ถ้าจะพูดถึง “ผงนัว” ชาวอีสานคงไม่มีใครไม่รู้จัก แต่ถ้าถามคนที่ไม่ได้เป็นชาวอีสานแล้ว คงต้องงงแน่ๆใช่ไหมครับว่า ผงนัว มันคืออะไร ทำไมต้องเรียกกันว่าผงนัวด้วย วันนี้ผมมีคำตอบมาให้เพื่อนๆหายสงสัยแน่ๆครับ มารู้จักผงนัวกันเถอะครับ
ผงนัว เป็น ภูมิปัญญาของชาวอีสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดูเหมือนไม่ได้มีความสำคังญอะไร จึงถูกนำมาปัดฝุ่นอีกครั้ง และเป็นที่น่ายินดีว่า ทีมนักวิจัยจากแดนอีสานได้คิดค้น "ผงนัว" ขึ้นมาประกอบอาหารให้มีรสชาติถูกใจแน่ๆครับ คำว่า นัว หมายถึง รสกลมกล่อมของอาหาร เช่น ต้ม แกง ลาบก้อย มีรสกลมกล่อม จะเรียกว่า นัว แบบสำเร็จรูปขึ้นมา โดยต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ใช้พืชผักสมุนไพรทำเครื่องปรุงเพื่อเพิ่มรสชาติให้อาหาร สำหรับผักที่ใช้ผลิตทำผงนัวมี 12 ชนิด ได้แก่ ใบผักหวาน, ใบมะรุม, ใบหม่อน, ใบกระเทียม, ใบหอม, ใบมะขาม, ใบกระเจี๊ยบ, ผักโขมทั้งต้น, ใบส้มป่อย, ใบน้อยหน่า, ใบชะมวง, ใบกุยช่าย เลือกใบที่ไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป โดยผสมผักพื้นบ้านในอัตราส่วนที่ต่างกันไป แต่ที่มีอัตราส่วนปริมาณมากคือผักหวานและใบหม่อน รองลงมาเป็นใบมะรุม และที่ใส่ลงไปน้อยสุดคือใบน้อยหน่า เนื่องจากใบน้อยหน่ามีพิษ ซึ่งคนสมัยโบราณยังเคยนำใบน้อยหน้ามาฆ่าเหา ถ้าหากว่าเราใส่เข้าไปแต่น้อยๆก็ถือว่าเป็นยาได้ครับ แล้วเพิ่มข้าวเหนียวแช่น้ำ ข้าวกล้องแช่น้ำ และข้าวเหนียวนึ่งสุก ข้าวกล้องหุงสุก เติมเกลือไอโอดีนลงไป ผ่านการอบแห้งแล้วป่นรวมกัน ซึ่งงานวิจัยผงนัว ยังคงส่วนผสมที่ชาวบ้านเคยทำไว้ แต่มาปรับปรุงด้านสัดส่วน และเพิ่มเกลือไอโอดีนลงไป พร้อมดัดแปลงเรื่องของรสชาติ ที่เหมาะกับอาหารแต่ละชนิดด้วย
ผงนัว ปรุงจากผัก 12 ชนิด
ผงนัวจากงานวิจัยได้มีการทดสอบรสชาติให้เป็นที่น่าพอใจ จึงมีด้วยกัน 2 รส คือ รสมันหวาน ใช้สำหรับต้ม ผัด หมัก แกงและย่าง และรสเปรี้ยวใช้กับต้มยำ ยำ ลาบ อ่อม แจ่ว รสนี้เพิ่มผักที่มีรสเปรี้ยว พวกส้มป่อยหรือใบมะขาม ทั้งนี้รสชาติของผงนัวจะเพิ่มรสให้อาหารได้นั้นต้องใส่ในน้ำต้มแกงตอนร้อนๆ ถ้าชิมจะไม่มีรสชาติ แต่รู้สึกได้ว่ามีรสปะแล่มๆ คล้ายผงชูรสที่ขายตามท้องตลาด การทำผงนัวจริงๆแล้วต้องใช้เวลากันทั้งปี เพื่อเก็บใบผักพื้นบ้านให้ครบตามสูตร เนื่องจากผักแต่ละชนิดจะมีฤดูกาลของมัน พวกใบหอม ใบกระเทียมจะมีตอนฤดูหนาว ผักหวานต้องรอให้ถึงหน้าฝนจึงจะมีใบ อาจารย์นิภาพร อธิบาย
ส่วนอาจารย์ ยงยุทธ ตรีนุชกร ครูภูมิปัญญาไทยกล่าวว่า ความคืบหน้าเรื่องการผลิตผงนัวนั้น ช่วงนี้ชาวบ้านเริ่มทำโครงการผลิตออกขายภายนอก เป็นการรวมตัวของเครือข่ายอินแปง จังหวัดสกลนคร พัฒนาสูตรไปเรื่อยๆ กำลังคิดว่าจะทำเป็นผงโรยให้เด็กกิน ใส่งา ใส่สาหร่าย (ไกแม่นํ้าโขง) ผสมเข้าไปด้วย ก็จะเป็นอาหารสำหรับเด็ก หรือทำเป็นแจ่ว ก็ปรับเป็นผง เป็นก้อน คงไม่ทำเป็นเกล็ดคล้ายผงชูรส ตอนนี้มีแบบผงอย่างเดียว แบบก้อนกลมๆ ชาวบ้านทำไว้ใช้รับประทานกันเอง ตอนนี้ให้ทางมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอทุน สวทช. เพื่อทำวิจัยว่า ในผงนัวมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนเท่าไหร่
ถ้าเพื่อนๆอยากรู้จักผงนัวมากขึ้นก็ติดตามอ่านต่อได้ที่นี่เลยครับ halalthailand.com ส่วนเพื่อนๆที่ยังไม่เคยลองปรับประทานผงนัวนี้ ก็ยังไม่สายครับถ้าเพื่อนๆได้เดินทางไปภาคอีสานแล้ว อย่าลืมถามถึงผงนัวนี้นะครับ ได้ลองสักครั้งก็อาจจะติดใจซื้อกลับมาไว้รับประทานเองที่บ้านก็ได้ครับ
ผงนัวรสแซบ จากรายการกินอยู่คือ
http://www.youtube.com/v/3MsZM7RLu54?version
กินอยู่คือ - ผงนัวรสแซบ 2Jun12
http://www.youtube.com/watch?v=3MsZM7RLu54
อีสานอินดี้ดอทคอม เรียบเรียงข้อมูล : ผงนัว ผงชูรส การทำผงนัว ผงปรุงรส
http://esanindy.com/b31/t406/msg536/#msg536
ผงนัว : มหัศจรรย์แห่งรสแซ่บ ภูมิปัญญาของชาวอีสาน
http://www.isangate.com/local/pong_nua.html
ผงสมุนไพร แซบนัวอีสาน
www.food4change.in.th/index.php/ผงสมุนไพร-แซบนัวอีสาน.html
ขอบคุณที่มาและภาพจากอินเตอร์เน็ท : th.wikipedia.orgเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น : ผงนัว ภูมิปัญญาชาวอีสาน ลองรับประทานกันแล้วหรือยัง