Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 17:27:50

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เหนือเกล้าชาวสยาม  |  พระบรมโพธิสัตว์เจ้าแห่งแผ่นดินสยาม  |  เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม  |  พระปฐมบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: พระปฐมบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  (Read 2039 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 27 December 2012, 09:26:15 »

พระปฐมบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ ในราชวงศ์จักรี
เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ จนถึงปัจจุบัน

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐ เป็นเวลายาวนานที่สุดในโลกที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่
พระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่าสมเด็จพระภัทรมหาราชมีความหมายว่าพระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่งต่อมามีการถวายพระราชสมัญญา ใหม่ว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ และ พระภูมิพลมหาราชอนุโลมธรรมเนียมเช่นเดียวกับ
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่าพระปิยมหาราช
ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า ในหลวง โดยย่อมาจาก “ ใน (พระบรมมหาราชวัง) หลวง ” บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “ นายหลวง ”
ซึ่งแปลว่าเจ้านายผู้เป็นใหญ่





พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดล อันเป็นสายหนึ่งในพระบรมราชจักรีวงศ์
พระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ
นพศก จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐

เหตุที่พระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนี กำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น
ใกล้สถานที่พระราชสมภพ มีจัตุรัสแห่งหนึ่งซึ่งนายกเทศมนตรีเมืองเคมบริดจ์ ขอพระราชทานพระนามว่า “จัตุรัสภูมิพลอดุลยเดช”
(King Bhumibol Adulyadej Square) เพื่อเป็นเกียรติแก่เมืองเคมบริดจ์ และโรงพยาบาลอันเป็นที่พระราชสมภพ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จไปทรงรับมอบในพิธีอุทิศจัตุรัสเมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓
ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ไปทรงเปิดผ้าแพรคลุมป้ายแผ่นจารึกพระราชประวัติ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่ ๓ ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์
(สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ (ชูกระมล) (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)
ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ๒ พระองค์ คือ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า เล็ก

พระนาม ภูมิพลอดุลเดช ได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐
โดยทรงกำกับตัวสะกดภาษาอังกฤษว่า Bhumibala Aduladeja โดยในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมาทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลยเดช"
ทรงเขียนทั้งสองแบบ จนมานิยมใช้แบบหลัง ซึ่งมีตัว "ย" สะกด มาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม
ต่อมาวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุไม่ถึง ๒ พรรษา

การศึกษา
พ.ศ. ๒๔๗๗ เมื่อเจริญพระชนมายุได้ ๕ ปี เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ
ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อการศึกษาและพระพลานามัย
ของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗
ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนเอกอล นูเวล เดอ ลา ซืออิส โรมองต์ เมืองแชลลี-ซือ-โลซาน

พ.ศ. ๒๔๗๗ เมื่อพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ผู้เป็นพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี
ทรงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทย เป็นเวลา ๒ เดือน
โดยประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๘
ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์
โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง


เสด็จขึ้นครองราชย์
วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน โดยต้องพระแสงปืนที่พระกระหม่อม
ณ พระที่นั่งบรมพิมาน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้ตัดสินพระทัยรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์
เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงทรงอำลาประชาชนชาวไทย
เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยนสาขาจากวิทยาศาสตร์ ไปเป็นสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์
ซึ่งจำเป็นสำหรับตำแหน่งประมุขของประเทศการตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงแต่ทำให้ประเทศไทยและคนไทย
คลายความโศกเศร้า จากการที่ต้องเสียพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเท่านั้น แต่ยังทำให้ประเทศไทยได้พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่
ที่ทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะอุทิศพระวรกาและพระราชหฤทัยเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

เดิมทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยว่า จะทรงครองราชสมบัติเฉพาะในช่วงการจัดงานพระบรมศพของพระบรมเชษฐาเท่านั้น
เพราะยังทรงพระเยาว์และไม่เคยเตรียมพระองค์ในการเป็นพระมหากษัตริย์มาก่อน เหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประทับรถพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปยังสนามบินดอนเมือง เพื่อทรงศึกษาเพิ่มเติมที่สวิตเซอร์แลนด์ ทรงได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่งตะโกนลั่นว่า
"ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน" ทำให้ทรงนึกตอบบุคคลผู้นั้นในพระราชหฤทัยว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้"
เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจว่าต่อมาอีกประมาณ ๒๐ ปี ขณะทรงเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัด ทรงได้พบชายผู้ร้องตะโกนคนนั้น ชายผู้นั้นกราบบังคมทูลว่า
ที่เขาร้องตะโกนออกไปเช่นนั้นเพราะรู้สึกว้าเหว่และใจหาย เขาเห็นพระพักตร์เศร้ามาก จึงร้องไปเหมือนคนบ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตอบว่า
"นั่นแหละ ทำให้เรานึกถึงหน้าที่ จึงต้องกลับมา"

ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
ระหว่างประทับในต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพบกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร และทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้เข้ารักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลในเมืองโลซาน โดย ม.ร.ว. สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเยี่ยมเป็นประจำจนหายประชวร
นับตั้งแต่นั้นมาทั้งสองพระองค์ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด





พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครในปีถัดมา
โดยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม
ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก






วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น
ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี
จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
และในโอกาสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี





ทรงผนวช

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา ๑๕ วัน ระหว่างวันที่ ๒๒ ตุลาคม - ๕ พฤศจิกายน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
มีสมณนามว่า ภูมิพโลภิกขุ และเสด็จฯ ไปประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ
ให้เฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกันนั้น

ตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์




พระราชโอรส-ธิดา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา ๔ พระองค์ ดังนี้

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ สถานพยาบาลมองซัวซี นครโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์ (ปัจจุบัน ทรงพระนามว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา
สิริวัฒนาพรรณวดี) เพื่อทรงสมรสกับ นายปีเตอร์ เจนเซ่น ชาวอเมริกัน ทรงมีพระโอรส ๑ องค์ และพระธิดา ๒ องค์

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร
กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕
ต่อมา ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงอภิเษกสมรสกับ
หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร (ปัจจุบัน ทรงพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ), นางสาวยุวธิดา ผลประเสริฐ
(หรือ หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา ปัจจุบันคือ คุณสุจาริณี วิวัชรวงศ์) และ นางสาวศรีรัศมิ์ อัครพงศ์ปรีชา (หรือ หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา
ปัจจุบันทรงพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ) ทรงมีพระโอรส ๑ พระองค์ กับ ๔ องค์ และ พระธิดา ๒ พระองค์

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ต่อมา
ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ
สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๐

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐
ทรงอภิเษกสมรสกับ นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน (ในขณะนั้น มียศเรืออากาศโท) ทรงมีพระธิดา ๒ พระองค์





พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ และผลงานอื่นโดยสังเขป

มูลนิธิชัยพัฒนา
มูลนิธิโครงการหลวง
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
โครงการหลวงอ่างขาง
โครงการปลูกป่าถาวร
โครงการแก้มลิง
โครงการฝนหลวง
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
โครงการแกล้งดิน
กังหันชัยพัฒนา
แนวพระราชดำริ ผลิตแก๊สโซฮอล์ในโครงการส่วนพระองค์ (พ.ศ. ๒๕๒๘)
แนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง
เพลงพระราชนิพนธ์
พระสมเด็จจิตรลดา

