User Info
Welcome,
Guest
. Please
login
or
register
.
22 December 2024, 16:59:59
1 Hour
1 Day
1 Week
1 Month
Forever
Login with username, password and session length
Search:
Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ
http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618
Posts in
12,929
Topics by
70
Members
Latest Member:
KAN
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
|
ชุมชนต้นแบบแห่งความพอเพียง ๔ ภาค และ ชุมชนตัวอย่างทั่วโลก
|
ชุมชนพึ่งตนเองในต่างประเทศ
(Moderator:
MIDORI
) |
The Amish...ชุมชนเก่าแก่มากในสหรัฐ
0 Members and 1 Guest are viewing this topic.
« previous
next »
Pages:
[
1
]
Author
Topic: The Amish...ชุมชนเก่าแก่มากในสหรัฐ (Read 2196 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 331
The Amish...ชุมชนเก่าแก่มากในสหรัฐ
«
on:
22 December 2012, 05:06:07 »
http://www.boonniyom.net/_vdo/56-201008210501-43931974.flv
http://www.boonniyom.net/vdoclip-1785-0-0.html
http://amishamerica.com/
The Amish...ผู้หันหลังให้โลก
2 ตุลาคม 2006
เสียงปืนรัวก้องแหวกอากาศสะท้านยามเช้าอันเงียบสงบและเยือก
หนาวกลางเดือนตุลาคม สุดสิ้นเสียงปืน ชายหนุ่มวัยฉกรรจ์ก็ยืนร่ำไห้ท่าม
กลางศพเด็กสาวอามิชทั้งห้า จากนั้น ท่ามกลางความตื่นตะลึง เขาตัดสินใจ
เหนี่ยวไก ระเบิดสมองตนเองตายตามไปเช่นกัน
ไม่มีใครรู้เหตุผลที่แท้จริงที่ทำให้คนขับรถบรรทุกวัยสามสิบสองบุกเข้าไปใน
ห้องเรียนและจ่อยิงเด็กสาวชาวอามิชทั้งห้าจนเสียชีวิต และยิงตัวตายตาม
ทิ้งภรรยาและลูกอีกสามคนของตนให้เผชิญชะตากรรมตามลำพัง
แต่อย่างไรก็ตาม เสียงปืนที่ดังขึ้นสองปีก่อนในชุมชนอามิช แห่งเมืองลาน
คาสเตอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย สั่นสะเทือนให้คนทั้งโลกหันมาจับจ้องเข้าไปยัง
ชุมชนอันสันโดษนี้อีกครั้งเพราะนี่นับเป็นครั้งแรกในรอบศตวรรษที่เกิดเหตุ
ร้ายขึ้นในชุมชนรักสงบที่เรียกตัวเองว่า The Plain People หรือรู้จักใน
นามชุมชนอามิช (Amish Country)
22 มิถุนายน 2008
เพียงชั่วกาแฟเดือด ฉันก็หักเลี้ยวออกจากไฮเวย์สาย US 20 เข้าสู่
เมือง ชิปเชวาน่า (Shipshewana)ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ทางตะวันออก
เฉียงเหนือของรัฐอินเดียน่า สองข้างทาง นอกจากไร่สุดลูกหูลูกตา ยังมีรถ
ม้าที่มีคนขับไว้เครายาวและสวมหมวกทรงสูงขับสวนมาเป็นระยะ ซึ่งเราจำ
เป็นอย่างยิ่งต้องแสดงความสุภาพต่อชนกลุ่มนั้น เพราะพวกเขาคือ Amish
กลุ่มชนแห่งโลกเก่า และห้ามเด็ดขาดที่จะยกกล้องขึ้นถ่ายรูป เนื่องเพราะ
ขัดต่อความเชื่อของชาวอามิชอย่างรุนแรง ดังนั้น หากต้องการจำบันทึก
