่งขึ้น เริ่มต้นที่เรียกว่ากรรมภพ (เป็นภพหรือการเกิดขึ้นของเจตนากรรม) นับตั้งแต่ มโนสัญเจตนากรรม , วจีสัญเจตนา , กายสัญเจตนา คือ สภาพปรุงแต่งการกระทำทางใจ – ความจงใจทางใจ , สภาพปรุงแต่งการกระทำทางวาจา – ความจงใจทางวาจา และสภาพปรุงแต่งการกระทำทางกาย – ความจงใจทางกาย ตามลำดับ ซึ่งทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นความจงใจปรุงแต่งการกระทำทางใด จะมีเนื้อหาอยู่ 3 ประการคือเป็น
1. อปุญญาภิสังขาร หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งด้วยความจงใจฝ่ายชั่ว ได้แก่
อกุศลเจตนาทั้งหลาย
2. ปุญญาภิสังขาร หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งด้วยความจงใจฝ่ายดี ได้แก่
กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร และรูปาวจร
3. อาเนญชาภิสังขาร หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งภพด้วยความจงใจ
หรือภาวะจิตที่มั่นคง แน่วแน่ ได้แก่
กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร
จากเนื้อหานี้สามารถสรุปได้ว่า การกระทำ , กรรม , กิจ เป็นผลเนื่องมาจากความจงใจ หรือเจตนานั่นเองที่เป็นตัวขับเคลื่อนสังสารวัฏ พระพุทธองค์จึงได้ตรัสว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เพราะเจตนาหรือความจงใจในที่นี้ถูกผลักดันหรือขับเคลื่อนมาจากอวิชชา ตัณหา อุปาทานให้หมุน(จร)อยู่ใน 31 ภพภูมิ ท่าน จึงเรียกกรรมชนิดนี้ กิเลสกรรมหรือกรรมกิเลส
คือ การเกาะอะไรก็ได้ ขอเกาะไว้ก่อน , ส่วนเจตนากรรมก็คือ การแสดงออกหรือ การส่งผลเพื่อการคงอยู่ของการเกาะไปเรื่อยๆ เราไม่ต้องไปสนใจเลยว่ามันเป็นกุศล อกุศล หรือกลาง ๆ เพราะทั้งหมดล้วนแต่เนื่องมาด้วยอวิชชา – ตัณหา – อุปาทานทั้งสิ้น
คำว่า “อวิชชา” มิใช่แปลว่าไม่รู้ แต่เนื้อหาแท้ๆเลยก็คือ ไม่รู้ว่ากำลังหลงรู้อยู่ จึงก่อเกิดเป็นปัจจยาการอื่นๆตามมาที่เรียก สังสารวัฏ 3 คือ ภพทั้ง 3 อันเป็นคุกขังสัตว์โลก ตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียด ได้แก่กามภพ รูปภพ และอรูปภพ หมุนวนเวียนกันอยู่เช่นนี้ ไม่รู้ต้น ไม่รู้ปลาย
การจะนอกเหนือความเป็นสัตว์โลกได้ก็ตรงที่นอกเหนือเจตนากรรม , กรรมกิเลส , กิเลสกรรม นี้เท่านั้น คือทั้งไม่ทำตามและทำตาม อย่างอื่นเราไม่อาจทำอะไรได้เลย มีจุดนี้จุดเดียวที่จะออกได้จริง คือ การงดเว้นความจงใจทางใจในทุกรูปแบบ(เพราะเข้าใจสัจจะ) ทั้งก่อนเกิด – ขณะเกิด – หลังเกิดขึ้นของสภาวธรรมต่าง ๆ ตรงนี้แหละที่ท่านกล่าวว่า
“ ขันติคือความอดกลั้น(ตบะ) เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง ”
พิจารณาดูตามกลไกจะพบได้ว่า กิเลสไม่ว่าจะมาในรูปแบบไหน มันจะหลอกล่อยั่วยวน – ชวนและเชิญให้เราเกิดการกระทำมโนกรรมหรือความจงใจทางใจเป็นปฐม
