Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 21:47:31

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  บุคคลต้นแบบ  |  บุคคลตัวอย่าง  |  ศิลปินแห่งชาติ  |  ท่านอาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ (น. ณ ปากน้ำ)
0 Members and 3 Guests are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: ท่านอาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ (น. ณ ปากน้ำ)  (Read 2425 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 30 December 2012, 09:41:44 »

ประวัติชีวิตและผลงานของ ท่านอาจารย์ อุลุชาฎะ ศิลปนแหงชาติ  สาขาทัศนศิลป(จิตรกรรม)






นายประยูร อุลุชาฎะ* เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2471 ที่คลองมหาวงศ ตําบลบาง
เมือง อําเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรปราการ เปนศิลปนคนสําคัญของชาติยุคบุกเบิกศิลปะยุคใหมของไทย
ผูซึ่งไดรับการยอมรับนับถือเปนปูชนียบุคคลในวงการศิลปะและวิทยาการอยางกวางขวาง





นายประยูร อุลุชาฎะ  สนใจศิลปะตั้งแตยังเด็ก  เมื่อสําเร็จการศึกษาในระดับมัธยมแลว
ไดเขาศึกษาที่โรงเรียนเพาะชาง เมื่อ พ.ศ. 2486 รุนเดียวกับอังคาร กัลยาณพงศ  ศิลปนแหงชาติ
และได เขาศึกษาตอที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม  มหาวิทยาลัยศิลปากรกับทานศาสตราจารย
ศิลป  พีระศรี และอาจารยท่านอื่นๆ  เปนเวลา 3 ป  ไดรับอนุปริญญาศิลปบัณฑิตดานจิตรกรรมและ
ประติมากรรม  พ.ศ. 2492 

หลังจากนั้นไดศึกษาเพิ่มเติมในดานจิตรกรรมกับทานศาสตราจารยศิลปอีก 2 ป จนมี ความรูและความสามารถ
ในทางทฤษฎีและปฏิบัติศิลปะเปนอยางดี สรางสรรคผลงานดานจิตรกรรมและงานวิชาการศิลปะเผยแพรตอประชาชน 
หลังจากที่ไดศึกษาวิชาศิลปะและวิชาชางมาเปนเวลา 8 ป

นายประยูร  อุลุชาฎะ  เปนศิลปนหัวใหม  แตขณะเดียวกันก็เปนผูอนุรักษศิลปะโบราณควบคู กันไป  เปนทั้งศิลปนและนักวิชาการ 
ในลักษณะเดียวกับทานศาสตราจารยศิลป  พีระศรี ผูเปนครู ทํางานศิลปะหลายแบบและเทคนิคเพื่อการทดลองและบุกเบิกยุคแรกๆ
ไมวาจะเปนงานแบบเรียลลิสม  อิมเพรสชั่นนิสม  คิวบิสม  เซอรเรียลลิสม  และแบบนามธรรมไดทดลองทํามาหมด 
ในดานเทคนิคนั้นได เขียนสีชอลก  สีฝุน  สีน้ํามัน  และสีน้ํา  และเขียนได ดีทุกเทคนิค  และมีความสามารถชั้นครู 

เปนผูที่มีความสามารถใชสีไดดีเยี่ยมในทางจิตรกรรม  นอกจากนี้ยังเขียนภาพจิตรกรรมแบบประเพณีนิยมดวย
นายประยูร อุลุชาฎะ กลาววา ไดเขียนภาพมากในชวง พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2500 
เปนจิตรกรรมสีน้ํามันมีขนาดกวางเมตรขึ้นไป  และมีจํานวนนับรอยภาพ  เปนที่นาเสียดายเปนอยางยิ่ง  ที่ผลงานเหลานี้
เก็บไวที่มหาวิทยาลัยศิลปากร  เมื่อมหาวิทยาลัยศิลปากรรื้ออาคารเพื่อสรางใหม  ผลงานไดกระจัดกระจายไป  เสียหายสูญหาย 
และมีนักศึกษาเอาไปเขียนทับ