ภาพ สามารถทำได้จากเพียงด้านหลังรถม้าเท่านั้น
หากจะเล่าถึงชนโบราณที่ยังมีชีวิตกลุ่มนี้ คงต้องย้อนอดีตไปนานถึงศตวรรษ
ที่ 15 ในสวิตเซอร์แลนด์และเนเธอร์แลนด์ มีชนชาวคริสเตียนกลุ่มหนึ่งแยก
ตนออกมาจากกลุ่มชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเนื่องจากไม่พอใจที่ถูก
บังคับให้เลือกในการ "เป็น"หรือ "ไม่เป็น" คาทอลิก ดังนั้น จึงเกิดชนชาว
คริสเตียนกลุ่มใหม่แยกตัวออกมาและเรียกตนเองว่า อนาแบปติสต์
(Anabaptists)ในช่วงเวลานั้น กลุ่มอนาแบปติสต์ถูกต่อต้านและรุกรานอย่าง
รุนแรงจากกลุ่มผุ้นับถือคาทอลิก บ้างถูกเผาทั้งเป็นหรือจับมาทรมาน จึงทำ
ให้อนาแบปติสต์หาทางหนีไปสู่ดินแดนอื่นเพื่ออิสรภาพในความเชื่อของตน
และแตกออกเป็นสามกลุ่ม คือ Amish, Mennonites และ Hutterites
ทั้งสามกลุ่มเดินทางมาสู่โลกใหม่ หรืออเมริกาในช่วงศตวรรษที่ 16
โดยอามิชไปฝังรกรากเป็นชุมชนใหญ่อยู่ในรัฐเพนซิลเวเนีย โดยเฉพาะ
เมือง Lancaster ซึ่งที่นั่นคือ ชุมชนอามิชที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา นอกจากนี้
อามิชยังกระจายตัวอยู่ในรัฐต่างๆ ทางตอนเหนือของประเทศและ
เขตมิตเวสต์ รวมทั้งรัฐอินเดียน่าและโอไฮโอด้วย
ในเขตรัฐอินเดียน่า มีชุมชมอามิชกระจายตัวอยู่เป็นหย่อมๆ เช่นที่ ชิปเชวา
น่า มิดเดิลเบอรี่ และนาปานี วันนี้ ฉันตัดสินใจขับรถมุ่งสุ่ตะวันออก ไปดู
ชุมชนอามิชที่ชิปเชวาน่า เพียงชั่วเวลาไม่นานที่เลี้ยวรถลงจากไฮเวย์ ภาพ
ไม่เจนตาที่เห็นคือ รถม้าวิ่งสวนไปมาตลอดระยะทางเข้าสู่เมือง หรือกลุ่มคน
แต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดสีหม่นๆ สวมหมวกทรงแปลกๆ เดินก้มหน้างุดไปตาม
ถนน
ในชิปเชวาน่า นอกจากนักท่องเที่ยวที่แต่งกายสีสดราวนกแก้วแล้ว ยังมีชาว
อามิชที่แต่งกายด้วยสีขรึมเดินปะปนสวนทาง ผู้ชายเดินเครายาวไสว ดูเคร่ง
ขรึม ในผมทรงกะลาครอบใต้หมวกทรงสูงสีดำ หรือที่เรียกว่า ฟิดอร่า
Fedora ใส่เอี๊ยมคาดทับเสื้อเชิ๊ตสีฟ้าเข้ม กางเกงสีดำแบบสุภาพ ส่วน
ผู้หญิงจะไว้ผมยาวสีทองอร่ามและเก็บซ่อนไว้ในหมวกบอนเนตสีขาว สวม
กระโปรงยาวรุ่มร่ามสีดำหรือน้ำเงินผูกผ้ากันเปื้อน เหมือนหลุดออกมาจาก
ภาพเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วที่เคยเห็นในหนังสือประวัติศาสตร์
ทั้งหญิงและชายที่เติบโตมาในชุมชนอามิช ได้รับการศึกษาเพียงชั้นเกรด
แปด หรือเพียงถึงอายุ 12-13 ขวบเท่านั้น เพราะอามิชไม่เชื่อถือในการ
ศึกษาในระบบ
การสื่อสารในชุมชนยังใช้ภาษาโบราณที่เรียกว่า เพนซิลเวเนียดัชท์ ส่วน
ภาษาอังกฤษนั้น เป็นภาษาที่ใช้พูดในโรงเรียนและเอาไว้ติดต่อกับโลกภาย
นอกเท่านั้น
ชาวอามิชเป็นกลุ่มชนที่เคร่งศาสนา รักสันโดษ และปฏิเสธเทคโนโลยีทุก
