User Info
Welcome,
Guest
. Please
login
or
register
.
22 December 2024, 17:49:43
1 Hour
1 Day
1 Week
1 Month
Forever
Login with username, password and session length
Search:
Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ
http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618
Posts in
12,929
Topics by
70
Members
Latest Member:
KAN
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
|
เรื่องราวน่าอ่าน
|
หนังสือดี ที่น่าอ่านยิ่ง
|
ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
0 Members and 1 Guest are viewing this topic.
« previous
next »
Pages:
[
1
]
2
Author
Topic: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ (Read 12509 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
on:
22 December 2012, 12:43:22 »
หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
วัดร่มโพธิธรรม
บ้านหลัก 160 ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ. เลย 42190
www.rombodhidharma.com
ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
เกริ่นนำ
จากประสบการณ์ของการศึกษาและปฏิบัติทำมาเกือบ 10 ปี มีความเข้าใจบางอย่างที่เราควรให้ความสนใจและสำนึกถึงความจริงบางประการ
ไว้เตือนใจตนเอง อาทิเช่น
ภาษา : เป็นสมมติบัญญัติที่สำคัญมากในการใช้ถ่ายทอดสัจธรรมคำสอนขององค์พุทธอรหันต์ มหาโพธิสัตว์ คำเดียวกันหากถูกตีความ หรือแปล หรือ
เข้าใจไม่ถูกตรงต่อสัจธรรมซะแล้ว ก็พร้อมที่จะสร้างความเสียหายแก่พระศาสนาที่เรียกว่า สัทธรรมปฏิรูป โดยเนื้อหา
: ภาษาที่ควรหลีกเลี่ยงหรือใช้อย่างรอบคอบ ระมัดระวังคือ เมื่อใช้ภาษานั้นแล้วไปชี้นำหรือกระตุ้นให้ความยึด ความอยากได้กำเริบหรือก่อเกิดการดิ้นรน
การแสวงหา การรอคอยของผู้คนที่จิตใจยังหลับใหล ผู้ถ่ายทอดจึงต้องแยบคาย ละเอียดอ่อนในการใช้ภาษาให้มากๆ
ธรรมะที่ปรากฏอยู่ในตำรานับตั้งแต่พระไตรปิฎกลงมา รวมทั้งคำสอนของครูบาอาจารย์ วิธีการปฏิบัติและพิธีกรรมต่างๆได้ยืมภาษาโลกอันเป็น
ภาษาสมมติมาใช้ในการถ่ายทอดทั้งสิ้น พระพุทธองค์ได้ตรัสเตือน อันเป็นเนื้อหาเพื่อความรอบคอบต่อสิ่งเหล่านี้ไว้ใน “ กาลามสูตร”
อีกทั้ง เราอย่าได้เข้าใจว่า เราได้เข้าใจตรงต่อสิ่งที่ท่านผู้รู้ประสงค์ให้เราได้รู้ตาม เห็นตาม เข้าใจตาม โดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องของวิธีการปฏิบัติ เพราะเรา
มักจะตีความหรือทำความ เข้าใจไปตามภูมิหลัง ตามประสบการณ์(ที่อาจได้แค่ใกล้เคียง แต่ไม่ใช่) ตามสติปัญญาของใครของตน ซึ่งอาจผิดได้ คำๆเดียว
เช่นคำว่า สติ ความรู้สึกตัว ก็สามารถเข้าใจกันไปได้ไม่เหมือนกันเป็นต้น
แล้วเราจะใช้อะไรเป็นบรรทัดฐานของความน่าเชื่อถือล่ะ
จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าแล้ว เราควรใช้ สัจธรรม(ความเป็นจริง) เป็นฐานเทียบเคียงว่าเนื้อหา ภาษาของคำสอนต่างๆที่ปรากฏแม้ในพระไตรปิฎก
หากเราจะตีความหรือมีความเข้าใจแล้วไปขัดแย้ง ไม่ตรงต่อสัจธรรม ก็ให้เข้าใจว่า ความเข้าใจจากภาษานั้นไม่น่าจะถูกต้อง
คือตำรา หรือคำพูดของท่านผู้รู้นั้นถูกต้อง ดีแล้ว แต่เนื้อหาแท้ๆ( โดยอรรถะ)นั่นต่างหากที่เราดันไปเข้าใจผิดซะเอง
ดังนั้นจึงให้สำเหนียกเรื่องภาษานี้ให้ดี ๆ
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ
: พุทธภูมิ คือองค์มหาโพธิสัตว์ท่านได้ผ่านการให้ การทาน การสละ การจาคะมามากมายอย่างยิ่งยวด
จนอนุสัยหรือความเคยชินที่จะเอา จะยึด ทะยานอยากจืดจางไปมากๆๆๆหรือไม่มี พระองค์ท่านจึงสามารถตรัสรู้ชอบ(จบ)ได้โดยพระองค์เอง
: นอกนั้นเป็น สาวกภูมิ (ผู้ที่รู้ตาม เข้าใจตามและดับ-จบตามคือจบไม่ได้ด้วยลำพังตัวเอง)ซึ่งมิได้ประกอบบารมีของการให้ การทาน
การสละ การจาคะ มาอย่างองค์มหาโพธิสัตว์ อนุสัยสากล คือความเคยชินที่จะเอา จะยึด ทะยานอยากนี้ยังหนา เหนียวและแน่นมากกกก... หากเราเข้าใจ
ว่าการปฏิบัติในพระศาสนานี้จะจบกิจด้วยการมีเจตนาทำธรรมขึ้นแล้วละก็ สิ่งที่สร้าง ที่ประกอบขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเรียกว่าสติ ศีล สมาธิ ฌาน ญาณ
ปัญญานั้นจะถูกอนุสัยสากล(ความเคยชิน)ที่จะเอา(ตัณหาและอุปาทาน)เคลือบไปด้วยทันที คือทำไป(แอบ)ยึดไป ทำไป(แอบ)ติดไป เพียงแต่การเอา- ติด-ยึด
นั้นดูดีและแนบเนียนไปพร้อมกับสิ่งที่ตนเองและผู้อื่นเข้าใจว่า “ เจริญในธรรม ”
ดังนั้นให้เราสำเหนียกถึงความเป็นจริงนี้ ให้ดี ๆ
สาวกภูมิ คือผู้ที่ไม่สามารถตรัสรู้(จบ)ได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยการชี้แนะด้วยปัญญาขององค์พุทธอรหันต์ มหาโพธิสัตว์ให้ตรงต่อสัจธรรม (นำ
ปัญญาของท่านมาใช้เลย อย่าไปทำการวิจัยด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดปัญญาของตัวเองขึ้น) เมื่อเราได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ได้สนทนา ใคร่ครวญพิจารณาแล้วเห็น
จริงตามนั้นอย่างแจ่มชัด ศรัทธาต่อเนื้อหาของสัจธรรมอย่างจริงใจ แล้วก็วางใจตาม คลายตาม ดับตาม ไม่อะไรกับอะไรตาม ไม่จิ้งจ้องจดจ่อตามท่านไปเลย
เป็นต้น นั่นแหละคือทางตรง ทางรอด ทางปลอดภัยที่จะไม่ถูกอนุสัยสากลดังกล่าวนั้น ได้โอกาสเจริญเติบโต(สมุทัยแอบเจริญ )ไปพร้อมกับสิ่งที่เรียกว่า การ
ปฏิบัติธรรม มิใช่ให้ไปทำขึ้นใหม่ หรือไปทำเอาเอง (ยังกับว่าจะตรัสรู้ได้ซะเอง) มิฉะนั้นแล้วจะถูกตัณหา ทิฐิและมานะของเจ้าของ (แอบ)หลอกและหลอนให้
หลง(ของตัวเอง)ไปเรื่อยๆ
แถลงความ
ตามที่ข้าพระพุทธเจ้าได้มาสนใจศึกษาพุทธธรรมและปฏิบัติทำ มาประมาณ 10 ปีโดยการอ่าน การฟัง การสนทนาธรรมและปฏิบัติทำธรรม
ด้วยการเจริญสติภาวนา ดูกาย -ดูจิต ( ตามความเข้าใจของตัวเอง) ได้รับความเมตตาเกื้อกูลจากครูบาอาจารย์, ผู้รู้ และกัลยาณมิตรมากมาย
ตัวข้าพระพุทธเจ้าเองได้มีความรู้ ความเข้าใจก่อเกิดประโยชน์สุขต่อชีวิตของตนเองและผู้อื่นได้พอสมควร
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยหายไปจากใจ คือมีความรู้สึกลึกๆของการแสวงหาและการรอคอยอะไรบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เหมือนกับยังทำงานไม่
เสร็จและติดค้างอยู่ในใจ โดยไม่รู้ตัว
ต่อเมื่อได้ฟังธรรมจากองค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต จึงได้เกิดความแจ่มแจ้งในสัจธรรมคำสอนขององค์พุทธอรหันต์ จิตใจได้
รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระเบิกบาน ความรู้สึกของการรอคอย และการแสวงหานั้นได้จางหายไป(จึงรู้ว่ามี) งานทางใจก็ได้คลี่คลายปลดปลงลงด้วย
( มิได้หมายความว่าข้าพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์นะครับ )
งานชิ้นนี้ มิได้มีจุดประสงค์ในการดูหมิ่น ดูแคลนหรือจาบจ้วง โจมตีแนวปฏิบัติใดๆเพียงแต่ได้พยายามสะท้อนให้นักปฏิบัติให้ได้เห็น ให้ได้รับรู้ว่าแง่มุม
ใดของการปฏิบัติที่จะกลับกลายเป็นการเจริญสมุทัยไปซะเอง จะได้ไม่ถูกตัณหาอุปาทานหลอกให้หลงปฏิบัติกันไปเรื่อยๆ
โดยเนื้อหาที่เรียบเรียงนี้มาจากความเข้าใจของตนเองเพียงบางส่วน เพื่อประกอบการฟังธรรมจากองค์หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต เท่านั้น
สำหรับญาติโยมที่ต้องการศึกษาสัจธรรมจริงๆ แต่ก็ไม่ค่อยเข้าใจเนื้อหาหรือรหัสนัยจากคำพูด คำแสดงธรรมของพระองค์ท่าน ดังนั้นจึงมิใช่ตำราที่จะใช้อ้างอิงได้
และท่านก็ไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งหมด ได้ทำสารบัญเลือกอ่านได้ตามที่สนใจ และอย่าตั้งใจอ่านมาก อย่าอ่านดะรวบไปหมด จะมีผลเสียเพราะตัณหาในปัญญา
สำคัญที่สุดคือท่านผู้อ่านต้องได้ฟังธรรมจากองค์หลวงพ่อ(ต่อหน้า)ท่านโดยตรงจะดีที่สุด หากท่านได้เข้าใจเนื้อหาของสัจธรรมแล้ว วลีใดวลีหนึ่ง
ประโยคใดประโยคหนึ่งอาจเพียงพอต่อความพ้นทุกข์ได้แล้ว ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้ลองอ่านและตรองดู ดีๆเถิด
ด้วยที่สุดนี้แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมและถวายความเคารพต่อองค์คุณทั้งหลายทั้งปวง พร้อมทั้งกราบขอขมาและขออโหสิกรรม ต่อกรรมอันใด
ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้เคยประมาทพลาดพลั้ง ปรามาสล่วงเกินต่อองค์คุณทั้งหลายทั้งปวงไว้ มา ณ ที่นี้ด้วยเทอญ.
สารบัญเลือกอ่าน
คำขอขมา - ขออโหสิกรรม
ใครจะรู้บ้างไหมหนอ 1
ความตื่น 13
ความเพียร 16
ปฏิจจสมุปบาทแบบย่อ 22
ไม่พัก 28
ไม่เพียร 29
สัมมาทิฐิ 34
ปริวัฏฏ์ 3 อาการ 12 (ญาณในอริยสัจ 4) 53
กฎแห่งกรรม 59
สัมมาสังกัปโป 81
ทางสายกลาง 84
สัมมาวาจา – สัมมากัมมันตา – สัมมาอาชีโว 89
อาหาร 4 93
สัมมาวายาโม 95
สัมมาสติ 100
สัมมาสมาธิ 114
กาล 120
กรรมฐาน 130
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร 135
ปฏิจจสมุปบาท 151
คำกรวดน้ำอุทิศบุญบารมี
คำขอขมา ขออโหสิกรรม
คำขอขมา ขออโหสิกรรม
นะโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3จบ)
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ สิ่งใด ที่ข้าพเจ้า และจิตญาณทั้งหลาย ที่พ่วงพันมากับข้าพเจ้า พร้อมทั้งเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่ไม่ตรงต่อสัจธรรม
และกรรมอันใดที่ได้เคยประมาทพลาดพลั้ง ปรามาสล่วงเกิน ต่อองค์คุณเบื้องสูง ต่อองค์คุณพุทธะ มหาพุทธะ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระมหาโพธิสัตว์
พระอรหันต์ พระมหาอรหันต์ พระธรรมคำสอน พระอริยสงฆ์อริยเจ้าทั้งหลาย สมมติสงฆ์ทั้งหลาย อีกทั้งคุณของบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ทั้งหลาย
คุณของพรหมเทพทุกชั้นภูมิ สิ่งศักดิ์สิทธิ์และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย คุณของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย คุณศีลคุณทานทั้งหลาย คุณของจิตญาณทั้งหลายทั้งปวง
อีกทั้งกรรมอันใด อันเป็นการผิดศีลผิดธรรม และก่อให้เกิดการเบียดเบียนต่อสรรพสัตว์น้อยใหญ่ ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย
จนก่อเกิดเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย
อีกทั้งกรรมอันใด ที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยตนเองและให้ผู้อื่นต้องลุ่มหลงมัวเมา จิ้งจ้อง-ต้อง-ตั้ง-วกวนอยู่ในธาตุ4 ขันธ์5
อันเป็นกรรมซ้อนขันธ์ กรรมซ้อนธาตุ กรรมซ้อนธรรม
จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง จะเจตนาหรือมิได้เจตนาก็ตาม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในทุกภพทุกชาติ ทุกกัลป์ทุกกัป ทุกพุทธันดร
บัดนี้ ข้าพเจ้าและจิตญาณทั้งหลาย ที่พ่วงพันมากับข้าพเจ้า พร้อมทั้งเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ได้สำนึกแล้วด้วยใจ ถึงกรรมนั้นๆ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย จึงกราบขอขมา ขออโหสิกรรม
ขอองค์พุทธะ พระอรหันต์ และพระมหาโพธิสัตว์ จงเป็นประธาน ในการขอขมาและขออโหสิกรรมในครั้งนี้
ขอให้องค์คุณทั้งหลายทั้งปวง ได้โปรดงดโทษและอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย
เพื่อความไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา ในทุกข์โทษทั้งหลาย ให้มีการดำเนินชีวิตที่ตรงต่อการให้ การสละ เกื้อกูล สงเคราะห์ อนุเคราะห์
ตรงต่อสัจธรรม ตรงต่อพระนิพพานอยู่แล้ว
ณ โอกาสบัดนี้ด้วยเทอญ...
เหตุ – ผล
: การขอขมาและอโหสิกรรมเป็นอริยะประเพณี เป็นพิธีกรรมที่องค์พุทธะและพระมหาโพธิสัตว์ใช้ในคราที่พระองค์ลงมาโปรดสัตว์โลก เพราะสรรพ
สัตว์ทั้งหลายได้เวียนว่ายตายเกิดมานับภพชาติไม่ถ้วน ด้วยความหลงจึงเกิดการกระทบกระทั่ง เกิดการปรามาสล่วงเกิน เบียดเบียน เสียดสี ทิ่มแทงกัน(กรรม)
ด้วยกาย วาจา ใจจึงเป็นสิ่งที่เคยมีมาอย่างแน่นอน และด้วยเหตุดังกล่าวนั้นจึงส่งผลให้เกิดกรรมวิบาก(ผลแห่งกรรม) พ่วง-ผูกและพัวพันกันอยู่ในรูป
แบบต่างๆในสังสารวัฏ สังสารวนนี้ ให้ต้องทุกข์ยาก ลำบากกันต่อไปมิรู้จบสิ้น การขอขมาและอโหสิกรรมจึงเป็นโอกาสที่สัตว์โลกจะได้คลี่คลายกรรมวิบาก
นานัปการของตนเอง โดยเฉพาะกรรมวิบากที่มีผลในการขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคในการเข้าใจเนื้อหาแห่งสัจธรรม
โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติธรรม หากเคยได้ปรามาสต่อองค์คุณเบื้องสูงมาแล้วละก็ วิบากกรรมจากเหตุดังกล่าวมีผลให้เกิดความมืดบอด หมอง มัว พร่า อึมครึม
ลังเล สงสัย ไม่แจ่มชัดในพระสัจธรรม อันเป็นเหตุให้เกิดความเนิ่นช้าของปัญญาจักษุ หรืออาจก่อเป็นเหตุใหม่ในการปรามาสล่วงเกินองค์คุณต่างๆหนักขึ้นไปอีก
: การขอขมา ขออโหสิกรรม จะมีผลต่อเมื่อทำจากจิตสำนึกถึงโทษภัยที่ได้ปรามาสล่วงเกิน เบียดเบียนองค์คุณทั้งหลายทั้งปวงมา โดยเฉพาะจะมี
ผลมากหากได้ทำการขอขมา ขออโหสิกรรมต่อหน้าคู่กรณี(ถ้ายังมีชีวิตอยู่) แล้วได้เปล่งวาจา “อโหสิ”ซึ่งกันและกันต่อหน้าพระอรหันต์หรือองค์มหาโพธิสัตว์
อันเปรียบเหมือนเป็นองค์ประธานในพิธีการครั้งนี้ อีกทั้งจะได้เป็นการปลดล๊อค คลี่คลายกรรมวิบาก จากหนักก็จะได้เป็นเบา จากเบาก็จะหมดสิ้นกันไปได้
นอกจากนั้น ยังจะเกิดจิตสำนึกในการสำรวมระวังสังวร ในการเห็น การได้ยิน การคิดนึก การกระทำที่จะไม่เป็นการไปปรามาสล่วงเกินหรือเบียด
เบียนองค์คุณทั้งหลายทั้งปวงอีกต่อไป
: และขอให้เข้าใจว่า การขอขมาและขออโหสิกรรม มิใช่การอ้อนวอนร้องขอ แต่เกิดจากจิตสำนึกอย่างจริงใจและบริสุทธิ์ใจ และอย่าให้มีการ(แอบ-ซ่อน)
หวังผลตอบแทนใดๆทั้งสิ้น
«
Last Edit: 10 March 2013, 22:16:10 by act_dsky
»
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #1 on:
22 December 2012, 12:48:47 »
ใครจะรู้บ้างไหมหนอ
ว่า...เนื้อหาที่แท้ของปรากฏการณ์นี้คืออะไร และอย่างไร
********************
หลงรู้
ตัณหา ใน ปัญญา
อวิชชา ใน วิชชา
กิเลส(ธรรมะ) ใน ธรรมะ(กิเลส)
ธรรม โดย ธรรม
กรรม ซ้อน ธรรม
กรรมบัง การปฏิบัติทำ ปิดบังพระนิพพาน
ปล่อย (วาง) ซ้อน ปล่อย (วาง)
กรรม ซ้อน วิบาก
ตรัสรู้ หมายถึง จิตใจที่
ไม่แสวงหารู้และความรู้ ไม่อิน(in)รู้ ไม่เอารู้ ไม่หลงรู้ ไม่วุ่นวายแส่ส่ายกับการรู้หรือไม่รู้ ไม่อะไรกับอะไรในการรู้ ตรงต่อเนื้อหาของสัจจะที่ว่า อนัตตา เพราะว่าทุกสรรพสิ่งปราศจากความหมาย ไร้ความเป็น… เหนื่อยเปล่าที่จะมั่วไปวุ่นวายกับการให้ความหมายที่ไม่ใช่ความจริง (นอกจากเพื่อใช้ในสมมติโลกเท่านั้น) ท่านจึงว่า ตัดซะรู้ ตัดซะ ...รู้
อย่ามัว หลงเกาะ หลงแกะ
เพราะทุกสรรพสิ่ง ไม่ใช่สิ่งยึดติดอยู่แล้ว หลุดกันเองอยู่แล้ว ปล่อยกันเองอยู่แล้ว วางกันเองอยู่แล้ว นี้คือ เนื้อหาของสัจธรรมที่เรี ยกว่า อนิจจัง ทุกขัง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของทุกสภาวะอยู่เองแล้วโดยบริบูรณ์ ไม่ต้องการเหตุ-ปัจจัยใดๆทั้งสิ้น มิใช่ไม่เที่ยงเพราะ...และมิใช่ไม่เที่ยงเพื่อ...นี้จึงเรียกว่า สิ่งนอกเหตุ (คือมิใช่หลุดเพราะ...หรือด้วยเหตุอันใด ) และเหนือผล( คือ มิใช่หลุดเพื่อ... หรือ ด้วยวัตถุประสงค์ใด ๆ ทั้งสิ้น) การไปหลง (ทำ) อะไร ๆ เช่น ทำบุญก็เพื่อความสุข ทำๆๆๆอะไรๆๆเพื่อให้พ้นทุกข์ เพื่อให้ถึงพระนิพพานหรือเพื่อให้มีสติ สมาธิ ฌาน ญาณ ปัญญา (เพื่อ)เอาไว้เกาะ(สิ่งดีๆ) หรือ
แม้แต่การเริ่มต้นด้วยการอิง – อาศัย(ยืมใช้) เพื่อหวังจะเอาไปแกะอะไร ๆ โดยเฉพาะสิ่งที่ยึดว่าไม่ดี(กิเลส)ให้หลุด, ให้หมด, ให้ไม่มี, ให้ไม่เกิด จึงนับได้ว่าเป็นความหลงโดยแท้
โคตรเง้าของทิฐิ(อวิชชา) ก็คือ ตัวดู ตัวรู้
ด้วยความไม่รู้(เรื่อง) ก็เลยหาเรื่อง(รู้) ด้วยการอุปโลกน์ตัวดู ตัวรู้ขึ้นมา แล้วก็ได้เรื่อง(ที่ไม่เป็นเรื่อง)ทุกข์ๆ(ขันธ์5)ทั้งนั้น ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นเรื่อง(ขันธ์)ที่ยึดหรือเอาไม่ได้จริงทั้งนั้น คือเป็นเรื่อง(สิ่ง)ที่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งหมด ไม่ว่าจะเรื่องธรรมะ หรือ เรื่องกิเลส เพราะโดยสัจจะแล้วมัน ไร้ หรือ ปราศจากเรื่อง ในแต่ละธาตุ แต่ละขันธ์เองอยู่แล้ว
ความไม่รู้เรื่อง (อวิชชา)คือ ไม่รู้ว่าโดยสัจธรรมแล้ว ทุกสรรพสิ่ง- ทุกสภาวะ มันไม่ยึดติดตัวมันเองอยู่แล้ว ปล่อยกันเองอยู่แล้ว, วางกันเองอยู่แล้ว หลุดกันเองอยู่แล้ว(อนิจจัง) มันจึงไม่อาจเป็นอะไร ๆ ได้จริง ๆ(อนัตตา) ความเป็นจริงดังกล่าวนี้ไม่เนื่องด้วยเหตุ-ปัจจัย นอกเหนือกาลเวลา ดังนั้นทุกสรรพสิ่งจึงไม่มีอะไรต้องการ หรือไม่ต้องการอะไร ไม่มีอะไรเอาอะไร ไม่มีธาตุใดขันธ์ใดย้อนมากำหนดตัวมันเอง มันวางแม้ตัวมันเองอยู่แล้ว มันจึงมิได้พยายามจะเป็นตัวมัน หรือพยายามจะเป็นอะไร ๆ มันจึงเป็นสิ่งที่นอกเหนือเจตนากรรมหรือปฏิบัติการใดๆทั้งสิ้น ไม่มีธาตุใดขันธ์ใดก้าวก่ายข้ามธาตุ- ขันธ์ด้วยตัวของมันเอง ถ้าจะเป็นเช่นนั้นได้ก็เพราะด้วยโมหะ ตัณหา อุปาทานพาไป(ทำขึ้น = เจตนากรรม) ไม่มีอะไรต้องการที่พึ่ง, ไม่มีอะไรจะอิงอาศัยอะไรได้จริง....หลอก
นอกจากนั้นทุกธาตุ- ขันธ์ ไม่มีความหมายในตัวมันเอง มันปราศจากความหมายแห่งความเป็นอะไรที่แท้จริง(อนัตตา) ที่เป็นก็เป็นเพียงชั่วคราว- ชั่วครู่ หรือเป็นแค่… ทั้งหมดนี้คือธรรมชาติเดิมๆของทุกสรรพสิ่ง ความเป็นไปแบบนี้เรียกว่าเป็นไปแบบ ธรรมโดยธรรม (ปราศจากหรือไร้ซึ่งเจตนากรรม ไม่ใช่จากสิ่งที่ว่า “เพื่อ”) การรู้-ตามความเป็นจริงดังกล่าวนี้เรียกว่า สัมมาทิฐิ
ความไม่รู้เรื่อง(อวิชชา)เรียกว่า โมหะทิฐิ แสดงออกมาในรูปของการหลงทำตัวรู้ ตัวดูขึ้น เรื่องที่เกิดตามมาจากการทำรู้(ตามรู้ ตามดู สังเกต...)ก็คือความเข้าใจที่เรียกกันว่า “ทิฐิ”(ความเห็น) แต่โดยทั่วไปจะเข้าใจกันว่ามันคือปัญญา(วิชชา) แต่ที่แท้มันก็คือลูกหลานเหลนของอวิชชาทั้งนั้น(เป็นปัญญาในเชิงทิฐิ ผู้ที่เจริญรู้-เจริญเห็นจึงต้อง-คาหรือมีทิฐิอิงอาศัย
ในจิตในใจไปเรื่อยๆ ไม่อาจจะตรงต่อว่างได้อย่างแท้จริง) แล้วมันจะกลับไปทำลาย(โคตร-อวิชชา) ตัวมันเองได้อย่างไร?
ที่แนบเนียนมากคืออวิชชาจะหลอกให้แสวงหาปัญญานานาประการก่อเกิด กรรมซ้อนธรรม (ก็ยิ่งกำขันธ์) กลายเป็น กรรมบัง ไม่อาจพ้นทุกข์(จากอุปาทานในขันธ์)ได้จริง เพราะเลยหรือเกินพระนิพพาน ท่านจึงกล่าวว่าการปฏิบัติ(ทำ-กรรม)ปิดบังพระนิพพาน
อย่าได้ทำการ “ ปล่อยวาง ” เด็ดขาด
เพราะนั่นคือ ขบวนการของการ ติด ไปเรียบร้อยแล้ว เนื้อหาที่แท้ของการปล่อยวาง คือ ไม่สนใจ แต่การ ไม่สนใจ นั้นต้องประกอบด้วยการที่ รู้ความจริง = ปัญญา(ตัด) = สัมมาทิฐิ = อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของทุกสรรพสิ่ง หากไม่เช่นนั้นแล้ว การปล่อยวาง การไม่สนใจ ก็อาจถูกบงการ หรือครอบงำด้วย ความหลง อาจกลายเป็นการปฏิเสธสภาวะหรือยึดติดทิฐิที่ว่า ปล่อยวาง หรือ ทิฐิที่ว่า ไม่สนใจ กลายเป็นว่า “ ยึดติดกับความไม่ยึดติด ”
การปล่อยวางโดยเนื้อหาหมายถึงความเข้าใจที่ตรงต่อความเป็นจริงที่ว่า “มันปล่อยวางกันเองอยู่แล้ว” มิใช่ เราหรือฉันไปทำการปล่อยวางมัน เราอาจจะทำการปล่อยวางมันสำเร็จ แต่ที่ยังเหลืออยู่คือเราเป็นผู้เสวยผลสำเร็จหรือไม่สำเร็จอยู่ นั่นจะเรียกว่าปล่อยวางที่แท้จริงหรือ? จึงเป็นเพียงปล่อยวางเทียม(เนื่องด้วยเจตนา)ซ้อนการปล่อยวางแท้(ไม่เนื่องด้วยเจตนา) การปล่อยวาง จึงมิใช่ทั้งการยอมรับหรือการปฏิเสธ แต่เป็นด้วยเพราะเข้าใจ ความเป็นจริง ของปรากฏการณ์แล้วไม่เข้าไปยุ่ง หรือไม่ทำ...อะไรให้วุ่นวาย...ไปซะเอง
อวิชชา
อวิชชา แปลว่า ความไม่รู้เรื่อง เราจะทำให้อวิชชาหมดไป ด้วยการมีวิชชาเยอะๆ ให้มากที่สุด อย่างนั้นหรือ นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง เพราะอะไรจึงกล่าวอย่างนั้น ก็เพราะว่า อวิชชานั่นเองเป็นผู้สั่งให้หา ความรู้ ความเข้าใจ (วิชชา) มาเสวย ดังนั้น สิ่งที่ได้มาจากความเพียร(อยากรู้)ที่ชื่อว่า ปัญญา วิชชานั้น จะกลับไปทำลาย อวิชชา ได้อย่างไรกันเล่า อวิชชา มันหลอกให้ดิ้นรน(ให้ค่ากับการรู้-คอยรู้-คอยดู) รู้ตัวบ้างไหม
เปรียบเหมือนกับ ยักษ์ มันบอกว่าผู้ที่จะฆ่ามันได้ ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าจะฆ่ายักษ์ให้ตาย ก็ให้หามนุษย์ตามเกณฑ์นั้นมา แล้วมนุษย์ก็พยายามฝึก พยายามทำให้ได้ตามเกณฑ์นั้นคาดว่าจะฆ่ายักษ์ให้ตายได้จริงๆ แต่กลับกลายไปเป็นอาหารของยักษ์ซะเอง ยักษ์ก็อ้วนพลี สบายใจเฉิบ นี้เรียกว่า “อวิชชา ใน วิชชา”
ด้วยความไม่รู้(อวิชชา)มันจะผลักดันให้เกิดการดิ้นรน,แสวงหา,สร้าง,ทำ, เอาปัญญา กลายเป็นตัณหาในปัญญา หรือ กิเลส ในธรรมะนั่นเอง และที่สำคัญ เมื่อโมหะได้สติเป็นกำลัง ได้สมาธิเป็นกำลัง ได้ฌาน ได้ญาณ ได้ปัญญาเป็นกำลัง มันก็จะอลังการมาก ละเอียดและแนบเนียน ดูดีเสียจริง ๆ จึงไม่ต้องแปลกใจที่ผู้ปฏิบัติทำ อดที่จะหลงใหล (แอบยึดหรือติดอยู่โดยไม่รู้ตัวว่าติดอยู่) เสียมิได้ ถ้าไม่เอะใจ หรือเฉลียวใจ หรือได้ยิน ได้ฟัง สัจธรรมจากองค์พุทธะ มหาโพธิสัตว์แล้วละก็ รอดจากความหลง(รู้)นั้นได้ยากส์...มาก
อวิชชา จะยุติหรือจบ....ได้อย่างไร
อวิชชา จะยุติ หรือ จบไม่ได้ ด้วยการกระทำ(กรรม)ให้ยิ่งๆขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็น มโนกรรม(พัฒนาจิต) วจีกรรม กายกรรม ให้ดีเลิศที่สุด แล้วจะสำเร็จ.... มิใช่เช่นนั้น
ใจ ต้องตรงต่อเนื้อหาของ สัจธรรม ความเป็นจริง ที่ว่าทุกอย่างไม่มี
ความหมายในตัวเอง ทุกอย่างไม่ใช่อะไร ทุกอย่างไม่ใช่สิ่งยึดติดตัวมันเองอยู่แล้ว ท่านจึงเตือนไว้ว่า “ทุกอย่างคือไม่” “ไม่ คือทุกอย่าง” เพื่อเตือนใจ(ให้คลายอุปาทาน) แล้วใจจะเลิกก่อ เลิกสร้างกรรมทางใจ(กิริยาจิต) ก็คือเลิกความดิ้นรนทางใจ....สงบ..เย็น..ไปเอง
ให้รู้ว่าจริง ๆ แล้ว ใจ เป็นสิ่งที่ว่างอยู่แล้ว ไม่ใช่เจตนากรรมไม่ต้องการที่อยู่หรือที่ยึดเกาะ ไม่มีขอบเขต ไร้ขอบเขต โปร่ง โล่ง โพล่ง เบา (ไม่มีน้ำหนัก)
การปรากฏขึ้นของสิ่งใดก็แล้วแต่ ให้รู้ว่านั่นไม่ใช่ ใจแต่มันคือ สิ่งปรุงแต่ง โดยเฉพาะ ตัณหา อุปาทาน เป็นสิ่งปรุงแต่งที่จะอยู่ในรูปแบบของความพยายามหาที่ อยู่ ที่ ยึด ที่ เกาะ อันเป็นเหตุนำทุกข์ทุกรูปแบบมาให้ใจ ที่เรียกว่า หนักใจ (ใจมีน้ำหนัก)
บทสรุปที่เด็ดขาดในการป้องกัน – รักษา,เยียวยา – แก้ไข อวิชชา ความหลง ก็คือ ปรากฏการณ์อะไรก็แล้วแต่ที่เกิดกับกายหรือใจ “ไม่ใช่”ทั้งหมด นั่นแหละเพราะเมื่อไรที่เราว่า “ ใช่ ” เมื่อนั้น หรือที่นั่น หรือสภาวะนั้น จะกลายเป็นเป้าให้ อุปาทานได้ เกาะ ยึด ทันที โดยเฉพาะการบรรลุสภาวะที่ว่าดีๆ ทั้งหลาย (ธรรมะ)นั่นแหละ เป็นเป้าที่อุปาทานจะได้ที่ยึดไว้และ(แอบ)ติดอยู่อย่างแนบเนียนมาก...
อวิชชา แปลว่า ไม่รู้เรื่อง ก็เลยหา ทำ รักษา ระวัง เอา อะไร ๆ ไม่เอาอะไร ๆ หลงสร้างขั้น สร้างตอนขึ้นมา อันล้วนเป็นสมุทัยโดยเนื้อหา แล้วก็ตีกลับมาเป็นความวุ่นวายกดดันอะไรๆไปซะเอง แทนที่จะเป็นการละสมุทัย กลับเป็นการเจริญสมุทัยไปซะแทน
เมื่อได้สดับสัจจะอย่างแจ่มแจ้งและดำเนินชีวิตตรง สอดคล้องต่อความเป็นจริงนั้น สมุทัยก็เป็นอันถูกละ(คือไม่เจริญสมุทัย), ความพ้นทุกข์(นิโรธ-ซึ่งก็มีอย่างสมบูรณ์แล้วด้วย)ก็แจ่มแจ้งไปเอง
ตำรากล่าวไว้ว่า “อวิชชา ปัจจยา สังขารา” แปลว่า “อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร”
สังขารนั้น พิจารณาได้ 2 นัย
นัย 1 สังขารโดยความเป็น สิ่งปรุงแต่ง ขันธ์เดิม ที่มีมาพร้อมกับการเกิดนับได้ว่าเป็นผลจาก ของเก่า หรือ ของเดิม หรือ ขันธวิบาก ซึ่งก็คือขันธ์ 5 ประกอบด้วยรูป- เวทนา – สัญญา – สังขาร – วิญญาณ (เป็นผล จากความหลงยึด- หลงอยากในขันธ์ เทียบได้กับกองทุกข์ในทุกขสัจ ) รวมทั้ง ผล หรือ วิบาก จากความคุ้นชินเดิมในแง่ของการเข้าไปกระทำ(กิริยา- กรรม) ที่เรียกว่า กรรมอนุสัย , ความเคยชิน ที่จะทำอะไรๆตั้งแต่มโนกรรม วจีกรรม กายกรรมคือเป็นการทำจนชำนาญ- ชิน- คุ้นเคยที่จะไหล ไม่ว่าจะทำทางไหน จะเป็นกุศล- อกุศล- กลางๆก็ตาม ความเคยชินที่จะทำอะไรๆนี้เรียกว่าเป็นผลจากการที่เคยหลงทำซ้ำ ๆ มาเรื่อยๆ ก็เลยดูเหมือนเป็นนิสัย เป็นบุคลิก บางคนก็ไปหลงผิดเข้าใจว่านี้แหละคือสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา- ของเรา
นัย 2 สังขารโดยความเป็น สิ่งปรุงแต่ง คือ สร้างขึ้น ทำขึ้น ซึ่งต้องประกอบด้วย เจตนา ที่เรียกว่า กรรม หรือเรียกรวมว่า เจตนากรรม(สังขารคือกรรมภพ นับเป็นความเกิดทางใจเรียบร้อยแล้ว) อันที่ปรากฏเป็นปัจจุบันขณะ ยังมีชื่ออื่นอีกเช่น ความจงใจ ความตั้งใจ สังขารโดยนัย 2 นี้เองคือสมุทยสัจ คือยิ่งสร้างมากๆ ยิ่งทำให้มาก ก็คือยิ่งปรุงแต่ง(สังขาร)มาก ผลผลิต ที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เป็น เลือดเนื้อเชื้อไข ของ ความไม่รู้ หรือ อวิชชา ทั้งสิ้น เป็นไปด้วยอำนาจของ โมหะ ความหลง ความยึด ความอยาก (อุปาทาน ตัณหา)
ดังนั้นผลผลิต ที่เนื่องจาก การทำ หรือปรุงขึ้นมาภายหลัง โดยเฉพาะหากเนื่องมาจากความ จงใจ (นี้หมายถึง เรื่องของจิตใจ ที่ขอยืมภาพมาใช้ว่า ปฏิบัติธรรม ไม่เกี่ยวกับเรื่องสมมติภายนอก) ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเรียกว่า ธรรมะ เช่น สติ สมาธิ ฌาน ญาณ ปัญญา ก็ล้วนแล้วแต่มีตัณหา–อุปาทาน (สมุทยสัจ) เคลือบ - คลุมสอดไส้ตลอดสาย นั่นเอง คือตัวปฏิบัติที่ใช้ความจงใจ- เจตนามาก-น้อย ขนาดไหนก็ตาม ก็หมายถึง การเจริญสมุทัยหรือเหตุแห่งทุกข์ควบไปด้วย แทนที่จะละสมุทัยดังที่องค์พุทธะมหาโพธิสัตว์ ได้ชี้ทางไว้
สิ่งปรุงแต่งที่เรียกว่า การปฏิบัติทำนี้ร้ายกาจที่สุด เพราะมีตัณหา – อุปาทานที่แฝงซ่อนมากับสิ่งที่เรียกว่า ปฏิบัติ เช่น การกำหนด การตามรู้ – ตามดู – เฝ้ารู้ – เฝ้าดู สังเกต ประเมิน ทบทวน หรือแม้แต่การพิจารณาก็ตาม ล้วนเป็นการหลงให้ค่าให้ความหมาย ซึ่งเป็นเนื้อหาของตัณหา อุปาทานทั้งสิ้น เป็น ตัณหาในธรรมะ อุปาทานในธรรมะ อันนี้ไม่จบ ดังนั้น เพื่อไม่ให้ หลง เป็นเหยื่อ ที่จะสืบสาน ภพ–ชาติไม่รู้จบสิ้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(อริยมรรค) จึงให้ตรงต่อ ไม่...อยู่แล้ว ให้ดีๆ นี้คือ ทางสายเอก ซึ่งเป็นความจบของสภาวะเองอยู่แล้ว มิใช่สิ่งที่ต้องดำเนินหรือการเจริญ (งม)ทางไปเรื่อยๆแล้วคิดว่า เข้าใจว่า เชื่อว่า คาด(เดา)ว่า จะถึงความจบ...หาเป็นเช่นนั้นไม่
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(อริยมรรค)
มรรคเพื่อเป็นทางออกจากทุกข์(ระวังภาษานะ) คือ ไม่ทำ หรือ ยุติทำ บัญญัติที่ว่าปฏิบัติ ไม่ได้หมายถึง การสร้าง หรือ ปรุง แต่ง ทำ เพราะอะไรจึงว่า มรรคที่แท้ คือ ไม่ทำ เพราะโดยการปรากฏขึ้นของสิ่งที่เรียกว่า กิเลส ตัณหา อุปาทาน = สมุทัย (ผลของความเคยชิน – อนุสัยเก่าๆ = วิบาก) นั้น เขาจะหลอกหรือยั่วยวน เชิญชวนให้เรา ทำ = กรรม(ต่อ)คือไม่ตัด ไม่จบ ซึ่งตรงจุดนี้ก็คือ การหลงมีเจตนา หรือเป็นความหลง-เกิด-ความจงใจ
ณ จุดที่ผู้คนเป็นอยู่นี้ จะมีความหลงในการทำเกือบตลอดเวลา โดยเฉพาะความจงใจทางใจ คือ มโนกรรม เนื่องเพราะความไม่รู้สัจธรรม มีความอยาก ความยึด ก่อให้เกิดเจตนากรรม เรื่อย ๆ ไป เป็นการสืบต่อภพชาติ(สันตติ) โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น การจะพ้นจาก
สังสารจักรนี้ได้ คือ การยุติเจตนากรรม ที่เรียกว่า ไม่ทำ (ยุติทำ) ซึ่งการยุติทำนี้ จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ จิตใจนั้นต้องเข้าใจและซาบซึ้งต่อความเป็นจริงของทุก ๆสภาวะที่กำลังปรากฏอยู่
เมื่อ“ยุติทำ” ก็เท่ากับยุติการส่งผลของตัณหา–อุปาทาน ทำให้ตัณหา–อุปาทานฝ่อ – หมดอิทธิพลหรือจืดไปเรื่อยๆ อันนี้แหละที่ท่านกล่าวว่า “ ขันติคือความอดกลั้น(ตบะ) เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง” ขันติในที่นี้หมายถึงปัญญา คือเข้าใจหรือสัมมาทิฐินั่นเอง
เมื่อมีการกระทำเกิดขึ้น ก็เริ่มที่ มโนกรรม สืบเนื่องเป็น วจีกรรม หรือ กายกรรมแล้วก็ต้องมี ผลของกรรม ที่เรียกว่า วิบาก ตามมาให้ต้องเสวยอีก และแน่นอนว่า วิบาก นั้นคือ ขันธ์ อันหมายถึงกองทุกข์ คำว่าวิบากโดยเนื้อหาจริงๆก็คือ ลำบาก จะหยาบ - ละเอียดก็เป็นเพียงดีกรีของความลำบากคือกัน ลำบากมาก – ทุกข์มาก หมายถึง สุขน้อย วิบากน้อย ลำบากน้อย- ทุกข์น้อย หมายถึง สุขมาก แต่ขึ้นชื่อว่าผลของกรรม หรือวิบากจะรูปแบบไหน ก็เป็นแค่ลีลา หรือลวดลาย ของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เท่านั้น มิใช่สิ่งที่เรียกว่าอมตะ คือ ทุกข์ก็มีอายุรกรรม, สุขก็มีอายุรกรรม กลางๆเฉยๆก็มีอายุรกรรม ล้วนเป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จึงไม่สมควรเลยที่จะไปเพลิดเพลิน จมปลักหรือดิ้นรน ไขว่คว้าเพื่อให้มี ให้เป็น ให้ได้อะไรๆ ทั้งหลายทั้งปวง หรือ ปฏิเสธ ปฏิฆะ ต่อต้าน ผลักใสอะไรๆให้เหนื่อยฟรี!
ตรองดูดีๆเถิดนะ...
ว่าง
ว่าง หมายถึง ความไม่มีอะไร(ที่แท้) การ มี อะไร จึงเป็นเพียงสิ่งอุปโลกน์ขึ้นเท่านั้น ความว่าง – ความไม่ทุกข์ – วิมุติความหลุดพ้น, ความไม่ยึดติด ,ความดับลงของตัณหา – นิโรธ – นิพพาน – ศานติ - ไกวัล – วิโมกข์ ล้วนมีเนื้อหาเดียวกัน
ไม่ใช่อะไร ถ้าใช่ นั่นก็ไม่ใช่ว่าง เรียบร้อยแล้ว แต่จะกลายเป็นเป้าให้อุปาทานได้ที่ยึดเกาะทันที
อย่าไปทำ หรือไปสร้าง ว่าง ขึ้นมา เพราะการทำหรือสร้าง นั่นก็หมด “ว่าง” ไปเสียแล้ว เลย “ว่าง” ไปเสียแล้ว( เข้าใจคำว่า “ เสียแล้ว” หรือเปล่าล่ะ!)
