Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 16:27:00

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,616 Posts in 12,928 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  วิถีสู่ชีวิตแห่งความพอเพียง  |  การศึกษาทางเลือก  |  การผลิตแชมพูกำจัดเหาชีวภาพ โรงเรียนอนุบรรพต
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: การผลิตแชมพูกำจัดเหาชีวภาพ โรงเรียนอนุบรรพต  (Read 5002 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 29 December 2012, 07:01:53 »

จากเรื่อง การผลิตแชมพูกำจัดเหาชีวภาพ โรงเรียนอนุบรรพต     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2


ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้
1.ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2.ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3.การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
•  เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
1.เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2.เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
1.พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
2.พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
3.พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด

          "การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง"
“เศรษฐกิจพอเพียง จะสำเร็จได้ด้วย ความพอดีของตน”

        จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก อาจพบเกือบทุกหนทุกแห่งในธรรมชาติ ในอากาศที่เราหายใจเข้าไป ในอาหารที่เรากิน ที่ผิวหนังของร่างกาย ในทางเดินอาหาร ในปาก จมูกหรือช่องเปิดต่างๆ ของร่างกาย แต่ยังเป็นความโชคดีของเราเพราะจุลินทรีย์ส่วนใหญ่มีคุณประโยชน์ต่อสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งมวลในโลก ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จุลินทรีย์เป็นตัวการทำให้เกิดกระบวนการหมัก ผลผลิตที่ได้จากการหมักนั้น ในที่นี้เราขอเรียกว่า “น้ำหมักชีวภาพ”
        น้ำหมักชีวภาพ คือ การนำเอาพืช ผัก ผลไม้ สัตว์ชนิดต่าง ๆ มาหมักกับน้ำตาลทำให้เกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมากซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะไปช่วยสลายธาตุอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในพืช มีคุณค่าในแง่ของธาตุอาหารพืชเมื่อถูกย่อยสลายโดยกระบวนการย่อยสลายของแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์สารต่างๆจะถูกปลดปล่อยออกมา เช่นโปรตีน กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง จุลธาตุ ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต เอนไซม์ วิตามิน ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำหมักชีวภาพ มี 3 ประเภท คือ
             1. น้ำหมักชีวภาพจากพืชสดสีเขียว (น้ำแม่)
             2. น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้สุก (น้ำพ่อ)
             3. สารขับไล่แมลง (น้ำหมักจากพืชสมุนไพร)
        น้ำหมักชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ อีกทางเลือกของเกษตรกร สำหรับใช้ในการป้องกัน กำจัดศัตรูพืชโดยไม่ต้องใช้สารเคมีวิธีทำน้ำหมักชีวภาพ อย่างง่ายๆ ท่านสามารถทำเองได้ สบายมาก
น้ำหมักชีวภาพ มี 2 ประเภท คือ
1. น้ำหมักชีวภาพจากพืช ทำได้โดยการนำเศษพืชสด ผสมกันน้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล อัตราส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน พืชผัก 3 ส่วน หมักรวมกันในถังปิดฝา หมักทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วัน เราจะได้ของเหลวข้น ๆ สีน้ำตาล ซึ่งเราเรียกว่า น้ำหมักชีวภาพจากพืช
2. น้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ มีขั้นตอนทำคล้ายกับน้ำหมักจากพืช แตกต่างกันตรงวัตถุดิบจากสัตว์ เช่น หัวปลา ก้างปลา หอยเชอรี่ เป็นต้น
เคล็ดลับในการทำน้ำหมักให้ได้ผลดี
1 . ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า สับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เช่นถังพลาสติก หรือโอ่ง หากมีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้วให้เทผสมลงไปแล้วลดปริมาณกากน้ำตาลลง ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้ จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพ จากนั้นกรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิท รอการใช้งานต่อไป
2. ในระหว่างการหมัก ห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้เนื่องจากระหว่าง การหมักจะเกิดก๊าชต่าง ๆ ขึ้น เช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน เป็นต้น
3.ไม่ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้ม ใช้ทำน้ำหมัก เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลาย

