Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 16:18:27

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,616 Posts in 12,928 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  วิถีสู่ชีวิตแห่งความพอเพียง  |  เกษตรทางเลือก (Moderator: MIDORI)  |  สูตรการใช้จุลินทรีย์ ของ สวนวันเพ็ญ ที่ ปราจีนบุรี
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: สูตรการใช้จุลินทรีย์ ของ สวนวันเพ็ญ ที่ ปราจีนบุรี  (Read 1716 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 29 December 2012, 07:33:21 »

การขยายเชื้อจุลินทรีย์  พ.ด.1  ไว้ใช้ทำปุ๋ยหมัก
ขี้วัว  10  กิโลกรัม  ผสมกับรำหยาบ 2 กิโลกรัม  ใส่กระบะผสมให้เข้ากัน  จากนั้นนำ  พ.ด. 1 ผสมกับน้ำ 10 ลิตร  คนนาน 5 นาที   แล้วนำไปผสมคลุกเคล้ากับส่วนผสมของวัสดุ โดยให้มีความชื้นประมาณ 60 %   ตักใส่ถุงปิดปากไว้ ตั้งทิ้งไว้บนพื้นปูน   ห้ามถูกแดดประมาณ 7 – 10 วัน จะได้เชื้อจุลินทรีย์เพิ่มขึ้น เป็นจำนวนมาก จากนั้นนำไปผึ่ง ให้แห้งในที่ร่ม จึงเก็บไว้สำหรับเป็นหัวเชื้อในการทำปุ๋ยหมักต่อไป โดยใช้เชื้อที่ขยายได้จำนวน 2 ขีด ต่อการหมักวัสดุเศษพืช 1 ตัน

การขยายเชื้อจุลินทรีย์ พ.ด. 2, 5, 6
   นำ พ.ด. 2 (1 ซอง) ผสมกับกากน้ำตาล 2 ลิตร และน้ำ 5 ลิตร ใส่ลงในถังพลาสติก ผสมให้เข้ากันแล้วปิดฝา  หมักไว้นาน 7 – 10 วัน เชื้อจุลินทรีย์จะเจริญเติบโตเต็มที่ จากนั้นนำเชื้อจุลินทรีย์ที่ขยายได้ผสมกับรำหยาบ หรือปุ๋ยหมัก 5 กิโลกรัม เพื่อลดความชื้น ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม และเก็บไว้ในถุงพลาสติกเก็บไว้ในถังเพื่อนำไปหมักสารอาหารพืชน้ำต่อไป โดยใช้เชื้อที่ขยายได้ 1 ขีด
 ต่อการหมักปุ๋ยน้ำ 50 ลิตร

การขยายเชื้อ พ.ด. 3 เพื่อควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าของพืช
   ขี้วัว 5 กิโลกรัม ผสมกับรำละเอียด 2กิโลกรัม ใส่ในถุงพลาสติดคลุกเคล้าให้เข้ากัน  จากนั้นละลาย พ.ด.3 (1 ซอง) ในน้ำ 5 ลิตร คนนาน 5 นาที แล้วนำไปผสมคลุกเคล้ากับส่วนผสมวัสดุให้ได้ความชื้น 60 % รัดปากถุงไว้ตั้งทิ้งไว้บนพื้นปูนไม่ให้ถูกแดดและฝนนาน 7 – 10 วัน จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าของพืช จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม จึงเก็บใส่ถุงมัดปากใส่ถังพลาสติกเก็บไว้ใช้ โดยใช้เชื้อที่ขยายได้ 2 ขีด   ต่อการขยายเชื้อในปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม



การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์
ส่วนผสม
1. น้ำต้มสุกปล่อยให้เย็น              10   ลิตร      
2. กากน้ำตาล                   ½    กก.
3. รำละเอียด                              2   กำมือ      
4. หัวเชื้อ พ.ด. 2               1   ซอง
5. นมสด,ยาคูลย์หรือเปลือกสับปะรด           4    หัว   
6. เหง้า+หน่อกล้วย                 1     หน่อ

วิธีทำ   
นำส่วนผสมทุกอย่างเทลงในถังหมักคนให้เข้ากัน เก็บไว้ในที่ร่ม  หรืออุณหภูมิห้อง  ประมาณ 7 – 15 วัน นำไปใช้ได้เลย

วิธีใช้    
1. ต้นกล้าอ่อน                1:1000    ส่วน   
2. ผัก ผลไม้                   1:500   ส่วน
   3. นาข้าว                  1:800   ส่วน      
4. หมักฟาง                   5  ลิตร  ต่อ 1 ไร่
   5. หมักปุ๋ยหมัก                  2  ลิตร  ต่อน้ำ  200  ลิตร

ความหมายของสารเร่ง พ.ด.1
   เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร  เพื่อผลิตปุ๋ยหมัก
ประกอบด้วย   -  เชื้อแบคทีเรีย      2   สายพันธุ์
         - แอคติโนมัยซีส      2   สายพันธุ์
         - รา            4   สายพันธุ์

ส่วนผสมในการทำปุ๋ยหมัก
   1. เศษพืชแห้ง         1000      กก.
   2. มูลสัตว์                   200      กก.
   3. รำละเอียด           50      กก.
   4. ยูเรีย                2      กก.
   5. สารเร่ง พ.ด.1      1      ซอง (100 กรัม )

ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
1.   ดินมีการจับตัวเป็นก้อนได้ดีขึ้น   และร่วนซุย
2.   การอุ้มน้ำของดินดีขึ้น
3.   เป็นแหล่งธาตุอาหารพืช
4.   ปรับความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
5.   ลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด เช่น  แมงกานีส
6.   เพิ่มแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ในดิน ( เป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการแสงอากาศ )


ความหมายของสารเร่ง พ.ด.2
   เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายวัสดุการเกษตร 
ประกอบด้วยจุลินทรีย์      3   สายพันธุ์  ดังนี้
   ยีสต์      ผลิตแอลกอฮอล์   กรดอินทรีย์   วิตามินบี
   แบคทีเรีย   ผลิตกรดแลคติก ย่อยสลายโปรตีน   

ส่วนผสมในการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากผัก ผลไม้
1.   ผักผลไม้         45   กก.   
2.   กากน้ำตาล         15    กก.
3.น้ำมะพร้าว         10-20   ลิตร   
4. สารเร่ง พ.ด. 2         1   ซอง ( 25 กรัม )
ปุ๋ยปลา หรือหอยเชอรี่ กุ้ง แมลง อย่างใดอย่างหนึ่ง
   ปลา หอย      30   กก.
   กากน้ำตาล      30   กก.
   น้ำมะพร้าว      10-20   ลิตร
   สารเร่ง พ.ด. 2      1   ซอง ( 25 กรัม )

วิธีการผสมสารเร่ง พ.ด. 2
1.   นำสารเร่งพ.ด.2 จำนวน 1 ซอง  ผสมในน้ำ 5 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
2.   นำส่วนผสมมาสับให้ละเอียดก่อนหมัก และกากน้ำตาล หรือใช้น้ำตาลทรายแดง น้ำอ้อย ก็ได้ลงในถัง 50 ลิตร แล้วเทสาร พ.ด 2 ลงในถัง
3.   คลุกเคล้าหรือคนให้เข้ากัน ปิดฝาหลวม ๆ ตั้งไว้ในที่ร่ม

คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
1.   มีฮอร์โมนหลายชนิด เช่น ออกซิน  ไซโตคินนิน
2.   มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลคติก กรดอะซีติด อะมิโน และกรดฮิวมิก
3.   มีวิตามินบี
4.   มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 3 – 4

ประโยชน์ของปุ๋ยน้ำ
1.   เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช
2.   เพิ่มการเจริญเติบโตและขยายตัวของใบและยืดตัวของลำต้น
3.   ชักนำให้เกิดการงอกของเมล็ด
4.   ส่งเสริมการออกดอกและติดผลดีขึ้น
5.   เป็นสารช่วยขับไล่แมลงศัตรูพืช
6.   ทำความสะอาดและลดกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์

ความหมายของสารเร่ง พ.ด.3
   เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่มีความสามารถควบคุมเชื้อจากโรคพืชในดิน และสามารถป้องกัน หรือยับยั้งการเจริญหรือการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าของพืช  ( เชื้อไตโคเดอร์มา และบาซิลลัส ที่มีประโยชน์ ) จะเจริญได้ดีในดินที่มีอินทรียวัตถุสูง  และมีความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 5.5 – 6.5

ส่วนผสมในการขยายเชื้อสารเร่งพ.ด.3
1.   ปุ๋ยหมัก      100   กก.
2.   รำข้าว         1   กก.
3.   สารเร่งพ.ด.3      1   ซอง ( 25 กรัม )

วิธีทำ
   ผสมสารเร่งพ.ด.3 และรำในน้ำ 5 ลิตร  ผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที
   ลดสารละลาย พ.ด.3 ลงในกองปุ๋ยหมักเคล้าให้เข้ากัน และปรับความชื้นให้ได้ 50 – 60 เปอร์เซ็นต์

สารเร่งพ.ด. 6
   เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักเศษอาหารในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารบำบัดน้ำเสีย และขจัดกลิ่นเหม็น สำหรับทำความสะอาดคอกสัตว์บำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ

วัสดุสำหรับผลิตสารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น
1.   เศษอาหารหรือ มะกรูด มะนาว      42   กก.
2.   กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายขาว      14   กก.
3.   น้ำ                  10   ลิตร
4.   สารเร่ง พ.ด.6               1   ซอง ( 25 กรัม )

อัตราการใช้
   เจือจางสารบำบัดน้ำเสีย และขจัดกลิ่น      1:10

ประโยชน์ของสารเร่งพ.ด.6
   ทำความสะอาดคอกสัตว์
   ช่วยบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ

สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ผลิตจากสารพ.ด.7
   เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมัก และการย่อยสลายพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน

ประโยชน์ของสารเร่งพ.ด.7
   ป้องกันแมลงศัตรูพืช เช่น  เพลี้ยต่างๆ หนอนเจาะผลและลำต้น หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนคืบ หนอนกระทู้  หนอนกอ ไรแดง และแมลงหวี่

ชนิดพืชสมุนไพร
   ตะไคร้หอม ไพล ขมิ้น ข่า หางไหล ฟ้าทะลายโจร หนอนตายอยาก สะเดา บอระเพ็ด เมล็ดน้อยหน่า ยาสูบ ขิง มะกรูด พริกแดง พริกแกงเผ็ด พริกไทย กระเทียม สาบเสือ

วิธีทำ พ.ด.7
 นำวัสดุที่กล่าวมาข้างต้น มาอย่างละพอประมาณเท่าที่จะหาได้ มาสับหรือบดใส่หม้อต้มให้เดือดประมาณ 20-30 นาที กรองเอาแต่น้ำออกมา นำเอาสมุนไพรผงมาแช่อีก 1 ครั้ง เติมน้ำตาลทรายแดงและจุลินทรีย์ พ.ด. 7ลงไป หมักไว้ 1 เดือน

วิธีใช้
   ใช้ 3 – 4 ช้อนแกงต่อน้ำ 20  ลิตร
1. สะเดา       1   กก.      
2. บอระเพ็ด      3   กก.
3. ข่า         1   กก.      
4. สาบเสือ      1   กก.
5. ยาสูบ      1   กก.      
6. ตะไคร้หอม      1   กก.
7. ขมิ้น         1   กก.      
8. ใบยอ      1   กก.
9. ฝักคูณ      1   กก.      
10. พริกไทย      1   กก.
11. ใบยูคา      1   กก.      
12. ใบ ลูกมะกรูด     1   กก.
13. พริกแกงเผ็ด   2   กก.      
14. กระเทียม      1   กก.
15. น้ำสะเดา      50   ลิตร      
16. น้ำตาลทราย   6 – 10    กก.
17. จุลินทรีย์ พ.ด.7   1   ซอง

วิธีใช้
   ใช้ 3 – 4 ช้อนแกงต่อน้ำ 20  ลิตร

การทำซุปเปอร์ พ.ด.2  สูตรเร่งการเจริญเติบโต
วัสดุ
1.   ปุ๋ยน้ำพ.ด.2 ( ต้ม )      5   ลิตร
2.   น้ำหัวไชเท้า         3   ลิตร
3.   น้ำกาวเครือขาว      3   ลิตร ( หรือเอ็นเอเอ 
4.   น้ำเมล็ดกำลังงอก      3   ลิตร ( หรือจิ๊บเบอเรลลิน)
5.   น้ำมะพร้าว         10   ลิตร
6.   นมสด            2   ลิตร
7.   ธาตุอาหารเสริม      3   ซอง
8.   ปุ๋ยเกล็ดสูตร 25-5-5      2   กก.
9.   คลูโคลส         1   กก.
ผสมเสร็จเก็บไว้ใช้ได้เลย
วิธีใช้   20-30  ซีซี  ผสมน้ำ 20 ลิตร 7-10 วัน ต่อครั้ง

การทำซุปเปอร์ พ.ด.2  สูตรเปิดตาดอก
วัสดุ
1.   ปุ๋ยน้ำพ.ด.2 (ต้ม)      5   ลิตร
2.   น้ำหัวไชเท้า         3   ลิตร
3.   น้ำเมล็ดกำลังงอก      3   ลิตร ( หรือจิ๊บเบอเรลลิน)
4.   น้ำกาวเครือขาว      3   ลิตร ( หรือเอ็นเอเอ  )
5.   น้ำมะพร้าว         5   ลิตร
6.   นมสด            3   ลิตร
7.   ไข่ไก่หรือไข่หอย      4   กก.
8.   ซุปไก่            1   ขวด
9.   คลูโคลส         2   กก.
10.   ปุ๋ยเกล็ด สูตร 10-45-15   2   กก.
ผสมแล้วเก็บไว้ใช้ได้เลย
วิธีใช้   20-30 ซีซี  ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 7-10 วันครั้ง  ถ้าอยากให้ออกทั้งปีให้ใช้ทุกครั้ง นาข้าวใช้ช่วงส่งรวง  ( ห้ามฉีดพ่นช่วงข้าวตากเกสร )