การที่เรามีความเข้าใจที่ตรงต่อความเป็นจริงทำให้ไม่หลงกระทำ ไม่หลงเกิดความจงใจขึ้นนี้แหละที่เรียกว่าขันติ คือการไม่สนใจ ทั้งการทำตามหรือไปทำต้าน สิ่งที่เรียกกิเลส ยาง ใย อนุสัย ความเคยชินทุกรูปแบบที่ผุดโผล่ก็จะจางคลาย เสื่อมสลายเรียกว่าหมดน้ำยาไปเอง จืดไปเอง หมดอิทธิพลไปเอง เพราะสิ่งเหล่านี้ก็อนิจจังในตัวเองอยู่แล้ว
“ท่าน”จึงว่า “ เมื่อเน้นจัด fixจัด เวทนาก็จัด ตัณหาก็จัด ซึ่งทั้งหมดมีแต่จัดสรรความทุกข์ ความยาก ความลำบากมาให้ทั้งนั้น” คำว่า “จัด” ในที่นี้แปลว่ามาก
จึงสามารถสรุปได้ว่า ตัวไปหลงตั้งใจรู้นี้แหละเป็นจุดเริ่มต้นของปัจจยาการของสังสารวัฏ หรือปฏิจจสมุปบาท “ท่าน” จึงว่า ตัวรู้นั่นแหละตัวร้าย คือ หลงรู้ หากไม่ไปปรุงรู้ ทำรู้ขึ้น และเมื่อรู้สิ่งใดแล้วก็ไม่แช่รู้ แช่ดู ทั้งไม่ทำตาม – ทำต้าน รู้นั้นก็ไม่ใช่ตัวร้ายอีกต่อไป
การจะนอกเหนือกรรมกิเลสได้ต้องอาศัยสัมมาทิฐิ เป็นประธาน อาศัยปัญญาขององค์พุทธอรหันต์ มหาโพธิสัตว์ที่ท่านแสดงสัจจะของสภาวธรรมที่เรียกว่า “สัจธรรม”ให้เราได้รับรู้(ฟัง) รวมถึงเนื้อหาในอริยสัจทั้ง 4 ประการ เปรียบเหมือนแสงสว่างส่องนำทาง หรือเป็นอาวุธอันคมกริบในการหักโค่นต้นไม้แห่งสังสารวัฏ – สังสารวน
ประกอบกับการได้สนทนาธรรมแลกเปลี่ยนกับกัลยาณมิตรที่เข้าใจเนื้อหา หรือสอดคล้องกับสัจธรรมอยู่แล้ว เป็นการซักฟอกและเรียนรู้การใช้สื่อไปในตัว ประกอบกับการไม่คลุกคลี พูดคุย ถ้ามีก็ให้เป็นไปตามโอกาส ตามควร ตามฐานะ ตามความจำเป็น เป็นครั้งคราว ก็จะเป็นการกลั่นกรองธรรมะสัจจะไปในตัวเอง
เมื่อมีกิจอันใดเห็นสมควร เห็นประโยชน์เพื่อการช่วยเหลือ เกื้อกูล สงเคราะห์ อันจะไม่เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นแล้วก็ทำไปด้วยสติ สมาธิ ปัญญา แต่ภายในใจก็ตรงต่อสัจธรรมรองรับไว้ เรียกว่า รู้อยู่แก่ใจ ,โดยสามัญสำนึก ถึงสิ่งที่กระทำว่าเป็นเพียงสิ่งอุปโลกน์ , สิ่งสมมติ เพื่อผู้อื่น ทำให้ ทำแบบแล้วแล้วไป
คนเราเมื่อนอกเหนือชีวิตเป็นก็ใช้ชีวิตเป็น นอกเหนือสติ สมาธิ ปัญญาเป็น ก็ใช้สติ สมาธิ ปัญญาเป็น เรียกว่าไม่ติดอยู่หรือแบกไว้ ไม่แบกสติ แบกสมาธิ แบกปัญญา
ส่วนความดับทุกข์ – ความพ้นทุกข์ – ความหลุดพ้น – วิมุติ – นิโรธ – นิพพาน ไม่ต้องทำอะไร ให้เป็นเรื่องของมันเอง และอยู่แล้ว ท่านจึงเรียกว่าเป็นธรรมเหนือโลก โลกคือกรรม ธรรมเหนือโลก ก็คือ ธรรมเหนือกรรม หรือ พ้นกรรม , นอกเหนือกรรมนั่นเอง ผู้ที่จะทำให้ถึงนิพพานจึงเป็นไปไม่ได้ มีแต่หยุดทำหรือยุติทำนั่นแหละจึงจะพบเห็นว่าความดับที่มีเองอยู่แล้วได้ เรียกความมีเองอยู่แล้วนี้ว่า สัจธรรม ( ตถตา = ตะถะตา )
คำกล่าวที่ว่ารู้มัน – ดูมัน – เห็นมัน – เข้าใจมัน นั้นผิดสัจธรรม แทนที่จะตรงต่อดับ แต่กลับตรงต่อเกิดเรียบร้อยเลย เกิดอะไร? เกิดกิริยากรรม – กลายเป็นกรรมกิเลส , กิเลสซ้อนธรรม , กรรมซ้อนธรรม , กรรมบัง , การปฏิบัติปิดบังพระนิพพาน มันก็เลยดับอยู่แล้วไปซะหมด เพราะมัวแต่เกิดอยู่นั้น ทั้งที่มันก็ดับก่อนเกิดอยู่แล้ว มันไม่มีก่อนมีอยู่แล้ว