ว่าง ไม่มีเนื้อหาของการ คอยอยู่ ไม่ว่าจะคอยอยู่กับสิ่งใด กายหรือจิต – ทุกสภาวะแม้แต่จะ คอยอยู่กับว่าง เองก็ตาม เพราะเมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็ไม่ว่างอีกต่อไป
อย่ารักษา ว่าง เพราะการรักษาก็หมด ว่าง ไปแล้ว มีแต่เนื้อหาของโมหะ (มีอัตตาจอมปลอม)ตัณหา – อุปาทานแทนที่อีกต่างหาก
เจตนากรรม – การกระทำ – เงื่อนไข – ข้อแม้ – จะ – จ้อง – ต้อง – ตั้ง – เพ่ง – ทรง – ดำรง – ประคอง – ระแวง – ระวัง – รักษา – รอ – คอย – ค้นหา – แสวงหา – ควานหา -ห่วง – หวง – เฝ้า – จม – งม – สาระวน – หมกมุ่น – ฝักใฝ่ – ปรารถนา – ฉันทะ – เพียร – พยายาม – มุ่ง – มั่น – จดจ่อ – กำหนด ล้วนแต่เป็นเนื้อหาของความวุ่นวายหรือลวดลายจากตัณหา – อุปาทาน – อวิชชา ทั้งสิ้น มิใช่เนื้อหาของความนิรทุกข์ – ว่างอยู่แล้ว
ว่าง มี อยู่แล้ว เป็นความสมบูรณ์พร้อม ทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นเพียงภาพ (ภาวะ) สะท้อนของ ว่าง เท่านั้น อย่าหลงงมเงากันอยู่เลย
ว่าง เป็น สัจจะ ของทุกธาตุ – ขันธ์ คือ ความไม่ยึดติด ปราศจากความเป็นอะไร...ที่จริงแท้ เป็นก็เพียงแต่ชั่วคราวจึงเรียก ว่า ว่างอยู่แล้ว กล่าวได้เลยว่า ความว่างรองรับสังสารวัฏ
อย่าหาว่าง ,อย่าทำว่าง อย่ายึดว่าง อย่าติดว่าง อย่าอยู่กับว่าง
อย่าแช่กับว่าง อย่าเอาว่าง ถ้าเป็นเช่นนั้น มันก็พ้น , เลย หรือ เกิน “ว่าง” เรียบร้อยแล้ว
ความว่าง ปราศจากเหตุ – ปัจจัย ไม่เนื่องด้วย... อย่าไป วุ่นวาย
สร้างความว่าง รักษาความว่าง เอาความว่าง เสาะหา ความว่าง
“ว่าง” สมบูรณ์ด้วยตัวว่างเองอยู่แล้ว อย่าได้วุ่นวายไปกับ
การ “ปรับ” , “ปรุง” , “ตัด” , “แต่ง” , “ต่อ” , “เติม” , “เสริม” ,
“เพิ่ม”, “ซ่อม” , “แซม” , “แถม” , “ทวง” , “ท้วง” , “หวง” ,
“ห่วง” , “โหย” , “หา” , “คว้า” , “ไขว่”... นั่นแหละ หมดเนื้อหา
ของ “ว่าง” ไปแล้ว
ว่างมีเนื้อหาที่ตรงกัน คือ ไม่...อยู่แล้ว หรือความไม่ยึดติดอยู่
แล้ว , ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ก็ตรงต่อดับอยู่เองแล้ว วางเอง ว่างเอง
ว่างไม่อาจจัดได้ว่าเป็นอะไร ไม่เนื่องด้วยวิถี วิธีการ หรือการปฏิบัติใดๆ
กิเลส คุณรู้จัก มัน ดีหรือยัง
คนทั่วไป รู้จัก กิเลส แต่ ชื่อ ส่วนเนื้อหาของ กิเลส จริง ๆ กลับไม่เข้าใจ
รับรู้จน “ฝังใจ” ว่ากิเลสไม่ดี , ตอกย้ำแบบ “ไม่เข้าใจ” จนกระทั่ง “เกลียดชัง” อคติ , ปฏิฆะต่อกิเลส, ผู้ที่ยังหลงอยู่นั้นต้องการหนี ต้องการละ ต้องการกำจัด สิ่งที่เรียกว่ากิเลส ทั้งที่ไม่รู้จักหน้าตามันจริงๆเสียด้วยซ้ำ
เราต้องเข้าใจว่า กิเลส ก็มีธรรมะ มีสัจจะของสภาวะเหมือน ๆ กัน คือ ดับกันเอง, หลุดกันเอง ,ไม่ยึดติดตัวมันเอง วางตัวมันเองอยู่แล้ว , ไม่ใช่อะไรจริง ๆ อยู่แล้ว นี้เรียกว่า มีธรรมะในกิเลส หรือ โดยสัจจะแล้วพระแท้ –มารแท้ ก็ไม่มี ท่านจึงกล่าวไว้ว่า พระกับมาร คืออันเดียวกัน มีแต่โมหะทิฐิ ที่ตอกย้ำ – ชี้นำ ให้เกิดคติ – อคติ ชอบไม่ชอบ เอา-ไม่เอาอะไรๆ
เมื่อ “ยึด” “กิเลส” ว่า ไม่ดี
พวกหนึ่งก็จะรู้สึก - สะใจที่ได้เป็นคนชั่ว , มั่วกับกิเลส
- ตอกย้ำความต้อยต่ำว่าตัวเองมีกิเลสตัณหามาก แถมปัญญาน้อย
พวกหนึ่งก็จะรู้สึก - look down พวกมีกิเลส
- “ยึด” “ธรรมะ” รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่า ,
สูงส่งกว่า
เอาเข้าจริง ๆ ก็ “ติด” คือกัน มีกิเลสก็ติด - ไหลตามกิเลสเรียก ปฏิบัติกิเลส ทำกรรมต่างๆ ไปตามอำนาจของกิเลส เมื่อเข้าใจว่าตนเองมีกิเลสเยอะยังไม่มีธรรมะ ก็เลยดิ้นรนแสวงหาธรรมะ , สร้าง – ปรุง – แต่ง –ธรรมะขึ้น ไม่รู้ว่าอาการเช่นนั้นเป็นการ เอากิเลสไปปฏิบัติ(ทำ)ธรรม ต่อเมื่อมีธรรมะ(ตามที่คิด)ก็ยึดติดธรรมะเรียกว่า กิเลสในธรรม
เนื้อหา “ติด” ก็เท่ากับ “ยึด” ไหนเลยจะพ้นจากอำนาจ
“ตัณหา – อุปาทาน” , “อวิชชา”
กิเลส ไม่มีอยู่จริง ชื่อนี้ถูกสมมติขึ้น เพื่อใช้ เรียก “สิ่งใด” ก็แล้วแต่ที่ “ขัดแย้ง” ต่อความเป็นจริงหรือสัจธรรม มันเป็นแค่ความหลงผิดเข้าใจผิดเท่านั้น
ผล ของการไป “ขัดแย้ง” ต่อ “ความเป็นจริง” ก็คือ “ทุกข์” , “ท่าน” จึงเรียกเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ว่า “กิเลส” โดยสัจจะ ทุกสภาวะแปรเปลี่ยนตลอด แต่ด้วยความไม่รู้ จึงหลงอยาก หลงยึด หลงพยายามจะให้คงที่ ทุกสภาวะไม่ใช่อะไรที่จริงแท้ แต่หลงอยาก หลงยึด หลงพยายามจะให้เป็นจริงเป็นจัง ก็เลย “ทุกข์ฟรี”
พระพุทธองค์ •“แสดงเหตุ” ของการเกิดทุกข์ไว้ คือ “ตัณหา” “อยาก”
“ไม่อยาก” เรียกว่าทุกขสมุทยสัจ นี้แหละ “กิเลส” ตัวจริง
• แสดงญาณทัสสนะไว้ว่า
1. รู้ว่านี้คือ เหตุของการ “เกิด” ทุกข์ คือ ดังนี้
2. รู้ว่ากิจต่อเหตุของการ “เกิด” ทุกข์ คือ “ละ”
3. รู้ว่ากิจต่อเหตุของการ “เกิด” ทุกข์ คือ “ละ” ได้ “ละ” แล้ว
• ความเข้าใจอันดับแรกในเรื่องสมุทยสัจ ก็คือต้องรู้จัก “หน้าตา” “เนื้อหา” หรือ “อาการแสดงออกของ” กิเลส(ตัณหา อุปาทาน)ว่าเป็นอย่างไร มีเล่ห์เหลี่ยมที่แนบเนียนแพรวพราวเพียงใด , โดยเฉพาะที่จะแฝงมาอยู่ในรูปของการปฏิบัติธรรมได้อย่างไร มิฉะนั้นก็จะได้แต่รูปแบบปฏิบัติ-ทำ แต่เนื้อหากลับกลายเป็นการเจริญเหตุของทุกข์ไปเสียแทน
• ส่วนการ “ละ” นั้นไม่ใช่การ “กระทำ” มิใช่กิริยากรรมแต่เนื้อหาที่แท้ คือ “ไม่สนใจ” “ไม่ยุ่งด้วย” “ไม่เกี่ยว-ไม่ข้องด้วย” เรียกว่า “ไม่(แตะ)ต้อง”กับสภาวะนั้น ๆ เพราะมีความเข้าใจที่ตรงต่อความเป็นจริงรองรับ ที่เรียกว่า สัมมาทิฐิ
“หน้าตา”, “เนื้อหา”, “อาการแสดง” ของ “ตัณหา – อุปาทาน” = “กิเลส” = ทุกขสมุทัยสัจ คืออย่างไรเล่า เราต้องแยบคาย , สำเหนียก , สำนึก ,เอะใจ,เฉลียวใจเรื่องนี้ให้ดี ๆ
คนทั่วไปเมื่อสนใจธรรมะ ก็มุ่งแต่จะ “ยึด” “in” “เอา” “หา” “ทำ” “สร้าง”
“สะสม”“รักษา”ซึ่งศีล, สติ, สมาธิ, ปัญญา, ฌาน, ญาณ เพราะ “เข้าใจว่า”
ถ้ามีสติ , ศีล , สมาธิ , ปัญญา , ฌาน , ญาณ(อย่างที่หลงเข้าใจ) เมื่อมีแล้วจะช่วย “กำจัด” “กิเลส” ได้แต่ “ตามความเป็นจริง” แล้ว “ไม่มีอะไร” จะไป “ทำอะไรๆ” ได้จริงเลยซักอย่างเพราะทุกอย่าง หลุดกันเองอยู่แล้ว กิเลสก็หลุด ,ธรรมะก็หลุด เหมือน ๆ กัน มีสัจจะอันเดียวกัน สิ่งเหล่านั้นมีไว้ก็เพียงแค่ “กันหลง”อนุสัย-ความคุ้นชินที่จะวนเวียนมาหลอกหลอน(ให้เอา-ไม่เอา,ให้หนี-ให้สู้,ให้มีคติ-อคติ...) ไม่ใช่แบกไว้ทรงไว้หรือไปเจริญมัน
“ ความเข้าใจผิด ๆ ” ก็นำไปสู่ “การกระทำ” = “กรรม” คือ เจตนาไปทำรู้ ทำดู ทำเห็น อาการที่ไปทำขึ้นอาทิเช่น อาการคอย-คอยรู้, อาการเฝ้า-เฝ้ารู้, อาการตาม-ตามรู้, เจตนาสร้างวิธีการ - เครื่องมือที่จะไปทำการละ , ทำการปล่อยวาง, กำจัดสิ่งซึ่งไม่มีอยู่จริง สิ่งที่ดับด้วยตัวเอง –วางเอง - ว่างอยู่เองแล้ว ท่านจึงเรียกว่า โมหะกรรม กรรมกิเลส เพราะมีผลคือเกิดความทุกข์ยาก ลำบากไปซะเอง ดังแผนภาพ
คอยรู้ , คอยดู
ตามรู้ , ตามดู , เหลือบดู ,
แลดู , เหล่ดู
กำหนด , จะ , จ้อง , ต้อง ,
ตั้ง ,แก้ไข, ปรับ , ปรุง , ตกแต่ง ,
ต่อ , เติม , ซ่อม , แซม ,
แถม , ทวง , ท้วง , หวง ,
ห่วง , โหย , หา ,ไขว่, คว้า ,
โหวงเหวง,
เคว้งคว้าง
สอดส่อง , สอดส่าย ,
ทรงอาการรู้ , ดำรงอาการดู
เมื่อสนใจ(ใจถูกสนตะพาย)
ทั้งเริ่มจากเกิดเองแล้วไหลตามไปหรือ
เจตนาสนใจตั้งแต่แรก
• ความหมายก็จะเริ่มปรากฏ
ขบวนการในการเกิด
ทั้งหมดเริ่มที่ “สนใจ”
* ความเห็น ความหมายต่าง ๆ
เกิดตามมา เพราะการหลงสนใจ
หลงใส่ใจเนื่องจาก ไม่รู้(อวิชชา)
ความเป็นจริง(สัจจะ)ของสรรพสิ่ง
ให้เราเข้าใจ “ความเป็นจริง” ว่าทุกธาตุ, ทุกขันธ์
ไม่มีความหมายโดยตัวของมันเอง, มันไม่ใช่สิ่งที่พยายามจะเป็นอะไร แม้แต่จะเป็นตัวมันเอง
ไม่มีเจตนาที่จะย้อนกลับมาดูตัวเอง หรือมากำหนดตัวมันเอง ไม่ต้องพูดถึงการมีเจตนาหรือความจงใจที่จะไปดู หรือไปกำหนด ธาตุอื่น, ขันธ์อื่น
มันไม่ต้องการอะไร ไม่เอาอะไร แม้แต่ สติ สมาธิ ปัญญา เพราะมันมีความดับของมันอยู่เองแล้วโดยบริบูรณ์ ไม่ขาด-ไม่เกินแม้แต่น้อยนิด มีแต่ความหลงเท่านั้นที่ว่า-ไม่พอ
การกระทำที่ไม่ตรงหรือสอดคล้องต่อสัจจะ ล้วนแต่เป็นผลจากโมหะ-ตัณหาอุปาทานทั้งสิ้น จึงไม่อาจพ้นทุกข์ได้จริง เพราะตัวกระทำมันเป็นทุกข์ในตัวมันเองอยู่แล้ว นับเป็นความเกิด( ชาติปิทุกขา )ไปเรียบร้อยแล้วที่เรียกว่า “กรรมภพ”และยังมีผลไปกดดันธาตุขันธ์อื่นๆให้ปั่นป่วนเรรวน วุ่นวายตามไปด้วย และที่สำคัญคือเจตนากรรมนั้นจะปิดบัง บิดเบือนความเป็นจริงที่เรียกว่า ธรรมโดยธรรม ให้กลายเป็น กรรมซ้อนธรรม
“ความเข้าใจผิด ๆ” เรียกว่า “มิจฉาทิฐิ”คือความเข้าใจที่ไม่ตรงต่อรหัสนัยของความเป็นจริงของสภาวะอันเป็นความเป็นจริงแท้-ถึงที่สุด หรือ รู้บางส่วน รู้คลุมเครือ นำไปสู่ “การกระทำ”อื่นๆ เรียกว่ามิจฉา...ทั้งหลาย อันเป็นความดิ้นรนทางใจไม่รู้จบ อีกทั้งกลับเป็นการสืบสานโมหะ อวิชชาไปเรื่อยๆ
• แบบโลก ๆ ก็ อยาก ก็ยึดใน ปัจจัย 4 , โลกธรรม 8 ฯลฯ
แบบคนดี ก็มีโมหะ ตัณหา อุปาทานในการทำหน้าที่หรือความดี ก็ต้องได้รับ
ความทุกข์จากการทำหน้าที่หรือการทำดีนั้น
• แบบนักปฏิบัติทำ ก็ดิ้นรนขวนขวาย ตะเกียกตะกาย มุมานะ...ให้ได้ ให้มี
ให้เป็นซึ่งสติ ศีล สมาธิ ฌาน ญาณ ปัญญา งมหาทางพ้นทุกข์ งมหาทางว่าทำอย่างไรจึงจะถูกหรือรอคอยผลงาน คอยความสำเร็จหรือแม้แต่รอคอยการบรรลุธรรม บรรลุพระนิพพาน ช่างน่าสงสารเสียจริงๆ
ก็ไม่รู้หรืออย่างไรว่า การไปทำมันขึ้น หรือความดิ้นรน-รอคอยนั้นเป็นเนื้อหาของความไม่จบไปซะเอง เพียงแค่เลิกหา เลิกดิ้น เลิกทำ ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ก็ตรงต่อความจบของมันเองอยู่เองแล้วเลยทันที ไม่ใช่การทำกิจให้จบ แต่หมายถึงการยุติ(กิจ)กรรม ยุติทำ
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #2 on:
22 December 2012, 12:50:25 »
ความตื่น
ตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร ความตื่นเองโดยธรรมชาติ ที่เรียกว่า “รู้สึกตัว” ไม่ใช่ทำหรือปรุงความรู้สึกตัวขึ้น แม้จนเป็นอัตโนมัติก็ไม่ใช่ เรียกว่า “ตื่นของมันเอง”
ตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร มีเนื้อหาที่ตรงต่อความเป็นจริง คือ ทุกอย่างปราศจาก
ความหมาย ทุกอย่างไม่มีความเป็นอะไรจริง ๆ ซักอย่าง
ตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร : เป็นเนื้อหาของการถอดถอน – ผ่อนคลาย
จากตัณหา – อุปาทานได้อย่างตรงที่สุด
ตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร พ้นจากเจตนากรรม เป็นการไม่เนื่องด้วยเหตุ – ปัจจัย
นอกเหตุ - เหนือผล ไร้เงื่อนไข ไร้ข้อแม้
ตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร ไม่ใช่สิ่งที่ต้องเริ่มต้น ทั้งไม่มีการเริ่มต้นจึงไม่ต้องคอยจบ
แต่ถ้าตื่นแบบทำขึ้น แล้วคอยรู้ คอยดู ตามรู้ ตามดู (มันดูดีเฉย ๆ แต่ตลอดสายของขบวนการมีตัณหา – อุปาทานลูบคลำไปตลอดเช่นกัน) ต่อเมื่อรับรู้มันจะเกิดการแช่(ทรง)รู้ แช่(ทรง)ดู แช่(ทรง)เห็น(แช่ตื่น-ทรงตื่น)ก่อเกิดเป็นความเห็น(ทิฐิ) ความหมายต่างๆตามมา อันนี้เรียกว่า ตื่นแบบหาเรื่อง ตื่นแบบอะไรกับอะไร คือ ตื่นแบบเอ๊ะอ๊ะ ตื่นแบบนี้มีเบื้องหลังคือ โมหะตัณหาอุปาทาน จะไม่ใช่ตื่นตัด แต่กลับเป็นตื่นต่อ ต่อเป็นเรื่องเป็นราว เป็นนั่นเป็นนี่ ซึ่งก็แค่เป็นตุเป็นตะไปเท่านั้นเอง ตื่นแบบนี้เป็นตื่นยึดตื่น ตื่นห่วงตื่น ตื่นอุปาทานในตื่น ตื่นแบบมีโฟกัส(Focus) ตื่นแบบมีขอบเขต ตื่นแบบจุ้มๆ
ตื่นแบบไร้เจตนากรรม ตื่นแบบตื่นจ้า! ตื่นไร้ขอบเขตคือตื่นสละ ตื่นจาคะ ตื่นสละแม้การตื่นนั้นเอง เป็นการสละอารมณ์ใจทุกรูปแบบ (ก็จะเป็นการจาคะความหลงว่าเป็นตัวตนออกไป ออกจากความหลงว่าเป็นตัวเอง เรียกว่าฆ่าตัวตาย) มีผลคือ ตัด อันเป็นลักษณะของปัญญารองรับ ตัดแม้ตัวมันเอง คือแจ่มชัดว่าแม้ความเข้าใจที่ถูกต้องนั้นก็ไม่อาจที่จะยึดได้ จริงจังด้วยได้ การหลงยึดติดในปัญญาจะปรากฏในลักษณะ ห่วงรู้ – ห่วงดู กลัวไม่รู้ กลัวไม่ได้ดู กลัวไม่เห็น กลัวจะไม่เข้าใจ กลัวเผลอ ท่านจึงเรียกว่าสภาวะนี้ว่า ปัญญาติดห่วง ไม่อาจลุล่วงพ้นทุกข์ได้ เพราะมีแต่ห่วง ห้อยและโหนติดไปด้วย
เจตนากรรมหรือโมหะกรรม คือการจงใจตื่นแบบอะไรกับอะไร (ตื่นหาเรื่อง) ตื่นแบบสนใจ ใส่ใจ เช่นสนใจรู้ สนใจดู มีผลคือ ต่อ ต่ออะไรมาหรือ? ก็ต่อเวทนา ต่อสัญญา ต่อสังขาร เป็นลักษณะของตัณหา – อุปาทานได้สืบภพสืบชาติที่เรียกว่าสันตติ จากที่ ว่าง อยู่แล้วก็เลยกลายเป็น วุ่น จากที่ไม่มีเรื่องก็กลายเป็น เกิดเรื่อง จากเรื่องน้อย ก็เป็นเรื่องมากหรือ มากเรื่อง จากไม่มีข้อแม้-เงื่อนไข ก็มีข้อแม้ เงื่อนไข ล้วนแล้วแต่เป็นเนื้อหาของความทนได้ยากทั้งสิ้น ตื่นแบบนี้เรียกว่า “ตื่นเฝ้าเบญจขันธ์” “ตื่นวนอยู่ในเบญจขันธ์”
เมื่อจงใจทำ “รู้” ทำดู ทำเห็นขึ้น จากที่มิได้เป็นอะไรๆ ,ไร้ความหมายในตัวเอง สิ่งสมมติว่าธาตุ – ขันธ์จะก่อเกิดความเป็น...(อัตตา)ในธาตุ – ขันธ์นั้นๆทันที เวทนาการก็จัดจ้านมากขึ้น สัญญาจะเป็นสัญญา วิญญาณจะเป็นวิญญาณ เนื่องด้วยความจงใจนั่นก็คือการแสดงออกของโมหะ หลงพยายามที่จะเป็น...(อัตตา) ตัวตนขึ้นมาในสภาวะ
ตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร
จะไม่เป็นเหตุให้มีผลสืบเนื่องให้เกิด อาการซึม, ลังเล , สงสัยตามมา
ไม่มีเนื้อหาของการอิง, อิน(in), แอบ, อาศัย, อยู่ กับอะไร เรียกว่าเป็นอยู่แบบไม่ต้อง..., นอกเหนือ, ยิ่งกว่า, พ้น, ไม่ติด, อิสระ
ตรงกับ ว่าง...อยู่แล้ว, ไม่...อยู่แล้ว
ไม่ใช่การคอยตื่น เพราะตัว คอย นั่นแหละคือตัว สมุทัยไปซะเองเลย ทั้งไม่ใช่เกิดจากการกระตุ้น เพราะการกระตุ้นก็เนื่องด้วยแรงยึด-แรงอยาก
การคอยอยู่ก็มีเนื้อหาเดียวกับการแช่ไม่ว่ากิเลสหรือธรรมะหรืออยู่กับสภาวะอะไร แม้แต่ ว่าง เนื้อหาของการ คอย, เฝ้า, แช่นั้นเหมือนกันคือการจะเอานั่นเอง การแช่ก็หมายถึงการหมักการดองนั่นเอง ท่านจึงเรียกว่า อาสวะ หรือ อนุสัย
แช่รู้ แช่ดู แช่เห็น แช่รู้สึกตัว นั้นดูดี แต่ก็แค่ดูดี เอาเข้าจริงก็ไม่ดีจริงเพราะมันเป็นทั้งผลและเหตุของโมหะ ตัณหา อุปาทาน คุ้นเคยจนกลายเป็นอนุสัย หมักดองเป็นอาสวะ คือกัน คือเป็นทายาทของโมหะ-ตันหาอุปาทาน
ตื่นแบบไม่อะไรกับอะไรนี้ ไม่มีเนื้อหาที่จะก่อเกิดเป็นพันธะ, ภาระ หรืองานทางจิตใจ ไม่ก่อเกิดความ ผูกพัน พัวพัน ร้อยรัด เป็นสังโยชน์ คล้ายห่วงโซ่คล้องให้ติด ขัด ข้อง คาในเบญจขันธ์สืบไปเรียกว่า “ตื่นออกจากเบญจขันธ์”
สิ่งที่เราต้อง ตระหนัก เสมอในการถ่ายทอดที่ต้องใช้สื่อหรือภาษาว่า
1. “สื่อ” หรือ “ภาษา” มีขีดจำกัดในการใช้อธิบายสภาวะด้วยตัวมันเอง
2. ผู้ใช้สื่อหรือภาษาที่ไม่แยบคาย ลึกซึ้ง ละเอียดอ่อนรอบคอบ, รอบรู้,ระมัดระวัง
เพียงพอในการใช้ รวมทั้ง
3. ผู้รับก็ไม่แยบคาย ลึกซึ้ง ละเอียดอ่อน มักจะเข้าใจหรือ ตีความตามความคุ้นเคยหรือประสบการณ์ของตนเอง บวกกับ ความอยากพ้นทุกข์ อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากมี และ ความไม่รู้เรื่องจะก่อให้เกิด
- การชี้นำไปสู่การค้นหา แสวงหา รอคอย ปรุง แต่ง สร้าง ทำ ฯลฯ
- ทุกข์ยากลำบากในการเข้าถึงสัจธรรมและอาจกลายเป็นสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคของความพ้นทุกข์ไปซะเอง แทนที่จะเป็นเรื่องเรียบง่าย ไร้เงื่อนไข ไร้ขั้นตอน กลับยุ่งยาก เป็นขั้น เป็นตอน เป็นเงื่อน เป็นปมให้ต้องสะดุดไปเสีย
- การ “ปฏิบัติ” ที่ขัดแย้งต่อความเป็นจริง ผลก็คือ
* ทุกข์กับการปฏิบัติธรรมะไม่ว่าจะรูปแบบใด
* เจริญเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ควบคู่ ติดตามไปตลอดสายของการปฏิบัติโดยไม่รู้ตัว
ยกตัวอย่าง ภาษา ที่ใช้แล้วก่อให้เกิดความเข้าใจผิด – กระทำผิดไปด้วย เช่น
ปฏิบัติ มิได้หมายถึง ทำ หรือ สร้าง หรือ ปรุงสภาวะใหม่ๆ ขึ้น
ธรรมะ มิได้หมายถึง ความดีรูปแบบต่าง ๆ สติ – ศีล – สมาธิ – ฌาน –
ญาณ – ปัญญา แต่เนื้อหาจริง ๆ หมายถึง สัจจะ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)ของทุกสรรพสิ่ง
ชำระ ขัดเกลา สำรอก ละ ปล่อยวาง ปหาน กำจัด คำเหล่านี้ มักชี้นำไปสู่เจตนากรรมหรือกิริยาหรือ การกระทำ ถ้าทำในอย่างที่เข้าใจแล้วจะไปขัดแย้งกับความเป็นจริงทันที เนื้อหาที่แท้ของคำเหล่านี้คือ ไม่ยุ่งเกี่ยวด้วย ไม่เพลิดเพลิน ไหลตาม ทำตามและไม่ทำการฝืน กดข่ม ควบคุม บังคม ไม่ให้ความสนใจ เป็นความตื่นพร้อม ตื่นโพล่ง ตื่นจ้า! “ตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร”ขันธ์ก็จะผ่านไปของมันไปกันเอง เรียกว่าไม่หลงสร้างเหตุใหม่ และไม่หลงตอกย้ำของเก่า นี้คือ ไม่ทำ – ยุติทำ – ยุติกรรม – ยุติกิจ... จบจิต!
ความเพียร
ความเพียร ที่แปลว่า ความพยายาม คนทั่วไปเข้าใจว่า ทำ สร้าง สะสม...เยอะ ๆ นั่นกลับไม่ตรงต่อสัจธรรม เป็นความเพียรแบบมีตัว เนื้อหาจริง ๆ ของ ความเพียร กลับเป็นการ “ไม่กระทำ” ถ้าจะใช้ภาษาว่าความเพียร ต้องใช้ในลักษณะที่ว่า “เพียร” ที่จะไม่ทำตามความคุ้นชินเดิม จะเป็นความเพียรที่ไม่มีตัว นี้คือ “สัมมาวายามะ”ที่แท้จริง แล้วก็ไม่ใช่เพียรที่จะหาหลักอะไรให้จิตเกาะไว้กันการไหลตาม(ที่ท่านว่าคอยติด) ยิ่งเพียรที่จะทำไม่ว่ารูปแบบใด เช่น เฝ้า คอย ดู รู้ กำหนด แช่ วาง หา ฝึก หัด ฯลฯ ก็จะยิ่งขัดแย้งต่อความเป็นจริงที่ “ไม่ต้อง...อยู่แล้ว” หลุดอยู่เองแล้ว วางอยู่เองแล้ว ว่างอยู่แล้ว ดังนั้น แทนที่จะ เพียรละ กลับเป็น “ละหรือออกหรือหยุด หรือยุติความเพียรนั้นเสีย” นั่นแหละคือ “ความเพียร” ที่ถูกต้อง ทำไมจึงว่าถูกต้อง เพราะมันตรงต่อความเป็นจริง(อนิจจัง-อนัตตาอยู่เองแล้ว)
คำกล่าวที่ว่า “ วิริเยนะ ทุกขมัจเจติ ” แปลว่าการล่วงทุกข์ได้ก็ด้วยความเพียร
ความเพียรลักษณะนี้เอาไว้ใช้กับการทำงานในบทบาท หน้าที่ของโลกสมมติ ซึ่งก็ให้เป็นไปในแง่มุมที่เป็นการช่วยเหลือ เกื้อกูล สงเคราะห์ อนุเคราะห์ ทำให้ มิใช่ทำเอา นอกจากนั้นความเพียรที่เป็นไปก็ต้องมี สัมมาทิฐิ คือความเห็นที่ตรงต่อสัจธรรมเป็นประธานในใจไว้เลยทีเดียว มิฉะนั้นก็มีโอกาสคลาดเคลื่อน ผิดเป้าหมายได้โดยไม่เฉลียวใจ
“สัมมาวายามะ” “การละ” ไม่ใช่การเข้าไป “กระทำ” คนทั่วไปมักจะเข้าใจผิดที่จะทำให้ได้สภาวะอะไรซักอย่างหนึ่งและหวังที่จะพึ่งหรือเกาะสภาวะนั้นไว้เพื่อไปละหรือเป็นการละสภาวะที่ไม่ต้องการ กลับเป็นการเกิด(ภพ)ตลอด เจริญ “เหตุ” แห่งทุกข์ไปซะเอง กลายเป็น “พันธะ” “ภาระ” “งาน” “วุ่นวาย” “ไม่ว่าง” ไปซะเอง
หารู้ไม่ว่ามันจะกลับกลายเป็นยาเสพติดอันใหม่ที่ต้องชำระกันต่อไปอีก เพราะอะไร? ก็เพราะสิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งสิ้น ไม่อาจจะยึดถือ เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยได้จริงๆหรอก ล้วนเป็นของชั่วคราวเหมือนกันหมด
อนุสัยใหม่ หรือความคุ้นชินใหม่ที่หลงเจตนาทำขึ้นนี่แหละคือเยื่อ – ใย-ยางของอุปาทานที่แนบเนียนจริงๆ “การกระทำทางใจ”ที่ดูดีมากคือสิ่งที่เรียกว่าปฏิบัติทำ(ธรรม)แต่ดูให้ดีๆเถอะ แท้จริงก็เป็นเพียงลีลาของความยึด ความอยากอย่างละเอียด อีกทั้งแฝงอัตตา(ที่ไม่มีจริง)คือความเป็น...ซ่อนตัวอยู่ด้วยอีกต่างหาก
ถ้า “ใจ” ไม่ตรงต่อเนื้อหาที่ “ไม่...อยู่แล้ว” “ไม่ใช่ทั้งหมดนั่นแหละ” จริง ๆ ก็ไม่อาจจะรู้ทันอาการนี้ได้ เป็นอันหลงทำกิจไปเรื่อยไม่รู้จบเรียกว่า “ไม่จบกิจ” ไปโดยปริยายเหมือนกับว่ามีความไม่สมบูรณ์ซักที ขาดอยู่ตลอด พร่องอยู่ตลอด ไม่เต็ม ไม่พอตลอด ซึ่งนั่นไม่ใช่สัจธรรม แต่มันคือความไม่รู้เรื่องของสัจธรรม ทำให้ตัณหา อุปาทานได้ช่องพาหลงทำไป โดยสัจธรรมแล้ว ทุกสรรพสิ่งมีความสมบูรณ์เต็มเปี่ยมในการวางตัวมันเอง สมบูรณ์เต็มเปี่ยมที่ไม่ยึดติดตัวมันเอง(กันเอง,อยู่แล้ว) ไม่ขาด ไม่เกิน พออยู่แล้วในตัวมันเองโดยตลอด... ไม่มียกเว้น มันไม่ใช่ว่ายังวางไม่พอแล้วต้องการการเติมเต็มจากสิ่งใดๆอีก ไม่ใช่บุญไม่พอ บารมีไม่พอ สติไม่พอ ศีลไม่พอ สมาธิไม่พอ ปัญญาไม่พอ มีแต่ความหลงเท่านั้นที่บ่นพร่ำหรือพล่ามๆอยู่ว่า ไม่พอๆๆๆ... ต้องทำๆๆๆๆ...เอาอีกๆๆๆ...เพื่อหวังว่าคงจะเต็ม คงจะสมบูรณ์สักวันหนึ่งซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ หารู้ไม่ว่า เจตนากรรมที่จะทำๆๆๆ...นั่นคือความขาด เป็นความไม่พอ ความไม่อิ่มและเป็นตัวเกินเลยความพอ เป็นตัวยุ่งไปซะเองทั้งสิ้น
“ ท่าน” กล่าวไว้ว่า “ วิริเยนะ ทุกขมัจ เจติ คนเราจะล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร” ความเพียรในที่นี้เอาไปใช้กับงานทางโลก แต่ความเพียรลักษณะดังกล่าวใช้ไม่ได้เลยแม้แต่น้อยกับสัจธรรมที่หลุดกันเอง วางกันเอง นิพพานอยู่แล้ว เราต้องแยบคายในความหมายของคำว่า “ความเพียร” ให้ดีๆ
“ สัมมาวายามะ”จึงมิได้หมายถึงการกระทำ (ตั้งแต่ความจงใจทางใจหรือเจตนากรรม) รวมทั้งการสร้าง การปรุง การแต่ง...ทุกชนิด
“ สัมมาวายามะ” จึงมิใช่สภาพที่เป็นความดิ้นรน หรือการแสวงหา ซึ่งแอบแฝงไว้ด้วยการรอคอยอะไรๆ ความดิ้นรนนั้นเป็นทั้งเหตุและผลแห่งทุกข์โทษไปพร้อมแล้ว
“ ความเพียร อันเป็น สัมมาวายามะ” จึงหมายถึง การไม่ทำตาม ทั้งไม่ต้องทำต้านกับความคุ้นชินเดิม(วิบากกรรมและกำวิบาก) ด้วยว่ามีความเห็นที่ตรงต่อสัจธรรม (สัมมาทิฐิ) รองรับ
การใช้ “สัมมาทิฐิ”รองรับใหม่ๆ คือ การคำนึงถึง เตือนใจถึง แยบคายถึง มนสิการถึงความเป็นจริงแท้ของสภาวะด้วยความซื่อสัจจริงใจอยู่เรื่อยๆ ( สัมมาสังกัปโป คือความดำริที่ตรงต่อสัจธรรม) นี้แหละที่ท่านกล่าวว่า “ทำให้มาก เจริญให้มาก” ถ้าจะเรียกว่า “เจตนา ก็เจตนาแค่นี้เอง” ถ้าจะเรียกว่า “ทำก็ทำแค่นี้เอง” ไม่มากกว่านี้เพราะมิฉะนั้นอาจเยิ่นเย่อ ยืดเยื้อจนหลงทิศไปเข้าทางตัณหาอุปาทานเสียแทน เมื่อใจตรงต่อสัจจะที่ไม่ต้อง-ไม่ตั้งได้จริงแล้ว เราจะรู้ด้วยตนเองว่าไม่ต้องเตือนอีกต่อไปแล้ว
การเตือนใจ การแยบคาย การคำนึงถึงความเป็นจริงดังกล่าว โดยเนื้อหาก็คือมรรคที่เริ่มต้นด้วยองค์แห่งปัญญาที่ชื่อว่า “สัมมาทิฐิ” ความเห็นชอบเป็นประธานและ “สัมมาสังกัปโป” ความดำริชอบ ( ไม่ใช่ชอบดำริ และไม่ใช่แค่ดำริออก แต่หมายถึงตระหนักชัดว่าที่ดำริอยู่นี่...ก็ไม่ใช่ จึงจะเป็นการออกจากดำริไปเอง-นี้แหละ...สัมมาสังกัปโป )
“การตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร” เนื้อหาก็ คือ มรรค มรรคที่แท้ คือ “ไม่” ไม่ทำ(ทั้งทำตาม ทำต้าน) ไม่สร้าง ไม่ปรุง ไม่แต่ง ไม่ต่อ ไม่เติม ไม่ให้ความหมาย ไม่สนใจ ไม่จงใจ ไม่เจตนาโดยเนื้อหาทั้งหมดนี้คือการเป็นอยู่ของจิตใจที่ไม่ใช่ “เจตนาที่จะทำขึ้น” แม้แต่อาการตื่นเพียงแต่ให้เราจริงใจ ศรัทธา เด็ดขาดต่อเนื้อหาของความเป็นจริง เจตนาหรือความจงใจที่จะไหลตาม เผลอตามหรือทำต้านก็จะลดน้อยลงไปเอง
ดู – รู้ – เห็น มันมีอยู่แล้ว ไม่ต้องสร้างดู – รู้ – เห็นขึ้นมาอีกโดยเจตนา ดู – รู้ – เห็นที่มี
และปรากฏอยู่โดยธรรมชาตินั้น จริงๆก็คือความจงใจ หรือเจตนาที่เกิดเอง(ติดลม-คุ้นเคย-อนุสัย)แบบอัตโนมัติฉับพลัน ด้วยวัตถุประสงค์บางอย่าง ซึ่งจะมีลักษณะแบบเกิดแล้ว แล้วไป ไร้ร่องรอย ซึ่งจะผิดกับดู – รู้ – เห็นที่จงใจทำขึ้นหรือคอยทำขึ้น พวกนี้จะไม่ค่อยแล้วแล้วไปและมักมีสิ่งอิงอาศัยตกค้างเป็นร่องรอยของตัณหาอุปาทานและทิฐิ มานะ เพราะไป “สร้างขึ้น” “ปรุงขึ้น” ก็คือ (การเกิด)สังขาร อันเป็นผลงานของอวิชชานั่นเอง
ดู – รู้ – เห็น ที่สร้างหรือปรุงโดยเจตนานี้ก็จะกลายเป็นเครือข่ายของอวิชชา – ตัณหา –
อุปาทาน จะเข้าลักษณะเอาตัณหาอย่างละเอียดไปละตัณหาอย่างหยาบมีเนื้อหาเดียวกับ
เอาขี้เป็ดไปล้างขี้ไก่ หรือ อวิชชาในวิชชา ตัณหาในปัญญา กรรมบังสัจธรรม
กรรมซ้อนธรรม
ตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร สำคัญมาก ตื่นแบบนี้จะไม่มีเนื้อหาของการแช่ แม้แต่แช่รู้ แช่ดู แช่เห็น แช่อารมณ์ แช่ความรู้ (ความคิด) แช่ความรู้สึก เพราะโดยสัจจะแล้วไม่มีธาตุ-ขันธ์ใดที่ แช่ แม้ในตัวมันเอง ไม่ต้องพูดถึงการแช่ข้ามธาตุ-ขันธ์ มันมีแต่หลุด-ปล่อย-วาง-ไม่ยึดติดแม้ตัวมันเองอยู่แล้ว แล้วมันจะข้ามไปแช่ ไปยึดต่างธาตุ ต่างขันธ์จริงๆได้อย่างไร จะเป็นไปได้ก็ด้วยเพราะตัณหาอุปาทานบงการเท่านั้น(ซึ่งก็เป็นไปแบบชั่วคราวเหมือนเดิม) ไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่แท้จริงของมัน
สติสัมปชัญญะ หมายถึง ความตื่น เป็นความตื่นแบบไม่อะไรกับอะไรไปเอง การตื่นแบบนี้มีเนื้อหาอยู่ 2 นัย
นัยที่ 1 คือ เป็นความตื่นโดยธรรมชาติ เช่น ตื่นจากการนอนหลับ หรือตื่นจากการสลบ เราเรียกคนที่ตื่นขึ้นจากการนอนหลับหรือสลบว่า รู้สึกตัวคือถ้าไม่หลับไม่สลบ หรือไม่ตายก็เรียกว่าคนนั้น มีความตื่นอยู่ หรือมีความรู้สึกตัวอยู่ นี้คือนัยยะที่ 1
นัยที่ 2 คือ ตื่นต่อสัจจะของชีวิต เช่น เมื่อมีเกิดก็ต้องมีแก่ มีเจ็บ มีตาย มีพลัดพราก...
ตื่นต่อสัจจะของชีวิตที่ไม่มีใครจะยึดหรือเอาอะไรได้จริงฯลฯ
ตื่นต่อสัจจะของทุกสภาวะที่ว่า ทุกสิ่งไม่ใช่สิ่งยึดติดกันอยู่เองแล้ว
หลุดกันเอง วางกันเอง ไม่ใช่อะไร ไม่ได้เป็นอะไรที่จริงแท้เลยซักอย่าง
ตื่นต่ออริยสัจทั้ง 4 และกิจของอริยสัจทั้ง 4 อีกทั้ง ตื่นต่อกฎแห่งกรรม
การตื่นต่อความเป็นจริง(สัจจะ) นี้สำคัญมาก เพราะทำให้เลิกหลง ไม่ว่าจะเป็นความหลงใหลตาม เพลิดเพลิน จมปลักอยู่ (กามสุขัลลิกานุโยค) ในอารมณ์ ความรู้สึก ความนึก ความคิด ในทุกรูปแบบ คือว่าเลิกแช่ ซะได้
โดยเฉพาะที่เป็นเนื้อหาของนักปฏิบัติทำที่เข้าใจผิดเพราะ ความไม่รู้เรื่อง หรือ ขาดผู้รู้ที่สามารถชี้แนะให้เกิดสัมมาทิฐิ จนเลยเถิดกลายเป็นการทำให้ยุ่งยาก ดิ้นรน-แส่ส่าย-ค้นหา-แสวงหา-รอคอย-เฝ้า ลำแบกให้ลำบาก ไปซะเอง เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
ไม่รู้ว่า(สัจจญาณ)เนื้อหาของทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) จะเป็นไปเอง เพียงแค่ได้รู้ชัดถึงเนื้อหาจริงๆของฝั่ง 2 ฝั่งนั้นว่าเป็นอย่างไร ก็จะไม่หลงติดฝั่ง 2 ฝั่งไปเอง โดยที่ไม่ใช่เนื่องมาจากความพยายามจะทำทาง หรือมีเจตนากรรมใดๆที่จะอยู่ตรงกลางๆ เป็นกลางๆ
แล้วจะไม่มีเนื้อหาของตัณหา-อุปาทานซึมแทรกอยู่ได้เลย อาจเรียกได้ว่า มันตรงต่อดับอยู่แล้ว นิโรธอยู่แล้ว หลุดอยู่เองแล้ว ไม่ติดอยู่เองแล้ว วางอยู่เองแล้ว ว่างอยู่เองแล้ว
เราเรียก การตื่นโดยนัยที่ 1 ว่า สติ การตื่นโดยนัยที่ 2 ว่า ปัญญา หรือ สัมปชัญญะ รวมเรียกว่า สติปัญญา หรือ สติสัมปชัญญะ ล้วนเป็นเนื้อหาของ สัมมาทิฐิ นั่นเอง ท่านเรียกว่าสติอริยะที่แท้จริง เป็นสติวิโมกข์ สติวิมุติ เป็นสติที่ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คาในทุกข์โทษทั้งหลายทั้งปวง สติลักษณะนี้เองที่เป็น “สัมมาสติ”
ไม่ใช่สติตรึงสติ ไม่ใช่รู้ตรึงรู้ หรือการ fix สภาวะ แม้แต่จะ fix ตัวมันเอง
ไม่ใช่สติจับ ไม่ใช่การ focus “เข้า” หรือ “เอา” หรือ “หา”
แม้แต่จะเอา “ความหมาย” เอา “ความรู้” หรือ “ความเข้าใจ” ก็ไม่ใช่
ไม่ใช่สติหาหรือให้ความหมาย จึงเรียกว่าไม่ใช่สติหาเรื่อง แต่เป็นสติหมดเรื่อง
มี “สัมมาทิฐิ” รองรับตลอด ใหม่ ๆอาจต้องเตือน “ใจ” เรียกว่าเป็น “สติเตือน”ตัวเองเป็นครั้งคราว เนื่องจากผลงานที่เคยหลงอันเป็น “ของเก่า” จะยังติดลมผุดโผล่มาอยู่เรื่อยๆ ดังนั้น ถ้ารู้ตัวว่า “ยังหลง” อยู่มาก
ให้ฟังเนื้อหาที่ตรงต่อความเป็นจริงบ่อย ๆ
สนทนาธรรมกับผู้รู้หรือกัลยาณมิตรบ่อย ๆโดยเป็นเนื้อหาของสัจธรรมและเป็นผู้สามารถใช้ภาษาที่ไม่ชี้นำสู่การกระทำ เกิดการค้นหา การรอคอยหรือทำอะไรๆที่จะไปขัดแย้งต่อสัจธรรม
เตือนใจตัวเองเรื่อย ๆ ถึงความเป็นจริงของสภาวะไม่ว่าจะปรากฏอยู่ทั้งภายในและภายนอก
อยู่ตัวคนเดียว งดเว้นการคลุกคลีโดยไม่จำเป็น การได้อยู่ตัวคนเดียว จิตใจจะค่อยๆมีการกลั่นกรองธรรมะสัจจะให้หนักแน่นขึ้นไปเอง โดยไม่ต้องมุ่งแต่จะพิจารณา แบบอยากจะได้ความรู้ ความเข้าใจ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีปัญญาดอก ถ้าใจมันตื่นต่อความเป็นจริง และซื่อสัจต่อสัจธรรมอย่างจริงใจ จริง ๆ
แต่ก็ไม่ใช่ความพยายามหรือรอคอยที่จะอยู่คนเดียว ชอบที่จะปลีกวิเวกในลักษณะที่ติดอกติดใจ ชอบ เพลิน ซึ่งประเด็นนี้ต้องแยบคายดีๆ มิฉะนั้นจะกลายเป็นความหลงที่จะงม(เงา)ตัวเอง เฝ้า(เงา)ตัวเอง สาระวนอยู่กับเงาของตัวเอง แต่เข้าใจว่าดีว่าใช่ แล้วก็ไม่รู้ตัวว่าถูกกิเลสหลอกหลอนอยู่
การเตือนใจ ก็คือ โยนิโสมนสิการ เนื้อหาคือว่า
แยบคาย ผ่อนคลาย เยือกเย็น กับทุกอารมณ์ใจตัวเอง เป็น !
คำนึงถึง ระลึกถึงความเป็นจริง อันเป็นที่สุดของทุกสภาวะ เสมอๆๆๆ..
จนกลายเป็นสามัญสำนึกถึงความเป็นจริงนี้ ของมันเอง
หมายเหตุ * การเตือนตัวเองอย่าให้มีความประสงค์ หรือหวังผลใด ๆ เด็ดขาด คือ เพียงแค่สำนึกถึงความเป็นจริงของสภาวะเท่านั้น ไม่มีความคาดหวังอื่นแอบแฝง เช่นเตือนเพื่อการกดข่ม อยากให้ดับ อยากให้พ้น อยากให้มี ให้อะไร หลุดจากอะไร ให้เกิด ให้เป็นอะไรๆ
การเตือนใจ ให้หมายถึงทุกสภาวะไม่ว่า สุข – เฉย – ทุกข์ ไม่ใช่เลือก ให้สรุปทุกอย่างลงที่ความเป็นจริงอันเป็นที่สุดของทุกสภาวะทั้งหมดที่ว่า...
• มันไม่ใช่อะไรที่แท้จริงอยู่แล้ว (ปราศจากความเป็น...)
• มันไม่มีความหมายอยู่แล้ว (ปราศจากความหมายในตัวมันเองอยู่แล้ว)
• มันว่างอยู่แล้ว ก่อนมีมันก็ไม่มีอยู่ก่อนแล้ว เรียกว่าดับก่อนเกิดอยู่แล้ว
• มันไม่ใช่สิ่งยึดติดกันเองอยู่แล้ว มันปล่อยกันเอง วางกันเองอยู่แล้ว
การไปทำอะไรเพื่อการปล่อยวางใดๆ จึงเป็นเรื่องของความหลงโดยแท้
การเตือนใจ : อย่าให้มีเนื้อหาที่เป็นการวิตก-วิจัย-วิจารณ์ไปเรื่อย มันจบด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ต้องไปทำงานวิจัยใดๆขึ้นมาอีกเพราะองค์พุทธะ มหาโพธิสัตว์ท่านทำการวิจัยมาอย่างละเอียดหมดแล้ว และได้ประทานบทสรุปงานวิจัยของพระองค์ท่านมาให้เรานำไปใช้ได้เลย เราไม่ต้องไปงมเอาเองอีกแล้ว อย่าลืมว่าอนุสัยยึด อนุสัยอยากนี้ มันเป็นอนุสัยสากล หนา – เหนียวและแน่นเอามากๆในหมู่สาวกภูมิ ยิ่งทำก็ยิ่งติด ยิ่งจะกลับเป็นการส่งเสริมอนุสัยเก่าที่ติดรู้ (ติดปัญญา) และบางทีก็กลายเป็นทิฐิ มานะและความแตกซ่านทางปัญญา ที่เรียกว่า ความฟุ้งซ่านในธรรม ( กิเลสในธรรมะ หรือ ตัณหาในธรรมะ )
การเตือนใจ : ถึงบทสรุปอันเป็นที่สุดของทุกธาตุ-ขันธ์นี้ จิตใจจะได้เรียนรู้และประจักษ์แจ้งต่อสัจธรรม ให้หนักแน่น-มั่นคงมากขึ้นไปเอง ความวุ่นวายอันเนื่องมาจากความเพลิน หรือไหลตามอารมณ์-ความรู้สึก-ความนึก ความคิด จะลดลงไปเอง
อีกทั้งจะไม่แส่ส่ายวุ่นวายกับการแสวงหา-ค้นหา-เฝ้าสภาวะ หรือรอคอยความสำเร็จใดๆ จิตก็ตรงต่อว่างไปเอง สงบไปเอง ตั้งมั่นไปเอง (สัมมาสมาธิ) ตรงกับเนื้อหาของสัจจะในทุกธาตุ-ขันธ์ไปเองโดยปริยาย ไม่ใช่ทำให้จิตว่าง ทำให้จิตใจตั้งมั่น
การเตือนใจ : เป็นการใช้ปัญญาระดับ “สัญญา”คือความจำได้ไปก่อน แต่เป็น “สัญญา”ที่ตรงต่อสัจธรรม อาจเรียกได้ว่า “นิโรธสัญญา” แม้จะเป็นความเข้าใจในระดับสัญญาก็ตาม ต่อเมื่อจิตใจประจักษ์แจ้งในสัจธรรมมากขึ้น ก็จะกลายเป็นเนื้อหาของจิตสำนึก หรือจิตใต้สำนึก (วิญญาณ)ไปเอง ใจจะเลิกหลงกำ (กรรม) มันก็ตรงต่อการแบออกคือการผ่อน การคลาย ก็ตรงต่อวางเอง ว่างเองอยู่แล้วทันที ไม่ต้องรอ
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #3 on:
22 December 2012, 12:51:36 »
วงจรของปฏิจจสมุปบาท (วัฏฏสงสาร หรือคุกขังสัตว์โลก) โดยย่อ คือ
ถ้าพิจารณาดูให้ดี ๆ จะเห็นได้ว่า หนทางเดียวที่จะยุติ วงล้อแห่งสังสารวัฏ นี้ได้ คือ ไม่ทำตาม ไม่ทำกรรม ยุติทำ ไม่สามารถออกทาง(งดเว้น หลีกเลี่ยง)วิบากได้ เพราะวิบาก คือ ผลของการกระทำ ยังไงก็ต้องเกิด ตราบเท่าที่เคยมีเหตุ คือ กรรม ( เจตนากรรม)
วิบากไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด เช่น ความรู้สึก ความนึก ความคิด แม้แต่ความเคยชิน คุ้นเคยที่จะทำอะไร เป็นต้น มีแต่เนื้อหาของกองทุกข์ หรือความลำบากทั้งหมด สิ่งเหล่านี้ล้วน ห้ามเกิดไม่ได้ทั้งสิ้น มันอยู่นอกเหนือการบังคับบัญชา ไม่เกี่ยวกับอยาก หรือ ไม่อยาก ให้เกิด ต่อเมื่อ มัน ปรากฏขึ้น โดยอาการก็เพียงแต่มีการรับรู้ไปกันเอง โดยไร้ซึ่งเจตนาที่จะคอยรู้ แล้วก็ผ่านไปกันเองทั้งหมด ทั้งสิ่งถูกรู้และสภาวะรู้ ด้วยเพราะรู้อยู่แก่ใจ หรือโดยสามัญสำนึกว่านั่นเป็นเพียงแค่ของเก่าหรือวิบาก หรือความเคยชิน แล้วไม่หลง – ไหลตามหรือไปตอกย้ำ – สำคัญ – มั่น – หมาย ให้ค่ากับสภาวะด้วยอาการไปเจตนาสนใจมันในลักษณะที่เข้าใจว่า เป็นการปฏิบัติธรรมแต่กลับเป็นความหลงบงการให้ทำ เช่นทำรู้ ทำดู ทำเห็น ทำความรู้สึกตัว หรือพิจารณา พิษ-จาร-หนาอยู่นั้น
สภาวะที่รับรู้กันเองโดยธรรมชาตินี้สำคัญมาก ๆ (เน้นว่าไม่ได้เกิดเนื่องมาจากเจตนาหรือความพยายามที่จะคอยรู้ เฝ้ารู้ กระตุ้นรู้ เขย่ารู้)
สติสัมปชัญญะ ภาษาแปลว่า ความรู้สึกตัว เนื้อหาแท้ๆคือ “ ตื่น”- ตื่นพร้อม, ตื่นโพล่ง
สภาวะตื่นมีอยู่โดยธรรมชาติ เหมือนตอนเรานอนหลับ หรือสลบไปแล้วตื่นขึ้น เมื่อตื่นขึ้นเราเรียกว่า รู้สึกตัว มันเป็น “ตื่น”ของตัวชีวิตเอง
ตื่นไม่ใช่สร้างขึ้น หรือเป็นผลสืบเนื่องจากการทำจนชำนาญ ที่เรียกว่า วสี หรือทำจนเป็นอัตโนมัติ ไม่ใช่ตื่นจากเจตนากระตุ้น หรือเร้า หรือเขย่าให้ตื่น คนละเนื้อหากัน
ตื่นโดยเนื้อหาแล้ว ก็แค่...ตื่น ไม่ใช่ตื่นแบบจะเอาอะไร หรือตื่นแบบหาเรื่อง(รู้) ไม่มีเนื้อหาของการตื่นที่จะไป-จะมา จะเข้า-จะออก อาจเรียกได้ว่า ตื่นเงียบๆ
ตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร มีเนื้อหาเดียวกันกับ “สักแต่ว่ารู้” คือไม่เจตนาทำอะไร แม้แต่ทำสภาวะรู้ เพราะไม่ว่าจะรู้แบบไหน รู้อย่างไร รู้อะไรหรือไม่รู้ มันก็ “ไม่ใช่”ทั้งหมดนั่นแหละ
(ที่จริงแท้พอจะยึดถือได้) ท่านเรียกว่าตัดซะรู้ จะได้ไม่มีตัณหา-อุปาทานซ้อนรู้(ตื่น)
เราต้องเข้าใจให้ถูกว่า ภาษา มีขีดจำกัดในการนำมาอธิบายสภาวะ ถ้าหากผู้พูดไม่แตกฉาน
– ลึกซึ้งในภาษาที่ใช้ สื่อภาษานั้นจะกลายเป็นปัญหาและอุปสรรคไปซะเอง โดยเฉพาะภาษาที่ชี้นำให้มีการค้นหา แสวงหา รอคอย เอา ภาษาเหล่านี้ ผู้รู้กล่าวว่าเป็นความวิบัติของบัญญัติ
นอกจากผู้พูดที่ไม่แตกฉาน – ลึกซึ้งในภาษาที่ใช้แล้ว “ผู้ฟัง” ซึ่งมีศรัทธาเลื่อมใส แต่ก็ไม่แยบคาย ละเอียดอ่อน และลึกซึ้งในอรรถะ และ พยัญชนะของภาษา จะมีการตีความตามความเข้าใจของตนเองซ้ำเข้าไปอีก นี้เป็นเหตุ-ปัจจัยที่สำคัญมากที่ ทำให้ผู้ปฏิบัติเนิ่นช้า หรือต้องทุกข์ ยากลำบากกับการปฏิบัติธรรม เพราะปฏิบัติทำไปแบบมีตัณหา อุปาทาน แอบอิงเป็นเงาตามติดไปตลอด
การใช้ภาษาที่ไม่ระมัดระวัง หรือแยบคาย หรือละเอียดอ่อนพอ จะทำให้ผู้ฟัง
เข้าใจผิดและชี้นำสู่การเอา และยึดโดยไม่รู้ตัว แทนที่ตัณหา – อุปาทานจะลด กลับเป็นการ ส่งเสริมหรือเจริญ ตัณหา – อุปาทานที่ละเอียดอ่อน และดูดี การหลงเอา หลงยึดโดยไม่รู้ตัว ที่สำคัญ คือ ตัวปฏิบัติ และ ผลของการปฏิบัตินั่นเอง
การปฏิบัติธรรมที่แท้ก็คือ การดำเนินชีวิตให้สอดคล้องตรงต่อสัจจะของ ธรรม เรียกว่า ถูกทำนองคลองธรรม (ไม่ใช่ความพยายามที่จะครองธรรม)
คำว่า ธรรมะ ไม่ได้หมายถึง แค่คุณธรรม – จริยธรรม – ความดีงาม
แต่หมายถึง ทุกสรรพสิ่ง อันมีบทสรุปลงที่ไม่...อยู่แล้ว, ไม่ต้อง, ไม่ตั้ง อยู่แล้ว
ไม่ใช่สิ่งยึดติดตัวมันเอง ปล่อยกันเอง วางกันเองอยู่แล้วคือ อนิจจัง ทุกขัง
ปราศจากความหมาย ไร้ความเป็น...ที่จริงแท้
ว่างอยู่แล้ว ไม่ใช่อะไร คือ อนัตตา
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นลักษณะประจำของทุกธาตุ – ขันธ์ ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใดจะทำขึ้นมาได้ ดังนั้น สิ่งที่เรียกว่าการปฏิบัติก็ต้องไม่ขัดแย้งหรือผิดเพี้ยนจากสัจจะทั้งหมดนี้ด้วย คือต้องสอดคล้องตาม – ตรงตามความเป็นจริง ก็จะเป็นเนื้อหาเดียวกับธรรมชาติเดิมแท้ไปเลย ไม่ใช่พยายามที่จะถึงธรรม พยายามที่จะบรรลุธรรม พยายามที่จะอยู่กับสภาวธรรม ไม่ว่าจะหยาบละเอียดปานใด โดยหลงไปสร้างสภาวะ แสวงหาสภาวะ ทรงสภาวะ ดำรงสภาวะ(เทียมๆ)ไว้
การต้อง การตั้ง ก็คือการมีเจตนากรรมนั่นเอง มาจากไหน ก็มาจากความหลงผิด(โมหะ)ที่พยายามจะทำอะไรๆ ให้ตัวตนได้ดี พ้นทุกข์ มีความสุข ให้ถึงอะไรๆฯลฯ เลยกลายเป็นว่า การต้อง – การตั้งนั้นกลับเป็นสร้างตอ ตอต้อง, ตอตั้ง ให้ต้องสะดุดตอ คือเป็น ต.ติด, ต.ต่อ,
ต.ตาม, ต.เติม, ต.แต่ง ที่สุดก็...ต.ตัน มิใช่ ต.ตัด ก็เลยไม่จบซักที มีแต่รอ มีความพ้นทุกข์รออยู่ข้างหน้าตลอดเวลา การไม่ต้อง – ไม่ตั้งก็ตรงต่อที่จบอยู่แล้วทันที จบตรงที่ “ไม่ต้อง”นั่นแหละ เพราะถ้าต้อง...มันก็ไปตามต้อง นั้นไม่จบ ที่มันจบก็เพราะมันไม่ต่อ – ไม่ติด – ไม่ตาม ก็ตรงต่อสัจธรรมที่ไม่ใช่สิ่งพยายามจะเป็นตัวเอง ไม่ใช่อะไรจริง ๆ ทั้งนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ต้องติด หรือ ต้องหลุด วางอยู่เองแล้ว ว่างอยู่เองแล้ว ไม่ใช่การคอยอยู่ – ทรงอยู่ – ดำรงอยู่ หรือ การดำเนินไป
ความไม่ยึด...ก็ไม่ยึด “กันอยู่เองแล้ว” ไม่ใช่ “เรา”ไม่ยึดมั่นถือมั่น
วาง...ก็วางกันเองอยู่แล้ว ไม่ใช่ “เรา”ไป(ทำการ)วาง โดยไปหลงสร้างเงื่อนไข ข้อแม้หรือเหตุปัจจัยใด ๆขึ้นมา แล้วจะวาง ไม่ใช่อย่างนั้น
ความหลุดพ้น ความไม่ยึดติดนั้นเป็นธรรมชาติอันบริบูรณ์สุดขีดของทุกสภาวะอยู่แล้ว
ความหลุดพ้น ความไม่ยึดติดไม่ได้เกิดจากเงื่อนไขหรือเหตุ-ปัจจัยใด ๆทั้งสิ้น
ความหลุดพ้น ความไม่ยึดติดไม่ใช่การกระทำ และถ้าจะให้ตรงต่อสิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วละก้อ!
ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่ทำนั่นแหละ จึงจะเข้าถึงความหลุดพ้น ความไม่ยึดติด ที่มีอยู่เองแล้ว
โดยสมบูรณ์ คืนกลับไปให้เป็นเรื่องของธรรมโดยธรรมจริงๆ ท่านจึงกล่าวประมาณว่า
“ เลิกไปยุ่งกับมันซะที เดี๋ยวมันจะดับให้ดู ให้รู้ ให้เห็นเลยทันที ”
ไม่มีความหมาย...ก็ปราศจากความหมาย อยู่เองแล้ว
- อย่าไปวุ่นวายกับการให้ความหมาย
- อย่าไปจริงจัง ลังเลกับสภาวะที่ไม่แน่นอน ไม่ใช่สิ่งจีรังยั่งยืน
- อย่าไปสำคัญมั่นหมายสภาวะที่เป็นปรากฏการณ์ชั่วครู่ ชั่วคราวทั้งหมด
ความหมายที่มีก็เป็นเพียงสิ่งอุปโลกน์ สมมติขึ้นเท่านั้น เป็นก็เป็นเพียงความเป็นชั่วคราว ชั่วขณะ ที่สุดแล้วก็มิได้เป็นอะไร ๆ ที่เที่ยงแท้ถาวรเลยซักอย่าง
จบ...ก็จบ เองอยู่แล้ว
เราอย่าไม่จบไปซะเอง คือ มัวแต่ดิ้นรน แสวงหา รอคอย เฝ้า เอา ยึด ทำ พยายาม ฯลฯ ล้วนแต่เลย หรือ เกิน “จบอยู่เองแล้ว” “ดับอยู่เองแล้ว” ไปเสีย
ดับ...ก็ดับเองอยู่แล้ว มิใช่เราไปทำการดับ
ความดับ ไม่ใช่การกระทำ ไม่ต้องใช้อะไร ไม่เนื่องด้วยอะไร ไม่ต้องการอะไร
ถ้าเมื่อไรมีเนื้อหาของการกระทำ (เจตนากรรม) ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด จะมี “เรา” หรือ “ตัวตน” (อัตตาปลอมๆ)ซ้อนไปตลอดทาง
จะมี “เรา” “ กู”เสวยผลของการกระทำนั้นทันที ความยึดถือว่า“ของเรา”จะเป็นผลพวงตามมา ไม่ว่าจะบวกหรือลบ เผลอก็ของเรา มีสติก็ของเรา มันกลายเป็นการพอกพูนความเห็นผิดคือ สักกายทิฐิ เกิดการคิดค้น ประดิษฐ์วิธีการ – พิธีการ – พิธีกรรม เทคนิค อุบายเพื่อหาทางให้ตัวตนพ้นทุกข์ แล้วก็มีโอกาสที่จะหลงติดยึดในสิ่งที่ตนคิดค้นมานั้นซะเอง (สีลพตปรามาส) หลงเสริมและสร้างอุปาทาน ตัณหาให้แยบยลและยิ่งใหญ่อลังการยิ่งขึ้น ดูดี เข้าใจว่าใช่ แล้วก็เข้าได้กับตำรา หรือทิฐิ(กิเลส)ของตนหรือหมู่คณะ นอกจากนั้น การมีเรา ก็คือการมีเขา(อวัยวะบนศีรษะ), เกิดเราก็เกิดเขา ( เมื่อนำเขา+เรา ก็เท่ากับ เขรา = เขลา คือโง่และทุกข์ฟรีไปซะเอง )
ชีวิตที่มีตัณหา อุปาทานมาก “ใจ”จะเต็มไปด้วยเงื่อนไข ข้อแม้ ขั้นตอน จะ จ้อง ต้อง ตั้ง จึงเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยปัญหาและอุปสรรค ง่ายที่จะทุกข์ ยากที่จะสงบสุข ไม่เรียบง่าย จิตใจก็ไม่เกลี้ยง ขรุขระ วกวน วุ่นวายอยู่ร่ำไป เพราะเงื่อนไข ข้อแม้ ที่ตั้งขึ้นมาเป็นตอให้ชีวิตไว้สะดุด!
ท่านจึงว่า “ อะไร ๆ ก็ต้อง อะไร ๆ ก็จะ, เป็นแต่ต้อง เป็นแต่จะ, ไม่ต้อง ไม่เป็น, ไม่จะ ไม่ได้” เอ๊ะอ๊ะ นั้นนี้ แล้วก็ “งี่เง่า”คือ อมทุกข์ – จมทุกข์ไปซะเปล่าๆ
เนื้อหาของไม่...อยู่แล้ว มิใช่การปฏิเสธสภาวะ มิใช่การเอาหรือไม่เอา ไม่ว่าจะเป็นแง่มุมใด
มิใช่การดำเนิน หรือการเดินทาง
มิใช่ความพยายามที่จะบรรลุถึงอะไร
มิใช่ การกระทำ
มิใช่ การได้ การเสีย
มิใช่ การอิงอาศัย
มิใช่ การหนี การสู้
มิใช่การเลือก
มิใช่การปล่อยสิ่งหนึ่ง เพื่อไปเกาะ(เอา)อีกสิ่งหนึ่ง
มิใช่การคอยติด คอยหลุด หวังเกาะอะไร เพื่อแกะอะไร
ทั้ง มิใช่การไหลตาม หรือ ต่อต้าน , ฝ่าฝืน
แต่หมายถึง - ปราศจากเงื่อนไข ไร้ข้อแม้
- ความนอกเหนือหรือยิ่งกว่า ยิ่งกว่าศีล (อธิศีล) ยิ่งกว่าจิต (อธิจิต)
ยิ่งกว่าปัญญา (อธิปัญญา)
- ความไม่เนื่องด้วยอะไรๆ
- ความว่าง (สุญญตา) ความไม่มีอะไรที่จริงแท้
- ความไม่เหลื่อมล้ำ แปลกแยก ความไม่แตกต่าง
- สันติ สงบ เยือกเย็น ไม่เร่าร้อน สามัคคี
- ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา เรียกว่าตรงต่อ “วิมุติ”
- ตรงต่อ ความดับ นิโรธ นิพพาน
นั่นแหละ “ได้”, นั่นแหละ “ถึง”, นั่นแหละ “วาง”, นั่นแหละ “ว่าง”, ของจริง นอกนั้น ถ้าไปทำขึ้น “เก๊” ทั้งหมด และให้เข้าใจด้วยว่า ของจริง คือ ไม่มี ที่ มี ไม่ใช่ของจริง
อานุภาพหรืออานิสงส์ของการรู้ความจริงนี้ ช่างยิ่งใหญ่นัก ผู้อ่านอย่าได้ดูแคลนว่า แค่ฟัง ๆ นึก ๆ แค่นี้ก็จะพ้นทุกข์ได้รึ? บรรลุมรรค ผล นิพพานได้รึ ? ดังเคยได้ยินทั้งฆราวาสหรือ ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ วิพากษ์มา ขอยกตัวอย่าง “มีชายคนหนึ่งมายืนด่าเราอยู่หน้าบ้าน ด่ามา 3 - 4 วันแล้ว เราได้ยินคราใดก็หงุดหงิด โมโหฉุนเฉียว ร่ำ ๆ จะเอาปืนไปยิง – ไปไล่ หรือแจ้งความตำรวจให้มาจัดการชายคนนั้น ต่อมาวันที่ 5 ชายคนนั้นก็มาด่าอีก แต่วันนี้คนข้างบ้านตะโกนบอกมาว่า คนที่กำลังตะโกนด่าเราอยู่นั้นเป็นคนบ้า แค่นั้นเอง อารมณ์ต่าง ๆ นานาที่กำลังเดือดพล่าน คุกรุ่นก็สลายหายวับไปกับตา ยุติการกระทำทั้งหลายทั้งปวง และอาจจะต้องอมยิ้มเพราะนึกขำตัวเองที่หลงโง่เป็นฟืนเป็นไฟไปก่อนหน้านี้ และที่สำคัญบางทีคนบ้าที่มายืนด่าอยู่หน้าบ้านก็ยังไม่เลิกด่าด้วยซ้ำไป เค้าอาจผ่านไปผ่านมาอยู่เหมือนเดิม ด่าบ้าง ไม่ด่าบ้าง แต่เราก็เฉยได้ หรือสงบอยู่ได้ เพราะอะไร? ก็เพราะการแจ่มแจ้งถึงความเป็นจริงนั่นเอง
ความเข้าใจที่ตรงต่อความเป็นจริง ทำให้จิตใจเลิกหลง ไม่ว่าจะหลงปฏิบัติหรือปฏิบัติด้วยความหลง ด้วยความหวังลม ๆ แล้ง ๆ มีความพ้นทุกข์รออยู่ข้างหน้าเสมอ อย่างนี้เค้าเรียกว่า ถูกหลอก ถูกตัณหา – อุปาทาน - อวิชชาหลอกให้ปฏิบัติ หลอกให้ทำ การตรงต่อความจริงทำให้ยุติทำ เป็นเนื้อหาเดียวกับยุติธรรม หรือนิโรธ หรือนิพพาน หรือความดับเย็นโดยปริยาย เพราะมันมีอยู่แล้ว คือ ดับอยู่แล้ว ไม่ติดอยู่แล้ว หยุดอยู่แล้ว ไม่ใช่อะไรอยู่แล้ว
ในพระสูตรตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่มีเทวดาองค์หนึ่งมาทูลถามพระพุทธองค์ว่า
“ ท่านข้ามโอฆะได้อย่างไร ”
พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า “ เราไม่พัก และไม่เพียร ”
พัก มีความหมายว่า หยุด หรืออยู่ ไม่ว่ารูปแบบไหน เช่น เพลิน ไหล แช่ จม เป็นการติดแบบ Passive (ความคุ้นเคย-ความเคยชิน=อนุสัย-อาสวะ)
เพียร โดยเนื้อหาก็คือ พุ่ง มุ่ง ทะยาน เฝ้า ตาม เอา สะสม เพ่ง จ้อง จี้ กำหนด ต้าน ฝืน หนี สู้ ... เป็นการติดแบบActive ไปข้างหน้าเรื่อยๆ(ก็เป็นอนุสัย-อาสวะอีกแบบหนึ่ง)
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #4 on:
22 December 2012, 12:52:49 »
ไม่พัก • หมายถึง การไม่ไหลตาม ไม่เพลินอยู่ในขันธ์ไม่ว่าจะเป็นขันธ์รู้สึก ขันธ์นึก
ขันธ์คิด ความเห็น ความหมาย แม้แต่ความรู้ ความเข้าใจ อารมณ์นานาชนิด
• โดยการแบ่งก็คือ การไม่ติดทางสุดโต่งข้างหย่อนที่เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค
• แต่เนื้อหาของการไม่พักยังครอบคลุมลักษณะอื่น ๆ อีก เช่น การไม่แช่
ไม่ว่าจะแช่ ขันธ์ไหน ๆ การแช่ที่แสบและเนียนที่สุด คือ แช่รู้ แช่ดู แช่วิญญาณขันธ์ ทั้งหมดนี้ก็คือ กิริยา หรือเจตนากรรม ซึ่งต้องอาศัยความจงใจ เท่านั้น การพัก – การแช่ จึงจะมีได้
• การไม่พัก คือ การไม่หยุดหรือการคอยอยู่กับสภาวะ หรือไม่อิน = in หรือคอยอิงอาศัย
กับสภาวะเรียกว่าไม่ in sense อันเป็นการลดการเสพเสวยผัสสะแบบแช่ จม งม เพลินเหมือนกับการเสพยาเสพติด ซึ่งจริง ๆ ก็คือ การคอยเสิร์ฟอาหารสดใหม่ ให้กับตัณหา – อุปาทาน
ชาวบ้าน ชาวเมือง ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติ รวมทั้งผู้ปฏิบัติที่ยังนอกเหนือยังไม่เป็น จะมีลักษณะของการไหลตาม เพลินอยู่ จมอารมณ์ แช่อารมณ์ จริงจังกับความรู้สึก ความนึก ความคิด ความเห็น ความหมาย ปฏิฆะสภาวะ โดย ไม่รู้สึกตัวอยู่แล้ว ก็เลยมีสภาพที่ติดฝั่ง ไม่อาจพ้นทุกข์ได้ เพราะเคยชินที่จะไหลตาม, ติดอยู่, ตอกย้ำในพฤติกรรม(การกระทำเหมือนเดิมซ้ำๆ) เดิมๆ ความเหนียวหนืดของการยึดการติดก็หนาแน่นตามไปด้วย จากการเสพคุ้น ซ้ำๆๆๆ...