การทำ น้ำหมักชีวภาพดับกลิ่น เป็นการใช้เศษอาหาร พืชผัก ผลไม้ที่เหลือทิ้ง 3 ส่วน กากน้ำตาลหรือโมลาส
1  ส่วน และน้ำ   10 ส่วน ใส่รวมกันในภาชนะ (ขวด, ถัง) ที่มีฝาปิดสนิท โดยเว้นที่ว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของ ขวด/ถัง หมั่นเปิดฝาคลายแก๊สออกและปิดกลับให้สนิททันที วางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้ 3 เดือน เราจะได้น้ำหมักชีวภาพดับกลิ่น ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ กลิ่นปัสสาวะสุนัข ฯลฯ
การทำ น้ำหมักชีวภาพซักผ้า / ล้างจาน เป็นการใช้ ผลไม้ เปลือกผลไม้ (ฝักส้มป่อย , มะคำดี ควาย , มะนาว ฯลฯ)
3 ส่วน น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลอ้อย 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน ใส่รวมกันในภาชนะ (ขวด, ถัง) ที่มีฝาปิดสนิท โดยเว้นที่ว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง หมั่นเปิดฝา คลายแก๊สออกและปิดกลับให้สนิททันที วางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้ 3 เดือน เราจะได้น้ำหมักชีวภาพซักผ้า / ล้างจาน (แม้ผ้ามีราขึ้นเป็นจุดดำๆ แช่ผ้าทิ้งไว้ 1-2 วัน ก็ซักออกได้)
การทำ น้ำหมักชีวภาพดับกลิ่น เป็นการใช้เศษอาหาร พืชผัก ผลไม้ที่เหลือทิ้ง 3 ส่วน กากน้ำตาลหรือโมลาส 1ส่วน และน้ำ 10 ส่วน ใส่รวมกันในภาชนะ (ขวด, ถัง) ที่มีฝาปิดสนิท โดยเว้นที่ว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของ ขวด/ถัง หมั่นเปิดฝาคลายแก๊สออกและปิดกลับให้สนิททันที วางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้ 3 เดือน เราจะได้น้ำหมักชีวภาพดับกลิ่น ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ กลิ่นปัสสาวะสุนัข ฯลฯ
การทำ น้ำหมักชีวภาพสมุนไพรไล่แมลง/กำจัดเหา เป็นการใช้ ใบไม้(สะเดา, บอระเพ็ด , ใบน้อยหน่า ฯลฯ) 3 ส่วน น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลอ้อย 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน ใส่รวมกันในภาชนะ (ขวด, ถัง) ที่มีฝาปิดสนิท โดยเว้นที่ว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง หมั่นเปิดฝา คลายแก๊สออกและปิดกลับให้สนิททันที วางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้ 3 เดือน เราจะได้น้ำหมักชีวภาพ ไล่แมลง/กำจัดเหา เป็นส่วนผสมในการทำแชมพูสระผมกำจัดเหา
ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ
ด้านการเกษตร
1. ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด - ด่าง ในดินและน้ำ
2. ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น
3. ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นธาตุอาหารแก่พืช พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
4. ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชให้สมบูรณ์ แข็งแรงตามธรรมชาติ ต้านทานโรคและแมลง
5. ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช ทำให้ผลผลิตสูง และคุณภาพของผลผลิตดีขึ้น
6. ช่วยให้ผลผลิตคงทน เก็บรักษาไว้ได้นาน
ด้านปศุสัตว์
1. ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มสัตว์ ไก่ สุกร ได้ภายใน 24 ชม.
2. ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 - 2 สัปดาห์
3. ช่วยป้องกันโรคอหิวาห์และโรคระบาดต่างๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะ และอื่นๆได้
4. ช่วยกำจัดแมลงวัน ด้วยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวัน ไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน
5. ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรค ให้ผลผลิตสูง และอัตราการรอดสูง
ด้านการประมง
1. ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้
2. ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ
3. ช่วยรักษาโรคแผลต่างๆในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้
4. ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมัก ใช้กับพืชต่างๆได้ดี
ด้านสิ่งแวดล้อม
1. ช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถาน-ประกอบการทั่วไป
2. ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่างๆ
3. ปรับสภาพของเสีย เช่น เศษอาหารจากครัวเรือนให้เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงสัตว์ และการเพาะ-ปลูกพืช
4. กำจัดขยะด้วยการย่อยสลายให้มีจำนวนลดน้อยลง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
5. ช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดชื่น และมีสภาพดีขึ้น
การนำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพไปใช้ประโยชน์
การใช้ในนาข้าว
ในพื้นที่นา 1 ไร่ ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพประมาณ 200 ก.ก. โดยแบ่งได้เป็นระยะดังนี้
ไถพรวน
1. หว่านปุ๋ยหมักชีวภาพ(ปุ๋ยแห้ง) 100 ก.ก. ให้ทั่ว
2. ผสมน้ำหมัก(น้ำแม่หรือน้ำพ่อ) 20 ช้อนแกง ผสมน้ำ 80 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง แล้วไถพรวนทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้น้ำหมักฯย่อยสลายวัชพืช และฟางข้าวให้เป็นปุ๋ยธรรมชาติ และเร่งการงอกของเมล็ดพืช
ไถคราด
1. พ่นน้ำหมักฯ อัตราส่วนเดิมอีกครั้ง
2. ไถคราดให้ทั่ว เพื่อเตรียมปักดำ
หลังปักดำ 7 - 15 วัน
1. หลังปักดำ 7 - 15 วัน หว่านปุ๋ยหมักชีวภาพให้ทั่วแปลง 30 ก.ก./ไร่
2. พ่นตามด้วย น้ำหมักฯ (สูตร 1) 20 ช้อนแกง ผสมน้ำ 80 ลิตร
ข้าวอายุ 1 เดือน
1. หว่านปุ๋ยหมักฯ 30 ก.ก./ไร่
2. พ่นด้วยน้ำหมัก (สูตร 1) 20 ช้อนแกง ผสมน้ำ 80 ลิตร
ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย
1. หว่านปุ๋ยหมักฯ 40 ก.ก./ไร่
2. พ่นด้วยน้ำหมักฯ (สูตร 2) 20 ช้อนแกง ต่อน้ำ 80 ลิตร
ข้าวติดเมล็ดแล้ว
- พ่นน้ำหมักฯ(สูตร 3) 20 ช้อนแกง ต่อน้ำ 80 ลิตร
การใช้กับพืชไร่ พืชผัก
1. เตรียมแปลงเสร็จ หว่านปุ๋ยหมักชีวภาพ ประมาณ 2 กำมือ ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
2. เอาฟางคลุมแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพ (น้ำแม่หรือน้ำพ่อ) ในอัตราส่วน 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 10 ลิตร รดแปลงให้ชุ่มทิ้งไว้ 7 วัน แล้วจึงปลูกพืช
3. หลังปลูกพืชแล้วประมาณ 10 – 12 วัน ถ้าพืชไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรให้เติมปุ๋ยหมักชีวภาพอีก
4. ควร รดราดน้ำหมักชีวภาพ (สูตร 1 , 2 , 3 ) ตามช่วงอายุการเจริญเติบโตของพืช สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ในอัตราส่วนน้ำหมักชีวภาพ 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร
การใช้กับไม้ผล ไม้ยืนต้น
การเตรียมหลุมปลูก
1. ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 - 2 ก.ก. ผสมกับดินเดิม คลุมด้วยฟาง รด ราด ด้วยน้ำหมักชีวภาพ 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน จึงปลูกต้นไม้ได้
ไม้ผล ไม้ยืนต้นที่ปลูกแล้ว
1. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตและตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 ก.ก. ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร บริเวณรอบทรงพุ่มแล้วคลุมด้วยฟางแห้งหรือหญ้าแห้ง ปีละ 2 ครั้ง
2. ราด รด ด้วยน้ำหมักชีวภาพ เพื่อกระตุ้นการแตกยอดและใบใหม่ในอัตราน้ำหมักชีวภาพ 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร เดือนละ 2 ครั้ง ตามช่วงอายุการเจริญเติบโตของพืช
3. เมื่อพืชติดดอก ติดผล ควรเพิ่มการให้น้ำหมักชีวภาพ สูตร 2 , 3 เป็นเดือนละ 1 ครั้ง
หมายเหตุ น้ำหมักชีวภาพควรใช้ในเวลาเช้าหรือเย็น ไม่ควรให้ถูกแสงแดดจัด เก็บไว้ในร่มและไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมีทุกชนิด
การใช้ในการเลี้ยงสัตว์
น้ำหมักชีวภาพช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายอาหาร
เมื่อสัตว์ได้รับน้ำหมักชีวภาพ โดยใส่ให้สัตว์กินในอัตราน้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน (1 : 1,000) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารที่สัตว์กิน ทำให้สัตว์ได้รับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์มากขึ้น
สัตว์ปีก, สุกร สัตว์ปีกและสุกรเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยว ไม่สามารถย่อยหญ้าได้ดีเท่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย แต่น้ำหมักชีวภาพจะช่วยให้สัตว์ปีกและสุกร สามารถย่อยหญ้าสดหรือพืชได้ดีขึ้น เป็นการประหยัดอาหารได้ถึง 30 %
สัตว์เคี้ยวเอื้อง สัตว์เคี้ยวเอื้องจำพวก วัว ควาย ปกติสามารถย่อยอาหารหลักจำพวกหญ้าสด หญ้าแห้งได้ดีอยู่แล้ว เมื่อได้รับน้ำหมักชีวภาพ โดยใส่ในน้ำให้กินในอัตรา 1 : 1,000 หรือพรมลงบนหญ้าก่อนให้สัตว์กิน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้สูงขึ้น
น้ำหมักชีวภาพช่วยเพิ่มความต้านทานโรคให้แก่สัตว์
สัตว์ที่ได้รับน้ำหมักชีวภาพอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าทางน้ำหรือทางอาหาร จะมีความต้านทานโรคต่างๆ ได้ดี โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินอาหาร จะช่วยลดความเครียดจากการเปลี่ยนอาหารระยะต่างๆ การขนย้ายสัตว์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
น้ำหมักชีวภาพช่วยลดกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์
ในการเลี้ยงสัตว์ มูลสัตว์นับเป็นปัญหาสำคัญต่อสภาพแวดล้อมในฟาร์มและบริเวณใกล้เคียงมาก โดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยงสุกร ถ้าไม่จัดการให้ดี เพื่อเป็นการจำกัดกลิ่นเหม็นให้ใช้น้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 : 1,000 ให้สัตว์กินทุกวันจะช่วยลดกลิ่นเหม็นได้
คอกสัตว์โดยเฉพาะสุกรและโคนมที่ได้รับการฉีดล้างด้วยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราเข้มข้น 1 : 100 - 300 เป็นประจำ กลิ่นจะไม่เหม็น และน้ำที่ได้จากการล้างคอกก็สามารถนำไปรดน้ำต้นไม้ รดผัก และสามารถปล่อยลงแม่น้ำลำคลองได้ โดยไม่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
น้ำหมักชีวภาพช่วยลดปัญหาเรื่องแมลงวันและยุง
บริเวณคอกสัตว์ที่ได้รับการฉีดพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดปัญหาเรื่องแมลงวันจนเกือบไม่มีเลย แม้แต่ยุงก็จะลดน้อยลงด้วย ถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพฉีดพ่นตามแหล่งน้ำในฟาร์มอย่างสม่ำเสมอ
น้ำหมักชีวภาพในการเลี้ยงสัตว์น้ำ
ใส่น้ำหมักชีวภาพในบ่อปลา บ่อกุ้ง และบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำอื่นๆ ในอัตรา 1 : 1,000 - 1 : 10,000 หรือ 1 ลิตร ต่อน้ำในบ่อ 1 - 10 ลูกบาศก์เมตรอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยย่อยสลายเศษอาหารที่ตกค้างและมูลสัตว์น้ำที่ก้นบ่อให้หมดไป ทำให้น้ำไม่เสีย ไม่ต้องถ่ายน้ำบ่อยๆ สัตว์น้ำมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ผิวสะอาดไม่มีกลิ่นโคลนตม
การเลี้ยงปลาด้วยปุ๋ยอินทรีย์
การใส่ปุ๋ยในบ่อปลา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มธาตุอาหาร หรือเพิ่มอาหารธรรมชาติในบ่อปลา เช่น ทำให้เกิดน้ำเขียว ตัวอ่อนของแมลง ไรน้ำ ไรแดง หนอนแดง เกิดพืชเล็กๆในบ่อ ซึ่งปลาทุกชนิดชอบกิน
น้ำหมักชีวภาพแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมควรเริ่มต้นแก้ตั้งแต่ในครัวเรือน โดยนำเศษอาหารมาทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช่ประโยชน์ หรือก่อนจะนำขยะเปียกไปทิ้ง ควรฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพเสียก่อนเพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นและแมลงวันปัญหาเรื่องขยะเปียกและน้ำเสียในชุมชนน้ำหมักชีวภาพสามารถช่วยได้ โดยฉีดพ่นขยะเปียกที่มีกลิ่นเหม็นในอัตราส่วนเข็มข้น (1 : 1,000) จะช่วยลดกลิ่นเหม็นและแมลงวันได้แหล่งน้ำในชนที่เน่าเสียจนสัตว์น้ำตาย ใส่น้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพบ่อยๆ ก็จะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขี้นได้
น้ำหมักชีวภาพ(เอนไซม์)กับไวน์ ต่างกันอย่างไร ?
น้ำหมักชีวภาพ(เอนไซม์) ใช้ดื่มกินเป็นสารโปรตีน วิตามินเอ, บี, ซี, ดี, อี, เค, อะมิโนแอซิค(Amino acid) และ อะเซทิลโคเอ (Acetyl Coa) ที่ได้จาก หมักผลไม้นานาชนิด โดยมี จุลินทรีย์ท้องถิ่น หลากหลายชนิด ปะปนอยู่ใน กระบวนการหมัก เพื่อเปลี่ยนผลไม้ + น้ำผึ้ง + น้ำ ระยะเริ่มแรกเป็นแอลกอฮอล์ ระยะต่อมา เป็นน้ำส้มสายชู (รสเปรี้ยว) อีกระยะหนึ่งเป็นยาธาตุ (รสขม) ในที่สุดเป็นน้ำหมักชีวภาพ (เอ็นไซม์) ซึ่งใช้เวลาหมักขยายประมาณ 2 ปี กรณีจะนำไปดื่มกินควรผ่านการหมักขยายเป็นเวลา 6 ปีขึ้นไป
ไวน์ (WINE) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักองุ่น ไวน์แดงทำจากองุ่นแดง ไวน์ขาวทำจากองุ่นเขียว โดยกระบวนการหมักจะใช้เชื้อยีสต์บริสุทธิ์ เช่น แชคคาโรมัยซีส (Saccharomyces cerevisiae ) เพื่อเปลี่ยนน้ำตาลเป็นอาหาร และ ให้ผลผลิต เป็นแอลกอฮอล์ กับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ C6H12O6 2C2H5OH + 2CO2 ทั้งผลไม้ น้ำตาล และ ภาชนะ จะผ่านการฆ่าเชื้อก่อนทุกขั้นตอน
สรุปว่า น้ำหมักชีวภาพ (เอนไซม์) กับไวน์ต่างกัน ทั้งเจตนาในการหมัก เพื่อจะให้ได้ผลผลิต กระบวนการหมัก การควบคุมเชื้อจุลินทรีย์และความปลอดภัยในการบริโภค
น้ำหมักชีวภาพแบ่งตามการใช้งานได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ใช้อุปโภค ได้แก่ น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน สบู่น้ำ แชมพูสระผม น้ำยาล้างรถ น้ำยาดับกลิ่น ปุ๋ยน้ำ แก้สิวฝ้า น้ำยาบ้วนปาก ฯลฯ
2. ใช้บริโภค ได้แก่ น้ำหมักชีวภาพ(เอนไซม์)ใช้ดื่มกิน สมุนไพรหมักใช้เป็นยา ฯลฯ
ปัญหาของน้ำหมักชีวภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการนำไปดื่มกิน เมื่อได้น้ำหมักชีวภาพ ในขั้นต้น (3, 5, 7, 9, 11 เดือน) แล้ว นำไปดื่มกิน เผยแพร่ทางสื่อต่างๆ ผลิตเพื่อขาย แม้จะช่วยให้ระบบย่อยและขับถ่ายดีขึ้นก็ตาม แต่น้ำหมักชีวภาพ ในช่วงนี้มีสภาพเป็น แอลกอฮอล์ อยู่มาก (คล้ายไวน์) สังเกตได้โดยการดมกลิ่น ชิมรส ถ้าดื่มกิน จะมีอาการร้อนวูบวาบ ลงท้องแล้ว ตีกลับขึ้นหัว กระจายไปทั่วตัว ทำให้บางคนมีอาการมึนงงหรือปวดหัวได้ ซึ่งในฐานะนักปฏิบัติธรรม ถือว่าไม่เหมาะ ที่จะนำมาดื่มกินกัน เพราะจะเข้าข่ายดื่มน้ำเมาได้
ผลเสียที่เกิดขึ้น ทำให้ฟันผุกร่อน เนื้อฟันบาง เพราะน้ำหมักชีวภาพ (เอนไซม์) มีสภาพเป็นกรดสูง วัด pH ได้ 3-4 กรดจะกัดกร่อนเนื้อฟัน (แคลเซียม) ทำให้ฟันเสียได้ ฉะนั้นการดื่มกินน้ำหมักชีวภาพ (เอนไซม์) แบบเข้มข้นจึงควรหลีกเลี่ยง เราควรผสมน้ำเปล่าให้เจือจางก่อน น้ำหมัก ชีวภาพ (เอ็นไซม์) 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 แก้ว (ลองนึกเปรียบเทียบกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ เวลาเราใช้รดน้ำต้นไม้ จะผสมน้ำให้เจือจาง 500 - 1,000 เท่า ถ้าใช้รดต้นไม้แบบเข้มข้น ต้นไม้จะเฉาตาย)