นักปฏิบัติทำสามารถปล่อยวางสิ่งอื่นได้ทั้งหมด แต่มักไม่กล้าปล่อยวางหรือยุติตัวปฏิบัติของตนเอง เนื่องจากไม่รู้ว่าตัวปฏิบัติของตนเองนั่นแหละ คือแหล่งสั่งสมตัวตนที่แนบเนียนที่สุด มันจึงไม่กล้าจะสละรู้ สละดู สละเห็น ไม่กล้าเลิกรู้ เลิกดู เลิกเห็น ไม่กล้าปล่อยรู้ วางรู้ ถ้าไม่เอะใจ – เฉลียวใจ หรือ ไม่มีผู้รู้ชี้แนะ ผู้นั้นก็จะติดตัน แบกขันธ์อย่างละเอียดนี้ไว้(โดยไม่รู้ตัวจริงๆ) คือขันธ์รู้ เมื่อไม่กล้าปล่อยจริง ๆ ก็เลยไม่ตรงต่อนิพพานจริง ๆ , นิโรธจริง ๆ ได้แต่เกือบนิโรธ เกือบนิพพาน ขอให้เข้าใจสัจจะของธาตุ – ขันธ์ให้ดี แล้วจะได้เลิกหลง จงใจทำ
ธาตุแต่ละธาตุ ขันธ์แต่ละขันธ์ ไม่ใช่อะไร, มันไม่ได้พยายามที่จะเป็นตัวมัน , มันไม่มีเนื้อหาที่จะปฏิบัติอะไร แม้แต่จะปฏิบัติให้เป็นตัวมันเอง ไม่ต้องพูดถึงว่ามันจะข้ามไปปฏิบัติต่อธาตุ – ขันธ์อื่น, มันไม่เนื่องด้วยสิ่งใด แม้แต่ตัวมันเอง มันไม่ได้พยายามจะสามัคคีกันหรือสมานฉันท์กัน หรือพยายามจะรวมกันเป็นหนึ่งหรอก เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่แตกต่างกันอยู่แล้ว
ธาตุแต่ละธาตุ ขันธ์แต่ละขันธ์ ไม่ใช่สิ่งอิง – อาศัยอะไร แม้แต่ตัวมันเอง ตัวมันเองก็ปล่อยตัวมันเอง ตัวมันเองยังไม่ยึดตัวมันเองเลย แล้วมันจะไปยึดข้ามธาตุ – ข้ามขันธ์ได้อย่างไร , มันไม่เคยแคร์อะไร มันอาจจะเกิดตามเหตุ – ปัจจัย แต่ตอนดับนั้นไม่ต้องการเหตุ – ปัจจัยใด ๆ ทั้งสิ้น ดับเอง , ปล่อยเอง, วางเอง, ว่างเอง อยู่แล้ว
การรู้และเข้าใจที่ตรงต่อความเป็นจริงนี้มีอานิสงส์ –อานุภาพมาก ทำให้เลิกหลงได้ สมดัง ที่พุทธองค์ตรัสไว้ว่า
เมื่อเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพาน
เมื่อเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพาน
เมื่อเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพาน
สังขารที่สัตว์โลกหลงกันที่สุดก็คือ สังขารที่เรียกว่าการปฏิบัติทำ ไม่ว่าทำรู้ ทำดู ทำเห็น ต่อเมื่อรู้ เมื่อดู เมื่อเห็นแล้ว ก็แช่รู้ แช่ดู แช่เห็น , จม - งม , เฝ้า – แบกรู้ ดู เห็นนั้น เพราะหมายมั่น จะให้ได้ ให้มี ให้เป็น ซึ่ง... (ทั้งทางโลกและทางธรรม)
ท่านจึงกล่าวว่า ตัดซะรู้ มันไม่ใช่ทั้งหมดแหละ จะได้ไม่ติดรู้ , ไม่หลงรู้ มันก็จบตรง
ไม่หลงรู้ ไม่ติดรู้นี้แหละ เรียกว่า อวิชชาดับ – ตัณหาดับ - อุปาทานดับ แต่ไม่ใช่ไปทำการดับมันหรอก เพียงแต่รู้ความจริงแล้ว “ ไม่ต้อง(ทำ)” เรียกว่า เลิกหลง ก็ตรงต่อดับอยู่แล้วทันที
ไม่
ไม่...อยู่แล้ว
ไม่ต้อง
ไม่ตั้ง
นอกเหนือ
ไม่เนื่องด้วย
ไม่อะไรกับอะไร
แล้วแล้วไป
ช่..า...ง...มัน
.... ก็ตรงต่อวาง ว่าง สงบ เย็น อยู่เองแล้ว ไม่เลย หยุดเลย ...