• การไม่พัก เนื้อหายังหมายถึง การไม่ตอกย้ำผลงานของเก่า ไม่ว่าจะเป็น
ที่เกิดจากการกระทำในอดีต เช่น ยินดี ยินร้าย พอใจ ไม่พอใจ
ชอบ - ชัง รวมทั้งทุกผลิตภัณฑ์ของขันธ์ 5
ที่ปรากฏในรูปแบบนิสัย หรือความเคยชินในการเข้าไปกระทำ
อันก่อเกิดเจตนากรรมซ้ำ ๆ ซาก ๆ (พฤติกรรม) ที่เรียกว่า กรรมอนุสัย นับเป็นการเกิด ( กรรมภพ) ทางจิตวิญญาณแล้วนั่นเอง
การไม่ไปให้ค่า ให้ความสนใจ(เพราะตื่น!ต่อสัจจะของธาตุ-ขันธ์)ไม่ไปสำคัญมั่นหมายใน ผล นี้คือ ไม่พัก (จริง ๆ ผลก็ไม่ใช่อะไร จะว่าไปมันก็เป็นเพียงมายาหรือ Mirage ก็ได้)
ไม่พัก ก็ไม่ไปสร้างเหตุ ซ้อนผล ไม่กลายเป็นกรรมซ้อนธรรม ก็เลยไม่เกิดกรรมบัง เมื่อไม่มีเจตนากรรมมาปิดบังความเป็นเอง สัจจะก็ประจักษ์แจ้งต่อหน้าต่อตา เพราะมันเป็นเนื้อหาเดียวกันอยู่ก่อนแล้ว เพียงแต่ความหลงทำ เป็นเหตุให้เกินหรือเลยเนื้อหาของจริงไปเสีย
แต่ถึงจะมีกรรมบังก็บังไม่ได้จริง เพราะยังไงสัจจะก็ย่อมเป็นไปอยู่อย่างนั้น และที่อย่าลืมก็คือ เจตนากรรมอันเนื่องมาจากความยึด – ความอยาก ก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน หลุดอยู่แล้ว ดับอยู่แล้ว ไม่ใช่สิ่งยึดติดอยู่แล้วเหมือนกัน เรียกว่า ยึดก็ยึดไม่จริง อยากก็อยากไม่จริง มันแค่หลงเป็นพัก ๆ เป็นย่อม ๆ ไปอย่างที่เคยชินเท่านั้นเอง ท่านจึงเรียกว่า บังเก้อ คือ บังสัจธรรมไม่ได้จริง ถ้าจะบังได้ ก็ได้ชั่วครู่ ชั่วคราว แล้วที่สุด สัจจะของสภาวะ ก็แสดงออกมาเอง รวมทั้งความเป็นจริงของความอยาก ความยึดนั้นด้วย
ไม่พัก ไม่ใช่อาการหรือเนื้อหาของความพยายามจะ ไม่แช่ขันธ์ ไม่แบกขันธ์ แต่ก็ไม่ใช่การเข้าไปปล่อย หรือไปทำการออก ทำการวางหรือไปทำการตื่น เพื่อให้หลุด
ไม่เพียร • มีน้อยนักที่จะมีคนเข้าใจ รหัสนัย ของคำ ๆ นี้ ภาษาที่มีการอธิบายกัน
ทั่วไป และในตำรา ล้วนแต่ชี้นำให้เกิดการกระทำ มุ่ง มั่น เอาจริง เอาจัง สั่งสม รักษา ประคอง ระวัง... ซึ่งอาจเกิดจากความไม่รอบคอบ ของผู้ใช้ภาษาหรือความไม่แยบคายของผู้ฟัง
ดังนั้น จึงขอเน้นมากว่า ภาษา นั้น สำคัญมาก เพราะภาษาสามารถจะชี้นำให้เป็นเหตุแห่งทุกข์ ไม่จบสิ้นไปซะเองก็ได้ หรือ ใช้ภาษาแสดงสัจจะแล้วเกิดการคลี่คลาย ผ่อนคลาย โปร่ง โล่ง โพล่ง พ้นทุกข์ได้
• เนื้อหาจริง ๆ ก็คือ ไม่ทำอะไร โดยสภาวะ ก็คือ รับรู้โดยธรรมชาติ ธรรมดา ไม่มีความจงใจ ตั้งใจที่จะรู้ และเมื่อรู้...ก็แล้ว ๆ ไป เรียกว่ารู้เฉยๆ ไม่มีกิริยา กรรมใด ๆเกิดตามมาไม่ใส่ใจ หรือไม่สนใจ(โดยเจตนา) เรียกว่า ไม่ให้ค่ากับการรู้ เพราะเข้าใจถึงบทสรุปแล้วว่ามันไม่ใช่อะไรจริง ๆ ทั้งหมด (ตั้งต้นตั้งแต่ “รู้” ไม่ต้องพูดถึงสิ่งถูกรู้ก็ได้) ตรงกับเนื้อหาของสัจธรรมจริง ๆ เรียกว่า รู้แบบยุติทำ ไม่หลงทำอะไร เพื่ออะไร ซึ่งเป็น ความเคยชินที่ทุกผู้คนเป็นกันอยู่แล้ว นี้เรียกว่า ไม่เพียร หากจะใช้คำว่า “ เพียร ” ก็ใช้ในเนื้อหาที่เป็นขันติ เป็นตบะที่จะไม่ทำตามความคุ้นชินเดิม ๆ เป็นการตัดการสืบต่อ (สันตติ)ของภพ ชาติด้วยอำนาจของความอยาก ความยึด
อย่าพยายามทำให้ถูก
... ยิ่งพยายามก็ยิ่งผิด ที่ผิดก็เพราะ “ติด” “พยายาม” ทำนั่นเอง และยิ่งทำก็ยิ่งติดขันธ์(ก็ใช้ขันธ์ทำ) แทนที่จะปล่อย- พ้น- นอกเหนือขันธ์ รวมทั้งยังติดลมความเคยชินที่จะทำ (กรรมอนุสัย) ก็เลยติดทำ ยุติทำไม่เป็น
... อีกอย่างหนึ่ง คือ ถูกจริงๆ ไม่มี โดยเฉพาะถูกที่เกิดจากการทำขึ้น เพราะ ที่ถูกแท้นั้นมีอยู่แล้วคือ ความว่าง ความหลุด ความไม่ติด ซึ่งล้วนแล้วแต่
ไม่ได้เกิดจากการ กระทำ มันเป็นเช่นนั้นอยู่เองแล้ว ( ตถตา)
ยิ่งทำยิ่งเป็นโมฆะ โมฆะทั้งการกระทำและโมฆะทั้งสิ่งที่เป็นผลจากการกระทำและที่สำคัญ อาการของการกระทำ และผลิตผล ล้วนแล้วแต่เป็นเนื้อหาของความทุกข์ทั้งสิ้น เพราะอะไร? ก็เพราะมัน มีสภาวะทนไม่ได้ในตัวของมันเองอยู่แล้วทั้งหมด ก็เลยแบกทุกข์ไปฟรีๆ
ทั้งที่ปากก็ว่า ทำไปเพื่อจะวางทุกข์... พ้นทุกข์
จะไม่ให้ทุกข์ฟรีได้อย่างไร เพราะทุก ๆ การกระทำล้วนแต่เป็นส่วนเกินของใจ เมื่อไหร่ต้อง ใจก็ตึง เมื่อไหร่ตั้ง ใจก็หนัก เรียกว่า หนักใจ เพราะมันแบกขันธ์ เวลาต้องก็ต้องด้วยขันธ์ เวลาตั้งก็ตั้งด้วยขันธ์ จิตจึงไม่อาจพรากจากขันธ์ ต้องแบก – หามขันธ์กันอยู่ร่ำไป
และที่เราควรเข้าใจให้ถูกอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความไม่ทุกข์ ความหลุด ความดับ นิโรธ วิมุติ นิพพานไม่เกี่ยวกับอะไรเลยซักอย่าง
ไม่เกี่ยวกับ สติ ศีล สมาธิ ฌาน ญาณ ปัญญา ท่านเรียกว่า สิ่งไม่เนื่องด้วย
ไม่เนื่องด้วย “รู้”หรือ “ไม่รู้” ไม่เกี่ยวกับ “เห็น”หรือ “ไม่เห็น” ไม่เกี่ยวกับ “เข้าใจ”หรือ “ไม่เข้าใจ”
ว่าสรุปตรง ๆ ไปเลยก็คือ ไม่เกี่ยวกับขันธ์ 5 ( จิต เจตสิก รูป ไม่ใช่ “นิพพาน” )
เพราะไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอะไร ทั้งกิเลส และธรรมะ กิริยา – กรรมใด ๆ ล้วนแต่เป็น ขันธ์ 5 ทั้งสิ้น ขึ้นชื่อว่าขันธ์ 5 ล้วนตกอยู่ภายใต้ กฎไตรลักษณ์ แล้วจะไปยึดถือหรือ เอา ได้อย่างไรเล่า...
ท่านจึงกล่าวว่า “ ไม่เกี่ยวกับ” หรือ “ไม่เนื่องด้วย” สติ ศีล สมาธิ ฌาน ญาณ ปัญญา
คำว่า “เกี่ยว” หมายถึง การเข้าไปข้องแวะ ไม่ว่าจะรูปแบบใด เบา – บางขนาดไหน เช่น เอา แอบ อิง - อิน(in)
คำว่า “เกี่ยว”โดยเนื้อหาหมายถึง ติด – ขัด – ข้อง – คา หรือไม่ลุล่วง
แต่นิพพานเป็นสิ่งที่ปราศจากเหตุ – ปัจจัย ไม่เกี่ยวกับอะไร ไม่เนื่องด้วยอะไร ๆ สมบูรณ์อยู่ตลอดกาล ทุกธาตุ – ขันธ์ มีนิพพานรองรับตลอดก็ด้วยทุกธาตุ – ขันธ์ ไม่ใช่สิ่งยึดติด วางอยู่เองแล้ว ว่างอยู่เองแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่อิงอาศัยอะไร แม้ตัวมันเองมันก็ไม่เอาหรือยึดตัวมันเองเลย รวมทั้งตัวมันเอง มันก็มิได้พยายามจะเป็นตัวมันเอง หรือเป็นอะไร แต่อย่างใด
การที่ท่านกล่าวเช่นนั้น มิได้หมายความว่า ไม่มีสติ ศีล สมาธิ ฌาน ญาณ ปัญญา อาจจะตรงกันข้ามด้วยซ้ำ กลับมีทั้งหมดนั่นแหละ แต่ ให้รู้อยู่แก่ใจว่า มันไม่ใช่ทั้งหมด มีก็มีในฐานะของชั่วคราว มีในฐานะสิ่งปรุงแต่งขึ้น อุปโลกน์ขึ้น เพื่อการใช้งาน งานที่ว่าก็คือ เกื้อกูล สงเคราะห์ อนุเคราะห์ ใช้แล้วก็แล้วไป ไม่ใช่แบกไว้ แช่ไว้ ยึดไว้ เอาไว้ รักษาไว้ นั่นมันตัณหา – อุปาทานพาทำทั้งสิ้น เป็นเพียงเครื่องมือที่จะมีหรือปรากฏขึ้นเมื่อ “ดำริ” ใช้เสร็จแล้วก็แล้ว ๆ ไป ตรงต่อว่างอยู่แล้ว วางอยู่แล้วทันทีเรียกว่า สุญญตาวิหารธรรม ไม่ใช่อยู่กับความว่าง รู้ว่าว่าง หรือเห็นว่าว่าง ไม่ใช่เราว่าง คำว่าว่างไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไร แต่หมายถึงว่างจากเราและการยึดถือใด ๆ ที่จะแสดงออกมาอยู่ในรูปแบบของการคอยอยู่ หรือพฤติกรรม
เป็นการใช้ภาษาสะท้อนความจริง และไม่ชี้นำไปสู่การยึด อยาก เอา - ไม่เอา อันนี้ท่านเรียกว่า “นอกเหนือ” รู้จักไหม...นอกเหนือ... จะไม่เนื่องด้วยได้ หรือนอกเหนือได้ ก็ด้วยการที่ “ใจ” ตรงต่อสัจจะที่ไม่ต้อง, ไม่ตั้งอยู่แล้ว, ไม่...อยู่แล้วนั่นเอง
ผู้ปฏิบัติที่ไม่เข้าใจ ก็จะมีแต่ยึด อยาก เอาธรรมะ ไม่ว่าจะเรียกอะไร สติรึ ศีลรึ สมาธิรึ ปัญญารึ
เจริญแต่เนื้อหาของการติด ขัด ข้อง คาเบญจขันธ์ตลอด จริงๆแล้วพระพุทธองค์ไม่ได้สอนให้ไปเจริญขันธ์ 5 ท่านมีแต่แสดงสัจธรรมว่าขันธ์ 5 เป็นของหนัก ขันธ์ 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านให้วางขันธ์ ไม่ยึดติดขันธ์ นอกเหนือขันธ์ให้เป็น ไม่ใช่สอนให้เจริญขันธ์ แบกขันธ์ ทรงขันธ์ ดำรงขันธ์ แต่เราไม่มีผู้รู้มาบอก จึงไม่เข้าใจรหัสนัยของการวาง ไม่เข้าใจรหัสนัยของความไม่ยึดติด ไม่เข้าใจรหัสนัยของพระนิพพาน ก็เลยต้องงม(เงา)
แต่ถ้าเอะใจซักหน่อยจะเห็นชัดเลยว่ามันไม่ตรงต่อความเป็นจริงหรือสัจธรรม
เอา ยึด อยาก ผลที่เกิดตามมาคือ ทุกข์ เพราะมันขัดแย้งกับความเป็นจริง มันไม่สนใจดอกว่าสิ่งนั้นจะดีเด่ขนาดไหน
ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่...อยู่แล้ว ช่างมัน ไม่อะไรกับอะไร ก็เป็นการสละ การจาคะ การนอกเหนือ ไม่เนื่องด้วยเบญจขันธ์ คือ ไม่เป็นทุกข์ไปซะเอง ตัดกรรม(ไม่กำ) ข้ามพ้นวิบากเป็น ไม่วุ่นวายไปซะเอง ตรงกับเนื้อหาของสัจจะที่ทุกสรรพสิ่งไม่ใช่สิ่งยึดติด ที่ต้องอิงอาศัยเหตุปัจจัยใด ๆ อยู่แล้ว
การติดขันธ์ที่เหนียวแน่น และหนืด เนียนที่สุดก็คือ วิญญาณขันธ์ หรือขันธ์ “รู้”นี้เอง
ถ้าเรายังคอยสนใจ “รู้” สนใจดู สนใจเห็น ชอบให้ค่า ให้ความสำคัญกับ “ความรู้”หรือปัญญารวมทั้งไม่รู้แจ้งในสัจจะของขบวนการรู้และเนื้อหาที่แท้จริงของสิ่งที่เรียกว่าปัญญา เราก็จะ
หลงรู้ไปเรื่อย ไม่เลิกติดรู้ ไม่เลิกยึดรู้ การรู้ชัดถึงความเป็นจริงของเบญจขันธ์ ที่สุดแล้วก็คือ วิญญาณขันธ์ (รู้) ว่าเป็นต้นตอของกองทุกข์นานัปการ(รากเง้าของอวิชชาก็อยู่ที่ “รู้”นี้แหละ) เราจึงจะกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว เด็ดขาดที่จะสละ “รู้” จาคะ “รู้ ทาน “รู้” ไม่เอา “รู้” นี้แหละเรียกว่านอกเหนือ “รู้”เป็น หรือไม่เนื่องด้วย “รู้”เป็น ก็ไม่เนื่องด้วยวิญญาณขันธ์เป็น การยุติลงของภพ-ชาติและการเวียนว่ายตายเกิดจะเป็นจริงขึ้นมาได้ก็คืออย่างนี้
และเมื่อนอกเหนือเป็นก็เลิกหลงว่าเป็นเรา เมื่อเราไม่มี เขาก็ไม่เกิด เมื่อไม่มี เขา + เรา ความโง่ “เข+ลา”ก็ไม่มีตามมาเอง มันจึงเป็นเนื้อหาเดียวกันไปเลยกับ ธรรมชาติเดิมๆ ซึ่งจริง ๆ มันก็เป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว ท่านจึงว่า
“ไม่มีใคร บรรลุ อะไร
ไม่มีใคร พ้น อะไร
ไม่มีใคร ปล่อยอะไร วางอะไร
ไม่มีใคร ยึดอะไร เอาอะไร”
เพียงแต่ ใจ ตรงต่อความเป็นจริง จริงใจต่อความเป็นจริง ศรัทธาต่อเนื้อหาของ
สัจธรรม วางใจต่อสัจธรรม ไว้วางใจต่อกฎแห่งกรรม
ตรงต่อไม่ต้อง...อยู่แล้ว, ไม่ตั้งอยู่แล้ว, ไม่...อยู่แล้ว, ดับอยู่แล้ว, ว่างอยู่แล้ว
ใจ ก็จะไม่ลังเลต่อ ปรากฏการณ์ทั้งของกายธาตุ จิตธาตุ ความไม่ลังเลนั่นแหละคือการผ่าน การลุล่วง ไม่ติดขัดข้องคาในเบญจขันธ์ นี้คือเนื้อหาของความพ้นทุกข์จริงๆ
ใจ ก็ผ่านตลอดสาย นี้แหละ ทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นทางสายเอก ทาง ๆ(สมมติเรียก) นี้ไม่ใช่ทางติด แต่เนื้อหาคือ การลุล่วง ไม่ใช่การคอยอยู่กับอะไร ไม่ว่าจะอยู่กับ กิเลส หรืออยู่กับธรรมะ(ทุกๆสภาวะคือ “ไม่ใช่”)ไม่ใช่การกระทำขึ้น สร้างขึ้น ไม่ใช่การต้อง – การตั้ง เพราะเมื่อเป็นเช่นนั้น มันก็ติดทางเรียบร้อยแล้ว หาได้ลุล่วงจริงไม่ หาได้เป็นการผ่านไปจริงไม่ แล้วจะเรียกว่าทางออกจากทุกข์ได้อย่างไร แค่ฟังดูดีเฉย ๆ
ความทะลุทะลวง ไม่ติดตัน ไม่วกวน แวะ และเวียน เป็นสังสารวัฏ – สังสารวน ปล่อยให้มัน “ไม่”ของมันเองด้วยตัวมันเอง ไม่ใช่ไปทำการไม่ หรือคอยที่จะไปไม่กับมัน แต่ให้เข้าใจอย่างแจ่มชัดว่า มัน “ไม่”ของมันอยู่เองแล้ว ปล่อยมัน ไม่ต้องยุ่งกับมัน คือไม่ตั้ง – ไม่ต้องนี้แหละ ก็จะทำให้การ “ไม่”ของมันเองได้ปรากฏอย่างอิสระเต็มที่ แล้วก็ไม่ต้องไปคอยเช็คด้วยว่ามัน “ไม่”กันอย่างไร “ไม่”กันหรือยัง “ไม่”ถึงไหนแล้ว ไม่ต้องเช็ค เด็ดขาดไปเลยที่จะไม่เช็ค
อย่าจงใจหา ยิ่งหายิ่งตัน จึงใช้ภาษาว่า “ตัณหา” เลิกหาก็เลิกติด เลิกหาก็เลิกตัน มันก็ตรงต่อหลุดอยู่เองแล้ว ดับอยู่เองแล้วทันที
หน้าตา เนื้อหาของกิเลสเมื่อเกิดขึ้น ไม่ว่าจะแสดงออกมาอยู่ในรูปแบบไหนก็ตาม จะมีผลให้จิตใจ มีการ Focus เกิดขึ้น เรียกว่า จิตหุบ (สูญเสียความเบิกบาน) คือเกิดมีขอบเขต , ขาดอิสระ ,หนัก – ตึง มีการเกาะ ยึด ขึ้นกับ degree ของการ Focus ตามแรงยึด แรงอยาก ซึ่งจะตรงข้ามกับคุณสมบัติเดิมของจิตใจ เดิมแท้ คือ
• ไม่ต้องการที่อยู่ ที่เกาะยึด
• ไม่มีขอบเขต – ไร้ขอบเขต
• เบา ไม่มีน้ำหนัก
• โปร่ง โล่ง โพล่ง
• ไม่มีอะไร - ไม่ต้องการอะไร
• อิสระ
• ไม่ยึดแม้ตัวมันเอง
“ จิตไม่ใช่พยายามจะเป็นจิต มันไม่กำหนดตัวมันเองอยู่แล้ว”
จิตใจแบบนี้ทุกคนมีอยู่แล้วไม่ยกเว้น แต่เพราะเราไม่รู้ ไม่เข้าใจ จึงดิ้นรน วุ่นวายไปกับการหลงทำใจหรือหลงพาใจไปทำ
พวกนึงก็ไหลตาม เพลิน จม...ขันธ์ คือ กามสุขัลลิกานุโยค
พวกนึงก็ฝืน งม หา คอย เฝ้า แก้ไข ปรับ ปรุง แต่ง ต่อ เติม...ขันธ์ คือ อัตตกิลมถานุโยค
เพียงแต่ “ใจ”ของเราสำนึก(ซาบซึ้ง-ประจักษ์ชัด-แจ่มแจ้ง)ต่อความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่ง การเลิกหลงยึด – หลงอยาก จะเป็นไปเอง เป็นการปล่อยวางโดยปริยาย ตรงต่อสัจธรรมอยู่แล้วทันที ปล่อยให้ทุกอย่าง ดำเนินไปตามธรรมชาติของเขา
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #5 on:
22 December 2012, 12:53:44 »
เริ่มที่ สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ ความเห็นตรง ไม่ใช่ตรงต่อคำสอน ตรงต่อตำรา แต่จริง ๆ แล้วคือ ตรงต่อเนื้อหาของสัจธรรม หรือความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่ง ที่ว่า
อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง โดยทั่วไปมักจะแปลจบอยู่แค่นี้ แต่เนื้อหาแท้ ๆ ของความไม่เที่ยง คืออย่างไรหรือ? เนื้อหาที่แท้จริงของความไม่เที่ยง คือ
• ไม่ยึดติดตัวมันเอง...อยู่แล้ว
• หลุดกันเอง...อยู่แล้ว
• ปล่อยกันเอง...อยู่แล้ว
• วางกันเอง...อยู่แล้ว
ความไม่เที่ยง หรือ อนิจจัง นี้ ไม่ได้เกิดจากเหตุ – ปัจจัย , ไม่เกิดจากเจตนา หรือจงใจทำขึ้น เรียกว่า ไม่เนื่องด้วยเจตนากรรม นั่นเอง
ความไม่เที่ยง จะเรียกว่าเป็นกระแสก็ได้ แต่เป็นกระแสที่ไม่ยึดติดแม้ตัวมันเอง คือการลุล่วง ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา เรียกว่า ไม่ขังทุกข์ ทุกข์ก็ดับกันเองอยู่แล้วอย่างทุกข์
ถ้ามันยึดติดตัวมันเองได้จริง มันจะกลายเป็นสิ่งที่จะเที่ยงแท้ถาวร เป็นตัวตน สัตว์บุคคล เรา เขา จริง ๆ แต่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น ที่มันไม่เที่ยง เพราะมันไม่ยึดติดตัวมันเอง(อยู่แล้ว) แล้วเราจะไปปฏิบัติทำอะไร เพื่ออะไร ลองตรองดูหน่อยซิว่า มันตรงต่อสัจธรรม หรือเปล่า อะไรกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังให้เกิดการปฏิบัติทำนั้นๆ ใครจะทำอะไรได้จริงๆบ้าง ทำอะไรไม่ได้เลย ถ้าได้ก็ได้เพียงรู้ หรือระลึกรู้เท่านั้นจริงๆ(แถมที่ว่า “รู้” หรือระลึกรู้นั้นก็ทำขึ้นไม่ได้จริงอีกต่างหาก-แค่เหมือนจะได้) ทุกข์ก็พ้นทุกข์ด้วยตัวของมันเอง ,ทุกข์ก็หลุด - ดับกันเองอย่างทุกข์ อย่าเข้าไปยุ่ง หรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับการเกิด - การพ้น - การหลุด - การดับของทุกข์เองเลย
เราจะดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสิ่งที่ไม่ยึดติดกันเอง ปล่อยวางกันเอง หลุดกันเองอยู่แล้ว นี้อย่างไร ? จึงจะตรงกับเนื้อหาของสัจธรรม ที่เป็นสิ่งลุล่วง ไม่ติดขัดข้องคากันอยู่เองแล้ว เพราะมันหมายถึงการไม่ทุกข์ คือไม่ขังทุกข์ ให้ทุกข์ลุล่วงผ่านเลย แล้วแล้วไปด้วยตัวของมันเอง
ให้เราเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ซาบซึ้งไว้เลยว่า เมื่อไหร่ก็ตาม ที่การดำเนินชีวิตทั้งภายนอก-ภายใน ไปขัดแย้งหรือไม่ตรงกับความเป็นจริง (สัจธรรม)แล้ว ความทุกข์จะติดตามไปตลอดชีวิต และอีกทุกภพ ทุกชาติ
อย่างไรจึงเรียกว่า ดำเนินชีวิตที่ขัดแย้งต่อความเป็นจริงหรือ? มันคือ หลงยึด หลงอยาก หลงเอา เกาะ ๆ แกะ ๆ เข้า ๆ ออก ๆ บาน ๆ หุบ ๆ ฟู ๆ แฟบ ๆ แสดงออกมาอยู่ในรูป จะ จ้อง ต้อง ตั้ง เหล่านี้แหละรับประกันได้เลยว่าทุกข์แน่ (ขังทุกข์)
เพราะเมื่อความจริง โดยสัจจะแล้ว ทุกอย่าง (ทั้งกิเลสและธรรมะ) หลุดอยู่แล้ว ไม่มีสิ่งใดที่เป็นการยึดติดที่จริงแท้ จะไปยึดอะไรได้จริง จะไปเอาอะไรได้จริง
ที่ได้จริง คือ ได้แค่หลงไปเท่านั้น และแม้แต่ความหลง ความอยาก ความยึด ก็ยัง หลุดหรือปล่อยกันเอง อยู่แล้วเลย จึงไม่ต้องหลงไปหาวิธีกำจัดสิ่งเหล่านี้แต่อย่างใด เอาไป เอามา ความอยาก ความยึด ก็เป็นแค่ความเคยชิน ความคุ้นเคย ที่เป็นเพียงมายากรรม อันเป็นผลที่ได้เคยหลงยึด หลงอยาก หลงทำ หลงปรุง จนกลายเป็นนิสัย หรืออุปนิสัย ที่เรียกว่า พฤติกรรม, จริต, บุคลิก ที่แท้ก็คือ การหลง “ทำ” ซ้ำๆๆๆๆ... เริ่มจาก มโนกรรม, วจีกรรม, กายกรรม
ตัวมโนกรรมนี้แหละที่ผิดธรรมเพราะโดยธรรม “มโน” ไม่มีกรรม แต่หลงไปทำกรรมซ้อน “มโน” ก็เลยเป็นมโนมีกรรม เหตุที่ทำให้ “มโน” ทำกรรมก็เพราะความหลง ความไม่รู้เรื่องของสัจธรรม เมื่อมโนมีกรรมก็ต้องมีวิบากตามมาให้มโนต้องเสวยความลำบาก นั่นคือ ความทุกข์ใจ ความหนักใจ(ใจหนัก) เมื่อใจทุกข์ ก็อยากออกจากทุกข์ แต่ด้วยความหลง และความไม่รู้สัจธรรมก็เลยถูก ตัณหา – อุปาทาน หลอกเอา เบื้องต้น ถูกหลอกว่ามีเรา แล้วยังหลอกให้ปฏิบัติ หลอกให้สนใจ หลงสร้างขั้นตอน เทคนิค อุบายต่าง ๆ คอยจะ คอยจ้อง ต้อง ตั้ง ตามรู้ ตามดู เป็นต้น ก่อเกิดความเป็น... เวทนา สัญญา สังขาร ก่อเกิดเป็นความเห็น (ทิฐิ) ความหมาย
หลุดอยู่แล้ว วางอยู่เองแล้ว จะไปทำการหลุด ทำการวาง ซ้อนลงไปอีกได้อย่างไร เพราะมันผิดธรรม เมื่อผิดธรรมก็ เกิด..., เป็น......,และทุกข์ทิ้งไปเท่านั้นเอง
ทุกขัง : ความทนอยู่ไม่ได้ ความทนได้ยาก ต้องเปลี่ยนแปลง จริง ๆ แล้วก็เป็นเนื้อหาเดียวกันกับ อนิจจัง คือไม่ติดยึดตัวมันเอง ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คาแม้ในตัวมันเอง เป็นความลุล่วง(วิมุติ)ในตัวของธาตุ-ขันธ์อยู่ตลอดเวลาก็ว่าได้
โดยเนื้อหาของอนิจจัง–ทุกขัง คือ การที่ทุก ๆ ธาตุ–ขันธ์ ไม่อาจคงที่ ตลอดอนันตกาล
การที่เป็นดังนี้ ไม่อาจมีใครที่จะทำขึ้นมาได้ และที่สำคัญ มันหลุดกันเองอยู่แล้ว การหลุดนี้ไม่ต้องการเหตุ – ปัจจัยอันใด คือ ไม่ได้หลุด โดยต้องมีเงื่อนไขใด ๆ เราต้องเข้าใจคำว่า “ กันเอง” “อยู่แล้ว”ให้ดี ๆ เรียกว่ารู้จักกันให้ลึกซึ้งสักหน่อย เพราะผู้ปฏิบัติมักเข้าใจกันว่า ถ้ามี สติ สมาธิ ปัญญา จะสามารถ ทำลายกิเลสให้หายไป แต่เอาเข้าจริง ๆ แล้ว การมี สติ สมาธิ ปัญญา ก็เพื่อเข้าใจว่า ทุกอย่างไม่อาจจะเข้าไปทำอะไรได้ ไม่อาจที่จะเอา - ยึดถือไว้ได้ โดยการรู้ความจริง(สัจจะ)อย่างแจ่มชัดดังนี้แล้ว จิตจะเลิกหลงยึด(กำ) ก็จะตรงต่อการวางอยู่เองแล้ว ไม่ต้องหลงไปวาง ไปทิ้ง ไปกำจัดอะไรหรอก แค่เลิกหลงกำ(กรรม)คือคลายให้เป็น ก็ตรงต่อจบอยู่แล้ว...
ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่าสติ-สมาธิ-ปัญญาจะต้องเป็นเนื้อหาที่สรุปจบในตัวมันเองเท่านั้น มิใช่การดำเนินหรือเจริญมันไปเรื่อยๆ อย่างที่หลงเข้าใจกันอยู่
เมื่อเกิดอะไรขึ้น รู้ เองและ ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย แม้แต่จะไป วิพากษ์ วิจัย วิจารณ์อันนี้ท่านเรียกว่า นอกเหนือเป็น , ไม่เนื่องด้วยเป็น ใจเป็นอิสระอยู่ ใจไม่ถูกสน ถูกสอย ในระหว่างที่ยังไม่เกิดอะไรขึ้น ก็ไม่ระแวง ระวัง เฝ้า คอย ค้น แสวงหา ควานหา สแกนหา เมื่อเกิดอะไรขึ้นก็แล้วแล้วไปอย่างรวดเร็วคือไม่ลังเล ไม่อาลัย อาวรณ์ จมปลักหมกมุ่น เพลิดเพลิน หลงใหล
ด้วยอำนาจ ของ ความเข้าใจ ที่ตรงต่อความเป็นจริง คือ สัมมาทิฐิ นี้ จิตใจจะตื่นอย่างเป็น ธรรมชาติ แบบไม่มีอะไรกับอะไรไปเอง หมดภาระ หมดพันธะ หมดงานทางใจที่จะทำอะไร ๆ เพื่อให้ถึงพระนิพพาน อย่างนี้ท่านเรียกว่า “จบกิจ” คือรู้ชัดว่า “กิจ” “กรรม” “ทำ” “เจตนา” “ความจงใจ”แบบไหนและอย่างไรก็ไม่ใช่ทางที่จะพ้นทุกข์(ออกจากสังสารวัฏ, ออกจากวงจรปฏิจจสมุปบาท)หรือจะตรงต่อเนื้อหาของพระนิพพานได้จริง มีแต่ต้อง “ปลง” “สละ” “แล้วแล้วไป” “ไม่ต้อง” “ไม่ตั้ง”...เพราะไม่มีเนื้อหาแห่งกรรม(กำ) ให้ต้องชดใช้วิบากต่อไป
“ท่าน”จึงกล่าวไว้ประมาณว่า...สัตว์โลกทั้งหลาย จะไม่ได้อะไรเลยในสังสารวัฏนี้(การเวียนตายเวียนเกิด) มีเพียงได้หลง “สร้างกรรม” และหลง “เสวยผลแห่งกรรม” เท่านั้น
อนัตตา : มักแปลกันว่า ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ คำแปลอย่างนี้ยังไม่แจ่มแจ้ง
: โดยสภาพความเป็นจริง อนัตตา หมายถึงไร้ความหมาย ไม่มีความหมายปราศจากความเป็นที่แท้จริง เป็นเนื้อหาที่ต่อเนื่องมาจากอนิจจัง – ทุกขัง คือไม่ใช่สิ่งยึดติดตัวมันเอง หลุดอยู่เองแล้ว วางอยู่เองแล้ว มันจึงไม่อาจ “เป็น”(อัตตา)อะไรๆได้จริง จึงเรียกว่า“สุญโญ” ว่าง...อยู่แล้ว ไม่ใช่อะไรอยู่แล้ว นี้แหละคือความหมายที่ใกล้เคียงที่สุดของ “อนัตตา”
ธาตุทุกธาตุ , ขันธ์ทุกขันธ์ ไม่เคยย้อนกลับมา “กำหนด” ตัวมันเอง โดยธรรมแล้ว มันไม่ได้พยายามจะเป็นตัวมันเอง เช่น รู้ไม่ได้พยายามจะเป็นรู้ เห็นไม่ได้พยายามจะเป็นเห็น คิดไม่ได้พยายามจะเป็นคิด (เพราะมันก็เป็น(โดยสมมติ)ของมันเองอยู่แล้ว) ขันธ์จะเป็นขันธ์ ที่รู้สึกเป็นจริงเป็นจังขึ้นทันที หากมีเจตนาหรือจงใจ ตั้งใจไปกำหนด, เพ่ง, จ้อง, ตั้ง, ต้อง เมื่อไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่กำหนด จด จ้องจริงจัง ขันธ์ก็ไม่ใช่ขันธ์ทันทีคือ หมดความหมายแห่งความเป็น (อัตตา)ทันที เรียกว่าไม่หลงความเป็น...(อัตตา)โดยสมมติ ให้ต้องดิ้นรน เร่าร้อนกันต่อไป ตรงต่อสัจจะเดิมของธาตุขันธ์ทันที นิโรธ – ดับอยู่เองแล้วทันที ไม่ใช่รอข้างหน้า ดังนั้นจึงให้เข้าใจ(แม้จะเป็นเพียงแค่ความจำหรือสัญญา)ไว้ก่อนว่าทุกอย่าง จบที่ไม่ต้อง ไม่ตั้ง นั่นเอง
เรียกว่าจบเองอยู่แล้ว ไม่ใช่ “เรา”จบ แต่ จบ “เรา”ซะที
มันดับโดยปราศจากเงื่อนไขอยู่แล้ว
• มันว่างอยู่แล้ว มันวางกันเองโดยไร้เงื่อนไข, ข้อแม้อยู่แล้ว
ทุกสภาวะคือไม่ใช่สิ่งยึดติด แม้แต่ตัวมันเอง การไม่ยึดก็คือ “ปล่อย”ซึ่งมันก็ปล่อยกันเองอยู่แล้ว เพียงแต่ “ใจ”ของเราให้ตรงต่อความเป็นจริงนี้(ที่ ไม่...อยู่แล้ว)ให้ดีๆ เมื่อไม่จงใจหรือเจตนาที่จะ“สนใจ” รู้ – ดู – เห็น – เอา – เฝ้า – แช่ – จม – งม – สาระวน...มันก็ตรงต่อสิ่งไร้ความหมาย ไม่ใช่ความเป็น หลุดอยู่เอง วางอยู่เองแล้วโดยเนื้อหาทันที เรา “ไม่ต้อง” หลงไปทำการปล่อย “ไม่ต้อง” ไปหลงทำการ “ละ”อะไรๆให้วุ่นวายไปซะเอง
ดังนั้น การที่เราไปคอย “สนใจ”สภาวะ ไม่ว่าจะแง่มุมใดก็ตาม มันก็คือ การหลงให้ความหมายกับสภาวะนั้นไปโดยปริยาย ซึ่งมันขัดแย้งต่อความเป็นจริง ท่านจึงกล่าวเตือนไว้ ว่า “อย่าไปสอดรู้ สอดเห็น อย่าไปซอกแซกหาเรื่องรู้ ซอกแซกหาเรื่องดู ทั้งข้างนอก – ข้างใน” ที่ท่านใช้คำว่า “เสือก” หรือ “สะเออะ” หรือ “ล้ำเส้น” เพื่อสะท้อนการไปหลงทำสภาวะรู้ ดู เห็น คอยรู้ ดู เห็นขึ้น แล้วมีผล(เสีย)อื่น ๆ ก่อเกิดขึ้นมา เมื่อพิจารณาดูแล้วก็เห็นจริงตามนั้น
ขอให้เข้าใจว่า เป็นแค่การหยิบยืมภาษามาใช้ สะท้อนตัณหา อุปาทานของผู้คนเท่านั้น มิใช่ ความหยาบคาย เช่นคำว่า เสือกหรือ สะเออะ ก็หมายถึง ส่วนเกิน ที่แส่หาเรื่องทุกข์ร้อนไปซะเอง มิได้มีสาระแก่นสารใดๆที่จะเอา จะยึดไว้ได้จริง ๆกับการซอกแซกรู้ ดู เห็นนั้นๆ เรียกว่า เป็นการหาเรื่องทุกข์ๆไปซะเอง
การสนใจ มีอยู่ 2 นัย
• นัย 1 คือ เผลอสนใจ สนใจเพราะเคยชิน เป็นความสนใจที่เป็นผลของ
ความคุ้นชินเดิม ๆ ที่เคยทำมา
ความสนใจประเภทนี้ บังคับไม่ได้
ห้ามไม่ได้ เป็นของเก่า
เมื่อรู้ว่าเผลอไปสนใจแล้ว ก็ให้สรุปไปเลย
ว่าเป็นของเก่า แล้วแล้วไปทันทีแบบไม่ลังเล อย่า
ไปหลงตอกย้ำมันอีก มันจะค่อย ๆ จบไปเอง
• นัย 2 คือ หลงสนใจ เพราะมี ความตั้งใจ (ด้วยความไม่รู้(อวิชชา) สัจธรรม) เป็นทุนเดิมที่จะก่อเกิดความความจงใจทางใจ ที่เรียกว่าความสนใจ จัดเป็นการเกิดกรรม(ภพ) หรืองานทางใจชนิดหนึ่ง(มโนสัญเจตนากรรม = มโนสัญเจตนาหาร) ทำให้เกิด(ภพ) ตัวรู้ ตัวดูขึ้น ความสนใจประเภทนี้เกิดจากอวิชชา – ตัณหาอุปาทาน ผลักดันให้ปรุงแต่งสภาวะ(สังขาร)นี้ขึ้น หลงทำให้เกิด ของใหม่ และหลงตอกย้ำกรรมอนุสัยเดิมๆ
การไม่สนใจ(เพราะด้วยความเข้าใจ-มีสัมมาทิฐิรองรับ) ก็คือ ไม่หลงไปตอกย้ำของเก่า และไม่หลงปรุงของใหม่ อันเป็นจุดเริ่มต้นของวิญญาณ (วิญญาณาหาร) ให้ไปกระทบ(รู้)สัมผัส (ผัสสะ=ผัสสาหาร) ก่อเกิดเป็นความหมาย ความเห็น ความรู้ ความเข้าใจ ทิฐิ และมานะ เกิดการแบ่งแยก แตกต่าง เวทนาการต่าง ๆที่ตามมา จะจัดจ้าน หรือเบาบางขนาดไหน
ก็แล้วแต่ความเข้มข้นของความหลงต้อง หลงตั้ง เพราะหลงสนใจ(รู้)นั่นเอง
อะไรคือของเก่า
ความหมายของ ของเก่า หมายถึง ผลงาน (ผลของกรรม)ที่เคยทำ หรือที่เคยยึดมาก่อนที่เรียกว่า วิบาก ( ให้เข้าใจว่า วิบาก = ลำบาก )
ผลงาน(ของเก่า) ของการเคยหลงยึด คือ ธาตุ ขันธ์ ยึดธาตุไหน ขันธ์ใด ก็จะมีธาตุ ขันธ์นั้นปรากฏมาให้ยึดต่อไป จะหยาบหรือละเอียดก็ขึ้นอยู่กับเหตุที่เคยทำมา
ผลงาน(ของเก่า)ของการเคยหลงทำ (กรรมอนุสัย) คือความเคยชิน, ความคุ้นเคย, ความคุ้นชิน, อนุสัย, อุปนิสัย, นิสัย, จริต, บุคลิก โดยภาพรวมก็เรียกว่าพฤติกรรม เป็นสิ่งที่ทำตามซ้ำๆมาเรื่อยๆ ชินที่จะทำตามในลักษณะของการไหลตาม (PASSIVE) ภาพอันนี้จะชัดเจนมากสำหรับผู้ที่ติดฝั่ง : กามสุขัลลิกานุโยค
อะไรคือของใหม่
ความหมาย ของใหม่ หมายถึง เหตุของทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความพยายาม หรือ เจตนากรรมในเชิงรุก ( ACTIVE)ในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะที่แสดงออกมาอยู่ในรูปของการกระทำในเชิงปรุงขึ้น แต่งขึ้น สร้างขึ้น เพื่ออะไรซักอย่าง เช่นเพื่อให้มี ให้เป็น ให้ได้ เนื้อหาจริงๆ ก็คือ หลงยึด หลงอยาก แล้วก็หลงกระทำ นับตรงปัจจุบันที่ความจงใจนั่นเอง เช่น คอย-เฝ้า – เร้า-กระตุ้น- ระแวง-ระวัง- บังคับ-ควบคุม-กดข่ม-แทรกแซง ฯลฯ จัดเป็นการติดฝั่ง : อัตตกิลมถานุโยค
การเกิดความจงใจหรือเจตนา เพราะด้วยความไม่รู้(อวิชชา)ว่าเป็น “ความหลง”ผลักดันขึ้น ทำให้ “ใจ”เหมือนมีงาน(ภาระ) ที่ไม่รู้วันว่างงาน เพียงแต่จะงานมากหรืองานน้อย งานหนักหรืองานเบาเท่านั้น(แต่ก็ยังมีงานเกาะกุมจิตใจอยู่ตลอด-มโนกรรม) อีกทั้งยังเกิดการรอคอยผลงานอีกด้วย ซึ่งล้วนแต่เป็นความหลงตอกย้ำวิบาก และเพิ่มกรรมอนุสัย(เหตุ)ใหม่ ๆ เรื่อยไป
ถ้าใจตรงต่อความเป็นจริงด้วยความจริงใจ ไม่ต้องการเป็นอะไร ไม่ต้องการไม่ปรารถนาแม้วิชชา – ปัญญา ไม่ต้องการไม่ปรารถนาแม้ พระนิพพาน(ความปรารถนาพระนิพพานให้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ไม่ใช่ตั้งปรารถนาไปเรื่อย จะถูกตัณหาอุปาทานในนิพพานเอาไปกินซะหมดเท่านั้นเอง) ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่รู้ จะไม่กระตุ้นให้เกิดการอยากรู้ อยากเข้าใจอะไร ก็ไม่ก่อเกิดความลังเล และหาเรื่องอะไรมาสงสัย ใจมันจะได้ไม่มี “ห่วง” ยุติทำทางใจ ยุติการแสวงหา การรอคอย เป็นอันหมดภาระทางใจ(ใจว่างงาน) ใจก็ว่าง(อยู่แล้ว)อย่างใจ ตรงต่อเนื้อหาเดิมของใจล้วนๆ
ผู้ปฏิบัติเคยเอะใจ – เฉลียวใจบ้างไหมว่า อาการห่วงรู้ ไม่รู้ ห่วงดู ห่วงเห็น ไม่เห็น หรือกลัวไม่รู้ กลัวไม่เห็น กลัวไม่เข้าใจ ลังเล สงสัย ดิ้นรนสร้างวิธีการ พิธีกรรมต่างๆนานาเพราะกลัวไม่มีธรรมะ นั่นน่ะคืออะไรกันแน่ มันคืออวิชชาในวิชชา ตัณหาและอุปาทานในปัญญาอาการ(อยากยา)เหล่านี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นให้รับรู้ได้ชัด ๆ เมื่อยังคงได้ปฏิบัติตามความคุ้นเคยเดิมๆอยู่ต่อไป เรียกว่า เมื่อได้ทำตามความคุ้นเคย หรือความคุ้นชินนั้นๆแล้วก็จะดู OK, ราบรื่น
ต่อเมื่อลองไม่ทำอะไรดูสิ ไม่ต้องทำอย่างที่เคยทำดูสิ หน้ากากของผู้เสพติดตัวปฏิบัติก็จะเผยโฉมหน้าผู้บงการเบื้องหลังออกมาให้รับรู้ได้ ถึงอาการอยาก(ยา)ปฏิบัติ
การปฏิบัติที่เรียกว่า ปฏิบัติทำ เจตนาทำ ไม่ว่าจะมาก – น้อย หรือจนชำนาญ คล้ายเป็นอัตโนมัติก็จะเกิดอาการเหมือนคนติดยา ที่เมื่อไม่ได้เสพยาแล้วจะมีอาการอยากยา จะมาก – น้อยขนาดไหนก็แล้วแต่ความรุนแรงของการเสพติด ( ความยึด) อันนี้ก็คล้ายกัน
พอไม่ได้ทำเหมือนเดิม เช่น อาจไม่ได้เดินจงกรม นั่งสมาธิ สวดมนต์ ฯลฯ อาการอยากธรรมะ หิวธรรมะก็จะปรากฏออกมาอยู่ในรูปของการบ่นในใจ ตัดพ้อ วิพากษ์ วิจารณ์ เช่น ปฏิบัติแทบตายอยู่แล้ว ยังไม่ค่อยจะได้อะไร กิเลสก็หนา ปัญญาก็น้อย แล้วถ้าไม่ปฏิบัติ ไม่ได้ทำจะพ้นทุกข์ได้อย่างไร บางทีอาจตำหนิ ติเตียนตัวเองว่า ขี้เกียจขี้คร้านไปหรือเปล่า เรากำลังประมาทอยู่หรือเปล่า อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งคำถามในลักษณะนี้จะได้ยินบ่อย
“ จะเป็นการไม่ประมาทไปหรือ ? ถ้าเราไม่ได้ทำอะไร เป็นคำสอนที่ทำให้คนชะล่าใจ หรือขี้เกียจขี้คร้านไปหรือเปล่า? ”
การปฏิบัติธรรมในเนื้อหาที่เป็นการปฏิบัติทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ตรงต่อสัจธรรม (มีอยู่แล้ว สมบูรณ์อยู่แล้ว ไม่ต้องการสิ่งใด ไม่มีเนื้อหาของเจตนากรรมใด ๆ) แค่นี้ก็เห็นได้อยู่แล้วว่า การปฏิบัติทำนั่นแหละ เป็นการไม่เคารพ (สัจจะ) ธรรม ที่เรียกว่าการปรามาสธรรมหรือประมาทในธรรมไปเรียบร้อยแล้ว แต่หารู้ไม่ การที่มีผู้รู้มาบอกถึงเนื้อหาของสัจธรรม และชี้ทางในการดำเนินชีวิตให้ตรงต่อสัจธรรม ชี้ให้จิตใจตรงต่อสัจธรรม ความเป็นจริง ชี้ให้เห็นถึงความเข้า ใจผิด หลงผิดในแง่มุมต่าง ๆ ของสิ่งที่เรียกว่า การศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม จะเป็นการทำให้เราประมาทได้อย่างไร ถ้าการชี้แนะหรือการแสดงธรรมนั้นทำให้ “ใจ”ตรงต่อสัจธรรมจริง ๆ
ต้องพิจารณาดูให้ดี ๆ อย่าเอาแต่ความคุ้นเคย หรือเมื่อไม่ตรงต่อทิฐิของตนหรือหมู่คณะ หรือครูบาอาจารย์ ตำรับ ตำราที่เคยเข้าใจและเคยตีความว่าใช่แล้ว ถูกแล้ว แม่นแล้ว ก็ปฏิเสธ จะใช้ได้หรือ ?
พระพุทธองค์ทรงตรัสเนื้อหาในกาลามสูตรไว้ว่าอย่างไร? ลองตรองดู และเราแน่ใจหรือว่า เราเข้าใจตรงต่อเนื้อหาของครูบาอาจารย์ที่ท่านสอนได้จริง เพราะอย่างที่เคยบอกไว้แล้วว่า การแสดงธรรมมีการใช้ภาษาพูด เขียน มาเป็นสื่อในการถ่ายทอด เรียนรู้ ถ้ามีการใช้ภาษาที่ไม่ตรงต่อสัจธรรม ต้องอาศัยการตีความแล้ว ภาษานั้นอาจจะชี้นำสู่การกระตุ้นต่อมอยาก ต่อมยึดของผู้คน ที่แสดงออกมาอย่างแนบเนียนในรูปแบบของการ ปฏิบัติทำ– ปรุง – สร้าง – เอา – หา – มุ่ง – พุ่ง - รอ – คอย ฯลฯ ท่านเรียกภาษานั้นว่า เป็นความวิบัติของบัญญัติ นอกจากผู้ถ่ายทอดจะใช้ภาษาที่สุ่มเสี่ยงให้เกิดความเข้าใจผิดต่อสัจธรรมดังกล่าวแล้ว ผู้ฟังที่ไม่แยบคาย ละเอียดอ่อนก็มักจะตีความตามความคุ้นชินเดิม แล้วด้วยความเข้าใจผิดก็เลยปฏิบัติผิด กลายเป็นการหลงปฏิบัติทำ มิใช่การปฏิบัติตามธรรม ตรงต่อ(สัจจะ)ธรรม ปฏิบัติทำด้วยความหลง กลับเป็นความเนิ่นช้า ทุกข์ยาก ลำบากไปซะเอง
และเราเคยเฉลียวใจบ้างไหมว่า สภาวะที่กำลังบ่น วิพากษ์ วิจารณ์ โหวกเหวก โวยวาย อยู่นั่นน่ะ มันคืออะไรกัน ? เบื้องหลังมาจากอะไร? ก็มาจากอาการอยากเสพธรรมะ หิวธรรมะ หิวปัญญา หิวรู้ อันมีแรงผลัก - เหนี่ยวนำมาจาก ตัณหา – อุปาทาน เพราะความเข้าใจผิด หลงผิด จึงกลายเป็น ตัณหา ในธรรมะ ตัณหาในปัญญา กิเลสในธรรมะ กรรมซ้อนธรรม เอากิเลสไปปฏิบัติธรรม
แล้วถ้าท่านไม่เลิกปฏิบัติทำ ไม่เลิกทำสิ่งที่เข้าใจผิดเรื่องของการบำเพ็ญเพียรทางกายทางจิต ท่านก็จะไม่เจออาการอยากทำ อยากธรรมะ หรือ หิวธรรมะ ดังกล่าวดอก แล้วท่านจะละธรรมตัณหานั้นได้อย่างไร ตัณหาอุปาทานก็หมกเม็ดฝังตัวอยู่ตลอดไปในธรรม(ไม่ตรงต่อเนื้อหาที่ว่า “ธรรมสักแต่ว่าธรรม”) ไม่อาจพ้นทุกข์ได้จริง เพราะยังมีเนื้อหาของสมุทัยซ่อนเร้นอยู่ หรือจะให้เป็นตัณหาในธรรมะไปก่อนแล้วค่อยหาทางละตัณหา ดังกล่าวอีกต่อหนึ่งอย่างนั้นหรือ ทำไมต้องสร้างขั้นตอนให้ยุ่งยาก แถมยังไม่ตรงต่อสัจจะไปเสียเวลาเปล่าๆเล่า
ตราบใดที่ยังไม่เลิกปฏิบัติทำ เลิกการบำเพ็ญเพียรอย่างที่เข้าใจกันอยู่ อย่าหวังเลยว่าจะละกิเลสได้จริง เพราะตัวปฏิบัติ ตัวบำเพ็ญนั้นได้ฝังกิเลสควบคู่ไปกับธรรมะไว้ด้วยเรียบร้อยแล้ว แล้วจะไปหวังให้มันแยกกันตรงไหน ? และเมื่อไหร่ ?