นับวาเปนการสูญเสียผลงานที่มีคุณคาทางประวัติศาสตร ศิลปะสมัยใหมไปนับรอยภาพ ผลงานยุคนี้
มีเหลือใหชมและศึกษาไดไม กี่ภาพ ที่สําคัญที่สุด คือ จิตรกรรมสีน้ํามัน ชื่อ “จันทบุรี” เปนผลงาน
จิตรกรรมแบบโพสทอิมเพรสชั่นนิสมของไทย  มีเนื้อหาสาระไทย  ที่มีอิทธิพลตอศิลปนรุนหลัง
ตั้งแตสมัยนั้นจนถึงทุกวันนี้   ปจจุบันภาพนี้แสดงถาวรในพิพิธภัณฑสถานแหงชาติศิลปพีระศรีอนุสรณกรมศิลปากร 
กรุงเทพมหานคร 

ผลงานบุกเบิกที่สําคัญอีกภาพหนึ่งคือภาพชื่อ  “ยุคมืด”เปนภาพวาดเอรีรงค  เปนแนวผสมผสานแบบคิวบิสม 
และเซอรเรียลลิสม  ในเนื้อหาสาระไทยซึ่งนับวาเปนผลงานที่บุกเบิกและกาวหนามากในยุคนั้น 

และมีผลงานบุกเบิกอีกภาพหนึ่งคือจิตรกรรมชื่อ “ซิมโฟนี อิน เยลโลว ” ซึ่งอยูในแบบนามธรรม
เปนผลงานที่กาวหนาที่สุดของยุคนั้น เพราะกวาศิลปนอื่นจะเริ่มทํางานแบบนามธรรมก็เมื่อ 12 ป 
ผานมาแลวตองถือวานายประยูร  อุลุชาฎะเปนผูบุกเบิกในดานจิ ตรกรรมนามธรรม

หลังจาก พ.ศ. 2495 เปนตนมา นายประยูร อุลุชาฎะ ไดเลือกแนวทางอิมเพรสชั่นนิสม
ในการสรางสรรคจิตรกรรมสีน้ํามัน สีน้ํา สีชอลก นอกจากนี้มีผลงานจิตรกรรมแบบประเพณี
และแบบผสมผสานประเพณีกับแบบใหม  ที่ทําในระยะหลังสุดนี้คือ จิตรกรรมสีน้ําซึ่งเปนผูมี
ความสามารถยอดเยี่ยมผูหนึ่ง สามารถเขียนสีน้ําบางๆ สีสะอาด ใหความงามหรือสุนทรียะเปนอยางมาก
เปนฝมือชั้นครูที่ทําอยู ตลอดเวลา และทําถึงขั้นสุดยอดของสีน้ํา

นายประยูรฯ ไดกลาวถึงเรื่องจิตรกรรมสีน้ําไววา
“เมื่อ พ.ศ. 2511 ขาพเจาเขียนรูปสีน้ําอีกครั้งหนึ่ง ดวยเห็นวาอุปกรณตางๆ ขนไปงาย  สะดวกดี 
ไมลําบากเหมือนเขียนสีน้ํามัน  ขาพเจาไปเขียนที่ดานเกวียน  ชายทะเล  ลําน้ําเจาพระยา ฯลฯ
งานเหลานี่ ไดจัดแสดงอยางนอย 20 ชิ้ น รวมกับผูอื่นที่พญาไทแกลเลอรี่(บัดนี้ลมไปแลว)
การแสดงครั้งนั้นไดรับการกลาวขวัญกันในดานเทคนิคสีน้ํา ซึ่งขาพเจาเขียนไดอยางสมใจนึก
ประจวบกับเปนระยะที่ทุมเทให การเขียนรูปอยางจริงจัง”

นายประยูร อุลุชาฎะ ไดแสดงผลงานตั้งแต พ.ศ. 2488 ที่สําคัญที่สุด คือ ไดสงผลงาน
เขารวมในการแสดงศิลปกรรมแหงชาติ  ตั้งแตครั้งที่ 2 พ.ศ. 2493 ผลงานไดรับการคัดเลือกและ
ไดรับรางวัลหลายครั้ง รางวัลสูงสุดคือ ภาพชื่อ “จันทบุ รี” ไดรับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ1 เหรียญทอง
ในการแสดงศิลปกรรมแหงชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2498 และในฐานะที่เปนศิลปนอาวุโสคนสําคัญ 
มักจะไดรับเชิญไปแสดงผลงานในการแสดงของกลุมตางๆ เสมอ

