Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 22:11:56

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  วิถีสู่ชีวิตแห่งความพอเพียง  |  การศึกษาทางเลือก  |  การศึกษาทางเลือกคืออะไร
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: การศึกษาทางเลือกคืออะไร  (Read 1684 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 22 December 2012, 05:27:48 »

การศึกษาทางเลือกคืออะไร


เมื่อได้ยินคำว่า “ การศึกษาทางเลือก” เชื่อว่า คงสร้างความกังขาในใจของทุกท่านไม่มากก็น้อย การศึกษาทางเลือก คืออะไร ทำไมจึงเรียกว่า การศึกษาทางเลือก เหมือนหรือต่างจากการจัดศึกษาในโรงเรียนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ความหมายของการศึกษาทางเลือกจาก Dictionary of Education ของประเทศอังกฤษที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) จัดแปลไว้เป็นเอกสารอัดสำเนา มีดังนี้

1. Alternative Schooling เป็นคำที่ใช้เพื่อแสดงถึงรูปแบบของการจัดการศึกษา ซึ่งแตกต่างไปจากการศึกษาแบบเดิม (tradition) ที่จัดโดยรัฐ หรือโดยตัวแทนอื่น Alternative Schooling ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับแนวคิด ในเชิงการเปลี่ยนแปลงจากรุนแรงแบบถอนรากถอนโคน (radical) และก้าวหน้า (progressive) เช่น การไม่ใช้หลักสูตรและวิธีการสอนของการศึกษาในระบบ

2. การศึกษาทางเลือก ( Alternative Education) เป็นการศึกษาเชิงอุดมคติ เพื่อแสดงถึงคุณลักษณะของรูปแบบการศึกษาที่ไม่ใช่การศึกษาแบบเดิม มักจะถือว่าเป็นโรงเรียนอิสระ ( Free School) หรือเป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ไม่มีสถาบันการศึกษา (non-institutional) และยึดชุมชนเป็นหลัก (community – base) ลดบทบาทของการจัดการศึกษาในรูปแบบโรงเรียน และหากเป็นการจัดการศึกษาในโรงเรียน ก็จะเป็นการจัดการศึกษาแบบก้าวหน้า (progressive)
พิภพ ธงไชย (ผู้ก่อตั้งโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จ.กาญจนบุรี) ผู้บุกเบิกการศึกษาทางเลือกเมื่อ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ถอดบทเรียนเขียนถึงการศึกษาทางเลือกไว้ในเวลาต่อมาว่า “ การศึกษาทางเลือก คือ ระบบการจัดการศึกษาที่หลากหลาย ยืนอยู่บนรากฐานทางศาสนธรรม รากฐานทางปัญญา รากฐานทางจิตวิทยา เพื่อพัฒนาเด็กให้เจริญเติบโตตามศักยภาพ ในธรรมชาติของตัวเด็กโดยเน้นที่ความสุขและการอยู่ร่วมกันแบบสันติ รูปแบบการศึกษาทางเลือกจะเป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน และกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งเนื้อหาสาระที่เรียนรู้

โครงการวิจัยการศึกษาทางเลือก : ฐานข้อมูลและการวิเคราะห์ เพื่อสำรวจและจัดทำทำเนียบผู้จัดการการศึกษาทางเลือกในบริบทต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับสังคม โครงการดังกล่าวเป็นการสำรวจกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่มีการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องทั้งกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ กระแสการเรียนรู้ทางเลือก ที่น่าจะเป็นการศึกษาในความหมายที่แท้จริง อันหมายถึงการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทั้งปัจเจกและชุมชน เป็นการเรียนรู้ความดี ความงาม ความจริงเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งกาย ใจ จิตวิญญาณ และเป็นการศึกษาที่แก้ทุกข์แก้จนได้

           ซึ่งสำคัญกว่า “ เก่ง ดี มีความสุข” ของใครของมันเสียอีก

           การศึกษาทางเลือกดังกล่าวนี้ พบว่าจำแนกได้ ๗ ฐานการเรียนรู้คือ

            ๑.การศึกษาทางเลือกที่จัดโดยครอบครัว หรือ Home School ครอบคลุมทั้งแบบครอบครัวเดี่ยวและกลุ่มครอบครัวหรือเครือข่าย ปัจจุบันมีอยู่เกือบ ๑๐๐ ครอบครัวทั่วประเทศ

            ๒.การศึกษาทางเลือกที่อิงกับระบบของรัฐ ได้แก่ โรงเรียนในระบบที่จัดกระบวนการเรียนรู้แบบ เน้นการปฏิบัติและประสบการณ์ของผู้เรียน มีการสร้างเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้อยู่เสมอ เช่น โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก โรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนปัญโญทัย เป็นต้น

           ๓.การศึกษาทางเลือกสายครูภูมิปัญญา ได้แก่ พ่อครูแม่ครู ปราชญ์ชาวบ้าน ที่สังกัดกลุ่มหรือเครือข่าย และดำเนินการถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่ชนรุ่นหลังทั้งแบบเสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย ในความรู้ด้านศิลปะการช่าง การแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพร การอ่านเขียนอักษรโบราณ นาฏศิลป์พื้นบ้าน เป็นต้น

           ๔.การศึกษาทางเลือกสายศาสนธรรม ซึ่งจัดกระบวนการเรียนรู้แก่สมาชิกและสาธารณะโดยเน้นศาสนธรรม มีกิจกรรมการฝึกฝนจิตใจและวิถีชีวิตทั้งแนวปฏิบัติธรรม การปฏิบัติสมาธิ แนวต่อต้านบริโภคนิยม แนวเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น ได้แก่ สัมมาสิกขา สันติอโศก ปอห์เนาะ