ใจที่ตรงต่อความเป็นจริงที่ว่า ไม่...อยู่แล้ว ไม่ต้องอยู่แล้ว จะมีลักษณะอิสระ โปร่ง เบา เพราะไม่มีตัณหา – อุปาทานรัดรึง จำกัดเป็นขอบเขตหรือต้องแบกพันธะภารกิจการงานทางใจใด ๆ เป็นการอยู่ที่ไม่เนื่องด้วยเจตนาคอยอยู่ เป็นอยู่แบบตื่น เบิกบานด้วยตัวของธาตุเอง
• จะมีการตื่นโดยธรรมชาติของธาตุรู้ ตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร ซึ่งก็คือ สติสัมปชัญญะที่มีอยู่เอง มิใช่จงใจตื่น จงใจรู้ตัวทั่วพร้อม
เป็นสติสัมปชัญญะที่ไม่มีเนื้อหาหรือโอกาสให้ตัณหา – อุปาทานได้
แทรก – ซ้อน, เคลือบเป็นเงาซึ่งมันจะแทรกมาพร้อมกับเจตนา หรือความจงใจทางใจนั่นเอง
เป็นสติสัมปชัญญะที่โพลงออกไม่ใช่ มุ่ง พุ่ง เข้า เอา ไม่มีเนื้อหาของการ สร้างจุดมุ่งหมายในการรู้ให้เป็นที่อยู่ของอุปาทาน ไม่ใช่ รู้แบบให้ความสำคัญ - มั่น – หมายสภาวะ ไม่ใช่รู้ติด ไม่ใช่รู้ต่อ อันเป็นการหลงตอกย้ำ วกวน หมกมุ่นกับของเก่า มันจะเป็นการ รู้แบบผ่าน รู้แบบแล้วแล้วไป ไม่ใช่รู้แบบแวะ แบบแช่ แบบงม หรือจมสภาวะ อีกทั้งจะไม่เป็นเหตุให้เกิดการหลงรู้, ติดรู้, ต่อรู้, ยึดรู้
สติสัมปชัญญะนี้ไม่ใช่ผลจากความชำนาญในการทำ ไม่ใช่ผลจากเจตนา
ทำขึ้น สร้างขึ้น แต่กลับเป็นเพราะไม่ทำ จึงเข้าถึงความตื่นที่มีอยู่แล้ว มันจะเป็นเราตื่นหรือความตื่นเป็นของเราทันทีที่เกิดความจงใจ หรือเจตนาเร้า หรือกระตุ้นให้ตื่น
สติสัมปชัญญะนี้ เมื่อไม่ได้เป็นผลจากการทำ มันจะไม่มีความรู้สึกว่า ของเรา เพราะความเป็นของเราเกิดจากมีเราที่แทรกซ้อนอยู่ในขณะมีเจตนากรรมแล้วไปทำ หรือปรุงสภาวะรู้สึกตัวขึ้นมา และเบื้องหลังที่ไปหลงทำสติขึ้น ก็เพราะหลงผิดคิดว่า มี “เรา” ก็เลยกลายเป็นเรื่องของละครอุปโลกน์ที่มีความหลงเป็นผู้กำกับว่ามี “เรา” แล้วก็พยายามทำๆ ๆ ๆ อะไร ๆ ๆ ๆ เพื่อ “เรา” ซึ่ง ทั้งหมดล้วนเป็นเพียงมายากรรม เป็นมายาซ้อนมายา เกิดเป็นโมฆะกรรม กิเลสกรรม กรรมกิเลส ที่ล่อหลอกสัตว์ให้หลงวกวนเป็น สังสารวัฏ อันไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดได้จริง
สติสัมปชัญญะนี้หมายถึงความตื่นที่ประกอบด้วยปัญญาอยู่โดยอัตโนมัติ และเป็นปัญญาที่ตรงต่อความเป็นจริง อันเป็นบทสรุปถึงที่สุดของทุกสภาวะ แม้แต่ตัวมันเอง(สติปัญญา)ก็ไม่เว้น จึง เป็นปัญญาที่ตัดปัญญาเอง ซึ่งจะไม่ทำให้ปัญญากลายเป็นเป้าให้เกิด
• ทิฐิ หรือ ทิฐานุสัย มานะ
• ตัณหาซ้อนปัญญา
• อุปาทานแทรกปัญญา
• อวิชชาอมยิ้ม
ลักษณะสำคัญของปัญญาอีกอย่าง คือ ความไม่ลังเลต่อสภาวะ - สถานการณ์ ทั้งภายนอกภายใน เพราะใจแจ้งต่อสัจธรรม ไม่ลังเล ไม่สงสัย เรียกว่า ได้บทสรุปของชีวิต จิตใจ จึงปลงใจ วางใจเต็มที่ ไม่ลังเล ไม่สงสัย ต่อสัจธรรมอีกต่อไป ก็จะมีแต่ลุล่วงพ้นไป ๆ แล้ว แล้วไป ไม่มัวแต่อะไรกับอะไรให้เนิ่นช้ากลายเป็นความอาลัยอาวรณ์ในอะไรๆ ก็ตรงต่อดับ ตรงต่อนิโรธ ทันที
ปัญญาที่มีบทสรุปตรงต่อสัจธรรมนี้ สำคัญมาก ที่เรียกว่า เป็นปัญญาตัดปัญญา ถ้าไม่ใช่เช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นบทสลบแทนที่จะเป็นบทสรุป (อันเท่ากับจบ) ก็เลยไม่ตรงต่อดับ อยู่แล้ว หรือจบอยู่แล้วไปซะเอง เพราะยัง in (อิน) ปัญญา – อิงปัญญา - เอาปัญญา คือสลบ หลับใหล นอนเนือง เพลิดเพลิน หมักดองอยู่ในปัญญา นั่นเอง แล้วแบบนี้จะเรียกว่ามีปัญญา ได้อย่างไร เพราะมันปนเปื้อนกิเลสไปเรียบร้อยแล้ว
สติสัมปชัญญะหรือความตื่นนี้ (สัมมาสติ) จะมีลักษณะของความตั้งมั่นด้วยตัวของมันเอง (สัมมาสมาธิ) ไม่ต้องคอยระวังรักษา ประคอง หรือ บังคับ เมื่อไม่มีเจตนาที่จะเอารู้ เอาปัญญา เอาความเข้าใจ ใจก็จะไม่แส่ส่าย ดิ้นรน หาเรื่องรู้ ต่อเมื่อรับรู้ก็จะไม่ถลำ รู้ ดู เห็น โดยจงใจ หลงใหลไปกับการรู้ จนกลายเป็นการแช่รู้ ติดรู้ ซึ่งเป็นลักษณะที่จิตใจสูญเสียความตั้งมั่นโดยธรรมชาติไปซะแล้ว ดังนั้น สัมมาสมาธิ จึงมิได้เกิดจาก การฝึก หรือ ทำให้ชำนาญ หรือบังคับจนได้ที่ แต่เนื้อหาที่แท้ หมายถึง การหมดเหตุที่จะทำให้จิตเคลื่อนออกไปวุ่นวายกับอะไร ซึ่งที่แสบและเนียนที่สุด คือ เอารู้ เอาเห็น เอาเข้าใจ นี้แหละเป็นเหตุที่ทำให้จิตไม่ตั้งมั่น และแส่ส่าย ฟุ้งซ่าน หรือ จมอารมณ์ได้ง่าย เวลามีการรับรู้ใด ๆ เกิดขึ้น ก็เป็นรู้ติด – ติดรู้, ถลำรู้ ,ทรงรู้ – ดำรงรู้ ซึ่งมันผิดธรรม เพราะธรรมโดยธรรมแล้วไม่มีการแช่ การทรง การดำรงสภาวะ มีแต่เกิดตามเหตุปัจจัย แต่ดับเอง แล้ว แล้วไปอยู่เองแล้ว
ผลิตผลใด ๆ ที่เนื่องมาจากการทำจนชำนาญ จนดูคล้ายกับไม่ได้จงใจหรือมีเจตนาที่จะทำ ซึ่งมักเรียกกัน ฝึก – หัดให้ชำนาญจนเป็นอัตโนมัติ หรือ วสี นั้น ก็ยังไม่ใช่ เพราะ ไม่ตรงต่อเนื้อหาที่จบอยู่แล้ว ดับอยู่แล้ว ไม่ต้อง – ไม่ตั้งอยู่แล้ว ที่จริงมันก็เป็นเพียงผลิตผลของโมหะ – ตัณหา – อุปาทานอยู่ดี เพียงแต่ดูละเอียดขึ้น ประณีตขึ้น เลยดูสบาย – เบา แต่ก็ยังมียาง – ใย – เยื่อของตัณหา – อุปาทานซึมแทรกอยู่ ไม่อาจขาดสะบั้นได้จริง จนกว่าใจจะรู้ทันใจ แล้วไม่สนใจ ไม่ลังเลด้วย ก็เป็นการตัดใจ วางใจ ปลงใจ ตรงต่อสัจธรรมที่ไม่...อยู่แล้วจริง ๆ ตรงต่อ ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่ทำตาม ไม่ทำต้านจริงๆนั่นแหละ สมุทัย จึงเป็นอันถูกละได้เด็ดขาดไปเรื่อย ๆเอง
สัจธรรมของเดิม มีอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว พออยู่แล้ว สมบูรณ์อยู่แล้ว ไม่ขาด - ไม่เกินอยู่แล้ว
• ว่างอยู่แล้ว - ว่างจากความหมาย
- ว่างจากความเป็น
• ไม่ยึดกันอยู่แล้ว
• วางกันเองอยู่แล้ว
• หลุดกันเองอยู่แล้ว
เนื้อหาของการปฏิบัติ (เป็นเรื่องของการยืมใช้ภาษา แต่ถ้าจะให้ตรงต้องใช้คำว่า เลิก – หยุด – ไม่ปฏิบัติ) จึงไม่ใช่การกระทำ ซึ่งต้องอาศัยเจตนา แต่ตรงกันข้ามเลยด้วยซ้ำคือ นอกเหนือ หรือไร้ซึ่งเจตนาของการเข้าไปทำ นั่นแหละจึงจะตรงต่อธรรมซึ่งจะไม่เป็นเหตุของทุกข์ติดตามมา
สภาวะทุกสภาวะไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ตาม หากมีเจตนาปรุง ขึ้นใหม่(สังขาร) ก็เป็นส่วนเกินทั้งสิ้นเค้าเรียกว่า สิ่งปรุงแต่งใหม่ (กรรมภพ) เราต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าสิ่งปรุงแต่งใหม่ ไม่ใช่ของเดิม นี้คือความจริง สิ่งปรุงแต่งใหม่ จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเอา หรือยึด หรืออยู่ได้ เพราะแม้แต่ของเดิมก็ยังยึด ยังเอา ยังพึ่งพาอาศัยไม่ได้เล้ย
ของเดิมแท้ ๆ : ไม่ต้องการอะไร เรื่องความพ้นทุกข์ ความหลุด ความไม่ยึดติด ความว่าง นิพพาน นิโรธ วิมุติ ไม่ต้องการเหตุ – ปัจจัย ไม่ใช่ทำ ๆ ๆ อะไร ๆ ๆ แล้วจะถึงนิพพาน แล้วจะได้เข้านิพพาน คงอยู่ได้แค่หน้าประตูนิพพาน (เกือบใช่ แต่ไม่ใช่)
ไม่ต้องการอะไร แม้สติ สมาธิ ปัญญา ก็ไม่ต้องการ นี้แหละที่ท่านกล่าวว่า สติ สมาธิ ฌาน ญาณ ปัญญา ก็ไม่ใช่ ที่ท่านว่าไม่ใช่ ก็คือ ไม่ใช่ของเดิมแท้ ไม่ใช่นิพพาน ไม่ใช่อะไรที่จะจริงจังด้วยได้ ไม่ใช่นี้ ไม่ได้หมายความว่าไม่มี ไม่ดี หรือปฏิเสธ การเข้าใจ หรือสำเหนียกถึงความจริงในข้อนี้ให้ดีก็จะได้ไม่หลงอยาก – หลงปฏิฆะอะไรๆให้กลายเป็นกิเลสในธรรมะไปเสียได้ ก็จะตรงต่อความบริสุทธิ์ของสติ สมาธิ ฌาน ญาณ ปัญญาจริง ๆ
เนื้อหาของการปฏิบัติ คือ การรู้ความจริง ที่เรียกว่า ปัญญา หรือสัมมาทิฐิแล้วเลิกหลงเป็นทุกข์ไปกับสภาวะทุกข์ ไม่หลงปั่นป่วน วุ่นวายกลายเป็นความทุกข์ - ผู้ทุกข์ไปซะเอง
สัมมาทิฐิ คือปัญญารู้ความจริง ว่า
• นี้คือทุกข์ หรือ ทุกข์คือดังนี้ รู้ทุกข์ในเนื้อหาอันเป็นบทสรุป จบลงที่ความเป็นจริงอันเป็นที่สุดของทุกสภาวะที่ไม่ใช่สิ่งยึดติดอยู่แล้ว วางอยู่เองแล้ว ว่างอยู่เองแล้ว รวมถึงรู้ความจริง(สัจจะ) ในแง่มุมต่าง ๆ ของกองทุกข์นั้นด้วย
• นี้คือสมุทัย อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มีอาการเป็นอย่างนี้ ๆ คือรู้แจ้งอย่างแจ่มชัดถึง เนื้อหาจริงๆ ไม่ใช่รู้แค่ชื่อ ได้รู้เท่าทันถึง เล่ห์เหลี่ยม และการแสดงออกของ ตัณหา – อุปาทาน ในทุกรูปแบบ
• นี้คือความดับแห่งทุกข์ ความพ้นทุกข์ เราไม่อาจใช้ภาษาแสดงพระนิพพานให้คนฟังเข้าใจแม้ระดับสัญญาได้ แต่ผู้รู้สามารถสะท้อนพระนิพพาน โดยใช้ภาษาที่แสดงถึงสิ่งที่ไม่ใช่ให้เรารู้ได้ เมื่อ ท่านแสดงถึงสิ่งที่ไม่ใช่ เราก็ตรงตามนั้นไปเลย และเมื่อแจ่มชัดว่าหน้าตาของตัณหาเป็นอย่างไรก็จะไม่หลงก่อตัณหาให้เป็นตัณหาไปซะเอง คือไม่มัวหลง เข้าไปทำ ไปเอา ไปยึด ไปแช่ ไปทรง สภาวะใด ๆ ให้วุ่นวายไปซะเอง เมื่อไม่หลงเกาะ หลงติด ดิ้นรน แส่ส่ายกับอะไรอยู่ มันก็ตรงต่อ หลุดอยู่แล้ว ดับอยู่แล้ว เป็นเนื้อหาของความพ้นทุกข์ทันที โดยปริยาย เพราะความดับลงของตัณหานั่นเอง มิใช่พยายามจะนิพพาน หรือเข้านิพพาน แต่หมายถึงนิพพานอยู่แล้ว เพียงแต่อย่าดิ้นรนให้เกินหรือเลยนิพพานไปซะเอง
• นี้คือทางพ้นทุกข์ หนทางที่จะไม่เป็นเหตุแห่งทุกข์ไปซะเอง
ไม่ใช่รู้วิธีการทำให้ถูกทาง คำว่า มรรค จะมีคำว่าสัมมา... นำหน้า องค์มรรค คำว่า สัมมา แปลว่า ชอบ หรือถูก แต่เนื้อหาของ สัมมาจริง ๆ คือ ตรงต่อสัจธรรม ไม่ใช่ทำให้ถูก ทำให้ดี ทำให้สมบูรณ์ ไม่ใช่อย่างนั้น ของเดิมสมบูรณ์เต็มเปี่ยมอยู่แล้ว ไม่ขาด ไม่บกพร่องอยู่แล้ว ไม่ต้องเติมแต่งสิ่งแปลกปลอมลงไปอีก ผู้ปฏิบัติเพียงจริงใจ เด็ดเดี่ยว เด็ดขาด กล้าหาญ ศรัทธา ไว้วางใจต่อความเป็นจริง ซื่อสัจ (ซื่อ = ตรง , สัจ = ความจริง) หรือตรงต่อความเป็นจริง ชีวิตก็จะอยู่บนเนื้อหาของสัมมาไปโดยปริยาย
มรรคจึงหมายถึง การดำเนินชีวิตทั้งภายนอก – ภายในที่ตรง หรือสอดคล้องต่อความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องของการสร้างขั้นตอน หรือ การมุ่งกระทำอะไรขึ้นมาให้ดูดี พิเศษ พิสดารไปจากชีวิตธรรมดา ๆ นี่เรียกว่าใช้ชีวิตเป็น นอกเหนือชีวิตได้ ไม่ใช่เป็นทาสชีวิต หรือเสพติดชีวิต เราอย่าหลงภาษา อย่าหลงบัญญัติ เนื้อหาถ้าไม่ตรงต่อสัจธรรมแล้ว จะดูดีแค่ไหน ตรงกับตำรา หรือครูบาอาจารย์อย่างไร ก็ไม่อาจพ้นทุกข์ได้จริง ๆ ขอให้ท่านทั้งหลาย สำเหนียกในแง่มุมดังกล่าวนี้ให้ดี ๆ
มรรคที่ถูกต้องอันเป็นสัมมา คือ ไม่ ,ไม่คือมรรค , มรรคคือไม่ ไม่ต้อง – ไม่ตั้ง, ไม่...อยู่แล้ว จึงจะสอดคล้องและตรงต่อความเป็นจริง ให้เราพิจารณาเนื้อหาของคำว่า “ ไม่ ” ให้ดี ๆ ให้ละเอียด ลึกซึ้งซักหน่อย
สังเกตดูคำตอบของพระพุทธองค์ที่ตอบเทวดาว่า
“ เราไม่พัก และ ไม่เพียร ” จึงข้ามโอฆะได้
เมื่อใดก็แล้วแต่ที่ใจไม่ตรงต่อ ไม่ต้อง , ไม่ตั้ง ไม่...อยู่แล้ว ผู้ปฏิบัติจะหลงไปติดฝั่ง 2 ฝั่งทันที ความมีศรัทธาต่อเนื้อหาของสัจธรรม เป็นสิ่งจำเป็น มิใช่ศรัทธาในตัวบุคคล หรือ วิธีการ มีใจตรงต่อความเป็นจริง ด้วยความจริงใจ บริสุทธิ์ใจ กล้าหาญและเด็ดเดี่ยวที่ไม่ทำอะไรล่วงหน้า จะไม่ทำอะไรกับปรากฏการณ์ภายใน จึงเรียกได้ว่า ปล่อยวาง ให้กล้า ๆ หน่อยนะ
กล้าที่จะไม่ต้องเป็นอะไร
กล้าที่จะไม่เอาแม้สติ สมาธิ ญาณ ฌาน ปัญญา
กล้าแม้แต่จะไม่เอาความพ้นทุกข์
กล้าแม้แต่จะไม่เอาพระนิพพาน
เด็ดขาด – เด็ดเดี่ยวต่อความเป็นจริง นี้ให้ดี ๆ
อย่าเอาตัวตนไปปฏิบัติ เพื่อให้หมดตัวตน เพราะตัวตนจริง ๆไม่มี ไม่ใช่ปฏิบัติ เพื่อให้ตัวตนพ้นทุกข์ พ้นกิเลส ไม่ใช่ให้ตัวตนหมดกิเลส หรือทำให้กิเลสหมดจากเรา, สิ่งที่ไม่มีจะหมดได้อย่างไร
ใจจริง ๆ ไม่มีอะไรอยู่แล้ว และไม่มีเนื้อหาของการเอาอะไร ๆ ดังนั้น จึงอย่าได้ทำใจ ทำอะไรให้ได้ดังใจ ที่มีอะไร เอาอะไร ,เพื่ออะไร , เพราะอะไร นั่นไม่ใช่ใจ แต่มันคือ ส่วนเกิน เรียกว่าเป็น มิจฉาทิฐิ- สักกายทิฐิ
ไม่ใช่เราปล่อยวางสำเร็จ แต่ที่ถูกแท้ มันปล่อยวางกันเองอยู่แล้ว
ไม่ใช่เราไม่ยึด แต่หมายถึง มันไม่ยึดกันเองอยู่แล้ว
โมหะ ไม่ใช่เราว่าง แต่หมายถึง มันว่างอยู่แล้ว สัจจะ,
ทำโดยหลง ไม่ใช่เรานิพพาน แต่หมายถึง มันนิพพานอยู่เองแล้ว ธรรมโดยธรรม
ไม่ใช่เราหลุดพ้น แต่หมายถึง มันไม่ยึดกันเองอยู่แล้ว
• นิวรณ์ธรรม มีทั้งเป็นผลจากของเก่า (วิบาก ) และ จากการที่ไม่รู้เรื่องเลยหลง สร้างเหตุใหม่แล้วทำให้เกิดนิวรณ์ใหม่ทับถมของเก่าเพิ่มไปอีก เช่น อาการซึม – หนัก – เครียด – ตึง – ฟุ้งซ่าน – ลังเลสงสัย เป็นต้น เมื่อไร “ต้อง”ใจก็ “ตึง”เมื่อนั้น เมื่อไร “ตั้ง”ใจก็หนัก เมื่อนั้น มากเข้า ๆ ก็เลยซึมทื่อ ซื่อบื้อไปก็มี
“ ต้องมาก ตึงมาก ต้องน้อย ตึงน้อย
ตั้งมากหนักมาก ตั้งน้อย หนักน้อย
เมื่อไม่ต้อง ไม่ตั้ง ก็ไม่ตึง ไม่หนัก ”
อันเท่ากับเบา โล่ง โพล่ง ของเดิมมันเองทันที เคยรู้มาก่อนมั๊ยว่า เจ้าความฟุ้งซ่านความลังเล – สงสัยนี้มันมาจากไหน? มันก็มาจากความอยากนานาชนิด โดยเฉพาะความอยากรู้ – อยากเข้าใจ จะเอาปัญญา โดยเริ่มที่สนใจรู้ สนใจดู สนใจเห็น ถ้าไม่เอารู้ ไม่ให้ความสำคัญว่าจะรู้หรือไม่รู้ จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจ ไม่เอาปัญญา ไม่เลือก ไม่หาสภาวะ ความลังเล – สงสัยมันจะมาจากไหน ที่ผุดโผล่ขึ้นมา ก็จะเป็นเพียงแค่ผลของความเคยชิน ซึ่งเป็นของเก่า และเมื่อเราไม่ทำสนองต่อความลังเลสงสัยเก่าๆนั้น มันก็ดับเอง แล้วแล้วไปเอง สงบราบเรียบไปเอง จืดไปเอง หมดอิทธิพลไปเอง
ด้วยความไม่รู้เรื่อง แล้วก็งมหาทางพ้นทุกข์ ก่อเกิดวิธีการ – พิธีกรรม –ขั้นตอน ขึ้นมาให้หลงยึด หลงติด เรียกว่า สีลพตปรามาส คือเข้าใจผิดว่า(คาดว่าหรือเดาว่า) ใช่แล้ว แม่นแล้ว ถูกแล้วที่จะบรรลุนิพพานด้วยวิธีการดังกล่าว ด้วยความดูดี น่าเลื่อมใส ศรัทธา หรือให้ผลเป็นความเบาสบายขึ้นมา มาก –น้อยก็ตาม หรืออาจตรงต่อตำรา (ที่เราตีความเอง) คำสอนของครูบาอาจารย์ แต่เมื่อไม่ตรงต่อสัจธรรม ก็ไม่อาจตรงต่อวิมุติอยู่แล้ว(ของธรรมชาติ)ได้จริง ได้แต่วิมุติเทียมๆแบบของเรา(อัตตา)เท่านั้น
ด้วยความไม่รู้เรื่อง จึง
• ส่งเสริมให้เกิดอนุสัยใหม่และตอกย้ำอนุสัยเก่าที่ผุดโผล่ขึ้นมา แต่หารู้ไม่
• ก่อเกิดเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ความเห็น ความหมาย และเอ๊ะอ๊ะ นั่นนี่ กลายเป็นการเจริญสมุทัย แล้วมีผลให้เกิด ความติด – ขัด – ข้อง – คา แทนที่จะเป็นล่วงผ่านแล้ว แล้วไป ตามกลไกของสัจธรรมเอง
• การรอคอย มีแต่เนื้อหาของการหนักไปข้างหน้า เดี๋ยวจะได้บรรลุพระนิพพาน
เดี๋ยว ๆ ๆ ไปเรื่อย แต่ในความเป็นจริง นิพพานอยู่แล้ว เต็มสมบูรณ์อยู่แล้ว หลุดอยู่แล้ว ไม่ใช่เดี๋ยว เพราะมันไม่เกี่ยวเนื่องกับอะไร แม้แต่เวลา เมื่อเราไปหลงเกี่ยว หลงติด หลงขัด หลงข้อง หลงคา หลงเกาะ หลงกำ หลงแวะ(แม้ซอยวิจัย ซอยวิจารณ์) หลงแช่อะไรไว้ มันก็ไม่ตรงต่อสัจธรรมที่ดับอยู่แล้ว หลุดอยู่แล้ว ไม่ใช่อะไรอยู่แล้ว ไม่ใช่เป็นการไปทำ ๆ ๆ ๆอะไรๆ ๆ ๆ ให้หลุด ให้ดับ ชนิดใหม่ ๆ ขึ้นมาอีก ซึ่งมันก็เป็นเพียงความหลุดปลอม ๆ ความดับปลอม ๆ เท่านั้นเอง
ท่านจึงกล่าวว่า “ ก็บอกสติ สมาธิ ฌาน ญาณ ปัญญาด้วยซิว่า นิพพานอยู่แล้วโว้ย! ”
• สร้างความแปลกแยก แตกต่าง เหลื่อมล้ำ ให้เกิดขึ้นกับธาตุขันธ์ เช่น ตอกย้ำขันธ์ในความเป็นฝ่ายธรรมะกับฝ่ายกิเลส กลายเป็นการเลือกข้าง ฝักฝ่าย คติ – อคติ เรียกว่า แตกสามัคคี กันไปโดยปริยาย ทั้งที่ธรรมชาติเดิมแท้ของเค้าก็ไม่ใช่สิ่งแปลกแยก ไม่ใช่สิ่งที่แตกต่างกันอยู่แล้ว จึงไม่ต้องไปพยายามทำหรือสร้างความสมังคีสมานฉันท์ให้กับธาตุขันธ์ใดๆอีกด้วย
• ก่อเกิดความเป็น... มั่นในความหมาย, มุ่ง, พุ่ง, จริงจัง
ล้วนแต่เป็นเรื่องของการแบกขันธ์ไว้ซะเอง รวมทั้งปรุงสมุทัยอันเป็นเหตุของทุกข์ทั้งนั้น การให้ความสำคัญจริงจังในความหมายจอมปลอม – มุ่งพุ่งไปอย่างเอาจริงๆเอาจังๆ กับการรับรู้ไม่ว่าจะเป็นอายตนะไหนๆ ก็เลยต้องทุกข์จริง ๆ ทุกข์จัง ๆ แล้วก็มาโอดครวญ ท้อแท้ เบื่อหน่าย หมดเรี่ยวหมดแรง(อยาก) แต่พอมีแรง(อยาก) ก็ขยันทำอีก เอาอีก ตะเกียกตะกายอีก ดิ้นรนอีก จึงเป็นที่มาของอาการเบื่อๆ อยากๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางโลกหรือทางธรรม(สมมติ) ก็เหมือนกัน
อาจเคยได้ยินว่า “ไม่ต้องทำอะไร” อย่างนี้มันก็เคว้งซิ
ถูกต้อง เมื่อไม่มีอะไรให้ยึดให้เกาะมันก็เคว้งเป็นธรรมดา เพราะมันเคยหลงเกาะ เคยหลงยึดสะเปะสะปะมาก่อน เมื่อได้ปฏิบัติทำธรรมนั่นแหละมันกลายเป็นเนื้อหาที่ให้ได้เกาะ หาสภาวะให้ได้ยึดไปเรียบร้อย แนบเนียน ดูดีมาก
แล้วเคยพิจารณามั๊ยว่า อาการเคว้งนั่นน่ะคืออะไร มันคืออาการแสดงออกของ
ตัณหา – อุปาทานในการพยายามหาที่ยึดที่เกาะ เปรียบเหมือนลูกนกที่อ้าปากรอเหยื่อด้วยความหิวโหย เมื่อเราได้ทำตาม ที่มันเรียกร้อง โหวกเหวก โวยวาย ก็เท่ากับการให้อาหาร หรือ เติมเชื้อ เติมพลังให้กับกิเลสให้ทรงอิทธิพลมาครอบงำบีบคั้นจิตใจ ให้ต้องดิ้นรน เกิดการทำงานทางใจ ไม่รู้หยุดรู้หย่อน ได้อีกต่อ ๆไป แล้วเราจะส่งเสริมมันไปทำมัย...ให้สมุทัยได้เจริญ
ดังนั้น การปฏิบัติทำที่ให้มีหลัก หรือฐานเกาะ มันดูดี แต่พิจารณาดูดี ๆ เถอะ
จะเห็นได้ชัดเลยว่า เรามีโอกาสที่จะหลงเล่ห์เหลี่ยมของตัณหา – อุปาทานได้ง่ายๆ คือ วิธีการปฏิบัติในลักษณะทำธรรมกลับเป็นการเจริญเหตุแห่งทุกข์ไปซะเองโดยเนื้อหา แม้จะประสงค์หรือหวังว่าจะให้พ้นทุกข์ก็ตาม รวมทั้งเป็นการบิดเบือนและปิดบังสัจธรรมอีกด้วย ทั้งนี้แม้จะมี เป้าหมายของการปฏิบัติธรรมก็เพื่อการเข้าถึงธรรมแท้ (สัจธรรม) แต่ผู้ปฏิบัติไม่เคยเฉลียวใจเลยว่า มันไม่ตรงต่อสัจจะ แล้วจะเข้าถึงสัจจะได้อย่างไร
เล่ห์เหลี่ยมของตัณหา – อุปาทานที่แนบเนียนมากคือ การหลอกให้ผู้ปฏิบัติวกวนอยู่ในเนื้อหาของมัน ที่ดูดี มีหลักการ หลักเกณฑ์ที่พิจารณาตามตำราหรือเหตุผลแล้วก็ดูเข้าท่าดี ถ้าไม่เอะใจหรือแยบคายพอ หรือมีผู้รู้มาบอกกล่าวแล้ว มันจะเป็นการปฏิบัติที่หลงปฏิบัติ หรือปฏิบัติแบบหลง เพราะไม่ตรงต่อสัจจะ และบางทีกลับไปขัดแย้งกับสัจจะก็มี
ดังนั้น เมื่อปฏิบัติทำไปแทนที่กิเลส ตัณหา อุปาทาน มันจะหมดไป กลับกลายเป็นหลง ช่วยให้มันสามารถอยู่รอดได้ ดูภายนอกเหมือนมันลดลง แต่จริง ๆ แล้วมันเพียงแปลงร่างให้ละเอียดตามการปฏิบัติ ดูดีดังยึด สมจริงดังอยาก มันก็เลยไม่เอะใจ นิ่งนอนใจ หารู้ไม่ว่ามันได้ฝังลูกหลาน-เหลนของมันที่ละเอียดไว้ จนเหยื่ออาจตายใจได้ แต่เมื่อรากเหง้ามันยังอยู่ ก็พร้อมที่จะขยายเผ่า - แพร่พันธุ์ สืบภพ – ชาติได้อีก หากขาดผู้รู้จริง คอยชี้แนะ หรือผู้ปฏิบัติไม่แยบคาย หรือไม่ตรงต่อไม่...อยู่แล้วจริง ๆ ก็ยากส์... ที่จะรอดจากความหลงยึดอันละเอียดอ่อนนี้ได้
ดังนั้นอุบาย – วิธีการ –พิธีกรรมที่ทำขึ้นอาจใช้ได้ไปก่อน แต่ก็ให้ตระหนักอย่างถ่องแท้ว่ามันเป็นเพียงการอุปโลกน์เครื่องมือชั่วคราว คำนึงถึงสัจธรรมความเป็นจริงให้มาก กันหลงทาง
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #6 on:
22 December 2012, 12:55:02 »
ผู้ปฏิบัติอาจเคยได้ยินประโยคที่ครูบาอาจารย์ กล่าวว่า การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง นั่นแหละเป็นการละสมุทัยไปพร้อม นี้เป็นความจริง แต่มีสิ่งที่เราต้องเข้าใจเนื้อหาของคำกล่าวนี้อย่างลึกซึ้งด้วย จึงจะไม่ผิดทางและผิด(สัจ) ธรรม
การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งเป็นการละสมุทัยไปพร้อม
1. ในขบวนการรู้ทุกข์นั้น ต้องไม่มีเนื้อหาของการสร้าง หรือปรุง “รู้”ขึ้นมา ปราศจากความจงใจ หรือ เจตนาที่จะ “รู้” เพราะไม่อย่างนั้น มันจะกลายเป็นเนื้อหาของการเจริญตัณหาแทนที่จะละตัณหา คือไม่ว่าจะเป็นอาการคอย เฝ้า รอ กำหนด สังเกต แล เหลือบ เหล่ แช่ จม งม ฯลฯ อันนี้ล้วนแต่เป็นเนื้อหาของสมุทัยไปซะเองทั้งนั้น อย่ามัวแต่มุ่งที่จะรู้ทุกข์ให้แจ่มแจ้ง แต่ก็ไม่รู้ชัด(ขาดสัจจญาณว่านี้คือเนื้อหาของตัณหา อันเป็นสมุทัย)ว่าขบวนการรู้ทุกข์นั้นกลับมีเนื้อหาของตัณหา – อุปาทานแทรกเป็นยาดำไปตลอดสายซะแล้วตั้งแต่เมื่อไหร่
มันเหมือนได้รู้ ได้เห็นอย่างที่ตัวเองไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น ไม่เคยเข้าใจมาก่อนก็จริง
แต่มันเป็นการให้อาหารแก่อวิชชา ตัณหา อุปาทานไปด้วยนี้ซิ...แสบ... เพราะสติ สมาธิ ปัญญาที่เนื่องมาจากเจตนากรรม – จงใจทำ คือ ยอดแห่งหัวอาหาร
การรู้ทุกข์อย่างถูกต้อง หรือตรงต่อความเป็นจริงของกองทุกข์ เริ่มต้นจาก“รู้”ที่ไร้ความจงใจหรือเจตนาที่จะ “รู้”
รู้ลักษณะนี้เรียกว่า รู้เอง เห็นเอง ไม่ใช่(เรา)คอยรู้ ไม่ใช่(เรา)คอยเห็น ความรู้ ความเห็น ก็จะไม่มีใครเป็นเจ้าของคอยเสพ คอยยึด คอยครอบครอง
รู้ลักษณะนี้เป็นการรู้ตามธรรมชาติของธาตุรู้
รู้ที่เป็นธรรมชาติของธาตุรู้ คือ ตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร
การรู้ลักษณะนี้ จะพบได้ก็เมื่อไม่ให้ค่า ไม่ให้ความสำคัญกับการรู้เท่านั้น เพราะเมื่อไหร่ ที่เราให้ความสำคัญกับการรู้ ต้องรู้ ต้องเข้าใจ ต้องเห็น โดยธรรมชาติของ เวไนยสัตว์ชั้นสาวกภูมิ ซึ่งยังมีอนุสัยของความยึด ความอยากหนาแน่น – เหนียวหนืด มันก็อดที่จะทำ “รู้” “เอารู้” “in รู้”ไม่ได้ดอก จึงต้องกลายเป็นติดรู้ ยึดรู้ ไปเสีย...
สัจจะของทุกสภาวะ คือ ปราศจากความหมาย – ไร้ความแตกต่าง – ไม่เนื่องด้วยสิ่งใด ความหลุด – ความพ้น – ความดับ – นิโรธ – นิพพานไม่เกี่ยวกับรู้ หรือไม่รู้ ไม่เกี่ยวกับเข้าใจหรือไม่เข้าใจ เพราะมันมีอยู่แล้ว แต่ภาษาหรือด้วยความไม่รู้เรื่อง ชี้นำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดสัจจะ เช่น ให้รู้ ต้องรู้ ตอกย้ำการให้ค่าเชิงบวกจึงชี้นำสู่กิริยา = กรรม = การกระทำ “รู้”ให้เกิดขึ้น เป็นการให้ความ สำคัญ – หมาย - มั่น สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มากกว่าสิ่งอื่นนี้เรียกว่าธรรมะเกิดความเหลื่อมล้ำ ต่ำสูง หลงสร้างความแตกต่าง จนกลายเป็นความแตกแยก คือเกิดการเลือกข้าง เลือกฝ่าย เอา – ไม่เอาขึ้น เมื่อให้ความสำคัญกับสิ่งใด โดยเฉพาะการให้ความสำคัญในเชิงบวกไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทางโลกทางธรรมก็เหมือนกันคือ คนหลงที่มีอนุสัยความยึดความอยากมาก ก็ยิ่งอยากมี – อยาก เป็น – อยากได้– สะสม ภาษาที่ชี้นำก็ว่าสิ่งเหล่านี้ให้เจริญ แต่เนื้อแท้ลึก ๆ ก็คือ เป็นการเจริญการเอา หรือหาที่เกาะยึดไปด้วยนั่นเอง
เมื่อให้ความสำคัญกับสิ่งใดในเชิงลบ คนหลงก็จะรู้สึกไม่ดี มีอคติ, ปฏิฆะกับสภาวะนั้น เวลามันปรากฏ หรือยังไม่ปรากฏ ภาษายังชี้นำให้เข้าใจว่าต้องไปทำอะไรกับสภาวะเหล่านั้น เช่น อย่าให้เกิด เมื่อเกิดขึ้นก็ให้ชำระ ล้าง ทำลาย กำจัด ฆ่า ปหาน ขัดเกลา... ภาษาทั้งหมดล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย ปั่นป่วนในธาตุ – ขันธ์ หาความสงบเย็นพอที่จะอาศัยพึ่งพิงได้จริง ๆ ไม่มี เพราะมันขัดแย้งหรือไม่ตรงต่อสัจจะ สัจจะท่านว่าทุกสรรพสิ่งล้วนไม่ได้เป็นอะไร แต่การกระทำในทุกรูปแบบดังกล่าวกลับเกิดตัวตนวิ่งให้พล่านไปทั่ว พยายามที่จะอนุรักษ์ตัวตนไว้ ก็เลยสัจจะไปเสีย แทนที่จะหลุดอยู่แล้ว ก็กลับเป็นติดไปซะเองอีกต่างหาก
2. การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง
: อย่าให้มีเนื้อหาของการรอคอยความแจ่มแจ้ง เนื้อหาก็คือ รู้ที่สรุปลงตรงต่อความจริงอันเป็นที่สุดของสภาวะไปเลย ท่านเรียกว่า รู้จบ จบที่ความเป็นจริง สรุปลงที่ความเป็นจริง หรือ สัจจะ ของทุกสภาวะ( สามัญญลักษณะ คือไตรลักษณ์ ) เรียกว่าให้ รู้อยู่แก่ใจ อย่างซาบซึ้งหนักแน่น จนกลายเป็น สามัญสำนึก ถึงสามัญญลักษณะ นี้ไปเลย
: อย่าให้รู้มีเนื้อหาของการสะสมไปเรื่อย คือ รู้แล้ว ก็แล้วเลย ไม่รู้ก็แล้วไปเลยเช่นกัน
: การรู้ทุกข์ที่ตรงต่อความเป็นจริง จะเป็นลักษณะของการรู้จบ รู้ขาดตัว ไม่มีติ่ง ไม่มีหาง เช่น ความอาลัย อาวรณ์ ได้แอบอิงอาศัยและไม่แช่ในรู้นั้น รู้อย่างนี้ ท่านเรียกว่า รู้ที่ปราศจากอาสวะ หรือ อาสวขยญาณ อาสวักขยญาณ คือรู้ที่ไม่มีขยะตามมา
รู้ที่ไม่ให้ความหมาย ไม่มีเยื่อ – ใยของการยึด ติดมาด้วย รู้แล้ว – แล้วไป , รู้แบบไม่อะไรกับอะไร ตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร รู้ซื่อ ๆ ไม่มีกิริยากรรม ( ACTION)ใด ๆตามมา
ภาษาท่านว่า สักแต่รู้ สักแต่เห็น สักแต่ว่า เป็นรู้หรือปัญญาที่ตรงต่อสัจจะจึงเป็น รู้ที่ตัดรู้ เป็นปัญญาที่ตัดปัญญา ไม่ใช่รู้ติดรู้ ปัญญาติดปัญญา สังเกตดูซิ มันต่างกันนิดเดียวระหว่างสระอิ ตอ –อิ –ดอ-ติด กับสระอะ ตอ-อะ-ดอ-ตัด แต่ผลหรือเนื้อหามันต่างกันคนละทิศทางเลยทีเดียว
3. การละสมุทัย
ผู้ปฏิบัติมักจะเอาตัณหาไปละตัณหา โดยไม่รู้ตัวคือ เอากิเลส, ความอยาก, ตัวตน ไปปฏิบัติทำ เพื่อหวังให้หมดกิเลส หมดอยาก หมดตัวตน ซึ่งมันเป็นไปบ่ได้
ผู้ปฏิบัติ มักไม่รู้ หรือมองข้าม และ ละเลยหน้าที่ต่าง ๆ ใน อริยสัจ 4 ที่กล่าวเรียกกันว่า ปริวัฏ 3 อาการ 12 คือ สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ
รอบแรก คือ สัจจญาณ การหยั่งรู้เนื้อหา ( ระวังภาษานะ เดี๋ยวจะไปหลงทำ กิริยา หรืออาการ หยั่งรู้ ) ว่านี้คือทุกข์ หรือทุกข์คือดังนี้, นี้คือทุกขสมุทัย, นี้คือทุกขนิโรธ, นี้คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ซึ่งเป็นการหยั่งรู้ ถึงเนื้อของตัวสัจจะที่เรียกว่าทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคว่าคืออะไร รอบสอง คือ กิจจญาณ หยั่งรู้กิจต่อความจริง ทั้ง 4 ประการว่า
1. ทุกข์ให้รู้ ( อย่างที่ได้เคยอธิบายแง่มุมต่าง ๆ ในการรู้ทุกข์ และระวังภาษาด้วย )
2. สมุทัยให้ละ ( อย่างที่ได้เคยอธิบายเนื้อหาของการละที่ถูกต้องไว้แล้ว )
3. นิโรธ ทำให้แจ้ง
4. มรรค ให้เจริญ
รอบสาม คือ กตญาณ หมายถึง ได้หยั่งรู้กิจที่ได้ทำแล้ว (ระวังภาษานะ) ในแต่ละข้อ รู้แล้ว ละแล้ว แจ้งแล้ว เจริญแล้ว นั่นเอง
ที่ว่าผู้ปฏิบัติไม่รู้, มองข้ามหรือละเลย คือ เนื้อหาของ รอบแรก ของสัจจะทั้ง 4 มีแต่ตั้งหน้า – ตั้งตา – ตั้งใจ จะทำแต่กิจของรอบที่ 2 ซึ่งข้ามขั้นตอน (สมมติภาษาว่ามีขั้นตอน) มันก็เลย หน้าตั้ง ตาตั้ง
การรู้ทุกข์ก็จะเป็นการรู้ที่ไม่แจ่มแจ้ง เพราะเป็นการรู้ที่ไม่ได้บทสรุปถึงความเป็นจริงอันเป็นที่สุดของทุก ๆ สภาวะ
เนื้อหา หน้าตาของตัณหาก็ “รู้”ไม่ครบถ้วน รู้แต่ในรูปของภาษา – ความหมาย แต่ไม่รู้จักเนื้อหาจริง ๆ
เนื้อหาของความดับก็ไม่รู้ ไม่แจ่มแจ้ง ไม่เข้าใจว่า นั้นมีอยู่เองแล้ว ในทุกธาตุ –ขันธ์ ทุกสภาวะเป็นต้น แค่การนึกคิด พิจารณาถึงด้วยกำลังของปัญญาในขั้นสุตตะและจินตาก็ยังมองภาพไม่ออกเลยว่าจะพ้นจากความหลงผิดที่ยึดตัวยึดตนอยู่นี่ได้อย่างไร เรียกว่าแค่คิดก็ยังคิดไม่ถึงหรือมองภาพไม่ออกเลยว่าจะถึงความพ้นทุกข์ได้อย่างไร มีแต่บอกว่าให้ทำๆๆๆ...ไปเถอะ แล้วจะรู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง เดาสุ่ม งม หา รอคอย... จะทำให้ถึงความดับ ก็เลยยิ่งเพี้ยน!
อย่าลืมว่าเราเป็นสาวกภูมิ มิใช่พุทธภูมิ ให้เราทำเอง รู้เอง เข้าใจเองไม่ได้ดอก เพราะอนุสัยของความอยาก ความยึดของเรามันหนาแน่น และเหนียวหนืดมากๆๆ...ทำไปมันก็ยึดไป รู้ไปก็ติดไป เข้าใจแล้วก็ยึดในความเข้าใจ ตัณหาอุปาทานมันจะราดรดไปตลอดสายของการปฏิบัติทำ แล้วจะตรงต่อสัจธรรมเมื่อไหร่? ตรงต่อนิโรธอยู่แล้วได้อย่างไร? ถึงได้กล่าวว่า “แค่คิดก็ยังคิดไม่ถึง”ถ้าจะปฏิบัติให้มันถึงแล้วละก็ คงต้องพบกับความทุกข์ยาก ลำบากอย่างแสนสาหัสเลยทีเดียว ที่มันปฏิบัติแล้วทุกข์ยากลำบากก็ไม่ใช่จากอะไรดอก มันก็มาจากตัณหาอุปาทานนี้เองเป็นเหตุ
ทางสายกลางก็ไม่เข้าใจเนื้อหา มุ่งแต่จะทำ มันก็เลย... กลายเป็นติดฝั่ง แถมไม่รู้ตัวอีกว่าติด
• เราตั้งท่าที่จะคอยละตัณหา แค่ตั้งท่ามันก็เป็นตัณหาอยู่ในตัวซะแล้ว เลยกลายเป็นการเจริญสมุทัย เจริญกรรมอนุสัยใหม่ไปเรียบร้อย แล้วจะไปละอะไรได้จริง มีแต่เงาทั้งนั้นมันถูกกิเลสหลอกเอา...รู้บ้างมั๊ย... ที่เราตั้งท่าก็เพราะเราไม่รู้เนื้อหาของตัณหาจริงๆว่าหน้าตา - อาการของตัณหาอยู่ในรูปแบบไหนบ้าง คือ ขาดหรือไม่มีสัจจญาณของสมุทัย เหมือนจะไปจับโจร แต่ไม่รู้ว่าโจรหน้าตาอย่างไร อยู่ที่ไหน จับได้เหมือนกัน แต่เป็นลูกสมุนโจร โจรเล็ก โจรน้อย หรือไม่ก็แพะ
ส่วนโคตรพ่อโคตรแม่ของโจรเราไม่ได้แอ้มมันหรอก ปฏิบัติทำเก่งขนาดไหน มันก็ไม่กลัวหรอก ยิ่งปฏิบัติก็ยิ่งทำให้โมหะ – ตัณหา – อุปาทานได้กำลัง แล้วแปลงโฉมซะเพลิศแพรว ดูให้ดี ๆ ต้องเข้าใจให้ถูกว่า
- ไม่มีอะไรไปจบ ไปแก้ ไปแทนที่ ไปทำลาย ไปกำจัด ไปควบคุม ไปแทรกแซงอะไรได้จริง...หลอก
- การละที่แท้จะเกิดขึ้น เมื่อใจรู้ความเป็นจริงอันเป็นที่สุดของทุกสภาวะอย่างซาบซึ้ง แล้วไม่มีเจตนาเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย คือ เลิกหลงยุ่งไปซะเอง นั่นแหละ จึงจะจบเรื่อง หรือหมดเรื่องวุ่น ๆ มันก็ตรงต่อ สงบอยู่แล้ว ดับอยู่แล้ว ไม่ใช่สิ่งวุ่นวายอยู่แล้วทันที
โคตรพ่อโคตรแม่ของโจร ก็คือ ผู้ที่สั่งให้ไปจับโจรนั่นเอง แล้วโจรมันจะหมดโลกได้อย่างไร เหมือนกับที่ได้เปรียบเทียบเรื่องของยักษ์ ไว้ในเนื้อหาก่อนหน้านี้
ตัวที่ปรารถนาปัญญา หรือ วิชชาก็คือ อวิชชานั่นเอง หารู้ไม่ว่าใจเดิมจริง ๆ เค้าไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว ใจเต็มแล้ว ประภัสสร สมบูรณ์พร้อม พออยู่แล้ว ไม่ขาด ไม่พร่อง ไม่เกิน ไม่เลย การแสวงหาวิชชา ปัญญาท่านจึงเรียกว่า อวิชชาในวิชชา, ตัณหาในปัญญา, กิเลสในธรรมะ
ฟังดูเหมือนมันมีขั้น – มีตอน แต่ในความเป็นจริงของการปฏิบัติ (ระวังภาษานะ) แล้วไร้ขั้นไร้ตอน ภาษาของผู้รู้จะสามารถสะท้อนให้เราเข้าใจเนื้อหาของสัจญาณในรอบแรกได้เป็นอย่างดี เมื่อได้ฟังเนื้อหาที่ผู้รู้ท่านแสดงสัจจะของทุกธาตุ-ขันธ์อันเป็นกองทุกข์ว่า ว่างอยู่แล้ว
ปริยัติ • ไม่ใช่อะไรอยู่แล้ว
• ไม่ติดกันอยู่แล้ว
แยบคาย โยนิโสมนสิการ ใจแจ้งตามนั้น...มั๊ย • หลุดกันเองอยู่แล้ว
ศรัทธาต่อความเป็นจริง เห็นจริงตามนั้น...มั๊ย • วางกันเองอยู่แล้ว
ปฏิบัติ ใจก็ไม่อะไรกับอะไรตาม ไม่ตอกย้ำ สงบ
ตามท่านไปเลย ไม่ลังเลด้วย ปฏิเวธ เย็น
ดับ
เมื่อฟังธรรมจากองค์พุทธอรหันต์ มหาโพธิสัตว์ที่ท่านแสดงสัจจะแล้วเราก็จบตาม ไร้ - ไม่ - ดับตาม ฟังธรรมแล้วเห็นด้วยคล้อยตามก็ยังไม่ใช่ พยายามทำความเข้าใจเพื่อจะไปทำหรือไปปฏิบัติทำ ก็ไม่ใช่ ยิ่งมัวแต่ไปวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ เทียบเคียงกับความรู้เก่า ทิฐิเดิมอยู่นั่นก็ยิ่งไม่ใช่ แทนที่จะตรงต่อความดับ ความไม่ติดขัดข้องคา ความไม่ลังเลด้วย อย่างตรงๆ ซื่อๆ แต่กลับกลายเป็นความเยิ่นเย่อ เอ๊ะอ๊ะเสียเวลา เสียประโยชน์ตนไปซะอีก
คำว่า ไม่..ตาม – ไร้ตาม – ดับตาม หมายถึง ไม่ตั้ง – ไม่ต้อง – ไม่เจตนา – ไร้เจตนาที่จะทำรู้ –ทำดู –ทำเห็น –ทำความเข้าใจ –ทำการปล่อย –ทำการวาง
เนื้อหาคือ งดเว้นเจตนากรรมทุกรูปแบบ( ยกเว้น เพื่อบทบาท หน้าที่โดยสมมุติ อันเป็นไปเพื่อการเกื้อกูลสงเคราะห์) เพราะใจรู้เรื่องของสัจธรรมแล้ว ก็หมดสิ่งปรารถนา(โดยเจตนา) เลิกดิ้นรน เสาะแสวงหา ไม่ก่อเกิดเจตนากรรมสนองตามแรงดันของตัณหา – อุปาทานที่มาเชิญชวน ชักจูงให้กระทำกรรมใดๆ แล้วต้องเสวยวิบากอีกต่อไป เรียกว่า ภพชาติก็ไม่งอกเงย ดับเอง ตัดไปเอง ลดน้อยไปเอง
ปล่อยให้มัน “ไม่”กันเอง ซึ่งสัจจะเค้าก็เป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว ให้ไว้วางใจต่อสัจธรรมอย่างจริงใจ แท้จริง ไม่ต้องคอยคุม ไม่ต้องคอยประคอง ปล่อยชนิดไม่ต้องบันยะบันยัง เหมือนการกางนิ้วมือออกอย่างเต็มที่ ปล่อยชนิดที่ไม่ต้องเกรงใจอะไรทั้งนั้น ไม่ต้องกลัวไม่รู้ เกรงจะไม่เข้าใจ ห่วง หรือ กลัวจะเผลอไผล จะไม่ได้อะไร ๆ อาการที่บ่น ยึกยัก เอ๊ะอ๊ะ เอะอะ โหวกเหวกโวยวาย ลังเล สงสัย เกรง กลัว ห่วง ฯลฯ อยู่นั่นน่ะ มันอนุสัยของกิเลสหรือผลของกิเลสทั้งนั้น อย่าได้ไปเจ๊าะแจ๊ะ หมกมุ่น หรือสนใจ(โดยเจตนา) กับมันเด็ดขาด เดี๋ยวมันก็เฉาตายไปเอง
เพียงให้เรามีความเข้าใจความเป็นจริงอันเป็นบทสรุปถึงที่สุดของของเก่าเหล่านั้นไว้ให้ดี ๆ ๆ โดยเฉพาะ เวลามันเผลอ – หลงเข้าไปสนใจ ไปแช่ ไปจม ไปงม ไปทำต่อหรือทำต้านโดยไม่รู้ตัว นั้นก็ต้องยอมรับเพราะมันบังคับไม่ได้ เมื่อเผลอแล้วก็แล้ว แล้วไป อย่าไปขุดคุ้ยตอกย้ำอีกโดยเจตนา แล้วจะไม่เป็นเหตุให้เกิดการติดค้างอยู่ในใจในทุกแง่ทุกมุม ไม่ต้องไปหลงให้ค่ากับมันทั้งหมด ไม่ว่าจะดี -ไม่ดี, ถูก – ไม่ถูก, ใช่ – ไม่ใช่, ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ดีกว่านี้อีก กลายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการดิ้นรนทางใจไปเรื่อยๆ
เพราะการไปเจ๊าะแจ๊ะ แวะเวียนกับปรากฏการณ์ – สภาวะ มันเป็นการให้ อาหาร หรือเติมเชื้อยึด เชื้ออยากให้กลายเป็นยาง – เยื่อ – ใยกับกรรมอนุสัยเดิม ๆซึ่งมีแต่เรื่องเก่า ๆ
เพียงแต่เราไม่เจตนาแวะ ไม่ว่าจะแวะซอยไหนๆที่ว่าดูดีเช่นซอยวิจัย ซอยวิจารณ์ ซอยสังเกต ซอยพิจารณาไม่จงใจกำ ไม่ตั้งใจเกาะเกี่ยวเหนี่ยวรั้งอะไรไว้ การหลุดพ้น ก็เป็นไปเองอยู่แล้ว ความไม่ติด– ขัด – ข้อง – คา - วิมุติก็อยู่แล้ว นิพพานก็อยู่แล้ว เราอย่าได้ดิ้นเลยนิพพานไปซะเอง
อีกเนื้อหาหนึ่งของนิโรธ หรือนิพพาน คือ การดับลงของกิเลส กิเลสก็ดับอยู่แล้ว หมายถึง กิเลสก็มีความดับในตัวของมัน เรียกว่า ธรรมะในกิเลส เพียงแต่อย่าไปเป็นกิเลส ซ้อนผลิตผลของกิเลสเก่า ๆ(วิบาก) ที่ปรากฏขึ้นเท่านั้น ทุกข์ก็มีความพ้นทุกข์ ด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว กิเลสก็มีธาตุดับ ธรรมะก็มีธาตุดับ เอา – ยึดจริง ๆ ก็ไม่ได้ ไล่ – ผลัก – กำจัด ก็ไม่ได้
กล่าวได้ว่า ธรรมะกับกิเลสนั้นเสมอกัน ไม่ต่างกัน เหมือนกัน สิ่งเดียวกัน คือ ขันธ์เหมือนกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสัจจะในตัวของมันเองเสมอกันอยู่ทั้งสิ้น ไม่ได้ดีหรือแย่กว่ากัน ไม่ว่าจะในอดีต ปัจจุบัน อนาคต
- ไม่อยากนิพพานก็ไม่ได้ เพราะนิพพานอยู่แล้ว
- จะเอานิพพานก็ไม่ได้ เพราะถ้าเอาก็ไม่ใช่นิพพาน
คำว่า กิเลส ๆ ก็คือ สิ่งที่ขัดแย้งต่อความเป็นจริง ก็คือ ตัณหา - อุปาทานอีกอย่างที่ยังเข้าใจกันผิด ๆ คือ เข้าใจว่าอารมณ์ ความรู้สึก ความนึก ความคิดที่ไม่ดีเท่านั้นที่เป็นกิเลส เช่น ความหงุดหงิด โกรธ ชอบ ชัง อิจฉา...หรือนิวรณ์ทั้ง 5 สิ่งเหล่านี้ คราเมื่อมันเกิดขึ้นจริง ๆ แล้วมันก็แค่เป็นผลงานของ “ของเก่า” ถ้าจะจัดก็จัดอยู่ในกองทุกข์ ( ซึ่งหน้าที่ต่อทุกข์ นั้น ท่านให้รู้ความเป็นจริงของทุกข์ มิใช่ให้ไปทำการละทุกข์ )
ผลงานของ “ของเก่า” เรียกว่า วิบากนั้น การปรากฏขึ้นของมันจะเป็นไปตามเหตุ – ปัจจัย เช่น เคยเห็นแล้วรู้สึกชอบ เห็นอีกก็จะชอบอีก , เคยได้ยินแล้วไม่ชอบ ได้ยินอีก ความไม่ชอบก็จะปรากฏอีก ดังนั้นความชอบ และไม่ชอบนี้ ไม่จัดว่าเป็นกิเลส ถ้าจะจัดก็จัดเป็น กองทุกข์ –สภาวะทุกข์ชนิดหนึ่งเท่านั้น ซึ่งก็มีสัจจะเสมอกัน คือ ไม่ใช่อะไรที่แท้จริง หลุดอยู่เอง ดับอยู่แล้ว เหมือนกัน ต่อเมื่อเกิดแล้ว ก็มีการรับรู้ ระลึกรู้เองตามธรรมชาติ ทั้งประกอบด้วยความเข้าใจที่ตรงต่อความจริงอันเป็นที่สุดของทุกสภาวะ ไม่ทำตาม ไม่ทำต้านไม่ทำความสนใจ ไม่ใส่ใจกับสภาวะนั้น ก็จะเป็นทั้งรู้ และละไปพร้อมกับนิโรธรวดเดียวเลยโดยไม่ต้องมีขั้นตอน
ส่วนตัวกิเลสแท้ก็คือ อยากรู้ อยากดู อยากเห็น อยากละ เอา ไม่เอา ไม่อยากซึ่งจะแสดงออกมาอยู่ในเนื้อหาของเจตนากรรมนั่นเอง เช่น ทำตามความชอบ – ความไม่ชอบ, ทำต้านความชอบ – ความไม่ชอบ , ไปสนใจดู – สนใจรู้ – เฝ้าดู – เฝ้ารู้ เป็นต้น ดังนั้น การงดเว้นเจตนากรรมก็คือ การละตัณหาหรือละสมุทัยนั่นเอง ส่วนการมีเจตนากรรมในทุกรูปแบบ ที่จะปรุง – สร้าง –แต่ง-สภาวะขึ้น ไม่เว้นแม้จะเรียกว่า ปฏิบัติทำ เช่น เจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญา ก็ล้วนแต่เป็นเนื้อหาของการเจริญสมุทัยทั้งสิ้นด้วยเช่นกัน
เล่ห์เหลี่ยมอีกอย่างหนึ่งของ ตัณหา – อุปาทาน ก็คือ การคอยเช็ค การตรวจสอบ การทบทวน ซึ่งดูเหมือนดี แต่ลองพิจารณาดูซิ ว่า เช็ค – ตรวจสอบ – ทบทวนเพราะอะไร ? ก็เพราะมีการหวังผลอะไรบางสิ่งบางอย่าง โดยเฉพาะกลัวจะไม่รู้ – กลัวไม่เข้าใจ – กลัวหลง ลึกๆ ก็คือ กลัวตัวตน( Self )จะไม่ได้อะไร กลายเป็น “ตัวตน”สั่งให้เช็ค – ทบทวน –ตรวจสอบเพื่อ“ตัวตน” (อันเป็นความหลงผิด) ก็เลยตอกย้ำความหลงยึดอัตตาจอมปลอม ถ้าหากใจเราเด็ดขาด เด็ดเดี่ยวต่อไม่ต้อง...อยู่แล้วจริง ๆ สิ่งเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเอง
อาการของความคาดหวัง หรือประสงค์ต่อผลลัพธ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ก็เป็นเนื้อหาของตัณหา – อุปาทาน เช่นเดียวกันกับการเช็ค – ตรวจสอบ – ทบทวน –การประเมิน กลายเป็นการกระทำที่เข้าทางกิเลส ทั้งนั้น
ทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงกลไกของความหลงที่พยายามจะอนุรักษ์, พิทักษ์, รักษา “ตัวตน” (Self)อันเกิดจากความหลงผิด เข้าใจผิด กลัว(ความหลงว่าเป็น)ตัวตนจะหมดไปหรืออย่างไร ?