        การทำน้ำหมักชีวภาพ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องอาศัยเวลาและความอดทน ที่สำคัญน้ำหมักชีวภาพไม่มีสูตรที่ตายตัว เราสามารถทดลองทำปรับเปลี่ยนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับต้นไม้ของเรา เพราะสภาพแวดล้อมแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ต้นไม้แต่และถิ่นก็ต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน น้ำหมักชีวภาพจึงจำเป็นต้องมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่น.

************************
พิณซอ  กรมรัตนาพร  และ เสรี  แข็งแอ
สถานีฟาร์มฝึกนักศึกษา  คณะสัตวแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น  หนองหญ้าปล้อง  วังสะพุง  เลย
โทรศัพท์, โทรสาร  042-801096 / e-mail : rvarun@kku.ac.h


การใช้ใบน้อยหน่ารักษาเหาข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อวิทยาศาสตร์    Annona squamosa L.
ชื่อวงศ์    Annonaceae
ชื่ออังกฤษ    Sugar apple, Sweet sop, Custard apple
ชื่อท้องถิ่น    เตียบ  น้อยแน่  มะ นอแน่  มะแน่  มะออจ้า  มะโอจ่า  ลาหนัง  หน่อเกล๊าะแซ  หมักเขียบ

 หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
ส่วนที่ใช้
ผล เมล็ด ราก ใบ และเปลือกต้น
สรรพคุณ
ผล : ซึ่งนำมาใช้ได้ 2 อย่างคือ ถ้าเป็นผลดิบ จะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง และผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู แต่ถ้าเป็นเปลือกก็ยังแก้พิษงูได้ด้วยเมล็ด เป็นยาฆ่าพยาธิตัวจี๊ด ฆ่าเหา และแก้บวม
ราก : เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน และแก้พิษงู ถอนพิษเบื่อเมา
ใบ : แก้ขับพยาธิลำไส้ ฆ่าเหา แก้หิด แก้กลากเกลื้อน และแก้ฟกบวม
เปลือกต้น : เป็นยาสมานลำไส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้รำมะนาด ยาฝาดสมาน
Tips
1. เป็นโรคกลากเกลื้อน และเหา ให้นำเอาใบน้อยหน่าสดมาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วพอกหัว ภายใน 7 วัน กลากเกลื้อนและเหาก็จะหาย
2. เป็นเหา ซึ่งมีวิธีรักษาอยู่ 2 วิธีคือ นำใบน้อยหน่าประมาณ 3-4 ใบมาบดหรือตำให้ ละเอียดแล้วคลุกกับเหล้า 28 ดีกรี คลุกให้เคล้ากันจนได้กลิ่นน้อยหน่า แล้วนำมาทาหัวให้ทั่ว เอาผ้าคลุมไว้สัก 10-30 นาทีและเอาผ้าออกใช้หวีสาง เหาก็ตกลงมาทันที วิธีที่สอง นำใบน้อยหน่า 7-8 ใบ มาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำทาหัวทิ้งไว้สักครู่ แล้วล้างออก ซึ่งจะช่วยทำให้ไข่ฝ่อ และฆ่าเหาได้
1.  ฤทธิ์ในการฆ่าแมลง
สารสกัดจาก น้อยหน่า (ไม่ระบุชนิดสารสกัด) (1-3)  สารสกัดจากเมล็ด (4)  สารสกัดจากใบ (5)  สารสกัดจากน้อยหน่าผสมกับ Ipomoea cornea (1:1) (6)  สารสกัดเมล็ดด้วยอีเธอร์ (7-9)  น้ำมัน จากเมล็ด (10)  สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากเมล็ด (11, 12)  สารสกัดเมทานอลจากใบ (13)  ส่วนสกัดที่ไม่ละลายในปิโตรเลียมอีเทอร์ (12)  ใบบดเป็น ผงคลุกกับเมล็ดถั่วเขียว (ในอัตราพืช 2 ก. ต่อเมล็ดถั่วเขียว 20 ก.) (14)  สูตรยาฆ่า แมลงศัตรูพืชที่มีส่วนผสมเป็นสารสกัดจากน้อยหน่าและสะเดา (15)  มีฤทธิ์ฆ่าแมลงศัตรูพืช (1-15)  ได้แก่  tobacco caterpilla (Spodoptera litura) (1, 12, 15), ไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของไรขาวในพริก เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน (2), maize weevil (3), spotted stem borer (Chilo partellus Swin), oriental armyworm (Mythimna serparata Wlk.),  head bugs (Calocoris angustatus Leth.), yellow  sugarcane aphid (Melanaphis sacchari Zehnt.) (4), red pumpkin beetle (Aulacophora foveicollis) (5), dragonfly nymph (Brachythemis contaminata) (6), Musa nebula, Bombyx mori ( , Tribolium castaneum (8, 12), ตั๊กแตน Nephoteltix virescens (10), ไข่แมลงวันผลไม้ (oriental fruit fly) (11), rice moth (Corcyra cephalonica) (12), Sitophilus oryzae (13), ด้วง ถั่วเหลือง (14)  แต่สารสกัดเอทานอลจากใบความเข้มข้น 20 มก./มล. ไม่มีฤทธิ์ฆ่าตัวอ่อนระยะที่ 3 ของ diamondback moth (16)
สารสกัดน้ำจาก เมล็ดความเข้มข้น 10% ฆ่าแมลงสาบตาย 49% และที่ความเข้มข้น 30% ออกฤทธิ์ฆ่าตัวอ่อนแมลงสาบ 20% (17)
น้ำมันจากเมล็ด ความเข้มข้น 5% และ 10% ขนาด 5 มล.  มีฤทธิ์ฆ่ายุง Culex fatigans ได้ 93 และ 45% ตามลำดับ (18)  สารสกัดน้ำจากเมล็ด และสารสกัด 95% เอทานอลจากเมล็ดและใบ ความเข้มข้น 2% และ 0.4% w/v ตามลำดับ ออกฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุงลาย (Aedes aegypti) ได้ 100% ใน 48 ชม.(19)
สารสกัดเอทานอลจาก เมล็ดเคลือบไว้ในขวดปริมาณ 1.14 มก./ซม.2 (20) หรือความเข้มข้น 10% (21) ออกฤทธิ์ฆ่าตัวอ่อน (20) และตัวเต็มวัยของเห็บในวัวควาย (20, 21) ส่วนสารสกัดเอทานอลจากใบออกฤทธิ์ต่ำ (21)
สารสกัดอัลกอฮอล์ จากเมล็ด (22) และสารออกฤทธิ์ 2 ชนิด จากสารสกัดเอทิลอะซีเตทและสารสกัดเอทานอล (23) มีฤทธิ์ฆ่าหมัด ในสุนัข (22, 23)  แต่สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ คลอโรฟอร์ม และเอทานอล จากใบและเมล็ด ผสมในน้ำมันมะพร้าว ในอัตราส่วน 1:1, 1:2, 1:4 และ 1:8 ไม่มีฤทธิ์ฆ่าหมัดในสุนัข (24)
สารสกัดเอทิล อีเทอร์จากเมล็ด (9) น้ำมันจากเมล็ด (18) มีฤทธิ์ยับยั้งแมลงที่ ทำลายผ้า Tinea pellionella, (9, 18), Anthrenus verbasci (9) และ A. flavipes (18)
2.  สารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าแมลง
สารสำคัญของเมล็ด น้อยหน่า ที่ฆ่าแมลงและไข่ได้คือ annonin (25, 26),  neoannonin (26), squamocin, annonareticin, squamostatin E และ squamostatin B1 (27) และ flavonoid (28)
                3. ฤทธิ์ฆ่าเหา
                                สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากใบและเมล็ด สารสกัดคลอโรฟอร์มจากใบและเมล็ด และสารสกัดเอทานอลจากใบและเมล็ด ผสมในน้ำมันมะพร้าว ในสัดส่วน 1:1, 1:2, 1:4 และ 1:8  มีฤทธิ์ฆ่าเหา สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากเมล็ดและใบออกฤทธิ์ดีที่สุด แต่เมล็ดจะมีฤทธิ์ดีกว่าใบ และในสัดส่วนที่ผสมกับน้ำมันมะพร้าว 1:1 จะฆ่าเหาได้ 90% ในเวลา 26 และ 53 นาที ตามลำดับ (24)   ทดสอบการออก ฤทธิ์ฆ่าเหาของครีมหมักผมที่มีสารสกัดจากเมล็ด ความเข้มข้น 20% พบว่าให้ผลดี (29-32)  ครีมที่เก็บไว้เป็นเวลานาน ประสิทธิภาพของครีมจะลดลง แต่ยังคงมากกว่า 70% (30, 32)  และแชมพูที่มีสารสกัดจากเมล็ด ความเข้มข้น 2%, 4% (33), 2.5%, 5% และ 10% (34) ให้ผลในการฆ่าเหาเช่น กัน  ส่วนสกัดที่แยกได้จากสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์และคลอโรฟอร์มจากเมล็ด เป็นสารออกฤทธิ์ฆ่าเหา 100% ในระยะเวลาสั้นสุด คือ 60 นาที (35)
4.  การทดลองทางคลินิกใช้รักษาเหา
