Smile Siam
|
|
« on: 29 December 2012, 07:49:45 » |
|
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 30 ปี (2504-2533)
วันนี้ขอแบ่งปันข้อมูลสถิติปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 30 ปี (2504-2533) จากกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งอาจจะมีข้อมูลไม่ครบทุกจังหวัดแต่พอจะเป็นข้อมูลให้เพื่อนๆ ได้เห็นภาพการกระจายตัวของฝนในประเทศไทยตามตารางข้างล่าง โดยมีข้อสังเกตุเล็กๆ ดังนี้
ในพื้นที่ภาคกลางจังหวัดที่ฝนตกชุกที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร น่าจะเหมาะเป็นที่ทำการเกษตรมากที่สุด แต่เป็นจังหวัดที่เราเอาคอนกรีตไปทบทับพื้นดินมากที่สุดในประเทศไทย ผู้คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการใช้น้ำประปา จึงไม่ค่อยได้มีการจัดเก็บน้ำฝนไว้ใช้งาน น้ำส่วนใหญ่จึงไหลลงท่อระบายน้ำและทิ้งลงทะเล ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของทั้งประเทศอยู่ที่ 1573.6 มม. ต่อปี จังหวัดที่มีฝนตกชุกที่สุดในประเทศไทย 3 อันดับแรกคือ จังหวัดตราด (4,709.9 มม.) จังหวัดระนอง (4,183.7 มม.) และจังหวัดพังงา (3,560.5 มม.) ซึ่งฝนตกที่ตราดมีมากเกือบเป็น 3 เท่าของค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยที่ตกที่ตราดในเดือนสิงหาคมเพียงเดือนเดียวมากกว่า ปริมาณน้ำฝนที่ตกที่เพชรบุรีทั้งปี จังหวัดในภาคใต้ฝั่งตะวันตกไม่มีจังหวัดไหนที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 130% ของค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ และหลายๆ จังหวัดมีฝนตกอย่างน้อย 20 มม. ทุกเดือนใน 1 ปี จึงถือได้ว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตกแทบไม่มีภัยแล้งเลย จังหวัดที่มีฝนตกน้อยกว่า 70% ของปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งประเทศ และมีเดือนที่ฝนตกน้อยกว่า 20 มม. อย่างน้อย 4 เดือน ซึ่งน่าจะถือได้ว่าแห้งแล้งมี 5 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน (980.7 มม.) นครปฐม (1,016 มม.) เพชรบุรี (1,044.1 มม.) พะเยา (1,074.2 มม.) และลำปาง (1,076.8 มม.)
ที่ดินจังหวัดผมติดอันดับประเภทสุดท้ายกับเขาด้วย Sweating ไม่รู้ว่าจะเสียใจ หรือดีใจดี เพราะสภาพอากาศแบบนี้ บวกกับสภาพดินเหนียวปนหินบนภูเขาสร้างความท้าทายเป็นอย่างมาก ทำให้มีเรื่องให้คิด และลงมือทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อนๆ ที่ติดตามอ่านบล็อกเรื่องเพอร์มาคัลเจอร์หลายๆ คงจะไม่ประหลาดใจว่าทำไมผมจึงใส่เรื่องการบริหารจัดการน้ำ และการปรับปรุงดินมากเป็นพิเศษ http://www.bansuanporpeang.com/node/23229
|