http://rombodhidharma.blogspot.com/
«
Last Edit: 10 March 2013, 22:29:56 by act_dsky
»
Logged
LAMBERG
มายิ้มในใจกันไว้เรื่อยๆ สนุกดีๆ
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 1,479
คำกรวดน้ำ-หยาดน้ำอุทิศบารมี โดย หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
«
Reply #18 on:
17 May 2013, 15:46:17 »
คำกรวดน้ำ-หยาดน้ำอุทิศบารมี ที่นำปฏิบัติโดย หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
แบบเต็ม
: ขอนอบน้อมอาราธนาองค์คุณของพุทธอรหันต์ พระมหาโพธิสัตว์และบารมีธรรมทั้งหลาย ขอให้สรรพดวงจิตทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย มนุษย์อมุษย์ทั้งหลาย ผู้มีคุณมีโทษทั้งหลาย
ได้มีส่วนแห่งองค์คุณพุทธอรหันต์ มหาโพธิสัตว์ด้วย
เพื่อความไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา ในทุกข์โทษทั้งหลายด้วยเทอญ
แบบย่อ
: ขอให้จิตญาณทั้หลาย ได้มีส่วนแห่งองค์คุณพุทธอรหันต์มหาโพธิสัตว์ด้วยเทอญ
วิธีการ
: ถือภาชนะบรรจุน้ำ จะเป็นขวด แก้ว หรือขันก็ได้ไว้ในมือ จากนั้นจึงระลึกข้อความที่ได้แสดงไว้ข้างบน หรือถ้าจะระลึกถึงผู้ใดเป็นพิเศษก็ระลึกถึงให้เสร็จ
ด้วยความปราถนาดีอย่างจริงใจ(โดยไม่เจตนาและแอบหวังสิ่งตอบแทนใดๆทั้งสิ้น)
จากนั้นจึงเทน้ำเหมือนเทน้ำทิ้งไปเฉยๆ โดยไม่ต้องจดจ้องสายน้ำหรือกำหนดจิตแบบไหนทั้สิ้น สายตาก็ปล่อยไปสบายๆ ใจก็ไม่ต้องเจตนานึกคิดใดๆในระหว่างเทน้ำนั้น
(ถ้าจะมีความคิดระหว่างนั้นก็ไม่เป็นไร)
สถานที่ ควรทำในที่โปร่งโลงแจ้ง เทลงพื้นดินหรือต้นไม้ก็ได้
ให้ทำอย่างน้อยเช้า-เย็น สามารถทำได้ทุกที่ทุกโอกาส ไม่ต้อรอประกอบบุญอย่างอื่น(ที่เข้าใจว่าเป็นบุญ)ก่อนก็ได้ เพราะ"ใจ"ที่ปลอดโปร่ง โล่ง เบา ไม่หมกมุ่นจมปลัก
ไม่เกาะเกี่ยวเหนี่ยวรั้งกับสิ่งใดๆแบบไม่อะไรกับอะไร นั่นก็เป็นบุญไพศาล(กุศลจิต)อยู่แล้ว
เหตุ-ผล
: การกรวดน้ำ หยาดน้ำเป็นการให้ การทาน การสละ จาคะ อุทิศบุญบารมีเพื่อการเกื้อกูล สงเคราะห์ อนุเคราะห์ให้จิตญาณทั้งหลายที่แวะเวียนมา มีปฏิสัมพันธ์ สัมพันธ์กัน ในสังสารวัฎนี้
อีกทั้งยังเป็นการคลี่คลายกรรมวิบากต่อกันและกันของเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายอีกด้วย
การใช้น้ำหรือควันธูปเป็นสื่อประกอบพิธีกรรมในการกรวดน้ำ หยาดน้ำ ก็เพื่อให้จิตญาณชั้นต่ำ(ที่ไม่สามารถรับรู้ได้เหมือนในภาคทิพย์ที่ละเอียด)
ได้มีโอกาสรับรู้และได้มีส่วนในองค์คุณและบุญบารมีนั้นได้ง่าย
อีกท้งไม่ต้องเกรงด้วยว่าบุญบารมีของเราจะไม่พอให้ ขอเพียงแค่ท่านน้อมนึกถึงองค์พุทธะ อรหันต์ มหาโพธิสัตว์ ทุกอย่างในการสละ การให้ จะเป็นไปเอง
«
Last Edit: 17 May 2013, 15:58:17 by LAMBERG
»
Logged
มาคืน "
สยามเมืองเคยยิ้ม
" กลับสู่
"สยามเมืองยิ้มยุคก้าวหน้า"
ด้วย
ยิ้มสยาม
กันนะครับ ...
Welcome To
Smile Siam
by
Siamese Smile
Pages:
1
[
2
]
« previous
next »
SMF 2.0.4
|
SMF © 2013
,
Simple Machines
| Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.145 seconds with 20 queries.
Loading...