การเช็ค – ตรวจสอบ – ทบทวน นับว่าเป็นงานทางใจ เพราะต้องอาศัยเจตนากรรมนั้น สามารถทำได้ แต่... เนื้อหาก็เพื่อให้ตรงต่อสัจจะ เท่านั้น ไม่ใช่เช็คว่าทำได้ดีเพียงใด – ไม่ดีเพียงใด มีจุดอ่อน จุดแข็งตรงไหน ทำถึงไหนแล้ว ให้ผลเป็นอย่างไร หรือวางแผนที่จะทำอะไร ๆ ต่อไป เป็นต้น
การป้องกันไม่ให้เกิดปัญญาแตกซ่านในลักษณะอื่นๆไปเรื่อยๆจากการเช็ค-ทบทวน-ตรวจสอบนั้น ให้สรุป(จบ)ลงที่(ระลึกถึง-เตือนใจถึง-สำเหนียกถึง-คำนึงถึง= ตื่น!!!)สัจจะอันเป็นที่สุดของทุกสภาวะ(รวมทั้งสัจจะของการเช็คนั้นด้วย)ทุก ๆครั้ง นี่แหละ จึงจะเป็นปัญญาที่ตัดปัญญา เรียกว่า “สั้นสุด”และ“สุดสั้น” และการเช็ค การตรวจสอบ การทบทวน การวิจัย-วิจารณ์ในธรรมทั้งหลายทั้งปวงจะหมดสิ้นไปเอง เมื่อใจตรงต่อไม่ต้อง ไม่ตั้งจริงๆ จะตรงกับที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในตอนท้ายของทุกบรรพในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า “เธอเป็นผู้ไม่มีตัณหาและทิฐิเข้าอิงอาศัย และไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก
เจตนากรรม เอาไว้ใช้กับบทบาท หน้าที่ การงานโดยสมมุติทั้งหลายทั้งปวง และให้เป็นไปเพียงเพื่อช่วยเหลือ – เกื้อกูล – สงเคราะห์ – อนุเคราะห์เท่านั้น เป็นการใช้(ขันธ์)แล้วก็จะวาง(ขันธ์)ได้ง่าย ไม่ใช่-เป็น-แต่แบก(ขันธ์-สติ สมาธิ ปัญญา)ไว้ อันนี้คงไม่ต้องพูดถึงเจตนาในทางที่ไม่ชอบคือ ที่ก่อให้เกิดการเบียดเบียนหรือเห็นแก่ตัว(เอง) ไม่เว้นแม้แต่ทาน ศีล ภาวนา เรียกว่า เจตนากรรมใด ๆก็ตามให้ปลอดหรือปราศจากความปรารถนา คาดหวัง รอคอย เอา(โดยเจตนา) แทรกซึมอยู่ในความรู้สึกก่อนทำ ขณะทำ หลังทำ
เมื่อมีเจตนากรรมเป็นเหตุ ก็จะเกิดผลคือ วิบาก ตามมา อยู่แล้ว โดยไม่ต้องอธิษฐานขอให้เกิดผลอีกใด ๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งไม่อาจปฏิเสธ ผลกรรมใด ๆอันไม่พึงประสงค์นั้นด้วย ปลูกมะม่วงก็ได้ลูกมะม่วง ไม่ต้องตั้งปรารถนา – อ้อนวอน ขอร้อง บนบาน ให้ได้ลูกมะม่วง ฉันนั้น
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #7 on:
22 December 2012, 12:56:18 »
กฎแห่งกรรม
• หลงเจตนาทำ (ไม่รู้ตัว) เช่น
: ทำโดยอำนาจของความเพลิน ตามความเคยชิน คุ้นชิน ออกมาเป็นพฤติกรรม บุคลิก จริต นิสัยคือ เผลอทำ(หลงแล้วไหลตาม)
: เหมือนจะรู้ แต่ก็รู้ผิด เป็น มิจฉาทิฐิ แล้วทำ ไม่รู้ว่าทำไปด้วยหลง หลงสำคัญผิดว่าเข้าใจถูก ทำถูก เช่น ทำบุญ(ดี)แบบขอ(ตัณหา) รักษาศีล(ดี)แบบยึด(อุปาทาน) ทำพิธีกรรม วัตรปฏิบัติต่าง ๆ แบบอยาก หวังผล รอคอย หรือแม้แต่เข้าใจว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นเข้าถึงนิพพานได้ด้วยกรรมนั้นๆ(สีลัพพตปรามาส-สีลัพพตุปาทาน)
• เจตนาทำ (รู้ตัว) ก็มี เช่น
: แต่ทำไปโดยอำนาจของการผลักดันบังคับบัญชาของอวิชชา ตัณหา อุปาทาน แต่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่เฉลียวใจ อันนี้รวมถึงการปฏิบัติทำทุกอย่างอีกด้วย เช่นปฏิบัติไปด้วยความอยากมี อยากเป็น อยากได้ รอ เฝ้า คอย เพื่อให้มีสติ สมาธิ ปัญญา ก็เนื่องด้วย เจตนาทำขึ้น และยึดหรืออิน( in )โดยไม่รู้ตัวว่าผิดธรรม (แต่อาจจะปฏิบัติได้ถูกตามตำราหรือที่ครูอาจารย์สอน) และเนื้อหาของการปฏิบัตินั้น เมื่อไม่ตรงต่อสัจจะ ก็เลยเป็นมิจฉา... แต่ก็ไม่รู้ว่าที่ทำอยู่นั้นเป็นมิจฉา... แถมยังเข้าใจว่าเป็น สัมมา...หรือแม้แต่รู้อยู่ว่าไม่ตรง รู้อยู่ว่าการกระทำนี้เป็นไปตามความอยาก -ไม่อยาก แต่ก็ยังทำตาม ทำต้าน ที่มักพูดกันว่า “อดไม่ได้” นั่นเอง
: ทำโดยเนื้อหาที่มีสำนึกที่ตรงต่อสัจธรรมรองรับ เป็นไปเพื่อการเกื้อกูล สงเคราะห์ อนุเคราะห์ อันนี้ทำโดยอาศัย สติ - สมาธิ - ปัญญา โดยเฉพาะ สติ - สมาธิ - ปัญญา ที่เป็น อัตโนมัติ – อัจฉริยะ ( มีอยู่แล้ว) เจตนาดำริจะทำแล้วก็อัตโนมัติ – อัจฉริยะไปเลย มิได้ จดจ้อง ต้อง ตั้ง เฝ้า หมกมุ่น วุ่นวายและวกวน แช่... กับกิจหรือหน้าที่ – บทบาท
กิจกรรมนั้น ๆ ทำแล้วก็จะแล้วแล้วไปจากใจได้จริง ๆ จะไม่ติดค้าง โหยหวน คุกรุ่น อยู่ในจิตใจ เหมือนไฟสุ่มขอน ตกตะกอนนอนก้นจิต (ตอกย้ำการแช่-อนุสัย-อาสวะ)
ไม่มีเนื้อหาของการหวังผลใด ๆ(แม้แต่ความสุขใจอิ่มใจ ปลื้มใจ สบายใจฯ) ซึ่งจะเป็นแง่มุมให้ตัณหา – อุปาทานได้แอบแฝง (เพื่อตัวเอง)มาด้วย ภาษาว่า ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทำอย่างนี้ ทำจากความว่างรองรับ ไม่ใช่ทำจากความวุ่น ถ้าจะทุกข์ก็ทุกข์น้อย(เพราะมีสมุทัยไม่มาก)วิบากตีกลับมาให้เกิดความตึงเครียด กดดัน บีบคั้นให้ต้องหนักอกหนักใจไม่มาก ทั้งในระยะก่อนทำ ขณะทำ หลังทำ เรียกว่า กำ(กรรม-ทำ)เป็น ก็แบเป็น
เมื่อได้กระทำไปแล้วก็จะมีผลของการกระทำที่เรียกว่า วิบาก
- มีเจตนา – จงใจ – ตั้งใจกระทำดี เรียกว่า
ปุญญาภิสังขาร มีวิบาก(ผล)คือ บุญ ความสุข
- มีเจตนา – จงใจ – ตั้งใจกระทำเป็นกลาง ๆ เรียกว่า
อเนญชาภิสังขาร มีวิบาก(ผล)คือเฉยๆ กลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์
- มีเจตนา – จงใจ – ตั้งใจกระทำชั่ว เรียกว่า
อปุญญาภิสังขาร มีวิบากคือ บาป ความทุกข์
ไม่ว่าผล(วิบาก)จะเกิดจากเหตุอันใด-เมื่อไหร่ก็ตาม ล้วน “ชั่วคราว” ทั้งสิ้น!!!.. ไม่มียกเว้น
ทั้งหมดของชีวิตที่ดำเนินไป(ของมันได้อยู่เองแล้วตามวิบาก) ต่อเมื่อมีสัมมาทิฐิรองรับเป็นประธานแล้ว ชีวิต(จิตใจ)ก็จะเลิกหลงไปเองเรื่อยๆความหลงว่ามีตัว – มีตนก็ค่อยจืดจางไปเอง เรียกว่าหมดเนื้อหมดตัว เสียตัว - สูญตัว - ฆ่าตัว(ตน)ตายไปโดยปริยาย มีความเป็นอยู่แบบหมดอนาคต หมดอดีต (เพราะหมด-ไม่เกาะปัจจุบัน) หมดอาลัยตายอยาก อาลัยก็หมด(เพราะไม่อะไรกับอะไร) ความอยากก็ตาย(เพราะไม่เสนอและสนอง) (ดูความหมายของภาษาดี ๆ) ชีวิตจิตใจจึงค่อยตรงต่อคำท่านว่า “หมดสิ่งที่ปรารถนา ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ” ซะที!!!
การเสพ – เสวยผลของการกระทำ
หยาบสุด ถึง ละเอียดสุด จากอเวจีมหานรกถึงมนุษย์ เทพและพรหมทุกชั้นภูมิ (กามภพ – รูปภพ – อรูปภพ) ทั้งหมดล้วนแต่เป็นรูปแบบของการใช้กรรม คำว่า ใช้กรรม หมายถึง รับผลของเจตนากรรม ผลของเจตนากรรม เรียกว่า วิบาก เนื้อหาของวิบากมีค่าเท่ากับ ลำบาก นั่นเอง เป็นการซ่อนความหมายที่แท้จริงของทุก(ข์)ๆสภาวะมากับรูปศัพท์ภาษา
มโน หรือ ใจ มีธรรมชาติเดิมๆ คือ ว่าง โปร่ง โล่ง เบา ไม่มีน้ำหนัก ไร้ที่ยึดเกาะ ไม่มีขอบเขต อิสระ ไม่ต้องการสิ่งใด ไม่ต้องแม้แต่พยายามจะเป็นตัวมันเอง คือ มโน ไม่ได้พยายามเป็นมโน เพราะที่แท้มันก็ไม่ใช่อะไร ตัวมันเองยังไม่ยึดติดตัวมันเองเลย จึงปราศจากเจตนากรรมใด ๆ ทั้งสิ้น
ดังนั้น การกระทำต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เริ่มที่ใจนั้น เหตุผลักดัน – ขับเคลื่อนให้เกิด มโนกรรม ล้วนเกิดจากสิ่งปรุงแต่งอื่น(เจตสิก)ไม่ใช่จาก “มโน”เอง สิ่งปรุงแต่งที่สำคัญก็คือ ตัณหา - อุปาทาน จึงมีผลที่ทำให้ใจเกิดความบีบคั้น ตึงเครียด– ขาดอิสระ ความจงใจทางใจ – เจตนากรรมทางใจ หรือ มโนสัญเจตนา ยิ่งมาก ยิ่งทุกข์ เรียกว่า ทุกข์ใจ เมื่อ “ต้อง”ก็ตึง เมื่อ “ตั้ง”ก็หนัก ต้องมากตึงมาก ตั้งมากหนักมาก คือตึงใจ เค้าเรียกว่า ตึงเครียด หนักอก หนักใจ ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะใจถูกตัณหา – อุปาทานครอบงำ เนื่องจากขาดสัมมาทิฐิ เมื่อมีความเข้าใจที่ตรงต่อสัจธรรมจริงๆแล้ว ใจจะไม่ถูกตัณหา – อุปาทานครอบงำให้หลงจนเป็นทุกข์ ให้หลงตึงเครียดไปเอง เรียกว่า ไม่ต้องหลงไปทำลายอะไร หลงไปคอยละอะไร หลงไปปล่อยอะไร เพียงแค่เลิกหลงกำ เลิกหลงเกาะ เลิกหลงแกะ มันก็ตรงต่อหลุดกันเองอยู่แล้วทันที เพราะโดยเนื้อหาของทุก(ข์)ๆสภาวะมันก็เป็นเช่นนั้นอยู่แล้วจริง ๆ จึงว่า ให้ตรงต่อสัจธรรม
อ่านมาถึงตอนนี้ จะเข้าใจได้หรือไม่ว่า เจตนากรรมจะใช้ตอนไหน ?
เจตนากรรม : เอาไว้ใช้เพื่อการเกื้อกูล สงเคราะห์ อนุเคราะห์ ช่วยเหลือ แม้แต่การ เตือนใจก็เป็นเจตนากรรมที่ช่วยเหลือให้ “ใจ”ได้คลายจากการหลงยึด – หลงอยาก – หลงอารมณ์ แต่ไม่ใช่การเข้าไปทำอะไรกับสภาวะที่กำลังปรากฏ โดยไม่ใช่เพราะมันเป็นเรา หรือของเรา และเพื่อเอา หรือไม่เอาอะไร
ส่วนเรื่องภายในใจปล่อยให้แสดงออกอย่างเต็มที่เรียกว่า ปล่อยมันไป แต่ก็ไม่ใช่ทำตามทำต้านมันอีกด้วย กิริยา “ ตาม” โดยสัจธรรมแล้วไม่มี คือไม่มีอะไรตามอะไร ดังนั้น กิริยา “ตาม”ต้องมีเจตนา จึงจะก่อเกิดอาการ “ตาม”ได้ เมื่อใดตาม...ก็ติด ภาษาจึงว่า ติดตามหรือตามติด ดังนั้น “ใจ”ปล่อยให้มันว่าง คือ
- ว่างหรือปราศจากเจตนากรรม(งาน)ทุกรูปแบบ
- ให้ทุกสภาวะปรากฏ(เกิดของมันเอง) และเป็นไป(ดับเอง)อย่างอิสระเต็มที่ , สุด ๆ
- ปล่อยอย่างสุดจิต สุดใจ ปล่อยมันไปอย่างสุด ๆ เหมือนแบมือให้สุด
- (ไว้)วางใจ , จริงใจ - ศรัทธาต่อความดับ–ความหลุด–ความไม่ใช่อะไร–ว่างอยู่เองแล้ว ของทุกสภาวะ อย่างหมดจิตหมดใจ เรียกว่า (ไว้)วางใจต่อสัจธรรม ตรงต่อสัจธรรม นั่นแหละที่จะเป็นพลัง(พละ-อินทรีย์)ของความเด็ดขาดทางใจที่จะไม่ไหลตาม(ละ)ไปเอง
เมื่อดำริจะช่วยจะทำ (ใจก็รู้เองอยู่แล้วว่าสมควรช่วย? สมควรทำ? มีประโยชน์?) เมื่อดำริแล้วก็ทำเลย ฉับพลัน หรือหากยังไม่ถึงเวลาทำก็ไม่ต้องตอกย้ำ หมกมุ่น กับการคอยช่วย คอยทำ หรือวางแผนแบบเป็นตุเป็นตะ เป็นวรรคเป็นเวร การที่มีดำริแบบตอกย้ำ ซ้ำ ๆ ก็คือ หมกมุ่น กลายเป็นดำริที่ถูกตัณหา – อุปาทานแทรกซ้อนเข้ามาเรียบร้อยแล้ว
เราต้องฉลาดและเฉลียวใจเป็นด้วย มิใช่อาศัยความปรารถนาดีเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำอะไร ๆ ที่หวังจะเป็นการเกื้อกูล สงเคราะห์ แต่ถูกโมหะ ตัณหา ครอบงำซะเนียนเชียว แล้วก็ไม่รู้ตัว ต้องทุกข์ยากลำบาก ดิ้นรนเพราะการเกื้อกูล สงเคราะห์นั้น
บางทีก็ต้องรู้จักเตือนตนเองบ้าง ทบทวนให้ตรงต่อความจริงบ้าง กันหลง
: เมื่อเราต้องทำหน้าที่ – บทบาท (โดยสมมติ) ก็ทำแบบไม่เอาและไม่ in แล้วจะเป็นเนื้อหาของการคิดดี – พูดดี – ทำดีไปเอง ให้รู้อยู่แก่ใจถึงความเป็นสสมติของสรรพสิ่ง จะกันการหลงยึด ให้เป็นเหยื่อของตัณหา – อุปาทานในระหว่างการเกื้อกูล สงเคราะห์นั้น
: ทำแล้วก็ให้แล้ว ๆ ไป อย่าให้มีเนื้อหาของการหลงหมกมุ่น หลงเอาจริง หลงเอาจัง หลงเอาเป็นเอาตาย ตกหล่น ติดขัด ข้องคาอยู่ในใจ
: ถ้าทำหน้าที่แล้ว แต่ไม่แล้ว ๆ ไป การทำหน้าที่ – บทบาทนั้น ก็จะเป็นการสร้างเหตุแห่งทุกข์อยู่ร่ำไป
เรื่องของการเตือน ตรวจสอบ ทบทวน เช็ค ใหม่ ๆ ก็คงต้องมีบ้าง แต่อย่าให้เยิ่นเย่อ ยืดเยื้อ แตกซ่าน หรือเพื่อเอาความรู้ ความเข้าใจ ไม่อย่างนั้น จะเกิดตัณหาซ้อนปัญญา หรือเพื่อที่จะทำให้เต็มที่ ทำให้ถูกก็อาจกลายเป็นกิเลสซ้อนธรรมทันที
• ตรวจสอบก็ตรวจสอบได้ เพื่อให้ตรงต่อเนื้อหาของสัจจะธรรมที่ไม่ต้อง...อยู่แล้ว,ไม่ตั้งอยู่แล้ว ดับเองอยู่แล้ว
• เช็คก็ไม่ใช่คอยเช็ค อย่ามัวแต่เช็ค in เช็ค out – เช็คเข้า เช็คออกอยู่นั่น ถึงไหนแล้ว เหลือเท่าไร มีเท่าไร หมดเท่าไร มีอะไรเข้า อะไรออก เฝ้าอยู่นั้น เฝ้าธาตุ – เฝ้าขันธ์ นั่นเอง
• ทบทวนก็ทบทวนเพียงให้ใจตรงต่อความเป็นจริง สรุปลงที่ความเป็นจริงเรื่อย ๆ สรุปตรงต่อความเป็นจริงแล้ว ใจก็ยุติทำไปเอง
เมื่อใจตรงต่อไม่ต้อง...อยู่แล้ว มันจะยุติทำไปเอง
เมื่อใจยุติทำแล้วก็ถึงยุติธรรม คือ วิมุติ นิโรธ นิพพานอยู่เองแล้วเลยทันที
ยุติทำ เนื้อหาก็คือ ยุติภพ – ยุติชาติ, ตัดภพ – ตัดชาติ ยุติ(กรรม)ภพ (ความจงใจก็คือ
การเกิดชนิดหนึ่ง) ไม่สืบเนื่องต่อไปเป็นอุปัตติภพและชาติ ชรา มรณะในวงจรปฏิจจสมุปบาท ต่อไปเรียกว่า เมื่อ(ใจ)ยุติทำ (ใจ)ก็ตรงต่อความดับอยู่แล้วเลยทันที
สัจจะของธาตุแต่ละธาตุ สัจจะของขันธ์แต่ละขันธ์ ไม่มีอะไรที่ต้องเนื่องด้วยอะไร ตัวมันไม่มีเนื้อหาของความพยายามจะติด จะหลุดจากอะไร ตัวมันเองไม่เคยย้อนกลับมากำหนด หรือ พิจารณาตัวมัน หรือมาปฏิบัติตัวมันเองไม่ว่าจะแบบไหน ดังนั้น การที่ต้องเนื่องด้วย, มีเงื่อนไข, ข้อแม้, พยายาม,กำหนด,เอา,ไม่เอา, พิจารณา จึงเป็นเนื้อหาของโมหะ ตัณหา - อุปาทานที่พาธาตุ - ขันธ์ให้วุ่นวายไปซะเอง ของเดิมเค้าสงบอยู่แล้ว เรียบง่าย ไร้เงื่อนไข – ข้อแม้ ไม่มีเจตนากรรมอยู่แล้ว ใจ ก็ไม่ต้องแบบไหนกับใจ ไม่ต้องอย่างไรกับจิต ให้นอกเหนือวิถี วิธีการของการดำเนินทางจิตไปเลย เรียกว่าไม่ต้องทำใจ ก็เลยไม่ทำให้ “มโน”มีกรรม ไม่มีกรรมซ้อนมโน ให้ต้องเสวยทุกข์หรือวิบากทางใจอยู่ร่ำไป
การปฏิบัติ (ยืมภาษาพูดว่า)ให้ถึงความหลุดพ้นแล้วละก็ สิ่งแรกที่จะต้องหลุด ต้องพ้นคือ
หลุดหรือพ้น หรือออกจาก หรือนอกเหนือ หรือไม่เนื่องด้วยเจตนากรรมให้เป็นซะก่อน(โดยมีสัมมาทิฐิรองรับ)
นอกเหนือเจตนากรรมเป็นแล้ว – ได้แล้วนั่นแหละ จึงบรรลุถึงสิ่งที่มีอยู่เองแล้ว
ความหลุด พ้น คือ ความไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา หลุดกันเอง วางกันเองที่มีอยู่เองแล้ว
โดยธรรมชาติ อันนี้หลุดของจริงไม่ใช่ “เรา”หลุด ให้เข้าใจคำว่า “ของมันเอง”ให้ดีๆ ซึ่งเป็นของเดิมไม่ใช่ไปสร้างหรือปรุงการหลุดชนิดใหม่ ๆ ขึ้นมา ซึ่งแม้ว่าดูคล้ายดูเหมือน แต่ยังไงมันก็ของเทียม ไม่ใช่ของจริง
คาถากันหลงยึด – หลงอยาก – หลงเอา ธาตุขันธ์ก็คือ มันไม่ใช่ทั้งหมดนั่นแหละ
เพราะเมื่อไรก็แล้วแต่ที่เราว่าใช่ เมื่อนั้น ที่นั่น สภาวะนั้น จะกลายเป็นเป้าของอุปาทานทันที อุปาทานได้ที่ยึด ที่เกาะ สืบพันธุ์ แพร่เชื้อไว้ให้ขยายเผ่า ขยายพันธุ์สืบไป
ดูดีๆว่าที่ว่าใช่คืออะไร มันก็ไม่พ้นขันธ์ 5 ไม่ว่าสภาวะมันจะดูดี ดูใช่ขนาดไหน ขันธ์ 5 เป็นของหนัก เอา – อิง –อิน(in) ก็เท่ากับยึดขันธ์ 5 – 4 – 3 – 2 – 1 ก็หนักหน้าไปเรื่อยตามกำลังยึดกำลังอยาก และจำนวนขันธ์เท่านั้นเอง หมดแรงยึดแรงอยากจากตรงนี้ ก็ไปหาที่ยึดที่เกาะใหม่(ของเก่าๆ)ต่อไป หมดวิบากจากตรงนั้นก็ Re – cycleหรือReturn ไปรับวิบากที่อื่นต่อไปไม่รู้จบ
เมื่อใจเราซาบซึ้งและตรงต่อความเป็นจริงว่า ไม่ใช่ทั้งหมด มันก็คลายออกจากการหลงกำไปเอง กว้างขวาง ไร้ขอบเขต คืนสู่สภาพเดิมของใจ เดิม ๆ ไปเอง ว่าง โปร่ง โล่ง โพล่ง คือธรรมชาติเดิมๆของ “ใจ” อยู่แล้ว จึงไม่เนื่องด้วยความพยายามแม้แต่น้อย
การที่ใจมันหุบก็เพราะโมหะ – ตัณหา – อุปาทาน ที่แฝงมา อย่างแนบเนียนในรูปของการปฏิบัติทำ จงใจทำรู้ – ทำดู – ทำเห็น เมื่อจงใจทำใจก็เกิดกรรมเรียกว่ามโนกรรม ที่บีบคั้นให้ใจต้องคับแคบลง เกิดการจดจ่อ focus…ขึ้น มีขอบเขต ท่านเรียกสติแบบนี้ว่า “สติแบบจุ้มๆ” “สติแบบเอ๊าะเยาะ” “สติแบบเกิด” “สติหาเรื่อง” ไม่ใช่สติพ้นทุกข์ แต่เป็นสติติดทุกข์ - แบกทุกข์
ไม่ต้องทำอะไรๆเพื่อการปล่อย เพราะมันก็ไม่ยึดติดตัวมันเองอยู่แล้ว... เพียงแต่อย่าไปเจตนาเกาะ,ติด จม แช่ เพลิน อยู่กับสภาวะใดสภาวะหนึ่ง มิฉะนั้นจะมีเราเป็นผู้ปล่อย มีเราเป็นผู้เสวยผลสำเร็จ ไม่สำเร็จเรียกว่าปล่อยมันได้ เหลือแต่เรา!
ไม่ต้องทำการวาง เพราะมันก็หลุดกันเองอยู่แล้ว วางกันเองอยู่แล้ว...เพียงแต่อย่าไป กำอะไรไว้ โดยธรรมชาติของธาตุ – ขันธ์ไม่มีการกำ ไม่มีอะไรกำอะไร ตัวมันเองมันยังไม่กำหนดตัวมันเองเลย ( เพราะมันปล่อยกันเองตลอด) ดังนั้นตัวเจตนากำหรือเจตนากรรม เช่น การกำหนดก็คือจุดกำเนิดให้เหนียวแน่นกลายเป็น กำหนืด กำเหนอะ กำหนัด กำแน่น กำหนา กำถนัดๆ เป็นต้น ทั้งหมดก็ล้วนแต่เกิดจากเจตนากรรม โมหะกรรม กรรมกิเลสทั้งสิ้น
สติ – ศีล – สมาธิ – ปัญญา – ตัวรู้ – ตัวดู – ตัวเห็น เป็นเพียงสภาวะสมมติ หรืออุปโลกน์ขึ้น เพียงเพื่อใช้งาน แล้วก็แล้วไปด้วยตัวของมันเอง ไม่ใช่ไปพยายามรู้ ประคองรู้ รักษารู้ เอารู้อิน (in) รู้ ปรารถนารู้ แบกสติ ทรงสมาธิ ทรงฌาน ทรงญาณไว้ มันดูดีเฉย ๆ ของหลอกลวงทั้งนั้น นี้ไม่ได้กล่าวเกินจริงหรือปรามาสธรรมแต่อย่างใด แต่นี้คือ สัจจะ เพราะสิ่งเหล่านี้ก็ทำมาจากขันธ์ 5 ทั้งสิ้น แล้วจะไปพึ่ง – ไปยึด – อิง – อาศัยได้อย่างไรกันของอนิจจัง สิ่งแปรปรวนทั้งนั้น กุศลธรรมนั้นดีอยู่แล้วอย่างกุศลธรรม ให้ผลดีเป็นกุศลวิบากอยู่แล้ว แต่มันจะแปดเปื้อนทันทีที่เราไปทำธรรม ไปเอาธรรม ไปติดธรรม ไปยึดธรรม อาการดังกล่าวคือ เจตนารู้ ทำดู ทำเห็น เฝ้าตามรู้-ดู-เห็น-ระวัง-ประคอง-รักษาทรง เพียร พยายาม ปรารถนา ขยัน มุ่ง-หมาย-มั่น-รอคอย-แสวงหา-จม-งม-แช่-สาระวน เป็นต้น นี้แหละหน้าตาของ “กิเลสในธรรม”
ไม่ต้องทำ – ปรุง – สร้าง – แต่ง – ต่อ – เติม ฯลฯ เพราะระลึกได้ถึงความเป็นจริง(สัมปชัญญะ)ที่ “ไม่อยู่แล้ว ไม่ต้อง ไม่ตั้งอยู่แล้ว” นี้เรียกว่า สัมมาสติ เป็นสติวิมุติ สติวิโมก สติอริยะ ไม่ใช่สติหาเรื่อง เมื่อไม่เอาแม้ปัญญา ก็หมดเหตุที่จะทำให้ใจต้องมีงาน(มโนกรรม)ดิ้นรน – แส่ส่าย – รอคอยฯ มันก็สงบเอง ตั้งมั่นไปเอง เพราะมันไม่มีเหตุที่จะทำให้จิตเคลื่อนไม่ใช่พยายามทำให้จิตตั้งมั่น นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ (จิตตั้งมั่นเพราะไม่ทำ ไม่ใช่ทำจนจิตตั้งมั่น)
การมีความรู้ – ความเข้าใจที่ตรงต่อสัจธรรมความเป็นจริง จะไม่หลงทำรู้ – ดู – เห็น, ไม่หลงรู้ – in รู้ – เอารู้, in ดู -in เห็น, เอาดู – เอาเห็น ก็จะไม่ติดรู้ ไม่แบกรู้ ไม่ติดอยู่ในความเห็นความหมาย ก็คือไม่สลบอยู่ในทิฐิ มีแต่วางรู้ เรียกว่า ตัดซะรู้ หรือ ตรัสรู้ เป็นปัญญาที่ตัดปัญญาเอง เป็นเนื้อหาของสัมมาทิฐิล้วน ๆ ตรงต่อว่างอยู่แล้ว ไม่ใช่อะไรอยู่แล้ว ดับอยู่เองแล้วทันที ฉับพลัน
สติ – ศีล – สมาธิ ก็เพื่อปัญญา คำว่า ปัญญา เนื้อหา คือ รู้ชัด – รู้แจ่มแจ้ง - รู้จบถึงความจริงอันเป็นที่สุดของทุกสรรพสิ่ง(สัจธรรม) ความเป็นจริงที่กล่าวถึง คือ
- ว่างอยู่เองแล้ว วางอยู่เองแล้ว
- ไม่ใช่อะไรอยู่เองแล้ว
- หลุดกันเองอยู่แล้ว
- ไม่ยึดติดกันเองอยู่แล้ว
เนื้อหาของปัญญาที่แท้คือ ตัด ส่วนเนื้อหาของตัณหา – อุปาทาน คือ ต่อ-ติด-แต่ง-เติม-ตาม- ต้าน-ตั้ง-ต้อง….ปัญญาที่ตรงต่อไม่ต้อง...อยู่แล้วเท่านั้นที่จะตรงต่อเนื้อหาของปัญญาจริงๆ คือเป็นปัญญาที่ตัดปัญญา นอกนั้นแล้วจะเป็นปัญญาที่มีเยื่อ-ยางและใยในปัญญา อ้อยอิ่ง(สลบ)ในปัญญา คือ ไม่จบ ปัญญาก็จะกลายเป็นอนุสัยที่เรียกว่าทิฏฐาสวะ - ทิฏฐานุสัย-ทิฏฐุปาทาน มีทิฐิอิงอาศัย ก็ไม่อาจตรงต่อพุทธดำรัสในตอนท้ายของทุกๆบรรพะในสติปัฏฐานสูตรที่ว่า “เธอเป็นผู้ไม่มีตัณหาและทิฐิอิงอาศัย ไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก” คำว่า ไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก และไม่มีตัณหา – ทิฐิอิงอาศัย เนื้อหาคือ ว่าง ซึ่งก็ว่างอยู่แล้ว ไม่ใช่เจตนาทำว่างขึ้น หรือเจตนาจะอยู่กับอะไร แม้แต่ว่าง
เมื่อรู้ความจริงนี้อย่างเต็มอก – เต็มใจแล้ว รู้ชัดแล้ว(ตื่น!!!) จึงไม่ยุ่งด้วย ไม่วุ่นวายไปซะเอง มันก็ตรงกับว่างโดยเนื้อหาเดิมอยู่แล้วทันที ไม่ต้องรออะไรเพราะ “ว่าง”ไม่ใช่อะไรที่ต้องรอ มันว่างอย่างสมบูรณ์เต็มเปี่ยมอยู่เองแล้ว ว่างมันไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอะไร
ใจเค้าจะปล่อยวางเอง เนื้อหาของการปล่อยวาง คือ “ใจไม่สนใจ ใจ” ไม่ลังเลกับสภาวะใดๆ ไม่เอ๊ะอ๊ะกับปรากฏการณ์ภายนอกภายใน ไม่อะไรกับอะไร ไม่เข้าไปยุ่งกับสภาวะ ไม่ว่าจะทำตาม-ทำต้าน ไม่เกี่ยวกับการทำใจ คือ ไม่เกี่ยวกับจิตแบบไหน ไม่ใช่การพัฒนาจิต
เนื้อหานี้คือ ใจวางใจ ไม่ใช่ ใจ-ทำ-ใจจะให้เป็นอะไรๆ ให้ดียิ่งๆสุดๆ เรียกว่าใจเข้าใจใจ เมื่อใจไม่สนใจใจ ก็คือใจไม่สำคัญมั่นหมายใจ ใจจะคืนสภาพเดิมของใจเอง ใจก็ไม่ใช่อะไรอยู่แล้วทันที ใจก็ไม่ใช่ใจทันที แต่ที่ใจเป็นใจหรือใจเป็นอะไร ๆ ก็เพราะหลงรู้ – ดู – เห็นนี้แหละทำขึ้น รวมทั้งหลง(ทำ)ตามอนุสัยเก่าที่ผุดโผล่ขึ้นมาเอง เพราะเคยทำเหตุไว้
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “จิตเดิมแท้ประภัสสร” มิใช่พยายามจะทำใจให้ดีเลิศ แม้ความพยายามจะทำอะไรๆให้จิตหลุดพ้น ก็ยังเป็นความหลง หากเราเฉลียวใจสักหน่อยก็จะพอรู้ได้ว่าการเกิดความพยายามทั้งหลายทั้งปวงนั้น เนื่องมาจากความหลงยึดว่า จิตเป็นเรา จิตเป็นของเรา มีเราในจิต มีจิตในเรา และด้วยความหลงนี้เองผลักดันให้เกิดความดิ้นรนทางใจในทุกรูปแบบที่เรียกกันว่าการปฏิบัติ ไม่เว้นแม้แต่สิ่งที่เรียกว่าบุญทาน การกุศล
จิตหลุดพ้นจากอาสวะได้ เพราะความไม่ยึดมั่น
เรามักเข้าใจกันว่าจิตจะหลุดพ้น เพราะทำลายอาสวะหมด
คำว่า อาสวะ ตามนัยแห่งพระสูตร เป็นกิเลสระดับละเอียดมาก คนฟังแล้วทำให้รู้สึกว่าคงไม่มีปัญญาที่จะเอาชนะกิเลสชนิดนี้ได้แน่นอน รอชาติหน้า หรือไม่ก็ต้องอาศัยความเพียรมากชนิดต้องทุ่มเทเอาชีวิตเข้าแลก ผลที่เกิดเลยทำให้ผู้ปฏิบัติเกร็ง คาดหวัง รอคอย พยายาม สะสม...ต้องทุกข์ เพราะความเข้าใจผิด และปฏิบัติผิด กลายเป็นการเจริญเนื้อหาของตัณหา – อุปาทาน ซะแทน เหมือนส่งอาหารเสริมให้กับยักษ์ฉันนั้น
คำว่า อาสวะ แปลว่า กิเลสที่หมักดองสันดาน เป็นเนื้อหาคู่เคียงกันกับอนุสัย มีความหมายใกล้เคียงกับ อา-สะ-หวะ , สวะ ของสะสม – หมักหมม – ส่วนเกิน
เมื่อพิจารณาถึงกลไกการเกิดและความหมายของอาสวะจะพบว่า เกิดจากการ “แช่”ทุกๆรูปแบบ ไม่ว่าจะแช่ขันธ์ไหน คุ้นเคย เคยชินกับการแช่ แช่กับอกุศล ก็มี อาสวะ – หมักดอง – คุ้นเคยแบบอกุศล แช่กับกุศลก็มีอาสวะ – หมักดอง – คุ้นเคยแบบกุศล แช่กับกลาง ๆ ก็หมักดองแบบกลาง ๆ คือ อุเบกขา – คุ้นเคยกับอุเบกขา ให้เข้าใจ คำว่า “แช่” นี้ให้ดีๆสภาวะแช่จะเกิดได้ก็ ต้องอาศัยเจตนากรรม คือ ความจงใจ – ตั้งใจ(บางทีจนเป็นอัตโนมัติ เหมือนไม่ได้มีเจตนา) ทั้งสิ้น ถ้าหากไม่จงใจ – ตั้งใจ หรือเจตนาเสียแล้ว การแช่ก็ไม่อาจจะมีได้ – เกิดได้
แต่ก็ให้เข้าใจโดยบทสรุปที่ตรงต่อสัจจะไว้ด้วยว่าเพราะความคุ้นชินเดิมที่ลึกซึ้งมากก็จะเผลอแช่ หลงเข้าไปแช่ โดยไม่รู้เท่าทัน นั่นก็ช่วยไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่จะอยู่ภายใต้ความบังคับบัญชาของใครได้ แต่ก็ให้รู้ไว้ด้วยว่า แช่ก็แช่ไม่จริง มันก็เพียงหลงแช่เป็นพัก ๆ เท่านั้น เพราะตัวจงใจ – ตั้งใจ – เวทนา มันก็หลุดอยู่แล้ว ดับอยู่แล้วได้เอง มันจึงไม่อาจที่จะแช่ได้ตลอดเวลา เราจึงไม่ต้องกลัว ระแวง ระวังการแช่ การเผลอ ( เพียงแต่ไม่มีเจตนาแช่ ทั้งที่รู้ตัว)
การแช่ที่รู้ตัวได้ยาก เพราะการแอบแฝงของกิเลส มันเนียนมาก คือ แฝงมากับการปฏิบัติ ทำให้ผู้ปฏิบัติไม่เอะใจ ไม่เฉลียวใจ ว่าเจตนากรรมที่กระทำนั้น กลับกลายเป็นกลไก หรือที่อยู่ที่อาศัยให้เป็นที่ยึด ที่เกาะของอุปาทาน ได้รอการงอกราก - ออกต้น – ออกดอกสืบภพ-ชาติต่อไป
ที่แนบเนียนมากก็คือ แช่รู้ แช่ดู แช่เห็น ทำดูจนชิน ทำเห็นจนชิน ทำรู้จนชิน หรือชำนาญในการรู้ ชำนาญในการดู ชำนาญในการเห็น อาจเรียกได้อีกอย่างว่า วะสี
ที่ไม่เอะใจก็เพราะ รู้สึกว่า – เห็นว่า – เข้าใจว่า คาดว่า เดาว่า ตรงต่อตำรา ตรงต่อคำสอนของครูบาอาจารย์ และรู้ได้เฉพาะตนว่า เข้าใจอะไร ๆ มากขึ้น ปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น จิตใจตัวเองมีความเป็นกลางมากขึ้น กวัดแกว่งน้อยลง
ดูแล้วก็น่าจะใช่แน่ แต่...เอาเข้าจริงทั้งหมดนั้น ไม่น่า... ไม่ใช่... ไม่แน่... ทั้งสิ้น
ลองพิจารณาดูก็ได้ว่าเพราะอะไร
• ความชำนาญ ความคุ้นเคย ความคุ้นชิน พวกนี้มาจากไหน ก็มาจากหลงเจตนาทำ แล้วหลงเจตนากรรมนี้มาจากไหน ก็เพราะความไม่รู้เรื่องของสัจธรรมอย่างท่องแท้หลงผิดว่ามีตัวตน ก็เลยจะปฏิบัติให้มีนั่น-นี้ แล้วคาดว่า หวังว่า(=เดา)จะได้หมดตัวตน ก็คือ หลงปฏิบัติทำ หลงธรรมะ กลายเป็นธัมมะตัณหา หารู้ไม่ว่าความชำนาญ(วสี)ใด ๆ ที่เป็นผลิตผลจากการจงใจทำขึ้น มันได้ฝากความหลงผิดที่เข้าใจว่าเป็นตัว, เป็น ๆ ๆ…ไว้กับความชำนาญนั้นเรียบร้อยแล้ว แล้วมันจะหมดจริงได้อย่างไร? มีแต่จะกลายเป็นการ “งมเงา” ของมายากรรมไว้หลอกหลอนให้เกิดพฤติกรรมทางใจไปเรื่อยๆเท่านั้นเอง
• โดยเนื้อหาที่เป็นธรรมชาติหรือสัจจะของธาตุ – ขันธ์แล้ว มันไม่เคยย้อนกลับมาดูตัวเอง การกระทำในลักษณะของการสังเกต – ดู – รู้ – เห็น จึงเป็นเพียงสภาวะที่อุปโลกน์ขึ้น – สมมติขึ้น หรือ ปรุงแต่งขึ้นชั่วขณะ เพื่อประโยชน์บางสิ่งบางอย่างเท่านั้น ไม่อาจที่จะไปสรุปว่า ถูก – ใช่ – แน่ พอที่จะยึดถือเอาเป็นสรณะ เป็นที่พ้นภัยได้จริง
• เราถูกอวิชชาหลอกให้แสวงหาวิชชา มากำจัดตัวอวิชชา มันจะเป็นไปได้อย่างไร? แต่ที่เป็นไปได้แน่ๆ คือ เป็นอวิชชาในวิชชา เป็นปัจจยาการของสังสารทุกข์ไม่รู้จบ
• แล้วการที่ต้องย้อนกลับมาดู หยิบใจขึ้นมาดู ย้อนกลับมารู้ เพราะอะไร?
การที่ใจต้องย้อนกลับมารู้ใจ ดูใจ เพราะมีความไม่ไว้ใจ ไม่วางใจ ระแวงใจ...ใช่มั๊ย!!
ซึ่งจริง ๆ ของเนื้อหาที่ ไม่ไว้ใจ – ไม่วางใจ – ระแวงใจ ก็คือ ยึดจิต ติดใจ คือยังมีอุปาทานในธาตุรู้ที่สมมติเรียกว่า “ใจ” ยังไม่สนิทใจเต็มที่ว่า “ใจแบบไหนก็ไม่ใช่ทั้งนั้น จริงๆ”
• ตัวหลงรู้ เอารู้ เอาปัญญา นี้แหละสำคัญมากที่ทำให้เกิดการแช่รู้ แช่ดู แช่เห็น ถ้าใจตรงต่อความเป็นจริงอันเป็นบทสรุปของสัจธรรมซะแล้ว การหลงคอยอยู่ก็จะไม่มี ขบวนการที่จะจงใจแช่ก็ไม่เกิด ความลังเล สงสัยต่อสภาวะสถานการณ์ก็หมดไปด้วย หรือถ้าจะผุดโผล่ขึ้นมาก็ด้วยแรงส่งของวิบาก(อนุสัย)ที่เคยมาก่อน ก็ละได้ผ่านได้ ไม่หลงตอกย้ำ วกวน ติดอยู่ไปเอง
ท่านผู้รู้จึงได้แสดงให้เห็นความจริงไว้ว่า เมื่อทุกสรรพสิ่ง
• ว่างอยู่แล้ว
• ไม่ยึดกันเองอยู่แล้ว
• หลุดก็หลุดกันเองอยู่แล้ว
• สมบูรณ์ที่สุดอยู่แล้วโดยความไม่ยึดติด
สิ่งที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่แล้ว โดยธรรมจริง ๆ จึงไม่ต้องการสิ่งปรุงแต่ง (สังขาร)อีก จึงไม่เกี่ยว ไม่ข้อง จึงไม่เนื่องด้วย สิ่งปรุงแต่ง ชนิดไหนอีก
ท่านจึงกล่าวว่า มันพออยู่แล้วเรา อย่าไม่พอไปเสียเอง
ไม่เกี่ยวกับรู้หรือไม่รู้ ไม่เกี่ยวกับเห็นหรือไม่เห็น ไม่เกี่ยวกับเข้าใจหรือไม่เข้าใจนั่นแหละ รู้ถูก เห็นถูก เข้าใจถูก นี้คือ สัจจะ
ผู้ฟังก็เพียงแต่ตรงต่อความเป็นจริงนั้น ก็จะค่อยยุติเจตนากรรม ยุติทำ ยุติทำตาม ยุติทำต้าน ก็จะไม่หลงรู้ หลงดู หลงเห็น หลงความเข้าใจ และจะไม่ยึดรู้ ยึดดู ยึดเห็น ยึดความเข้าใจ แล้วก็จะไม่มีปฏิฆะ กับไม่รู้ ไม่ได้ดู ไม่ได้เห็น ไม่เข้าใจ หรือสิ่งที่ขัดแย้งต่อความเข้าใจของตน
เมื่อไม่เอารู้ ไม่เอาเข้าใจ ก็จะไม่ลังเลและไม่สงสัยกับสภาวะ (นิวรณ์ธรรม) เอ๊ะอ๊ะนั่นนี่แล้วก็งี่เง่า ( งี่เง่าคือไม่รู้ว่าหลงรู้ หรือยึดรู้ ) ใจก็ผ่านตลอด สภาวะก็ผ่านตลอดอย่างสภาวะ คือ ไม่ก้าวก่ายกัน ก็ไม่เกิดการเบียดเบียนกันของธาตุ – ขันธ์ คือ สามัคคีธรรม-สมังคี เรียกได้ว่า ทุกสภาวะ – ธาตุ – ขันธ์ สัจจะของเค้า คือ ความไม่เนื่องด้วยสิ่งใดๆ อยู่แล้ว อิสระจากกันอยู่แล้ว เมื่อใจตรงต่อความเป็นจริงนี้ ใจก็ยุติการแสวงหา คือใจยุติทำ (เลิกหลงการกระทำทางใจ เลิกหลงสร้างความจงใจทางใจ ทางวจี ทางกายเพื่ออะไร ๆ ๆแม้แต่จะให้ถึงซึ่งพระนิพพาน...นี้แหละ “จบกิจ”) จึงจะตรงต่อความยุติธรรม (พระนิพพาน) เรียกว่า ยุติทำ (ใจ) ก็ถึง ยุติทุกข์ (ใจ) คือเลิกหลง เลิกเลย เลิกเกิน นิพพานไปซะเอง...ซะที
และต้องเข้าใจให้ถูกด้วยว่า การไม่ปฏิบัติทำ
• ไม่ใช่...ไม่มีรู้ ไม่ใช่ไม่มีสติ ไม่ใช่ไม่มีสมาธิ ไม่ใช่ไม่มีปัญญา
• ไม่ใช่...ไม่เห็น
• ไม่ใช่...ไม่เข้าใจ
• ไม่ใช่...การเผลอเพลิน เตลิดเปิดเปิง ฟรีสไตล์ จะทำอะไรก็ได้
“มี”ทั้งหมดนั่นล่ะ แต่มีแบบไม่มี “ตัวเอง”เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงไม่สำคัญมั่นหมายในการมีนั้นๆ เรียกว่า “มี”แบบไม่หลงมี จะมีแบบไม่เป็น “ วิปัสสนูปกิเลส”
มีแบบ “รู้อยู่แก่ใจ”หรือโดย “สามัญสำนึก”ว่า “ไม่ใช่” ใจก็จะไม่หลงยึดความมี.. ความเป็น..
และมีแบบของมันโดยอัตโนมัติอัจฉริยะ แบบแล้ว ๆ ไป ซึ่งผิดกับ มีสติ สมาธิ ฌาน ญาณ ปัญญา แบบทำขึ้น ปรุงขึ้น สร้างขึ้น แต่งขึ้น มันจะมีแบบไม่แล้วแล้วไป และง่ายที่จะติด ง่ายที่จะแช่ ก็คือ กลายเป็นเนื้อหาของการติดยึดโดยไม่รู้ตัวเอง คำว่า “ไม่ใช่” ไม่ได้หมายถึง การปฏิเสธภาวะ แต่หมายถึง การรู้ชัดถึงความเป็นจริง(สัจธรรม)ของทุกสภาวะว่า “ชั่วคราว” ไม่ใช่สิ่งจริงแท้พอที่จะพึ่ง –-พิง – อิง - เอาอะไรกับสิ่งนั้นได้
มีศรัทธา แต่ไม่ติดศรัทธา ไม่ใช่ไม่มีสติ แต่หมายถึงไม่ติดสติ
ไม่ใช่ไม่มีสมาธิ(ฌาน) แต่หมายถึงไม่ติดสมาธิ(ฌาน)
ไม่ใช่ไม่มีปัญญา(ญาณ) แต่หมายถึงไม่ติดปัญญา(ญาณ)
มีอย่างนี้จะไม่หนัก เพราะมันไม่แบก ไม่หนักไม่ตึงเพราะไม่ตั้ง ไม่ต้อง ทำให้ลดงานทางใจ
หมายเหตุ : ในตำรากล่าวถึง “วิปัสสนูปกิเลส” ว่ามี 10 อย่างคือ
1. โอภาส (แสงสว่าง)
2. ญาณ (ความหยั่งรู้)
3. ปีติ (ความอิ่มใจ)
4. ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น)
5. สุข (ความสุขสบายใจ)
6. อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ ,ศรัทธาแก่กล้า ,ความปลงใจ)
7. ปัคคาหะ (ความเพียรที่พอดี)
8. อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า, สติชัด)
9. อุเบกขา (ความมีจิตเป็นกลาง)
10. นิกันติ (ความพอใจ, ติดใจ)
ลองพิจารณาดูแต่ละอย่างซิ ล้วนดีๆทั้งน้านนน!...มันมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะหลงยึด หลงติดอยู่(โดยไม่รู้ตัว) ถ้าเทียบกันระหว่างว่าสิ่งเหล่านี้คือเป้าหมายที่นักปฏิบัติจะให้มี ให้เป็น ให้ปรากฏ ต่อเมื่อมันมี มันเป็น มันปรากฏด้วยฝีมือ(ทำขึ้นแล้วมี=ลูกของตนเอง)ของตน มันมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะหลงยึดหลงติดสิ่งเหล่านี้(ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวว่าหลง) หากเทียบกับการที่เรารู้อยู่แก่ใจว่า “ไม่ใช่” ก็จะไม่หลงตั้งเป้าหมายล่วงหน้า และมิได้ทำ(ทิ้ง –วาง-ปลง)แล้วเมื่อมี เมื่อเป็น เมื่อปรากฏ(เหมือนเลี้ยงลูกของคนอื่น) โอกาสจะหลงยึดหลงติดย่อมน้อยกว่าอย่างแน่นอน(ถ้ายังจะมีก็เพราะความหลงติดลมมาแต่เดิมบ้างส่งผลไป)
การรู้ – เห็นแบบเป็นเอง โดยธรรมชาติอัตโนมัติ – อัจฉริยะนี้ มีอยู่แล้ว เพียงแต่ก่อนนั้น
• ไม่มีผู้รับรอง – บอกให้รู้ ให้เข้าใจความเป็นจริงของมัน
• ใจยังไม่ตรงต่อไม่ต้อง...อยู่แล้ว (ขาดสัมมาทิฐิรองรับ)เรียกว่า “ไม่เป็น”
จึงหลงสภาวะที่เป็นเอง ที่เป็นอัตโนมัติ โดยเข้าไปผูก – มัด – จม –งม- สาระวน- จด – จ้อง – กำหนด – เพลินตาม เพราะหลงผิดต้องวุ่นวายไปกับการหลงให้ค่ากับสิ่งที่มันเป็นของมันอยู่เช่นนั้นแล้วว่า ดี – ไม่ดี, ใช่ – ไม่ใช่ ไปหลงเชื่อว่าเป็น “เรา” เป็นของของเรา จึงเลยที่ดับอยู่แล้ว นิโรธอยู่แล้ว วิมุติอยู่แล้วไปเสีย กลายเป็นหลงไม่จบไปซะเอง แต่ธรรมโดยธรรม มันจบอยู่แล้ว พออยู่แล้ว ไม่เนื่องด้วยอยู่แล้ว เมื่อไม่มุ่ง – พุ่ง – จม – จ่อ – จ้อง – กำหนด – หา – รอ – คอย – เฝ้า มันก็ไม่เลยที่ดับอยู่แล้ว คือตรงกับพอทันที ดับอยู่แล้วทันทีโดยเนื้อหา
ความพ้น(จากอุปาทาน)ทุกข์(ขันธ์) ไม่เกี่ยวกับ
กรรม อันเป็นจุดให้เกิดกรรมใหม่ (ความจงใจ)ทำเหตุซ้อนวิบากไปเรื่อย ๆ ที่เรียกว่า วงจรปฏิจจสมุปปบาท อันเป็นปัจจยาการของทุกข์ไม่รู้จบ
ตัวตน หรืออย่างน้อยก็ไม่ตอกย้ำ ความหลงผิดในเนื้อหาของ ความเป็น... ความรู้สึกว่าเป็นตัวตนจะหายไปได้ เมื่อใจตรงต่อสัจธรรมที่ ทุกสรรพสิ่งปราศจากความเป็น... อยู่แล้ว
พิธีกรรม วิถี วิธีการ หรือ วัตรปฏิบัติต่าง ๆ อันเป็นเทคนิค กุศโลบายของผู้รู้ได้ชี้แนะพาทำมา แต่ถ้าเนื้อหาไม่ตรงต่อสัจธรรม หรือเราไม่เข้าใจเนื้อหาที่แท้ของพิธีกรรม วิถี วิธีการ การปฏิบัติจะกลายเป็นสิ่งที่ปิดบังสัจธรรมทันที และอาจจะเป็นที่มาของความหลงยึดติดในเทคนิค วิธีการ พิธีกรรม ที่เรียกว่า สีลัพพตปรามาส-สีลัพพตุปาทานไปอย่างแนบเนียน
การดิ้นรน – แสวงหา – รอคอย : โดยธรรมมันสมบูรณ์อยู่แล้ว มันพออยู่แล้ว ไม่มีอะไร คอย – รอ อะไรอยู่แล้ว การดิ้นรน – แสวงหา – รอคอย ล้วนแต่เป็นอาการของตัณหา – อุปาทานทั้งสิ้น แม้แต่เพื่อจะให้มีให้เป็นสติ – สมาธิ – ปัญญา ก็เหอะ
เมื่อใดที่ใจมีอาการ ดิ้นรน,รอคอย,แสวงหา, เฝ้า,เอา,หนี,สู้,เอะอะ,โวยวาย...ให้รู้เลยว่ากิเลสกำลังเดือดร้อน มันจึงกำลังดิ้นหาทางสืบภพสืบพันธุ์อยู่ ถ้าเราหลงกล หลงเล่ห์เหลี่ยมไปสนใจมัน ทำตามไป แค่สนใจนี่ก็เกินพอแล้วสำหรับการ ฝังลูกอ่อนของตัณหา – อุปาทาน
ซึ่งการสนใจ โดยไม่เจตนานี้ ห้ามไม่ได้ เรียกว่า เผลอสนใจ ตามความเคยชิน ต่อเมื่อรู้ตัว - รู้สึกตัวแล้ว และใจก็ตรงต่อไม่ต้อง...อยู่แล้ว จริง ๆ การเจตนาสนใจซ้อนลงไปอีก จะไม่เกิดขึ้น คือ ไม่หลงเจตนาสนใจซ้อนความเผลอสนใจในตอนแรก ตรงกับที่กล่าวว่า ไม่ทำกรรมอันเป็นเหตุใหม่ซ้อนผลจากกรรมอนุสัยเก่า เมื่อเป็นดังนี้ “การหลงรู้” จะจืดจางไปเอง
ความสำคัญมั่นหมายจะไม่มีการพอกพูนสืบไป คือ ไม่เจริญอุปาทานไปซะเอง ก็จะเป็นเนื้อหาที่ว่า เผลอแล้ว แล้วไป, รู้แล้ว แล้วไป, เอ๊ะอ๊ะแล้ว แล้วไป มิได้มีเจตนาเอ๊ะอ๊ะกับการที่ใจเผลอไปเอ๊ะอ๊ะตามความคุ้นชินเดิมโดยไม่ได้ตั้งใจ ที่มันเผลอไปเอ๊ะอ๊ะก็เพราะมันเคยเอ๊ะอ๊ะ เคยทำ เคยยึด เคยอยาก เมื่อเกิดสถานการณ์เดิมๆอีก หรือมีเหตุที่ไม่ได้ดังยึด ดังอยาก ดังที่คุ้นเคยอีก มันจึงเกิดอาการเอ๊ะอ๊ะขึ้นดังกล่าว ดังนั้น หากมีอาการใดที่เกิดเองเป็นไปเอง ก็ให้ตื่นถึงสัจธรรมของอาการดังกล่าวคือแล้วแล้วไปเอง มันก็ดับกันไปเอง อย่าได้หลงไปตอกย้ำ(ทำ)ความเคยชิน – ผลของงานเก่าๆ เพราะไม่มีประโยชน์อันใด แถมมีทุกข์โทษอีกต่างหาก
ในบทบาท – หน้าที่ การงานภายนอกตั้งแต่เรื่องของรูปกายออกไปก็ปรับ – เปลี่ยน(กรรม-เหตุ)กันไป สภาพปัญหา(ผล-วิบาก)มันก็แปรเปลี่ยนไปตามเหตุ - ปัจจัย ซึ่งก็ไม่มีวันจบวันสิ้นหรอก ดังนั้นจึงอย่าให้การปรับ – การเปลี่ยน(กรรม)นั้นเป็นเรื่องจริงจังจนหมกมุ่น จมปลัก หมดเนื้อ หมดตัวก่อให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น
ส่วนเรื่องปรากฏการณ์ภายในจิตใจให้เข้าใจเด็ดขาดไปเลยว่า “ไม่ต้องแก้” นั่นแหละคือ การแก้ เพราะอะไรๆ ก็ไม่กำตัวมันเองอยู่แล้ว คลาย – หลุดกันเองอยู่แล้ว อย่าอยากลืม เพราะนั่นคือการตอกย้ำสัญญาให้ยิ่งจดจำมากขึ้นแล้วจะลืมได้อย่างไรก็ฉันนั้น มิฉะนั้นจะเป็นการหลงแก้และยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่ง ที่ยุ่งเพิ่มก็เพราะความวุ่นวายที่จะแก้ มันดูจะขัดแย้งกับวิถีทางโลก แต่ตรองดูดี ๆ เถิด เรื่องในใจนั้นไม่ต้องแก้ นั่นแหละคือ การแก้อย่างแท้จริง เพราะตรงต่อสัจธรรม
__________________________________________________________________________________________________________________
หน้านี้ว่าง...