การทำซุปเปอร์พ.ด.2 สูตร บำรุงผล
วัสดุ
1.   ปุ๋ยน้ำ พ.ด. 2 (ต้ม)      5   ลิตร
2.   น้ำหัวไชเท้า         5   ลิตร
3.   น้ำเมล็ดกำลังงอก      3   ลิตร ( หรือจิ๊บเบอเรลลิน)
4.   น้ำกาวเครือขาว      3   ลิตร ( หรือเอ็นเอเอ  )
5.   น้ำมะพร้าว         5   ลิตร
6.   นมสด            3   ลิตร
7.   อาหารเสริม         1   ซอง
8.   แคลเซียมโบรอน      1   ขวด
9.   คลูโคลส         1   กก.
10.   ปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-30-10      2   กก.
วิธีใช้   20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร   7-10 วันต่อครั้ง

การทำซุปเปอร์ พ.ด.2   สูตรเร่งหวาน
วัสดุ
1.   ปุ๋ยน้ำพ.ด. 2 ( ต้ม )         5   ลิตร
2.   น้ำหัวไชเท้า            3   ลิตร
3.   น้ำแช่ขี้ค้างคาว            3   ลิตร
4.   น้ำมะพร้าว            5   ลิตร
5.   แคลเซียมโบรอน         1   ขวด
6.   คลูโคลส            3   กก.
7.   น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน         3   ลิตร
8.   น้ำดอกดาวเรือง         3   ลิตร
9.   ขมิ้นบดป่น            ½   กก.
วิธีใช้   30 ซีซีผสมน้ำ 20 ลิตร ถ้าเปลือกหนาใช้ 50 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วันต่อครั้ง

ฮอร์โมนประยุกต์ซุปเปอร์พ.ด.2
วัสดุ
1.   น้ำอ้อย               1   ลิตร
2.   น้ำผลไม้ทุกอย่าง         1   ลิตร
3.   น้ำพืชผักทุกชนิด         1   ลิตร
4.   น้ำมะพร้าวอ่อน         1   ลิตร
5.   น้ำเมล็ดกำลังงอก         1   ลิตร
6.   น้ำกาวเครือขาว         1    ลิตร
7.   น้ำหัวไชเท้า            1   ลิตร
8.   น้ำนึ่งหอย ปู ปลา กุ้ง         1   ลิตร
9.   นมสด                1   ลิตร
10.   ไข่ไก่หรือไข่หอย         1   ลิตร
11.   คลูโคลส            1   กก.
12.   อาหารเสริม            3   ซอง
13.   แม่ปุ๋ย               1   กก.
14.   ซุปไก่               1   ขวด
15.   ผงชูรส               1   ซอง ( 10 บาท )
ผสมแล้วใส่ถังเก็บไว้ใช้ได้เลย
วิธีใช้   10-20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7-10 วันครั้ง








การเผาทำลายตอซังข้าว

   ซึ่งมีผลทำให้ดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเพิ่มมากขึ้น และทำให้ดินเป็นกรด  พืชจึงไม่สามารถดูดซับธาตุอาหาร มาใช้ประโยชน์ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารอีกธาตุหนึ่ง ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยมีบทบาทต่อการสร้างราก การแตกกอ และการแตกแขนงของกิ่งก้าน  ทำให้มีการสร้างดอก สร้างเมล็ดของพืชที่เพาะปลูก

ประโยชน์จากฟางข้าวที่หมักด้วยปุ๋ยน้ำพด 2
วิธีการหมัก
   ฟางข้าวและตอซังด้วยปุ๋ยน้ำพด 2-3-5 ลิตร ต่อ 1ไร่ ฟางข้าว 1 ไร่ จะได้ฟาง 1 ตันเมื่อหมักแล้วจะได้ธาตุอาหารทั้งธาตุหลักและธาตุรองมีดังนี้
ไนโตรเจน               6      กก.      
แคลเซียม               1.2      กก.
ฟอสฟอรัส               1.4      กก.             
โปรแตสเซียม            17      กก.
แมกนีเซียม            1.3      กก.      
ธาตุซิลิก้า               50      กก.   

ซิลิก้า      - สร้างความแข็งแกร่งของเซลล์พืชไม่ล้มง่าย ป้องกันแมลงมากัดกิน
วิตามินอี         - ลดอาการเครียดของพืช กระตุ้นการเจริญเติบโต
วิตามินบี      - ช่วยบำรุงราก สร้างรากใหม่

ความสำคัญของธาตุอาหารต่อพืช
ไนโตรเจน - บำรุงราก ดอก ผล สร้างยีน เยื่อบุ ผนังเซลล์และเอ็นไซน์สลายแป้งให้เป็นน้ำตาล นำ       ธาตุอาหารทั้งปวงส่งไปเลียวส่วนต่าง ๆ ของพืช
ฟอสฟอรัส – ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนและสร้างอินทรีย์ที่สำคัญในพืช ช่วยสะสมแป้งและน้ำตาล กระตุ้นการออกดอก ช่วยรดอาหารเผื่อใบ พัฒนาการในด้านการสุกเร็วขึ้น
โปรแตสเซียม - สร้างน้ำตาล แป้ง และโปรตีน สังเคราะห์แสงเคลื่อนย้ายน้ำตาลไปยังผล ช่วยขยายเซลล์เปิดปากใบ เร่งราก ดูดซับไนโตรเจน
แคลเซียม - บำรุงดอก ผลเมล็ด เสริมไนโตรเจนปรับสมดุลฮอร์โมน
แมกนีเซียม - สร้างอาหารและโปรตีน เคลื่อนย้ายฟอสฟอรัสจากส่วนที่อ่อน
กำมะถัน ซัลเฟอร์ - ช่วยการหายใจ ปรุงอาหารเพิ่งกลิ่นดอกผล
เหล็ก - บำรุงยอดอ่อน ช่วยการดูดซึมสารอาหาร สังเคราะห์แสง
ทองแดง – ช่วยให้อายุยืน เสริมการออกดอกผลลำเลียงส่วนต่างของพืช
สังกะสี – สร้างน้ำย่อย,ขยายตัวออก  เพิ่มความแข็งแรงเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง
แมงกานีส- ช่วยสังเคราะห์แสง   สร้างส่วนสีเขียวกระตุ้นการทำงานของน้ำเลี้ยง
โมลิบดินั่ม- ช่วยเสริมและตรึงไนโตเจน เปลี่ยนไนเตรทให้เป็นไนเตรทที่พืชสามารถนำไปใช้ได้
โบรอน- ช่วยสังเคราะห์แสง เสริมแคลเซียม เสริมโปรแตสเซียม เพิ่มรสและขยายผล
โซเดียมและคลอรีน- ช่วยเร่งให้ใบและผลแก่เร็วขึ้น