ผลงานที่มีชื่อ “จันทบุรี ” ไดรับเลือกแสดงในการแสดงศิลปะรวมสมัยของไทยในตางประเทศที่สาธารณรัฐประชาชนจีน
เมื่อ พ.ศ. 2528 ไดมีการรวบรวมผลงาน 30 ปของนายประยูรฯ  แสดงที่โรงแรมมณเฑียร  เมื่อ  พ.ศ. 2527 

เมื่อครั้งอายุครบ 60 ป ไดมีการจัดแสดงผลงานยอนหลังใหที่ พิพิธภัณฑสถานแหงชาติ หอศิลป เมื่อ พ.ศ. 2531
นับวาเปนเกียรติสูงสุดสําหรับศิลปนที่ไดรับจากสถาบันของรัฐ  และผลงานของนายประยูรฯไดรับการตีพิมพในหนังสือ
ศิลปะสมัยใหม และศิลปะรวมสมัยของไทยเกือบทุกเลม ในฐานะที่เปนผูบุกเบิกและใหอิทธิพลแกศิลปนรุนหลัง
ทําใหมีวิวัฒนาการในทางศิลปะแบบใหม

นอกจากงานสรางสรรคศิลปะแลวนายประยูร อุลุชาฎะ ไดทํางานดานการอนุรักษศิลปะโบราณไวทั้งในดานปฏิบัติและการเขียนหนังสือ 
ภาพคัดลอกจิตรกรรมไทยที่ทําขึ้นในชวงที่ศึกษาคนควาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ปจจุบันอยู ในพิพิธภัณฑสถานแหงชาติ   
และยังไดเขียนภาพพุทธประวัติภายในพระอุโบสถของวัดปาโค  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เมื่อ  พ.ศ. 2517  เปนจิตรกรรมสีฝุนบนผนัง 
และศึกษาคนควาที่โบราณสถานอยุธยาเปนเวลา 5 เดือนเต็ม  เพื่อเขียนหนังสือชื่อ “หาเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา”

เมื่อประมาณ พ.ศ. 2509 ไดเขียนหนังสือเกี่ยวกับศิลปะประวัติศาสตรและโบราณคดีของไทยมากกวา 60 เลม เกี่ยวกับจิตรกรรม ประติมากรรม
และสถาปตยกรรมไทย  เปนที่ยอมรับในวงวิชาการและผูสนใจในเรื่องดังกลาว  นอกจากนี้ ยังเปนนักเขียนในนาม  น.  ณ  ปากน้ำ 
ไดเขียน  “พจนานุกรมศิลปะ”  พิมพเผยแพรเมื่อ  พ.ศ. 2515  ซึ่งนักวิชาการทั้งในและตางประเทศจะใชผลงานของทานเปนประโยชน
ตอการสอนและการวิจัยจนถึงปจจุบันนี้

ตําแหนงงานราชการ
-  ดํารงตําแหนงอาจารยใหญโรงเรียนศิลปศึกษา(เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร)
   ปจจุบันคือ วิทยาลัยชางศิลป เมื่อ พ.ศ. 2497
-  ดํารงตําแหนงเลขาธิการมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2499
-  ดํารงตําแหนงนายกสมาคมจิ ตรกรประติมากรสมาคมแหงประเทศไทย



