Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 22:00:32

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  วิถีสู่ชีวิตแห่งความพอเพียง  |  เกษตรทางเลือก  |  เพอร์มาคัลเจอร์  |  เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้  (Read 3074 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 29 December 2012, 08:14:16 »

เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้

ต่อจากแนะนำเพอร์มาคัลเจอร์ในตอนที่แล้ว ในบล๊อกนี้เรามาลองเรียนรู้การเลือกรูปแบบในการใช้พื้นที่ปลูกพืชตามหลักเพอร์มาคัลเจอร์ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับภูมิทัศน์แล้ว ยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พื้นที่ และการใช้แรงงาน  รวมทั้งเพิ่มที่อยู่ของสัตว์ตามธรรมชาติ คืนสมดุลให้กับธรรมชาติ  ตัวอย่าง เช่น เราต้องการพื้นที่เพาะปลูกขนาด 50 ตารางฟุต หน้าตาสวนของเราอาจจะเป็นแบบนี้


รูปแบบนี้จะเสียพื้นที่ทางเดิน 40 ตารางฟุต


รูปแบบนี้จะเสียพื้นที่ทางเดิน 10 ตารางฟุต


รูปแบบนี้จะเสียพื้นที่ทางเดิน 6 ตารางฟุต

เราจะเห็นว่าทั้งสามรูปแบบสามารถปลูกพืชได้ขนาด 50 ตารางฟุตเท่ากัน  แต่จะเสียพื้นที่ทางเดินแตกต่างกันทำให้เราต้องใช้พื้นที่จริงๆ มากน้อยต่างกัน  มาถึงตอนนี้เพื่อนสมาชิกบางท่านอาจคิดว่าทำไมไม่ปลูกให้เต็มพื้นที่เลยล่ะครับ มีประสิทธิภาพสูงสุด  ในทางปฏิบัติมีข้อจำกัดเรื่องการทำงานกับพืชคือ เราจะต้องมีทางเดินเพื่อเข้าไปดูแลพืชผัก  และถ้าเราทำให้พื้นที่ปลูกพืชติดกันจนกว้างเกินไป  จนทำให้เอื้อมเข้าไปดูแลต้นไม้ไม่สะดวก (ระยะแนะนำคือ 3 ฟุต ไม่เกิน 4 ฟุต  ถ้าคนทำสวนตัวเตี้ยก็จะต้องปรับลดระยะลงมานะครับ)  และถ้าเราต้องไปย่ำบนแปลงผักจะทำให้ดินแน่น ไม่เป็นผลดีต่อพืช  ส่วนความยาวแปลงไม่ควรเกิน 12 ฟุต  จะได้ไม่ต้องเดินอ้อมโดยไม่ย่ำดินบนแปลงไกลเกินไป

นอกจากนั้นควรจะเลือกปลูกผักผสมผสานทั้งพันธุ์พืช และสีของพืช เพื่อลดการแย่งอาหาร และลดปัญหาเรื่องแมลง (เราจะกลับมาพูดถึงเรื่องการปลูกพืชผสมผสานอีกครั้งในภายหลัง)  รวมทั้งเลือกปลูกพืชที่ต้องการการดูแลน้อยไว้ด้านใน ให้พืชที่ต้องการการดูแลมากไว้ด้านนอก  ตัวอย่างเช่น  เลือกผักกะหล่ำขนาดใหญ่ และเก็บเกี่ยวไม่บ่อยไว้ด้านนอก  พืชขนาดเล็กเก็บเกี่ยวบ่อย อย่างมะเขือเทศไว้ด้านใน



อาศัยหลักคิดเช่นนี้ เพื่อนสมาชิกยังสามารถจินตนาการรูปแบบการจัดแปลงผักของเราได้อีกมากมาย  เช่น สวนแบบ mandala





หรือเพื่อนสมาชิกอาจจะไปประยุกต์ใช้กับการปลูกต้นไม้ในไร่ เช่น ด้วยระยะห่างระหว่างต้นเท่ากันในพื้นที่เท่ากัน  ถ้าเราปลูกแบบสับหว่างเป็นฟันปลา หรือปลูกเป็นแถวโค้งจะทำให้สามารถปลูกต้นไม้ได้จำนวนมากขึ้น



ชักสนุกยังครับ?  อย่าหยุดจินตนาการของพวกเราเพียงแค่ 2 มิติ  เราอาจจะใช้มิติของแนวดิ่งเพิ่มเติม เช่น การจัดสวนเป็นรูปสปริงก้นหอยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตร สูง 1 เมตร จะได้พื้นที่ปลูกพืชยาวมากกว่า 9 เมตร  แต่เราก็สามารถใช้ mini-springer ขนาด 2 เมตรรดน้ำทั้งหมดนี้ได้อย่างสบายๆ แถมเรายังปลูกพืชที่ต้องการน้ำหลากหลายได้มากขึ้น โดยปลูกพืชที่ชอบน้ำมาก (ตัวอย่าง เช่น watercress) อยู่ด้านล่าง  พืชที่ชอบน้ำน้อยอยู่ด้านบน เป็นต้น



เพื่อนสมาชิกหลายท่านอาจจะมีจินตนาการมากกว่านี้อีก  อยากให้เราเรียนรู้หลักคิดเหล่านี้มาปรับใช้ในการออกแบบการใช้พื้นที่ในบ้าน/สวน ของเรา  คำนึงถึงทั้งประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ การทำงานบำรุงรักษา การรดน้ำ การผสมผสานกันของพืชที่ปลูก แมลง และสัตว์ต่างๆ ในสวน  และสุดท้ายอย่าลืมเรื่องความสวยงามนะครับ  แล้วติดตามตอนต่อไปของเพอร์มาคัลเจอร์นะครับ


http://www.bansuanporpeang.com/node/18876
__
__________________________________________________________________________



<a href="http://www.youtube.com/v/xumbvsUXN38?version" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/xumbvsUXN38?version</a>



Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.083 seconds with 22 queries.