 สารออกซินจากธรรมชาติ
•   ออกซิน    หมายถึง  กลุ่มของสารที่สามารถชักนำให้เกิดการยืดตัวของลำต้นได้  สารเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ หรือเกิดจากสารสังเคราะห์ ( ออกซินเป็นสารที่มีคุณสมบัติทางเคมีเป็นกรด )
•   ออกซินจะเคลื่อนย้ายในทิศทางจากส่วนยอดสู่ส่วนโคน
•   สำหรับแหล่งสร้างออกซินธรรมชาติในพืชจะอยู่ในเนื้อเยื่อเจริญ เช่น  บริเวณตายอด ยอดอ่อนปลายราก ตา ผลอ่อน รังไข่ ปมราก เป็นต้น
•   ออกซินจะผลิตขึ้นได้มากในส่วนปลายก้านหรือส่วนที่กำลังเจริญ เมื่อผลิตได้แล้วก็จะเคลื่อนย้าย ผ่านทางท่อน้ำและท่ออาหาร

ประเภทของออกซิน มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1.   ออกซินที่ผลิตขึ้นภายในพืชหรือออกซินธรรมชาติ
2.   ออกซินที่ได้จากการสังเคราะห์โดยวิธีทางเคมี



แหล่งสร้างจิ๊บเบอเรลลิน
•   ในพืชมีอยู่ที่เนื้อเยื้ออ่อน บริเวณส่วนยอด ส่วนราก ใบอ่อน ต้นอ่อน และเมล็ดที่กำลังเจริญ หรือกำลังงอก การใช้จิบเบอเรลลินจะทำให้พืชออกดอกได้โดยไม่ต้องใช้ความหนาว
( กระตุ้นการออกดอก )
ประโยชน์ของจิบ
1.   ส่งเสริมการออกดอก
2.   ส่งเสริมการขยายตัวของเซลล์
3.   กระตุ้นการออกดอกของเมล็ดและตา
4.   เปลี่ยนเพศดอก
5.   เพิ่มการติดผล
6.   เร่งให้เปลี่ยนสีเร็วขึ้น

ไคโตไคนิน
   เป็นฮอร์โมนที่พบครั้งแรกในน้ำมะพร้าว มีความสามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ เช่น ในน้ำมะพร้าว ปลายราก ปมราก และพบทั่วไปในต้นพืช ผลที่กำลังเจริญเติบโต เป็นส่วนประกอบของกรด นิวคลีอิก ( ผลของไซโตคินนินกับพืชจะเกิดรวมกับสารกระตุ้นการทำงาน ถ้าไม่มีสารเหล่านี้ไซโตคินนินจะไม่แสดงผลกับพืช

ประโยชน์ของไซโตคินนิน
1.   มีคุณสมบัติ กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเปลี่ยนแปลงของเซลล์
2.   การเจริญทางด้านลำต้นของพืชกระตุ้นการเจริญตาข้างทำให้ตาข้างเจริญออกมาเป็นกิ่งได้
3.   ช่วยการเคลื่อนย้ายอาหารจากรากไปสู่ยอด
4.   ช่วยให้เมล็ดงอกได้ในที่มืด
5.   ช่วยชะลอการแก่ของพืช
6.   กระตุ้นการติดดอกและผล