รางวัลและเกียรติคุณที่ไดรับ
พ.ศ. 2509 - ไดรับทุนมูลนิธิเอเซีย สํารวจอยุธยา 5 เดือน
พ.ศ. 2525 - เปนกรรมการคัดเลือกและตัดสินงานการแสดงศิลปกรรมแหงชาติ ครั้งที่28
พ.ศ. 2526 - ปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์(ประยุกตศิลป) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2527 - ประกาศเกียรติคุณ “ศิลปนอาวุโส” ของมูลนิธิหอศิลป
พ.ศ. 2528 - กรรมการคัดเลือกและตัดสินสาขาจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแหงชาติครั้งที่ 31
พ.ศ. 2529 - กรรมการคัดเลือกและตัดสินสาขาประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแหงชาติครั้งที่ 32
พ.ศ. 2530 - รับพระราชทานกิตติบัตรในฐานะที่มีบทบาทสําคัญในการสงเสริมงานศิลปะ
                สถาปตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ
              - ไดรับรางวัลชมเชย วันสัปดาหหนังสือแหงชาติ ครั้งที่ 16 เรื่อง “ฝรั่งในศิลปะไทย”
พ.ศ. 2532 - เปนกรรมการคัดเลือกและตัดสินงานศิลปกรรม การแสดงศิลปกรรมแหงชาติครั้งที่ 35
              - ไดรับยกยองเปนผูสนับสนุนดีเด นในการอนุรักษมรดกไทย จากคณะกรรมการวันอนุรักษมรดกไทย
พ.ศ. 2534 - ไดรับยกยองเปนนักศึกษาเกาดีเดน ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2535 - ไดรับการยกยองเชิดชูเกียรติเปน “ศิลปนแหงชาติ ” สาขาทัศนศิลป (จิตรกรรม)
                 จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2535
              - ไดรับรางวัลชมเชยในการประกวดหนังสือดีเดน ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป
                 เรื่อง “ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย วัดไชยทิศ” ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแหงชาติ
              - ไดรับโลเกียรติคุณนักศึ กษาดีเดน เนื่องในโอกาสคลายวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2536 - ไดรับเครื่องราชอิสริยาภรณมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 ชื่อ จัตุรถาภรณ
              - ไดรับรางวัลวรรณกรรมไทยชมเชย ประเภทรอยแกว เรื่อง “พุทธประติมากรรมในประเทศไทย” ของมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ
พ.ศ. 2537 - ไดรับรางวัลดีเดนในการประกวดหนังสือดีเดน ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป
                 เรื่อง “ศิลปะวิเศษสยามประเทศ: สุดยอดศิลปะในสายตาศิลปนแหงชาติ”
                 ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแหงชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2538 - ประกาศเชิดชูเกียรติ “ปูชนียบุคคลดานสถาปตยกรรมไทย” เนื่องในวันอนุรักษมรดกไทย
              - ไดรับรางวัลวรรณกรรมไทย รางวัลชมเชยประเภทรอยแกว เรื่อง “วิวัฒนาการลายไทย” ของมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ
              - ไดรับรางวัลชมเชยในการประกวดหนังสือดีเดน ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป
                 เรื่อง “ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย วัดคงคาราม” ของคณะกรรมกาพัฒนาหนังสือแหงชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2539 - ไดรับรางวัลชมเชยในการประกวดหนังสือดีเดน ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไปเรื่อง “ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย วัดโสมนัสวิหาร”
                 ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแหงชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2540 - ไดรับรางวัลชมเชยในการประกวดหนังสือดีเดน ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไปเรื่อง “ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย วัดสุทัศนเทพวราราม”
                 ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแหงชาติ กระทรวงศึกษาธิ การ
พ.ศ. 2541 - ไดรับรางวัลชมเชยในการประกวดหนังสือดีเดน ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไปเรื่อง “ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย วัดบางขุนเทียนใน”
                 ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแหงชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2542 - ปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิ ตติมศักดิ์(ทฤษฎีศิลป) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
              - ไดรับรางวัลดีเดนประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป เรื่อง “สมุดภาพประวัติศาสตรศิลปะสยามประเทศ : ศิลปะกอนกรุงศรีอยุธยา” ของ
                 คณะกรรมการพัฒนาหนังสือแหงชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2544 - ไดรับรางวัลชมเชยในการประกวดหนังสือดีเดน ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไปเรื่อง “ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย พระที่นั่งทรงผนวช”
                 และ “สมุดภาพประวัติศาสตรศิลปะสยามประเทศ : ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา” ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแหงชาติ กระทรวงศึกษาธิการ