จริงรึ!
__________________________________________________________________________________________________________________
ให้เข้าใจถึงที่สุดของความเป็นจริงไว้เตือนใจตนเองเสมอว่า
• มันวางกันเองอยู่แล้ว
• ไม่ติดยึดกันเองอยู่แล้ว
• มันว่างอยู่เองแล้ว
• มันไม่ใช่อะไรจริง ๆ อยู่แล้ว
• มันไม่เป็นอะไรจริง ๆ อยู่แล้ว
การที่เราเตือนใจตนเองถึงความเป็นจริงนี้ ใหม่ ๆ ต้องอาศัยเจตนาเตือน แต่เนื้อหาของการเตือนอย่าให้มีเป้าหมายอื่นแอบแฝง เป็นการเตือนด้วยความจริงใจ บริสุทธิ์ใจถึงความเป็นจริงของสภาวะเท่านั้น สภาวะจะอยู่หรือจะดับ ไม่ต้องเช็ค เตือนแล้ว คำนึงแล้ว ระลึกถึงความเป็นจริง(ตื่น!!! – สติสัมปชัญญะ)แล้วก็ช่างมัน(แบบหมดจิตหมดใจ)ไปเลย อย่าให้มีเนื้อหาของการแอบเช็ค แอบลุ้น แอบสนใจลึก ๆ แฝงมากับการเตือนใจตนเองไปด้วย เพราะตัวแอบนี่แหละ คือเนื้อหาการแอบอิงมาของตัณหา – อุปาทาน ให้สภาวะมัน “ไม่”กันเอง ไม่ยึดกันเอง วางกันไปเอง จะได้ไม่มีเรา มีส่วนได้ – ส่วนเสียในการมีหรือไม่มีอะไร ๆ
การเตือนใจตัวเองนี้สำคัญมาก จะเรียกว่า เป็นการปฏิบัติก็ได้ แต่เป็นการปฏิบัติที่ไม่ทำ คือ แค่เตือนเพื่อให้ใจประจักษ์แจ้งต่อความเป็นจริง แล้วไม่หลงเข้าไปทำอะไรกับสภาวะโดยเจตนาทุกรูปแบบ ไม่ว่า ทำตาม หรือทำต้าน --ฝืน – ข่ม –งม- อิง – in –เอา - อยู่ – อาศัย ฯลฯ
หากเราไม่แยบคายดีพอจะหลงปฏิบัติทำได้ง่าย กลายเป็นการเจริญสมุทัยไปเรื่อย ๆโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ว่า “โยนิโสมนสิการ” ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เราต้องรู้จักเอะใจ เฉลียวใจว่าข้อวัตรปฏิบัติที่ทำอยู่นี้มันสอดคล้องหรือตรงต่อสัจธรรมมั้ย? ถ้าไม่ตรงก็อนุมานได้เลยว่าผิดธรรมแล้ว ประมาทในธรรมแล้ว ปรามาสในธรรมแล้ว เป็นสัทธรรมปฏิรูป(โดยเนื้อหา)ไปเสียแล้ว
เมื่อจบที่ความเป็นจริงแล้ว ความดันทุรังที่จะยึดจะอยากจะจางคลายไปเอง เพราะความยึด ความอยาก ความดันทุรัง... มันก็หลุดกันเองอยู่แล้ว แต่ที่มันเหมือนยังมีหรือทรงอิทธิพลอยู่ เพราะเราไปหลงตอกย้ำและให้ความสำคัญมั่นหมายไปเอง
เปรียบกับการฟันต้นไม้เพื่อจะโค่นต้นไม้ แม้มันจะต้นใหญ่ และแข็งแกร่งเพียงใด
หากเราฟันที่เดิม แผลเดียว ทุกครั้ง ๆ ด้วยอาวุธที่แหลมคมที่สุด ถ้าจะมีความคาดหวังว่าต้นไม้นั้นจะโค่นลงได้ ก็จะมีความเป็นไปได้มาก เรียกว่าพึงหวังได้
แต่ถ้าเราฟันสะเปะสะปะไปเรื่อย แต่ละครั้งไม่เคยซ้ำกัน ฟัน 100 ครั้งก็ได้ 100 แผลและไม่ได้ใช้ขวานที่คมที่สุด การขาดลงของต้นไม้ก็คงจะหวังได้ยากยิ่ง
อาวุธหรือขวานที่คมที่สุด ก็คือ ปัญญาขององค์พุทธอรหันต์ มหาโพธิสัตว์ ซึ่งท่านได้
ค้นพบและประทานปัญญา (การรู้ความจริงของทุกสรรพสิ่ง ทุกสภาวะ) อันนี้ให้กับ
เวไนยสัตว์ของพระองค์ อาวุธที่คมที่สุด เพราะไม่มีอะไรแน่เกินความจริงที่เรียก สัจธรรม คือ
- ไม่ใช่อะไรจริง ๆ อยู่แล้ว
- ว่างอยู่แล้ว
- ไม่เป็นอะไรอยู่แล้ว
- ไม่มีความหมายในตัวมันเอง
- หลุดกันเองอยู่แล้ว
- ดับกันเองอยู่แล้ว อนิจจัง
- ไม่ยึดติดตัวมันเองอยู่แล้ว ทุกขัง
- มัน คงสภาพเดิมไม่ได้อยู่แล้ว
สภาวะทั้งหมดนี้ เรียกว่า สามัญลักษณะ คือไตรลักษณ์ เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว ปราศจากเหตุ – ปัจจัย ไร้เป้าหมาย ไม่ใช่หน้าที่ ไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่ออะไร ไม่ใช่การกระทำ นอกเหนือเจตนากรรมทุกรูปแบบ ทุกสภาวะแม้จะเกิดตามเหตุ-ปัจจัยก็ตาม แต่เรื่องของความดับ ความไม่ยึดติด การปล่อยวาง การเปลี่ยนแปลงแปรปรวนมีอยู่เอง เป็นอยู่เองแล้วโดยสมบูรณ์
แล้วเราจะไป ทำ หรือ เอาปัญญาชนิดไหนอีก จะไปสร้าง หรือปรุงปัญญาชนิดไหนขึ้นมาอีก เพื่อให้ “เรา”มีสติมีปัญญา อย่างนั่นล่ะหรือ? ในเมื่อเราเองก็เป็นคนยุคที่พระศาสนาผ่านไปแล้วกว่า 2,500 ปี จัดได้ว่าเป็น สาวกภูมิ (มิใช่พุทธภูมิ) คือ รู้ตามสรุปตามพระองค์ไปเลย จริงใจ -บริสุทธิ์ใจ – ศรัทธาต่อเนื้อหาของสัจธรรมที่พระองค์ประกาศ ไม่ต้องไปลำบากสร้าง – ปรุง – แต่ง - ทำปัญญาของตนเองขึ้นมาดอกจะได้ไม่ถูกโมหะ – ตัณหา – อุปาทาน(ของตัวเอง)หลอกเอา อาศัยปัญญาขององค์พุทธอรหันต์ องค์มหาโพธิสัตว์ จะได้ตรงต่อนิพพาน ไม่กลายเป็นพาลไปซะเอง
ขวานฟันลงที่เดิม คือ สรุปให้กับใจตนเองเพียงเรื่องเดียวและเรื่องเดิมทุกครั้งลงที่ความเป็นจริง อันเป็นที่สุดของทุกสภาวะ
และเมื่อฟันแล้วก็แล้ว(วาง)เลย ไม่ต้องแบกขวานไปไหน – มาไหนด้วย คือไม่ต้องเฝ้า ไม่ต้องคอย ไม่ต้องห่วงว่าอะไรจะเกิดจะมี นี้เป็นปัญญาที่ตัดปัญญา ไม่อ้อยอิ่งในปัญญา แต่ถึงเวลาจะใช้ก็ปรากฏได้เอง ฉับพลัน
การฟันแต่ละครั้งที่ไม่ซ้ำที่เดิม เช่น มัวแต่เยิ่นเย่อ ยึกยัก มัวแต่ทำวิจัย ทำวิจารณ์ ทำการเปรียบเทียบด้วยเหตุ – ผล , ดี – ชั่ว , ถูก – ผิด , เอา – ไม่เอา, ใช่ – ไม่ใช่ , เอาไงดี – เอาไงดี ,
ติดอยู่กับทิฐิ – ความเห็น – ความหมาย, ตีความเรียกว่า ติดฝั่ง(ธรรมคู่) ไม่อาจนอกเหนือธรรมคู่ได้ รอสติสมบูรณ์ รอสมาธิสมบูรณ์ รอปัญญา รอบารมีให้สมบูรณ์ ลังเล – สงสัย มัวแต่สร้างลีลาอยู่นั้น นี่คือฟันด้วยอาวุธ หรือขวานที่ไม่เฉียบคม จึงจบไม่ได้ จบไม่เป็น
การเตือนใจตนเองถึงความเป็นจริงนี้ ให้เตือนอยู่เรื่อย ๆ กับทุก ๆ สภาวะทั้ง กุศล – อกุศล – เฉย ๆ ธรรมดา ๆ หนัก – เบา – โปร่ง – โล่ง ฯลฯ แบบว่าไม่เลือกข้าง “ใจ”จะ ได้ซึมซับกับความเป็นจริงของทางทุกข์แตกต่างจากทางพ้นทุกข์อย่างไร หนักแน่นขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่ต้องเตือนอีกต่อไป เมื่อใจเป็นเนื้อหาเดียวกับไม่...อยู่แล้วจริง ๆ มันจะคล้ายเป็นอัตโนมัติ คือ เป็นเหมือนสามัญสำนึกไปเลย
การเตือนใจตนเองถึงความเป็นจริงนี้ เหมือนกับการปลุกจิตรู้สำนึก และจิตใต้สำนึกให้ตื่น!!! (จากความหลงและความไหล เรียกว่า ตื่นจากความหลับ) ต่อสัจจะอย่างตรง ๆ
“ใจ” คือ มโน, มะ + NO ดังนั้น ใจเราก็ให้ตรงต่อความเป็นจริงของ “ใจ”ที่ NO NO คือไม่ ไม่ต้อง ไม่ตั้ง เพราะสัจจะของใจคือ ว่าง ไร้ขอบเขต ไร้ที่เกาะยึด – อยู่ – อาศัย ไม่เกาะแม้ตัวมันเอง มันไม่ต้องการอะไร
การเตือนใจ โดยสภาวะ อาจเรียกว่า
• เป็นการใช้สัญญา แต่ก็ให้รู้ว่า สัญญาที่ใช้มิใช่แค่การท่องจำ แม้จะเกิดจาก
การฟัง การอ่านก็ตาม แต่ก็เป็นสัญญาที่ตรงต่อสัจธรรม และถ้าเห็นจริง เห็นแจ้ง เห็นตามนั้นอย่างซาบซึ้ง ลึกซึ้งจะมากน้อยเพียงใดก็ตาม การเตือนจะมีผลต่อใจตามนั้น ถ้าใจประจักษ์แจ้งต่อสัจจะจริงๆ การเตือนใจจะผลมากคือ ใจจะเลิกหลงพัวพัน หมกมุ่นต่ออารมณ์ ความรู้สึก ความนึก ความคิดแบบฉับพลัน
• ดังนั้น ปัญญาจากการได้ยินได้ฟังจะถูกมองด้วยสายตาแบบดูแคลนของนัก
ปฏิบัติทำ บางท่าน บางหมู่ บางพวกว่าเป็นแค่ปัญญาขั้นต้น ๆ เท่านั้น คือ แค่รู้จำ ยังไม่รู้จัก ยังไม่รู้จริง และยังไม่รู้แจ้ง ต้องปฏิบัติทำอย่างนั้นอย่างนี้จึงจะรู้ได้ แจ้งได้ด้วยตนเอง ฟังดู พิจารณาดูก็เหมือนจะจริงตามนั้น
• แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ผลของการฟังธรรมที่มีเนื้อหาตรงต่อสัจธรรม
ล้วนๆรวมทั้งภาษาที่ใช้นั้นทันสมัย (คือ คนยุคปัจจุบัน) สะท้อนความเป็นจริงอย่างตรงไปตรงมา และเป็นภาษาที่แม้ยืมสมมติบัญญัติมาใช้ แต่ไม่ชี้นำสู่การแสวงหา สู่การกระทำ ก่อเกิดเจตนากรรม ก่อเกิดอคติ – คติ เลือกฝั่ง เลือกข้าง ฯลฯ การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับยุคสมัย มาสะท้อนสภาวะ มาสะท้อนสัจธรรมได้ก็เนื่องจากผู้ใช้เป็นผู้รู้แจ้ง – เห็นจริง ละเอียดก่อน แยบคาย ลึกซึ้ง ในแง่ของอรรถะและพยัญชนะ จึงสามารถใช้ภาษาที่ถ่ายทอดให้ผู้รับฟังได้มีสัมมาทิฐิ ละโมหะทิฐิ สลายต่อมอยาก – ต่อมยึด ไม่ชี้นำไปสู่ความหลงชนิดใหม่ ๆ หรือตอกย้ำความหลงเก่าให้หนักแน่นยิ่งขึ้น มีแต่คลี่คลาย ผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง สอดคล้องตรงต่อสัจธรรมที่มิใช่สิ่งติดขัด ข้องคา มิใช่ภาษาที่จำมาแล้วพยายามอธิบาย หรือปฏิบัติทำให้ตรงต่อตำรา บางทีภาษาสวยหรูดูดี ก็ว่าเป็นสัจธรรม แต่พูดไปพูดมา กลับมีการใช้ภาษาที่ชี้นำให้เกิดสิ่งตรงกันข้าม
การฟังเนื้อหาของสัจธรรม นับเป็นมรรควิธีที่ขาดไม่ได้ ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่ถ้าพิจารณาดูให้
ดี ๆ สัมมาทิฐิใด ๆ ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ก็เกิดจากการฟัง ตัวปฏิบัติที่ทำไปก็เพียงยืนยัน หรือให้สอดคล้องต่อปัญญาที่เกิดจากการฟังนั้น ดังนั้น เพื่อไม่ให้เนิ่นช้า – วกวน เราควรจะฟังธรรมจากผู้รู้ (ที่สามารถชี้แนะได้โดยไม่ต้องอิง อาศัย อนุสัยของตนเอง) ที่สามารถถ่ายทอดสัจธรรมอย่างตรงไปตรงมา และสามารถใช้ภาษาได้อย่างดียิ่ง เป็นภาษาที่เมื่อใช้แล้วมีแต่สลายขั้วสลาย
โมหะ สลายแง่มุม หรือซอกหลืบใด ๆ ที่อุปาทานจะได้ช่อง เป็นภาษาที่ไม่ชี้นำสู่การกระทำทางใจ หรือความจงใจทางใจ อันจะก่อให้เกิดกรรมภพไม่รู้จักจบจักสิ้น
สัญญาที่ตรงต่อสัจธรรม หรือสัญญาที่เมื่อระลึกถึงแล้ว จะตัดความหลง ตัดความเมา ความเพลินในอารมณ์ใด ๆ ก็ตาม อันมีผลคือ “ใจ” ยุติทำ อาจเรียกสัญญานั้นได้ว่าเป็น “นิโรธสัญญา” เช่น อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา มรณสัญญา อาหาเรปฏิกูลสัญญา และสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า เมื่อเจริญให้มาก ทำให้มากแล้วมีอานิสงส์มาก สามารถหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่า สัญญา ก็คือ ปัญญา โดยเฉพาะเมื่อสัญญานั้นตรงต่อความเป็นจริงแท้ และจิตใจเราก็เห็นจริงตามนั้นอย่างซาบซึ้ง เมื่อระลึก เตือน สำเหนียกถึง คำนึงถึง จะมีผลคือ ตัณหาจะดับไปเอง (มิใช่เตือนเพื่อไปดับตัณหาหรือเพื่อให้สภาวะดับ) และเมื่อตัณหาดับก็หมายถึง นิโรธอยู่แล้วทันที มิใช่เพราะตัณหาดับแล้ว ทำให้เกิดนิโรธ แต่เพราะการมีตัณหา ทำให้มันเลยนิโรธในตัวมันเองที่มีอยู่แล้วไปเสีย พอเมื่อตัณหาดับ(ของมันเอง) มันก็หยุด เกิน -เลย เรียกว่า จบหรือตรงต่อดับ นิโรธ วิมุติ นิพพาน หรือไม่ต้องเรียกว่าเป็นอะไรก็ได้ จะตรงที่สุด
• การเตือนใจจะเรียกว่า สติสัมปชัญญะ(ความรู้สึกตัว)ก็ได้ เน้นว่าเป็นสติที่จบ เพราะสรุปถึงความเป็นจริงแท้ของทุกสภาวะ เป็นสติที่ประกอบด้วยปัญญา คือความตื่นพร้อม ตื่นโพล่ง ตื่นไม่มีขอบเขต ตื่นไม่ติดตื่น
• การเตือนใจจะเรียกว่าการดำริก็ได้ เป็นการดำริที่ไม่เข้า – ไม่ออก คือ เป็นการดำริที่ไม่มีวัตถุประสงค์อื่นแอบแฝง เช่น เพื่อให้มี เพื่อให้ไม่มี เพื่อให้หลุด เพื่อ ๆ ๆ เรียกว่า สักว่าดำริถึง คิดถึงความจริงของสภาวะเท่านั้นล้วน ๆ ซึ่งตรงกับองค์มรรคที่ 2 คือ สัมมาสังกัปโป โดยเนื้อหา
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #8 on:
22 December 2012, 12:57:54 »
สัมมาสังกัปโป ดำริชอบ ตามตำรา คือ - ดำริออกจากกาม
- ดำริออกจากพยาบาท
- ดำริออกจากการเบียดเบียน
เนื้อหาที่แท้จริงของความดำริชอบ หมายถึง
- ไม่ดำริเข้า ซึ่งเป็นเชิงหาเรื่อง คือ ไม่หาเรื่องเข้ามา ไม่ไปหาเรื่องเข้ามา เช่น ไม่เจตนาคิดหาเรื่องใหม่ ไม่ว่าจะเป็นในแง่กาม พยาบาท เบียดเบียน นี่เรียกว่า ไม่สร้างของใหม่ หรือไม่เพิ่มกรรมอนุสัยใหม่ (แต่เก่าในเนื้อหา)
- ดำริไม่ยุ่งเกี่ยวด้วย กับของเก่าที่ผุดโผล่ขึ้นมาจากความเคย ความคุ้น เวลาตากระทบรูป หูได้ยินเสียง ใจคิดนึกขึ้นเองที่เรียกว่า ของเก่า หรืออนุสัยเก่าคือไม่ไหลตาม ทำตาม,ไม่คิดต้าน ทำต้าน,เอา, IN,กับอารมณ์ ความรู้สึก ความนึกคิดที่ปรากฏเองนั้น
ทั้งไม่ดำริเข้าและดำริไม่ยุ่งเกี่ยวด้วย อันนี้ท่านเรียก ดำริออก ไม่ใช่ พยายามจะออกจากอารมณ์ ออกจากความคิด ซึ่งทั้งความพยายามและการออกมันเป็นเนื้อหาของกิริยากรรม ทางใจ กิริยาชักเข้า - ชักออกไม่ว่าจะชักใจออกจากสภาวะ หรือพยายามดึง - แยกสภาวะออกจากใจ ก็ล้วนแต่เป็นเนื้อหาของตัณหา – อุปาทานส่งผลทั้งสิ้น เพียงแต่ใจเราตรงต่อความเป็นจริงของสภาวะรองรับ การไม่ดำริเข้าโดยเจตนาจะเป็นอันถูกละโดยปริยาย(ไม่ตั้ง) และการดำริไม่ยุ่งเกี่ยวด้วยจะเป็นไปเอง(ไม่ต้อง)เรียกว่า เป็นดำริ ที่จะออกจากดำริเอง ดำริที่จะยุติดำริเอง อันนี้แหละคือ สัมมาสังกัปปะ ที่แปลว่าความดำริชอบจริง ๆ เพราะอะไร?
เพราะ 1. เป็นการดำริที่ตรงต่อความเป็นจริง อันเป็นที่สุดของทุกสภาวะธาตุ - ขันธ์
2. เพราะไม่หลงไปเป็นเหยื่อให้กับตัณหา – อุปาทานซะเอง
3. เป็นดำริที่มีสัมมาทิฐิรองรับ ไม่ใช่ความหลงรองรับ
4. ตรงต่อความจบในตัวของดำริเองทุกๆการดำริ
เนื้อหาที่จะดำริออก(คือไม่เอา)ไม่จำกัดเฉพาะ กาม – พยาบาท – เบียดเบียน เท่านั้น มันรวมถึงเนื้อหาของฝ่ายคุณธรรมด้วย ไม่ว่าจะเป็น สติ – สมาธิ – ฌาน – ญาณ – ปัญญานั่นแหล่ะจึงจะตรงต่อความไม่ยึดติดอยู่แล้วจริง ๆ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยตัณหาอุปาทาน
สัมมาสังกัปปะ : ไม่ใช่ดำริที่จะออกจากกิเลสฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่หมายถึงดำริเตือนถึงความเป็นจริงของทั้งหมดของเจตนากรรม ที่ต้องใช้ขันธ์ 5 มาประกอบ (คือการทำขึ้น ปรุงขึ้น สร้างขึ้นแล้วแช่ อยู่ งม หา ฯลฯ) ไม่ว่าจะปรุงกุศลธรรมเช่นสติ สมาธิ ฌาน ญาณ ปัญญา อันนี้เรียกว่า เอากิเลสไปปฏิบัติธรรม เพราะถ้าจะดำริออกแต่กรรมกิเลส คือ ไม่เอากิเลส มันก็จะเอาธรรมะ ติด – in ธรรมะ กลับมาปฏิฆะกับกิเลส กลายเป็นการหลงเลือกสภาวะ พินิจดูให้ดีเถอะมันก็ยังติดคือกัน ก่อเกิดความเหลื่อมล้ำ – ต่ำสูง เกิดความแปลกแยก – แตกต่าง อันเป็นที่มาของทิฐิ – มานะได้อิงอาศัยเติบโตต่อไป ท่านเรียกว่า กิเลสในธรรมะ
เราคุ้นเคยแต่การได้ยิน – ได้ฟัง – ได้อ่าน – ได้เข้าใจว่า ต้องมี – ต้องได้ สติ – ศีล – สมาธิ – ปัญญา จึงจะพ้นทุกข์ได้ เราไม่เคยได้ยิน – ได้ฟัง – ได้รู้ – ได้เข้าใจเลยว่า สติ – ศีล – สมาธิ – ฌาน – ญาณ - ปัญญา ก็เป็นอนุสัยอย่างหนึ่ง หากเราไปทำ...มีเจตนากรรมในการปรุง หรือแต่งมันขึ้น (เนื่องด้วยไม่แจ้งถึงความเป็นจริงของสภาวะ)
เมื่อพิจารณาดูจะเห็นจริงตามนั้นจริง ๆ และรวบยอดลงมาติดอยู่ที่วิญญาณขันธ์ คือ “รู้”
อนุสัย แปลว่า ความเคยชิน = นิสัย ซึ่งหมายถึง การกระทำซ้ำ ๆ จนเป็นปกติ ที่เรียกว่า จริต, บุคลิก, พฤติกรรม เป็นทั้งเคยชินฝ่ายอกุศล และฝ่ายกุศล หรือแม้แต่กลาง ๆ ก็ด้วยเช่นกัน
ดังนั้น ไม่ว่าจะสร้างหรือตอกย้ำ ความเคยชินแบบใด มันก็อนุสัยคือกัน การพัวพัน in – เอา – อยู่กับอนุสัยไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน(ปุญญาภิสังขาร – อปุญญาภิสังขาร – อเนญชาภิสังขาร)ก็คือการพัวพันอยู่กับสิ่งที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่เข้าใจผิดกันมากเกี่ยวกับการปฏิบัติก็คือ หลงทำดู – ทำรู้ – ทำเห็น – ทำวิจัย – ทำวิจารณ์ เพราะถูกตอกย้ำกันมาว่า ให้รู้ – ให้ดู – ให้เห็น – ให้เข้าใจก็เลยทำรู้ – ทำดู – ทำเห็น – ทำความเข้าใจ แล้วก็แช่สภาวะที่ปรุงขึ้นอยู่ แต่ไม่รู้ตัวว่ากลับเป็นการเจริญสมุทัยซ้อนไปด้วยเสียแล้ว นั่นเอง
การออกจากทุกข์จึงสรุปลงตรงที่นอกเหนืออนุสัยเป็น อนุสัยที่สำคัญ คือ อนุสัย “เอา” อนุสัยยึด ที่เรียกว่า ตัณหา – อุปาทาน อนุสัยชนิดนี้มันเป็นอนุสัยสากล คือ ยึด - เอาได้หมด ไม่เลือกสภาวะ แต่เมื่อถูกอิง – อาศัยด้วย อนุสัยสากลชนิดนี้ ลูบคลำเข้าแล้ว แม้เนื้อหาของธรรมะ – กุศลจะเป็นสิ่งสะอาด ดี หรือบริสุทธิ์ ธรรมะนั้น – กุศลธรรมนั้น ก็แปดเปื้อนไปเรียบร้อยเลยทันที ที่เรียกว่า ความมืดสีขาว กิเลสในธรรมะ
เพราะเมื่อมีเอาก็จะมีไม่เอาตามมา เมื่อคาดหวังก็จะมีผิดหวังตามมา ถ้าไม่ตั้งหวัง ความผิดหวังจะมีมาแต่ไหน และได้อย่างไร เฉกเช่นนั้นเหมือนกัน
ความหลุดพ้น หมายถึง ความไม่ติด – ไม่ขัด – ไม่ข้อง – ไม่คา จะเป็นเช่นนั้นได้เมื่อปราศจากเนื้อหาของการเอาจริง ๆ( ตัณหา)
เพราะเมื่อไรที่ “เอา”มันก็ติดเรียบร้อยแล้ว คือ ตัณหา
“ไม่เอา”มันก็ติดเหมือนกัน คือ วิภวตัณหา
เรียกว่า ติดทั้งขึ้น ทั้งล่อง
ท่านจึงเน้นว่า : ตรงต่อ ไม่...อยู่แล้วซิ ตรงต่อ ไม่ต้อง...อยู่แล้วซิ ตรงต่อไม่ต้อง ไม่ตั้งซิ
นี้แหละเนื้อหาของการไม่ติดทั้งภวตัณหาและวิภวตัณหา นอกเหนือขันธ์เป็น, ไม่เนื่องด้วยขันธ์เป็น, พ้นจากเหตุปัจจัยเป็น ก็ตรงต่อพ้นทุกข์ - นิโรธ – วิมุติ – นิพพาน อยู่แล้วทันที
คำพูด – ภาษาที่ทำให้เราเข้าใจผิด – ชี้นำไปสู่ความหลงมากขึ้น เรียกว่า เข้าทางกิเลสมีอีกหลายคำ เช่น คำว่า “เจริญ”
ซึ่งมักปรากฏอยู่ในฝ่ายดี เช่น เจริญสติ มรรคให้เจริญ ตามตำรากล่าวว่า
- ปัญญาญาณ ที่เกี่ยวข้องกับอริยสัจ ข้อที่ 4 ที่ชื่อว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา = มัชฌิมาปฏิปทา คือ
1. รู้ว่านี้คือ หนทางไปสู่การดับทุกข์ (ภาษาระวัง) หรือหนทางดำเนินชีวิตที่จะไม่ทุกข์ หรือพ้นทุกข์เป็นดังนี้ (สัจจญาณ)
2. รู้ว่าหนทางนี้ (มรรค) ให้เจริญ (กิจจญาณ)
3. รู้ว่าหนทางนี้ที่ท่านว่าให้เจริญได้เจริญแล้ว (กตญาณ)
ข้อ 1 สำคัญมากที่สุด ถ้าไม่เข้าใจเนื้อหาของสัจจะจริง ๆ แล้ว ใจไม่อาจจะตรงต่อ สัมมา...ได้จริง ๆ เด็ดขาด แล้วเข้าใจเอาตามที่เคยอ่าน – เคยฟังมาโอกาสตีความผิดสูง เพราะข้อ 2 ท่านให้เจริญมรรค เมื่อเข้าใจผิด (มิจฉาทิฐิ) ก็เป็นการเจริญมิจฉามรรค แทนที่สัมมามรรคจะเจริญดังนั้น จึงขอเน้นว่าต้องตรงต่อความเป็นจริงเท่านั้น จึงจะลงตัวได้กับสัมมา มิใช่รู้ภาษาว่า สัมมา แต่เพียงรูปศัพท์ที่ดูดี แต่เนื้อหาที่แท้กลับไม่เข้าใช่ ไม่ตรง
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #9 on:
22 December 2012, 12:58:55 »
จะเข้าใจ “มัชฌิมาปฏิปทา”ได้ดียิ่งขึ้น ลองนึกถึงสมัยเจ้าชายสิทธัตถะที่ยังไม่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ด้วยเพราะพระองค์ก็ไม่รู้จักทางสายกลาง หรือมรรคมาก่อน แล้วก็ไม่รู้อริยสัจ 4 มาก่อนด้วย ดังนั้น ขณะที่จิตของพระองค์ดำเนินอยู่บนทางสายกลางนั้น ท่านก็ไม่รู้ว่านี้คือสิ่งที่เรียกว่า ทางสายกลาง เพียงแต่ท่านรู้ได้ด้วยประสบการณ์ตรงของท่านที่ได้ลองผิดมาแล้ว จึงได้รู้แง่มุมของสิ่งสุดโต่ง 2 ฝั่ง ทั้งกามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ว่าเนื้อหาของจิตเป็นอย่างไรบ้าง เพียงแต่พระองค์ไม่หลงไปทำเช่นนั้นอีก(ติดฝั่งทั้ง 2 ฝั่ง) จิตใจของพระองค์ก็ดำเนินอยู่บนทางสายกลางโดยเนื้อหาทันที มิใช่พระองค์มีเจตนาจะทำ – สร้าง – ปรุง – แต่ง ทางสายกลางขึ้น หรือเจตนา – จงใจอยู่กับทางสายกลาง เพียงเพราะจิตใจของพระองค์ งดเว้นเจตนาหลงไปติดฝั่งเท่านั้นเอง จิตใจของพระองค์ก็ดำเนินเป็นมัชฌิมาปฏิปทาโดยปริยาย ให้เราเข้าใจรหัสนัยของทางสายกลางดี ๆ จะได้ไม่หลงติดฝั่ง แล้วเข้าใจว่าขณะนี้เจริญสัมมามรรคอยู่
ทางสายกลางถูกตีความหมายไปได้หลายอย่าง หลายทาง ขึ้นกับทิฐิของคน เรียกว่า กลางใคร กลางมัน ก็ว่าได้
ทางสายกลางโดยเนื้อหา หมายถึง
ความพอ อยู่แล้ว ไม่ใช่ ความพอดี หรือความดีพอ
หรือความเพิ่มอะไร หรือความลดอะไร
ความไม่แตกต่าง , ความเสมอภาค,ความไม่แบ่งแยก ไม่ใช่ อะไรดีกว่าอะไร อะไรด้อย
กว่าอะไร อะไรเหนือ - อะไรใต้อะไร
ความสมบูรณ์เต็มเปี่ยม ไม่ใช่การสะสมจนถึงความสมบูรณ์พร้อม หรือต้องเติมแต่งสิ่งใดๆอีก
ความหยุด ไม่ใช่ การไปหรือการมา การออกการเข้า การถึงหรือไม่ถึง การรอคอย
ดิ้นรน หรือการแสวงหา แต่ก็มิใช่การทรง การดำรง การอยู่ การแช่กับอะไร
ความไร้ซึ่งเจตนากรรม ไม่ใช่ สิ่งที่เนื่องด้วยการกระทำ หรือเจตนาทำขึ้น,ไม่ใช่งานทางใจ
ทางสายเอก (ทาง – สาย – เอก)
เป็นเพียงชื่อว่า “ทาง” แต่โดยความเป็นจริง คือ ไร้-ปราศจาก-ไม่มี
สิ่งที่เป็นทางจริงๆ คือ ไม่มีทาง หรือ ทางไม่มี
สายก็เป็นเพียงคำขยายความของคำว่าทาง เรียกว่าสรรพนาม
เอก หมายถึง หนึ่งเดียว ไม่มีสอง(โท)โดยเนื้อหาคือ ตรงต่อสัจจะ ,ตรงต่อความดับ(นิโรธ) , ตรงต่อพระนิพพาน , ตรงต่อความหลุด ,ตรงต่อความไม่ติด ,ไม่ขัด ,ไม่ข้อง , ไม่คา ตรงต่อไม่ต้อง ตรงต่อไม่ตั้ง , ตรงต่อไม่เนื่องด้วย , ตรงต่อไม่…อยู่แล้ว
เอกยังมีเนื้อหา คือ พ้นจากความเป็น ธรรมคู่ เช่น ดี- ชั่ว ถูก- ผิด บุญ- บาป ซ้าย- ขวา ฯลฯ ในความหมาย คือ เหนือโลก หรือพ้นโลก(โลกอุดร,โลกุตตระ)
ทางสายเอก
ทาง (ที่ไม่ใช่ทาง) ออก เรียกว่า OUT(ออก)
ไม่ใช่ IN ( เข้า)
และไม่ใช่ทาง เอา หรือ เอาทาง
โดยเนื้อหาจริงๆมันไม่ใช่ กิริยา หรือ กรรม(การกระทำ)ที่มีการ IN การ OUT เหมือน เดิน- วิ่ง เข้า- ออก นอก หรือใน
โดยเนื้อหา คือ ใจที่ตรงต่อความเป็นจริงของทุกสภาวะ แล้วยุติทำ ยุติการดิ้นรน ยุติการแสวงหา ยุติการเลือกสภาวะ ยุติการเข้าหรือออก นี้เรียกว่า ออกจากทุกข์ คลี่คลายหรือดับทุกข์ หรือละสมุทัย
ไม่ใช่การกระทำใดๆทั้งสิ้น ไม่ใช่การปรุงหรือแต่งให้ใจมีที่อยู่ ให้ใจเป็นอย่างนั้น- อย่างนี้ ที่เรียกว่าการฝึกใจ การทำใจ หรือที่เรียกกันเก๋ไก๋ว่า “ การพัฒนาจิต ”
ไม่ใช่ความพยายาม ไม่ใช่ความพยายามที่จะคอยอยู่กับอะไร ไม่ใช่ความพยายามที่จะเป็นอะไร
ไม่ใช่การกระทำให้มีอะไร ให้ได้อะไร หรือหมดจากอะไร
กริยา- กรรม- การกระทำ- ความพยายาม ทั้งหมดล้วนแล้วแต่คือส่วนเกิน ส่วนเลย ธรรมแท้ไปแล้ว ทั้งสิ้นและทั้งหมดนี้ก็คือ เหตุแห่งทุกข์ เกินมากก็ทุกข์มาก เกินน้อยก็ทุกข์น้อย เลิกเกิน ก็คือพอ เรียกว่า พ้นทุกข์
ทางสายกลางโดยเนื้อหาคือ ความไม่แปลกแยก ความไม่มีความหมาย ความตรงต่อความเป็นจริง ความไม่ใช่ทั้งหมด สละทั้งหมด จาคะทั้งหมด ความไม่ติด – ขัด – ข้อง – คา ไม่ได้เกิดเพราะความจงใจทำขึ้น หรือให้เป็นไป แต่ตรงกันข้ามคือ หมดความจงใจที่จะปรุงขึ้น
ตามตำรา กล่าวว่า มรรคให้เจริญ แต่ถ้าเราไม่รู้เนื้อหาของมรรคที่แท้จริง(สัจจญาณ) โอกาสที่เราจะเสียเวลา – ทุกข์ยากลำบากกับการปฏิบัติ เพราะดันไปเจริญทางอ้อม – มิจฉามรรค
เมื่อถึงขึ้นตอนที่ 2 (กิจจญาณ) คือ มรรคให้เจริญ คนทั่วไปก็จะเข้าใจคำว่า เจริญ หมายถึง การกระทำ จงใจ เจตนา ตั้งใจให้มาก ไม่ว่าจะทำข้างนอก หรือทำข้างใน ทำบ่อย ๆ มาก ๆ ยิ่งดีเช่นทำความรู้สึกตัว ทำสติ ทำสมาธิ ทำรู้เป็นต้น เรียกว่าเป็นการปรารภความเพียร แต่เมื่อไม่เข้าใจเนื้อหาของสัจธรรม และเนื้อหาที่แท้จริงของสัมมามรรค ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่ตรงหรือสอดคล้องต่อสัจธรรมแล้ว ย่อมผิดเพี้ยนต่อเนื้อหาของมรรคที่แท้ได้ง่ายๆ ท่านจึงสรุปว่า มรรคที่แท้ อันตรงต่อความเป็นจริง ที่เรียกว่า สัมมามรรค ก็คือ ไม่ทำ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคมีองค์ 8 = ทางสายกลาง
ให้เจริญ การไม่ทำกรรมกิเลสใหม่ และไม่ทำตามทำต้านอนุสัยเก่า เพราะของเก่าที่สัตว์โลกเป็นไปกันอยู่นี้ ก็เป็นความหลงกระทำ ด้วยโมหะ – ตัณหา - อุปาทานอยู่แล้ว
ยุติเจตนากรรม คือ ไม่หลงจงใจกระทำกรรมทางใจเป็นอาทิ
ยุติทำ เพราะของเก่า – ความคุ้นชินเดิม ๆ เค้าจะหลอกล่อก่อให้เกิดเจตนากรรม อันเป็นการไปตอกย้ำความหลงเก่า ๆให้เหมือนมีอยู่ กลายเป็นการสร้างเหตุซ้อนผล และต้องหมุนวนรับวิบากกันต่อไป
ใหม่ ๆ ก็อาศัยการเตือนใจตนเองอย่างที่เคยกล่าวไว้ เรื่อย ๆ ไปกับการดำเนินชีวิตประจำวันตามปกตินี้เอง นี้แหละภาษาเค้าเรียกว่า เจริญ แต่ไม่ใช่การเฝ้าคอยเตือนนะ ไม่ใช่การระแวง – ระวัง –รักษาคือ เมื่อระลึกได้เมื่อไหร่ ก็ค่อยเตือน – สรุปสัจจะให้กับใจไปเรื่อย ๆ
จะว่าไปแล้วการฟังธรรมะที่มีเนื้อหาที่ตรงต่อสัจธรรม การสนทนาธรรมแลกเปลี่ยน ความรู้ ความเข้าใจกับกัลยาณมิตรที่มีความเข้าใจตรงต่อเนื้อหาของสัจธรรมจริง ๆ ไม่หลงภาษาที่จะชี้นำไปสู่ความหลงผิดต่อสัจจะ การอยู่ตัวคนเดียว ไม่แส่หาเรื่องพูดคุยหรือการคลุกคลี ทำให้มีการกลั่นกรองธรรมะนี้ ก็นับได้ว่าเป็นการเจริญมรรคได้เช่นกัน ข้อสำคัญมิใช่ฟังเพื่อความรู้ – จะเอาปัญญา คอย – เฝ้า – เพลิน – สนุกกับการสนทนา หรือพยายามหมกอยู่ตัวคนเดียว คือ ให้ชีวิตดำเนินไปแบบธรรมดา ๆ เรียบง่าย ไม่ใช่การจัดฉาก จงใจเลือกสถานการณ์ โดยไม่ต้องไปแบ่งว่าอะไรคือโลก อะไรคือธรรม เรียกว่า นอกเหนือกาละ (เวลา) เทศะ (สถานที่) ไม่ใช่หนีโลกมาเอาธรรม หรือ ยึดธรรมแล้วปฏิเสธโลก
เมื่อใจตรงต่อเนื้อหาของความเป็นจริงแล้ว
- โมหะจะสลายไปเอง ( โมหะก็ไม่เที่ยง) เพราะไม่นำเสนอหรือไม่ทำสนองต่อตัณหา
- ความดิ้นรน การแสวงหา การรอคอย ความระแวง ระวัง รักษา ประคองจะหายไปเอง
- การเพลิน – การจม – การแช่ – การหมักดองสันดานให้เป็นอนุสัย อาสวะจะค่อยจืดจางไป
- พันธะ- ภาระ– พันทาง – เครื่องร้อยรัด ( สังโยชน์) จะสลายไปเอง
อย่าเที่ยวได้ไปทำการละสังโยชน์เข้าเชียวนา...แล้วจะหาว่าไม่บอก...
ให้รู้ซะบ้างว่าตัว “ทำ”นั่นแหละคือตัวสร้างสังโยชน์ซะเองเลย
ดังนั้น เนื้อหาของธรรมแท้ ๆ หรือสัจจะของทุกสภาวะ จึงไม่มีเนื้อหาของการเจริญ หรือเสื่อม การเจริญหรือเสื่อมเป็นเพียงสิ่งอุปโลกน์ – สมมติขึ้นเท่านั้น แม้แต่การเกิด – การตาย – การแก่ – การเจ็บป่วย ความแปรปรวน จริงๆแล้วก็เป็นเพียงลวดลายหรือลีลาของอนิจจัง – ทุกขัง – อนัตตา เท่านั้นเอง ซึ่งก็เป็นเรื่องของขันธ์ 5 กำลังแสดงสัจจะของเค้าอยู่
ธรรมพ้นทุกข์ นั้นจึงนอกเหนือการเสื่อม – การเจริญทั้งสิ้น จะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต้อง นอกเหนือขันธ์ให้เป็น ไม่ใช่ไปเจริญขันธ์ (นั่นมันติดขันธ์) นี้เป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจให้ตรง เพราะตราบใดที่ยังจงใจ – เจตนา – เฝ้า – เอา – คอย - อยู่ – ทำอะไร ๆ ก็ต้องอิง – อาศัยขันธ์ทั้งนั้น แล้วจะตรงต่อความพ้นทุกข์ได้อย่างไร ? เพราะวางขันธ์ไม่เป็น นอกเหนือขันธ์ไม่ได้ มีแต่แบกขันธ์ หามขันธ์ เป็นขี้ข้าของขันธ์เพราะเสพติดขันธ์ตลอด
ความเข้าใจที่ตรงต่อความเป็นจริงอยู่เรื่อย ๆ นี้แหละ ถ้าจะใช้คำว่า เจริญ ก็ให้ใช้ในแง่มุมนี้ ความเพียรถ้าจะใช้ก็ให้ใช่ในแง่มุมนี้ เพียรเตือนใจตนเองให้ตรงต่อสัจจะ ท่านจึงกล่าวว่า “เข้าใจให้ตรง ก็เลิกหลงไปเอง”
อานิสงส์ หรืออานุภาพของความเข้าใจความเป็นจริงนี้ ยิ่งใหญ่นัก...
ถ้าปราศจากผู้รู้ที่จบจริงแล้วก็ยากที่จะแสดงรหัสนัยของสัจจะ โดยใช้ภาษาอันเป็นสมมติให้ผู้ฟังไม่หลง และสามารถทำให้เลิกหลงได้จริง ๆ ท่านจึงกล่าวว่าครูบาอาจารย์ ส่วนใหญ่สอนโดยใช้อนุสัยของตัวเอง คือ คุ้นเคย – คุ้นชิน กับการปฏิบัติมาอย่างไรก็สอนกันไปตามอนุสัยนั้น ทั้ง ๆ ที่ก็ยังไม่ตรงกับเนื้อหาของสัจธรรมความเป็นจริง ไม่อาจสอน นอกเหนืออนุสัยของตนเองได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่เอง เมื่อท่านพ้นทุกข์มาด้วยเหตุ หรือวิธีการใด ท่านจะไปสอนวิธีอื่นก็คงจะแปลก นอกจากจะเป็นวิสัยขององค์พุทธอรหันต์ พระมหาโพธิสัตว์ จึงจะสามารถสอนสิ่งที่ตรงต่อสัจธรรมได้ โดยไม่ใช้อนุสัย หรือนอกเหนืออนุสัยของตนเองเสียได้
ภาพปรากฏของการปฏิบัติทำที่มีรูปแบบ รวมทั้ง พิธีกรรม – ศิลาจารวัตรปฏิปทา ซึ่งอาจเป็นเทคนิค – อุบาย – กุศโลบาย ใด ๆ ก็แล้วแต่ บางทีเมื่อปรากฏสู่การรับรู้ของผู้คน อาจอยู่ในรูปของภาษา หรือการกระทำก็แล้วแต่ อาจเป็นการชี้นำให้เกิดความเข้าใจผิดใหม่ หรือตอกย้ำความเข้าใจผิดเดิมของผู้คนให้หนักยิ่งขึ้น ความดูดี – ดูถูก – ดูใช่ ด้านหนึ่งเหมือนเป็นการสร้างศรัทธาให้กับคนจำนวนหนึ่ง
แต่อีกด้านหนึ่ง กลับสร้างความท้อแท้ สิ้นหวัง เกิดขึ้นกับผู้คนส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีภาพลักษณ์ หรือทัศนคติที่เห็นว่าการจะพ้นทุกข์ได้ การจะรู้ธรรมะได้ต้องลำบาก ตรากตรำ ขนาดหนักที่เรียกว่า “ปางตาย” จึงจะรู้ได้ จึงจะพ้นทุกข์ได้ ก่อให้เกิดการ ดูแคลนตัวเองหรือ
“รอคอย” ว่าคงไม่มีปัญญา – ไม่มีวาสนา นอกเหนือความสามารถ ซึ่งกลับเป็นการตอกย้ำ มานะ – ทิฐิของผู้คนให้หนักและหนา...ยิ่งขึ้น
เมื่อปฏิบัติไปก็เกิดการยึดไป – อยากไป – คอยไป – เอาไป – ไปเอา เพราะผู้ถ่ายทอดไม่ตรงต่อธรรม หรือใช้ภาษาไม่ตรงต่อสัจจะ ไปติดอยู่กับเทคนิค – อุบาย – กุศโลบาย ผู้ตามก็ไม่รู้เรื่อง มีแต่ศรัทธา มีแต่อยาก มีแต่ปรารถนา หรือกลัวไม่ถูก กลัวไม่ได้ เกรงจะไม่มี บางทีทำให้เกิดการแบ่งพวก – แบ่งฝ่าย – แบ่งสาย แปลกแยกแตกต่างมากขึ้น
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #10 on:
22 December 2012, 13:00:00 »
อาจสามารถกล่าวได้ว่า ผลจากการถ่ายทอดที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง ทำให้ธรรมะของจริงที่มีอยู่เองแล้ว กลายเป็น
1. สภาวะที่ต้องทำขึ้น
2. ปรากฏการณ์ที่ต้องการเหตุ – ปัจจัย ทั้งที่เป็นสิ่งปราศจากเหตุ – ปัจจัย
3. สภาวะที่อยู่ข้างหน้า ที่ต้องรออะไร ๆให้พร้อมก่อนจึงจะเกิดได้ ถึงได้
4. ของหนัก – ติด – ตัน แทนที่จะเบา – หลุด – โล่ง – โปร่ง – โพล่ง ไร้ขอบเขต
5. เพิ่มการปกปิด สัจธรรมให้กลายเป็นสิ่งที่รู้สึกว่า เกินเอื้อ...ม กลายเป็นเนื้อหาของ สัทธรรมปฏิรูป
อันนี้จึงขอเน้นเป็นพิเศษว่า ภาษาสำคัญมาก
ต่อเมื่อใจตรงต่อความเป็นจริง นอกเหนือความรู้สึก ความนึก ความคิดเป็น ไม่อะไรกับอะไรกับตา กับหู กับใจตัวเองเป็น ไม่เนื่องด้วย “รู้”เป็น ความเห็น – ความหมาย – ความเข้าใจ หรือภาษาก็ไม่สำคัญอีกต่อไป (สำหรับตัวเอง)
องค์มรรคที่ 3 หมายถึง สัมมาวาจา : เจรจาชอบ = วจีสุจริต 4
องค์มรรคที่ 4 หมายถึง สัมมากัมมันตา : กระทำชอบ = กายสุจริต 3
องค์มรรคที่ 5 หมายถึง สัมมาอาชีโว : เลี้ยงชีพชอบ = เว้นมิจฉาชีพ
โดยเนื้อหาขององค์มรรคที่ 3 - 5 คือ การดำเนินชีวิตไปธรรมดา ๆ ที่เป็นไปแบบเรียบง่าย – ไม่สร้างเหตุ อันจะเกิดความทุกข์เป็นผลตามมา พูดคุยไม่ติด(เพลิน)การพูดการคุย กรรม(ทางกาย)ไม่ติด(เพลิน)กับกรรม หรือไม่ติดข้องกับการกินการอยู่ โดยมีสัมมาทิฐิรองรับตลอด คือ มีใจที่ตรงต่อความเป็นจริง จริง ๆ ที่เน้นว่าจริง ๆ ก็เพราะการงดเว้นใดๆด้วยเหตุ – ผล หรือวัตถุประสงค์ใด ๆ ก็ตาม ที่ไม่ตรงต่อสัจจะแล้ว ก็ยังจัดเป็นมิจฉามรรค หรือโลกิยมรรค มิใช่อริยมรรค เช่น
ทำเพื่อ...จะได้บุญ – กุศล หรือเพราะมันเป็นความดี เป็นการถูกต้อง เป็นการไม่เบียดเบียน แล้วจะได้เกิดความเมตตา ความสงบสุข ฯลฯ
ไม่ทำเพราะ...เป็นการผิดศีล เกรง – กลัวว่าจะรักษาศีลไม่ครบถ้วน กลัวบาป – กลัวผลของบาป กลัวจะเป็นอุปสรรค หรือเป็นเหตุให้ตนเองไม่รู้ธรรมะ หรือบรรลุธรรม ฯลฯ
การกระทำหรือไม่กระทำด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตามที่ยกตัวอย่างมานั้น เป็นสิ่งที่ดีและมีผลดีต่อตัวผู้งดเว้น หรือบุคคลใกล้เคียงจริง แต่เราก็ต้องยอมรับว่า โดยสัจจะแล้วสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งอุปโลกน์ – สมมติเท่านั้น ถ้าเราไม่รู้หรือไม่เข้าใจความเป็นจริงรองรับไว้แล้ว ผู้ปฏิบัติจะหลงกลายเป็นเหยื่อของโมหะ – ตัณหา – อุปาทานในทางที่ดีเท่านั้นเองคือติดยึดในกุศลกรรมนั้น
แต่ก็มิได้หมายความว่าจะทำชั่วหรือทำอะไรก็ได้ เพราะเราไม่ยึดถือ หรือเพราะมันไม่ใช่อะไรจริง ๆ อันนั้นก็เป็นโมหะทิฐิอย่างแรง แต่การดำเนินชีวิตที่งดเว้นวจีทุจริต 4 กายทุจริต 3 มิจฉาอาชีวะ และประกอบซึ่งวจีสุจริต 4 กายสุจริต 3 และสัมมาอาชีวะ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ ของการเอาผล แม้แต่แอบหวังผลดีใดๆที่จะเกิดตามมาจากการงดเว้น – ไม่งดเว้น ทำให้ความดีนั้นเป็นความดีล้วนๆ ไม่เจือปนด้วยตัณหาอุปาทาน
นอกจากนั้น หากเจตนากรรมที่ได้กระทำลงไปนั้นเป็นเนื้อหาของการช่วยเหลือ เกื้อกูล สงเคราะห์ อนุเคราะห์ล้วนๆ คือทำให้ ไม่ใช่ทำเอา เรียกว่า ทำดีแท้ – ดีบริสุทธิ์ มิใช่ดีแบบมีตัณหาแบบมีอุปาทานซ่อนอยู่ หรือทำ –ไม่ทำก็ด้วยแรงอยาก – ไม่อยาก เป็นแรงดูด – แรงผลักให้ทำ – ให้ไม่ทำ รวมทั้งมิใช่ทำดีแบบเห็นแก่ตัว (ตนเอง)เรียกว่าทำดีใส่ตัว, ทำดีเพื่อความเป็นตัว ทำดีแบบพอกพูน อนุรักษ์ความเป็นอัตตาให้คงอยู่ หรือมากขึ้น ดีแบบนี้เป็นดีชนิดที่มีสมุทัย
แถมไปด้วย อย่างนี้ก็ไม่ตรงต่อนิโรธซักที ไม่ว่าดีนั้นจะดีเลิศประเสริฐศรีและยิ่งใหญ่เพียงใด
ผู้ปฏิบัติที่มุ่งหวัง (ยืมภาษาใช้) จะยุติภพ – ชาติ, ยุติการเวียนตาย – เวียนเกิดที่แท้จริงแล้วจะต้องเอะใจ หรือเฉลียวใจ แง่มุมดังที่นำเสนอนี้แล้วให้ดีๆ...เด้อ...