ประเภท ไม่ขับรถ ไม่มีโทรศัพท์ ไม่ใช้ไฟฟ้า เชื่อในความช่วยเหลือเจือจาน
กันในชุมชนและไม่แต่งงานกับคนนอกชุมชนอย่างเด็ดขาด ทั้งหญิงชายจะ
ต้องแต่งงานกับอามิชด้วยกันเท่านั้น ซึ่งหากหญิงชายใดต้องการแต่งงาน
กัน จะต้องผ่านความเห็นชอบจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายเสียก่อน และเมื่อ
แต่งงานแล้ว จะไม่คุมกำเนิด เนื่องจากขัดกับความเชื่อทางศาสนา และทั้ง
ครอบครัวจะอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่
เมื่อทั้งหญิงชายอายุสิบหกปี จะมีโอกาส "เลือก" ว่าจะอยู่ในชุมชนหรือออก
ไปเผชิญโลกนอกชุมชน หากเลือกที่จะออกไปเผชิญโลก หนุ่มสาวคนนั้นจะ
ต้องออกจากชุมชนไป และห้ามกลับมาอีก เพราะถือว่า เป็น "คนนอก" ไป
แล้ว
ที่แปลกคือ อามิชจะเรียกฝรั่งคนนอกอื่นๆ ว่า English เหมือนที่คนไทยเรียก
ชาวตะวันตกแบบรวมๆ ว่า ฝรั่ง ไม่ว่าจะเป็นคนอเมริกันชาติเดียวกับตน
หรือฝรั่งชาติอืน อามิสเรียกแบบเหมารวมหมดว่า พวกอังกฤษ และถือ
เป็น "คนนอก" ทุกคน
ชุมชนอามิชเป็นชุมชนเกษตรกรรม ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ แต่ยังใชีวิธีการดั้ง
เดิมในการเพาะปลูก ใช้ม้าและวัวเป็นเครื่องมือทำการเกษตร ความบันเทิง
ถือเป็นสิ่งต้องห้าม แม้เวลาไปรวมตัวกันร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า ก็จะไม่มี
เครื่องดนตรีใดๆ ประกอบ นอกจากเสียงร้องล้วนๆ และยังคงใช้ภาษาเก่าแก่
อย่างเพนซิลเวเนียดัชท์เป็นเนื้อร้อง
สำหรับอามิชแล้ว งานหนักคือ ของขวัญจากพระเจ้า ดังนั้น จะตื่นแต่เช้าตรู่
และทำงานในฟาร์มหรือในชุมชนไปจรดค่ำ หากชุมชนต้องการความช่วย
เหลือ ชายหนุ่มทั้งหลายก็จะร่วมตัวกันสร้างอาคารโดยไม่มีการจ้างหรือเงิน
ตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น เสร็จสิ้นการงานก็เข้านอนแต่หัวค่ำ ขณะที่ผู้หญิงนอก
จากทำงานบ้านแล้ว ยังทำงานฝีมือที่เรียกว่า quilts เอามาวางขายให้คน
อย่างฉันน้ำลายหกเล่น เพราะไม่มีเงินซื้อ เนื่องจากราคาแพง ยามว่าง
หนุ่มๆ หรือคุณสามีก็ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้เป็นงานอดิเรกและเอาไว้ขาย
พวก "อังกฤษ" ซึ่งฉันได้แต่เดินลูบๆ คลำๆ อีกตามเคย เพราะแพงระยับ
จริงๆ
ทุกวันอาทิตย์ ในขณะที่ชาวคริสต์อื่นๆ ไปโบสถ์ ชาวอามิชจะย้าย
เฟอร์นิเจอร์ออกจากบ้านแล้วเอาม้าไม้ยาวๆ แต่ไม่มีพนักพิง มาวางเรียง
เพื่อให้คนอื่นมาชุมนุมกันขับร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าที่เรียกว่า hymn ใน
บ้านของตนเอง ซึ่งเพลงสวดนั้นยังคงใช้ภาษาเก่า ซึ่งปัจจุบัน ไม่มีใครใช้กัน
แล้ว นอกจากกลุ่มอามิชด้วยกันเอง
นอกจากปฏิเสธไฟฟ้าและเทคโนโลยีแล้ว ยังมีความเชื่อแปลกๆ