การแสดงศิลปกรรมและรางวัล

พ.ศ. 2493 - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง(มัณฑนศิลป) การแสดงศิลปกรรมแหงชาติ  ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2496 - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง(จิตรกรรม) การแสดงศิลปกรรมแหงชาติ ครั้งที่ 4
พ.ศ. 2498 - รางวัลที่ 1 เหรียญทอง(จิตรกรรม) การแสดงศิลปกรรมแหงชาติ ครั้งที่ 6
พ.ศ. 2499 - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง(จิตรกรรม) การแสดงศิลปกรรมแหงชาติ ครั้งที่ 7
พ.ศ. 2503 - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง(จิตรกรรม) การแสดงศิลปกรรมแหงชาติ ครั้งที่ 11
พ.ศ. 2506 - แสดงศิลปกรรมเปนชุดสีน้ําลวนๆ ที่พญาไทแกลเลอรี่ รวมกับศิลปนหลายคน
                และยังแสดงศิลปกรรมรวมกับจิตรกร-ประติมากร สมาคมในการแสดงศิลปกรรมแหงชาติอีกหลายครั้ง
พ.ศ. 2524 - วันที่8 กันยายน แสดงภาพสีน้ํา 4 ชิ้น ที่สถาบันเยอรมัน ในงานที่ระลึก “ศิลป พีระศรี”
พ.ศ. 2525 - แสดงภาพสีน้ํา 2 ชิ้น ในงานวันเปดธนาคารแหงประเทศไทย
              - แสดงภาพสีน้ํา รวมรับเชิญจาก จิตรกรสีน้ํา “กลุมไวท”
              - สงภาพสีน้ําไปรวมแสดงกั บจิตรกรไทยอื่ นๆ ที่ประเทศมาเลเซียและสิ งคโปร
              - รวมกับศิลป นอื่นๆ สงภาพพอตเทรตไปแสดง 3 ชิ้น ที่จุ ฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2526 - แสดงภาพสีชอลก 3 ชิ้น ในงานนิทรรศการภาพเขี ยนฉลองกรุงรัตนโกสินทร 200 ป ที่ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
              - ศิลปกรรมหลัง พ.ศ. 2475 ที่ธรรมศาสตร
พ.ศ. 2527 - ศิลปกรรมรวมสมัย 27 ที่River City
              - นิทรรศการเดี่ยวจิตรกรรมภาพถายในรอบ 30 ป ของ น. ณ ปากน้ำ ที่โรงแรมมณเฑียร
พ.ศ. 2530 - การแสดงศิลปกรรมที่ The Artist Gallery
              - การแสดงศิลปกรรมรําลึกถึง สุเชาว ศิษย คเณศ
              - วันเกิดศาสตราจารย ศิลป พีระศรี 95 ป ที่ศูนยสังคีตศิลป
พ.ศ. 2531 - การแสดงผลงาน “เนื่องในโอกาสวันเกิด 5 รอบนักษัตร” ณ พิพิธภั ณฑสถานแหงชาติ หอศิลป
พ.ศ. 2535 - การแสดงงานเชิดชูเกียรติ ศิลปนอาวุโส ประจําป 2535 “73 ศิลปนศิษยศิลปพีระศรี” ณ พิพิธภัณฑสถานแหงชาติ หอศิลป
พ.ศ. 2536 - การแสดงงานที่ศูนยวัฒนธรรมแหงชาติประเทศไทย
พ.ศ. 2537 - การแสดงนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปนอาวุโส ณ พิพิ ธภัณฑสถานแหงชาติหอศิลป