พืชสมุนไพรที่ใช้เบื่อปลา
ชื่อพืช            ส่วนของพืช         ประสิทธิภาพ
จิกสวน            เปลือก,เมล็ด
สะบ้ามอญ         ต้น,เปลือก
สลัดไดป่า         ยางจากต้น
ส้มเช้า            ยางจากต้น
พญาไร้ใบ         ยางจากต้น
สลัดไดบ้าน         ยางจากต้น
โพธิ์ฝรั่ง            ยางจากต้น
สบู่ดำ            ยางจากต้น
คำแสด            เมล็ด
มันแกว            ใบ,เมล็ด
สะแหยก         ยางจากต้น
ลูกใต้ใบ         ทั้งต้น
จำปีแขก         เปลือกราก
สมอทะเล         ผล
ผักคราดหัวแหวน      ราก      ประโยชน์ของสมุนไพรไทย
สับปะรดเทศ         ทั้งต้น            ฆ่าแมลง
น้อยหน่า         เมล็ด            ฆ่าเหา
สะเดาอินเดีย         เมล็ด            ฆ่าตัวเบียน
ชา            เมล็ด            ฆ่าเหา
ตีนเป็ดทราย         เมล็ด            ฆ่าแมลง
ตีนเป็ดน้ำ         เมล็ด            ฆ่าแมลง
ตะไคร้หอม         ใบ และต้น         ไล่ยุง
โล่ติ๊น,หางไหล         เถาและราก         ฆ่าแมลง
อวดน้ำ,หางไหล         เถาและราก         ฆ่าแมลง
เถาวัลย์เปรียง         เถาและราก         ฆ่าแมลง
ถอบแถบน้ำ         เถาและราก         ฆ่าแมลง
ผักเสี้ยน            เมล็ด            ฆ่าแมลง
โนรา            ใบ            ฆ่าแมลง
เต่าเกียจ            เหง้า            ฆ่าแมลง
เสน่ห์จันทร์ขาว         เหง้า            ฆ่าแมลง
เสน่ห์จันทร์แดง         เหง้า            ฆ่าแมลง
โพธิ์ฝรั่ง            ใบ            ฆ่าเหา
หั่น            เนื้อในเมล็ด         ฆ่าหิด
ต้นน้ำมันเขียว         ใบ            ไล่ยุง
เสี้ยน            ผล            ฆ่าแมลง
ฟักข้าว            ราก             ฆ่าเหา
ลำไย            เมล็ด            ฆ่าเหา
ยี่โถจีน            ใบ,เปลือก         ฆ่าแมลง
ยาสูบ            ใบ            ฆ่าแมลง
โหระพา         ใบ            ไล่ยุง
แมงลัก            ใบ            ไล่ยุง
กะเพรา            ใบ            ไล่ยุง
กอบขม            ใบ            ฆ่าแมลง
ขอบชะนาง         ใบ            ฆ่าหนอน
มะคำดีควาย         เมล็ด            ฆ่าแมลง
โป่งมดง่าม         ราก            ฆ่าแมลง   
หนอนตายหยาก         ทั้งต้น            ฆ่าแมลง
กระเพียด         ทั้งต้น            ฆ่าแมลง
ชิงช้าชาลี         ทั้งต้น            ฆ่าตัวเบียน
คนทีเขมา         ใบ            ฆ่าแมลง
พืชสมุนไพรฆ่าแมลงที่มีในพืชบ้านไทย
หนามขี้แรด         ใบ            ป้องกันหนอน
ตำแยแมว         ใบ            รักษาแผลหนอนเจาะสัตว์
ละมุด            เนื้อไม้            มีพิษต่อปลวก
ว่านน้ำ            เหง้า            ไล่ผีเสื้อและหมัดมีพิษต่อ
                        แมลงวัน ยุง ฯลฯ
ต้นโพธิ                     เมล็ด            ด้วงงวง
ข่า , ข่าเล็ก         หัว            น้ำมันมีพิษกับแมลงวัน
กระเทียม         หัว            เป็นพิษต่อลูกน้ำยุง,เห็บชนิด                        ต่างๆ น้ำมันเป็นพิษกับยุงและ
                        ด้วงงวงข้าว
มะม่วงหิมะพานต์      เปลือก ,เมล็ด         มอดเจาะไม้ ฯลฯ
                        ใบ ป่นเป็นผงเป็นพิษกับเห็บ
                        ชนิดต่างๆ
ผักชีลาว            ใบ            น้ำมันเป็นพิษกับด้วงปีก
                        แข็ง  เพลี้ยอ่อน      
น้อยหน่า         เมล็ด            แมลงวันและมวนปีกแข็งดึง
                        ดูดด้วงปีกแข็งบางชนิด
คื่นฉ่าย            ต้นและใบ         น้ำมันฆ่ามวนปีกแก้วมะเขือ
ถั่วลิสง            เมล็ด            น้ำมันและเศษจากเมล็ดหยุด
                        การกิน
สะเดา            เมล็ด            อาหารของผีเสื้อ  ด้วงปีกแข็ง
                        ตั๊กแตน หนอนกระทู้ผัก ฯลฯ
หนวดวัว         ทั้งต้น            เรือดมาทำลายพิษต่อด้วงงวง
พืชพวกเฟื่องฟ้า         กลีบดอกสด         มีพิษต่อแมลงหวี่และแมลงวัน
ผักคะน้า         ราก
กะหล่ำปลี         ใบ            หยุดการเจริญเติบโตของ                           หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด                         และผีเสื้อกินเทียนไข
สบู่ดำ   ผล            เป็นพิษอย่างอ่อนต่อแมลง
               วันและยุง
บวบเหลี่ยม   ต้น ดอก เมล็ด         เป็นพิษต่อด้วงงวงข้าว
เสม็ด   ใบ            น้ำมันเป็นพิษต่อตัวเรือด
เลี่ยน   ใบ            ไล่หนอนเจาะผลโกโก้,
               มอดแป้ง ,ฆ่าหนอนกินกล่ำ
               หยุดการเจริญเติบโตของ
               หนอนเจาะฝักข้าวโพด
บานเย็น   ดอก            เชื่อว่าไล่ยุงได้
มะระจีน   ต้น            ในไฮติกใช้เป็นยาฆ่าแมลง
                        ทั่วไป
ยี่โถ            กลีบดอก         เป็นพิษต่อด้วงงวง,ด้วงปีก
                        แข็งและบุ้งพิษน้อยต่อยุงและ
                        แมลงวัน
โหระพา         ทั้งต้น            น้ำมันเป็นพิษต่อไรและเพลี้ย
                        อ่อน
มันแกว            เมล็ด            ใช้ฆ่าแมลงและเบื่อปลา
พริกหาง         รากและผล         ผสมยาฆ่าแมลงมีพิษสูงขึ้น
พริกไทย         เมล็ด            ผสมยาฆ่าแมลงทำให้มีพิษสูง
                        ขึ้น พิษต่ำกับแมลงวันและยุง
พิมเสน            ใบ            ใช้เป็นยาฆ่าแมลงวันในจีน
                        และมาเลเซีย
ผักไผ่น้ำ         ทั้งต้น            ใช้ป้องกันแมลงวันวางไข่ตาม
                        แผลสัตว์
ละหุ่ง            ใบ            น้ำมันดึงดูดมดบางชนิดผสม
                        เป็นเยื่อพิษ
ระยอม            ทั้งต้น            ทำหมันแมลงวัน
สารพัดพิษ         เมล็ด            เป็นพิษต่อเพลี้ยอ่อน
รวดผักคราด         ผล            ใช้เป็นยาฆ่าแมลง
สำโรง            เปลือก,เมล็ด          น้ำมันทำให้แมลงวันเป็นหมัน
รำเพย            ทั้งต้น            ใช้เป็นยาฆ่าแมลงในบางแห่ง
มักก้าก            เปลือกต้น         น้ำมันจากผล เป็นพิษกับ                           ตั๊กแตนและแมลงวัน
กะหล่ำดาว         ราก            มีพิษต่อแมลงหวี่และแมลงวัน
รัก            กลีบดอก         น้ำมันเป็นพิษต่อด้วงงวงข้าว
พริกขี้หนู         ทั้งต้น            บางแห่งใช้เป็นยาฆ่าแมลง
ชุมเห็ดเทศ         ต้น            ใช้เป็นยากันมดในอาฟริกา
ชัยพฤกษ์         ต้น            สารสกัดฆ่าปลวก
ชุมเห็ดเล็ก         ใบและต้น         พวกซูลูใช้ป้องกันเห็บเหาตาม
                        ร่างกาย
สลอด            เมล็ด            น้ำมันเป็นพิษต่อแมลงวันและ
                        คน
แตงกวา            ต้นเปลือกผล         น้ำคั้นเป็นพิษต่อแมลงสาบ
ขมิ้น            หัวไล่มด         น้ำยาสกัดเป็นพิษต่อแมลงวัน
ตะไคร้            ต้น            น้ำมันเป็นพิษต่อยุงและ
                        แมลงวันเป็นสารไล่ยุงและ
                        แมลงวันด้วย
ตะไคร้หอม         ต้น            ดึงดูดแมลงวันทองตัวผู้
หญ้าแห้วหมู         หัว            ไล่แมลง
ลำโพง            ใบ            ใช้บดเป็นผงป้องกันหมัดและ
                        ไร
ส้มเช้า            ราก            ผสมเป็นยาทาแผลสัตว์อันเกิด
                        จากหนอนเจาะสัตว์
พญาไร้ใบ         ต้น            ใช้ยาฆ่าแมลงในอินเดียและ
                        ไล่ยุงในแทนกายิกา
ผักเสี้ยน            เมล็ด            น้ำมันฆ่าเหาและตัวเบียนอื่นๆ
                        ของคน
ทานตะวัน         ดอก            น้ำยาสกัดใช้กำจัดแมลงวัน
                        น้ำมันดึงดูดมดบางชนิด
ชบา            กลีบดอก         เป็นพิษต่อด้วงงวงข้าว
ผักคาวทอง         ใบและต้น         น้ำคั้นผสมยาฆ่าแมลงป้องกัน
                        ปลวกและรา
คราม            ราก            กำจัดเหา , ไร ฯลฯ

 
การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
ส่วนผสม
1.   ขี้วัว            5   เข่ง
2.   ขี้ไก่            2   เข่ง
3.   เศษวัชพืชแห้ง         5   เข่ง
4.   แกลบดำ         5   เข่ง
5.   ปุ๋ยน้ำชีวภาพ – จุลินทรีย์      1-2   ลิตร
6.   กากน้ำตาล         1   ลิตร
7.   น้ำสะอาด         200   ลิตร
8.   รำละเอียด         6   กก
9.   ยูเรีย            2   กก.
วิธีทำ
1.   นำส่วนผสมในข้อ 1-4 มาคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วขยายกองออกบางๆ
2.   นำข้อ 5-7 มาผสมกันในถัง 200 ลิตร แล้วใช้ฝักบัวตักน้ำในถังจะได้ความชื้น 50-60 % พักทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
3.   นำข้อ 8-9 มาหว่านบนกองปุ๋ยหมักให้ทั่ว แล้วผสมให้เข้ากันดีอีกครั้ง จึงตักใส่กระสอบมัดปากถุงเก็บไว้ในที่ร่มหรือจะกองไว้ในร่มก็ได้ทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน แล้วจึงนำไปใช้ได้

