Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 22:28:31

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  วิถีสู่ชีวิตแห่งความพอเพียง  |  เกษตรทางเลือก  |  เพอร์มาคัลเจอร์  |  เพอร์มาคัลเจอร์ : ปุ๋ยหมัก
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: เพอร์มาคัลเจอร์ : ปุ๋ยหมัก  (Read 1470 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 29 December 2012, 07:44:46 »

มีผู้เขียนบล็อกเรื่องวิธีการทำปุ๋ยหมักหลายท่านแล้ว  ผมคงไม่พูดถึงสูตรการทำปุ๋ยหมักอีก  แต่อยากให้เพื่อน สมช. เข้าใจว่าปุ๋ยหมักที่เราคิดว่าเหมือนกัน อาจจะไม่เหมือนกันซะทีเดียว

คำเตือน : ท่านอาจจะต้องคุ้นเคยกับชื่อสารเคมีบ้างในการอ่านบทความต่อไปนี้

พืชต้องการอาหารแบบไหน?

จากผลการศึกษาพบว่าพืชแต่ละประเภทมีความต้องการอาหารแตกต่างกัน  อาหารสำคัญอย่างหนึ่งของพืชคือไนโตรเจน  แต่พืชแต่ละประเภทชอบไนโตรในรูปแบบแตกต่างกัน โดยสรุปคือ

1. พืชประเภทผัก พืชล้มลุก (annual) และหญ้า โดยส่วนใหญ่ชอบไนโตรเจนในรูปแบบของไนเตรทไออน (NO3-)

2. ต้นไม้ ไม้พุ่ม และพืชยืนต้น (perrenial) ต่างๆ ชอบไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียไอออน (NH4+)

เมื่อศึกษาต่อไปเราจะเข้าใจมากขึ้นว่าเมื่ออาหารอยู่ในรูปแบบที่ย่อยง่าย เช่น น้ำตาล แบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าเชื้อรา และขับถ่ายของเสียจากการย่อยอาหารในรูปของไนเตรท

ในขณะที่อาหารที่ย่อยยากอย่างแป้ง หรือเซลลูโรสจะไม่สามารถย่อยได้ง่ายโดยแบคทีเรีย  เชื้อราจึงสามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่า และเชื้อราจะขับถ่ายของเสียจากการย่อยอาหารในรูปแบบของแอมโมเนีย

ผลการสำรวจประชากรของจุลินทรีย์ (จำนวนของแบคทีเรีย/โปรโตซัว และความยาวของเส้นใยของเชื้อรา) ในดิน 1 ช้อนชาจากสถานที่ต่างๆ เป็นดังนี้

แปลงผัก                                             ทุ่งหญ้า                                      ป่า
______________________________________________________________________________________
แบคทีเรีย    100 ล้าน - 1,000ล้าน          100 ล้าน - 1,000ล้าน                 100 ล้าน - 1,000ล้าน
______________________________________________________________________________________
รา/เห็ด       หลายฟุต                             หลายสิบ - หลายร้อยฟุต                 1 - 40 ไมล์
______________________________________________________________________________________
โปรโตซัว     หลายพัน                             หลายพัน                                   หลายแสน
______________________________________________________________________________________

ผลการสำรวจค่อนข้างยืนยันข้อสรุปก่อนหน้านี้  ทำให้เราต้องกลับมาพิจารณาว่าปุ๋ยหมักที่เราทำเพื่อใช้กับพืชแต่ละชนิดจะได้ผลดียิ่งขึ้นถ้าเรารู้จักปรับให้มีสัดส่วนของแบคทีเรีย และเชื้อราให้เหมาะสมกับชนิดของพืชที่เราจะเอาปุ๋ยหมักไปใส่

สัดส่วนของเชื้อราต่อแบคทีเรียของพืชแต่ละชนิดต้องการจะแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น

ตัวอย่างพืช                             เชื้อรา : แบคทีเรีย
______________________________________________________
แครอท, กะหล่ำปลี, บร็อคโคลี่      0.3:1 - 0.8:1
______________________________________________________
มะเขือเทศ, ข้าวโพด, ข้าว           0.8:1 - 1:1
______________________________________________________
หญ้า                                     0.5:1 - 1:1
______________________________________________________
ต้นโอ๊ก, เมเปิ้ล                          10:1 - 100:1
______________________________________________________
ต้นไม้ส่วนใหญ่                          10:1 - 50:1
______________________________________________________

โดยสรุปง่ายๆ พืชล้มลุกจะชอบดินที่มีแบคทีเรียมากกว่าเชื้อรา  ในขณะที่ต้นไม้ขนาดใหญ่น่าจะชอบดินที่มีเชื้อรามากกว่าแบคทีเรีย ในขณะที่มีพืชขนาดเล็กหลายชนิดชอบดินที่มีสัดส่วนของแบคทีเรียและปุ๋ยหมักพอๆ กัน

ทำอย่างไรถึงจะปรับสัดส่วนของเชื้อราและแบคทีเรียในปุ๋ยหมัก?

หากต้องการให้มีเชื้อรามากควรจะต้องทำดังนี้

    เพิ่มสัดส่วนของวัสดุสีน้ำตาล เช่น ใบไม้แห้ง, เปลือกไม้, ชิ้นไม้สับ (wood chips), กิ่งไม้ขนาดเล็ก, ขี้ลีบข้าว, กากอ้อย, ขุยมะพร้าว, ซังข้าวโพด, รำ เป็นต้น
    การย่อยวัสดุ (เช่น การทำ wood chips) จะช่วยเพิ่มพื้นที่ให้เชื้อราเจริญเติบโต  แต่ถ้าย่อยจนเล็กมากเกินไปจะทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีกว่าเชื้อรา
    ควบคุมค่าความเป็นกรดด่างให้อยู่ระหว่าง pH 5.5 - 7

หากต้องการแบคทีเรียมากควรจะต้องทำดังนี้

    เพิ่มสัดส่วนของวัสดุสีเขียว เช่น เศษหญ้าสด, เศษใบไม้สด, เศษอาหาร, ฟางข้าว, ผักตบชวา, เปลือกถั่วและต้นถั่วสด, เศษวัชพืชต่าง ๆ, อุจจาระ เป็นต้น
    ย่อยวัสดุให้เล็กมาก เช่น ใบไม้แห้งซึ่งเชื้อรามักจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า แต่ถ้าป่นใบไม้แห้งจนเล็กมาก แบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าเชื้อรา
    ควบคุมค่าความเป็นกรดด่างให้อยู่ระหว่าง pH 7 - 7.5 เมื่อค่า pH ต่ำ (เป็นกรด) มากเกินไปอาจจะช่วยด้วยการเติมปูนขาวเข้าไปเล็กน้อยเพื่อเพิ่มค่า pH
    เพิ่มไส้เดือนในกองปุ๋ย (ปกติถ้ากองปุ๋ยไว้กับพื้นดิน ก็อาจจะมีไส้เดือนมาอยู่แล้ว)

 

หวังว่าเพื่อน สมช. คงจะพอได้แนวคิดในการปรับสูตรของปุ๋ยหมักให้เหมาะสมกับชนิดของพืชที่เราจะนำปุ๋ยหมักไปใช้งาน

Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.052 seconds with 21 queries.