ผลงานทางวิชาการ

ชุดศิลปะและโบราณคดี
-  บันไดเขาถึงศิลป
-  เรื่องนารูจากอดีต
-  รอยอดีต
-  เรื่องราวของศิลปและศิลปน
-  ความงามในศิลปะไทย (ไดรับคัดเลือกเปนหนังสือ 1 ใน 100 เลม ที่คนไทยควรอาน)
-  หาเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา
-  ศิลปปริทัศน
-  แนะนําศิลปสากล
-  เที่ยวชมศิลป
-  ศิลปรส
-  ศิลปในบางกอก
-  สารจากนครพิงคถึงบางกอก (เลม1,2)
-  ศิลปโบราณของไทย
-  จิตรกรรมสมัยอยุธยาจากสมุ ดขอย
-  ชมศิลปในอินเดีย
-  ประเพณีไทยตางๆ
-  ศิลปะแหงอาณาจักรไทยโบราณ
-  ศิลปกับโบราณคดีในสยาม
-  ศิลปในกรุงเทพมหานคร
-  ศิลปะลายรดน้ำ
-  ศิลปกรรมโบราณในสยามประเทศ
-  คําถาม - คําตอบเรื่องศิลปะไทย
-  ศิลปะบนใบเสมา
-  วิวัฒนาการลายไทย
-  จิตรกรรมรัตนโกสินทรสองรอยป
-  เที่วชมศิลปะยุโรปกับ น. ณ ปากน้ำ
-  ประวัติจิตรกรเอกของโลก
-  ศิลปไทยตามวัด
-  ศิลปของพระพุทธรูป
-  พจนานุกรมศิลป
-  เที่ยวเมืองศิลปะอูทอง
-  ศิลปแหงอดีตสมัย
-  ความเปนมาของสถูปเจดียในสยามประเทศ
-  ศิลปะอยุธยา
-  ประวัติจิตรกรรมมอเมริกัน
-  สารจากกรุงเทพถึงธนบุรี
-  ศาสนาและศิลปในสยามประเทศ
-  เปดกรุศิลปน
-  ลายปูนปนมัณฑนศิลปอันเลิ ศแหงสยาม
-  พุทธประติมากรรมในประเทศไทย
-  สยามศิลปะ จิตรกรรม และสถูปเจดีย
-  หลักการใชสี
-  สังสรรคศิลป
-  ตําลาศิลปะไทยรัตนโกสินทร
-  ฝรั่งในศิลปะไทย
-  ศิลปะคุปตะและปาละของอินเดีย
-  ศิลปะจีนและคนจีนในไทย
-  หลักการวาด
-  องคประกอบศิลป เลม 1
-  แบบแผนบานเมืองในสยาม
-  เมืองสุโขทัยนี้ดี (น. ณ ปากน้ำ, รศ. ดร. ธิดา สาระยา)
-  ความเขาใจในศิลปะ
-  เรื่องสนุกโบราณคดี
-  พระอาจารยนาค ธนบุรี
-  สกุลชางนนทบุรี นนทบุรี
-  วัดบางแคใหญ สมุทรสงคราม
-  วิวัฒนาการลายไทย
-  ศิลปะและวัฒนธรรมจากดินแดนอาหรับเมื่อแรกเขาสูสยามประเทศ
-  ศิลปะวิเศษสยามประเทศ สุดยอดศิลปะไทยในสายตาศิลปนแหงชาติ
-  ศิลปะโบราณในสยาม (รวมบทความที่ลงในวารสารเมืองโบราณ ป พ.ศ. 2517 -2532)
-  คันธาระแหลงปฐมกําเนิดพระพุทธรูปพระเจามิลินท และพระนาคเสน
-  สยามศิลปะ จิตรกรรม และสถูปเจดีย
-  สมุดภาพประวัติศาสตรศิลปะสยามประเทศ : ศิลปะก อนกรุงศรีอยุธยา
-  สมุดภาพประวัติศาสตรศิลปะสยามประเทศ ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา
-  จิตรกรรมเลาเรื่องสมเด็จพระเจาตากสินมหาราช
-  ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย
-  วัดประดูทรงธรรม อยุธยา
-  วัดเกาะแกวสุทธาราม เพชรบุรี
-  วัดภูมินทรและวัดหนองบัว นาน
-  สีมากถา สมุดขอยวัดสุทัศน เทพวราราม
-  วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ
-  วัดทองธรรมชาติ กรุงเทพฯ
-  พระที่นั่งทรงผนวช กรุงเทพฯ
-  วัดเขี ยน อางทอง
-  วัดบางขุนเทียนใน ธนบุรี
-  พระที่นั่งพุทไธสวรรย กรุงเทพฯ
-  วัดสุวรรณาราม ธนบุรี
-  วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
-  วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
-  วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ
-  วัดคงคาราม ราชบุรี
-  วัดไชยทิศ กรุงเทพฯ
-  วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพฯ
-  วัดดุสิดาราม กรุงเทพฯ
-  วัดใหมเทพนิมิตร กรุงเทพฯ
-  วัดใหมอินทราราม ชลบุรี
-  วัดราชสิทธาราม กรุงเทพฯ
-  วัดไชยทิศ กรุงเทพฯ
-  วัดชองนนทรี กรุงเทพฯ
-  วัดมัชฌิมาวาส สงขลา
-  จิตรกรรมสมัยอยุธยาในสมุดขอย
-  ครูคงแปะ – ครูทองอยู