หลายอย่าง เช่น ห้ามถ่ายรูป เรื่องนี้ ถือเป็นเรื่องใหญ่มากที่คนนอกและนัก
ท่องเที่ยวจะต้องเรียนรู้และทำความเคารพ ความเชื่อในเรื่องห้ามถ่ายรูปนั้น
มาจากคัมภีร์เก่า ที่ระบุว่าห้ามมีรูปเคารพ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ชาวอา
มิชยึดมั่นในความเชื่อแบบสุดโต่งว่า ห้ามมีรูปเคารพ ห้ามมีบุคลิกลักษณะ
เฉพาะตน และห้ามถ่ายรูป
ด้วยความเชื่อแปลกๆ นี่เองที่กลายเป็นงานศิลป์รูปแบบเฉพาะตัวของอามิช
คือ ตุ๊กตาของอามิชจะไม่มีการวาดหน้าตาลงไปเด็ดขาด บอกตรงๆ ดูยังไงก็
สยองขวัญ ราวหนังสยองขวัญของสตีเฟ่น คิงส์ และเวลาเพ้นท์เครื่อง
กระเบื้องเคลือบ จะวาดแค่รูปคน แต่จะไม่มีการวาดหน้าตาลงไป
ปล่อยให้ส่วนที่เป็นหน้าดูโล่งโล้นอยู่แบบนั้น ใครอยากได้ก็ซื้อหากัน
ตามสะดวกเถอะค่ะ แต่ฉันไม่ซื้อแน่นอน โดยเฉพาะตุ๊กตาผ้า กลัวว่า ดึกๆ
มันจะลุกขึ้นมาบีบคอแบบหนังผีที่เคยดูมา
ดังนั้น เวลาจะถ่ายรูป จะต้องแอบถ่ายจากด้านหลังเท่านั้น ไม่สามารถถ่าย
หน้าตรงๆ ได้เลย แต่ด้วยความหน้าด้านตามวิชาชีพเดิม ฉันแอบยืมตะคุ่มซุ่ม
ถ่ายได้มาบางรูป แต่เลือกถ่ายเฉพาะด้านหลังเท่านั้น เพราะถือว่า "เข้าเมือง
ตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม" ขนาดแกล้งลองยกกล้องขณะที่พวกอามิชขับรถม้า
มาแต่ไกล ฉันยังมองเห็นประกายตาส่อความมาคุมาจากครอบครัวอามิช
เลย เล่นจ้องเขม็งแบบนั้น เป็นใครก็ต้องลดกล้องลง
ชายอามิชจะไว้เครา แต่ไม่ไว้หนวด ทั้งนี้ก็เป็นสัญลักษณ์ของความรัก
สันโดษโดยแท้ ในสมัยศตวรรษที่สิบหก ทหารอังกฤษยุคนั้น มักไว้หนวด
เฟิ้มบางคนก็ไว้ซะยาวเฟื้อยแล้วขดเป็นวงๆ ข้างแก้มอย่างที่เราเคยเห็นใน
หนัง เพื่อแสดงตัวว่าต่อต้านสัญลักษณ์ทางการทหาร ชายชาวอามิชจะไม่
ไว้หนวดอย่างเด็ดขาด
หากแต่จะไว้เคราแทน ซึ่งอามิชหนุ่มจะเริ่มไว้เคราเมื่อตอนแต่งงานเท่านั้น
หากยังไม่แต่ง ก็จะไม่ไว้เครา
ส่วนทรงผมนั้นเท่แบบไม่ปรึกษาใคร เพราะทุกคนไว้ผมทรงเดียวกันหมด
คือ ทรงกะลาครอบ ไม่ว่าเด็ก หนุ่ม หรือแก่ ต่างมีผมทรงเดียวกันหมด ต่าง
กันที่ตรงหมวกที่ใส่เท่านั้นเอง
รถม้าคือสิ่งที่ชาวเมืองในเขตชุมชนอามิชคุ้นชิน พวกอามิชขับรถม้าและขี่
จักรยานไปทุกหนแห่งอย่างสะดวกสบายทั่วเมือง คนขับรถยนต์ต้องหลบ
หลีกกันเอาเอง แต่คุณลุง Clarence สารถีอามิชที่ขับรถม้า (Buggy)ให้ฉัน
นั่ง เล่าว่า นักท่องเที่ยวยังให้ความเคารพมากกว่าคนเมืองนี้เสียอีก แกขับ
ไป บ่นไปผ่านบั้นท้ายของมิสเตอร์บ๊อบ (ชื่อม้าด่างซึ่งตัวโตอย่างน่าตกใจ)
ระหว่างทางไปเยี่ยมชมบ้านอามิช หลายต่อหลายบ้าน ถึงจะเป็นบ้านทรง
สมัยใหม่ แต่ในโรงรถ ฉันแอบสอดส่ายตาไปเห็นรถม้าจอดสนิทอยู่ในนั้น
อดนึกไม่ได้ว่าในช่วงเวลาที่น้ำมันแพงดุเดือดอย่างงี้ ไม่แน่ว่า พวกอามิส
