Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 21:55:57

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  วิถีสู่ชีวิตแห่งความพอเพียง  |  เกษตรทางเลือก  |  เพอร์มาคัลเจอร์  |  เพอร์มาคัลเจอร์ #5 : ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อม
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: เพอร์มาคัลเจอร์ #5 : ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อม  (Read 1499 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 29 December 2012, 08:09:52 »

เพอร์มาคัลเจอร์ #5 : ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อม


รู้เขารู้เรารบสิบครั้งชนะสิบครั้ง  การเลือกกลยุทธ์ในการออกแบบการใช้งานและปรับปรุงที่ดิน  จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม ซึ่งที่จะเป็นปัจจัยภายนอกซึ่งมีผลต่อการเลือกเทคนิคการดำเนินการตามหลักเพอร์มาคัลเจอร์ของเรา  วันนี่ผมขออนุญาตยกกรณีภูมิอากาศของที่ดินของผมเป็นตัวอย่าง


ระดับจังหวัด

ข้อมูลพื้นฐาน : ขนาดที่ตั้งและภูมิประเทศ

    จังหวัดเพชรบุรีตั้งอยู่ภาคกลางตอนใต้ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  35 ระยะทางประมาณ  123  กิโลเมตร  มีพื้นที่ทั้งหมด  6,225,138  ตารางกิโลเมตร  หรือ  3,890,711.20  ไร่  ประกอบด้วย 8 อำเภอ  คือ   เมืองเพชรบุรี, บ้านแหลม, ชะอำ, ท่ายาง,  เขาย้อย, บ้านลาด, หนองหญ้าปล้อง และแก่งกระจาน   ลักษณะภูมิประเทศ    แบ่งเป็น 3 เขต คือ

    ก. เขตภูเขาและที่ราบสูง   อยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดติดกับพม่าในบริเวณอำเภอแก่งกระจาน  และอำเภอหนองหญ้าปล้อง มีภูเขาสูงและเป็นบริเวณที่สูงชันของจังหวัด  มีลักษณะเป็นเทือกเขาทอดยาวจากเหนือมาใต้     พื้นที่ถัดจากบริเวณนี้จะค่อย ๆ ลาดต่ำลงมาทางด้านตะวันออก บริเวณนี้เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำเพชรบุรี และแม่น้ำปราณบุรี

    ข. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ  บริเวณตอนกลางของจังหวัดซึ่งอุดมสมบูรณ์ที่สุด  มีแม่น้ำเพชรบุรีซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน   และมีเขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนเพชรบุรีซึ่งเป็นแหล่งน้ำระบบชลประทาน       บริเวณนี้เป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญของจังหวัด เขตนี้คือบริเวณบางส่วนของอำเภอเมืองเพชรบุรี ท่ายาง ชะอำ บ้านลาด บ้านแหลม และเขาย้อย

    ค. เขตที่ราบฝั่งทะเล อยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัด  ติดกับชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย      บริเวณนี้นับเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งของจังหวัดในด้านการประมง  การท่องเที่ยว    เขตนี้ได้แก่ บางส่วนของอำเภอเมืองเพชรบุรี บ้านแหลม และอำเภอชะอำ

 

ข้อมูลพื้นฐาน : ลักษณะภูมิอากาศ

     จังหวัดเพชรบุรีอยู่ติดอ่าวไทยจึงได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในฤดูฝน    ซึ่งมีผลทำให้ฝนตกชุก  และอิทธิพลจากลมมรสุมรตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว  จึงทำให้มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเวลาดังกล่าว  สามารถแบ่งฤดูกาลออกเป็น  3  ฤดู

     ฤดูร้อน    เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - เมษายน  อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 32.13 องศาเซลเซียส

     ฤดูฝน     เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - พฤศจิกายน  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 959.5  มิลลิเมตร

     ฤดูหนาว  เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์  อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 24.16  องศาเซลเซียส

 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1003.43 มิลลิเมตรต่อปี ตกในช่วงฤดูฝนถึง 95%  โดยจะตกมากในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม มีวันฝนตกตั้งแต่ 0.1 มิลลิเมตร 99 วัน (27%) มีวันฝนตก 103 วัน (28%)

 ภาค                    ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย (mm)            จำนวนวันฝนตก