ชุดโหราศาสตร
-  โหราศาสตร
-  เคล็ดลับในการใหฤกษ และการตั้งชื่อ
-  อาถรรพณพยากรณพิเศษ
-  โหราศาสตรแผนใหม
-  ไดอารี่โหราศาสตรประจําป
-  วิจารณ ดวงชาตาสองรอยดวงฉบับ
-  คัมภีรหยินหยาง
-  โยคะ
-  กาลชาตาและโหราศาสตรบานเมือง
-  คาพยากรณความฝน
-  ปฐมภาคแหงโหราศาสตร
-  ปจฉิมภาคแหงโหราศาสตร
-  วิเทศโหราศาสตร
-  พื้นฐานของโหราศาสตร
-  ความมหัศรรย ในตัวเลข
-  โหราศาสตรพิชัยสงคราม ดวงเมือง
-  โหราศาสตรภาคพิเศษ ทวาทศเคราะห
-  ปกิณกะโหราศาสตร
-  พยากรณจรพิสดาร
-  พยากรณความฝน
-  โหราศาสตรภาคพิเศษ พลูหลวง
-  ปฏิทินดวงดาวเนปจูนและพลูโต
-  ปฏิทินดาวแบคคัส(ดาวโสม)
-  ปุจฉาวิสัชนาโหราศาสตร ภาคพิธีกรรมกับนรลักษณ
-  คําพยากรณและการใหฤกษประจําวันตลอดป 2528
-  คําพยากรณและการใหฤกษประจําวันตลอดป 2529
-  คติความเชื่อและประเพณีเกี่ยวกับการสรางเรือน
-  เทวโลก
-  พลูหลวง วิจัยดาว และดูดวง
-  เคล็ดลางอาถรรพณ
-  หยิน หยาง ภูมิพยางกรณและ ฮวงจุ ย
-  ตํารานรลักษณศาสตรแหงการทํานายลักษณะบุคคล
-  วิถีแหงการพยากรณ
-  การใหฤกษฉบับงาย
-  คติสยาม
-  ยามอัฐกาลแบบงายๆ
-  หยิน หยาง ภูมิพยางกรณและ ฮวงจุย

นามปากกา
-  “น. ณ ปากน้ำ” เขียนเรื่องศิลปะโบราณคดี และประวัติศาสตร เริ่มครั้งแรกในหนังสือ ชาวกรุง ป พ.ศ. 2500
-  “นิรวรรณ ณ ปากน้ำ” เขียนเรื่องศิลปะ โบราณคดี และประวัติศาสตร พบในหนังสือ “ชาวกรุง”
-  “พลูหลวง” เขียนประวัติศาสตร สารคดี และโหราศาสตร เริ่มใช ครั้งแรกในหนังสือ สยามสมัย ป พ.ศ. 2501
-  “ลุม  เจริญศรัทธา”  เขียนวิ จารณศิลปะโบราณ  เริ่มครั้งแรกในหนังสือสังคมศาสตรปริทัศน
-  “กเวล ชไนบูร” เขียนเรื่องสั้นและเปนนามปากกาใชในการเขียนรูปดวย เริ่มครั้งแรกในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ
-  “เอ.พี.ฟชเซอร”  เขียนวิจารณศิลปะ  เริ่มครั้งแรกในหนังสือ  สังคมศาสตรปริทัศน
-  “โอสธี” เขียนโหราศาสตร เริ่มครั้งแรกในหนังสือรายสัปดาห คุณหญิง
-  “นายซีเนียร ”  เขียนใหมหาวิทยาลัยศิลปากรเปนประจํา  เริ่มครั้งแรกในหนังสือตอนรับนองใหมมหาวิทยาลัยศิลปากร

นายประยูร  อุลุชาฎะ  เปนศิลปนอาวุโสคนสําคัญของชาติ  ที่ไดเสียสละและอุทิศตนใหกับงานศิลปะ  และวิทยาการดานศิลปวัฒนธรรมของชาติ 
เปนคนดีมีวิชา  มีคุณธรรมและจริยธรรม  เปนปูชนียบุคคล  เหมาะสมที่ จะเปนตัวอยางที่ดีของเยาวชน  และเปนศักดิ์ศรีของชาติสืบไป
ทานไดถึงแกกรรมดวยโรคหัวใจวาย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2543 รวมอายุได 72 ป


______________________________________________________________________________
* เลขทะเบียนประจําตัวนักศึกษาที่ 80 ขอมูลจากสมุดทะเบียนนักศึกษาเลมแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร 2486-2516

Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.048 seconds with 22 queries.