อาจจะนั่งลูบพุงหัวร่อกันสนุก แล้วซุบซิบว่า เห็นมั้ยเล่า พวกอังกฤษ ข้าบอก
สูแล้ว ว่า รถม้าน่ะ แหล่มกว่ามาก
อาหารที่ปรุงโดยสาวอามิชนั้น นับว่าเป็นเลิศในยุทธภพเช่นเดียวกับ
ฝีมือการเย็บปักถักร้อย ที่นี่ ไม่มีการใช้เตาไฟฟ้าเด็ดขาด เรียกว่า หุงต้มกัน
สนุกสนานด้วยฟืนถ่านเหมือนงานวัดบ้านเรา ยกมาเสริฟพร้อมเครื่องเคียง
อย่างโคลสลอร์และสลัด (ผักที่ปลูกเองในสวนหลังบ้าน) อิ่มอร่อย สม
ราคา ทั้งขนมปังนุ่มๆ ที่เพิ่งยกลงจากเตา กินกับพีนัทบัตเตอร์หอมหวาน หรือ
ซอสแอปเปิ้ลหวานอมเปรี้ยว อร่อยจนซื้อกลับบ้าน แถมพกด้วย pecan
cake ถาดใหญ่ ในราคามิตรภาพ
พวกอามิชอยู่เกาะกลุ่มกันอย่างสงบมานานนับศตวรรษในหลายรัฐ
ของอเมริกา และไม่ค่อยสร้างปัญหาเดือดร้อนใดๆ นอกจาก เมื่อสองปีที่
แล้วที่คนนอกบุกเข้าไปยิงนักเรียนหญิงอามิชห้าคนในเพนซิลเวเนียอย่างไม่
มีสาเหตุ แต่นั่นเป็นเรื่องที่ "คนนอก" บุกเข้าไปสร้างปัญหาให้คนในชุมชน
มากกว่าที่ชาวชุมชนก่อปัญหาขึ้นมาเอง
ชุมชนอามิชดำรงตนอยู่อย่างสงบ สมถะ ท่ามกลางโลกยุคใหม่ หนุ่มสาวชาว
อามิชจำนวนไม่มากนักที่ออกไปอาศัยอยู่นอกชุมชน นอกนั้น ยังยืนยันที่จะ
ดำเนินชีวิตอยู่ในโลกเก่าตามที่เป็นมานับร้อยปีเช่นเดิม ถึงหลายคนจะมอง
ชุมชนแห่งนี้ว่า ไม่ทันสมัย ไม่รับเทคโนโลยี แต่สำหรับฉัน นี่คือความสง่า
งามในท่ามกลางโลกยุคใหม่ คือความภาคภูมิอย่างที่น้อยคนจะดำรงไว้ได้
ในโลกแห่งวัตถุนิยมใบนี้ อย่างน้อย อามิชก็วางชีวิตไว้บนวิถีที่พวกเขายึด
มั่นและเชื่อถือมาแต่กาลก่อน และเป็นกลุ่มชนที่รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้
ด้วยความแตกต่างอย่างใหญ่หลวงเชิงวัฒนธรรมนี่เอง ที่กลายเป็นจุดดึงดูด
ให้คนทั่วทุกมุมโลกเข้ามาสัมผัสโลกอันเก่าแก่และสงบเงียบของอามิช จน
อดสงสัยไม่ได้ว่า วัฒนธรรมเก่าแก่ของชุมชนแห่งนี้ จะพังทลายไปพร้อมกับ
คลื่นวัฒนธรรมใหม่ๆ ที่ถาโถมเข้ามากระทบหรือไม่ในวันข้างหน้า แม้ว่า ใน
ปัจจุบัน ความเป็นอยู่ของชาวอามิชยังดำรงอยู่เหมือนเมื่อร้อยปีก่อนไม่ผิด
เพี้ยนก็ตาม ในท่ามความเย้ายวนของกระแสเงินตราและทุนนิยมจะมีกี่คนกัน
เล่าที่สามารถดำรงตนอยู่ได้โดยไม่เปลี่ยนแปลงท่ามกลางกระแสการเปลี่ยน
แปลงทุกขณะจิตเช่นนี้
ตีพิมพ์ครั้งแรก : นิตยสาร "หัวใจเดียวกัน"
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 2552
"เจริญขวัญ" เรื่องและภาพ
http://amishamerica.com/should-10-year-old-amish-buggy-drivers-get-off-the-road/
Logged
Pages:
[
1
]
« previous
next »
SMF 2.0.4
|
SMF © 2013
,
Simple Machines
| Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.077 seconds with 22 queries.
Loading...