 เหนือ                         1217.8                           121.2
 อีสาน                         1379.1                           116.1
 กลาง                         1242.6                           113.5
 ตะวันออก                    1886.1                           130.4
 ใต้ฝั่งตะวันออก              1710.2                           145.4
 ใต้ฝั่งตะวันตก                2740.7                           177.1
 ประเทศไทย                 1572.5                           129.6
 เพชรบุรี                       1003.43                         103

หมายเหตุ จะเห็นว่าจังหวัดเพชรบุรีมีแนวโน้มแล้งมากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศเล็กน้อย  ปัญหาที่เจอไม่ใช่ไม่มีน้ำฝนเพียงพอ  แต่เป็นปัญหาฝนทิ้งช่วงนานเพราะมีวันฝนตกเพียง 28% เท่านั้น  ดังนั้นการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งจึงเป็นปัญหาสำคัญ

ข้อมูลพื้นฐาน : แหล่งน้ำ

     แหล่งน้ำธรรมชาติ มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ จำนวน 6 สาย

     1. แม่น้ำเพชรบุรี  ต้นน้ำจากเทือกเขาสูงชันทางด้านตะวันตกของจังหวัด  ไหลผ่านอำเภอแก่งกระจาน   อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด อำเภอเมือง ลงสู่อ่าวไทย ที่อำเภอบ้านแหลม  มีความยาว  210  กิโลเมตร  เป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญของจังหวัดเพชรบุรีตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ของจังหวัดเพชรบุรีจะอยู่ตามบริเวณสองฟากฝั่งของแม่น้ำนี้

     2. แม่น้ำบางกลอย ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอหนองหญ้าปล้องไหลมาบรรจบ แม่น้ำเพชรบุรี  บริเวณอำเภอท่ายาง มีความยาว 45 กิโลเมตร

     3. ห้วยแม่ประโคน ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบริเวณเขตติดต่อระหว่างอำเภอหนองหญ้าปล้อง กับอำเภอปากท่อ  จังหวัดราชบุรี และมีสาขาสำคัญ ได้แก่ ห้วยมะเร็ว  ห้วยเสือกัดช้าง  ห้วยสมุลแว้ง  และไหลมาบรรจบแม่น้ำเพชรบุรีในบริเวณเขตอำเภอท่ายาง มีความยาว 56 กิโลเมตร

     4. ห้วยผาก  ต้นน้ำจากภูเขาอ่างแก้วและภูเขาน้ำหยดในบริเวณเขตอำเภอแก่งกระจานไหล  มารวมกันแม่น้ำเพชรบุรี ที่บริเวณใต้เขื่อนแก่งกระจานในเขตอำเภอแก่งกระจาน มีความยาว 30 กิโลเมตร

     5. ห้วยแม่ประจันต์ ต้นน้ำจากเทือกเขาในเขตจังหวัดราชบุรี ไหลผ่านอำเภอหนองหญ้าปล้อง และไหลมาบรรจบแม่น้ำเพชรบุรีบริเวณเหนือเขื่อนเพชรบุรีในเขตอำเภอท่ายาง

     6. แม่น้ำบางตะบูน เป็นสาขาของแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งไหลย้อนขึ้นไปทางเหนือผ่านอำเภอย้อย  อำเภอบ้านแหลม  ออกสู่อ่าวไทยที่ปากอ่าวบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร

     โครงการชลประทานขนาดใหญ่มี 2 โครงการ คือ 1. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี มีอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำ 30,000 ไร่    สามารถเก็บน้ำได้  710 ล้านลูกบาศก์เมตร     2. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาราชบุรีฝั่งขวา รับน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี

     โครงการชลประทานขนาดกลาง  มี 12 โครงการ   มีพื้นที่เก็บน้ำ 15,030 ไร่   สามารถ เก็บกักน้ำได้ 30.30 ล้านลูกบาศก์เมตร

     โครงการชลประทานขนาดเล็ก  มี 1,097  โครงการ มีพื้นที่เก็บน้ำ 11,695 ไร่ สามารถเก็บกักน้ำได้ 41.12 ล้านลูกบาศก์เมตร