ประโยชน์ของจุลินทรีย์ในปุ๋ยหมัก
1.   ช่วยปรับปรุงบำรุงดิน ทำให้ดินร่วนซุย
2.   ทำลายและยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดิน
3.   ลดและควบคุมปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดิน
4.   ทำให้ดินมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเพิ่มขึ้น
   

ปุ๋ยหมัก พ.ด.3 ซุปเปอร์
ส่วนผสม
1.   ปุ๋ยหมัก พ.ด. 1         100      กก.
2.   กระดูกป่น           25      กก.
3.   ยิบซั่มหรือปูนขาว-ปูนมาล     25      กก.
4.   รำละเอียด             1      กระสอบ
5.   ปุ๋ยน้ำ พ.ด.2             5      ลิตร
6.   น้ำสะอาด           20      ลิตร
7.   พ.ด.3                1      ซอง
วิธีทำ
คลุกเคล้าผสมให้เข้ากันดูความชื้น 40-50% ตักใส่กระสอบหรือถุงพลาสติกมัดปากถุงวางไว้บนพื้นปูนในร่มเก็บไว้ใช้
ประโยชน์   ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า โรคเหี่ยว

ยารักษาโรคสัตว์ต่างๆ
วัสดุส่วนผสม
1.   น้ำ         20   ลิตร
2.   ข่า           5   ขีด
3.   ตะไคร้           5   ขีด
4.   ลูกใต้ใบ        5   ขีด
5.   ลูกยอใบยอ        5   ขีด
6.   ต้นขาไก่ดำ        5   ขีด
7.   ใบลูกมะกรูด        5   ขีด
8.   ฟ้าทะลายโจร        5   ขีด
9.   ขมิ้น           5   ขีด
10.   ไพล             5   ขีด
11.   บอระเพ็ด          5   ขีด
12.   คลูโคลสหรือน้ำตาลทรายแดง      5   กก.
วิธีทำ
•   นำส่วนผสมข้อ 1-11 มาใส่ปี๊บต้มนาน 30 นาที กรองเอาแต่น้ำใส่ถัง
•   นำสมุนไพรผงมาเทใส่ในถังพร้อมคลูโคลสหรือน้ำตาลทรายแดงตัวใดตัวหนึ่งเติมจุลินทรีย์ พ.ด. 7 หมักเก็บไว้ใช้
วิธีใช้    3-5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้สัตว์กินหรือผสมอาหาร 1 ลิตรต่ออาหาร 1 กระสอบ
ทำให้สัตว์แข็งแรงโตเร็วไม่มีโรค

สมุนไพรกำจัดหอยเชอรี่
ส่วนผสม
1.   บอระเพ็ด      1   กก.
2.   มะกรูด         1   กก.   
3.   กระเทียม      1   กก.
4.   สะเดา         1   กก.
5.   ลำโพง         1   กก.
6.   ยาเส้น         1   กก.
7.   ยูคาลิป         1   กก.
8.   กากชา         3   กก.
9.   ปุ๋ยน้ำชีวภาพ      15   ลิตร
10.   น้ำเปล่า      20   ลิตร( ต้มกับสมุนไพรที่หาได้)
11.   พ.ด.7      1   ซอง
12.   น้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล      1   กก.
วิธีทำ
•   นำสมุนไพรทั้งหมดมาหมักใส่ถังแล้วก็หมัก


สมุนไพรสูตรผสมซุปเปอร์ พ.ด. 7 ใช้ไล่แมลงฆ่าแมลง
สะเดา  ข่า  ตะไคร้  ฝักคูณ  ยาเส้น  บอระเพ็ด
•   กำจัดหนอน  ไล่แมลง

ดาวเรือง  กระเทียม  พริกไทย  หัวหอม
•   ไล่แมลง

หัวว่านน้ำ  ขมิ้น  บอระเพ็ด  ยาเส้น  ข่า
•   กำจัดหมัดกระโดด

ยาสูบ  สะระแหน่  พริกแดงเผ็ด  กระเทียม  หอมใหญ่  ขิง  ข่า
•   กำจัดเพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ

บวบ  ตะไคร้หอม  บอระเพ็ด
•   ไล่แมลงหวี่

ดอกดาวเรือง
•   กำจัดเพลี้ยอ่อน

ดอกต้นเดหลี
•   ล่อแมลงวันทอง

ปะทัดจีน
•   มีฤทธิ์ฆ่าแมลง  ฆ่าตัวอ่อน  เพลี้ยอ่อน  หนอนไยผัก  หนอนผีเสื้อ  ไร

มะรุม
•   หยุดเชื้อรา

ไพล
•   ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา

มะละกอ
•   สารฆ่ารา

น้อยหน่า
•   ฆ่าเพลี้ยแมลง

สารภี
•   ใช้เมล็ดกำจัดแมลง

มันแกว
•   ใช้กำจัดเพลี้ยหนอน

เมล็ดลางสาด
•   มีพิษป้องกันหนอนต่างๆและหนอนหลอดหอม

เลี่ยน
•   กำจัดแมลง  ขับไล่แมลง  ยับยั้งการดูดกิน ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง   

เนื้อเมล็ดฝักคูณ
•   ทำลายระบบประสาทของแมลงทำให้ไข่ฝ่อ

ดีปลี
•   ป้องกันแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ

แคฝรั่ง ( ราก เปลือก เมล็ดมีพิษต่อคน )
•   ไล่แมลง  กำจัดเห็บ  ฆ่าไร  กำจัดเห็บหมา วัว ควาย  ใช้เป็นยาเบื่อหนูหรือสัตว์อื่นๆ

ละหุ่ง
•   ป้องกันและขับไล่ศัตรูพืช  แมงกะชอน  หนู ปลวก  ไส้เดือนฝอย

สลอด
•   กำจัดเพลี้ยหนอนในแปลงผัก  แมลงวัน  แมลงวันทอง  หอยทาก  ยาเบื่อปลา

ข่า
•   ขับไล่แมลงวันทอง  ฆ่าแมลง  ไล่แมลง

ขมิ้นชัน
•   ฆ่า-ไล่แมลง  แมลงวัน  ไรแดง  และหนอนทั่วไป

ว่านน้ำ
•   หยุดชะงักการกินผักของแมลง  ฆ่าแมลง ไล่แมลง  แมลงวันทอง  หมัดผัก และยับยั้งการสืบพันธุ์ของแมลง เช่น  แมลงวันแดง  วันทอง  ด้วงหมัดผัก  มอดข้าวเปลือก  ด้วงงวงช้างและแมลงกัดกินผัก