มีการทดลองใช้ น้ำยาที่คั้นจากเมล็ดน้อยหน่าบดกับน้ำมะพร้าว ในอัตราส่วน 1:2 และ 1:4 และใบน้อยหน่าคั้นกับน้ำมะพร้าวในอัตราส่วน 1:2 พบว่าสารสกัดที่ได้จากเมล็ดน้อยหน่า บดกับน้ำมะพร้าวในอัตราส่วน 1:2 ให้ผลดีที่สุดสามารถฆ่าเหาได้ 98% (36)  มี การทดลองใช้ครีมที่มีสารสกัดจากเมล็ดด้วยความเข้มข้นต่างๆกัน เพื่อทดสอบฤทธิ์ฆ่าเหา พบว่าที่ความเข้มข้น 20% ออกฤทธิ์ดีที่ สุด (30, 37)  การทดลองใช้ครีมที่หมักผมนาน 2 ชม. จะออกฤทธิ์ฆ่าเหาดีที่สุดได้ 88.11% (30)  และ ใช้ครีมหมักผมไม่น้อยกว่า 3 ชม. ฆ่าเหาได้ 92.4% (37) มีการทดลองใช้ครีม ที่มีสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากเมล็ด ความเข้มข้น 20% ฆ่าไข่เหาในอาสาสมัคร หมักผมนานครั้งละ 3 ชม. ล้างน้ำออก และทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ทุกครั้ง ใส่ครีมครั้งแรกพบตัวอ่อน 66.64%  ใส่ครีมครั้งที่ 2 พบตัวอ่อน 30.43%  และใส่ครีมครั้งที่ 3 ไม่พบตัวอ่อนของเหา (31)  การทดสอบใช้แชมพูที่มีสารสกัดจากเมล็ดความเข้มข้น 2.5% และ 10% w/w  ทดสอบกับเหาบนศีรษะ พบว่าความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ดีและรวดเร็วคือ 10% w/w  ฆ่าเหาได้ 90.14% ภายในเวลา 10 นาที และ 91.64% ภายในเวลา 20 นาที (34)
                การทดลองใช้ครีมที่มี สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากเมล็ด ความเข้มข้น 20%  1.96% ให้ผลดีกว่ายา 25% benzylฆ่าเหาในนักเรียนหญิง พบว่าฆ่าเหาได้ 95.34  benzoate emulsion ครีมที่เก็บไว้ในตู้เย็น 6 และ 12 เดือน และที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 12 เดือน ให้ผลในการกำจัดเหาไม่แตกต่างจากครีมที่เตรียมใหม่ และไม่พบอาการระคายเคือง (38)
5.  หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบ ความเป็นพิษ
5.1  การทดสอบ ความเป็นพิษ
สารสกัดส่วนที่ อยู่เหนือดินด้วย 50% ethanol เมื่อให้ทางช่องท้องหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งคือ 1 กรัม/กิโลกรัม (39)  น้ำคั้นจากเมล็ดและใบ เมื่อกรอกให้หนูถีบจักร ขนาด 10 ก./กก. ไม่ทำให้เกิดพิษถึงตาย และเมื่อนำน้ำคั้นจากใบมาฉีดเข้าเส้นเลือดดำสุนัข ไม่พบความเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตและหัวใจที่ชัดเจน แต่ถ้าฉีดขนาด 300 มก./กก. (ปริมาตรเกิน 10 มล.) จะทำให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ผลที่ได้ไม่คงที่ ค่าความเข้มข้นของน้ำคั้นจากเมล็ดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เทียบเท่ากับเมล็ดน้อยหน่า 6.4 ก./กก. (36)  หนูขาวที่ กินสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 100, 500, 1000 และ 3000 มก./กก. ไม่พบพิษใดๆ และไม่พบหนูตาย (40)
5.2 ผลต่อตา
น้ำคั้นจากเมล็ด และใบ (น้อยหน่า:น้ำ) และน้ำมันคั้นจากเมล็ดและใบ (น้อยหน่า:น้ำมัน มะพร้าว) ความเข้มข้น 1:1, 1:2, 1:4 และ 1:8 ไม่เป็นอันตรายต่อตากระต่าย (36)  เมื่อหยอดสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์  อีเทอร์  คลอโรฟอร์ม  และเอทานอล จากใบและเมล็ด ความเข้มข้น 1:10 (w/v) ใน propylene glycol ขนาด 50 มคล. ลงในตากระต่ายต่อข้าง ทิ้งไว้นาน 30 นาที พบว่าสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากใบ สารสกัดอีเทอร์และคลอโรฟอร์มจากใบและเมล็ด จะเริ่มทำให้เยื่อตาขาวแดงในกระต่ายบางตัว ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการภายใน 48 ชม. ยกเว้นกระต่ายที่ได้รับสารสกัดอีเทอร์จากเมล็ด  สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์และอีเทอร์จากเมล็ดจะทำให้เยื่อตาขาวรอบกระจกตาบวม อย่างช้าๆ ตั้งแต่ 24 ชม. จนกระทั่งถึง 72 ชม. ในกระต่ายบางตัว  สารสกัดเอทานอลจากใบจะทำให้ตาเริ่มแดงในกระต่าย 1 ตัว และอาการหายไปอย่างรวดเร็ว  ขณะที่สารสกัดเอทานอลจากเมล็ดจะทำให้เยื่อตาขาวรอบกระจกตาบวมในกระต่าย 1 ตัว ที่ 24 ชม.  ส่วนใหญ่จะพบแผลในเยื่อตาขาวในระดับ 1 และพบแผลในระดับ 2 ในกระต่าย 2-3 ตัวเท่านั้น  กระต่าย 2 ตัวที่ได้รับสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากเมล็ด และอีก 2 ตัวที่ได้รับสารสกัดอีเทอร์จากเมล็ด พบกระจกตาขรุขระหลังจาก 24 และ 48 ชม. ตามลำดับ  และยังพบเพิ่มในกระต่ายกลุ่มหลังอีก 1 ตัวที่ 72 ชม.  รีเฟล็กซ์ของม่านตาและกระจกตายังเป็นปกติ  เมื่อทดลองเอาสารสกัดแห้งที่สกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ และคลอโรฟอร์ม จากเมล็ดความเข้มข้น 1:10 (w/v) ใน propylene glycol  วางไว้ที่ conjunctival sacs นาน 30 นาที พบว่าเยื่อตาขาวแดงและบวมระดับ 1 ที่ 24 ชม.  ยังพบอาการบวมในกระต่ายบางตัวที่ 72 ชม. และพบแผลในตาระดับ 2 และ 3 ด้วย รีเฟล็กซ์ของม่านตาและกระจกตาปกติ (41)
5.3 ผลต่อผิว หนัง
น้ำยาสกัดจากใบ ทั้งน้ำและน้ำมัน ความเข้มข้น 1:1, 1:2 1:4 และ 1:8 ไม่เป็น อันตรายต่อผิวหนังกระต่าย ยกเว้นน้ำยาสกัดจากใบในน้ำมันมะพร้าว 1:1 เป็นอันตรายต่อผิวหนังเล็กน้อย  ถ้าความเข้มข้นต่ำไม่มีอันตราย  แต่น้ำยาสกัดจากเมล็ดในน้ำมันมะพร้าวมีโอกาสเป็นอันตรายได้ เพราะมีพิษปานกลาง (36)  และน้ำยาสกัดจากเมล็ดด้วยน้ำ 1:1 เป็นอันตรายต่อผิวหนังปานกลาง แต่ที่ความเข้มข้นต่ำไม่เป็นอันตราย  สารละลาย (dilution) ของสารสกัดจากใบและเมล็ดความเข้มข้น 1:10 w/v ใน propylene glycol ขนาด 30 มคล. ทาลงบนหูกระต่าย พบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มจากใบและสารสกัดเอทานอลจากใบและเมล็ดไม่เป็นพิษต่อ ผิวหนังกระต่าย  แต่สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากใบและเมล็ด และสารสกัดอีเทอร์จากเมล็ด จะทำให้ผิวหนังกระต่ายร้อนแดง (erythema) และบวมอย่างช้าๆ  และยังคงพบในกระต่ายบางตัวเมื่อเวลาผ่านไป 120 ชม.  สารสกัดอีเทอร์จากใบและสารสกัดคลอโรฟอร์มจากเมล็ด จะมีผลต่อหูกระต่าย 1 ตัวเล็กน้อย
5.4 ผลต่อระบบสืบพันธุ์
เมื่อให้หนูขาวเพศ เมียกินสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ (1:1) 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่าเป็นพิษต่อตัวอ่อน และมีฤทธิ์ต้านการฝังตัวของไข่ (42) แต่ถ้าใช้สารสกัดด้วย แอลกอฮอล์ 70% แทน    พบว่าขนาด 50 และ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จะไม่มีผลต้องเพิ่มขนาดเป็น 200 เท่า จึงจะเป็นพิษ (43)  สารสกัดน้ำจากเมล็ดขนาด 300 และ 600 มก./กก. ให้หนูขาวที่ตั้งท้องระหว่างวันที่ 1-5 (ช่วงแรกของการตั้งท้อง) กินทุกวัน จนถึงวันที่ 10 ของการตั้งท้อง พบว่าไม่มีอันตรายใดๆในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของ corpora lutea  การฝังตัว และตัวอ่อน  เปอร์เซ็นต์ของการฝังตัวแล้วหลุดของตัวอ่อน                                                                                                                           
วัสดุอุปกรณ์      1.  ถังน้ำพลาสติกความจุ   20  ลิตร พร้อมฝาปิด  จำนวน  2  ใบ
         2.  ผลมะกรูดแก่  จำนวน  3  กิโลกรัม
         3.  น้ำตาลทรายแดงผง      1  กิโลกรัม
         4.  ใบน้อยหน่าจำนวน  3  กิโลกรัม