 ข้อมูลพื้นฐาน : ป่าไม้

     จังหวัดเพชรบุรี ในปี 2543  มีพื้นที่ป่าสงวนจำนวน 15 แห่ง  รวมพื้นที่ทั้งหมด  2,397,600  ไร่ ได้มีผู้เข้ามาถือครองจำนวน 781 ราย จำนวนพื้นที่ทั้งสิ้น 97,787 ไร่ 2 งาน 9 ตารางวา  เป็นอุทยานแห่งชาติและวนอุทยานจำนวน  2  แห่ง  รวมพื้นที่ทั้งหมด 1,823,437 ไร่   และได้มีผู้เข้ามาถือครอง 1,321 ราย  จำนวนพื้นที่ทั้งสิ้น  34,494 ไร่ 2 งาน  66 ตารางวา  นอกจากนี้ จังหวัดเพชรบุรียังมีป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 8 แห่ง รวมพื้นที่ทั้งหมด 130,782 ไร่

ข้อมูลพื้นฐาน : ดิน

      ลักษณะของดินในจังหวัดเพชรบุรีสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ

      - ดินเหนียวและดินเหนียวปนทราย อยู่ในบริเวณที่ราบตอนกลางของจังหวัด

      - ดินเหนียวถึงร่วนปนกรวดและเศษหิน อยู่ในบริเวณที่ราบสูงทางด้านตะวันตก ของจังหวัด

      - ดินร่วนเหนียว อยู่ในบริเวณพื้นที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจังหวัด


ระดับที่ดิน

      ที่ดินตั้งอยู่บริเวณเขตภูเขา/ที่ราบสูงใน อ.แก่งกระจาน  มีแหล่งน้ำหลักเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กของกรมชลประทาน ความจุ 0.871 ล้าน ลบ.ม. สำหรับจ่ายให้พื้นที่การเกษตร 500 ไร่มี  ดินในที่ดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวถึงร่วนปนกรวด และเศษหิน  มีหน้าดินลึกประมาณ 1 เมตร  ด้านล่างเป็นชั้นหินกาบ

      ในช่วงท้ายๆ ของฤดูร้อน (เริ่มประมาณพฤษภาคมเป็นต้นไป) อากาศร้อนจากในแผ่นดินจะทำให้มีลมพัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่ง และมีฝนตกชุก ทิศทางของลมจะพัดจากทิศใต้หรือตะวันออกเฉียงใต้  ในช่วงฤดูแล้ง (เริ่มประมาณเดือนธันวาคม) อิทธิพลของอากาศเย็นจากตอนเหนือจะทำให้ลมเปลี่ยนทิศพัดจากทิศเหนือ หรือตะวันออกเฉียงเหนือนำพาอากาศเย็นจากตอนเหนือทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 24 องศาเซลเซียส   อากาศจะเริ่มร้อนในเดือนมีนาคมลมจะเปลี่ยนทิศกลับไปเป็นทิศใต้หรือตะวันออกเฉียงใต้  (เวลาส่วนใหญ่ของปีลมจะพัดจากทางทิศใต้ หรือตะวันออกเฉียงใต้) และร้อนจนเข้าฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม

      ฝนที่ตกในพื้นที่ประมาณ 95% จะตกในช่วงฤดูฝน  โดยอาจจะมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยแปรปรวนจาก 90 - 260 มิลลิเมตร  โอกาสแล้งจนไม่มีน้ำพอใช้ และน้ำท่วมใกล้เคียงกัน และคาดการณ์ได้ยาก แต่ก็เกินขึ้นเป็นประจำ  ภูมิอากาสส่วนใหญ่ขึ้นกับอิทธิพลของลมมรสุม

      เพื่อนควรจะต้องรู้พฤติกรรมของน้ำในฤดูฝนว่าน้ำจะท่วมมั๊ย  และในหน้าแล้งว่าจะมีปัญหาเรื่องน้ำไม่พอมั๊ย  เนื่องจากที่ดินของผมอยู่เหนือคันอ่างเก็บน้ำ ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนรุนแรงจึงไม่มี เพราะจะมีระบบน้ำล้นของอ่างเก็บน้ำปล่อยน้ำลงไปยังพื้นที่การเกษตรด้านล่างเพื่อรักษาคันเขื่อนของอ่างเก็บน้ำไว้  ทำให้มีโอกาสน้ำท่วมเล็กน้อยบริเวณที่ดินริมตลิ่งระดับน้ำไม่เกิน 30 เซนติเมตร และบริเวณที่อาจโดยท่วมไม่กินบริเวณกว้างมาก (เนื่องจากที่ดินไม่ได้เป็นพื้นราบ แต่ลาดลงไปยังอ่างเก็บน้ำ)  แต่ที่ดินก็มีโอกาสแล้งจนมีปัญหาในการสูบน้ำเพื่อมาใช้ในการเกษตร  เนื่องน้ำในอ่างเก็บน้ำจากเป็นแหล่งประปาของชุมชน  ถ้าแล้งมากๆ จะลดการจ่ายน้ำไปยังพื้นที่การเกษตรด้านล่างของอ่างเก็บน้ำทาง อบต. แต่จะต้องกันน้ำไว้ใช้สำหรับทำน้ำประปา  ซึ่ง อบต. ก็จะขอความร่วมมือสวนด้านบนอ่างเก็บน้ำชะลอการสูบน้ำเพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับระบบประปา

     ปัญหาการลักลอบตัดไม้ การเปิดหน้าดินโดยไม่มีพืชคลุมดิน (โดยเฉพาะการทำไร่สับปะรด)  ปริมาณน้ำฝนที่อาจจะตกรุนแรง ลมที่พัดแรงมากในบางครั้ง รวมทั้งลักษณะพื้นที่ที่ลาดชันทำให้มีปัญหาเรื่องการกัดเซาะหน้าดี  โดยเฉพาะในฤดูฝน  เนื่องจากหน้าดินตื้นทำให้ต้นไม้ที่มีรากลึกเติบโตได้ไม่ดี (จะไปดินชั้นหินด้านล่าง)  และหินกาบที่อยู่ด้านล่างทำให้ดินไม่อุ้มน้ำเท่าที่ควร  เนื่องจากน้ำใต้ดินจะไหลไปตามร่องของหินได้ดี  ในหน้าแล้งจึงจะเห็นบริเวณที่ดินเสียแห้ง และดินแตกเป็นร่อง  การขุดสระในที่สูงทำได้ค่อนข้างยากเพราะดินไม่อุ้มน้ำ

     ปัญหาดินถล่มในพื้นที่มีโอกาสเกิด  แต่เนื่องจากที่ดินอยู่ที่ระดับสูงอยู่แล้วจึงไม่ห่างจากยอดเขามากนัก  ปัญหาเรื่องดินถล่มจากภูเขามายังที่ดินจึงมีโอกาสน้อย  แต่อาจจะมีปัญหาดินถล่มในระหว่างทางถนนที่ขึ้นมายังที่ดิน

     ปัญหาไฟป่าลุกติดมายังที่ดินมีโอกาสเกิดเนื่องจากด้านเหนือของที่ดินใกล้กับแนวป่า  มีถนนกั้นกลางก่อนถึงบริเวณบ้านพัก  เพื่อเป็นการป้องกันจำเป็นต้องคอยไถทางเป็นแนวกันไฟทางด้านตอนเหนือของที่ดิน

 

แผนกลยุทธ์สำหรับที่ดิน

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของกิจกรรมที่น่าจะทำเพื่อปรับปรุงที่ดิน :

- สร้างที่เก็บน้ำขนาดเล็ก หรือสระน้ำขนาดเล็ก

- การทำแนวกันไฟ

- ปลูกต้นไม้เป็นแนวกันลม

- ปลูกพืชคลุมดิน โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว

- ปลูกต้นไม้ขนาดกลางตระกูลถั่ว เช่น ก้ามปู, ขี้เหล็ก, มะขาม และหมั่นตัดกิ่งใบให้เป็นวัสดุคลุมดิน

- ปลูกต้นไม้ใหญ่ระยะยาว เช่น ยางนา, สัก

- การเลี้ยงสัตว์ผสานกับพืช เช่น ห่าน, เป็ด, ไก่, หมู, วัว

- ปลูกหญ้าแฝก หรือต้นตะไคร้ เพื่อชะลอน้ำตามแนวถนน

- ทำร่องชะลอน้ำ (swale) ตามแนวเส้นระดับ

- ปลูกต้นไม้ริมน้ำ  เพื่อลดปัญหาตลิ่งพังจากการกัดเซาะของคลื่นในอ่างเก็บน้ำ

- ทำปุ๋ยหมัก

- ปลูกต้นไม้โตเร็วเพื่อใช้ทำฟืน  แทนการตัดต้นไม้ขนาดใหญ่ที่โตช้า

 

ตัวอย่างข้างบนเป็นเพียงตัวอย่าง  เพื่อนๆ อาจจะต้องปรับแผนกลยุทธ์ให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศ และปัญหาที่เจอในพื้นที่ของตนเอง

http://www.bansuanporpeang.com/node/19532



Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.069 seconds with 22 queries.