หากเป็นดังนี้ - การเบียดเบียนต่อตนเองและผู้อื่นจะไม่เกิดขึ้น เรียกว่า ไม่สร้างเหตุใหม่
- จะไม่หมกมุ่นกับเจตนากรรมในการดำเนินชีวิต เป็นอยู่แบบ แล้วแล้ว
ไปของมันเอง การเป็นอยู่ที่หมกมุ่น มีเงื่อนไขเยอะ ข้อแม้แยะ “จะอย่างนั้น” “ต้องอย่างนี้” หาความเรียบง่ายไม่ได้หรือคอยไปตอกย้ำเทียวไล้เทียวขื่อ เอาจริงเอาจังกับการเป็นการอยู่ จะยิ่งก่อเกิดและพอกพูนความหลงผิดที่มีอัตตามีตัวมีตนให้หนักแน่น ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เรียกว่า หลงลึกซึ้งขึ้น
ทั้ง 3 องค์มรรคนี้ ต้องประกอบด้วยเจตนา – กรรม
แต่เมื่อประกอบด้วยองค์มรรคที่ 1 คือ สัมมาทิฐิ เป็นประธานไว้ในใจเสมอแล้ว เจตนากรรมนั้น จะปลอดหรือปราศจากการเอา ก็จะไม่ติดหรือข้องหรือคาอยู่กับการกินการอยู่ ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องของการสงเคราะห์ – อนุเคราะห์ธาตุ – ขันธ์ไปทั้งข้างนอกข้างใน
การดำเนินไปขององค์มรรคจะเป็นภาระ – พันธะ ทันทีที่มีเนื้อหาของการเอา หรือไม่เอา เกิดขึ้น คือ ทำ – ไม่ทำ เพราะคติ – อคติ ไม่นอกเหนือธรรมคู่ องค์มรรคจะแตก – สามัคคีทันที ที่มีเนื้อหาของการเอา ไม่เอาเกิดขึ้น
องค์มรรคสามัคคีกัน = มรรคสมังคี
- ไม่ใช่ความพยายามจะสมานฉันท์ของ “องค์มรรค”
- ไม่ใช่พยายามทำให้มันเสมอกัน
- ไม่ใช่ทำให้มันหมดความแตกต่างกัน
- ไม่ใช่ทำให้มันสมบูรณ์ – พร้อม
แต่มรรคสมังคี คือ
- เป็นความไม่แตกต่างกันอยู่แล้ว
- เป็นความเสมอกันอยู่แล้ว
- มันสมบูรณ์อยู่แล้ว
- ไม่มีการก้าวก่าย ข้ามองค์มรรค – ข้ามธาตุ – ข้ามขันธ์อยู่แล้ว
ตา ก็ทำหน้าที่อย่าง ตา , หู ก็ทำหน้าที่อย่าง หู , จมูก – ลิ้น – กาย – ใจ ก็ทำหน้าที่ของเค้าไป
อย่าเอาจะซ้อนตา – ซ้อนหู อย่าใส่เงื่อนไข ไปในการเห็น - การได้ยิน
อย่าเอาต้องซ้อนตา – ซ้อนหู อย่าใส่ข้อแม้ไปในการเห็น - การได้ยิน
ตัวจะ – ตัวต้อง นี้คือตัวยุ่งไปซะเอง ธรรมโดยธรรม เห็นแล้วก็แล้วไปอย่างเห็น... ได้ยินแล้วก็แล้วแล้วไปอย่างการได้ยิน... แต่เมื่อใส่จะใส่ต้องเข้าไป ใส่ความจงใจเข้าไปในดู - ในการฟัง เห็นแล้วก็จะไม่แล้วแล้วไปอย่างเห็น กลายเป็นติดเห็น มีตัวตนในการได้เห็น, ได้ยินแล้วก็ไม่แล้วแล้วไป กลายเป็นติดการได้ยิน มีตัวมีตนในการได้ยิน
ซึ่งที่จริงไอ้ตัวยุ่งไปซะเองนี้ก็ไม่ใช่อะไร มันคือ ตัณหา – อุปาทาน ที่แสดงออกมาอยู่ในรูป เจตนากรรม เช่น จะ – จ้อง – ต้อง – ตั้ง – เงื่อนไข – ข้อแม้ – เฝ้า – ตาม...ไปในการเป็นการอยู่ หรือการทำงานของอายตนะต่างๆ
ปกติอายตนะภายนอกและ อายตนะภายใน โดยกลไกของธรรมชาติ มันก็แล้ว ๆ ไปกันเองอยู่แล้ว แบบไม่มีเงื่อนไข หรือข้อแม้ใด ๆ ทั้งสิ้นเพราะมันไร้ตัวตน ปราศจากความเป็น... ดังนั้น ข้อแม้ – เงื่อนไขที่แสดงออกมาอยู่ในรูปจะ ต้องก็คือ เล่ห์เหลี่ยมของตัณหา – อุปาทาน ที่สะท้อนออกมาด้วยความหลงผิดว่ามีตัวเรานั่นเอง ประกบซ้อนไปกับการทำงาน ในกลไกของธรรมชาติ เรียกว่า กรรมซ้อนธรรม กรรมบัง มิใช่ธรรมโดยธรรม
กรรมซ้อนธรรมอันเป็นแรงผลักดันของโมหะตัณหา – อุปาทาน จะมีลักษณะวนเวียนอยู่ในรูปแบบของเจตนากรรม ที่มีชื่อเรียกและอาการต่างๆกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น
จะ – จ้อง – ต้อง – ตั้ง - ดิ้นรน – แสวงหา – รอ – คอย – ระวัง – ระแวง – เฝ้า – ทรง – ดำรง – รักษา - ประคอง ... ทั้งหมดของความจงใจดังกล่าว ล้วนเป็นการเจริญปัจจยาการแห่งทุกข์ เริ่มต้นตั้งแต่เกิด กรรมภพ (สังขาร) วิญญาณ (รู้) นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน อุบัติภพ ชาติ ชรา มรณะ
กลายเป็นการให้อาหารส่งและเสริมความหลงผิดว่ามีตัวมีตน - ความยึด - ความอยากให้ได้สืบเผ่า - สืบพันธุ์ต่อไม่มีวันจบ
จึงมีคำกล่าวที่ว่า
: สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม คำว่า สัตว์โลก หมายถึง จิตวิญญาณที่มีเชื้อหลงอยาก – หลงยึด ไม่ว่าหยาบ – ละเอียดเพียงใดใน 31 ภพ – ภูมิ มีเจตนา – จงใจกระทำเป็นเครื่องอยู่ ก็ต้องเสวยวิบากนั้น หยาบ – ละเอียดตามไปด้วย
: มีกรรมเป็นแดนเกิด เนื้อหาคือ ด้วยอำนาจของกรรม – ความจงใจ ความตั้งใจทำมีปฏิสนธิเป็นผล – วิบาก หยาบ – ละเอียดแตกต่างกันไป
: มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เรียกว่า พันธุกรรม หรือกรรมพันธู จะได้พ่อ – แม่ – ญาติ – พี่น้อง – เชื้อชาติ – สังคมอย่างไรก็ด้วยอำนาจของวิบากสัมพันธ์ – สัมพัทธ์
: มีกรรมเป็นที่พึ่ง – อาศัย หมายถึง วิบากที่เกิดตามมาภายหลัง เมื่อได้จงใจทำแล้วจะมาหล่อเลี้ยงชีวิตนั้นให้เป็นไป
ทั้งหมดเริ่มที่เจตนา(เรา) – ในเจตนาจะเกิดรู้ (เรา) ในรู้ จะมี(เรา)ดู มี(เรา)เห็น เมื่อจงใจ รู้ – ดู – เห็น ใน รู้ – ดู – เห็นนั้นจะมีความเป็น...เกิดขึ้น เรียกว่า การก่อเกิดและสืบต่อ(สันตติ)ของอัตตามาพร้อม
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #11 on:
22 December 2012, 13:01:03 »
อาหาร 4 (สิ่งหล่อเลี้ยงเป็นปัจจัยค้ำจุนรูปธรรมและนามรรม)
=> กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว
=> ผัสสาหาร อาหาร คือ ผัสสะ หมายถึง การกระทบหรือความประจวบกันของอายตนะภายนอก ภายในและวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา และสิ่งปรุงแต่งจิตทั้งหลายตามมา เป็นกลไกเดิมของชีวิตอยู่แล้ว ต่อเมื่อใส่เจตนา หรือจงใจซ้อน “รู้” ด้วยภาษาที่ว่า ตั้งใจนั่นเอง จะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ ตัวจงใจตั้งใจนี้ จะยิ่งทำให้เวทนาจัดจ้านมากขึ้น ชักนำให้ก่อเกิดมโนสัญเจตนาหารได้อีกต่อ ๆ ไป
การที่จงใจมาก ตั้งใจมาก จงใจน้อย ตั้งใจน้อย มีผลก็คือ กรรมมาก กรรมน้อย กรรมดังกล่าวก็จะ จัด (จัดสรร) ผล – วิบากมาให้มาก – น้อยตามกำลังของความจงใจ – ตั้งใจ เรียกว่า กรรมจัด (สรร) ผล – วิบากที่เป็นเรื่องของเวทนาการต่าง ๆ ก็จัดจ้านตามไปด้วย จะเรียก สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาก็ตาม สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่เกิดจากผลของเจตนากรรม - จัดให้ทั้งสิ้น
=> มโนสัญเจตนาหาร อาหาร คือ ความจงใจทางใจ ในเจตนานั้น
จะมาก – น้อย – เบาบางขนาดไหนก็มีเหตุจากเนื้อหาเดียวกัน คือ ตัณหา 3 ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา และการรู้เท่าทัน (สัมมาสติ) ความจงใจ - เจตนากรรมนี้ได้ประกอบกับมีความเห็นที่ตรงต่อความเป็นจริงรองรับ (สัมมาทิฐิ) ทำให้เจตนากรรมนั้นไม่เกิด เรียกว่า งดเว้นเจตนากรรมที่จะไปยุ่งเกี่ยวด้วย (สัมมาวายามะ) นั่นก็เป็นอันละตัณหา หรือละสมุทัยพร้อม อีกทั้งไม่เป็นสมุทัยไปซะเอง เมื่อตัณหาทั้ง 3 ไม่อาจส่งผลให้เกิดการกระทำได้ก็ไม่อาจสืบภพ ชาติได้ เป็นอันตัดภพ – ชาติได้ด้วย เมื่อตัณหาดับลงก็ตรงต่อดับอยู่แล้ว - นิโรธทันที
นำมาซึ่งกรรม คือ คิด – พูด – ทำ ชักนำมาซึ่งอุปัตติภพ (ผลของกรรม) คือ ให้เกิดปฏิสนธิในภพภูมิทั้งหลาย แล้วมีชาติ ชรา มรณะ....
=> วิญญาณาหาร อาหาร คือ วิญญาณ , วิญญาณ คือ รู้ วิญญาณนี้เอง เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูปทั้งหลาย ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร ที่จงใจทำรู้ – ทำดู – ทำเห็น ก็เพราะหลงผิดหลงยึดว่ามีอัตตาตัวตน เมื่อถูกความหลงผิดหลอกให้ “เจริญรู้” นามรูป(ขันธ์ทุกข์ๆ)ก็พลอยเจริญไปด้วย นามรูปนี้ก็คือ อารมณ์ – ความรู้สึก – ความนึก – ความคิด – ความเห็น – ความหมาย ซึ่งล้วนก็ “ไร้สาระ” (อนิจจัง อนัตตา )จริงๆ
จะเห็นได้ว่า เจตนากรรมนั้น เป็นเงื่อนปมที่สำคัญมาก การงดเว้น เจตนากรรม จึงเป็นส่วนของสัมมาทิฐิ ซึ่งจะค่อย ๆ สมบูรณ์ไปเองในที่สุด
การรู้เท่าทันเจตนากรรม หมายถึง
รู้ที่มาว่าเจตนากรรมเกิดด้วยเหตุอันใด เหตุของเจตนา คือ หลงอยาก – หลงยึด – หลงเอา เพราะความไม่รู้เรื่อง(โมหะ - อวิชชา)
รู้ผล(ปัญหาหรือทุกข์โทษ)ของเจตนากรรม คือ สืบภพ – สืบพันธุ์ของตัณหา – อุปาทานในขันธ์(ทุกข์)ทั้งปวง สมกับคำกล่าวที่ว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
รู้ชัดว่า ด้วยเจตนา-กรรมใดๆไม่ใช่ “นิพพาน” แม้แต่ “ทางไป”ก็ยังไม่ใช่
รู้ว่าการดำเนินชีวิตอย่างไรที่จะพอดีในการใช้(เจตนากรรม) ธาตุขันธ์
อ่านดูแล้วอาจรู้สึกว่าจะหลาย “รู้” ที่แสดงมานั้นล้วนแต่ของ “หลอก” แล้วก็ให้เข้าใจด้วยว่า
“ที่กำลังอ่าน” “กำลังรู้อยู่นี้” ก็ ไม่ใช่ !
สรุปเด็ดขาดไปเลย ไม่งั้นจะกลายเป็นปัญญาแตกซ่าน ไม่ใช่ปัญญาตัดปัญญา แต่กลายเป็น ปัญญาติดปัญญา หรือปัญญามีปัญหา หรือปัญญาติดห่วง รู้หรือไม่รู้ก็ช่างมัน จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ช่างมัน ไม่ใช่ห่วงจะไม่รู้ – ไม่เห็น – ไม่เข้าใจ เพราะเนื้อหาจากความรู้ ทั้งหลายทั้งปวง ทั้งหมดทั้งสิ้นนั้น สรุปลงตรงต่อสัจจะเท่านั้น คือ
ไม่ใช่ทั้งหมดนั่นแหละ
ว่างอยู่เองแล้ว
ไม่ติดกันเองอยู่แล้ว
หลุดกันเองอยู่แล้ว
วางกันเองอยู่แล้ว
รู้ก็ไม่ใช่รู้ทันที (ถ้าไม่จงใจรู้ – จงใจดู – จงใจเห็น) เมื่อรู้ก็ไม่ใช่รู้ อย่างอื่นก็หมดความหมาย หมดความเป็น... ตรงต่อสัจจะของทุกสภาวะไปเองโดยปริยาย
ทำความเข้าใจกับคำว่า “ของมันเอง” “อยู่เองแล้ว” ให้ดีๆ
จงสละรู้ จาคะรู้ ปล่อยรู้ วางรู้ ไม่ทำรู้ ไม่เอารู้ ไม่ in รู้ เรียกว่า “ตัดซะรู้”
นี้คือ “อัปปมาทสัมปทา” เป็นความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทที่แท้จริง
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #12 on:
22 December 2012, 13:01:59 »
สัมมาวายาโม = ความเพียรชอบ
คนมักเข้าใจว่า ความเพียร คือ ต้องทำมาก ๆ ไม่ว่าจะทำข้างนอก ( กาย) หรือทำข้างใน (ใจ) , มีลักษณะของการประกอบ , สะสม , รอคอยความสมบูรณ์พร้อม ,
มีเนื้อหาของการเลือก - เอาสิ่งหนึ่ง
- ไม่เอาสิ่งหนึ่งหรือกำจัดสิ่งหนึ่ง
หรือ – เอาสิ่งหนึ่งไปแทนที่หรือจัดการอีกสิ่งหนึ่ง เพื่อเป้าหมายบางสิ่งบางอย่างที่คาดว่าจะได้ จะถึง
สัมมาวายามะ ไม่ใช่เพียรหรือฝึกให้จิตเกาะ-ยึด-ติด-อยู่ ที่ใดที่หนึ่ง ภาษาชอบใช้ว่า หลัก หรือ ฐาน เรียกว่า กรรมฐาน ตามสัจจะแล้ว จิตไม่มีที่อยู่ ไม่ต้องการหลัก แต่ที่ท่านให้หลัก - เกาะหลัก หรือที่อยู่นั้นเป็นเพียงอุบาย - เทคนิค ซึ่งถ้าพิจารณากันตามสัจจะแล้ว ไม่ตรงต่อความเป็นจริง (ถ้าจะยึดหรือเกาะจริง ๆ) และที่สำคัญ ปัญหา - ความยุ่งยาก-ความวุ่นวาย ที่เนื่องด้วยการหาที่ให้จิตเกาะ – อยู่ – ยึดหลัก นั้นสร้างภาระ – ทุกข์ยาก – ลำบาก ให้กับผู้สนใจใคร่พ้นทุกข์เป็นอันมากและจำนวนมาก ก่อให้เกิดความท้อแท้ - เบื่อหน่าย – หมดกำลังใจและสิ้นหวัง หรือ ตอกย้ำ มานะ – ทิฐิ ความเป็นตัวตนในรูปแบบต่าง ๆ
พวกทำไม่สำเร็จ ก็มี มานะ – ทิฐิไปอีกแบบ
พวกทำสำเร็จ ก็มี มานะ – ทิฐิ ติด ยึดหลัก – แช่หลัก – เอาหลัก – เกาะหลัก ฯลฯ กลายเป็นความหลงหลัก ไม่อาจล่วงพ้นสังสารวัฏ – สังสารวนได้จริง เพราะติดหลัก วางหลักไม่ได้ นอกเหนือหลักไม่เป็น ท่าน จึงใช้ภาษาที่ดูรุนแรง เพื่อกระแทกให้พวกชอบหาหลัก – ติดหลัก – เกาะหลักได้หลุดจากหลัก เช่น ควายมันยังไม่ชอบหลักเลย , เป็นควายหรือยังไง ที่จะคอยหาหลักให้อยู่ หรือ พวกที่ชอบแช่ หรือ หลงแช่แล้วไม่รู้ตัว ท่านก็ว่า ไม่ใช่ควายนะ จะได้ชอบแช่
ถ้าจะพูดคำว่า เพียร ที่ตรงต่อสัจจะแล้ว คือไม่ทำ ไม่มีเนื้อหาของกิริยาทางใจต่อสภาวะ แม้แต่เจตนา, จงใจจะให้ความสนใจ
ถ้าไม่ตรงต่อความเป็นจริงรองรับแล้ว ความเพียรดังกล่าวก็ไม่อาจเป็นความเพียรชอบได้ ก็เป็นความเพียรชนิด มิจฉาวายามะ หรือโลกิยมรรคเท่านั้น แม้จะทำได้ตรงตำราก็ตาม แต่ถ้ามิได้เป็นเนื้อหาที่ตรงต่อความเป็นจริงซะแล้ว ก็ไม่อาจเข้าได้กับเนื้อหาที่จะพ้นทุกข์ คือ อริยมรรค
เมื่อเข้าใจตรงต่อความเป็นจริงแล้ว กลับกลายเป็นว่า สัมมาวายามะ คือ เพียรที่จะไม่ทำ เพราะอะไรหรือ ? ก็เพราะที่เกิดมาได้และที่กำลังปรากฏอยู่ หรือเป็นอยู่นั้น มันก็เนื่องด้วยการหลงทำตลอดเวลา หรือ หลงเจตนาทำตลอดเวลาอยู่แล้ว ที่เรียกกันว่า ความเคยชิน – ความคุ้นชิน ทำจนชิน หรือ ชินในการทำตาม( กรรมอนุสัย) จนกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า นิสัย -- บุคลิก – จริต– พฤติกรรม
ความเป็นจริงมีอยู่ว่า เพราะยึด จึงทำ , ที่ทำก็เพราะยึด ถ้าไม่ ยึด จะ ทำ ไปทำไม? หรือด้วยเหตุผลใด? มีอยู่เพียงเหตุผลเดียวที่เจตนาทำโดยไม่เนื่องด้วยตัณหา – อุปาทานคือ เป็นไปเพื่อการเกื้อกูล สงเคราะห์ อนุเคราะห์เท่านั้น ซึ่งจะเป็นการกระทำแบบแล้วแล้วไป ไม่ใช่คอยทำ หรือทำคอย , รอ , เฝ้า , ตาม,หมกมุ่น,ตอกย้ำ,เทียวไล้เทียวขื่อฯลฯ
ดังนั้นการปฏิบัติแบบทอ-อำ-ทำ จึงสะท้อนมาจากอิทธิพลของตัณหา – อุปาทาน(เงาของ) อัตตาหรือตัวตน ซึ่งเป็นไปเพื่อการติด – ขัด – ข้อง – คาและไม่ตรงกับเนื้อหาของการลุล่วง – พ้นทุกข์ จึงเรียกว่า เป็นการเจริญสมุทัยไปซะเอง ส่วนการปฏิบัติแบบไม่ทำนั่นแหล่ะคือการปฏิบัติตามหรือตรงต่อสัจธรรม ที่ไม่ได้เป็นอะไรอยู่แล้ว หลุดกันเอง วางและว่างกันเองอยู่แล้ว ก็ตรงต่อวิมุตติ ความหลุดพ้นอยู่เองแล้วทันที ไม่ใช่ “เรา”ติด, ไม่ใช่ ”เรา”หลุดพ้น จริงๆก็ไม่มี “เรา”อยู่แล้ว แล้วจะทำให้“เรา”หลุดหรือทำให้หลุดจาก“เรา”ไปได้อย่างไรกัน การไม่ทำ ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่อะไรกับอะไร แล้วแล้วไป นั่นแหล่ะคือหลุด - พ้นจากความหลงผิดว่ามี “เรา”ทันที
สัมมาวายามะ โดยเนื้อหาที่เป็นการออกจากทุกข์ ออกจากการสร้างเหตุแห่งทุกข์ เป็นไปแบบตรงต่อความจางคลายของความยึด ความติด ( อริยมรรค ) ก็คือ เพียรที่จะไม่ทำตามความคุ้นชินเดิม คำว่า เพียร ก็คือ ดำเนินชีวิตเป็นไปตามปกติธรรมดานี้เอง ซึ่งมันก็อัจฉริยะ – อัตโนมัติอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ต้องจงใจหรือตั้งใจซ้อนลงไปกับการเป็น การอยู่นั้นนัก รวมทั้งงดเว้นเจตนากรรมที่จะทำอะไร ๆ เกี่ยวกับเรื่องราวภายในจิตใจ คือไม่ต้องตั้งเงื่อนไข ข้อแม้ หรือกฎเกณฑ์ที่จะดำรงชีวิต มันเป็น มันอยู่ ได้เองโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว
ไม่ต้องพิถีพิถัน ( ผี...ถี ผี...ถัน) “จะอย่างนั้น ต้องอย่างนี้” เป็นการเป็น การอยู่ ที่หลงสร้างภาพมายามาหลอกหลอนตนเองและผู้อื่นไปวันๆเท่านั้นเอง เหมือนลมหายใจเข้า หายใจออกที่เป็นเอง เราไม่ต้องใส่เจตนาหรือคอยสนใจที่จะช่วยมันหายใจหรือไปกำหนดหรือสร้างรูปแบบของการหายใจชนิดใหม่ๆขึ้นมาแต่อย่างใด ฉันใดก็ฉันนั้น มันก็จะสอดคล้องกับสัจธรรมที่เรียบง่ายไปเอง
ความคุ้นชินเดิม (กรรมอนุสัย ) = ของเก่า จะทรงอิทธิพลหรือส่งผลให้กลายเป็นเหตุไม่รู้จบ หากการเย้ายวน ชัก ชวนและเชิญของอนุสัยเก่าให้ทำตามต่อ ได้สำเร็จ เมื่อผู้ปฏิบัติหลง ไหลตามความคุ้นชินนั้นไป อนุสัยนั้นจะดูเหมือนมีไม่รู้จักจบจักสิ้น นอกจากนั้นแล้วการเกิดขึ้นของอนุสัยจะยังคงมีรสชาติตลอดไป , รสชาติที่ชวนเชิญให้ทำตามทุกรูปแบบ – คิดตาม – พูดตาม – ทำตาม กลายเป็นการทำเหตุใหม่ ซ้อนผลเก่า เรียกว่า กรรมซ้อนธรรม อาการของความปรากฏขึ้นและประกอบด้วยรสชาติที่ชวนเชิญให้ใจหลงใหล เพลิดเพลิน ทำตามหรือทำต้าน เค้าเรียกว่า ยางเหนียว ( กิเลส )
เราต้องเข้าใจให้ถูกว่า ตามความเป็นจริงแล้ว ความเคยชินหรือสิ่งที่เรียกว่าอนุสัยก็คือ ผลหรือวิบากที่เกิดจากการกระทำซ้ำ ๆ แม้แต่สิ่งที่เข้าใจกันว่าเป็นกิเลส , กองทุกข์ เช่น โลภะ โทสะ โมหะ ก็เป็นผลหรือวิบาก แต่ด้วยการปรากฏขึ้นของมันตามเหตุ – ปัจจัย พร้อมทั้งรสชาติที่เหมือนยังทรงอิทธิพลอยู่ ทำให้ผู้คนทั่วไปที่จิตใจยังขาดสัมมาทิฐิ ถูกผลดังกล่าว (โลภะ โทสะ โมหะ ) เมื่อปรากฏออกมาแล้วครอบงำให้ใจหลงกระทำตาม
ติดฝั่งกามสุขัลลิกานุโยค (หลงใหล , เพลิด – เพลิน)
ส่วนผู้ที่ปฏิบัติแต่ก็ยังขาดสัมมาทิฐิก็พยายามต้าน,พยายามฝืน , เฝ้า,แทรกแซง, กดข่ม , ควบคุม หรือพยายามทำให้หลุด – ทำให้ดับ แม้แต่ทำจนดูดีขึ้น เช่น สังเกต , แล , เหลือบ , ชำเลือง ไม่ไหลตาม แต่ก็ยังสนใจรู้สนใจดู ก็ยังจัดเป็นความหลง คือหลงไปสำคัญมั่นหมาย , หลงไปให้ความหมายกับสภาวะ ที่โดยสัจจะแล้วมันไม่มี -ไร้ - ปราศจากความหมายอยู่แต่เดิม เหล่านี้ล้วนจัดได้ว่ายัง
ติดฝั่ง คือฝั่งอัตตกิลมถานุโยค ( การประกอบตนให้ทุกข์ยาก ลำบาก )
การติดฝั่งที่แท้ ไม่ว่าจะเป็นฝั่ง
กามสุขัลลิกานุโยค หรือ อัตตกิลมถานุโยค ก็ล้วนแต่เป็นการติดที่เริ่มต้นด้วยการไปให้ความสนใจกับสภาวะโดยเจตนา เพราะความไม่รู้ว่า การไปเจตนาสนใจต่อสภาวะนั้น เท่ากับเป็นการไปต่อกระแสของความยึด ความอยาก อันเป็นการส่งเสริมความหลง ให้เหนียวแน่นหนักและหนายิ่งขึ้น
การที่จะไม่หลงติดฝั่ง 2 ฝั่งได้ ก็ด้วยการที่ใจเราต้องตื่นต่อความเป็นจริงของชีวิต ที่ว่า
- ทุกสรรพสิ่งล้วนยึดถือไม่ได้
- ทุกสรรพสิ่งล้วนว่างเปล่าจากความหมาย , จากการเป็นอะไรจริง ๆ
- ทุกสรรพสิ่งล้วนดับเอง-หลุดเอง, ปล่อยกันเอง, วางกันเอง อยู่แล้ว
ถ้าหากยังดิ้นรน แสวงหา ไขว่คว้า ยึดติด รวมทั้งหลง –ไหล – วกวนอยู่ ก็ทุกข์ฟรี ๆ ไปเท่านั้นเอง จิตใจต้องตระหนักชัดถึงความจริงที่ว่า ไม่มีการได้อะไรที่แท้จริง และไม่มีการเสียอะไรที่แท้จริง ความพยายามที่จะเอาอะไรๆๆ ปฏิเสธอะไรๆจะค่อยจืดจาง เบาบางไปเอง สิ่งที่ต้องรู้อยู่แก่ใจก็ยังมีอีกว่า
เราไม่สามารถห้ามการปรากฏขึ้นของอนุสัยเก่าได้
เราไม่สามารถห้ามการเข้าไปรับรู้อนุสัยเก่าหรือสภาวะใดๆได้
รวมทั้งไม่มีใครที่จะห้ามความหลง( ถ้ามันเคยหลง ) ความอยาก( ถ้ามันเคยอยาก) ความยึด(ถ้ามันเคยยึด) ความหลงที่จะทำตาม(ถ้ามันเคยทำตาม) สรุปว่าบรรดาความหลงนานาชนิดนั้นห้ามไม่ได้ จะไปปฏิเสธก็ไม่ได้
จิตยังรู้ด้วยว่า การหลงเข้าไปยุ่งกับสภาวะที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดเป็นการสร้างเหตุใหม่ ( ความเคยใหม่ ๆ )ซ้อนผลเก่าและตอกย้ำผลเก่า ( ความเคยเก่า ๆ )ให้ทรงอิทธิพล มีรสมีชาติอยู่ต่อไปนั้น ไม่เกิดประโยชน์อันใด ทั้งยังเป็นการก่อเหตุให้เกิดทุกข์ไม่รู้จบสิ้น
ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะการหลงเข้าไปทำ มันขัดแย้งต่อความเป็นจริงที่ว่าสภาวะทุกสภาวะ โดยธรรมชาติ(สัจจะ)แล้ว สภาวะทุก(ข์)สภาวะเป็นไปในลักษณะที่เป็นไปเอง “ท่าน”จึงใช้คำว่า “อยู่แล้ว” ให้พวกเราสำนึกถึงความจริงข้อนี้ให้ดีๆ (คือไม่ใช่การเป็นไปที่ต้องใช้เจตนาประกอบ หรือเป็นการดำเนินงาน) มันไม่ต้องการเหตุปัจจัยในการดับ เพราะมันดับของมันเอง และจิตยังรู้ชัดว่าไปทำอะไรกับสภาวะไม่ได้จริงๆ
การหลงเข้าไปทำ กิริยา(โดยเจตนา)ทางใจ ไม่ว่าจะแบบไหน กลับเป็นการ
- เจริญสมุทัยไปซะเอง แม้ว่าเป้าหมายที่ทำก็หวังเพื่อการละสมุทัย แต่เพราะความไม่รู้เนื้อหาของสัจธรรม จึงหลงทำไปด้วยอำนาจและเล่ห์เหลี่ยมของตัณหาอุปาทาน ไปเสีย
- เลยนิพพาน , เลยความดับ , เลยความพ้น , เลยความไม่ติด – ขัด – ข้อง – คาของสภาวะ (ขันธ์ 5) ซึ่งมีอยู่เองแล้ว จึงไม่อาจลุล่วง – พ้นทุกข์ได้จริง ตัวปฏิบัติกลับเป็นตัวติดไปซะเอง โดยไม่มีใครเอะใจ เฉลียวใจ ท่านเรียกว่า ไม่รู้อริยสัจ ( ขาดสัมมาทิฐิหรือเป็นมิจฉาทิฐิ )
การที่จิตระลึกรู้สภาวะใดๆ ก็ตามและการระลึกรู้นั้นประกอบด้วยความเข้าใจถึง ความเป็นจริง “อันเป็นที่สุด” ของสภาวธรรมนั้นด้วย นี้แหละท่านเรียกว่า สติสัมปชัญญะ หรือ สัมมาสติ ( สติ อันมีสัมมาทิฐิรองรับ ) โดยเนื้อหาก็คือ
รับรู้แบบไม่อะไรกับอะไร
รับรู้แบบแล้วแล้วไป
รับรู้ซื่อ ๆ
รับรู้เฉย ๆ
เป็นการตื่นที่ประกอบด้วยปัญญาหรือสัมมาทิฐิ นั่นเอง
: ก่อนหน้าการเกิดขึ้นของผัสสะ จะไม่มีเนื้อหาของการคอย , การเฝ้า, ความพยายาม , แสวงหา , ดิ้นรน จิตใจที่ไม่อยู่เป็นปกติ , เฉย ๆ ที่เรียกว่า ตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร ก็เป็นการไม่หลงสร้างเหตุใหม่หรืออนุสัยใหม่
: ต่อเมื่อเกิดผัสสะขึ้น จิตซึ่งมีหน้าที่ในการรู้อารมณ์ โดยธรรมชาติ เค้าก็จะรับรู้ผัสสะนั้น แต่ก็จะเป็นการรับรู้แล้วไม่สำคัญมั่นหมาย , ไม่อะไรกับอะไร , แล้วแล้วไปไม่อินผัสสะ ไม่หลงตอกย้ำของเก่า ก็ไม่ก่อให้เกิดเวทนาที่จัดจ้าน ปรุงแต่งเป็นตุเป็นตะ แล้วก็ยึดถือในความเห็น – ความหมายกลายเป็นทิฐานุสัย – มานานุสัย คือ เห็นว่า , เข้าใจว่า , รู้สึกว่า , น่าจะ , ควร , ต้อง ( การรู้ความหมายก็รู้ไปตามปกติแต่ก็รู้อยู่แก่ใจว่า มันเป็นเพียงสิ่งอุปโลกน์ – สมมติ) การหลงทำตามไปหรือการไปสนใจ เป็นเหตุให้เกิดการก่อภพ- ก่อชาติ ไม่รู้จบสิ้น การตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร เป็นการตื่นที่จบเรื่อง – หมดเรื่อง ไม่ใช่การตื่นแบบหาเรื่อง – เอาเรื่อง – สร้างเรื่องไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม
ขณะรู้ ก็รู้อยู่แก่ใจพร้อม ด้วยว่า (กำลัง)รู้(อยู่)นี่ก็ “ไม่ใช่” ไม่ต้องกล่าวถึงสิ่งถูกรู้หรือผลพวงที่เนื่องมาจาก “ รู้”(เห็นว่า-เข้าใจว่า-รู้สึกว่าฯลฯ) นั่นก็ “ยิ่งไม่ใช่”
คำว่า รู้อยู่แก่ใจว่า “ไม่ใช่” หมายความว่า ตามความเป็นจริงแล้ว สภาวะทุกอย่าง
- ไม่ใช่อะไรที่แท้จริงซักอย่างเดียวพอที่จะเกาะ – ยึดไว้เป็นที่พึ่ง - อาศัยได้
- ไม่ใช่เป็นอะไรจริงพอที่จะเอาสาระได้
- ไม่ใช่นิพพาน เพราะนิพพานไม่ใช่ขันธ์ 5 , นิพพานไม่ใช่อะไร
การรู้อยู่แก่ใจอย่างแท้จริงว่า “ไม่ใช่ทั้งหมด” ทั้งตัวรู้ – สิ่งที่ถูกรู้ , ไม่ว่าปรากฏการณ์ของธาตุ- ขันธ์ในรูปแบบใด หน้าตาเนื้อหาจะแสดงออกมาอย่างไร ความหลงยึด หลงอยาก หลงเกาะ หลงแกะ หลงแช่ หลงเอาจะค่อยจืดจางไปเอง เมื่อเป็นเช่นนั้น ใจ ก็จะเป็นเนื้อหาเดียวกับของเดิมแท้ไปโดยปริยายคือ ความประภัสสร ในทางตรงกันข้ามเมื่อใดที่เรารู้สึกว่า “ใช่” กับปรากฏการณ์ ความยินดี , พอใจ , ok , inไปแม้ในความรู้ – ความเข้าใจ – สติ – สมาธิ –ปัญญา – แม้ความโปร่ง – โล่งโพล่ง , เบา , ว่าง สิ่งเหล่านั้นก็จะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของอุปาทานไปเรียบร้อยเลยทันที
การเตือนใจถึงความเป็นจริงแท้ของสภาวะเหล่านี้ว่า มันไม่ใช่ทั้งหมดนั่นแหละ อาจเรียกว่าเป็น นิโรธสัญญา คือ เมื่อระลึกถึง , มนสิการถึง , คิดถึง จิตใจก็ยุติการพัวพัน – หมกมุ่น จมปลัก ,วกวน , แวะเวียน , ยุติทำ, ยุติเจตนากรรม, ยุติความหลงที่จะสร้างภพ – ชาติโดยเจตนาไปเอง เรียกว่า “เลิกหลง”ใจก็ตรงกับยุติธรรม คือ นิโรธ – นิพพาน – วิมุติ โดยเนื้อหาทันที การมีความเข้าใจรองรับอยู่เช่นนี้ ก็ทำให้ทั้งหมดที่ “รู้” นั้นจะไม่กลายเป็น “เป้า” ให้อุปาทานได้ฝากหรือฝังเชื้อยึด ให้เกิดการอยาก – ไม่อยาก(เหตุใหม่) แล้วหลงสร้างภพชาตินำมาเสนอและหลงสนองตัณหาอุปาทานให้สังสารวัฏหนาแน่นต่อไป
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #13 on:
22 December 2012, 13:03:04 »
สัมมาสติ ในพระสูตร – ตำรา ท่านหมายเอาถึงสติในสติปัฏฐาน 4
ความสำคัญของเนื้อหาในสติปัฏฐาน 4 คือ วิปัสสนา(ตัด-จบ) ซึ่งถ้าหากผู้ปฏิบัติไม่เข้าใจกลไกแล้ว การปฏิบัติจะติดตันอยู่ที่ดูดี ดูเหมือนก้าวหน้า แล้วเข้าใจว่าเจริญวิปัสสนาอยู่
อย่างไรจึงเรียกว่าวิปัสสนา จะเป็นวิปัสสนาก็ต่อเมื่อสภาวธรรม ( สภาวะรู้และสิ่งถูกรู้ ) ได้ปรากฏเองอย่างอิสระเต็มที่ตามความเป็นจริง(แม้จะยังไม่ตื่นหรือตื่นไม่เต็มที่ก็ต้องช่างมัน) การกระตุ้นโดยมีเจตนาแม้เล็กน้อยในการพยายาม “รู้” นั่นแหละคือเนื้อหาของการเกิด(ภพ)ทางใจเรียบร้อยแล้ว เช่นคอยดู คอยรู้หรือตามรู้ ตามดูเป็นต้น ล้วนแต่เป็นการปิดกั้นไม่ให้สภาวธรรม(สภาวะรู้และสิ่งถูกรู้)ได้แสดงตัวอย่างอิสระเต็มที่(ของมันเอง) ประตูใจจะหรี่ลงโดยปริยาย สิ่งที่ปรากฏก็จะบิดเบือนไปจากความเป็นจริง คือเมื่อกำหนด ก็เท่ากับการกำเหนิด ให้เกิดกำหนืด กำเหนียว กำแน่น กำหนาในธาตุ-ขันธ์ รวมมาหมดของสารพัดกรรม( กำ)
สภาวะดู – รู้ –เห็น ต้องไม่เนื่องด้วยเจตนา คือไร้เจตนา – จงใจดู – รู้ – เห็น (แต่ก็ไม่ใช่เพลิน – ไหลตามอารมณ์ – ความรู้สึก – ความนึก – ความคิด) จะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อ “ใจ”ซาบซึ้งอย่างแจ่มแจ้งว่า จะ“รู้”แบบไหน จะ“รู้”อย่างไรก็ “ไม่ใช่”อะไรที่จะยึดถือเอาเป็นจริงเป็นจังได้ “ใจ”ก็จะไม่หลง(ดิ้นรน-แสวงหา-รอคอย)ให้ค่ากับ “ปัญญา” เรียกว่า “ตื่น!!!ต่อสัจจะแห่งชีวิต” รู้ –ดู-เห็นที่เกิดขึ้นก็จะไม่ปนเปื้อนไปด้วยตัณหาและอุปาทานใน “ปัญญา”
ทุกดวงจิตต่างถูกสั่ง ถูกสอน ตอกย้ำความหลงให้ค่ากับ “รู้” “ปัญญา” มาเนิ่นนาน(ไม่ใช่แค่ชาตินี้นะ) ไม่ว่าจะเรื่องโลกๆหรือเรื่องธรรมะ หากเราเข้าใจว่า “กิจพรหมจรรย์” นี้จะจบได้ด้วยการเจริญการ “รู้”แล้วละก็ ขอให้เข้าใจซะใหม่เถอะว่า “ไม่ใช่” “ไม่ถูก” “ไม่ตรง” องค์พุทธะอรหันต์ มหาโพธิสัตว์ท่านมีแต่ให้เรา “ปลงรู้” “สละรู้” “ปลงขันธ์” “สละขันธ์”
นั่นแหละ “สักแต่ว่า-รู้” ที่แท้จริง จึงค่อยตรงต่อการ “จบกิจพรหมจรรย์”ได้จริง
เมื่อทราบความนัยนี้แล้ว ก็ขอให้เลิกหลง “เจริญรู้” กันได้แล้วล่ะครับท่าน
“รู้” “สติ”ที่กล่าวถึงในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้น
- ไม่ใช่การเจริญในลักษณะของการเพิ่มปริมาณอย่างที่เข้าใจกัน(ทำให้มาก เจริญให้มาก บ่อยๆ เยอะๆ)
- ไม่ใช่การเจริญในลักษณะที่ต้อง “รู้” ต้อง “ระลึก”ให้ทัน(เวลา)
- ไม่ใช่การสร้างหรือทำสิ่งหนึ่งขึ้นมาเพื่อทดแทน, แทนที่หรือจัดการกับอีกสิ่งหนึ่ง
(ไม่ใช่ดังอุปมาอุปไมยถึงการสร้างแมวไว้จับหนู แต่หมายถึงปลงมันทั้งแมวทั้งหนูจึงจะ=ว่าง)
- ไม่ใช่การเจริญในความพยายามที่จะอยู่กับปัจจุบัน (เพราะแต่ธาตุขันธ์มันวางตัวมันเองอยู่แล้วโดยตลอด) ท่านมีแต่ให้คลาย.. ให้ผ่อน.. ให้ปลง.. ให้แล้วแล้วไป..กับปัจจุบัน
- ไม่ใช่การเจริญ “รู้”ไปเรื่อยๆในฐานะเพื่อการศึกษา คล้ายจะทำงานวิจัย-วิจารณ์
เพื่อให้ได้บทสรุปของตนเอง(ทั้งที่องค์พุทธะท่านได้บอกรายละเอียดวิธีการทำวิจัยสัจธรรมของกาย-เวทนา-จิต-ธรรมและบอกบทสรุป(ว่าทั้งหมดนั้นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา-อยู่เองแล้ว)ถึงความเป็นจริงไว้อย่างชัดเจนแล้ว ท่านมิได้มีประสงค์ให้เรา(ซึ่งมีศักยภาพอันน้อยนิดแถมมีอนุสัยยึด-อยากหนาแน่น)มาทำงานวิจัยตามท่านอีกแล้ว ท่านให้เรานำบทสรุปของงานวิจัยของท่านเอาไปใช้ได้เลย(เพราะนี้คือสุดยอดของปัญญา-อาวุธ) จึงพอที่จะจบกิจได้ทันต่อความตายในรอบแห่งชีวิตชาตินี้ นี่แหละคือความไม่ประมาทในชีวิตอย่างแท้จริง)
หากเราเข้าใจตรงต่อประเด็นดังกล่าวแล้วจริงๆ
ก่อนรู้ : จะไม่มีเจตนารอ, คอย ,ค้น,หา, เฝ้า , ระวัง , ระแวง , ควานหา ,สแกนหา
ขณะรับรู้ : จะไม่มีเจตนาจ้อง(เพื่อหารายละเอียดไม่ว่าจะเป็นแง่มุมใดๆ),ไม่เพ่ง, แช่, จม,งม, ทรง ,ดำรง ,เข้าไปตั้งอยู่ ,ตีความ ,สำคัญมั่นหมาย , inไป หรือเอาสภาวะ
หลังรับรู้:จะไม่มีเจตนาทำการวิจัย –วิจารณ์, สะสม, เอา, ยึด, ถือ, ปฏิเสธ ไม่ทำตาม ไม่ทำต้าน เรียกว่า จบ คือรู้แล้วแล้วไป(แบบฉับพลัน= สักแต่ว่า)
ทั้งหมดนี้คือความเข้าใจใหม่ที่เราควรตรองดูดีๆ อย่าเพิ่ง “เชื่อ” หรือ “ไม่เชื่อ”
รายละเอียดของเนื้อหา - กายานุปัสสนา
- เวทนานุปัสสนา
- จิตตานุปัสสนา + +
- ธัมมานุปัสสนา
ท่านบอกบทสรุปไว้ให้ตอนท้ายของทุกบรรพะคือ เธอย่อมเป็นอยู่อีกอย่างหนึ่ง คือเข้าไปตั้งสติว่ากาย – เวทนา – จิต – ธรรม มีก็เพียงสักว่าความรู้ 3 เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อิงอาศัย 4 และไม่ถือมั่นอะไรอะไรในโลก 5
ถ้าเราอ่าน ศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ในพระสูตรแล้ว อาจท้อแท้ เหนื่อยหน่ายได้ แต่โดยเนื้อหา – สาระจริงๆ แล้ว การนำไปใช้มิได้ยุ่งเหยิงอย่างที่คิดหรือที่ปฏิบัติทำกันอยู่ เบื้องต้นนี้จะอธิบายและสรุปไปตามตำราก่อน
เนื้อหาของ 1 คือ ขอบเขตของสิ่งที่จิตจะเข้าไปรับรู้ก็มีเพียงแค่ 4 อย่าง คือ กาย(รูป) – เวทนา – จิต – ธรรม ทั้ง 4 อย่าง สรุปลงเป็น 2 คือ รูปธรรมกับนามธรรม ซึ่งมีอยู่แล้ว จิตเค้าก็รับรู้เป็นปกติอยู่แล้ว ประเด็นสำคัญในเนื้อหาของ 1 นี้คือ
สิ่งที่ถูกรู้ไม่สำคัญว่าเป็นอะไร ไม่ว่ากาย – เวทนา – จิต – ธรรม = รูป – นาม เรียกสรุปเป็น 1 ไปเลยแค่ “สภาวะ” ไม่ต้องไปแบ่งแยกว่ามันชื่ออะไร, มีความหมายว่าอะไร (ไม่ต้องไปnaming ซึ่งจะตรงกับสัจจะที่ว่าปราศจากความหมาย) , เป็นอะไร (ตรงต่อสัจจะที่ว่า ไร้ความเป็น...) อะไรดีกว่าอะไร อะไรสูงกว่าอะไร ต้องให้รู้แบบเป็นขั้นเป็นตอน(อันนี้มานะและทิฐิมันจัดให้) เพราะโดยสัจธรรมแล้วทุกสภาวะไม่มีความหมายในตัวเอง เสมอกัน เท่าเทียมกันอยู่เองแล้ว ปราศจาก “ความเป็น...” อะไรๆ เนื่องจากมันไม่ใช่สิ่งยึดติดอยู่แล้ว วางกันเองอยู่แล้ว เวลาจะรู้อารมณ์ จิตก็เลือกสภาวะที่จะไปรู้ไม่ได้อยู่แล้ว เพราะจิต – สติ ( การระลึก) ก็เป็น อนัตตา ในความหมายที่ว่าบังคับไม่ได้ – สั่งไม่ได้ แม้แต่การเกิดขึ้น และการดับลงของเจตนาหรือความจงใจ ก็จะบังคับสั่งการยังไม่ได้เล้ย ! ลองตรองดูดีๆ มีใครดับเจตนาได้บ้าง มีใครสั่งให้เกิดเจตนาหรือให้เกิดความจงใจได้บ้าง บ่มีดอก..
เนื้อหาของ 2 คือ อนุปัสสนา แปลว่า รู้ตาม ไม่ใช่ตามรู้
- โดยธรรมชาติเมื่อมีผัสสะเกิดขึ้นแล้วจิตจึงมีการระลึกรู้ รับรู้ตามภายหลัง อันนี้เรียก
ว่า “รู้ตาม” เป็นกลไกธรรมชาติ ธรรมดา- นอกเหนือเจตนา(ของมันเอง...อยู่แล้ว)
- แต่การตามรู้ต้องอาศัยความจงใจ(เจตนา) อาการตามรู้ จึงเป็นสิ่งปรุงแต่งชนิดใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งมันคือผลิตผลของอวิชชา -ตัณหา-อุปาทาน(ในธรรมะ-สติ สมาธิ ปัญญา ฌาน ญาณ)( อวิชชาปัจจยาสังขารา – อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร แปลได้ว่า เพราะความไม่รู้จึงหลงปรุง – หลงสร้างสภาวะตามรู้ขึ้นมา) ความเป็นจริงมีอยู่ว่า ทุกสรรพสิ่งไม่ได้พยายามจะเป็นตัวมันเอง(อนัตตาอยู่แล้ว) จึงไม่มีอะไรกำหนดอะไร ไม่มีอะไรจะต้องตามอะไร หรือมันอยากจะมีปัญญา เลยอยากจะรู้ เลยอยากจะเข้าใจอะไรๆ กลัวจะไม่รู้ เนื้อหาของมันนั้นวางกันเองอยู่แล้วโดยตลอด แล้วมันจะมีเจตนาตามอะไร เป็นอะไร เอาอะไรไปทำไม จะยึดอะไรได้จริงๆบ้าง
ดังนั้นถ้าเราไปทำ ตามรู้ เพื่อให้เกิดปัญญาก็จะกลายเป็นเนื้อหาที่ท่านกล่าวว่า อวิชชาในวิชชา , ตัณหาในปัญญาโดยปริยาย กลับกลายเป็นการเจริญสมุทัยอย่างแนบเนียนที่สุด อีกทั้งเนื้อหาของการตามรู้ ถ้าเป็นผู้ใหม่หรือยังไม่เข้าใจจริง ๆภาษาที่ใช้จะทำให้เกิดการ เฝ้า, รอคอย , งม,สาละวน
มันเหมือนเรามีสติ – สมาธิ – ปัญญามากขึ้นก็จริง , เห็นเกิดเห็นดับก็ใช่ แต่มันพ้นทุกข์ไม่ได้ เพราะมันวนอยู่ในขันธ์(ทุกข์)ซะเอง ไม่อาจหลุดพ้นได้กลายเป็น คาตัวปฏิบัติ ติดตัวปฏิบัติ หรือวิธีการปฏิบัติ ไปเสีย แทน ท่านจึงใช้ภาษาสะท้อนแบบไม่เกรงใจประมาณว่า
“ วิชาวิปัสสนานั้น ท่านให้ปลงทุกฐาน ไม่ใช่ติดทุกฐาน ”
“ องค์พุทธอรหันต์ สอนวิชาพ้นทุกข์ ไม่ใช่สอนวิชาเฝ้ายาม ”
“ ไอ้ที่เฝ้าน่ะเพราะมันจะเอา มันจะเอาอะไรได้จริงไหม ? สิ่งที่มันจะเอาก็เป็นกองทุกข์ทั้งนั้น มันแค่ดูดีเฉย ๆ หรอก แต่ดูให้ดีเข้าจริง ๆ มันก็ดีไม่จริงเพราะมันหลง โมหะมันครอบงำเอารู้มั้ย! ”
“ ที่มันจะเอานี้ มันเอากันมากี่ชาติแล้ว แต่ละวัน ๆ เอากันมากี่เรื่องแล้ว ร้อยเรื่อง พันเรื่อง มันได้ซักเรื่องหรือยัง ไม่เห็นมันได้จริงซักเรื่อง มันของโมฆะทั้งนั้น จะเอามันมาทำอะไร ฮึ ! ”
อย่าหลงภาษานะ แต่ขอให้ตรงต่อสัจจะ
การ “รู้ตาม”อันประกอบด้วยความเข้าใจ(ปัญญา – สัมมาทิฐิ) เมื่อจิตรับรู้สิ่งใดก็ตาม(ระลึกแบบอัตโนมัติ คือเป็นเอง) จะเป็นการรับรู้ทั่วพร้อม(ถึงความเป็นจริง อันเป็นที่สุดของทุกสภาวะไปด้วยเสมอ) ท่านเรียกว่า รู้ตัวทั่วพร้อม (โดยความเป็นไตรลักษณ์) ที่ว่า
- ไม่ใช่อะไรอยู่แล้ว
- ไม่ใช่สิ่งที่เป็นอะไรจริง ๆ อยู่แล้ว
- ปราศจากความหมายอยู่แล้ว
- บังคับไม่ได้อยู่แล้ว
- ดับเองอยู่แล้ว
- หลุดกันเองอยู่แล้ว
- ไม่ยึดติดแม้แต่ตัวมันเองอยู่แล้ว
เรียกว่า รับรู้แบบรู้อยู่แก่ใจ , รู้อยู่โดยสามัญสำนึก , แยบคายในการรู้ เมื่อรู้ที่ตรงกับความจริงแท้ของสภาวะ ก็จะไม่มีหรือไม่ถูกแรงผลักดันของตัณหาให้ก่อเกิดเจตนากรรมใดๆขึ้นมา
จะไม่มีการเข้าไปยุ่งกับสภาวะทุกรูปแบบ สภาวะก็จะแสดงความจริง(สัจจะ)ของสภาวะ คือ ดับกันเอง , ไม่ยึดกันเอง , หลุดกันเอง การไม่เข้าไปยุ่งกับสภาวะนั่นแหละเค้าเรียกว่าสติตัดปัญญาดับ ปัญญาวาง (เฉยเป็น ช่าง(มัน)เป็น) สงบเป็น เย็นเป็น ข้ามพ้นกรรมวิบากเป็น นอกเหนืออนุสัยเป็น
การ “รู้ตาม”ที่ประกอบด้วยปัญญานี้ยังครอบคลุมถึงเรื่องญาณ(รู้)ในอริยสัจ 4 อีกด้วย คือการ “รู้ตาม” ต้องปราศจากตัณหา – อุปาทานในขบวนการของการรับรู้
- “รู้”ที่ปราศจากตัณหา – อุปาทานบงการหรือกำกับ จึงต้องเป็น “รู้”ที่เกิดเอง เป็นเอง ไม่ใช่ “รู้”ที่เนื่องจากมีเจตนาที่จะรู้ สนใจรู้ หาเรื่องรู้ทุกรูปแบบ
- เมื่อระลึกรู้สิ่งใด(เอง) หากใจไม่ตรงต่อความเป็นจริงแล้วจะถูกโมหะ – ตัณหา – อุปาทานครอบงำทันที ผลสำเร็จของมันก็คือ หลอก-หลอนให้มีกรรม(ทำ)ใหม่เกิดขึ้น ไม่ว่าทำตาม-ทำต้าน นับตั้งแต่มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม
เนื้อหาจริง ๆ ก็คือมีการดำเนินชีวิตไปตามปกติ มันอยู่ได้และเป็นไปโดยอัตโนมัติ อย่าไปเจตนาตั้ง ซ้อนการเป็นการอยู่ ไม่ใช่การคอยอยู่ ไม่ใช่คอยรู้ , คอยดู , คอยทำความเข้าใจ , เฝ้าธาตุเฝ้าขันธ์ การมีเจตนาซ้อนดู – ซ้อนรู้ – ซ้อนเห็น ซ้อนตา – หู – จมูก – ลิ้น – กาย – ใจ ก็คือเอาตัณหา – อุปาทานซ้อนลงไปในปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดการร้อยรัด ( สังโยชน์ ) ผูกมัด
ให้มีความเป็น...( อัตตา)ในปรากฏการณ์ต่าง ๆ แล้วก็หลงอนุรักษ์ หรือสืบสานความเป็น...(อัตตา)ตัวตนในรูปแบบของการปฏิบัติทำ ไม่ว่าทำตาม ทำต่อ ทำเติม ทำให้เต็ม หรือไปทำต้าน ทำฝืน ทำๆๆๆ...
- เรารู้จักตัณหา – อุปาทาน แต่ภาษา - รูปศัพท์
- แต่จิตใจไม่แจ่มแจ้งในเนื้อหา – อาการ – เล่ห์เหลี่ยม – กลเม็ด ของตัณหา – อุปาทาน
( คือขาดปัญญาญาณของสัจจญาณในอริยสัจข้อที่ 2 ที่ว่า นี้คือเหตุให้เกิดทุกข์ )
คือเราไม่สามารถระบุ ( identified)ได้ว่าหน้าตา อาการใดที่เป็นลูก หลาน เหลน โหลน
ของตัณหาอุปาทาน ตัวมันเองมันก็ไม่รู้หรอกว่าตัวมันเป็นอะไร มันจึงไม่ได้บอกหรือประกาศหรอกว่ามันคือตัณหา-อุปาทานกำลังมาแล้วนะ ระวังให้ดีเด้อ!