ยี่โถ
•   กำจัดแมลง  ฆ่าแมลง  และป้องกันหนอน

ผกากรอง
•   กำจัดแมลง  หนอนกระทู้ผัก  มีพิษต่อระบบประสาทของแมลง

กระเทียม
•   สารกำจัดแมลง  ไล่แมลง  ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย  ไส้เดือนฝอนในดิน  หมัด  เพลี้ยอ่อน  ผีเสื้อ  ราน้ำค้าง  ราแป้งข้าว  ราสนิม

พริกไทย
•   ฆ่าแมลง  เช่น  มด  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  หนอนผีเสื้อ  แมลงวัน


พริก
•   กำจัดแมลง   เชื้อราและไวรัส  เช่น  เพลี้ยอ่อน  หนอนผีเสื้อ  ไวรัสโรคในด่างของแตง  ไวรัสโรคใบจุดวงแหวนของแตง

ตะไคร้หอม
•   กำจัดยุงและแมลงสาบ ฆ่าหนอนต่างๆ

โหระพา
•   กำจัดเพลี้ย  แมลงวัน  ฆ่าแมลง  และยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง เช่น  เพลี้ยอ่อน  ยุง  หนอนเจาะหัวมันเทศ ไร  แมงมุม

ยาสูบ
•   กำจัดแมลง  ด้วงหมัดผัก  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  มวนไรแดง  หนอนกอ  หนอนกะหล่ำ  หนอนชอนใบ  หนอนเจาะลำต้น  หนอนผีเสื้อ  ราสนิม  ไวรัส  โรคใบหยิก  เชื้อรา

บอระเพ็ด
•   กำจัดแมลงศัตรูในนาข้าว  เป็นยาดูดซึม  ไล่แมลง  หมัดกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยจักจั่นสีเขียว  หนอนกอแถบลาย  และป้องกันโรคยอดเหี่ยว  โรคข้าวตายพราย หรือโรคข้าวลีบ

สาบเสือ
•   ฆ่าแมลง  ไล่หนอนและเพลี้ยต่างๆ เช่น  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยหอย  เพลี้ยไฟ  หนอนกัดต้น  หนอนพระอินทร์  หนอนใยผัก

สะเดา
•   กำจัดสารพัดแมลง  ไล่แมลง  ฆ่าแมลง  เช่น  ด้วงหมัด  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่นสีเขียว  หนอนกอ  หนอนใย  หนอนชอนใบส้ม  ตั๊กแตน  ไส้เดือนฝอย  ผีเสื้อมวนหวาน  หนอนมวนใบข้าว  แมลงหวี่ขาว  ผีเสื้อหนอนแก้วส้ม  เพลี้ยกระโดดหลังขาว  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

หนอนตายหยาก
•   ฆ่าหนอน  กำจัดแมลง  แมลงวันทอง

ไนโตรเจน
   ในพืช    – มีในส่วนสีเขียวเข้ม แก่จัด ของพืชทุกชนิด และพืชตระกูลถั่ว       มะขามเทศ ก้ามปู   พุทรา ทองหลาง ไมยราบ โสนทุกชนิด กระถินทุกชนิด สาหร่ายน้ำจืดทุกชนิด
   ในสัตว์    – มีใน เมือก เลือด เนื้อ สดๆ จากสัตว์ยังมีชีวิต
   ในน้ำ    – มีในน้ำฝน น้ำคาวปลา น้ำล้างเขียงหั่นเนื้อสัตว์

ฟอสฟอรัส
   ในพืช     -  มีใน รากสดแก่จัด เมล็ดในสดแก่จัด ดอกตูมสดและเกสร ใบแก่ชะอม ขจร ถั่วพู กระถิน บัวบก ผักบุ้งจีน สะระแหน่ มะระ หน่อไม้ฝรั่ง  ในเนื้อผลไม้ที่มีรสหวานสนิท แก่จัด  สุกงอมจนออกกลิ่นฉุน และผลไม้ที่ใช้ทำไวน์ทุกชนิด
   ในสัตว์    –  มีในเกล็ด ก้าง กระดูก สด/แห้งหรือเก่า/ใหม่ สาหร่ายทะเล

โปรแตสเซียม
   ในพืช    – มีในเปลือกและเนื้อสุกงอม ของผลไม้รสหวานสนิททุกชนิด ในผลไม้ดิบสดแก่จัด ในผักดิบสดแก่จัดกินได้ ในเศษพืชแห้ง ในเปลือกแก่แห้งของผลไม้ที่มีรสหวาน
   ในสัตว์   – มีในเนื้อสัตว์น้ำจืด/น้ำทะเล เครื่องในสัตว์ สาหร่ายทะเล

แมกนีเซียม
ในพืช    – มีในส่วนสีเขียวสัตว์ของพืช เปลือก ตา ใบ ทุกชนิด เมล็ดในสดแก่จัดของพืชทุกชนิดในผลไม้ที่มีรสหวานทุกชนิด
ในสัตว์    – มีในเกล็ด ก้าง กระดูก
ในสารธรรมชาติ – มีมากในปูนมาร์ล โดโลไมท์
แคลเซียม
   ในพืช    – มีในผักสดแก่จัด ถั่วลันเตา แตงกวา กระเจี๊ยบ มะขามเทศมัน กระถิน มะระ มะเขือเทศดิบ มันฝรั่ง บวบเหลี่ยม ผักกินใบ คะน้า ผักกระเฉด ยอดปอ ใบแก่ฟักทอง ผลไม้ดิบสดรสฝาดแก่จัดยังไม่สุก ฝรั่ง เมล็ดแตงโม เมล็ดถั่วเขียว มะเขือเทศรสฝาด
   ในสัตว์    – มีในเกล็ด ก้าง กระดูก เปลือกไข่ เปลือกหอยสด/แห้ง นมสด นมจืด/เปรี้ยว ไข่สุก อาหารเสริมสำหรับคน ปลาป่นสำหรับสัตว์
   ในสารธรรมชาติ – มีในยิบซั่ม หินภูเขาไฟ หินงอกหินย้อย ดินก้นถ้ำ ปูนมาร์ลโดโลไมด์

ซัลเฟอร์
   ในพืช – มีในพืชที่มีกลิ่นฉุน คื่นช่าย ต้นหัวหอมแดง ต้นหัวหอมใหญ่ กระเทียม ผักชี สะตอ ยางที่เปลือกมังคุด
   ในสัตว์ – มีในเมือกเลือด เนื้อ สดๆสัตว์ที่มีชีวิต
   ในสารธรรมชาติ – มีในยิบซั่ม กำมะถัน

เหล็ก
   ในพืช – มีในส่วนของตาดอกที่อั้นจัด และยอดอ่อนของพืช ในเนื้อและใบสดแก่จัดฟักทอง ผักเขียว เผือก กระถิน ผลพริก สดแก่จัด ยอดปอเมล็ดแก่
   ในสัตว์ – มีมากในเมือก เลือด เครื่องในสัตว์ ไข่ นมสดๆจากสัตว์ที่มีชีวิต

ทองแดง
   ในพืช – มีในส่วนสีเขียวสดแก่จัดของพืชทุกชนิด เมล็ดในสดแก่จัด ในพืชตระกูลถั่ว
   ในสัตว์ – เครื่องในสดๆของสัตว์