วิธีทำน้ำหมักผลมะกรูด
         1.  ล้างผลมะกรูดให้สะอาดด้วยน้ำเปล่า
         2.  หั่นผลมะกรูดทั้งหมดจำนวน  3  กิโลกรัมเป็นชิ้นมีลักษณะเป็นแว่นๆ
         3.  นำผลมะกรูดทั้งหมดจำนวน  3  กิโลกรัมที่หั่นเป็นแว่นๆ แล้วนั้นใส่ลงในถัง              พลาสติกที่เตรียมไว้   
         4.  เทผงน้ำตาลทรายแดงปริมาณ  1  กิโลกรัมคลุกผสม และปิดฝาถังทิ้งไว้
              จำนวน   15   วัน   
         5.  เมื่อหมักครบ 15  วันให้เทน้ำเปล่าที่สะอาดปริมาณจำนวน   10   ลิตร
              ใส่ลงในถังใบเดิมและปิดฝาทิ้งไว้ต่ออีก.30  วัน
         6.  นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง 2 – 3  ครั้ง เก็บไว้ในถังที่เตรียมไว้อีก 1  ใบ จะได้              น้ำหมักของผลมะกรูด  100 % ที่มีคุณสมบัติในการทำแชมพู ซึ่งอุดมไปด้วย              วิตามินจากผลมะกรูดที่รักษาหนังศีรษะและบำรุงเส้นผมให้ดกเงางาม
              ดูแลรากผมให้แข็งแรงไม่หลุดร่วงง่าย
วิธีทำน้ำหมักใบน้อยหน่า
         1.  ล้างใบน้อยหน่าให้สะอาดด้วยน้ำเปล่า
         2.  หั่นหรือฉีกใบน้อยหน่าทั้งหมดจำนวน  3  กิโลกรัมเป็นชิ้นเล็ก ๆ
         3.  นำใบน้อยหน่าที่ฉีกไว้ทั้งหมดจำนวน  3  กิโลกรัมที่หั่นเป็นแว่นๆ แล้วนั้น
     ใส่ลงในถังพลาสติกที่เตรียมไว้   
         4.  เทผงน้ำตาลทรายแดงปริมาณ  1  กิโลกรัมคลุกผสม และปิดฝาถังทิ้งไว้
              จำนวน    15   วัน   
         5.  เมื่อหมักครบ 15  วันให้เทน้ำเปล่าที่สะอาดปริมาณจำนวน    10   ลิตร
              ใส่ลงในถังใบเดิมและปิดฝาทิ้งไว้ต่ออีก.  30   วัน
         6.  นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง 2 – 3  ครั้ง เก็บไว้ในถังที่เตรียมไว้อีก 1  ใบ จะได้              น้ำหมักของใบน้อยหน่า  100 % ที่มีคุณสมบัติเป็นส่วนผสมทำแชมพูสระผม
              เพื่อกำจัดเหาร่วมกับน้ำหมักผลมะกรูดที่มีสรรพคุณรักษาหนังศีรษะและ
              บำรุงเส้นผมให้ดกเงางามดูแลรากผมให้แข็งแรงไม่หลุดร่วงง่าย