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกร เป็นที่ยกย่องเทิดทูนไม่เฉพาะแต่ประชาชนชาวไทย
แม้แต่ชาวต่างประเทศก็ได้ประจักษ์และถวายสดุดี ดังจะเห็นได้จากการทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
และหน่วยงานองค์การระหว่างประเทศได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญสดุดี อาทิ เช่น ประธานรัฐสภายุโรปและสมาชิกร่วมกันทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญรัฐสภายุโรป" (๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๙)
ประธานคณะกรรมาธิการเพื่อสันติภาพของสมาคมอธิการบดีระหว่างประเทศ ทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลสันติภาพ" (๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๙)
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองเฉลิมพระเกียรติคุณในการนำชนบทให้พัฒนา" (๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๐)
ผู้อำนวยการใหญ่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ(UNEP)ทูลเกล้าฯถวาย"เหรียญทองประกาศพระเกียรติคุณด้านสิ่งแวดล้อม" (๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕)
ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก(WHO) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองสาธารณสุขเพื่อมวลชน" (๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕)
คณะกรรมการสมาคมนิเวศวิทยาเชิงเคมีสากล (International Society of Chemical Ecology) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญรางวัลเทิดพระเกียรติ
ในการสงวนรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ" (๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖)
หัวหน้าสาขาเกษตร ฝ่ายวิชาการภูมิภาคเอเชียของธนาคารโลก ทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลหญ้าแฝกชุบสำริด" สดุดีพระเกียรติคุณ
ในฐานะที่ทรงเป็นนักอนุรักษ์ดินและน้ำ (๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖)
ผู้อำนวยการบริหารของยูเอ็นดีซีพี (UNDCP) แห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองคำสดุดีพระเกียรติคุณด้านการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด"
(๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗)
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญสดุดีพระเกียรติคุณในด้านการพัฒนาการเกษตร" (๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙)
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์" จากการที่ได้ทรงอุทิศกำลังพระวรกาย
และทรงพระวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ เพื่อยังประโยชน์และความเจริญอย่างยั่งยืนมาสู่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ
มาโดยตลอด (๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙)

พระราชทรัพย์
พระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของที่ดินและหุ้น โดยแบ่งออกได้เป็นส่วนๆ โดยสังเขป คือ ทรัพย์สินส่วนพระองค์
และ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นการบริหารงานในรูปแบบองค์กรนิติบุคคล ดูแลและจัดประโยชน์อันเกี่ยวกับ
ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ภายใต้ชื่อ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนใหญ่ได้แก่ที่ดินและหุ้น โดยปัจจุบันมีผู้เช่าที่ดินทั่วประเทศ
มากกว่า 3 หมื่นสัญญา รวมทั้งโรงแรมโฟร์ซีซั่น สวนลุมไนต์บาซาร์ สยามพารากอน และเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า บริษัทซีบีริชาร์ดเอลลิส (www.cbre.com)
(บริษัทโบรกเกอร์ด้านอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของโลก) ได้เคยประมาณการตัวเลขพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯ อยู่ที่ 32,500 ไร่ (13,000 เอเคอร์)
โดยในบางพื้นที่มีมูลค่าสูงกว่า 380 ล้านบาทต่อไร่ ทั้งนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังได้ลงทุนในหุ้นของบริษัทต่างๆ อีกด้วย
โดยถ้านับรวมทั้งหมด หุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ มีอยู่ทั้งหมดคิดเป็น 7.5% ของมูลค่าตลาดรวมของตลาดหุ้นไทย ทำให้พระองค์ทรงได้รับ
การจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ทรัพย์สินส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีการลงทุนส่วนพระองค์เอง โดยไม่ผ่านสำนักงานทรัพย์สินฯ
โดยการเป็นผู้ถือหุ้นใน บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) 43.87% บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 18.56% บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
(มหาชน) 2.04% เป็นต้น ทรัพย์สินส่วนพระองค์นี้ยังหมายรวมถึง เงินทูลเกล้าถวายฯ ตามพระราชอัธยาศัยต่างๆ อีกด้วย ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้นไม่ได้
รับการยกเว้นเรื่องภาษี ดังนั้นต้องเสียภาษีอากรตามปกติ



โดย...จิรภัทร วรรัตน์

« Last Edit: 27 December 2012, 09:50:32 by Smile Siam » Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.069 seconds with 21 queries.