            ๕.การศึกษาทางเลือกที่เป็นสถาบันนอกระบบรัฐ ได้แก่ กลุ่มกิจกรรมทางการศึกษาที่มีเจตนาในการจัดการเรียนรู้แก่กลุ่มเป้าหมายของตน ในรูปแบบกระบวนวิชา การฝึกอบรม การบรรยาย เช่น สถาบันการเรียนรู้ขององค์กรพัฒนาเอกชน ศูนย์ ชมรม อาทิ เสมสิกขาลัย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มหาวิชชาลัยชุมชนปักษ์ใต้ โรงเรียนใต้ร่มไม้ โรงเรียนชาวนา สถาบันโพธิยาลัย เป็นต้น

           ๖.การศึกษาทางเลือกของกลุ่มการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม เป็นภาคการเรียนรู้ที่กว้างขวางหลากหลายที่สุด ทั้งกลุ่มการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมออมทรัพย์ การเกษตร การแพทย์พื้นบ้าน การพัฒนาอาชีพ การสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรม การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ – สิ่งแวดล้อม การอนามัยและสาธารณสุข การป้องกันยาเสพติด สิทธิชุมชน เป็นต้น

           ๗.การศึกษาทางเลือกผ่านสื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ ทั้งที่ผ่านสื่อสารมวลชนประเภทสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์และสื่อสมัยใหม่อย่างเว็บไซต์ รวมถึงห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ แหล่งท่องเที่ยว หรือแหล่งเรียนรู้สาธารณะที่ให้สาระความรู้ มีความต่อเนื่อง ก่อเกิดการเรียนรู้อย่างใ[คำไม่พึงประสงค์]ย่างหนึ่ง

จุดเด่นของการศึกษาทางเลือก

1 การศึกษาทางเลือก มิได้มีเป้าหมายการศึกษาเพื่อสนับสนุนปัจเจกบุคคล อย่างที่การศึกษาทั้ง 3       ระบบนั้นเป็น หากแต่มีเจตนาเพื่อพัฒนาศักยภาพส่วนรวม แก้ปัญหาของส่วนรวม

2. การศึกษาทางเลือก มุ่งเน้น ” กระบวนการของการเรียนรู้” แบบเอาปัญหาเป็นตัวตั้ง
      มิใช่เอาหลักสูตรเป็นตัวตั้ง

3. การศึกษาทางเลือก เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์        มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างเสมอภาคภายในกลุ่ม – ชุมชน        มิได้มีผู้สอนและผู้เรียนที่สัมพันธ์กันในเชิงอำนาจ

4. การศึกษาทางเลือก มิได้มีเนื้อหาหลักสูตรใด ๆ ที่อิงต่อระดับทางการแต่อย่างใด         หากแต่เป็นองค์ความรู้ที่สังเคราะห์ขึ้นจากปัญหาชุมชนเอง

5. การศึกษาทางเลือก ไม่ได้ต้องการสร้างผู้เรียนที่มีความเหมือน          หากแต่ต้องการให้ความต่างงอกงามอย่างเป็นไทย

การศึกษาทางเลือกในสังคมไทยที่กำลังดำเนินอยู่อย่างหลากหลาย ไม่ว่าด้วยรูปแบบเนื้อหาอย่างไรต่างมีเอกภาพร่วมกันที่สำคัญคือ

ปรัชญา – เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการศึกษา การศึกษาทางเลือกมีปรัชญาเป้าหมายที่การพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ซึ่งมิได้หมายถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์โดยลำพังปัจเจก หากแต่สมบูรณ์ทั้งกาย ใจ จิตวิญญาณ อันจะทำให้เกิดคุณภาพในความสัมพันธ์กับผู้อื่น
ซึ่งในส่วนของการศึกษาของชุมชน การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งกาย ใจ จิตวิญญาณ มีความหมายถึงสุขภาวะของชุมชนส่วนรวมด้วย เพราะบุคคลที่สมบูรณ์ทั้งกายใจจิตวิญาณ ย่อมถึงพร้อมด้วยวุฒิภาวะและคุณธรรมที่จะทำประโยชน์ แก่ผู้อื่น แล้ส่วนรวม ปรารถนาให้ชุมชนและส่วนรวมได้พัฒนาก้าวหน้า

กระบวนการเรียนรู้ ที่มีการบูรณาการ วิธีการกับเนื้อหาเข้าด้วยกันอย่างเป็นองค์รวม เหมาะแก่ผู้เรียน และในกระบวนการนั้นเป็นปฏิสัมพันธ์ ที่ทำให้ผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาค คือทุกส่วนร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน ไม่ใช่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
เนื้อการเรียนรู้ จะต้องสอดคล้องกับปัญหา และชีวิตจริงของผู้เรียนรู้ หรือเกิดจาการอยากรู้ของผู้เรียนรู้เอง และเนื้อหานั้นมีผลทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาตัวเอง และชุมชนไปพร้อมกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นเนื้อหาที่รับใช้ส่วนรวม
 จากนิยามความหมายข้างต้น เห็นได้ว่า การจัดการศึกษาในโรงเรียนปัจจุบันจำนวนหนึ่ง ก็มีลักษณะการจัดการศึกษาทางเลือกในรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน การจัดกระบวนการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียนเป็นรายบุคคลหรือกลุ่ม การใช้ สื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมอย่างได้ผล ด้วยวิธีการดำเนินงานที่หลากหลายและยืดหยุ่นเหมาะสม
กับบริบทของโรงเรียน ผู้เรียน และชุมชน


ที่มา
กลุ่มพัฒนาการศึกษาเชิงรุก สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
http://teacher.obec.go.th/index1.htm

Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.039 seconds with 21 queries.