สังกะสี
   ในพืช – หัวสดแก่จัด เช่น หัวไชเท้า แครอท มันเทศ มันแกว เหง้าหรือไหลสดแก่จัด เช่น ผักตบ กล้วย พุทธรักษา เตย ตำลึง เมล็ดสดแก่จัด   เช่น บวบ ถั่วเขียว ฟักทอง แตง

แมงกานีส
   ในพืช – มะเขือเทศสุก ผลตำลึงสุก ผลวัชพืชสุก
   ในสัตว์ – เครื่องในสดจากปลาทะเลที่มีชีวิต

โมลิบดินั่ม
   ในพืช – เมล็ดอ่อน ส่วนที่เป็นน้ำเยื่อเจริญของพืช

โบรอน
   ในพืช – ผลอ่อน ยอดอ่อน รากอ่อน ลักษณะกรอบเปราะเด็ดได้ด้วยมือ เช่น ผล/ยอดแตง ผักกระเฉด ตำลึง ผักบุ้ง ยอดอ่อนของพืชเลี้ยงทุกชนิด เปลือกสดเขียวส่วนปลายกิ่งที่กำลังมีผลอ่อน
   ในสารสังเคราะห์ – มีในน้ำประสานทอง (บอแร็กซ์)

ซิลิก้า
   ในพืช  - แกลบดิบ หญ้าคา หญ้าแฝก หญ้าขน กากน้ำตาล
   ในสารธรรมชาติ - มีในหินภูเขาไฟ

โซเดียม
   ในสัตว์ – เครื่องในสดใหม่ ปลาทะเลที่มีชีวิต มูลควาย
คาร์บอน
   ในสารธรรมชาติ – แกลบดำ ถ่าน ขี้เถ้า ควันไฟ

จิ๊บเบอเรลลิน
   ในพืช – เมล็ดเริ่มงอก น้ำมะพร้าวอ่อน ผลอ่อน ของผลไม้ที่มีลักษณะยาว ยอดอ่อนพืช ต้นอ่อนเด็ดได้ด้วยมือ เมล็ดกำลังงอก เนื้อเยื่ออ่อน

ไซโตไคนิน
   ในพืช – หัวไชเท้า ผักปรัง ข้าวโพดหวาน ข้าวระยะน้ำนม หน่อไม้ไผ่ตรงหน่อไม้ฝรั่ง โสมไทย แป้งในพืชหัวระยะเจริญเติบโตปลายและปมราก
   ในสัตว์ – สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง ปู เคย หนอน แมลง กิ้งกือ ไส้เดือน กระดองเต่า/ตะพาบ ปลิงทะเล/น้ำจืด ลิ้นทะเล รกสัตว์ ไข่อ่อน

เอ็น เอ เอ
   ในพืช – หัวกาวเครือขาวสดแก่จัด ผลอ่อน ยอดอ่อน รังไข่ ปมราก ปลายก้าน ส่วนที่กำลังเจริญ ตายอด ปลายราก ตา

อะมิโน – โอเมก้า
   ในสัตว์ – มีในไข่สด หนอนทุกชนิด เนื้อปลาทะเลสดๆที่มีชีวิต

สารจับใบ
   มีในกากน้ำตาล น้ำมันปลา เหง้าตำลึง



วิตามินบี
   ในพืช – จมูกข้าว รำละเอียด ไข่สด ในอาหารคน
 
วิตามินอี
   ในพืช – เมล็ดทานตะวัน น้ำมันพืช แตงกวา ไข่สด เหง้าตำลึง
   ในสัตว์ – หนังปลาสดใหม่

สารออกซินจากธรรมชาติ
•   ออกซิน หมายถึง กลุ่มของสารที่สามารถชักนำให้เกิดการยืดตัวของลำต้นได้  สารเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ หรือเกิดจากสารสังเคราะห์ ( ออกซิน เป็นสารที่มีคุณสมบัติทางเคมีเป็นกรด )
•   ออกซิน จะเคลื่อนย้าย ในทิศทางจากส่วนยอดสู่ส่วนโคน สำหรับแหล่งสร้างออกซิน ธรรมชาติในพืช จะอยู่ในเนื้อเยื่อเจริญ เช่น  บริเวณตายอด ยอดอ่อน ปลายราก ตา ผลอ่อน รังไข่ ปมราก เป็นต้น
•   ออกซิน จะผลิตขึ้นได้มากในส่วนปลายก้าน หรือส่วนที่กำลังเจริญ เมื่อผลิตได้แล้วก็จะเคลื่อนย้าย ผ่านทางท่อน้ำและท่ออาหาร

ประเภทของออกซิน มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1.   ออกซิน ที่ผลิตขึ้นภายในพืชหรือ ออกซินธรรมชาติ
2.   ออกซิน ที่ได้จากการสังเคราะห์โดยวิธีทางเคมี

แหล่งสร้างจิ๊บเบอเรลลิน
•   ในพืชมีอยู่ที่เนื้อเยื้ออ่อน บริเวณส่วนยอด ส่วนราก ใบอ่อน ต้นอ่อน และเมล็ดที่กำลังเจริญ หรือกำลังงอก การใช้จิบเบอเรลลินจะทำให้พืชออกดอกได้โดยไม่ต้องใช้ความหนาว( กระตุ้นการออกดอก )
ประโยชน์ของจิ๊บ
1. ส่งเสริมการออกดอก
2. ส่งเสริมการขยายตัวของเซลล์
3. กระตุ้นการออกดอกของเมล็ดและตา
4. เปลี่ยนเพศดอก
5. เพิ่มการติดผล                           
6. เร่งให้เปลี่ยนสีเร็วขึ้น

ไซโตไคนิน
   เป็นฮอร์โมนที่พบครั้งแรกในน้ำมะพร้าว มีความสามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ เช่น ในน้ำมะพร้าว ปลายราก ปมราก และพบทั่วไปในต้นพืช ผลที่กำลังเจริญเติบโต เป็นส่วนประกอบของกรด นิวคลีอิก ( ผลของไซโตคินนินกับพืชจะเกิดรวมกับสารกระตุ้นการทำงาน ถ้าไม่มีสารเหล่านี้ ไซโตคินนินจะไม่แสดงผลกับพืช

ประโยชน์ของไซโตคินนิน
1.  มีคุณสมบัติ  กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเปลี่ยนแปลงของเซลล์
2.  การเจริญทางด้านลำต้นของพืชกระตุ้นการเจริญตาข้างทำให้เจริญออกมาเป็นกิ่งได้
3. ช่วยการเคลื่อนย้ายอาหารจากรากไปสู่ยอด
4. ช่วยให้เมล็ดงอกได้ในที่มืด
5. ช่วยชะลอการแก่ของพืช
6. กระตุ้นการติดดอกและผล




ขอบคุณข้อมูลจาก...
สวนวันเพ็ญ
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
วิทยากรจังหวัดปราจีนบุรี
วันเพ็ญ     สนลอย
โทรศัพท์ : 081-8034930, 037-405026

Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.074 seconds with 19 queries.