ผู้รู้ จึงใช้ภาษาถ่ายทอดเนื้อหาของมันที่มีแง่มุมหลากหลายรูปแบบ ให้เราได้รับรู้ไว้ก่อน ต่อเมื่อมันปรากฏ การรู้เท่าทัน(ในความจริงของสภาวะ)และเกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง ตรงต่อสัจจะของสภาวะก็จะเป็นไปเอง เรียกว่า ทั้งกัน ทั้งแก้ไปพร้อมสรรพ
- อธิบายกันได้เป็นคุ้งเป็นแควว่า ตัณหา – อุปาทาน เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อย่างนั้นอย่างนี้ การจะพ้นทุกข์ต้องละตัณหา , ฆ่าฟันกำจัดกิเลส, ชำระกิเลส ฯลฯ แต่พูดไปพูดมา – เขียนไปเขียนมา – แปลไปแปลมา กลับตายน้ำตื้น คือกลับใช้ภาษาที่เป็นการส่งเสริมตัณหา อุปาทาน เป็นการกระตุ้นต่อมอยาก ต่อมยึดของผู้คน ในรูปแบบต่าง ๆทั้งฝ่ายบวกฝ่ายลบไปเสียเฉยเลย
เช่นใช้ภาษาหรือวิธีการสอนที่เป็นการตอกย้ำสภาวะแล้วก่อให้เกิดความรู้สึกหรือทัศนคติฝ่ายลบ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกรังเกียจ – เกรง- กลัว- เกร็ง –ปฏิฆะ- ปฏิเสธ โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่าสภาวะอกุศลทั้งหลาย โดยมิได้เฉลียวใจว่าด้วยเหตุดังกล่าวก่อให้เกิดผลคือความยึดติดที่อยู่ในลักษณะยินร้ายหรือไม่พอใจ ไม่อยากให้มี ไม่อยากให้เกิด( วิภวตัณหา) หรือ
ภาษา รวมทั้งวิธีการสอนนั้นตอกย้ำชี้นำให้เกิดความรู้สึกหรือทัศนคติฝ่ายบวกเช่นชอบ ยินดี พอใจ อยากให้มี อยากให้เกิด อยากได้ อยากเป็น โดยเฉพาะฝ่ายกุศลกลายเป็นความติดยึด ทะยานอยากแบบ ภวตัณหา
แต่ที่ละเอียดและลึกซึ้งแล้วไม่ค่อยมีใครเอะใจก็คือ เป็นการสอนหรือใช้ภาษาแล้วไปส่งเสริมหรือตอกย้ำ ความเป็น...(อัตตา) ไม่ว่าจะเป็น ความเป็น(อัตตา) ในสิ่งสมมติที่เรียกกันว่าธรรมะ
ผลจากการพูดหรือสอนแล้วไปหลงตอกย้ำความเป็น...นั้น
- ทำให้สภาวะที่โดยสัจจะของมันแล้วมิได้มีความหมาย กลับเป็นสิ่งที่มีความหมายแบบจริงๆจังๆ ( ทั้งที่ถ้ามันจะมีความหมาย มันก็มีความหมายเพียงแค่สิ่งสมมติเรียกขึ้นเท่านั้น ) เป็นการไปหลงให้ค่า ให้ความสำคัญมั่นหมายกับสภาวะ
- ทำให้สภาวะที่โดยสัจจะของมันแล้วมิได้เป็นอะไรคือ อนัตตา ให้กลับเป็นมีความเป็น...คืออัตตาขึ้น อันนี้แหล่ะเสียหายมาก มากถึงขั้นที่อาจเรียกได้เลยว่าเป็น สัทธรรมปฏิรูป โดยเนื้อหา ( แม้จะเข้าใจเอาเองว่ามิได้ประสงค์เช่นนั้น และก็รู้กันดีว่าทำไปก็ด้วยความปรารถนาดีก็ตาม ) พระพุทธองค์ตรัสไว้ตลอดว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ผู้ที่สื่อหรือถ่ายทอดก็ประสงค์จะสื่อถึงสภาวะอนัตตานั่นแหละ แต่ด้วยความที่ไม่แทงตลอดในธรรม ทั้งในแง่ของอรรถและพยัญชนะ ไม่แยบคาย ละเอียดอ่อน ลึกซึ้งพอ เมื่อต้องไปยืมภาษามาใช้
ภาษาที่ใช้จึงกลับชี้นำไปสู่ความเข้าใจผิดและการปฏิบัติที่ขัดแย้งกับความเป็นจริงดังกล่าวขึ้น ที่กล่าวว่าเสียหายมากอีกด้านหนึ่ง นอกจากสื่อนั้นจะผิดธรรมแล้ว ยังมีผลให้เกิดความทุกข์ยาก ลำบากและสร้างความเนิ่นช้า สร้างความติด ขัด ข้อง คาให้กับผู้ปฏิบัติไปเสียเองโดยไม่รู้ตัว มันได้รู้ ได้เห็นจริงดังอยาก ดังตั้งใจ ดังปรารถนา แต่เพราะหลงปรุงรู้ หลงปรุงสภาวะขึ้น ความระลึกรู้และผลิตผล(ความรู้)ทั้งหลายทั้งปวงก็เลยกลายเป็นที่ตั้งของตัณหา – อุปาทาน และทิฐิ ได้อิงอาศัย เรียกว่าไม่ได้บทสรุปตรงตามองค์พุทธะ จึงไม่อาจตรงต่อความพ้นทุกข์ได้จริง
ข้อที่ 3 เมื่อเรา “ไม่หลงรู้” ก็จะมี “รู้”แบบไม่หลง คือ
- รู้เองแบบไร้เจตนา ไม่มีเนื้อหาของการอยากรู้ , จะเอาสติ จะเอาสมาธิจะเอาปัญญา หรือจะเอาสภาวะใดๆก็ตาม
- รู้อันประกอบด้วยปัญญา ที่เป็นบทสรุปลงถึงที่สุดของทุกสภาวะคือ ความเป็นไตรลักษณ์ เรียกว่า รู้อยู่แก่ใจ
- รู้อันประกอบด้วยปัญญาญาณในอริยสัจ 4
- รู้แล้วไม่มีการกระทำใดๆต่อสภาวะ ทั้งการไหลตาม หรือ ฝืนไว้ หรือไหลไป
อิน(in)ไปกับความยินดี ยินร้ายต่อสภาวะ(อันเป็นวิบาก),จงใจเข้าไป วิจัย –
วิจารณ์, กำกับหรือแก้ไข แทรกแซง
อาการอย่างนี้จะมีลักษณะที่ว่าไม่นำเสนอรู้(ไม่หาเรื่องรู้ ไม่แส่หารู้) ไม่สนองต่อรู้
มันก็จะเป็นเนื้อหาของการรู้ที่เรียกว่า “สักแต่ว่า” โดยปริยาย ไม่ใช่ “รู้”แล้วทำเป็นสักแต่ว่าขึ้นมา แต่จะเป็น “สักแต่ว่า”แท้ๆก็ต่อเมื่อ ไม่หลงไปให้ค่ากับการรู้ เมื่อรู้แล้ว ก็แล้วเลย
ท่านจึงว่า อย่าพยายามทำให้ถูก เพราะยิ่งพยายามก็ยิ่งผิด, ที่ผิดก็ผิดที่พยายามนั่นแหละ , เพราะที่ถูกเดิมของธรรมนั้นเป็นสิ่งไร้ความพยายาม , นอกเหนือเจตนากรรม
ที่วุ่นวายกันอยู่ก็เพราะแส่ส่ายหาเรื่องรู้ แล้วก็ทำอะไรๆสนองรู้นั้นไปเรื่อยๆ
ข้อที่ 4 เมื่อไม่ได้ตั้งปรารถนาที่จะเอาอะไร แม้ปัญญา – แม้ความพ้นทุกข์ การรู้จะเป็นไปโดยเนื้อหาของการไร้เจตนาเข้ารับรู้ ไม่ใช่รู้เพราะแรงผลักดันของตัณหา ตั้งแต่ก่อนสภาวะปรากฏ(ดับก่อนรู้ วางก่อนรู้) การรู้ที่มีแรงดันของตัณหา – อุปาทานเป็นแรงผลัก – แรงดัน – แรงดูด – แรงดึง จะออกมาในรูปแบบของเจตนารู้ เช่น เฝ้า – คอยตาม – ระวัง – ตั้ง – ต้อง –จิ้ง – จ้อง – กำหนด, เหลือบ , แล , เหล่ , ชำเหลือง ฯลฯ ทำให้เป็นภาระแก่จิตใจมาก – น้อยแล้วแต่กำลังของความตั้ง – ความต้อง หรือกำลังของตัณหา – อุปาทาน (แทนที่จะดับอยู่แล้ว สงบอยู่แล้ว เย็นอยู่แล้ว ก็กลายเป็นสภาวะที่มีตัณหา – อุปาทาน หล่อเลี้ยงจุนเจือไว้ตลอด คือ หลุกหลิก หยุกหยิก แส่ส่าย เพราะหิวรู้อยู่นั้น)
ต่อเมื่อสภาวะปรากฏก็มีโอกาสที่จะพุ่งรู้ ถลำรู้ จมรู้ จริงจังกับการรู้ การเห็นจากทุกอาการ เป็นปัจจัยเกื้อกูลให้เป็นการเสพติดเพิ่มอีก (มันก็ติดรู้ตั้งแต่ก่อนเกิดอยู่แล้ว) หนักขึ้นเรียกว่ารู้เข้า – รู้เอา – เอารู้ เป็นการตอกย้ำการยึดติดในธาตุขันธ์ให้ซึมลึกมากขึ้น ก็ยิ่งผิดสัจธรรมเข้าไปอีก ท่านจึงว่า หลงรู้(อวิชชามิได้หมายถึงความไม่รู้แต่หมายถึงไม่รู้ว่ากำลังหลงรู้อยู่)
เมื่อรู้แล้ว สรุปลงถึงที่สุดของสภาวะที่ไม่ใช่อะไรอยู่แล้ว ก็จะไม่มีเป้าให้ตัณหา –อุปาทานได้ยึดเกาะ เมื่อไม่ได้ตั้งใจรู้ – ไม่เอารู้ – ไม่อินรู้ (in) – รู้แล้ว แล้วไป , ไม่ได้ทำอะไร
ทิฐิก็เลยไม่ได้ที่อิงอาศัย เพราะไม่เอาสภาวะ แม้ปัญญา – ความรู้ – ความเข้าใจ มันก็เป็นเนื้อหาเดียวกันกับ “สักแต่ว่า”
โดยเนื้อหาของสักแต่ว่าอีกอย่างหนึ่งที่ควรรู้และเข้าใจก็คือ “ปลง” “สละ” “ให้” ภายใต้สถานการณ์ที่มีการรับรู้ ระลึกรู้ ของมันเองนั้นพร้อมปัญญาคือรู้อยู่แก่ใจ, ระลึกรู้ , เตือนใจ , แยบคาย , มนสิการ ถึงความจริงอันเป็นที่สุดของสภาวะแล้ว ฐานที่มีการระลึกรู้จะเป็นอะไรก็ตามไม่ว่ากาย – เวทนา – จิต – ธรรม ก็จะมีลักษณะของการปลงฐานเหล่านั้นไปด้วยพร้อม เรียกว่าปลงทุกฐาน รู้ผ่าน-รู้ทิ้งทุกสภาวะ , รู้แล้วแล้วไปในรู้ เท่ากับรู้แบบวิสามัญ หรือ วิปัสสนา
แต่ถ้าเจตนารู้ – ดู – เห็น มันจะกลายเป็นติดทุกฐานหรือติดบางฐาน(วางบางฐาน) โดยเฉพาะที่ติดแล้วก็ไม่รู้ว่าติดก็คือ ปลงฐานกาย –เวทนา – จิต แต่ไม่ยอมปลงฐานธรรม ก็เลย
ติดธรรม เมื่อ “ใจ” ไม่หลงรู้ ไม่ให้ค่ากับการรู้ซะแล้ว จะเป็น “รู้”ที่มีเนื้อหาของการปลงทุกฐานทุกที ทุกครั้ง ทุกๆรู้ไปพรึบเดียวพร้อมกันหมด (ปลงมันไปเรื่อยๆ)ไม่ใช่ปลงทีละฐาน สักแต่ว่าทีละฐาน แล้วมันจะทันตายรอบชีวิตนี้หรือเปล่าก็ไม่อาจรู้ได้
ขณะที่ชีวิตดำเนินไป มีรู้- ก็ให้ปลงรู้ มีเห็น- ก็ให้ปลงเห็น ปลงปัจจุบันธรรม (นั่นจึงเป็นการตัดสันตติ ไม่หลงเป็นสันตติไปซะเอง การคอยรู้คอยดูที่ปัจจุบันนั่นแหละคือตัวสันตติซะเอง)
ข้อ 5 เป็นบทสรุปของการปฏิบัติ – การศึกษากาย – เวทนา – จิต – ธรรม คือสรุปลงที่ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งปวง เน้นว่า ธรรมทั้งปวง ไม่ว่าจะเรียกกิเลสหรือธรรมะ ไม่เว้นแม้พระนิพพาน(ถ้าจะยึด จะเอานิพพาน มันก็ไม่ตรงต่อนิพพานอยู่แล้ว) ในฐานะของสาวกผู้รู้ตามแล้ว “ความไม่ถือมั่น”นี้ถือว่าเป็นหัวใจ ให้เป็นประธาน ให้เป็นจิตสำนึก ไว้ใช้เตือนใจตัวเองไปตลอดเลยก็ยังได้ แต่ก็ให้เข้าใจด้วยว่าไม่ใช่แค่ยึดติดกับกับความคิด(ทิฐิ)ที่จะไม่ยึดติด
ถ้าได้แต่คิดว่าจะไม่ยึดติด นั่นมันก็ติดทิฐิเรียบร้อย...ไปเสียแล้ว ( สังเกตความหมายของภาษา ไปเสียแล้ว ให้ดีๆ)
เนื้อหาทั้ง 5 ข้อ สรุปลงที่การตรงต่อสัจธรรม รวมทั้งอริยสัจคือ ตื่นแบบไม่อะไรกับอะไร , แล้ว แล้วไป ไม่อะไรกับอะไร ไม่ลังเลกับปรากฏการณ์ของกาย –ใจ
สัพเพธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงยึดถือไม่ได้
เป็นบทสรุปสุดท้ายของการศึกษา – ปฏิบัติก็จริง แต่กลับเป็นสิ่งที่ต้องสำเหนียกหรือคำนึงหรือแยบคายถึงตั้งแต่ต้นเลยทีเดียว(เรียกว่า “เริ่มกับจบ”คือสิ่งเดียวกัน) ท่านจึงว่า “ไม่ต้องเริ่มเพื่อจบ” ก็เพราะมันจบ(กันเอง)อยู่แล้ว มิฉะนั้นมันจะหลงปฏิบัติ หลงเอา – หลงยึดให้เหนื่อย – หนัก และหนาเน้อ ! เปรียบเหมือนการเดินทางสู่ยอดเขาสูง ระหว่างทางก็ให้เงยหน้ามองยอดเขาไว้เรื่อย ๆ จะได้รู้ว่าไม่หลงทิศ หลงทาง การดำเนินชีวิตก็เป็นเช่นนั้น ให้เราคำนึงถึง ระลึกถึงสัจธรรมเข้าไว้ แล้วจะได้ห่างไกลจากความทุกข์
“ เราไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” เป็นคำพูดที่ยังไม่ถูกต้อง
ที่ตรงต่อธรรม คือ “ มันไม่ยึดกันเองอยู่แล้ว”
“ เราควรปล่อยวาง” เป็นคำพูดที่ยังไม่ถูกต้อง
ที่ตรงต่อธรรม คือ “มันวางกันเองอยู่แล้ว”
เอาเรามาแต่ไหน ที่จะไปยึด ไปปล่อยอะไร ๆ อันนั้นมันโมหะทิฐิ
แล้วความรู้สึกของความเป็นตัวตนนี้มาจากไหน? เกิดมาได้อย่างไร?
มันก็เนื่องมาจากเจตนากรรม ซึ่งปกติเจตนากรรมนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหรืออุปโลกน์ขึ้นเพื่อประโยชน์ในแง่ของงานโดยสมมติเท่านั้น( “ ความรู้สึกว่าเป็น...” จะเกิดมาพร้อม “รู้”ที่เกิดจากเจตนานั่นเอง) แต่ด้วยความหลง ก็เลยยึดความรู้สึกที่แสดงออกมาอยู่ในรูปของเจตนากรรมนานาชนิด และสั่งสมคุ้นเคยมาไม่รู้กี่ชาติ จนคุ้นชินที่จะรู้สึกอย่างนั้น คิดอย่างนั้น ทำอย่างนั้น แล้วก็หลงสรุป โมเมเอาว่าความรู้สึก ความคิด อารมณ์ การกระทำนั้นเป็นเรา เป็นของเรา
การที่ดำเนินชีวิตไปแบบไม่ต้อง ไม่ตั้ง จะไม่ส่งเสริมความหลงยึดที่รู้สึกเป็นตัวตนเรียกว่าไม่ตอกย้ำความหลงของเก่า ใจที่ตรงต่อไม่ต้อง –ไม่ตั้ง จะไม่ก่อเกิดความเป็นตัวตนขึ้น เรียกว่าการไม่ต้อง – ไม่ตั้งนั้นสอดคล้องกับสัจธรรมโดยปริยาย โดยไม่ต้องไปหาทางหรือวิธีการทำลายความหลงผิดที่เรียกว่า สักกายทิฐิ ให้ยุ่งยากและอาจละได้ไม่จริงด้วยซ้ำ
เพราะเมื่อยังมีเจตนาที่จะทำอะไร(แค่เจตนาสนใจจริงจัง ก็ผิดธรรมแล้ว ไม่ต้องพูดถึงจะไปทำลายอะไรๆ...หลอก) มันก็มีตัวตนและความเป็น...แอบแฝงอยู่ในเจตนากรรมนั้นเรียบร้อยแล้ว
และที่สำคัญธรรมโดยธรรม ธาตุแต่ธาตุ ขันธ์แต่ขันธ์ มันไม่ยึดกันเองอยู่แล้ว แล้วมันจะไปทำลายหรือไปละอะไรได้จริง , นอกจากนั้นการทำลายหรือกำจัดหรือละหรือปหานเป็นเพียงภาษาที่ชวนให้หลงผิดเข้าใจผิดเท่านั้น แต่เนื้อหาจริง ๆ ไม่ใช่ สิ่งเหล่านั้นจะเกิดได้ ต้องประกอบด้วยเจตนา แล้วก็ให้รู้ด้วยว่าธรรมโดยธรรมเป็นสิ่งที่ไม่มีเจตนา – ไร้เจตนา การมีเจตนากรรม(อย่างจริงจัง)ในรูปแบบของการเข้าไปทำลาย ไปกำจัด ไปละ ไปปหานจึงเป็นเรื่องของโมหะกรรม หรือ กรรมกิเลส เท่านั้น( ถ้าดันหลงไปทำกิริยากรรมดังรูปศัพท์เข้าจริงๆ) กลับจะกลายเป็นการเจริญสมุทัยไปซะเองอีกต่างหาก
จิตจะเป็นจิตทันที ที่มีต้องซ้อนรู้ – ตั้งซ้อนดู – จะซ้อนเห็น
ขันธ์จะเป็นขันธ์ทันที ที่มีเจตนาซ้อนรู้ – ดู –เห็น
การที่ใจสำเหนียกถึงความเป็นจริง ตรงต่อไม่ต้อง – ไม่ตั้งแล้ว จิตก็ไม่ใช่จิตทันที , ขันธ์ก็ไม่ใช่ขันธ์ทันที เรียกว่า หมดความหมาย – ปราศจากความเป็น...ทันที มันก็ตรงกับสัจธรรมโดยเนื้อหาทันที ดับทันที – นิโรธอยู่แล้วทันที
ธรรมโดยธรรมนั้นอยู่นอกเหนือการกำหนด ซึ่งการกำหนดเป็นเนื้อหาของเจตนากรรมนั่นเอง ธาตุทุกธาตุ – ขันธ์ทุกขันธ์มันไม่อยู่ในฐานะที่จะปฏิบัติตัวมันเอง ไม่ต้องพูดถึงการที่มันจะข้ามไปยุ่งกับต่างธาตุ – ต่างขันธ์ ท่านจึงกล่าวว่า
“ การเอาธรรมไปทำให้เป็นธรรมมันไม่มีหรอกลูก มันเป็นเรื่องตลก ”
นั่นมันโมหะจัดสรรให้เป็นไปเท่านั้นและทั้งนั้น การมีเจตนาทำไม่ว่า จิ้ง – จ้อง – ต้อง – ตั้ง มากหรือน้อยต่างกันไปก็เหมือนการตอกย้ำ อุปาทานลงไปบนเบญจขันธ์ เหมือนการตอกตะปูลงไปบนเนื้อไม้ให้ฝังลึก เหนี่ยวแน่น – หนืดลงไปอีก
การไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่เนื่องด้วยเจตนากรรมในทุกรูปแบบ ก็จะไม่เป็นการตอกย้ำการยึดติดลงบนขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง หรือหลาย ๆ ขันธ์ หรือทุกขันธ์ มันก็มีความหมายเท่ากับการถอดถอนตัณหาอุปาทานนั่นเอง
การรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง จะเป็นไปไม่ได้เลย หากมีเนื้อหาของเจตนารู้ รวมทั้งรูปแบบอื่น ๆ ของการจะเอา ยิ่งมีเจตนารู้มากเท่าใด สภาวะที่ปรากฏยิ่งบิดเบือนและจะไม่ใช่การปรากฏตามความเป็นจริง เพราะมันมีเงื่อนไขในการปรากฏขึ้น การปล่อยอย่างเต็มที่ และไม่เอาอะไรๆ( แม้สิ่งที่เลิศที่สุด)อย่างจริงใจ จะทำให้สภาวะได้ปรากฏอย่างอิสระเต็มที่ อันนี้เรียกว่า ให้ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วจึงทำให้เราได้รู้จักและเข้าใจสัจจะของสภาวธรรมตามความเป็นจริงอีกที
การปล่อยใจอย่างเต็มที่ = การวางใจ – ตัดใจ อนุสัยจะแสดงออก(ทางใจและบางอย่างก็ทางกายทางวาจา)เต็มที่ จะเป็นการสำรอกออกของ(กรรม)กิเลสและผลิตผลของ(กรรม)กิเลสอย่างแท้จริง การปรากฏขึ้นของกรรมวิบากและกรรมอนุสัยเหล่านี้คือการกลั่นกรองสัจธรรมอย่างตรงไปตรงมาที่สุด (โดยไม่มีมายาในรูปแบบของกฎเกณฑ์ กติกาฯมาปิดบังให้เน่าใน
ดูดีแต่ภายนอก) ไม่ต้องใช้เทคนิค กุศโลบาย อุบาย วิธีการ พิธีกรรมฯใดๆทั้งสิ้น(เพราะมันทั้งปิด ทั้งบัง ทั้งอ้อม) อาศัยความจริงใจ(อย่าหลอกตัวเอง)ต่อสัจธรรม ศรัทธาอย่างเต็มที่ต่อความเป็นจริง(สัจจะ) ไว้วางใจอย่างเต็มที่ในกฎแห่งกรรม(เท่าที่มีไปก่อนแล้วมันจะค่อยกลั่นกรองตัวมันเองไปเรื่อยๆ นี่แหละของจริง) ความแจ่มชัดในใจถึงทางทุกข์และทางพ้นทุกข์จะลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปเอง ตำราเรียกว่าภาวนามยปัญญา จักเป็นทั้ง รู้และละ พร้อมกับหลุด(วิมุติ)ในตัวของมันเอง นี่แหละตรงต่อปัญญาในอริยสัจของจิตโดยเนื้อหา (ไม่ใช่ตรงแค่ภาษาหรือคำพูดเฉยๆ)
ทิ้ง(เจตนา)ซะก่อน, วาง(เจตนา)ซะก่อน, ปลง(เจตนา)ซะก่อน, สละ(เจตนา)ซะก่อน แล้วทางเดินไปหาทุกข์ กับทางเดินออกจากทุกข์ จะกระจ่าง แจ่มแจ้งต่อดวงใจของท่านเอง ไปเอง
ขบวนการทั้งหมดนี้ เมื่อได้ยิน – ได้ฟัง -ได้อ่าน ทำให้รู้- เห็น – เข้าใจตาม และไม่ใช่เพียงแค่นั้น แต่หมายถึงให้ลงสู่เนื้อหาจริงๆคือวางตาม ดับตาม จบตาม คลายตาม ไร้ตาม ไม่อะไรกับอะไรตาม แล้วแล้วไปตาม(คำว่า “ตาม”ในที่นี้มิได้หมายถึงกิริยาหรือการกระทำเช่นตามรู้-ตามดู ทำตามเป็นต้น แต่หมายถึงตามสัจธรรมที่มันไม่ยึดติดตัวมันเองอยู่แล้ว) ไม่อะไรกับอะไรกับเสียงที่ได้ยินทางหู ไม่อะไรกับอะไรกับภาพที่ได้เห็นทางตา ...ทางกายสัมผัส ...ทางใจคิดนึก หรือที่รู้สึกอยู่ ไม่อิน(in)ไปกับความรู้ความเข้าใจ( แม้จะเป็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องก็ตาม) อันนี้ก็เป็นเนื้อหาของปริยัติ - ปฏิบัติ – ปฏิเวธ และจะตรงต่อข้อความที่ว่าไม่ถูกตัณหาและทิฐิเข้าอิงอาศัย สรุปที่ ตรงต่อไม่.......อยู่แล้ว , ไม่ต้องอยู่แล้ว , ไม่เนื่องด้วยอยู่แล้ว ดีๆเด้อ!
ท่านจึงกล่าวเตือนไว้ ประมาณว่า
“เรื่องสัจธรรมนี่ แค่ความเข้าใจนั้นยังปิดอบายไม่ได้นะลูก มันต้องลงสู่เนื้อหาจริงๆ”
หมายเหตุ : การรู้ตามความเป็นจริง เป็นคำที่ชอบพูดกันมากในแวดวงของการปฏิบัติธรรมที่ว่าเป็นวิปัสสนากรรมฐาน เราควรจะทำความเข้าใจให้ถูกว่าเนื้อหาที่เรียกว่า รู้ตามความเป็นจริง เป็นเช่นไร เพื่อจะได้ไม่หลง
สิ่งแรกเลย ให้เราเข้าใจความเป็นจริงรองรับไว้ก่อนที่จะเข้าใจเนื้อหาของการ รู้-ตามความเป็นจริง คือว่า ก่อนเกิดสภาวะใด ๆ มันก็ไม่มีสภาวะนั้นอยู่ก่อนแล้ว ที่ท่านเรียกว่า ดับ ก่อนเกิด , ความไม่มี นั้นมีอยู่ก่อนความมีขึ้นของสภาวะไม่ว่าสภาวะอะไร เช่น ก่อนรู้ก็ไม่มีตัวรู้อยู่ก่อนแล้ว ต่อเมื่อมีเจตนา มีความจงใจขึ้น จึงมีรู้ขึ้น ( แล้วก็มีอะไรๆตาม “รู้” มาอีกหลายกระบุง ) ก่อนเจตนา , ก่อนจงใจ ,ก่อนตั้งใจ ก็ไม่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ก่อนแล้ว
ดังนั้น สิ่งใดที่เกิดขึ้นมาภายหลัง ไม่ว่าเจตนา – กรรม – ความจงใจ , ตัวรู้ - ผู้รู้ สิ่งที่ถูกรู้ ล้วนแต่เป็นสิ่งปรุงแต่งชั่วคราว(สังขาร)ที่เรียกว่า สิ่งสมมติ หรือสิ่งอุปโลกน์ขึ้น ซึ่งมันไม่อาจจะเป็นอะไรที่จริงแท้ได้เลยเด็ดขาด เพราะก่อนมีก็ไม่มีอยู่ก่อนแล้ว ถ้าจะเป็นก็เป็นได้แค่ปรากฏการณ์ชั่วคราวทั้งสิ้น เรียกว่า เป็นแค่...
สิ่งที่สอง การปรากฏขึ้นของสภาวะ จะต้องปล่อยให้เค้าได้ปรากฏออกมาอย่างอิสระ 100 % เปรียบเทียบให้เห็นว่าใจเราเหมือนมีประตู , ประตูใจจะถูกหรี่ให้แคบลงมากขึ้นตามกำลังของความจงใจหรือเจตนารู้ คือ ยิ่งจงใจรู้ เจตนารู้มาก ประตูยิ่งหรี่มาก ปิดมาก ( ตัณหา – อุปาทาน จัด = มาก) การแสดงออกของสภาวะเช่น อารมณ์ ความรู้สึก ความนึก ความคิด ก็จะปรากฏมากน้อยตามไปด้วย ( ภาพบิดเบือน) ซึ่งไม่ใช่เป็นการสะท้อนความเป็นจริงของใจ(ความเคยชิน หรืออนุสัย)
เมื่อความจงใจน้อยลง เจตนารู้น้อยลง อารมณ์ ความรู้สึก ความนึก ความคิด(วิบาก หรือกรรมอนุสัย) ก็จะปรากฏได้อิสระมากขึ้น แต่ก็จะยังไม่อิสระ 100 % (บิดเบือนน้อยลง) แม้จะเป็นเจตนาที่บางเบา เช่น สังเกต , แล , เหลือบ, แอบ , เหล่ , ชำเลือง ก็ตาม ประตูใจจะเปิด 100 % และการปรากฏออกของสภาวะเป็นไปอย่างอิสระเต็มที่ก็ต่อเมื่อ “ไร้” ซึ่งเจตนารู้ ไร้ความจงใจที่จะรู้โดยสิ้นเชิง
( จะทำเป็นไม่เจตนารู้ – ไม่เจตนาจงใจรู้ได้มั้ย จะเป็นไปได้อย่างไร นั่นมันหลอกตัวเองชัดๆ ยังไงมันก็ยังเป็นเจตนา-กรรมอยู่ดี )
การไร้ซึ่งเจตนารู้ – จงใจรู้โดยสิ้นเชิง จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ ต้องเลิก “ปฏิบัติทำ”เรียกว่ายุติทำ , เลิกทำตัวเป็นนักปฏิบัติทำ ไม่เอารู้- ความรู้ - สติ - สมาธิ – ปัญญา(แบบไหนอีกแล้ว) แม้ความพ้นทุกข์ก็ไม่เอา “รู้” จึงจะปรากฏตามที่มันเป็นจริง มิใช่รู้จากการปรุงขึ้น – ทำขึ้น – สร้างขึ้น
การ “ไม่เอา”จะเป็นไม่ได้ ถ้ายังมีการใช้ภาษาที่ชี้นำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดสัจธรรม ชี้นำไปสู่การกระทำ , ชี้นำให้เกิดความทะยานอยากในธรรมะ, กระตุ้นต่อมอยาก ต่อมยึดให้กำเริบยิ่งขึ้น, โดยการชี้แนะหรือใช้ภาษาที่ไม่ตรงต่อสัจธรรม ทั้งๆที่ก็ประสงค์จะแสดงสัจธรรมนั้นอยู่
การ “ไม่เอา”จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ ได้ยิน ได้ฟังสัจธรรม ก่อเกิดความรู้ ความเข้าใจที่ตรงต่อความเป็นจริงอันเป็นที่สุดของทุกข์สภาวะ , เข้าใจว่าทุกข์คืออะไร , หน้าตาเนื้อหาของตัณหาเป็นอย่างไร , รับรู้ – เข้าใจว่าแง่มุมไหนที่เรียกว่าไม่ตรงต่อสัจธรรมและรู้ชัดว่ามันจะเกิดผลเสียหรือปัญหาอะไรตามมาจากการปฏิบัติทำที่ไม่ตรงนั้น มีศรัทธาและจริงใจต่อสัจจะนั้น
นั่นแหละการ “ไม่เอา”จึงจะเป็นไปได้ การ“ไร้”ซึ่งเจตนารู้ – จงใจรู้ จึงจะเป็นไปได้ , ประตูใจจึงจะเปิด 100 % ให้สภาวะ(วิบากหรือกรรมอนุสัย)ได้ปรากฏอย่างอิสระเต็มที่ การ “รู้ตาม”ความเป็นจริงจึงจะเป็นไปได้ และเมื่อการ “ รู้ตาม” อันประกอบด้วยความเข้าใจอันเป็นที่สุดของทุก(ข์)สภาวะ
สติปัญญาชนิดนี้มันจะไม่กระตุ้นก่อให้เกิดการกระทำ เริ่มตั้งแต่ความจงใจทางใจ(มโนกรรม) มันก็จะเป็นการปลง ,เป็นความลุล่วง ผ่าน พ้น ไม่ติด- ขัด - ข้อง – คาต่อสภาวะ มันก็ตรงต่อเนื้อหาของคำว่า “สักแต่ว่า” มันก็สงบเย็นไปเองท่ามกลางผัสสะนั่นแหละ นี้เรียกว่า วิปัสสนาคือปลงทุกฐาน, วิสามัญทุกฐาน ก็ตรงต่อวิมุติ –นิโรธ –นิพพานอยู่แล้วทันที
เนื้อหาของคำว่า “ สักแต่ว่า ” คืออย่างไรหรือ?...แล้วจะตรงต่อเนื้อหานั้นได้อย่างไร?
- การไปทำ “รู้” ขึ้น แล้วคอยรู้ คอยดู ,เฝ้ารู้ เฝ้าดู ,สนใจรู้ สนใจดู...ตามรู้ ตามดู นั่นเรียกว่า “สักแต่ว่า” กระนั้นหรือ?
- ความพยายามที่จะรู้ เทียวไล้เทียวขื่อกับการรู้...นั่นเรียกว่า “ สักแต่ว่า” ได้อย่างไร?
- การไปตีความ ทำวิจัย ทำวิจารณ์ต่อการรับรู้ไม่ว่าจะทางไหน ไหลตามไป – ทำต้านไว้หรือเกาะอยู่กับสิ่งใดไว้เพื่อกันการไหลตาม นั่นจะเรียก “สักแต่ว่า” ได้หรือ?
ไม่ต้อง ไม่ตั้งกับ “รู้”
ไม่อะไรกับอะไรใน“รู้”
“รู้”แล้ว แล้วไป...นี้แหละ “สักแต่ว่า” ของจริง...
Logged
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
Re: ใต้ร่มโพธิธรรม โดย นายแพทย์ กำพล พันธุ์ชนะ
«
Reply #14 on:
22 December 2012, 13:04:09 »
สัมมาสมาธิ = ความตั้งใจมั่นชอบ , ตามพระสูตร – ตำรา กล่าวถึง ฌานทั้ง 4 ว่าเป็นสัมมาสมาธิ ว่าโดยเนื้อหาแล้วก็เป็นเช่นนั้น
แต่มีสิ่งที่เราควรจะทราบก็คือ ความตั้งใจมั่นชอบ มีความหมายไม่เหมือนกับความที่
ใจตั้งมั่นชอบ
ขอเน้นว่าสัมมา... หรือ...ชอบหมายถึง ตรงต่อสัจธรรมหรือความเป็นจริงเท่านั้น ไม่ใช่ตรงต่อตำรา – ต่อคำสอนที่เป็นเรื่องเทคนิค หรือ กุศโลบายต่าง ๆ
คำแปลที่ว่า ความตั้งใจมั่นชอบ จึงไม่ถูกต้อง เพราะไม่ตรงต่อความเป็นจริง เป็นภาษาที่ชี้นำให้ก่อเกิดเจตนาในการกระทำทางใจเพื่อให้“ใจ”ตั้งมั่นขึ้น โดยเฉพาะความปรารถนาในฌานทั้ง 4 ก็เลยพยายามทำอะไรต่างๆ นานา เพื่อทำให้ใจตั้งมั่นขึ้นมา
ความคิดว่า -ความเห็นว่า – ความเข้าใจว่า “นิวรณ์”เป็นปฏิปักษ์,ศัตรูหรืออุปสรรคขององค์ฌาน ก็จะไม่ชอบ ก็จะเกิดปฏิฆะกับสภาวธรรม เพราะด้วยอยากให้จิตตั้งมั่น จะแสดงออกมาในรูปแบบความพยายามจะจัดการหรือจะกำจัดนิวรณ์ด้วยวิธีการต่างๆอันเป็นที่มาของเทคนิค วิถี วิธีการ พิธีกรรม ให้รก รุงรัง ปิดและบังสัจธรรม(ของเดิมแท้)ให้หนา และแน่นขึ้นไปอีก
คำแปลที่ถูก ตรงต่อเนื้อหาความเป็นจริง คือ ความที่ใจตั้งมั่นชอบ(เอง) เพราะอะไร
• (ของเดิม)ใจตั้งมั่นเองอยู่แล้วคือ ไม่ใช่เป็นผลมาจากการทำความตั้งใจ ให้มั่นคงอยู่กับสภาวะใด ๆหรือทำอะไร ๆ ให้ใจเกิดความตั้งมั่น แล้วก็พยายามรักษาไว้
• ใจตั้งมั่นเอง ถ้าไม่มีหรือหมดเหตุที่มาทำให้จิตเคลื่อน – แส่ส่าย เหตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อน – แส่ส่าย คือ ตัณหา อุปาทาน ตัวแรกเลยที่ก่อให้เกิดความไม่ตั้งมั่นของใจ(หรือถ้าจะพูดให้ตรงต่อสภาวะคือใจสูญเสียความตั้งมั่นไป)ก็คือ ความอยากในธรรมะ , จะเอาธรรมะ , อยากให้จิตตั้งมั่น , อยากได้ฌาน,อยากพ้นทุกข์,อยากถึงนิพพาน
“ท่าน” เรียกว่า ธัมมะตัณหา - อยากมีสติ - สมาธิ – ปัญญา
- อยากสงบ , อยากตั้งมั่น , อยากบรรลุธรรม ฯลฯ
อย่างที่เคยกล่าว ภาษาที่ใช้ชี้นำให้คนหลง ก่อให้เกิดความแปลกแยก – แตกต่าง เหลื่อมล้ำขึ้นในจิตใจ หลงติดอยู่ในธรรมคู่ , ตอกย้ำความหลงเดิมที่เคยชินในการเห็นหรือรับรู้มาว่าดี –ไม่ดี ,ใช่ - ไม่ใช่ , รู้ –ไม่รู้, เห็น – ไม่เห็น, เผลอ – ไม่เผลอ , ถูก - ผิด...นอกจากนั้น ภาษายังชี้นำให้เกิดการ กระทำ หรือ เจตนากรรม ที่เรียกกันซะเพราะพริ้งว่า ความเพียร แล้วก็ไม่รู้ตัวว่าสิ่งนั้น ( ความเพียร ) มีตัณหาอุปาทานเป็นแรงเหนี่ยวนำ หรือผลักดันอยู่เบื้องหลัง
• ใจตั้งมั่นเอง ซึ่งธรรมชาติเดิมเค้าก็เป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว ว่างอยู่แล้ว , ไม่ต้องการสิ่งใดอยู่แล้ว เรียกว่า สมบูรณ์พร้อมในตัวเองอยู่แล้ว สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า จิตเดิมแท้ประภัสสร ความวุ่นวาย – ดิ้นรน ให้ใจตั้งมั่น ให้มีอะไร ๆ ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่าจะทำให้ได้ดังใจ จึงเป็นเรื่องของตัณหา อุปาทานทั้งนั้น ของเดิมเป็นสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยการกระทำ ไม่ต้องทำอะไร รวมทั้งไม่ใช่การทำอะไร “จนใจ”ตั้งมั่น ( ตรองเนื้อหาของคำว่า “จนใจ”ให้ดีๆ)
• ใจจริง ๆ นั้นไม่มีหน้าที่ในการทำอะไร ที่ทำอะไรนั้นเป็นเรื่องของสิ่งปรุงแต่งที่ว่า “ใจ”
มีหน้าที่ในการรู้อารมณ์ อธิบายอย่างนั้นไม่ถูกต้อง ยังคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง ที่ถูกตรงก็คือ การรู้อารมณ์เป็นธรรมชาติของใจ ไม่ใช่หน้าที่ , หน้าที่ หมายถึง งาน จะเรียกว่า ภาระก็ได้ แต่ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ลมพัด , แดดส่อง ไม่ใช่หน้าที่ แต่มันคือ ธรรมชาติ อย่าได้กล่าวตู่และยัดเยียด งานหรือ ภาระให้กับใจ
• ใจที่ตั้งมั่นเอง คือการกลับไปสู่ธรรมชาติเดิมแท้ของใจ จึงเรียกได้ว่าความชอบธรรม ไม่ใช่เป็นความชอบทอ อำ ทำ สิ่งปรุงแต่งที่เรียกว่า สัมมาทิฐิ และ สัมมาสติทำให้ใจเลิกหลง – ไหล แส่ส่ายเพราะอิทธิพลของโมหะ ความหลงยึด – หลงอยากมาก่อน ลักษณะที่ใจตั้งมั่นชอบ คือ ไม่แส่ส่าย (ตั้งมั่น) , นิ่มนวล , อ่อนโยน ไม่แข็งกระด้าง เพราะปราศจากตัณหา อุปาทานคือ จะ “เอา”นั้นไง
• เมื่อไม่เอา ใจก็ไม่หิวรู้ หิวดู หิวเห็น เลิกแส่ส่าย , เลิกซอกแซก , เลิกแส่รู้ , แส่ดู แส่หา เลิกแส่ให้ความสำคัญมั่นหมาย เลิกหาเรื่องให้ใจ ก็ไม่เป็นเรื่องขึ้นมาให้หนักอกหนักใจ ให้ใจต้องมีภาระ มันก็เป็นใจเปล่า ๆ ว่าง ๆ ตั้งมั่นของมันไปเอง ยิ่งถ้าไม่เอาแม้ใจ –ตัดใจ , วางใจ , ไม่เนื่องด้วยรู้ , ไม่เนื่องด้วยจิตแบบไหน ใจจะอย่างไร ไม่ตั้งเงื่อนไข หรือข้อแม้ให้กับใจ ใจก็จะไม่มีเหตุ หมดเหตุที่จะต้องเคลื่อนไป แส่ส่ายไปเพื่ออะไรๆ มันก็ตรงกับว่างอยู่แล้ว – วางอยู่แล้ว – ไม่ยึดกันอยู่แล้ว ไม่ใช่อะไรอยู่แล้วทันที ตั้งมั่นทันที... ของมันเอง
แต่ถ้าเราพยายามทำ ความสำเร็จหรือไม่สำเร็จจะมี “เรา”เป็นผู้เสวยผล นั่นกลับ
เป็นเนื้อหาและเล่ห์เหลี่ยมของตัณหา อุปาทาน ที่ปั่นหัวผู้ปฏิบัติให้ต้องทุกข์กับการปฏิบัติทำ คือ ความพยายามที่จะให้จิตตั้งมั่น หรือความพยายามที่จะทำให้จิตสงบ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความเข้าใจผิด จึงหลงยึดใจ ติดใจ ก็เลยเอาใจ เอาแต่ใจ เรียกว่าตามใจ เลยพยายามทำ
อะไร ๆอย่างที่เคยหลง คุ้นชินมาแบบไหน ก็จะให้ได้ดังที่คุ้นเคยมา “ท่าน”จึงกล่าวว่า
“ กุสลา ทำมา กุสลา ทำไป
อกุสลา ทำมา อกุสลา ก็ทำไป ”
กรรมอนุสัยผุดโผล่มาแบบไหน ก็ไหลตามกรรมอนุสัย(โดยเฉพาะอนุสัยต้องรู้ –อนุสัยตั้ง -อนุสัยจะ)นั้นไปเรื่อย ไม่อาจนอกเหนือกรรมวิบาก ข้ามพ้นอนุสัยไม่เป็น ก็เลยแช่รู้ ทรงรู้(อวิชชาสวะ) ต้องเป็นสัตว์โลกอยู่ร่ำไป
• หรือ ความพยายามจะปรับปรุง – แก้ไขจิตใจ ที่เรียกว่า การทำใจ หรือการพัฒนาจิต เพื่อให้มีใจดี ๆ เมื่อใจไม่ดี(ดังอยาก ดังยึด หรือดังที่เข้าใจมา –ผิด) จริงๆคำว่า
“ พัฒนา” นี้เป็นคำที่ต้องตระหนักและระมัดระวังในการใช้ให้ดี เพราะมิฉะนั้นมันจะกระตุ้นให้เกิดความพยายามทำๆๆ อะไร ๆๆ กลายเป็นว่าอดีตเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข โดยทำปัจจุบันให้ดีที่สุด เพื่ออนาคตจะได้ดีไปกว่านี้
โดยเนื้อหาก็คือ ความพยายามให้ใจอยู่นิ่ง ๆ บางทีก็มีอุบายให้จิตเกาะกับสภาวะใดสภาวะหนึ่ง , เกาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งไว้ เพื่อให้ดูสงบ – นิ่ง ดูเหมือนตั้งมั่น ที่ว่า ดูเหมือนตั้งมั่น ก็เพราะมันตั้งมั่นไม่จริง
- ไม่จริง ทั้งในแง่ที่ว่า เป็นสิ่งที่เกิดจากการทำขึ้น มีความหมายเท่ากับของปลอม ที่มีเองอยู่แล้วยังไม่จริงเลย แล้วที่ทำขึ้น - ปรุงขึ้น – สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกิเลส หรือธรรมะก็ยิ่งไม่จริงหนักเข้าไปอีก อย่าเสียพลังงานไปกับการพยายามทำเลย ให้รู้อยู่แก่ใจทุก ๆ กรณีไปเลยว่า ของจริงไม่มีอะไรเกาะกับอะไร , ไม่มีอะไรทรงอะไร หลุดอยู่เองแล้วตลอด วิมุติอยู่เองแล้ว ไม่ใช่สิ่งยึดติดอยู่เองแล้วตลอด ไม่มีอะไรที่ตั้งนิ่งเด่ได้จริง -หลอก
- ไม่จริง ทั้งในแง่ที่ว่า ความตั้งมั่น จริง ๆ ไม่มี เพราะมันเป็น “อนิจจัง”ทั้งหมด คำว่า “อนิจจัง” มันนอกเหนือความตั้ง – ไม่ตั้ง จะเรียกอนิจจังว่าเที่ยงก็ได้ เพราะเที่ยงหรือแน่นอนว่าทุกอย่างอนิจจัง สามารถกล่าวได้ว่า ทุกสรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงอย่างตั้งมั่น ตั้งมั่น = แน่นอน = เที่ยงว่าเปลี่ยนแน่ ไม่คงที่แน่ สรุปคือ เที่ยงที่จะไม่เที่ยง
ให้เข้าใจเลยว่าสิ่งแรกที่ต้องพ้นคือ พ้นจากความพยายามนั้นซะ คือให้หมดความตั้งใจหรือไม่มีความตั้งใจใดๆทั้งสิ้น เพราะตัวพยายามสงบ - พยายามตั้งมั่นนั่นเองเป็นเหตุให้ใจหมดความสงบ หมดความตั้งมั่นไปเสียเอง วุ่นไปซะเอง ไม่ว่างไปซะเอง คือมัววุ่นวายกับการกระทำเพื่อให้ใจตั้งมั่นหรือสงบ หารู้ไม่ว่า ที่มันไม่ตั้งมั่น – ไม่สงบได้จริงก็เพราะตัวความพยายามจะสงบ จะเอาสงบ ก็เลยไม่เจอความสงบ แล้วก็แสวงหาความสงบ...อยู่น่าน.......
ดังนั้นถ้าจะให้ใจสงบและตั้งมั่นก็เพียงแต่ ใจตรงต่อความเป็นจริง แล้วก็จะไม่ถูกตัณหา อุปาทานหลอกให้หลงเอาอะไรๆ เมื่อใจไม่เอาอะไรจริงๆ เพราะแจ้งชัดต่อความเป็นจริง มันก็ตรงกับเนื้อหาของใจเดิม ๆ คือ ว่าง , ทุกสรรพสิ่งไม่มีอะไรเอาอะไรอยู่แล้ว การที่จะเอา ๆ นั้น สรุปชี้หน้าได้เลยว่าเป็น โมหะ – ตัณหา – อุปาทานทั้งนั้นไม่ว่าจะเรียกว่าทางโลกหรือทางธรรม
เพราะเห็นจริงตามความเป็นจริง และเมื่อไม่เอาใจ ไม่เอาว่าง – ไม่ยึดว่าง –ไม่เอารู้มาเป็นประมาณ ความตั้งมั่นของใจจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ แบบไม่มัด คือเป็นไปเอง อยู่เองแล้ว แล้วแบบมัดคืออะไร ก็คือ การทำอะไร ๆ เพื่อให้ใจตั้งมั่น ตัวทำนั้นแหละคือการมัดหรือติด เพราะมันเป็นภาระ – พันธะ– เยื่อใยของตัณหา อุปาทาน ผูกและพัน ร้อยรัดไว้ ที่เรียกว่า “สังโยชน์” นั่นไง ทำให้ปรากฏการณ์ไม่แล้วแล้วไปด้วยตัวของมันเอง “ท่าน” จึงกล่าวว่า
“ ให้มัน – ไม่ – กันเอง ไม่ใช่-เรา-ไปคอย-ไม่-กับมัน ไปเอา-เรา-มาแต่ไหน ”
กับคำถามที่ว่า “ แล้วจะ-ละ-สังโยชน์ได้อย่างไร?”
คำตอบที่สั้นที่สุดคือ “ไม่” “ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ” “ไม่อะไรกับอะไร” “แล้วแล้วไป”ฯ
“ใจ” ที่ตรงต่อ “ไม่”(ไม่ต้อง ไม่ตั้ง) เป็นเนื้อหาที่ไม่เป็นการเจริญสมุทัยไปซะเอง
เมื่อ ไม่ต้อง : ไม่เป็นการไปสนองตัณหา(อนุสัยของความทะยานอยาก) คราเมื่อมันผุดโผล่ ก็ไม่อาจเจริญเติบโต เข้มแข็งได้ มีแต่จะฝ่อและจางคลาย ดับไปเอง เพราะตัณหาก็ไม่เที่ยง
เมื่อ ไม่ตั้ง : อุปาทานก็ไม่ได้ที่เกาะ ที่ยึด อนุสัยหรือความเคยชินที่จะเกาะ จะยึด จะติด จะอยู่ ก็ไม่ได้รับการเสนอและสนอง มันก็ฝ่อ จางคลายและดับไปเอง เพราะอุปาทานก็ไม่เที่ยง
เมื่อ ไม่ต้อง ไม่ตั้ง : ไม่เป็นการตอกย้ำอนุสัย สถานการณ์ ปรากฏการณ์(ขันธวิบาก)
: จึงข้ามพ้นอนุสัย
: จึงสามารถนอกเหนืออนุสัยเป็น
: ไม่เป็นการเกิด(กรรมภพ)
: ไม่เป็นกรรมซ้อนธรรม ให้ต้องรับวิบากต่อไป
: เป็นธัมมสมังคีของสติ สมาธิ ปัญญาพร้อม(โดยเนื้อหา)
: ตรงต่อความจบ(ของมันกันเอง = อนิจจัง) ความยุติลงของธรรม
โดยธรรมเอง (อนัตตา)ซึ่งจบ-ยุติกันเองอยู่แล้ว โดยตลอด....
: ตรงต่อความดับ(ลงของสมุทัย) วิมุติ นิโรธ นิพพานอยู่แล้ว
การต้อง ก็หมายความถึงต่อ (ตัณหา)ยังไม่จบไปซะเอง ยังจะดันทุรังต่อ คือเป็นพาลไปเสียเอง แทนที่จะซื่อสัจ (ตรง)ต่อธรรม จึง “เลย” นิพพานที่ “อยู่แล้ว” ไปเสียเอง เรียกว่า เลย ความจบไปซะเอง
“ ท่าน” กล่าวไว้ว่า “ วิริเยนะ ทุกขมัจ เจติ คนเราจะล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร” ความเพียรในที่นี้เอาไปใช้กับงานทางโลก แต่ใช้ไม่ได้กับสัจธรรมที่นิพพานอยู่แล้ว เราต้องแยบคายในความหมายของคำว่า “ความเพียร” ให้ดีๆ
“ ความเพียร” มิได้หมายถึงการกระทำ (ตั้งแต่ความจงใจทางใจหรือเจตนากรรม)รวมทั้งการสร้าง การปรุง การแต่ง...ทุกชนิด
“ ความเพียร” ไม่ใช่สภาพที่เป็นความดิ้นรน หรือการแสวงหา ที่แอบแฝงไว้ด้วยการรอคอยอะไรๆ ความดิ้นรนนั้นเป็นเนื้อหาและผลของตัณหาอุปาทาน
“ ความเพียร อันเป็น สัมมาวายามะ” จึงหมายถึง การไม่ทำ(ตามและต้าน)กับความคุ้นชินเดิม (อนุสัยวิบาก) ด้วยว่ามีความเห็นที่ตรงต่อสัจธรรม (สัมมาทิฐิ) รองรับ
สภาวะที่จิตจะเกิดวิตก – วิจารณ์ - ปีติ - สุข - เอกัคคตา ก็เป็นไปเอง เพียงแต่ให้มีสัมมาทิฐิรองรับเท่านั้น คือโดยธรรมชาติของใจแล้ว
- ไร้ขอบเขต - กว้างขวาง, ว่างไม่มีประมาณ
- ไม่ต้องการที่อยู่ – ยึด คือไม่ต้องการหลักเอาไว้ยึดเกาะ
- เบา - โปร่ง - โล่ง - โพล่ง - ไม่มีน้ำหนัก
- เป็นตัวกลางด้วยตัวมันเอง - เป็นกลางด้วยตัวมันเอง
- ไม่ต้องการสิ่งใด
- สะอาดก็อยู่แล้ว, สว่างก็อยู่แล้ว , สงบก็อยู่แล้ว
คำกล่าวที่ว่า “ จิตเดิมแท้ประภัสสร ”
ใจเดิมๆ ดีสมบูรณ์อยู่แล้ว อย่าได้พยายามไปทำใจให้ดี เพราะสิ่งที่มาจากการปรุงขึ้นนั้นคือส่วนเกินของใจ ซึ่งไม่ใช่ของเดิม และจะว่าไปแล้วส่วนเกินของใจนั้นก็เป็นผลิตผลของอวิชชา(หลงว่าเป็นตัวเอง - อัตตา) ที่อยากตั้งมั่น-อยากมีปัญญา-อยากพ้นทุกข์คือ เอากิเลส(ด้วยความรู้สึกว่าเป็นตัวเอง) ไปปฏิบัติทำ, กรรม – กิเลสใหม่ก็เลยปิดบังของเดิมๆหนักขึ้นไปอีก
แค่วิบากกรรม (จากของเก่า) - กรรมอนุสัยที่ทับถมปิดหรือบังของเดิมอยู่ก็หนาแน่นพอแรงอยู่แล้ว ยิ่งพยายามจะทำให้เหมือนเดิมหรือเข้าถึงของเดิมก็เลยยิ่งห่างไกล เราต้องเฉลียวใจแง่มุมนี้ให้ดีๆ ไม่ใช่อาศัยแต่ความตั้งใจจริงแล้วตั้งหน้าตั้งตาทำไปเรื่อย
พิจารณาสัจจะให้ดีๆ ความอยากจะได้คลายลงซะบ้าง หยุดอยากก็จะหยุดทำคือยุติทำไปเอง
หากชีวิตดำเนินไปด้วยสัมมาทิฐิ(ความเข้าใจที่ตรงต่อสัจธรรม)เป็นประธานอยู่ในจิตในใจอย่างแท้จริงแล้ว องค์สัมมามรรคอื่นๆจะเป็นไปเองจนถึงสัมมาสมาธิ ความ(แอบ)หลงบรรดามีจะแสดงผลของมันออกมาเองคือทุกข์ ตราบใดที่จิตใจไม่ปลอดหรือปราศจากสมุทัยอย่างแท้จริงแล้ว ชีวิตนั้นจะมีคำตอบสุดท้ายคือทุกข์(จะมากจะน้อยก็แล้วแต่กำลังของความต้อง ความตั้ง) เมื่อใดเกิดทุกข์ จิตใจที่มีสัมมาทิฐิรองรับอยู่จะสะท้อน(เฉลียวใจ)ถึงเหตุแห่งทุกข์นั้นไปเอง คือให้จิตใจเค้าเรียนรู้ความเป็นจริง(สัจจะ)อย่างตรงไปตรงมา ความเห็นชอบก็จะสมบูรณ์(เห็นชัด)มากขึ้น หนักแน่น สมุจเฉท เด็ดเดี่ยว เด็ดขาด(ไม่ใช่เด็ดคา)ไปเองที่จะเลิกหลง(คือจะไม่หลงไปสร้างเหตุ ไปเป็นเหตุ และไม่ดำเนินเหตุ= ละสมุทัย) เราทำอะไรไม่ได้จริงๆซักอย่าง
เปรียบให้เห็นภาพว่ามรรค 8 ก็เหมือน ธรรมจักรที่หมุนไป อันมีผลให้จิตใจไม่เข้าไปหลงยึด หลงเกาะกับสิ่งใด มันก็พ้นไปกันเอง ผ่านไปกันเอง ไม่ใช่ทำให้มันพ้น พาให้มันผ่าน เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นก็เท่ากับยังไม่พ้นจากความหลงว่าเป็น “เรา”และ “ของเรา”ได้จริงๆซักที
สิ่งที่พอจะทำได้ก็มีเพียงขอขมา ขออโหสิกรรม ฟัง(สัจจะ)ธรรม สนทนา(สัจจะ)ธรรม และเตือนใจตนเองถึงความเป็นจริงนั้น
“ใจ”ต้องซื่อตรงต่อเนื้อหาของสัจธรรมจริง ๆ ( ซื่อสัจ ) ศรัทธาต่อเนื้อหาของความเป็นจริง จริง ๆ เด็ดขาด – เด็ดเดี่ยว – จริงใจ ไว้วางใจต่อความเป็นจริงที่ไม่...อยู่แล้วให้ดี ไม่ต้องอย่างไรอยู่แล้วให้ดี ไม่เนื่องด้วย..อยู่แล้วให้ดี หลุดอยู่แล้ว ดับอยู่แล้วให้ดี มิฉะนั้นแล้วมันจะเกิดความระแวง ระวัง เกิดความแปลกแยก แตกต่าง เหลื่อมล้ำ ต่ำสูง ล้วนแต่หาความสงบเย็นไม่ได้ ใจจะหลงหา หลงรอ หลงเลือก(ก็หมดความหมายแห่งความเป็นกลางหรือว่าง ไปทันที) ก่อให้เกิดความเนิ่นช้า – ทุกข์ยากลำบากไปซะเอง
“สักแต่ว่าความรู้” คือรู้แล้วก็แล้วไป ไร้ประโยชน์ที่จะไปจริงจังด้วยได้กับการรับรู้
ของจริง ไม่มี(อะไร) (ว่างอยู่แล้ว)
ที่มี(อะไร) ไม่ใช่ของจริง
มี...นั้นมีจริง แต่ไม่ใช่มี...จริง ๆ
จึงเรียกได้ว่าชั่วคราว , มายา , มารยา,มารยาท(ถ้าจริงจังกับมันก็=ทายาทแห่งมาร)
สิ่งเหล่านี้มี...เอาไว้ใช้กับโลกสมมติ
แง่มุมของความจริง – สัจจะที่ควรรู้ ควรเข้าใจเพิ่มเติมอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องที่เกี่ยวกับ
จะอ่านต่อไปอีก ต้องขึ้นหน้าที่ ๒ ก่อนนะครับ ลองดูที่มุมซ้ายล่างก็จะทราบว่า จะขึ้นหน้าต่อไปได้ไง ...
Pages: [1] 2 I Go Up I
«
Last Edit: 22 December 2012, 13:13:51 by Smile Siam
»
Logged
Pages:
[
1
]
2
« previous
next »
SMF 2.0.4
|
SMF © 2013
,
Simple Machines
| Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.219 seconds with 20 queries.
Loading...