     วิธีทำแชมพูสระผมกำจัดเหาชีวภาพ

วัตถุดิบ   อัตรา   คุณสมบัติ   หมายเหตุ
1. น้ำหมักมะกรูด+ใบน้อยหน่า   8  ลิตร   เป็นสมุนไพรจำกัดเหา และชะลอผมหงอก   
2. เอ็น 70 ( หัวแชมพู )   1  กก.   ผมสลวย มีน้ำหนัก   
3. ลาโนลิน   1  ขีด   สร้างความมัน,ให้ความลื่นแก่เส้นผม   
4. ผงฟอง   1  ขีด   ทำให้เกิดฟอง   
5. เค ดี   2  ขีด   ชำระล้าง,สร้างความชุ่มชื่น   
6. ผงข้น   1  ขีด   ปรับความข้น   
7. หัวน้ำหอม (หรือน้ำหอมตามใจชอบ )   20  ชีชี   ให้ความหอม   
8. น้ำสะอาด   6  ลิตร   ได้ปริมาณ   
ขั้นตอนการผลิต
-   นำ  N 70 มากวน เติมน้ำที่ละน้อย ๆ ( หยาดน้ำ ) กวนให้เข้ากันจนน้ำหมด 3  ลิตร
-   นำน้ำสมุนไพรมะกรูด+ใบน้อยหน่าผสมลงไป จนกว่าน้ำจะครบ
-   นำลาโนลิน, ( ตั้งไฟอ่อน ๆ จนเป็นเนื้อเดียว ) เค ดี ผสมลงไป กวนให้เข้ากัน
-   เติมน้ำหอม,สี ผสมลงไป กวนให้เข้ากัน
-   ปล่อยให้ฟองยุบตัว
-   บรรจุขวด
*  ข้อสังเกต * ถ้าเนื้อครีมเหลวหรือมีฟองให้เติมผงข้น และกวนไปเรื่อย ๆ จนกว่าเนื้อครีมเหนียว จึงเติมน้ำต่อ




คำชี้แจง     ให้นักเรียนทำแบบทดสอบ โดย กาเครื่องหมาย  X  ทับอักษรข้อที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
          ข้อละ  1  คะแนน   จำนวน  20    ข้อ   คะแนนเต็ม  20  คะแนน
*********************************************************************************
1.  เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิตแบบใด
                ก.  ประหยัด
                ข.  ทางสายกลาง
                ค.  เพียงพอ
                ง.   หากินตามธรรมชาติ

2.  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีสามองค์ประกอบ คือ
                ก.  ทางสายกลาง,  มีเหตุมีผล,  พอประมาณ
                ข.  พอประมาณ,   มีเหตุมีผล,  มีคุณธรรม
                ค.   พอประมาณ,  มีถูมิคุ้มกัน,  มีเหตุมีผล
                ง.   มีเหตุมีผล,  มีภูมิคุ้มกัน,  มีความรู้

3.  เงื่อนไขในการดำเนินวิถีแบบเศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง
                ก.  ความรู้และความพอประมาณ
                ข.  ความรู้และคุณธรรม
                ค.   ความพอดีและความพอเพียง
                ง.   ความรู้    ความพอเพียง และคุณธรรม

4.  การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงคือกิจกรรม
                ก.  ครอบครัว,  ชุมชน,   สังคม
                ข.  บุคคล,   ครอบครัว,  ชุมชน
                ค.  บุคคล,   ครอบครัว,  สังคม
ง.   ครอบครัว,  ชุมชน,  ประเทศชาติ
5.  เป้าหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ
                ก.  ชีวิตและสังคมอยู่ดีกินดี
                ข.  ครอบครัวพออยู่พอกินพึ่งพาตนเองได้
                ค.  เศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อมยั่งยืน
                ง.   การพึ่งพาตนเองได้ของชุมชน
                ง.   จิตใจ,  สังคม,  เทคโนโลยี,  เศรษฐกิจ,  ทรัพยากร

6.  ความมีเหตุมีผลสามารถทำได้โดย
                ก.  ลดรายจ่าย   เพิ่มรายได้    เลิกอบายมุข
                ข.  ลดรายจ่าย   ออมเงินเพื่อลงทุน    เลิกอบายมุข
                ค.  เลิกอบายมุข   ปฏิบัติตามคำสอน   หาความรู้เพิ่ม
                ง.   ออมเงินเพื่อลงทุน   เลิกอบายมุข   เพิ่มรายได้

7.  การสร้างภูมิคุ้มกันให้ครัวเรือนมีเป้าหมายเพื่ออะไร
                ก.  สืบทอดประเพณีที่ดีงาม  ครอบครัวมีสุข
                ข.  สร้างอนาคตครอบครัว  ลดรายจ่ายฟุ่มเฟือย
                ค.  ออมเงินไว้เมื่อจำเป็น  เพิ่มทรัพยากร
                ง.   ฝึกทักษะอาชีพ   ดำรงตนตามคำสอนที่ดี

