Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 22:33:34

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  วิถีสู่ชีวิตแห่งความพอเพียง  |  เกษตรทางเลือก  |  เพอร์มาคัลเจอร์  |  เพอร์มาคัลเจอร์ : พืชวงศ์ถั่ว
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: เพอร์มาคัลเจอร์ : พืชวงศ์ถั่ว  (Read 2291 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 29 December 2012, 07:47:36 »

เพอร์มาคัลเจอร์ : พืชวงศ์ถั่ว


ตามที่พี่สายพิณได้สอบถามเรื่องพืชวงส์ถั่วโดยเฉพาะต้นไม้วงศ์ถั่วขนาดใหญ่  ขออนุญาตแชร์ความรู้อันน้อยนิดที่ไปหามาได้นะครับ  พืชวงศ์ถั่ว หรือ Fabaceae (Leguminosae) ลักษณะทั่วไปส่วนใหญ่พืชตระกูลถั่วเป็นไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น หรือไม้ล้มลุก ใบเรียงสลับ มักเป็นใบประกอบแบบ 3 ใบ หรือใบประกอบแบบขนนก อาจเป็นชนิดขนนกชั้นเดียวหรือขนนก 2 ชั้น มีหูใบบนก้านใบและบนราคิสอาจมีต่อมหรือหนาม ใบแผ่กางในเวลากลางวันและหุบในเวลากลางคืน ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อแบบต่างๆ เช่น ช่อกระจะ ช่อเชิงลด ช่อกระจุกแน่น และช่อแยกแขนง ลักษณะของดอกแตกต่างกันตามวงศ์ย่อย ผลมีลักษณะเป็นฝักแตกได้ หรือแตกไม่ได้ บางชนิดมีลักษณะค่อนข้างกลม มีปีกแผ่ออกไปโดยรอบ เรียกว่าผลแบบซามารา เช่น ผลประดู่ 

วงศ์นี้เป็นวงศ์ใหญ่ทีเดียว มีสมาชิกมากถึง 619 สกุล 17,815 ชนิด ในวงศ์พืชทั้งหมดของพืชมีดอก นับว่าวงศ์ถั่วใหญ่เป็นอันดับสาม รองจาก วงศ์ทานตะวัน (Asteraceae) ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 1,535 สกุล 23,000 ชนิด และวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 775 สกุล 19,500 ชนิด และจากการศึกษาหาความสัมพันธ์ทางสายวิวัฒนาการพบว่า Fabaceae เป็น monophyletic group ความสัมพันธ์ภายในวงศ์ พบว่า 3 พืชในกลุ่ม Caesalpinioideae เป็นกลุ่มแรกที่เกิดขึ้น และพืชในกลุ่ม Mimosoideae มีประวัติวิวัฒนาการภายใน Papilionoideae (Faboideae) เป็นกลุ่มพืชล่าสุดที่เกิดขึ้นในวงศ์ถั่ว  พืชวงศ์ถั่วจึงถูกจัดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย (3 subfamilies) ตามลักษณะสัณฐานวิทยาซึ่งสอดคล้องกับความสัมพันธ์ทางสายวิวัฒนาการด้วยคือ

    Mimosoideae  เป็นช่อกระจุกแน่น ช่อกระจะ หรือช่อเชิงลด ดอกย่อยขนาดเล็ก เรียงชิดกันแน่น สมมาตรแบบรัศมี กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อติดกันตรงโคนเป็นหลอดสั้นๆ หรือแยกจากกัน เกสรตัวผู้เป็นโครงสร้างที่เด่นของดอก มีเท่ากลีบดอกหรือมากกว่า ก้านเกสรตัวผู้ยาว เกสรตัวเมียมีรังไข่ตั้งตรง และอาจมีก้านชูรังไข่สั้นๆ ตัวอย่างเช่น ดอกกระถิน ดอกไมยราบ ตัวอย่างพืชในกลุ่มนี้เช่น ไมยราบต้น ไมยราบเถา และจามจุรี
    Caesalpinioideae ดอกเป็นแบบสมมาตรด้านข้าง กลีบเลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอก 5 กลีบเป็นแบบพาพิลิโอเนเซียส เกสรตัวผู้ 10 อัน แยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมี 9 อันเชื่อติดกัน ก้านเกสรตัวผู้เชื่อมติดกันตลอดความยาว อีกกลุ่มมี 1 อัน แยกเป็นอิสระ เกสรตัวเมียมีรังไข่ยาวแบนตั้งตรง หรืออาจจะโค้งเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ดอกแค ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้เช่น หิ่งเม่น โสนขน ถั่วผี ชัยพฤกษ์ หางนกยูง ชงโค และมะขาม
    Papilionoideae (Faboideae) ดอกเป็นแบบสมมาตรด้านข้าง แต่บางชนิดคล้ายกับเป็นสมมาตรแบบรัศมี กลีบเลี้ยง 5 กลีบแยกเป็นอิสระ กลีบดอก 5 กลีบเป็นแบบซีซาลพิเนเซียส เกสรตัวผู้ส่วนมากมี 10 อันหรือน้อยกว่า แยกกันเป็นอิสระ บางชนิดมีเกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน ก้านเกสรตัวผู้มักยาวไม่เท่ากัน เกสรตัวเมียยาวและโค้งเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ดอกชงโค ดอกทรงบาดาล ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้ ได้แก่ ชุมเห็ด มะขาม และถั่วกินได้ชนิดต่างๆ



ตารางแสดงจำนวนพืชวงศ์ถั่วที่พบในโลกและในประเทศไทย


เนื่องจากวงศ์ถั่วที่พบในประเทศไทยมีจำนวนเยอะมากๆ ผมรู้จักไม่หมด จึงขออนุญาตรวบรวมเฉพาะที่รู้จัก และคิดว่าอาจจะปลูก ซึ่งจะไม่รวมเอาตระกูลถั่วที่ไม่อยากปลูกอย่าง "หมามุ่ย" เข้ามา  และขอแบ่งออกเป็นกลุ่มล้มลุก (annual) และพวกที่ข้ามปีหรือยืนต้น (perennial)  รวมทั้งแบ่งตามระดับความสูงของต้นได้คร่าวๆ ดังนี้ครับ



เนื่องจากพืชตระกูลถั่วมีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจนในอากาศ  จึงจะช่วยเพิ่มคุณภาพของดินโดยรอบ  ถ้าเพื่อนๆ สนใจต้นไหนก็ลองไปหามาปลูกดูนะครับ  แล้วคุณจะรู้ว่าวงศ์นี้มีอะไรมากกว่าถั่วที่เรารับประทานกัน

http://www.bansuanporpeang.com/node/21193



Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.031 seconds with 21 queries.