8. การดำเนินชีวิต อย่างไร จึงจะสอดคล้องกับแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
                ก.  เดินทางสายกลาง และพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ
                ข.  ไม่แก่งแย่งแข่งขันกับใคร
                ค.  ไม่ก่อหนึ้
                ง.   ไม่ลงทุนทำกิจการ

9.  พระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ว่า   ความเป็นอยู่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง   หมายถึงข้อใด
                ก.  กินดีอยู่ดีตามมาตรฐานคุณภาพชีวิต
                ข.  ใช้จ่ายเพื่อแสงวงหาความสุขตามฐานะ
                ค.  กินอยู่พอประมาณ ไม่บริโภคสิ่งนอกเหนือปัจจัยสี่
                ง.   กินอยู่อย่างง่ายๆ ตามสมควรแก่อัตภาพ
10.  นักเรียนสามารถผลิตน้ำยาอเนกประสงค์ชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือนเป็นการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงข้อใด
                ก.  ลดรายจ่ายในครัวเรือน
                ข.  ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
                ค. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                ง.   เพิ่มรายได้ในครัวเรือน

11.  ข้อใดเป็นประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ 
                ก.  มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ 
                ข.  ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
                ค.  ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
                ง.   ถูกทุกข้อ

12.  พืช ผัก และผลไม้ในท้องถิ่นชนิดใดบ้างที่นำมาทำน้ำหมักชีวภาพได้
                ก.  ลูกยอ  มะเฟือง  มะนาว  มะกรูด
                ข.  มะยม  มะดัน  มะละกอ  มะไฟ
                ค.  ฟักทอง  กล้วย  ผักบุ้งนา  มะเม่า
                ง.   ถูกทุกข้อ

13.  น้ำยาอเนกประสงค์ชีวภาพมีส่วนประกอบของน้ำหมักของผลไม้ชนิดใด
                ก.  ผลมะนาว
                ข.  ผลลูกยอ
                ค.  ผลมะกรูด
                ง.   ถูกทั้งข้อ ก และข้อ  ค

14.  แมลงชนิดใดที่อาศัยอยู่กับร่างกายของคนและเป็นอันตราย ต่อศีรษะและสุขภาพของเส้นผม
       ก.  เห็บ
       ข.  เหา
        ค.  ไร
        ง.  โลน

15.  แชมพูกำจัดเหาชีวภาพมีส่วนประกอบของน้ำหมักของผลไม้ชนิดใด
                ก.  ผลมะเฟือง
                ข.  ผลลูกยอ
                ค.  ผลมะกรูด
                ง.   มะนาว

16.   แชมพูกำจัดเหาชีวภาพมีส่วนประกอบของพืชสมุนไพรชนิดใด
                ก.  ว่านหางจระเข้
                ข.  ใบสะเดา
                ค.  ใบน้อยหน่า
                ง.   ใบฟ้าทะลายโจร

17.   ใบน้อยหน่ามีสรรพคุณทางยาสมุนไพรอย่างไร 
                ก.  บำรุงเส้นผม
                ข.  ดูแลหนังศีรษะ
                ค.  ฆ่าเหาและไข่เหา
                ง.   ป้องกันโรคชันตุ

18.   ผลมะกรูดมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรอย่างไร 
                ก.  บำรุงเส้นผม
                ข.  ดูแลหนังศีรษะ
                ค.  บำรุงรากผมให้แข็งแรง
                ง.   ถูกทุกข้อ

19.   ข้อใดเป็นประโยชน์ของการผลิตแชมพูกำจัดเหาชีวภาพ 
                ก.  ผลิตเองได้จากสมุนไพรธรรมชาติ
                ข.  ลดรายจ่ายในครัวเรือน
                ค.  รักษาสิ่งแวดล้อม
                ง.   ถูกทุกข้อ

           
คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแล้วตอบคำถามต่อไปนี้

1.  ความพอเพียงหมายถึง  ...
   ...
   ...
   ...
   ...
   ...


2.  เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึง ...
   ...
   ...
   ...
   ...
   ...
   ...
   ...
   ...
   ...
   ...

คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแล้วระดมความคิดของสมาชิกในกลุ่ม
      ยกตัวอย่างการปฏิบัติตนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไรบ้าง
      โดยเขียนลงในกลีบดอกไม้พร้อมระบายสีให้สวย
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกวิธีการศึกษาตามความถนัดในประเด็นต่อไปนี้  (เป็นการบ้าน)
1. สมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ในการรักษาเหาคืออะไรบ้าง

...
...
...

ผู้ให้ข้อมูล.............................................

2. ส่วนใดของพืชที่ใช้รักษาเหา

...

ผู้ให้ข้อมูล.............................................


3. มีวิธีการทำยารักษาเหาจากพืชได้อย่างไร
...
...
...
...

ผู้ให้ข้อมูล.............................................


ให้นักเรียนแต่ละคนนำเสนอข้อมูลที่นักเรียนไปค้นคว้าเป็นการบ้านมา หน้าชั้นเรียนทีละคน
ครูผู้สอน  นำข้อมูลของนักเรียนที่ให้การบ้านไปมาสรุปจำนวน ข้อมูลสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ในการรักษาเหามาสรุปเพื่อนำเข้าสู่การเรียนเรื่องการทำแชมพูกำจัดเหาชีวภาพ

12. แบ่งกลุ่มนักเรียน
12.1 ให้นักเรียนแต่ละคนเลือกคลำดูสิ่งของในถุงคือ มะกรูดและใบน้อยหน่าเพียง 1 ชนิดแล้วดมกลิ่น และบอกว่าเป็นกลิ่นของอะไร
12.2 แบ่งนักเรียนออกตามกลิ่นคือกลุ่มมะกรูดและกลุ่มน้อยหน่า
หมายเหตุ : ครูได้ค้นพบศักยภาพและความต้องการของนักเรียนที่มีความสงสัยว่า "ถ้าจะใบน้อยหน่าและมะกรูดมาผสมกันจะทำได้ครู นักเรียนและวิทยากรภูมิปัญญาร่วมร่วมกระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุข

กระบวนการเรียนรู้

ทดสอบก่อนเรียน

1. นักเรียนช่วยกันบอกชื่อแมลงที่นำโรคมาสู่คน หรือเป็นอันตรายต่อคนเช่น มด ยุง ไร หมัด เห็บ เหา ฯลฯ
2. นักเรียนช่วยกันคิดว่าแมลงชนิดใดที่อาศัยอยู่กับร่างกายของคนและเป็นอันตราย ต่อศีรษะและสุขภาพของเส้นผม (เหา) และช่วยกันอภิปรายว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง
3. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม
3.1 แจกกระดาษ ให้นักเรียนช่วยกันวาดภาพเหาที่นักเรียนคิดว่าน่าจะมีลักษณะอย่างไร เขียนชื่ออวัยวะกำกับ
3.2 นำภาพเหาของแต่ละกลุ่มเสนอหน้าชั้นเรียน ให้เพื่อน ๆ กลุ่มอื่นช่วยกันแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
หมายเหตุ : ครูจะเห็นความแตกต่างทางความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของนักเรียนแต่ละ กลุ่ม และนักเรียนจะม๊โอกาสแลกเปลี่ยนและเพิ่มเติมประสบการณ์จากเพื่อน ๆ และเติมเต็มส่วนที่บกพร่องของตนเอง
4.นักเรียนช่วยกันเสนอแนะว่าจะเรียนรู้เรื่องตัวเหาด้วยวิธีใดบ้าง เพราะเหาเป็นสัตว์เล็ก มองด้วยตาเปล่าจะเห็นความละเอียดชัดเจนหรือไม่
5. ให้นักเรียนสังเกตกล้องจุลทรรศน์ ดูลักษณะ ส่วนประกอบและคาดเดาว่าคืออะไร สามารถใช้ประโยชน์อย่างไร
6. ให้นักเรียนดูตัวเหา
6.1 ดูด้วยตาเปล่า และบอกลักษณะ สี รูปร่าง อวัยวะ
6.2 ดูจากกล้องจุลทรรศน์
6.3 เปรียบเทียบจากการดูเหาทั้ง 2 วิธีการ
7. นักเรียนช่วยกันสรุปความสำคัญของกล้องจุลทรรศน์
8. ติดบัตรคำ "กล้องจุลทรรศน์" ให้นักเรียนอ่าน และครูอธิบายสรุปความสำคัญและประโยชน์ของกล้องจุลทรรศน์
9. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวาดภาพเหาที่ดูจากกล้องจุลทรรศน์ และเปรียบเทียบกับเหาจากรูปภาพ แลกเปลี่ยนประสบการณ์หน้าชั้นเรียนอีกครั้งหนึ่ง
........................
10. ให้นักเรียนบอกวิธีการรักษาความสะอาดของร่างกาย ทุก ๆ ส่วน
10.1 วิธีการรักษาความสะอาดของผม
10.2 การใช้ยาสระผม
11. ให้นักเรียนไปถามผู้ปกครองว่าในสมัยโบราณมีการใช้อะไรเป็นยาสระผมบ้าง และมีวิธีการปราบเหาได้อย่างไรโดยไม่พึ่งยาแผนปัจจุบัน
........................
12. แบ่งกลุ่มนักเรียน
12.1 ให้นักเรียนแต่ละคนเลือกคลำดูสิ่งของในถุงคือ มะกรูดและใบน้อยหน่าเพียง 1 ชนิดแล้วดมกลิ่น และบอกว่าเป็นกลิ่นของอะไร
12.2 แบ่งนักเรียนออกตามกลิ่นคือกลุ่มมะกรูดและกลุ่มน้อยหน่า
หมายเหตุ : ครูได้ค้นพบศักยภาพและความต้องการของนักเรียนที่มีความสงสัยว่า "ถ้าจะใบน้อยหน่าและมะกรูดมาผสมกันจะทำได้หรือไม่"
12.3 ครูจึงถามความต้องการของนักเรียนมีใครอยากจะทดลองอยู่กลุ่มนี้หรือไม่ จึงเกิดกลุ่มใหม่ขึ้นอีก 1 กลุ่มรวมเป็น 3 กลุ่ม
13. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดที่ได้มาจากผู้ปกครองว่าการใช้ มะกรูด และใบน้อยหน่า หรือมะกรูดผสมใบน้อยหน่า จะนำมาเป็นยาปราบเหาได้อย่างไร
14. ให้นักเรียนไปเชิญผู้ปกครองมาช่วยเหลือและร่วมเป็นวิทยากร
.............................
15. วิทยากร สาธิตการทำน้ำมะกรูด น้ำใบน้อยหน่า และน้ำมะกรูดผสมน้ำใบน้อยหน่า ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสังเกต
16. คัดเลือกนักเรียนหญิงที่เป็นเหา และถามความต้องการที่จะทดลองด้วยวิธีใด ทำการฟอกศีรษะด้วยนำยาสมุนไพรในข้อ 15 ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาดและแชมพู
17. ให้นักเรียนทุกคนสังเกตความสะอาด และเหาบนศีรษะของแต่ละคน
18. นักเรียนช่วยกันสรุปว่า
18.1 พืชสมุนไพรพื้นบ้านสามารถปราบเหาได้หรือไม่
18.2 พืชสมุนไพรชนิดใดปราบเหาได้ดีที่สุด
19. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปความสำคัญของพืชสมุนไพรพื้นบ้านอีกครั้งหนึ่ง
..........................
20. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนบรรยายวิธีการตามประเด็นต่อไปนี้
20.1 เหามีลักษณะอย่างไร ทำไมชอบขึ้นอยู่บนศีรษะของนักเรียนหญิง และเป็นอันตรายต่อคนอย่างไร
20.2 คนที่มีเหาอยู่บนศีรษะจะมีอาการอย่างไร
20.3 พืชสมุนไพรพื้นบ้านที่ช่วยในการรักษาเหาได้เป็นอย่างดีคืออะไร
21. ทดสอบหลังเรียน
.....................................
22. ช่วยกันตั้งชื่อผลงาน
สรุปจากความคิดของนักเรียนว่า"หนูน้อยมือปราบ"
23. แสดงนิทรรศการ

ใบงานที่ 1
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกวิธีการศึกษาตามความถนัดในประเด็นต่อไปนี้
1. สุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ในการรักษาเหาคืออะไรบ้าง
...
แหล่งเรียนรู้........................................ผู้ให้ ข้อมูล..................................................
2. ส่วนใดของพืชที่ใช้รักษาเหา
...
แหล่งเรียนรู้........................................ผู้ให้ ข้อมูล..................................................
3. มีวิธีการทำยารักษาเหาจากพืชได้อย่างไร
...
แหล่งเรียนรู้.........................................ผู้ให้ ข้อมูล................................................

ใบงานที่ 2
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนประโยคที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับสุขภาพจากคำต่อไปนี้
1. มะกรูด...
2. น้อยหน่า...
3. เหา...
4. สระ ผม...
5. สมุนไพร...................................................................................................

ใบงานที่ 3
คำชี้แจง ให้นักเรียนสังเกตยาสระผม 5 ชนิดและบันทึกสิ่งต่อไปนี้
1. ภาษาไทยชื่อแชมพู ภาษาอังกฤษชื่อ........................................................
แหล่ง ข้อมูล..............................................................................................
2. ส่วนผสมของยาสระ ผม................................................................................
แหล่ง ข้อมูล..............................................................................................
3. ราคาแต่ละชนิด................ .................... ............... ................... .........
แหล่ง ข้อมูล..............................................................................................
4. ปริมาณของยาสระผมแต่ละชนิด............ ............... .............. ....................
แหล่ง ข้อมูล..............................................................................................

ใบงานที่ 4
คำชี้แจง ให้นักเรียนจดบันทึกประสบการณ์
1. วิทยากรภูมิปัญญาที่ให้ความรู้แก่นักเรียนชื่อ......................... อายุ...........อาชีพ.........
ที่ อยู่...
2. ขั้นตอนการทำสมุนไพรรักษาเหาจากใบน้อยหน่า
...
3. ลักษณะของน้ำสมุนไพรใบน้อยหน่า
3.1 สี............................................. ปริมาณ...................................................
3.2 กลิ่น.........................................ความเข้ม ข้น............................................
4. เหตุใดน้ำสมุนไพรใบน้อยหน่าจึงรักษาเหา ได้........................................................
...


น้ำหมักชีวภาพกำจัดเหา


วัสดุอุปกรณ์ 
   ...........................................................................
   ...........................................................................
   ...........................................................................
   ...........................................................................
   ...........................................................................
   ............................................................................

ขั้นตอนการทำน้ำหมัก ขั้นตอนช่วงที่  1
   ............................................................................
   ............................................................................
   ............................................................................
   ............................................................................
   ............................................................................
   ............................................................................
   ............................................................................
   ............................................................................
   ............................................................................
   ............................................................................
   ............................................................................

ขั้นตอนการสอน
   1.  แบ่งนักเรียนออกเป็น  2  กลุ่ม
   2.  แนะนำคุณสมบัติของใบน้อยหน่า และผลมะกรูด
   3. ให้นักเรียนจับต้อง สูดดม สังเกต  ใบน้อยหน่าและผลมะกรูดด้วยวิธีต่าง ๆ
   4.  บอกอธิบายคุณสมบัติของน้ำหมัก(ที่จะนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการทำแชมพูกำจัดเหา)
   5.  ให้นักเรียนดูตัวอย่างน้ำหมัก (ที่หมักสำเร็จพร้อมใช้แล้ว)
   6.  แนะนำอุปกรณ์  วัสดุที่จะนำมาทำน้ำหมักชีวภาพ
   7.  แจกวัสดุอุปกรณ์ให้ครบทั้ง  2  กลุ่ม
   8.  เน้นล้างผลมะกรูด และใบน้อยหน่าให้สะอาด
   9.  เน้นตรวจสอบการชั่งกิโล
  10.  เน้นตรวจสอบปริมาณน้ำตาล
  11.  แสดงวิธีทำน้ำหมักชีวภาพทีละขันตอนพร้อมบอกให้นักเรียนปฏิบัติ   จนครบขั้นตอนระยะที่  1    (จบ)

  12.  ให้นักเรียนทำใบงาน  (บันทึกขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพ)[/color]



Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.065 seconds with 21 queries.